หน้าเว็บ

วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Spatial Interaction Model

Spatial Interaction Model เป็นประเด็นหัวใจของการศึกษาและวิจัยทางภูมิศาสตร์ โดยมีฐานคิดมาจาก Principle of Least Effort ของ AK Zipt (1959) โดยมีหลักการเบื้องต้นของปฏิสัมพันธ์เชิงพื้นที่ 3 ประการ คือ Complementarity, Transferability และ Intervention Opportunity ทั้งนี้โดยมีประเด็นของ Friction of Distance Principle เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องนำมาพิจารณาร่วม Spatial Interaction Model นี้ในชั้นต้นมีการประยุกต์ใช้ทางภูมิศาสตร์ ด้วยการนำเอากฎแรงโน้มถ่วง (Law of Gravitation) มาใช้อธิบายทางสังคมศาสตร์ เพื่อหาปฏิสัมพันธ์ระหว่างสถานที่ โดยสถานที่สองแห่งจะมีปฏิสัมพันธ์มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของมวลของทั้งสองสถานที่ และมีระยะทางเป็นปัจจัยเชิงลบที่จะมามีผลให้ปฏิสัมพันธ์ดังกล่าวลดลง และประยุกต์ใช้ในระดับที่สูงขึ้นอีก 3 ประเด็น คือ 1. Retail Gravitation เพื่อหาอิทธิพลของสถานที่แห่งหนึ่งที่มีต่อสถานที่หนึ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับสถานที่อีกแห่งหนึ่ง 2. Breaking Point Theory เพื่อหาตำแหน่งแสดงขอบเขตการให้บริการของสถานที่สองแห่ง 3. Population Potential Model เพื่อวัดศักยภาพโดยรวมของสถานที่แต่ละแห่งในภูมิภาค