หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เคมาล อตาเตอร์ก - จิ้งจอกสีเทา

ตลอดสามสัปดาห์ปลายเดือนสิงหาคมต่อต้นเดือนกันยายน ของปี 2558 มีเรื่องที่ต้องการค้นหาคำตอบหลายอย่าง เช่นว่า ทำไมประเทศตุรกีจึงเป็นเอเชียด้วยเป็นยุโรปด้วย ทำไมไฟจึงไหม้คอนสแตติโนเปิลไม่รู้จักหยุดหย่อน ทำไมตุรกีจึงมีอังการาที่กันดารแร้นแค้นเป็นเมืองหลวง ทำไมประชาชนของตุรกีจึงไม่เหมือนมอสเล็มทั้งหลายในอาหรับ ได้คำตอบหลายอย่างเหมือนกัน แต่ว่าก็ยังได้สรุปในเชิง theoretic แต่อย่างใด พอดีเกิดเหตุการณ์ทหารถูกประชาชนจับฐานกบฎ นายพลนายพันแปดร้อยนายถูกปลดถอดยศ ด้วยไปหลงคารมใครบางคนที่อยากได้อำนาจ มีคนอยู่เบื้องหลังคือชาติมหาอำนาจเบอร์หนึ่งของโลก ท่านประธานาธิบดีของตุรกี "รีเซป ตอยยิบ เออร์โดกัน" นั่งประกาศศักดาเหนือกองทัพแตกแถว ด้านหลังแขวนรูปบิดาตุรกีสมัยใหม่จอมเผด็จการ ฉายาจิ้งจอกสีเทา "เคมาล อตาเตอร์ก" เลยมีเรื่องของท่านนายพลเคมาล มาเล่าสู่กันฟังตรงนี้

เพื่อเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของตุรกีสมัยใหม่ สารคดีเก่าเก็บ กระดาษข้างในเปื่อยยุ่ย หน้าไม่มีรูปแล้ว ปกในระบุว่าตีพิมพ์เป็นครั้งที่สาม 2522 (พิมพ์ครั้งแรก 2487) ผู้เขียนเป็นนักการเมืองรุ่นเก๋ากึ๊ก อดีต รมว ยุติธรรม "เลียง ไชยกาล" สารคดีเก่าเก็บเล่มนี้ มีเพียงเล่มเดียวที่วางอยู่ในสำนักหอสมุด ในเวบหนังสือเก่าประกาศขาย 1 พัน 2 ขณะที่ในเล่มกำหนดราคาค่อนข้างแพง 46 บาท ราคาในสมัยนั้น ถึงวันนี้ขณะนั่งอ่านตั้งแต่ต้นจนจบ ก็ต้องทนร้อนด้วยเปิดพัดลมไม่ได้ กระดาษเปื่อยพร้อมพลิวได้ทุกส่วนของแต่ละหน้า ทั้งยังต้องใช้หน้ากากอนามัยปิดจมูกปิดฝุ่นและความฉุนกลิ่นเก่าของกระดาษ หนังสือหนา 728 หน้าเล่มนี้ช่วยให้อะไรบางอย่างในนี้กระจ่างได้บ้าง

"เคมาล" เด็กดื้อด้วยสันดานมารดา พอใจกับอิสระเสรีในงานวิ่งไล่นกในไร่ถั่ว มากกว่าการนั่งสำรวมฟังครูสอนอัลกูรอาน เด็กชายมุสตาฟาเข้าเป็นนักเรียนทหารที่เรียนเก่งสุดๆ ทรนงไม่ยอมก้มหัวให้กับใครทั้งปวง นายทหารตุรกีขี้เมานักพนันนักเที่ยวผู้หญิงหากิน แต่ในจิตใจของเขา "มุสตาฟา เคมาล" มีแต่ความเด็ดเดี่ยว ทำทุกอย่างเพื่อตุรกีที่เขารัก อาณาจักรออตโตมานนั้นยิ่งใหญ่จริง แต่วันนั้นมันไม่ใช่ มันผ่านไปแล้ว มันไม่มีแบบนั้นอีกต่อไปแล้ว ความเกรียงไกรแต่เดิมที่เคยเป็นไปเพื่อสุลต่านและกาหลิบ ไม่ได้เพื่อชาวเตอร์กทั้งหมดทั้งมวล จึงไม่ควรไปหวลคิดคร่ำครวญถึงอดีตให้ขื่นขม ควรละทิ้งอะไรที่ทำให้คนเตอร์กไม่ก้าวหน้า ควรปล่อยวางอะไรที่ทำให้คนเตอร์กไม่มีอนาคต

การเอาชนะอังกฤษที่ต้องการยึดครองแล้วแบ่งแยก การรักษาระยะห่างของความสัมพันธ์กับเยอรมันได้อย่างเหมาะสม และการเอาชนะกองทัพกรีกที่บ้าคลั่ง ทั้งหลายทั้งปวงนี้ด้วยปัญญาและความเด็ดเดี่ยว ทำให้ "จิ้งจอกสีเทา" ตัวนั้น ครองหัวใจนักรบและประชาชนชาวเตอร์ก ซ้ำเหิมเกริมด้วยสำคัญว่า "ตุรกีคือข้า ข้าคือตุรกี" เป็นอย่างนั้นมั่นคง ไม่มีผลประโยชน์ส่วนตัวอันใด มีแต่ตุรกีเท่านั้นที่ต้องทัดเทียมอารยะ มุสตาฟา เคมาล เอาอย่างนโปเลียน โบนาปาร์ด ที่ว่า เมื่อคิดอะไรแล้ว ให้ทำสิ่งนั้นโดยเร็ว อย่ารีรอ และให้ทำอย่างกล้าหาญ

เขาล้มเลิกตำแหน่งสุลต่านด้วยเห็นว่าเป็นระบบที่ล้าหลัง ขับไล่กาหลิบด้วยข้อกล่าวหาว่านำพาประชาชนหลงเชื่องมงาย เป็นต้นเหตุแห่งความเสื่อม สถาปนาสาธารณรัฐขึ้นมาทดแทนระบอบสุลต่านกาหลิบ ตั้งตนเป็นประธานาธิบดีเพื่อเป็นศูนย์กลางใหม่เป็นทุกสิ่งทุกอย่างของตุรกี ยกเลิกหมวกแขกที่มอสเล็มสวมใส่อาจิณให้มาสวมหมวกปีกแบบยุโรป สั่งให้ปั้นรูปเหมือนของตนติดตั้งไว้ ณ แหลมโกลเด็นฮอร์น สินธุทวารแห่งตุรกี ซึ่งขัดกับหลักสอนของศาสนาอย่างสิ้นเชิง ตั้งอังการาที่แสนกันดารเป็นเมืองหลวงใหม่แทนคอนสแตนติโนเปิลนครตัวแทนของสุลต่าน กาหลิบ มอสเล็ม และคริสเตียน มุสตาฟา เคมาล ไม่นับถืออะไรเลย นอกจากตุรกี

เคมาล เขานับถือแต่ตุรกี เพียงอย่างเดียว ตุรกีอย่างเดียวเท่านั้น

เขาตั้งตนเป็นตุรกีบุรุษ

ทุกอย่างที่เกิดจากเขาคือความถูกต้อง เขาลงนามคำสั่งแขวนคออารีฟเพื่อนรัก ด้วยเข้าใจว่าอยู่ตรงข้าม เขาหันหลังให้ฟิคริเย ฮานุม ผู้ภักดี เพราะความเบื่อหน่าย จนเธอต้องฆ่าตัวตาย เขาลงนามในใบหย่ากับแลติฟา ฮานุม ผู้หญิงคนเดียวที่เขารัก รองลงมาจากแม่ ด้วยความวุ่นวายขอประโยชน์จากคนในครอบครัวของเธอ เคมาลเชื่อว่าความคิดของเขาเท่านั้นที่ถูกต้อง "ใครขวาง ใครข้องใจ แขวนคอมัน" 

เท่าที่นับดูเห็นว่ามีเพียงเหล้าบุหรี่ สำรับไพ่ หญิงบริการที่ยอมตามทุกอย่าง และพวกชายสอพลอ เท่านั้น เท่านั้นเอง ที่เป็นเครื่องบันเทิงของมุสตาฟา เคมาล หมาป่าสีเทาตัวนั้น สิ่งเหล่านี้มันทำให้เขาอยู่ได้ไปวันๆ ในยามที่ไม่ต้องรบกับชาติใด หรือในเวลาที่ไม่ต้องมาวางแต้มทางการเมืองกับใคร เขาใช้เวลาหามรุ่งหามค่ำกับสิ่งเหล่านี้ วนเวียนอยู่อย่างนั้น หากไม่มีใครตกต้องมาเป็นข้าศึกให้เขาต้องห่ำหั่น 

ซูไบดา ฮานุม บุตรีของกรรมกรเตอร์ก มารดาของเคมาล เป็นคนเดียวเท่านั้น ที่เขาอาจมีความเชื่อถือหลงเหลืออยู่บ้าง แต่นางก็เสียชีวิตไปแล้ว หลังจากที่ต้องรอนแรมไปหลายที่ จากสโลนิกะบ้านเกิด (ปัจจุบันอยู่ในเขตกรีซ) ไปอยู่อิสตันบูล เพื่อหลบสงคราม ย้ายเข้าไปอังการา เพื่ออยู่ใกล้ๆ ลูกชาย และไปอยู่ที่อิสเมียร์ ดินแดนที่มีอากาศสบายยามบั้นปลายชีวิต ที่ตาทั้งสองข้างมองอะไรไม่เห็นแล้ว นางหลงเหลือแมกบูลาน้องสาวต่างบิดาไว้ให้คอยช่วยเหลือเคมาลด้วยความเป็นห่วง 

เคมาลเป็นผู้มีสติอยู่กับสิ่งที่มุ่งมั่นอย่างยิ่ง เขาเล่นไพ่ทั้งวันทั้งคืนโดยไม่เสีย มีแต่ได้ ขณะเล่นไพ่เคมาลจะไม่สนใจสิ่งใดเลย ไม่ว่าเรื่องราวทั้งหลายจะสำคัญแค่ไหน แต่กับปัญหาของตุรกี เคมาลจำเป็นต้องละวางทุกสิ่ง

เพื่อให้มีสมาธิกับปัญหาของตุรกี เขาเห็นแล้ว เขาเห็นว่าอย่างหนึ่งที่ทำให้ประชาชนไม่หลุดพ้น ไม่ยอมปลดแอกออกจากร่มเงาของกาหลิบซ่ะที น่าจะมาจากตัวอักษรอารบิคที่ยากเกินไปต่อการเรียนรู้และการสร้างองค์ความรู้ เคมาลจึงเปลี่ยนระบบอักษรอารบิคที่เคยเรียนรู้และเข้าใจกันแต่เฉพาะในมัสยิด เป็นภาษาละตินที่เป็นสากล และสามารถสร้างความเข้าใจกับประชาชนของเขาได้มากกว่า เพื่อก้าวสู่ความเป็นตุรกีใหม่ เคมาลสร้างและสอนประวัติศาสตร์ใหม่แก่เหล่าเสนาบดีและประชาชนของเขา เคมาลออกประกาศสงวนอาชีพทนายความกับแพทย์ เอาไว้ให้เฉพาะคนเตอร์ก

เคมาลรับเด็กผูหญิงกำพร้าหลายร้อยคนเป็นบุตรบุญธรรม หลายคนมองด้วยจิตฝ่ายต่ำ แต่ตรงกันข้ามเขาเลี้ยงดูสนับสนุนเด็กเหล่านั้นให้กลายเป็นกำลังสำคัญของชาติ

นอกจากนี้เขายังได้เปลี่ยนชื่อเมืองหลายเมืองให้สอดคล้องกับภาษาแบบใหม่ที่จะนำไปสู่ความเป็นสากลที่นานาชาติให้การยอมรับ ไม่ใช่อยู่กันอย่างเป็นลูกไล่อย่างนี้กันต่อไป แม้แต่ชื่อ "มุสตาฟา" ของเขาๆ ก็ละทิ้งเสีย ด้วยเป็นคำที่ใช้เรียกมอสเล็ม บั้นปลายชีวิตเพียงแค่อายุ 52 ปี การเมืองที่เขาสร้างไว้แบบพรรคเดียว ทำให้เิกิดเผด็จการรัฐสภา นำความเดือดร้อนทุกข์ยากมาสู่ประชาชน ระบบถ่วงอำนาจจึงถูกเขาสร้างขึ้น แม้ไม่สำเร็จด้วยประชาชนไม่เข้าใจว่ามีฝ่ายคัดฝ่ายค้านไปทำไม รังแต่จะทำให้การพัฒนาประเทศชะงักล่าช้า แต่เขาก็พยายาม พยายามอีกครั้ง จนกระทั่งร่างกายที่ทานทนกับโรคตับมายาวนานหมดสภาพลง

 แล้ววันนั้นก็มาถึง วันที่ 11 พฤศจิกายน 1940 แผ่นดินตุรกีสิ้นเคมาลแล้ว มุสตาฟา เคมาล ปาชา อะตาเตอร์ก "ผู้มีจิตใจสุจริตต่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชาติตุรกีอย่างแท้จริง"

หมายเหตุ - ความรู้และบทเรียนจาก "จิ้งจอกสีเทา" จอมเผด็จการเคมาล อะตาเตอร์ก 

1. ตามประวัติศาสตร์ ชาวเตอร์กอพยพหนีการรุกรานของมองโกลจากเอเชียไปอยู่บนรอยต่อยูเรเชีย อาณาจักรออตโตมานที่ยิ่งใหญ่ต้องล่มสลายลงเพราะความเขลาของผู้นำ หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 พันธมิตร โดยอังกฤษ อเมริกัน และฝรั่งเศส ใช้กรีซ (ที่ต้องการครอบครองคอนสแตนติโนเปิล) เข้ากำหลาบตุรกี แต่ก็ต้องสู้รบกันอย่างดุเดือด สุดท้ายมุสตาฟา เคมาล ปาชา ก็นำทหารของเตอร์กต่อสู้อย่างเข้มแข็ง และได้รับชัยชนะในที่สุด

2. ช่องแคบบอสฟอรัส คือ แดนของสุลต่านและกาหลิบ

3. บ้านเรือนในอิสตันบูล กล่าวกุนว่าไม่มีหลังไหนที่ไม่เคยถูกไฟไหม้ นั่นเป็นผลพวงของอำนาจการทำลายล้าง ความเกลียดชังของมอสเล็ม (สุลต่าน/กาหลิบ) คริสเตียน (อิตาลี กรีก และอังกฤษ) และพวกนอกรีด (เคมาลและอิสเม็ต)

4. อิสเมียร์ เมืองอากาศดีดินดี มีรูปเคารพของเคมาลที่ขัดหลักศาสนาตั้งตระหง่านอยู่

5. แม้ว่าจะเป็นดินแดนทุรกันดาร อากาศแปรปวน ฝุ่นเยอะมาก แต่กรุงอังการาที่ตั้งอยู่ในฝั่งอนาโตเลีย ก็เหมาะสมที่จะเป็นเมืองหลวงของตุรกีใหม่ ที่ห่างไกลจากการโจมตีของข้าศึก "จิ้งจอกสีเทา" เป็นฉายาที่ อาร์โรลด์ คูร์เทเนย์ อาร์มสตรอง แห่งนิตยสารข่าวไทม์ เรียกขานเคมาลจอมเผด็จการบิดาแห่งเตอร์ก เมื่อปี 1923 เปรียบเปรยกับ "จิ้งจอกสีแดง" ที่หมายถึงสุลต่าน อับดุลฮามิดที่ 1 ผู้กระหายเลือด เจ้าอาณาจักรออตโมานอันเกรียงไกร ... เผด็จการเคมาลถือเป็นความจำเป็นสำหรับตุรกีในยามหน้าสิ่วหน้าขวาน ที่มหาอำนาจต้องการแบ่งกันครอบครอง แต่เผด็จการไม่มีความรู้เรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจและการสร้างสรรค์สังคม เมื่อชาติหมดสงคราม ความขัดแย้งในชาติก็ไม่ใช่เรื่องชาตินิยม แต่เป็นเรื่องปากเรื่องท้อง ซึ่งเผด็จการไม่รู้ไม่ถนัดและทำไม่เป็น

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

Euro 2016 France

ผมเชียร์อิตาลี เพราะทีมนั้นมีเปาโล รอสซี่ มีโรแบโต้ บักโจ้ ผมเชียร์ฮอลแลนด์ ทุกครั้ง เพราะมีกลิ่นอายของท่านนายพลลูกหนังและโยฮัน ครัฟฟ์ ผมเชียร์เยอรมนี เพราะในทีมมีนักฟุตบอลมาจากบาเยอร์น มิวนิค ผมเชียร์อาร์เจนตินา ทุกครั้ง เพราะทีมนี้ไม่เคยขาดนักฟุตบอลพรสวรรค์ ผมเชียร์สเปน เพราะทีมนี้มีพลพรรคมีพัฒนาการสูงมาก และพัฒนาตลอดเวลา ผมเคยเชียร์อังกฤษ แบบที่คนไทยเป็นกัน แต่นั่นมันสมัย "พอล แกสคอย"

ผมเคยเชียร์ปอร์ตุเกส เพราะในทีมมี "หลุยส์ ฟีโก้" ผมไม่เชียร์อังกฤษเลย ตั้งแต่ทั้งเบคแฮมทั้งเจอร์ราดไม่เคยสร้างจุดเปลี่ยนอะไรได้เลย ผมไม่เชียร์ปอร์ตุเกส ตั้งแต่มีหัวหน้าทีมโชว์พาว ไม่ว่าเขาจะเก่งเดี่ยวแค่ไหนก็ตาม ผมไม่เชียร์บราซิลเลย เพราะสมัยก่อนช่อง ๕ เอาบอลลีกส์บราซิลมาให้ดูตอนบ่ายวันเสาร์ บอลจืดเคยดูไหมครับ ลีกส์บอลจืด แล้วที่สำคัญมาก ทีมบราซิลนี้ทุกคนเก่งเกิน ไม่ต้องเชียร์ก็ได้ แต่ตอนหลังนี้ ไม่รู้จะเชียร์ทำไม แต่ละคนพื้นๆ แบบเดียวกับทีมชาติอังกฤษ

 มาคราวนี้ ผมเชียร์โครแอต เพราะทีมนี้เก่งทุกคน สร้างจุดเปลี่ยน สร้างบารมีข่มทีมคู่ต่อสู้ได้ทุกคน ผมเชียร์อิตาลี เพราะทีมนี้ไม่มีขี้แอ๊ค ไม่มีคนไม่ฟิต มีแต่คนทุ่มเทให้ชาติตนเอง ทุกคนเก่งได้เท่ากันหมด ผมเชียร์เบลเยียม เพราะทีมนี้มีตัวเก่งๆ มากเหลือเกิน เล่นบอลสนุก ยูโรคราวนี้ บอกตรงๆ ผมแอบกาชื่อฝรั่งเศสจะเถลิงแชมป์ตั้งแต่ต้นแล้วละ แต่ด้วยหลงไหลกลุ่ม E ที่มีอิตาลี เบลเยียม และสวีเดน อย่างที่ได้วิเคราะห์ไปตั้งแต่แรก ซึ่งอย่างไรเสีย หากเป็นไปตามความเห็นผมทั้งหมด อิตาลีผ่านสเปนได้ และผ่านเยอรมนีได้ (ตรงนี้ความเห็นผมผิดพลาด อิตาลีจอดตรงนี้)

สุดท้ายก็ต้องมาแพ้เจ้าภาพในรอบเซมิไฟนอลอยู่ดี ผมเชียร์ฝรั่งเศส เพราะหลงไหลความสวยงามของเกมส์ "บราซิล-ฝรั่งเศส 120 นาที ที่พลาตินี ซิโก้และโซเครตีส ยิงจุดโทษพลาดคนละลูก" ในฟุตบอลโลก 1986 ที่เม็กซิโก เกมส์นั้นมันสุดๆ และคลั่งไคล้กระบวนยุทธ์ของ "ซีนาดีน ซีดาน"

แล้ววันนี้ทีมนี้มี "พอล ป๊อกบา" ที่ผนวกกับดิมิตริ ปาเยต์ คอยป้อนคอยสอดเสริมให้กับออริวิเยร์ ชีรูด์ กองหน้าชั้นเลิศจากอาร์เซนอล และอองตวน กรีซแมนน์ ดาวซัลโวยูโร 2016 จากแอตเลติโก มาดริด ไปรษณียบัตร ๒ ใบที่ ป.ปลางาม แถมมาจากที่จ่ายค่าอาหารสุนัข ผมเขียนชื่อทีม "ฝรั่งเศส" ไปแล้วครับ