หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เทศกาลน้ำ : ภูมิศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมกัมพูชา

เทศกาลน้ำ : ภูมิศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมกัมพูชา”
โดย สมเกียรติ อ่อนวิมล(http://photos-c.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc4/hs991.snc4/76442_464302675982_637890982_6163379_4670006_a.jpg)


เมื่อคืนที่เป็นคืนวันลอยกระทงในประเทศไทย ที่ประเทศกัมพูชาก็มีงานเทศกาลน้ำคืนวันเพ็ญคล้ายกัน แต่งานเทศกาลน้ำที่กรุงพนมเปญปีนี้เกิดโศกนาฏกรรมผู้คนเหยียบกันตายถึง 450 คน และบาดเจ็บอีกกว่า 760 คน ตามตัวเลขแถลงโดยนายไพ สีพัน โฆษกรัฐบาลกัมพูชา หลังเกิดเหตุคืนวันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน 2553
มีเรื่องเชิงภูมิศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมที่เป็นข้อมูลความรู้ 2 เรื่อง ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ คือ
งานเทศกาลน้ำคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง ของชาวกัมพูชา
เหตุเกิดบนสะพานข้ามแม่น้ำบาสัก (Bassac River) ที่เชื่อมฝั่งกรุงพนมเปญ กับ เกาะเพชร (Koh Pich / Diamond Island)
เทศกาลน้ำคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง : “บอน ออม ตุก” (Bon Om Touk / Bon Om Thook / Bonn Om Teuk / Bon Om Tuk) หรือ “เทศกาลน้ำ” (Water Festival) ของชาวกัมพูชา เป็นงานประเพณีที่ใหญ่ที่สุดในรอบปีของชาวกัมพูชา ยิ่งใหญ่กว่างานวันส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่มากมายนัก
“บอน ออม ตุก” เทศกาลแสดงสำนึกในพระคุณของนำ้ ย้อนอดีตไปถึงยุคแรกเริ่มใน สมัยพระนคร (Angkor) ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในคริสต์ศตวรรษที่ 2 เป็นการบูชา เทพยดาแห่งแม่น้ำ เพื่อมิให้เหล่าเทพยดาทรงพิโรธโกรธมวลมนุษย์ เพื่อความความอุดม สมบูรณ์ของชีวิตชาวขอมโบราณที่อาศัยพึ่งพาน้ำจากทะเลสาปและแม่น้ำสายต่างๆเป็นหลัก และนักประวัติศาสตร์บางกลุ่มก็เชื่ออีกด้วยว่าประเพณีฉลองเทศกาลน้ำในสมัยโบราณเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมความพร้อมและแสดงพลังของกองทัพเรือในการออกศึกสงครามด้วย

เทศกาลน้ำ “บอน ออม ตุก” มีกิจกรรมหลัก 3 กิจกรรม :
ลอยประทีป (Loy Pratip) หลังจากประเพณีแข่งเรือยาวในตอนกลางวัน ตกกลางคืนก็มีการแสดงขบวนเรือประดับไฟแสงสีสวยงามในลำน้ำ โดยรัฐบาล ส่วนราชการ และกลุ่มองค์กรต่างๆจะแข่งขันกันส่งเรือเข้าร่วมขบวน
สัมเพียส พระเค (Sampeas Preah Khe) ไหว้พระจันทร์ ในวาระที่ดวงจันทร์วันเพ็ญส่งสัญลักษณ์ว่าถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวและพืชผลการเกษตรแล้ว แสดงความขอบคุณและอธิษฐานให้ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ต่อไปด้วย
อุก อัมบก (Auk Ambok) เป็นพิธีการเวลาเที่ยงคืนชาวบ้านชาวเมืองจะรวมตัวกัน

เทศกาลน้ำ “บอน ออม ตุก” มีกิจกรรมหลัก 3 กิจกรรม :
ลอยประทีป (Loy Pratip) หลังจากประเพณีแข่งเรือยาวในตอนกลางวัน ตกกลางคืนก็มีการแสดงขบวนเรือประดับไฟแสงสีสวยงามในลำน้ำ โดยรัฐบาล ส่วนราชการ และกลุ่มองค์กรต่างๆจะแข่งขันกันส่งเรือเข้าร่วมขบวน
สัมเพียส พระเค (Sampeas Preah Khe) ไหว้พระจันทร์ ในวาระที่ดวงจันทร์วันเพ็ญส่งสัญลักษณ์ว่าถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวและพืชผลการเกษตรแล้ว แสดงความขอบคุณและอธิษฐานให้ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ต่อไปด้วย
อุก อัมบก (Auk Ambok) เป็นพิธีการเวลาเที่ยงคืนชาวบ้านชาวเมืองจะรวมตัวกันที่วัดเพื่อร่วมกิน “อัมบก” มีลักษณะคล้ายข้าวตอกหรือข้าวเม่าผสมกล้วยและมะพร้าวขูด
เทศกาลนำ้ “บอน ออม ตุก” ฉลองกันตามลำน้ำทั่วประเทศกัมพูชา แต่ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดก็ที่นครหลวงพนมเปญ ในช่วงเทศกาลที่ฉลองกันสามวันสามคืนที่พนมเปญจะมีผู้คนมาเที่ยวงานกันจากทุกสารทิศโดยประมาณถึงล้านคน มีการแข่งเรือยาวประเพณีกันยิ่งใหญ่บนแม่น้ำโตนเลสาป (แม่น้ำทะเลสาบ / Tonle Sap River) และแม่น้ำโขง (Mekong River) สำหรับปี 2553 นี้ข่าวรายงานว่ามีเรือ 400 ลำ กับ 2,500 ฝีพาย มาร่วมแข่งขันกันชิงรางวัลที่เป็นเกียรติสูงสุดของประเพณีแข่งเรือในกัมพูชา เมือถึงเวลาค่ำจะมีเรือตกแต่งประดับประดาสีแสงสวยงามมากมายล่องลำน้ำโชว์ความสวยงามตระการตา นอกจากนั้นแล้วทั่วบริเวณสองฝั่งแม่น้ำก็จะมีงานสนุกสานรื่นเริงมากมายต้อนรับผู้ที่มาเที่ยวกันทุกรูปแบบ เทศกาลน้ำของชาวกัมพูชานี้ จะให้เป็นที่สุดแห่งเทศกาลก็ต้องมาฉลองกันที่พนมเปญ และ ณ บริเวณริมแม่น้ำสามสายรอบๆพนมเปญเท่านั้น เพราะเป็นงานประเพณีฉลองการเปลี่ยนทิศทางของสายน้ำ และเป็นการแสดงความขอบคุณต่อคุณค่าของแม่น้ำด้วย และพนมเปญเป็นที่พบกันของแม่น้ำสามสาย และเป็นจุดที่น้ำในแม่น้ำเปลี่ยนทิศทางไหลในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสองนี้
(http://sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc4/hs978.snc4/77147_464303595982_637890982_6163385_5784609_n.jpg)

(http://)คืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง เป็นคืนที่หน้าฝนยุติลง เปลี่ยนฤดูกาลเข้าสู่หน้าแล้ง สายน้ำที่เคยไหลย้อนขึ้นเหนือเข้าสู่ทะเลสาปเขมร (โตนเลสาป/Tonle Sap) จะไหลกลับลงสู่ทะเลตามธรรมชาติ สภาพภูมิศาสตร์จึงส่งผลต่อวัฒนธรรมโดยตรงตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว
(http://sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc4/hs1144.snc4/148658_464304650982_637890982_6163392_4202774_n.jpg)

แม่น้ำโตนเลสาป พบ แม่น้ำโขง ที่พนมเปญ เกิดเป็นแม่น้ำบาสัก ส่วนแม่น้ำโขงไหลต่อเข้าเวียดนาม ออกสู่ทะเล
หากดูแผนที่กัมพูชา จะเห็นทะเลสาบเขมรอยู่ตรงกลางประเทศ ตรงปลายล่างทางใต้ของทะเลสาบจะมีแม่น้ำเรียกชื่อว่า “แม่น้ำทะเลสาบ” หรือ “แม่น้ำโตนเลสาป” (Tonle Sap River) ไหลลงมาเชื่อมกับแม่น้ำโขงที่ไหลลงมาจากลาว เข้ากัมพูชาทางตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นสายน้ำยาว 500 กิโลเมตร แม่น้ำโตนเลสาปมาเชื่อมกับแม่น้ำโขง ตรงกรุงพนมเปญพอดี จากนั้นแม่น้ำโขงก็จะไหลต่อออกชายแดน เข้าเวียดนามและออกสู่ทะเลในที่สุด แต่ว่าแม่น้ำโตนเลสาปยังมีส่วนที่ไม่ยอมเชื่อมกับแม่น้ำโขงทั้งหมด โดยกลับแยกตัวออกมาเป็นแม่น้ำสายใหม่ ไหลขนานกันทางตะวันตก หรือทางซ้ายมือบนแผนที่ แม่น้ำที่แยกออกมาอีกสายหนึ่งนี้ เรียกชื่อว่า “แม่น้ำบาสัก” (Bassac River – ออกเสียงตามสะดวกแบบไทยอาจเรียกว่า “แม่น้ำป่าสัก” ก็ได้) แม่น้ำบาสัก แม่น้ำโตนเลสาป และ แม่น้ำโขง จึงมาพบบรรจบกันที่พนมเปญ
(http://sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc4/hs1206.snc4/155845_464305425982_637890982_6163398_3663711_n.jpg)


ในฤดูฝน หรือหน้าน้ำ ปริมาณน้ำมากมายมหาศาลจะท่วมท้นล้นแม่น้ำโขง จนดันน้ำเข้าแม่น้ำโตนเลสาบ ไหลเข้าสู่ตัวโตนเลสาป หรือ “ทะเลสาบเขมร”อันยิ่งใหญ่ ให้ยิ่งใหญ่สมชื่อเสียงจริงๆ เพราะน้ำในโตนเลสาปนี้จะเพิ่มปริมาณจากหน้าแล้งขึ้นมาเป็นกว่า 3 เท่า ในหน้าฝน ผิวน้ำโตนเลสาปกว้าง 3,000 ตารางกิโลเมตร เพิ่มเป็น 10,000 ตารางกิโลเมตร สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับโตนเลสาปและชีวิตเศรษฐกิจของผู้คนรอบๆพื้นที่ ปลากว่า 300 ชนิดพันธุ์ในโตนเลสาปเลี้ยงชาวกัมพูชาได้กว่าครึ่งประเทศ นกน้ำอีกกว่า 100 ชนิดกับสัตว์น้ำอื่นในโตนเลสาปเป็นความหลากหลายทางชีวภาพที่ชาวกัมพูชาภาคภูมิใจ
(http://sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc4/hs1195.snc4/154789_464306780982_637890982_6163415_7681913_n.jpg)
คืนวันเพ็ญเดือนสิบสองเป็นคืนที่สายน้ำเปลี่ยนทาง จากที่เคยไหลย้อนขึ้นเหนือเข้าโตนเลสาป น้ำลดลงแล้วจึงจะไหลกลับลงใต้ออกสู่ทะเลตามธรรมชาติ จากนี้ไปไม่นาน น้ำในโตนเลสาปจะค่อยๆแห้งลง และลดลงเหลือเพียง 1 ใน 3 ในที่สุด ความอุดมสมบูรณ์ในโตนเลสาปจะลดลง ชีวิตชาวกัมพูชาจะลำบากมากขึ้น ดังนั้นเทศกาลงานประเพณีน้ำคืนเพ็ญเดือนสิบสองจึงเป็นประเพณีขอบคุณแม่น้ำโขง แม่น้ำโตนเลสาป แม่น้ำบาสัก และ โตนเลสาป โดยเฉพาะ และเป็นการขอบคุณแม่น้ำ โดยภาพรวม แบบที่ชาวไทยลอยกระทงขอบคุณพระแม่คงคา (โดยใช้คำว่า “คงคา” แทนแม่น้ำทั้งหมดโดยภาพรวมเช่นกัน)

เกาะเพชร กลางแม่น้ำบาสัก ที่ไหลผ่านพนมเปญ
เกาะเพชร - เหตุเกิดบนสะพานข้ามแม่น้ำบาสัก (Bassac River) ที่เชื่อมฝั่งกรุงพนมเปญ กับ เกาะเพชร (Koh Pich / Diamond Island) : โดยปรกติงานเทศกาลน้ำนี้ก็มีผู้คนมากมายนับล้านคนเช่นนี้ทุกปี ไม่เคยมีเหตุภัยรุนแรงจนเบียดเสียดและเหยียบกันจนตายดังปีนี้ ที่เกิดขึ้นเป็นอุบัติเหตุเพราะผู้คนบนสะพานข้ามแม่น้ำบาสักตะโกนว่าถูกไฟช๊อต จากนั้นก็เกิดความโกลาหล วิ่งหนี เบียดเสียด เหยียบย่ำกัน จนเกิดโศกนาฏกรรม ซึ่งนายกรัฐมนตรีฮุนเซ็นฉวยโอกาสกล่าวเชิงเสียดสีอย่างผิดที่ผิดทางว่า “เป็นการเสียชีวิตหมู่มากมายที่สุดนับจากครั้งที่พวกเขมรแดงฆ่าหมู่ชาวกัมพูชาในทศวรรษที่ 1970”
อันที่จริง หากไม่มีสะพาน ไม่มีเกาะเพชร ก็อาจไม่เกิดความสูญเสียเช่นนี้ก็เป็นได้(http://photos-b.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc4/hs1161.snc4/150362_464306890982_637890982_6163419_53591_a.jpg)
เกาะเพชร (Koh Pich / Diamond Island) เป็นเกาะเล็กๆ ขนาดพื้นที่ประมาณ 618 ไร่ ติดพนมเปญทางทิศตะวันออก กลางแม่น้ำบาสัก ตรงบริเวณที่แยกออกมาจากแม่น้ำโตนเลสาปและแม่น้ำโขงพอดี คนจากฝั่งพนมเปญ ต้องเดินข้ามสะพาน หากจะไปเที่ยวงานบนเกาะเพชร
เกาะเพชรนี่เองคือชีวิตใหม่ของชาวพนมเปญ เพราะเป็นพื้นที่ที่ถูกเช่า 99 ปี พัฒนาเป็นเขตเมืองใหม่ มีธุรกิจสมัยใหม่ครบวงจร บริษัท Khmer-Canadian Oversea Cambodia Investment Company ได้ลงนามในสัญญาที่ต้องจ่ายรัฐบาลกัมพูชา $50 ล้าน ในข่วงเวลาเช่า 99 ปี กำลังสร้างเป็นศูนย์แสดงสินค้า สวนสนุก แหล่งพักผ่อน จัดงานดนตรี และสารพัดกิจกรรมทางธุรกิจและความบันเทิงนานาชนิด ตลอดจนสร้างหมู่บ้านที่อยู่อาศัย อาคารชุด ตลาด ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ การสร้างเกาะเพชรให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจแห่งใหม่ใหม่ต้องถมที่เกาะให้สูงกว่าฝั่งพนมเปญถึง 11.75 เมตร แม้ทุกวันนี้งานก่อสร้าง และการขายอาคารสถานที่ยังดำเนินต่อไปเรื่อยๆ แต่เกาะเพชรก็มีชีวิตชีวาแล้ว ผู้คนนิยมข้ามฝั่งมาเที่ยว มาจัดงาน จัดเลี้ยง งานแต่งงาน จัดนิทรรศการ แสดงสินค้า พาลูกหลานมาเที่ยวสวนสนุก ฯลฯ กันมากมายทุกวัน ทุกคืน แม้ปีนี้จะโชคร้ายเกิดโศกนาฎกรรมรุนแรง ชีวิตใหม่บนเกาะเพชรจะดำเนินต่อไปเป็นโฉมใหม่ของพนมเปญ และปีหน้า ชาวกัมพูชานับล้านคน ก็จะมาฉลองเทศกาลน้ำที่เกาะเพชรอีก
ทั้งหมดนี้คือภูมิศาสตร์สังคมและวัฒนธรรม อันเนื่องมาจากแม่น้ำไหลเปลี่ยนทิศทางประจำปี ในราชอาณาจักรกัมพูชา

ขอบคุณข้อมูลจากอาจารย์
สมเกียรติ อ่อนวิมล
25 พฤศจิกายน 2553

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

The Big Questions in Geography

คำถามสำคัญที่ใหญ่มากของวิชาภูมิศาสตร์
The Big Questions in Geography

Susan L. Cutter, University of South Carolina
Reginald Golledge, University of California, Santa Barbara
William L. Graf, University of South Carolina

บทนำ

ในพิธีเปิดการประชุมประจำปี 2001 ของสมาคมนักภูมิศาสตร์อเมริกัน (AAG: Association of American Geographers) ในมหานครนิวยอร์ก ที่มี John Noble Wilford หัวหน้าบรรณาธิการรับผิดชอบด้านวิทยาศาสตร์ของนิตยสารข่าวนิวยอร์ก ไทม์ เป็นวิทยากรนำ เขากล่าวด้วยถ้อยคำตรงไปตรงมา ท้าทายต่อวิชาภูมิศาสตร์ด้วยคำพูดที่ชัดเจนว่า คำถามใหญ่มาก (The Big Questions) ของสาขาวิชาภูมิศาสตร์ของพวกเรา คือ คำถามต่างๆ ที่จะไปจับตรึงความสนใจของสาธารณะ สื่อ และ ผู้กำหนดนโยบาย (Abler, 2001) ซึ่งคำถามดังกล่าว Wilford ได้หมายเหตุให้ได้ขบคิดกันประกอบด้วย นักภูมิศาสตร์พลาดพลั้งในการทำงานวิจัยในประเด็นใหญ่ๆ สำคัญๆ ไปรึเปล่า ? เพราะเหตุใดของนักภูมิศาสตร์ที่ทำงานวิจัยในประเด็นใหญ่ๆ สำคัญๆ จึงไม่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ ? และสมาคมนักภูมิศาสตร์อเมริกันจะสามารถแสดงบทบาทอะไรได้บ้าง ในการปรับปรุงการนำเสนอความรู้ทางภูมิศาสตร์เพื่ออธิบายประเด็นใหญ่ๆ สำคัญๆ เหล่านั้น ?

ประเด็นปัญหาแรกนั้น นักภูมิศาสตร์หลายคนกำลังทำงานวิจัยในประเด็นบางประเด็นที่สำคัญของสังคมสมัยใหม่ แต่ก็ไม่ได้เป็นแบบนั้นทั้งหมด ตัวอย่างเช่น การคิดแบบภูมิศาสตร์ถือเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญของตรวจสอบภาวะโลกร้อน ผลผลิตที่ได้จากงานวิจัยที่เข้าสู่สายตาของผู้กำหนดนโยบายและสาธารณชนนั้น บ่อยครั้งที่ออกมาอยู่ในรูปของแผนที่และข้อมูลภาพจากดาวเทียม ที่จะช่วยอธิบายผลลัพธ์ทางภูมิศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก วิธีการทางภูมิศาสตร์เป็นหัวใจของการวิเคราะห์ภัยพิบัติทางธรรมชาติและภัยจากเทคโนโลยี ด้วยการเปิดโอกาสให้มีการปฏิสัมพันธ์สาธารณะผ่านสื่อที่เป็นแผนที่ นอกจากนี้ภัยพิบัติที่เกิดจากแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ชายฝั่งทะเล และแม่น้ำล้นตลิ่ง เหล่านี้เป็นต้นเหตุไปสู่การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ที่นำไปสู่การรับรู้ของสาธารณะต่อไป การโจมตีของลัทธิก่อการร้ายเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 เป็นสิ่งกระตุ้นความสนใจใหม่ที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ที่สามารถนำมาใช้เพื่อสนองตอบต่อเหตุการณ์ที่เป็นภัยพิบัติและเป็นแนวทางในการเตรียมตัวรับมือ

อย่างไรก็ตาม ยังมีสิ่งท้าทายในปัจจุบันนี้ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่นักภูมิศาสตร์ไม่ได้เข้าไปสัมผัสให้เพียงพอ ที่จะแสดงต่อไปในรายละเอียดของบทความบทนี้ ทั้งนี้เหตุผลหลักอย่างหนึ่งของความไม่สามารถเชื่อมโยงของศักยภาพในการช่วยแก้ปัญหากับการประยุกต์ใช้ทักษะสำหรับประเด็นสำคัญๆ เหล่านั้น ดูเหมือนได้กลายเป็นประเด็นทางสังคมวิทยาของวิชาภูมิศาสตร์ไปเสียแล้ว สมาชิกส่วนใหญ่ของสมาคมนักภูมิศาสตร์อเมริกันล้วนเป็นนักวิชาการในมหาวิทยาลัย พวกเขามีวาระและความปรารถนาตามโครงสร้าง คือ ต้องการทำงานวิจัยเน้นเฉพาะเรื่องให้มีความรู้ลึกตามกระบวนทัศน์ต่างๆ ซึ่งเป็นความรู้ที่ดูเหมือนว่าจะคลุมเครือสำหรับผู้มีอำนาจตัดสินใจและสาธารณะ นอกจากนี้ โครงสร้างทางสังคมปัจจุบันยังทำให้นักวิจัยทางภูมิศาสตร์ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องและทำงานวิจัยในประเด็นปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ที่ต้องการการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว การผลิตงานตีพิมพ์ และการสนับสนุนแรงผลักดันให้เกิดการครอบครอง มากกว่าที่จะให้เกิดการศึกษาวิจัยที่ซับซ้อนกว่าที่เป็นอยู่ ปัญหาขนาดใหญ่ๆ ทั้งหลายที่แก้ได้ไม่ง่ายและไม่เร็ว และที่ไม่จำเป็นงานวิชาการ

มียกเว้นอยู่บ้างเล็กน้อย ที่นักภูมิศาสตร์นอกมหาวิทยาลัยดำเนินการกันอยู่อย่างกระจัดกระจายและทำงานเป็นส่วนตัว หรือทำงานเป็นคณะทำงานสหวิทยาการในองค์กรภาครัฐ ธุรกิจ และองค์กรเอกชนต่างๆ เนื่องจากว่ามีสถาบันการวิจัยทางภูมิศาสตร์จริงๆ ไม่มากนัก จึงเป็นการยากที่จะเน้นให้เห็นถึงพลังทางภูมิศาสตร์ที่มีต่อคำถามใหญ่ๆ นักภูมิศาสตร์จำนวนมากในกลุ่มนี้จึงกำลังตอบสนองอยู่กับความต้องการแบบฉับพลันและแบบที่เป็นระยะสั้น มากกว่าที่จะเป็นผู้นำในการศึกษาประเด็นปัญหาใหญ่ๆ สำคัญๆ

สำหรับเหตุผลที่นักภูมิศาสตร์หลายคนที่ทำงานวิจัยในประเด็นใหญ่ๆ สำคัญๆ แต่ไม่ได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่มี 2 ประการ คือ ความไม่พอเหมาะของเบ้าหลอมแบบเดิมของวารสารรายงานการวิจัยที่นักภูมิศาสตร์จะเข้าไปนำเสนอผลงานเพื่อให้ได้รับรางวัลในวิชาชีพของตัวเอง และบ่อยครั้งที่งานที่สัมพันธ์กับนโยบายเกิดขึ้นมานอกเหนือรายละเอียดต่างๆ ที่มีอยู่ในจุดเริ่มต้นของงานวิจัย มีตัวอย่างที่สำคัญอันหนึ่งที่แสดงให้เห็นจุดที่กล่าวถึงนี้ คือ การทำงานของกรรมการภูมิศาสตร์ (Committee on Geography) ที่ทำงานในคณะกรรมการวิทยาศาสตร์โลกและทรัพยากร (Board on Earth Sciences and Resources) ภายใต้สภาวิจัยแห่งสหรัฐอเมริกา (NRC: National Research Council) กรรมการดังกล่าวผลิตผลงานการศึกษาทางภูมิศาสตร์ และจัดพิมพ์รายงานเพื่อเป็นข้อเสนอแนะและแนวทางให้กับรัฐบาลกลางในหลากหลายประเด็นที่เป็นคำถามใหญ่ๆ สำคัญๆ โดยงานวิจัยที่เห็นอยู่ในปัจจุบันที่นำเสนอจากนักภูมิศาสตร์และที่เป็นงานที่เกิดจากมุมมองทางภูมิศาสตร์ รวมถึงงานที่เป็นข้อแนะนำต่อสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (USGS: US Geological Survey) ที่เป็นการปรับโปรแกรมการวิจัยต่อประเด็นทางภูมิศาสตร์ที่สามารถจับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งที่เกี่ยวกับการขยายตัวของเมือง ภัยพิบัติ และการทำแผนที่ สำหรับกรณีอื่นๆนั้น งานศึกษาของคณะกรรมการอย่างหนึ่งทำให้ได้ทิศทางสำหรับรัฐบาลกลางสหรัฐให้กับผู้มีอำนาจในการตัดสินใจและองค์กรสาธารณะ ที่จำเป็นต้องทราบเกี่ยวกับโลกมุสลิม ขณะที่งานวิจัยอื่นๆ กำลังให้ความสนใจในประเด็นของการคมนาคมขนส่งที่สัมพันธ์กับการแออัดของปริมาณการจราจรในเขตเมืองและการพัฒนาดัชนีการมีชีวิตที่ดี รวมถึงยังมีนักภูมิศาสตร์คนอื่นๆ ก็ไปมีส่วนร่วมในคณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกี่ยวกับน้ำ (Water Science and Technology Board) ของสภาวิจัยแห่งสหรัฐอเมริกา ที่ทำงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้แนวความคิดด้านพื้นที่ลุ่มน้ำในการจัดการระบบนิเวศ และบทบาทของเขื่อนในการรักษาความมั่นคงของอุปทานน้ำของสาธารณะ นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างของนักภูมิศาสตร์ที่เป็นผู้นำการทำงานกลุ่มแบบสหวิทยาการในการสำรวจตรวจสอบการคิดเชิงพื้นที่และการทำแผนที่โลก ทุกกรณีทั้งหมดนี้ นักภูมิศาสตร์ได้แสดงบทบาทในฐานะศูนย์กลาง เพียงแต่ว่าผลผลิตของงานที่ทำกันจะถูกอ้างชื่อว่าเป็นผลงานของหน่วยงาน นักภูมิศาสตร์แต่ละคนที่ทำงานอยู่ในนั้น มีชื่อเป็นเพียงผู้ร่วมทำงานเท่านั้น และหากรายงานฉบับนั้นมีอิทธิพลต่อนโยบาย ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจก็มักจะได้รับเครดิตนั้นไปด้วยเพราะเป็นผู้ดำเนินการตามกระบวนการ โดยไม่ได้ใส่ใจกับผู้สำรวจวิจัยที่เริ่มต้นทำงานกันด้วยอุตสาหะ

สำหรับสมาคมนักภูมิศาสตร์อเมริกัน ที่แสดงบทบาทในการกระตุ้นงานวิจัยที่ทำกันในประเด็นปัญหาใหญ่ๆ ด้วยการให้ความสำคัญกับการทำงานและการทำให้งานนั้นได้รับการเผยแพร่ออกสู่สาธารณะ ซึ่งอาจจะเป็นนักวิจัยเดี่ยวส่วนบุคคลที่ปรารถนาจะทำงานวิจัยด้วยความรักและชื่นชมของพวกเขาร่วมกับคณะที่อยู่ในสาขาวิชาเดียวกัน สมาคมนักภูมิศาสตร์อเมริกันสามารถมีอิทธิพลต่อการทำงานของมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation) มูลนิธิแห่งชาติสำหรับสาขามนุษยศาสตร์ (National Endowment for the Humanities) สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institutes of Health) สมาคมภูมิศาสตร์แห่งชาติ (National Geographic Society) และแหล่งทุนอื่นๆ ที่เป็นช่องทางของความสนใจ และทรัพยากรที่บุคคลหรือคระบุคคลสามารถแสดงความสนใจประเด็นวิจัยที่เป็นประเด็นใหญ่ๆ ได้ ทั้งนี้นักวิจัยทางภูมิศาสตร์ที่เป็นบุคคลมักไม่อยากสำแดงอิทธิพลอะไรออกไปมากนัก ยกเว้นก็แต่เพียงเมื่อพวกเขาต้องให้การสนับสนุนในการทบทวนงานของคณะลูกขุนขององค์กรต่างๆ ที่กล่าวมา แต่ว่าสมาคมนักภูมิศาสตร์อเมริกันเองก็สามารถแสดงอิทธิพลได้เป็นอย่างดีในวอชิงตัน

บนความพยายามที่จะบ่งชี้ถึงประเด็นต่างๆ ที่จะต้องจัดให้มีคุณภาพระดับปัญหาใหญ่ ซึ่งมีข้อสรุปเป็นแนวความคิดแบบกว้างๆ ที่ผนึกประเด็นต่างๆ เชิงแนวคิดบางอย่างเอาไว้ (อย่างเช่นขนาด) และยังคงมีการชี้เฉพาะลงไปถึงชอบเขตของเนื้อหาที่เป็นที่สนใจอยู่ในขณะนี้ ที่จะต้องมายืนยันกันถึงความสำคัญของประเด็นใหญ่ๆ เหล่านั้น ก็เพราะเชื่อว่า ในท้ายที่สุดมันก็จะมีความสัมพันธ์กับประเด็นอื่นๆ ที่ต้องมาดำเนินการร่วมกัน ในบางประเด็นของปัญหาใหญ่นี้อาจจะดูคลุมเครือไปบ้างสำหรับสาธารณะ แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องคุ้นเคยกันดีสำหรับนักวิจัยและผู้กำหนดนโยบายที่เริ่มให้ความสนใจกับประเด็นเหล่านี้อยู่ มีความหวังเล็กๆ ที่การรวบรวมประเด็นใหญ่ๆ ว่าจะสามารถบ่งชี้ปัญหาต่างๆ ที่ใหญ่เท่าๆ กันออกมา แต่ว่าอย่างหนึ่งที่ได้จำแนกมานี้เป็นไปเพื่อคณะนักวิจัยที่ต้องการรับการสนับสนุนทุนวิจัยในประเด็นสำคัญๆ มากกว่าการทำงานวิจัยตามความสนใจในกลุ่มเล็กๆ ของสาขาวิชาที่ใช้งบประมาณไม่มากนักทำงานวิจัยภายในระยะเวลาปีหรือสองปี สำหรับการสื่อสารผลงานวิจัยภูมิศาสตร์ให้สาธารณชนได้เกิดเป็นแนวความคิด ก็ยังเป็นประโยชน์อีกอย่างหนึ่งที่ท้าทายการทำงานของนักภูมิศาสตร์ ซึ่งความท้าทายนี้ ด้วยตัวของมันเองสามารถที่จะกลายไปเป็นประเด็นสำคัญของสาขาวิชาอีกก็ได้ ด้วยข้อเสนอแนะทั้งหมดที่จะกล่าวต่อไปนี้ หวังว่านักภูมิศาสตร์ทุกคนที่ได้อ่านบทความบทนี้ จะได้รับรู้ถึงความสำคัญของชุมชนภูมิศาสตร์ที่จะต้องเข้าไปให้ถึงสิ่งต่างๆ เหล่านั้นให้จงได้

ปัญหาสำคัญมากของภูมิศาสตร์

1. อะไรที่ทำให้สถานที่และภูมิทัศน์แต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน
2. ลึกๆ แล้ว มนุษย์มีความปรารถนาที่จะจัดการพื้นที่ด้วยการสร้างสรรค์เขตแดน กำหนดขอบเขตพื้นที่ และสร้างย่านพื้นที่ขึ้นมาใช่หรือไม่
3. เรากำหนดขอบเขตของพื้นที่ได้อย่างไร
4. เพราะเหตุใดประชาชน ทรัพยากร และความคิด จึงต้องมีการเคลื่อนย้าย
5. โลกถูกเปลี่ยนแปลงจากกิจกรรมของมนุษย์ได้อย่างไร
6. ระบบเสมือนจริงมีบทบาทอะไรในการเรียนรู้เกี่ยวกับโลก
7. เราจะสามารถวัด “สิ่งที่ไม่สามารถวัดได้” ได้อย่างไร
8. ทักษะทางภูมิศาสตร์มีบทบาทอะไร ในการแสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของอารยะธรรมของมนุษย์ และมีบทบาทอะไรในการทำนายอนาคต
9. การเปลี่ยนแปลงความยั่งยืนและความเปราะบางในที่ต่างๆ และช่วงเวลาต่างๆ นั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร และเพราะเหตุใด
10. อะไรคือธรรมชาติของความคิด การให้เหตุผล และความสามารถทางพื้นที่