ท่องไปกับความรู้ ทักษะ ปัญญา และสุนทรียญาณ "วิชาภูมิศาสตร์" ไม่ได้มีไว้ขาย มีไว้เป็นเครื่องมือสรวญเสเฮฮา มีไว้ประเทืองปัญญา ที่จะพาสังคมพัฒนาและอยู่รอด ที่นี่เป็นสังคมเรียนรู้ของคนที่เรียนวิชาภูมิศาสตร์
วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
Spatial Interaction Model
Spatial Interaction Model เป็นประเด็นหัวใจของการศึกษาและวิจัยทางภูมิศาสตร์ โดยมีฐานคิดมาจาก Principle of Least Effort ของ AK Zipt (1959) โดยมีหลักการเบื้องต้นของปฏิสัมพันธ์เชิงพื้นที่ 3 ประการ คือ Complementarity, Transferability และ Intervention Opportunity ทั้งนี้โดยมีประเด็นของ Friction of Distance Principle เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องนำมาพิจารณาร่วม
Spatial Interaction Model นี้ในชั้นต้นมีการประยุกต์ใช้ทางภูมิศาสตร์ ด้วยการนำเอากฎแรงโน้มถ่วง (Law of Gravitation) มาใช้อธิบายทางสังคมศาสตร์ เพื่อหาปฏิสัมพันธ์ระหว่างสถานที่ โดยสถานที่สองแห่งจะมีปฏิสัมพันธ์มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของมวลของทั้งสองสถานที่ และมีระยะทางเป็นปัจจัยเชิงลบที่จะมามีผลให้ปฏิสัมพันธ์ดังกล่าวลดลง และประยุกต์ใช้ในระดับที่สูงขึ้นอีก 3 ประเด็น คือ
1. Retail Gravitation เพื่อหาอิทธิพลของสถานที่แห่งหนึ่งที่มีต่อสถานที่หนึ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับสถานที่อีกแห่งหนึ่ง
2. Breaking Point Theory เพื่อหาตำแหน่งแสดงขอบเขตการให้บริการของสถานที่สองแห่ง
3. Population Potential Model เพื่อวัดศักยภาพโดยรวมของสถานที่แต่ละแห่งในภูมิภาค
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)