การเรียนการสอนแบบนักเรียนมีส่วนร่วมในห้องเรียนใหญ่
เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาวิชาการการศึกษาทั่วไปแห่งประเทศไทย
เครือข่ายการศึกษาทั่วไปแห่งประเทศไทย
วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2560 ณ
โรงละครเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาวิทยาลัยนเรศวร
ก่อนเปิดเรียน
มีสิ่งสำคัญเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนหลายอย่างที่จะต้องตัดสินใจก่อนเปิดชั้นเรียน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้องเรียนใหญ่ โดยเราจะต้อง
•
กำหนดผลลัพธ์สุดท้ายของการเรียนรู้และต้องระบุให้ชัดเจนว่าวิชานี้ต้องการให้นักเรียนได้อะไรออกไปจากชั้นเรียน
•
ออกแบบชั้นเรียนที่จะสามารถทำให้นักเรียนบรรลุผลสำเร็จในเป้าหมายการเรียนรู้
ชั้นนี้ควรจะมีหนังสือหรือสื่อการอ่านที่มีสารัตถะครอบคลุมทุกหัวข้อ
ระบบการทดสอบนี้จะใช้ และรูปแบบการสอบทุกอย่างต้องชัดเจน
•
ตัดสินใจเสียตั้งแต่ต้นว่าจะใช้วิธีการสอนแบบใดตอนไหน
โครงสร้างของห้องเรียนเป็นอย่างไร
จะจัดให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนอย่างไร และการบรรยายจะเป็นอย่างไร
แม้คำถามเหล่านี้จะถูกถามไปยังคุณครูเสมอๆ
แต่ทุกครั้งก่อนจะเปิดชั้นเรียนใหม่ ทุกคำถามจะต้องถูกนำมาทบทวน
เพราะการเปลี่ยนแปลงระหว่างที่ชั้นเรียนเปิดไปแล้วนั้น ทำได้ค่อนข้างยาก
นักเรียนอาจไม่รับรู้สิ่งที่เราต้องการเปลี่ยนแปลง
(อาจด้วยการที่พวกเขาไม่ได้เข้าห้องเรียนหรืออาจเพราะพวกเขาไม่สนใจฟัง
ซึ่งเกิดขึ้นได้เสมอในห้องเรียนใหญ่)
ส่วนในห้องเล็กที่มีความใกล้ชิดระหว่างครูกับนักเรียนมากกว่านั้น
พวกเขาจะสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ได้ง่ายกว่า
อีกทั้งนักเรียนจะไม่หลบซ่อนทั้งกายและใจแบบที่ชอบทำกันในห้องเรียนใหญ่ ด้วยปริมาณงานที่สอดสัมพันธ์กับการจัดการเกรด
และการสื่อสารกับห้องเรียนใหญ่
ทำให้มีความยุ่งยากที่จะต้องทำหลายๆสิ่งที่คิดและตระเตรียมการเรียนการสอนในชั้นเรียน
ดังนั้นจึงต้องเตรียมการทุกอย่างเสียก่อนเปิดชั้นเรียน
ข้อพิจารณาทั่วไปบางอย่างที่ต้องเตรียมการก่อนเปิดชั้นเรียนวันแรก
•
ต้องกำหนดประเด็นสารัตถะการเรียนรู้ให้ชัดเจน ในห้องเรียนใหญ่
นักเรียนจะมีแรงบันดาลใจ ความรู้ความสามารถ และสติปัญญาแตกต่างกันเยอะมาก
หากเราวางแผนการสอนให้ครอบคลุมทุกประเด็น เราจะไม่มีเวลาอธิบายลงลึกในรายละเอียด หรือหากวางแผนครอบคลุมประเด็นเนื้อหาไม่มากนัก
ก็จะสามารถอธิบายแนววความคิดหลักและลงรายละเอียดที่ควรที่เหมาะสมได้
นั่นทำให้นักเรียนบางคนไม่สามารถเข้าใจแจ่มชัดต่อสิ่งที่เราสอนพวกเขา
จึงเป็นการยากสำหรับนักเรียนห้องเรียนใหญ่ที่จะบอกกล่าวกับครู ให้สอนให้ช้าลง เมื่อพวกเขาไม่เข้าใจหลักการหรือแนวความคิดที่ครูกำลังสอนอยู่
มีตัวอย่างการศึกษาวิชาเคมีและชีววิทยาในห้องเรียนใหญ่
ที่จะไม่สามารถแสดงให้นักเรียนได้เรียนรู้หลักการแนวความคิดได้มากนัก
นั่นจึงทำให้ไม่เกิดแรงจูงใจให้นักเรียนสนใจเรียนรายละเอียดที่ลึกซึ้ง และที่จำเป็นของรายวิชาเหล่านั้นได้มากนัก
•
จัดการสาระการเรียนรู้ให้เป็นลำดับ ครูจะต้องไม่ยึดติดกับลำดับเนื้อหาสาระตามหนังสือหรือคู่มือ
ซึ่งบางครั้งอาจจะต้องจัดลำดับใหม่ เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าถึงได้ง่าย
และช่วยให้ทำการสอนได้ง่ายขึ้นในห้องเรียนใหญ่ที่มีนักเรียนมานั่งเรียนเป็นจำนวนมาก
•
ไม่ควรกังวลกับวัสดุอุปกรณ์มากเกินไป แม้ว่านักเรียนในห้องเรียนใหญ่จะสามารถถามคำถามรูที่กำลังสอนอยู่หน้าชั้นเรียนได้
(และมีการทำให้นักเรียนห้องเรียนใหญ่สามารถมีส่วนร่วมตามเป้าหมายได้อย่างดี)
แต่ด้วยความไม่รู้หรือความไม่มั่นใจ อาจทำให้นักเรียนเกิดความยุ่งยากในการเข้าถึงเนื้อหาสาระที่ครูกำลังทำการสอนอยู่หน้าชั้น
บางครั้งผลลัพธ์นี้ อาจจบลงด้วยการให้เวลากับพวกเขา และอาจต้องจัดระบบการบรรยายเสียให้ตรงจุดกับความรู้ความเข้าใจและความสนใของนักเรียน
โดยเอาบางสิ่งบางอย่างที่จะก่อให้เกิดความสับสนของนักเรียนออกไป
เพราะเรารู้จักเนื้อหาสาระที่ทำการสอนมากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งมีโอกาสหงุดหงิดน้อยลง
•
บอกผู้เรียนด้วยว่าเขาสามารถบันทึกอะไรได้บ้างระหว่างเรียน บางครั้งนักเรียนในห้องเรียนใหญ่อาจจะข้ามความสนใจขณะที่เราสอนอยู่หน้าชั้น
แล้วไปขอคัดลอกบทเรียนภายหลัง อีกทางหนึ่ง
นักเรียนบางคนอาจยุ่งยากที่จะเน้นในชั้นเรียนขนาดใหญ่
แต่ว่าพวกเขาสามารถเก็บเกี่ยวความรู้ได้มากจากการฟังบันทึกการบรรยายของเราภายหลังนอกห้องเรียน
ดังนั้นจึงจะต้องพัฒนาและใช้นโยบายการจัดการเรียนการสอนที่เราสะดวกแก่การให้การเรียนรู้กับนักเรียน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกนักเรียนที่มีปัญหาการเรียร็ในชั้นเรียน
•
สนในความสามารถและความสนใจของนักเรียน ในห้องเรียนใหญ่
เราจะไม่สามารถคาดหวังนักเรียนให้สูงเกินไปหรือต่ำเกินไปได้
เพราะมันจะทำให้เราสูญเสียนักเรียนจำนวนหนึ่งไป
จึงจำเป็นจะต้องสร้างทัศนคติที่ดีต่อความรู้ความสามารถและความถนัดของนักเรียนทุกกลุ่ม
หากไม่มั่นใจพวกเขาจะสามารถจัดการอะไรได้ ให้วางแผนการประเมินเอาไว้เสียตั้งแต่ต้น
และทำการประเมินผลอย่างจริงจังด้วยการวัดการสอนและหลักสูตร
เพื่อช่วยให้นักเรียนทราบว่าจะเรียนวิชานี้กันอย่างไร
•
เตรียมแผนการเรียนรู้ (syllabus)
ไว้ให้นักเรียนด้วย เป็นเรื่องสำคัญที่ครูจะต้องนำเอานโยบาย
เป้าหมายการเรียนรู้ และความคาดหวังสูงสุดของการเรียนการสอนมาอธิบายให้ชัดเจน
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระเบียบการเข้าชั้นเรียน ระบบการตัดเกรด การสอนกลางภาค-ปลายภาค หรือแม้แต่ช่องทางที่นักเรียนจะสามารถติดต่อครูผู้สอน
ซึ่งอันหลังสุดนี้มีความสำคัญอย่างมากสำหรับห้องเรียนใหญ่
เพราะนักเรียนอาจไม่พูดในชั้นเรียนด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม
แต่พวกเขาจะอยากไปสอบถามหรือขอคำอธิบายเพิ่มเติมหลังจากนั้น
•
เข้าไปดูห้องเรียนเสียก่อนที่จะเข้าไปสอนจริง เราจะสามารถลดแรงกดดันต่อตัวเองลงได้
และยังเพิ่มระดับความรู้สึกสบาย เพราะได้รับรู้ว่าห้องเรียนที่จะไปสอนเป็นอย่างไร
ก่อนที่จะลงมือทำการสอน หากเราจะใช้เทคโนโลยี ก็ต้องให้แน่ใจให้ได้ว่า
จะทำให้สิ่งต่างๆ เหล่านั้นทำงานได้อย่างไร คงเป็นเรื่องน่าอายและหมดความน่าเชื่อถือในตัวเรา
หากว่าเรามัวแต่คลำหาวิธีใช้เทคโนโลยีตั้งแต่วันแรกของการเรียน
การมาห้องเรียนก่อนเวลาแล้วเรียนรู้ผังเทคโนโลยีและผังทั่วไปของห้องเรียน
จะทำให้เรารู้สึกสบายขึ้นก่อนลงมือสอนนักเรียน
เปิดห้องเรียนวันแรก
ห้องเรียนแระเป็นอะไรที่สำคัญสุดๆ
บ่อยครั้งที่ความประทับใจแรกพบกลับกลายเป็นความประทับใจที่ลืมเลือน
การประเมินผลเบื้องต้นหลังจากที่ให้นักเรียนดูคลิปสั้นๆ 5 วินาที
ในการเข้าห้องเรียนวันแรก จะช่วยให้เราสามารถจัดระดับผลลัพธ์ตอนปลายภาคเรียนได้ (Ambady & Rosenthal,
1992) วางแผนให้ดีว่าจะใช้เวลาทุกๆ นาที ในชั้นเรียนวันแรกอย่างไร
นักเรียนของห้องเรียนใหญ่มักคาดหวังว่าจะสามารถไปนั่งอยู่ท้ายห้องและไม่ต้องมีส่วนร่วมอะไรกับชั้นเรียนเลย
ซึ่งถ้าหากนักเรียนไม่ได้เข้ามาในห้องเรียนวันแรกหรือไม่รู้อะไรเกี่ยวกับเรามาก่อน
พวกเราก็จะอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสไตล์การเรียนการสอนของวิชานี้
นักเรียนหลายคนไม่คาดคิดว่าจะสามารถมีส่วนร่วมในชั้นเรียนได้
เพราะขนาดขงห้องเรียนใหญ่เกินกว่าที่จะคิด
แต่เราก็สามารถจัดระบบการเรียนรู้ที่ดีได้ด้วยการทำให้ห้องเรียนวิชาแรกดูกระฉับกระเฉง
เป็นกันเอง น่าสนใจ โดยมีข้อแนะนำบางอย่างเพิ่มเติม ดังนี้
·
กำหนดและประกาศมารยาทของห้องเรียน
ความไม่สุภาพของห้องเรียนจำพวกที่ชอบคุยกัน มาเรียนสาย ออกห้องเรียนก่อนเวลาเลิก
ส่งข้อความหากัน และเอาอะไรขึ้นมาทาน ล้วนสร้างความรำคาญให้ทั้งครูและนักเรียน
จึงใช้เวลาในวันแรกบอกกล่าวให้ชัด และให้เป็นที่ยอมรับกันทั้งหมดว่าอะไรบ้างที่ทำได้
อะไรบ้างที่ห้ามทำในห้องเรียนนี้
·
ครูบางคนจะแจกเฉพาะ Syllabus ในคาบแรก
ซึ่งการทำแบบนั้น มันเป็นการละเลยการบอกกล่าวถึงสิ่งที่น่าตื่นเต้นอื่นๆ อีกมากมาย
ทั้งจากหนังสือ เอกสาร เวบไซต์ คลิป ฯลฯ ที่เป็นอุปกรณ์การเรียนรู้
ü ตั้งแต่ต้น
ควรเริ่มชั้นเรียนด้วยตัวอย่างเรื่องตื่นเต้นที่เกี่ยวเนื่องกับรายวิชานี้ราว 15
นาที หรือมากกว่านั้นค่อยแจก Syllabus แล้วก็ตอบคำถาม
ü มีสาระมากกมายที่สามารถนำมาแสดงในวันเปิดชั้นเรียน
พึงทำให้ชั่วโมงนี้เป็นวันที่น่าตื่นเต้นที่สุด อาจเป็นคลิปซัก 1 หรือ 2 คลิปสั้นๆ
ก็ได้
ü เชิญชวนนักเรียนหลายๆ
คนเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน ให้พวกเขาได้เคลื่อนย้ายตำแหน่ง ยกมือ
หรือยืนขึ้น เพื่อตอบปัญหาต่างๆ ปัญหาที่ถามนักเรียนแต่ละคนไม่ควรซ้ำกัน
·
ทำรายการช่วยจำเสียตั้งแต่วันแรก
การสอนห้องใหญ่นั้นจำนวนนักเรียนจริงๆ
จะต้องถูกระบุชัดเจนตั้งแต่ต้นเพื่อจัดระบบอะไรหลายๆ อย่าง
รายชื่อนักเรียนจะต้องพร้อม การอ่านสะกดชื่อให้ถูกต้องก็ควรทำ
ทำให้การเรียนรู้เข้าถึงบุคคล
ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของการเรียนการสอนห้องเรียนใหญ่
ที่มีนักเรียนมากกว่า 60 คนขึ้นไป คือ นักเรียนมักรู้สึกว่าผู้สอนไม่มีความสนใจการมีตัวตนของนักเรียนในชั้นเรียนนั้นๆ
อย่างจริงจัง
ขนาดของชั้นเรียนอาจเป็นอุปสรรคที่จะให้ผู้สอนใส่ใจนักเรียนเป็นรายบุคคล
แต่ก็มีวิธีการอีกหลายอย่างที่จะทำให้ผู้เรียนอยู่ในห้องเรียนใหญ่รู้สึกว่าห้องเรียนเล็กลง
เป็นต้นว่า
·
พยายามเรียนรู้นักเรียนจาก ชื่อ-สกุล ของพวกเขา บางทีวิธีที่ทรงพลังที่สุดในการทำให้นักเรียนแต่ละคนสนใจเรียน
คือ การเรียนรู้จาก ชื่อ-สกุล ของพวกเขา
ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเข้มงวดว่าต้องจำได้ทั้งหมด โดยมีเคล็ดง่ายๆ ดังนี้
ü ถ่ายรูปนักเรียนเป็นกลุ่มๆ
ในระหว่างเข้าห้องเรียนวันแรก โดยที่นักเรียนแต่ละคนมีป้ายชื่อติดด้านหน้า
(อาจออกแบบและทำกันในห้องเรียนวันนั้นเลย)
แล้วใช้ภาพเหล่านี้สร้างความจำกับชื่อ-สกุลบางคนก่อนเข้าห้องเรียนในคราวถัดไป
อาจใช้เวลาสักสัปดาห์หนึ่งเพื่อจำชื่อ-สกุลให้ได้มากที่สุดเพราะพวกเขาจะรู้สึกดีกับเรา
ด้วยเห็นว่าเอาใจใส่พวกเขาอย่างจริงจัง
ü ให้นักเรียนนั่งตำแหน่งเดิม
โดยกำหนดไว้ในแผ่นชาร์ต ระบุชื่อ-สกุลของแต่ละคนเอาไว้
โดยให้เป็นแบบนี้ตลอดภาคการศึกษา
·
แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มเล็กๆ หลายๆ กลุ่ม พยายามกำหนดให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกัน
แล้วทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกันสัปดาห์ละครั้งเป้นอย่างน้อย
พวกเขาจะได้รู้จักเพื่อนร่วมชั้น มีโอกาสพูดคุยทำให้บรรยากาศดีขึ้น
·
ส่งอีเมลถึงนักเรียน
อันนี้ให้ทำก่อนเปิดห้องเรียนวันแรก เพื่อบอกข้อมูลบางอย่างเล็กๆ
เกี่ยวกับตัวผู้สอนและชั้นเรียน
·
ทำอะไรบางอย่างหลังการสอนแต่ละครั้ง โดยเฉพาะกับใครบางคน
เป็นต้นว่า ส่งอีเมลถึงนักเรียนที่สอบตก เพื่อหาสาเหตุที่เขาสอบตก เช่น
ไม่ค่อยมาเรียน ไม่พยายามเรียนรู้ หรือไม่เข้าใจ หรือส่งอีเมลถึงนักเรียน 5 คน
หรือมากกว่านี้ (ถ้าทำได้) ที่สอบได้คะแนนสูงที่สุด
ทั้งหมดนี้จะแสดงให้เห็นว่าพวกเราเอาใจใส่พวกเขา ทั้งนักเรียนเก่งและนักเรียนไม่เก่ง
ไม่ได้เห็นพวกเขาแค่ที่มีรายชื่อผู้ลงทะเบียนเรียนวิชานี้เท่านั้น
·
เข้าห้องก่อนและอยู่จนกระทั่งจบ
เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนเข้ามาพูดคุยต่อหน้า
นอกจากนี้การเข้ามาในห้องเรียนก่อนเวลายังแสดงว่าเราเปิดรับคำถาม
โดยให้รีบจัดอุปกรณ์การสอนแล้วเดินไปรอบๆ ห้องทักทายนักเรียนที่นั่งอยู่แต่ละจุด
·
ใช้เทคโนโลยีเชื่อมโยงกับนักเรียน
ใช้ซอฟแวร์จัดการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของนักเรียน
เปิดให้มีการสนทนากลุ่ม หรือการตอบคำถามเกี่ยวกับชั้นเรียน หากมี TA ก็กำหนดให้
TA แต่ละคนดูและกลุ่มนักเรียนที่จัดเป็นกลุ่มย่อยๆ หลายๆ
กลุ่ม และให้ TA รับผิดชอบในการสร้างกลุ่มสนทนา
ü บางครั้งอาจก่อตั้งกลุ่มสื่อสารออนไลน์ของนักเรียนทั้งหมดในชั้น
เพื่อแลกเปลี่ยนวิดีโอและข่าวสารที่แต่ละคนค้นพบ
หรือที่ได้จากการสื่อสารกับบุคคลอื่นนอกห้องเรียน
ออกแบบการเรียนให้น่าสนใจ
สร้างความตรึงใจให้กับนักเรียนเป็นสำคัญ
สำหรับห้องเรียนทุกขนาด แต่มีความสำคัญมากที่สุดสำหรับห้องเรียนใหญ่
เราต้องการให้นักเรียนใช้เวลาในห้องเรียนอย่างคุ้มค่า
ต้องการให้นักเรียนกลับมาเข้าห้องเรียนอีกในวันข้างหน้า และต้องการให้พวกเขาได้ประโยชน์จากห้องเรียนมากๆ
การทำให้ได้ทุกอย่างดังกล่าวในห้องเรียนใหญ่เป็นเรื่องยาก
แต่ใช่ว่าจะทำไม่ได้เอาเสียเลย ทำได้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น (active learning activities) ของผู้สอน ที่จะสามารถจัดการบรรยายให้ดีได้มากน้อยเพียงใด มีข้อแนะนำเป็นกลางๆ
ดังนี้
·
ในห้องเรียนเราสามารถนำเสนออะไรต่อมิอะไรได้ตั้งหลายรูปแบบ
อย่าใช้เสียงระดับเดียวตลอดระหว่างการบรรยาย
อาจสร้างห้องเรียนให้มีปัญหาซักถามหรือตอบโต้กันบ้าง
ควรใช้แบบฝึกหัดที่เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้หลายๆ อย่าง
ü ลดความเร็วและระดับเสียงลงเพื่อให้นักเรียนที่ไม่คุ้นเคยกับเสียงเราได้ปรับตัว
ü ใช้ท่าทางการทำมือ
เพื่อสร้างความสนใจให้กับนักเรียน
·
ใช้ประโยชน์จากการสอนแบบบรรยายที่เป็นจุดแข็งอยู่แล้ว:
โดยกำหนดประเด็นหัวข้อที่มีอยู่แล้วในเอกสาร/หนังสือ เพื่อกำกับและควบคุมให้การเรียนรู้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
·
หาทางจัดการกับข้อจำกัดของการบรรยาย: เป็นเรื่องยากที่ที่จะทำให้นักเรียนที่ชอบนั่งอยู่ท้ายห้อง
และคัดลอกอะไรก็แล้วแต่ที่ครูกำลังพูดโดยไม่ได้ประมวลสารสนเทศให้เป็นความรู้
หรือคิดให้ลึกๆ เสียก่อน ให้หยุดพูดทันทีหลังจากที่บรรยายประเด็นสำคัญของตอนนั้นจบลง
และพยายามสร้างความเข้าใจให้กับนักเรียนว่าเราต้องการให้รู้ให้เข้าใจสิ่งใด
·
อย่าบรรยายอย่างเดียวหมดทั้งคาบเรียน: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้อธิบายการบรรยายด้วยภาพตัวอย่าง
และพยายามตรวจสอบดูว่าได้ให้นักเรียนทำงานในรายวิชานี้ หรือไม่ก็ให้มีการถามคำถามเพื่อให้พวกเขาค้นหาคำตอบร่วมกันกับเพื่อนที่นั่งข้างๆ
กัน
ü ทำการสาธิตหรือแสดงตัวอย่างที่ดูแล้วน่าตื่นเต้นอย่างน้อยหนึ่งอย่างในการบรรยายแต่ละเรื่องแต่ละครั้ง
ซึ่งภาพตัวอย่างหรือเรื่องเล่าที่ดูมีชีวิตชีวา จะช่วยทำให้นักเรียนจดจำบทเรียนตรงนั้นได้ดีกว่าการบรรยายธรรมดาๆ
อีกทั้งยังทำให้มีความเข้าใจต่อเรื่องนั้นชัดเจนขึ้นด้วย
·
เตรียมการบรรยายเพื่อให้คนฟัง ไม่ใช่ให้คนดู:
ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนด้วยว่า
เราได้ใส่ข้อมูลสารสนเทศในสไลด์หรือสื่อการสอนอย่างอื่นมากเกินไปหรือไม่
เพราะนักเรียนส่วนใหญ่จะคัดลอกสิ่งต่างๆ
จากการบรรยายลงสมุดบันทึกอย่างรวดเร็วเท่าที่พวกเขาจะทำได้
ฉะนั้นจึงควรทำสไลด์ให้สั้นกระชับ และทำให้เป็นคำพูด ให้นักเรียนได้ฟังว่าเราพูดอะไร
แล้วค่อยบันทึกเฉพาะประเด็นหลักที่สำคัญๆ ต่อเรื่องนี้ มีงานวิจัยยืนยันว่า
สไลด์ที่ใส่ภาพลงไปจะชักจูงใจนักเรียนให้ละจากตัวหนังสือที่ปรากฏอยู่ในสไลด์นั่น
·
จัดโครงสร้างการบรรยายแต่ละครั้งให้ดีๆ: เป็นเรื่องง่ายมากที่นักเรียนในห้องเรียนใหญ่จะถูกชักชวนให้หลุดออกจากการเรียนรู้
ฉะนั้นผู้สอนจะต้องมีกรอบการเรียนรู้ที่ชัดเจนในทุกๆ บทเรียน
รวมทั้งอะไรก็ตามที่ต้องการบรรลุผล และตรงไหนที่จะต้องไปให้ถึง เขียนสรุปสั้นๆ
เอาไว้ให้ทุกคนรับรู้ เมื่อบรรยายเสร็จก็บอกกล่าวให้นักเรียนทราบอีกครั้งหนึ่ง
พร้อมทั้งเกริ่นนำไปถึงประเด็นที่จะมีการเรียนรู้ในคราวต่อไปด้วย
·
ให้เดินไปรอบๆ ห้องเรียน: สิ่งหนึ่งที่จะทำให้นักเรียนรู้สึกว่าเราให้ความใส่ใจต่อการเรียนรู้ของพวกเขามาก
คือ การเดินเข้าไปหาพวกเขาใกล้ๆ
เข้าไประหว่างช่องทางเดินระหว่างเก้าอี้นั่งของพวกเขา นักเรียนจะชอบตอบคำถามของเรา
เมื่อเราไปยืนอยู่ตรงหน้าเขา ส่วนการยืนอยู่หน้าชั้นเรียนหรือบนโพเดียมของครู
จะทำให้นักเรียนที่นั่งเรียนอยู่รู้สึกถอยห่างออกจากการเรียนรู้ในชั้นเรียน
การสร้างการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ
แม้ว่าจะสามารถจัดการห้องเรียนใหญ่ด้วยการสอนแบบบรรยายอย่างดีเท่าไรก็ตาม
เราก็ยังไม่สามารถทำให้นักเรียนมีความกระตือรือล้นต่อการเรียนได้ทั้งหมดทั้งมวล
นักเรียนจึงต้องได้รับโอกาสเข้าถึงเนื้อหาตั้งแต่ในชั้นเรียน
และร่วมเรียนรู้สิ่งต่างๆ เหล่านั้นในชั้นเรียน มีข้อแนะนำเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ
(active
learning) นี้ว่า
·
วางแผนแบบฝึกหัดที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้แบบกระตือรือร้นเอาไว้ตั้งแต่ก่อนเปิดห้องเรียนวันแรก
โดยพยายามกำหนดรูปแบบห้องเรียนและนักเรียนให้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาอย่าให้นักเรียนนั่งฟังเฉยๆ
หรือไม่มีส่วนร่วม
·
จับคู่เรียนรู้ร่วมกัน
มอบหมายงานใหม่ให้นักเรียนไปทำให้เสร็จก่อนการเรียนคราวต่อไปพร้อมอ่านและเตรียมคำถามที่เกี่ยวข้องมาด้วย
โดยการเรียนในคราวต่อไปจัดให้นักเรียนจับคู่สอบถามปัญหาระหว่ากันและกัน
·
ใช้วิธีการสอนกันเอง
การเรียนการสอนช่วงแนะนำรายวิชาฟิสิกส์และเคมีในระดับมหาวิทยาลัย
ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนในห้องเรียนใหญ่โดยให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกันศึกษาค้นคว้า
และนำมาสอนกันและกัน อย่างนี้เรียกว่า “การสอนกันเอง” เพราะในห้องเรียนใหญ่
เราสามารถแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่มเล็กๆ และให้แต่ละกลุ่มสอนกลุ่มอื่นในประเด็นที่กลุ่มตนรับผิดชอบ
โดยครูผู้สอนทำหน้าที่ดำเนินกระบวนการและตอบคำถามยากๆ
ที่นักเรียนอาจไม่สามารถตอบได้
·
สร้างกลุ่มทำงาน เพื่อให้เกิดการประยุกต์ความรู้ที่ได้จากการเรียนรายวิชานี้ไปแก้ปัญหา
·
จัดให้มีการถกแถลงในชั้นเรียน ด้วยการแบ่งกลุ่มความคิด/
ประเด็น ออกเป็น 2 ส่วน ให้ได้ร่วมกันคิดค้นและเขียนจาดนั้นก็เปิดเวที
ให้ทั้งสองฝ่ายได้ถกแถลงกันหน้าชั้นเรียน
·
จัดให้มีการระดมสมองขึ้นในชั้นเรียน
ด้วยการท้าทายนักเรียนให้ร่วมกันสร้างหรือเสนอแนวทางการแก้ปัญหาบางอย่างที่เป็นไปได้
โดยมีแนวชี้แนะให้เกิดเป้าหมายเชิงตัวเลข ไม่ยกใครคนใดคนหนึ่งให้เด่นกว่าใครๆ
และสุ่มแนวคิดของคนใดคนหนึ่งขึ้นมาแสดงในชั้นเรียน
·
สร้างปรากฏการณ์แปลกประหลาด ด้วยการสอนจบก่อนหมดเวลา
30 นาที แล้วใช้เวลาที่เหลือนั้นสนทนากันกับนักเรียนแบบไม่เป็นทางการ
ใช้เครื่องมือสื่อสารการสอนแบบต่างๆ
อย่างมีประสิทธิภาพ
การทำสไลด์ให้สวยงามและมีภาพประกอบในการสอนห้องเรียนใหญ่
จะช่วยดึงดูดและตรึงความสนใจของนักเรียนเป็นอย่างมาก
ซึ่งยังมีวิธีการอื่นอีกหลายอย่างที่จะสามารถนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในห้องเรียนใหญ่
เป็นต้นว่า
·
ใส่ใจรายละเอียดของสไลด์: เราจะต้องแน่ใจว่า ไม่ได้ใส่ข้อมูลสารสนเทศในสไลด์มากเกินไป
และมีการออกแบบสไลด์ให้สวยงามน่าดูแล้ว เป็นต้นว่าการไม่ใช้อักษรสีดำบนพื้นหลังสีเหลือง
และต้องแน่ใจด้วยว่าขนาดอักษรไม่ได้น้อยกว่า 24
·
อย่าใช้ภาพและวิดีโอมากเกินจำเป็น: สไลด์ที่มีภาพอยู่ในนั้นหลายๆ
ภาพ อาจรบกวนสิ่งสำคัญที่นักเรียนต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ รวมถึงการนำวิดีโอหลายๆ
คลิปมาเปิดในห้องเรียน ก็ไม่ควรทำเช่นกัน
·
ใช้ระบบตอบสนองในชั้นเรียน (CRS: classroom
response systems): ระบบตอบสนองในชั้นเรียนเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้นักเรียนสามารถตอบคำถามที่ผู้สอนโพสต์เอาไว้
ซึ่งครูจะสามารถวัดความรู้ความเข้าใจของนักเรียนได้
และมีข้อมูลอะไรที่ควรจะตั้งเป็นหัวข้อใหม่หรือย้ายไปยังหัวข้ออื่น
หากจำเป็นต้องมีการอภิปรายหรือคำอธิบายเพิ่มเติม
·
ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจัดการรายวิชา: ทุกวันนี้มีหลายมหาวิทยาลัยที่เข้าไปใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจัดการรายวิชา
ทำให้สามารถโพสต์ข้อคำถามที่ต้องการให้เกิดการถกแถลง
การตั้งกลุ่มนักเรียนที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชานั้น และโพสต์ตัวอย่างสื่อสร้างสรรค์ประกอบการเรียนรู้อื่นๆ
เอาไว้ให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่าง
·
จัดระบบมีเดียแต่ละอย่างให้ดี: เราจะต้องแน่ใจว่าได้นำเอาคลิปสื่อสร้างสรรค์ที่มีคำอธิบายถึงสิ่งที่นักเรียนจะได้เห็น
และบางทีอาจเป็นสิ่งที่พวกเขากำลังค้นหากันอยู่ก็เป็นได้ หากว่าเราต้องการแสดงคลิปดีมีประโยชน์ที่มีความยาวมากๆ
ก็สามารถทำได้ตรงนี้ โดยหลังจากที่นักเรียนได้ดูคลิปทั้งหลายแล้ว
พวกเขาจะสามารถตอบคำถามที่ครูโพสต์เอาไว้ได้
สรุป
การสอนห้องเรียนขนาดใหญ่
ต้องใช้ทักษะอันจำเป็นคล้ายกับการสอนห้องเรียนขนาดเล็ก เพียงแต่ว่า
มีสาระและปัจจัยที่จะต้องใส่ใจมากกว่า ดังกล่าวมาทั้งหมดตั้งแต่ต้น
รวมทั้งบทความย่อยๆ ที่สอดแทรกแนบมา และสุดท้าย Heppner (2007) ได้สรุปให้เห็นถึงหัวใจสำคัญที่จะต้องตระหนักให้ดี ดังนี้
·
รายวิชาที่สอนกันในห้องเรียนใหญ่ ไม่สามารถสอนสดๆ
โดยไม่มีการเตรียมการได้
และไม่สามารถจัดการได้ในรูปแบบเดียวทั้งหมดตลอดภาคการศึกษาได้
·
ความสอดคล้องและตรงไปตรงมา เป็นสิ่งสำคัญมาก เช่น ข้อกำหนดที่ระบุในแผนการเรียน
(syllabus) หรือสิ่งต่างๆ ที่ได้กล่าวไว้ตั้งแต่ต้น ทั้งหลายเหล่านั้นจะต้องถือปฏิบัติตามนั้นตลอดทั้งภาคเรียน
·
อะไรที่เป็นนโยบายของรายวิชาทั้งหมดจะต้องเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร
และต้องส่งให้นักเรียนโดยจัดเป็นส่วนหนึ่งของแผนจัดการเรียนรู้
·
อย่าเน้นที่นักเรียนที่เรียนอ่อนสุดมากเกินไป
รวมถึงอย่าปฏิเสธคนที่สนใจเรียนมากกว่าคนอื่น
·
ต้องให้เวลาเตรียมการสอนห้องใหญ่อย่างเพียงพอ
·
ต้องสะท้อนออกมาว่าห้องเรียนเป็นอย่างไร
และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ในอนาคต แม้ว่าจะสอนในเรื่องเดิมก็ตาม
การสอนห้องใหญ่ต้องใช้เวลาเยอะ
ด้วยมีงานหลายๆ อย่างที่เตรียม ต้องทำอย่างจริงจัง แตกต่างจากการสอนห้องเล็ก
แล้วก็ต้องวางแผนการดำเนินการตามนั้นทั้งหมด ซึ่งก็เหมือนการสอนในรูปแบบต่างๆ
ที่ทำกันอยู่ การสอนห้องใหญ่ต้องใช้พลังทำงานเยอะ ต้องทำอย่างมีสติ
และจะต้องปฏิบัติและสะท้อนกลับที่ดี
บรรณานุกรม
Barkley, E. F. (2010). Student
engagement techniques: A handbook for college faculty. San
Francisco, CA:
Jossey-Bass.
Davis, B. G. (2009). Tools
for teaching.
San Francisco, CA: Jossey-Bass.
Golding, J. (2001). Teaching
the large lecture course. In D. Royse (Ed.) Teaching
tips for
college and university instructors: A practical guide (pp. 95-120). Boston,
MA: Allyn
& Bacon.
Heppner, F. (2007).Teaching
the large college class: A guidebook for instructors with multitudes. San
Francisco, CA:
Jossey-Bass.
Lowman, J. (1995). Mastering
the techniques of teaching. San Francisco, CA: Jossey-Bass.
Staley, C. A.,
& Porter, M.
E. (Eds.). (2002). Engaging
large classes:
Strategies and techniques for college faculty. San
Francisco, CA:
Anker (Jossey-Bass).
Svinicki, M. D.,
& McKeachie, W. J. (2011). McKeachie’s
Teaching tips:
Strategies, research, and theory for college and
university teachers (13th ed,). San Francisco, CA: Wadsworth
Cengage Learning.