หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

เมืองระดับโลก - Global Cities

เมืองเป็นสถานที่ที่มีผลกระทบอย่างมากจากโลกาภิวัตน์ ซึ่งนับว่าน่าสนใจที่จะต้องทำการศึกษาอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้มีโอกาสได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในท้องถื่นที่ความเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของโลก วรรณกรรมเกี่ยวกับเมืองส่วนใหญ่เป็นการนำเสนอทฤษฎีเมืองที่ค่อนข้างโบราณด้วยการเน้นให้เห็นระบบระเบียบเชิงพื้นที่ภายในประเทศ ทั้งๆ ที่เมืองควรถูกมองไปในมิติของการพัฒนายุคใหม่ในฐานะศูนย์กลางการค้า อุตสาหกรรม และการบริหารจัดการ ที่เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาการตลาดและการสร้างความเป็นปึกแผ่นของชาติ เมืองหลวงหลายแห่งจะเชื่อมโยงกับเมืองหลักที่อยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ที่ติดต่อสัมพันธ์กันพื้นที่ในอาณัติโดยรอบ (hinterland) ทำให้โครงข่ายของเมืองเป็นสิ่งสนับสนุนส่งเสริมการบูรณาการเศรษฐกิจภายในเขตขัณฑสีมาของชาติ

แต่ว่ามันกลายเป็นสิ่งที่ไม่สามารถป้องกันได้มากขึ้น ที่จะจำกัด “นคราศึกษา” (urban studies) เอาไว้แค่ในกรอบของประเทศใดประเทศหนึ่ง Janet Abu-Lughod (1971, 1989, 1994) นักชาติพันธุ์ศาสตร์เมือง (urban ethnographer) ที่มีชื่อเสียง ได้ทำการโต้แย้งและแสดงในงานของเธอว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะศึกษาเมืองเดี่ยวๆ จากระบบนานาชาติ ในช่วงทศวรรษ 1970 และ 1980 มีนักวิชาการคนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Hall (1984), Friedmann and Wolff (1982), Friedmann (1986) และ Knox and Taylor (1995) ที่มีบทบาทต่อการสร้างทฤษฎีระบบโลก เขียนถึง “เมืองของโลก” (world cities) ทฤษฎีลำดับศักย์ของเมืองที่เคยสร้างกันไว้เมื่อก่อน ได้แสดงให้เห็นว่า เราสามารถจัดกลุ่มเมืองให้อยู่ในแต่ละลำดับศักย์ได้เป็นชั้นแรก ชั้นที่สอง และชั้นที่สาม และนั่นเป็นการจัดลำดับเฉพาะภายในประเทศเท่านั้น แต่สมมุมิตฐานที่ว่าด้วยเมืองของโลกเกิดขึ้นภายใต้มุมมองระดับนานาชาติ บอกเราว่า ลำดับศักย์ของเมืองในระดับนานาชาติก็มีให้เห็นอยู่ กล่าวคือ มีเมืองขนาดใหญ่ที่เป็นแหล่งผลิตสินค้า ศูนย์กลางการเงิน หรือศูนย์กลางความร่วมมือทางเศรษฐกิจภายในระบบการแบ่งงานทำตามความถนัดในระดับนานาชาติ (international division of labor) นั้น มีเมืองที่อยู่ในพื้นที่แกนกลาง (core) เมืองบริเวณกึ่งกลางระหว่างแกนกับขอบ (semi-periphery) และเมืองบริเวณพื้นที่ชายขอบ (periphery) ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการแบ่งประเทศต่างๆ ออกเป็นสามกลุ่ม คือ กลุ่มประเทศแกนกลาง กลุ่มประเทศชายขอบ และกลุ่มประเทศบริเวณกึ่งกลาง ทั้งนี้แม้ว่าจะมีการศึกษาเพียงไม่กี่ฉบับที่ชี้ลงไปว่า มีความขัดแย้งระหว่างการผลิตแบบโลกาภิวัตน์ภายในกรอบการเมืองแบบรัฐชาติกับประโยชน์เหนือดินแดนมากขึ้น หากสมมุติฐานว่าด้วยเมืองของโลกถูกดำเนินการภายในกรอบรัฐชาติ/ระบบข้ามชาติ

ข้อเสนอของ Sassen เกี่ยวกับเมืองระดับโลก ได้รับการพัฒนาขึ้นมาในบริบทของวิวัฒนาการพาราศึกษาที่เน้นความเป็นนานาชาติและข้อเสนอ “เมืองสารสนเทศ” (informational city) ของ Castelles (1989) เพียแต่ว่า Sassen นำเอาโครงการสร้างความเป็นนานาชาติ (internationalization) มาใช้ทำการศึกษา นำเอาทุกๆ สิ่งเข้ามาเปลี่ยนแปลงจากการศึกษาแบบนานาชาติเป็นการศึกษาข้ามชาติ หรือการศึกษาระดับโลก เธอได้สร้างทฤษฎีเป็นระเบียบทางพื้นที่ระดับโลกใหม่ ที่มีการเคลื่อนย้ายเงิน สารสนเทศ และผู้คนทั่วโลก ผ่านโครงข่ายเมืองข้ามชาติ (transnational networks of cities) แล้วขมวดเป็นคำเฉพาะเพื่อใช้อธิบายว่า “เมืองระดับโลก” เมื่อปี 1984 เพื่อเคลื่อนหน่วยการวิเคราะห์ข้ามจากระบบรัฐชาติ/ระบบระหว่างรัฐ และเพื่อแยกแยะความแตกต่างของความเป็นสากลของโลกเมื่อได้รับการจัดโครงสร้างในยุคปัจจุบัน ระเบียบทางพื้นที่ใหม่ที่เกิดขึ้นภายใต้โลกาภิวัตน์บนฐานโครงข่ายเมืองระดับโลก มีมหานครนิวยอร์ก ลอนดอน และโตเกียว เป็นตัวแทน เมืองระดับโลกเหล่านี้มีการเปลี่ยนผ่านที่แสดงออกทางพื้นที่ที่มีการสะสมและมีการจัดวางโครงสร้างเชิงสถาบันเอาไว้ด้วย Sassen ระบุว่าทุกอย่างที่กล่าวข้างบนนี้ทำให้สามารถแบ่งประเภทของรูปแบบเชิงพื้นที่ของโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจได้ 4 ประเภท ประกอบด้วย ย่านบริเวณอุตสาหกรรมส่งออก (export-processing zones) เช่น Maquiladora ที่อยู่ตลอดแนวชายแดนสหรัฐอเมริกากับเม็กซิโก ศูนย์กลางการธนาคารนอกประเทศ (offshore banking centers) เช่น เกาะไกแมน ประเทศบาห์เรน ย่านอุตสาหกรรมไฮเทค (high-tech districts) เช่น ซิลิกอนแวลเล่ย์ และเมืองระดับโลก (global cities)

ในการพัฒนาข้อเสนอของเธอนั้น Sassen ได้เน้นย้ำถึงทวิลักษณ์ของเศรษฐกิจโลก คือ กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีการกระจายไปตามพื้นที่ส่วนต่างๆ ของโลก ขณะเดียวกันก็มีการจัดการกิจกรรมเศรษฐกิจแบบบูรณาการทั่วทั้งโลก การผลิตข้ามชาติจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการแตกตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจออกไปมากมายข้ามโลก หรือเชื่อมต่อกันเป็นห่วงโซ่ จึงมีคำถามอยู่ว่า ความเชื่อมโยงแต่ละชั้นเหล่านี้กับการกระจายอยู่รอบโลกของกระบวนการเศรษฐกิจ สัมพันธ์กับความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับโลกอย่างไร มันเป็นการผสมเอาการกระจายทางพื้นที่และบูรณาการระดับโลก ที่สร้างบทบาทใหม่เชิงยุทธศาสตร์ของเมืองสำคัญๆ การเชื่อมเมืองเหล่านี้เข้าด้วยกันจึงกลายเป็นกลไกการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับโลกขึ้นมา

ข้อเสนอของ Sassen มีความเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจการเมืองที่อาจยอมรับได้ยากบางอย่าง เพื่อทำความเข้าใจกับข้อแถลงไขที่เป็นประโยชน์ของเธอ จะต้องนึกย้อนกลับไปที่บทบาทสำคัญในการขยายตัวทางการเงินที่เกิดขึ้นในเศรษฐกิจระดับโลก ซึ่งมีงานวิจัยโลกาภิวัตน์จำนวนมากที่แสดงให้เห็นถึงบทบาทในการครอบครองโลกของทุนทางการเงิน ที่เรียกกันว่า “ธนากิจภิวัตน์” (financialization) โดยนับแต่ทศวรรษ 1970 ธนกิจข้ามเขตแดนเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็วราวกับจรวด มีปริมาณเพิ่มขึ้นในช่วงทศวรรษ 1980-1990 จาก $3.24 หมื่นล้าน เป็น $7.5 ล้านล้าน (Robinson, 2004) ในแต่ละวันของช่วงต้นศตวรรษที่ 21 มีปริมาณเงินตราที่ใช้ทำการค้าเก็งกำไรและกิจกรรมทางการเงินแบบอื่นหลายหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ อย่างเมื่อปี 1994 คาดว่าผลประกอบการรายวันในตลาดหุ้นขนาดใหญ่ที่สุด 10 แห่งมีมูลค่าสูงถึง 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐเลยทีเดียว ส่วนปริมาณเงินตราที่ใช้ทำการค้าขายสินค้าและบริการมีเพียงร้อยละ 1 ของปริมาณทั้งหมดเท่านั้น (Pettman, 1996) ด้วยปริมาณ ความเข้มข้น และความซับซ้อนของการซื้อขายธนกิจระดับโลกมีมากขึ้นตลาดห้วงเวลาที่กล่าวมา ดังนั้น การเงินการธนาคารจึงถูกแยกออกจากการผลิตไปเป็นอีกส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจ

โลกาภิวัตน์ทางการเงิน (financial globalization) นี้ ได้รับการส่งเสริมอย่างมากในทศวรรษ 1980 และ 1990 โดยรัฐบาลของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ด้วยการปรับลดกฎระเบียบเกี่ยวกับระบบการคลังและตลาดหลักทรัพย์ จัดประเด็นเหล่านี้เป็นนโยบายของประเทศที่จะต้องปรับเปลี่ยนใหม่ให้เอื้อต่อการเปิดรับและขยายตัวสู่ระบบเศรษฐกิจระดับโลก อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญที่เป็นกลไกในการอนุญาตให้เกิดธนกิจภิวัตน์ระดับโลกขึ้น คือ การสร้างเครื่องมือทางการเงินใหม่ที่เรียกว่า “ตราสารอนุพันธ์” (derivative) โดยตราสารอนุพันธ์การเงินเป็นวิธีแปลงเงินตราไปเป็นเครื่องมือในการค้าขายสินค้า เช่น หุ้นและพันธบัตรในตลาดแลกเปลี่ยนนานาชาติ การลงทุนสถาบัน (ได้แก่ บริษัทประกันภัย กองทุนบำเหน็จบำนาญ ผู้จัดการการลงทุน ธนาคารทรัสต์) การเงินในตลาดสินเชื่อ และรูปแบบอื่นๆ ของการสร้างความมั่นคงทางการเงิน โดยการสร้างวความมั่นคงทางการเงิน (securitization) หมายถึง รูปแบบต่างๆ ของการออม (เช่น การจำนอง หนี้สินภาครัฐ) ที่สามารถเปลี่ยนรูปไปสู่การเป็นเครื่องมือทำการค้าขายได้ หมายถึงสร้างกำไรจากการทำกิจกรรมเศรษฐกิจได้ เครื่องมือต่างๆ เหล่านี้สามารถนำมาพิจารณาในการทำกิจกรรมการเงินที่ไม่ต้องพึ่งพาธนาคาร หากแต่ดำเนินการในสถานบันการเงินแบบใหม่ ณ สำนักงานนายหน้าที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมากในระบบเศรษฐกิจระดับโลก การกระจุกตัวอยู่ของกองเงินต่างๆ กลายเป็นแรงจูงใจแก่ผู้ค้า หรืออาจเป็นผลในแง่ลบกรณีที่ต้องเป็นหนี้ หรือไม่ก็อาจเป็นผลบวกในกรณีของกองทุนบำนาญ ทั้งหลายที่กล่าวมานี้เป็นอย่างหนึ่งที่สำคัญของความสำเร็จหลักของนวัตกรรมทางการเงินในทศวรรษ 1980

หากว่าทั้งหมดนี้ยังเป็นสิ่งที่สับสนอยู่ ให้นึกถึงนักลงทุนข้ามชาติที่สะสมเงินเอาไว้ แต่ยังไม่สามารถหรือไม่ต้องการลงทุนผลิตสินค้าใหม่ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือสร้างการค้าขายอะไรบางอย่างขึ้นมา พวกเขากลับนำเงินไปลงทุนในภาคการเงินแทน มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเก็งกำไรเงินตรา แต่อาจไม่เกี่ยวข้องกับการลงทุนตราสารอนุพันธ์การเงินที่เพิ่งโผล่ออกมาให้โลกเห็นเมื่อทศวรรษ 1970 และรุ่งเรืองอยู่จนทุกวันนี้ ตราสารอนุพันธ์การเงินเหล่านี้ก่อให้เกิดสถาบันการเงินแบบใหม่ขึ้นมา เพื่อสร้างกำไรจากการจัดการหมุนเววียงเงินตรารอบโลกผ่านเศรษฐกิจโลก รูปแบบใหม่ของการสร้างกำไรจากกิจกรรมการเงินจึงมีความสัมพันธ์กับทุนนิยมระดับโลก

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ถือเป็นพื้นฐานทำให้เข้าใจถึงการเพิ่มความมสำคัญของเมืองระดับโลก ในฐานที่เป็นศูนย์กลางทางการเงินระดับโลก การเติบโตและความสำคัญที่มีมหาศาลของอุตสาหกรรมการเงินภายใต้โลกาภิวัตน์นั้น ต้องการโครงสร้างพื้นฐานของการบริการเฉพาะอย่างที่มีขนาดใหญ่มากมาสนับสนุน ทำให้สำนักงานใหญ่ของธุรกิจแบบนี้เลือกตั้งอยู่ในเมืองระดับโลก คอมเพล็กซ์ทุนทางการเงินใหม่ๆ เกิดขึ้นในพื้นที่เมืองที่สำคัญที่สามารถสร้างการประสานงานให้กับระบบการเงินแบบบูรณาการทั่วโลก แต่ว่าเนื่องจากกิจกรรมของบรรษัทข้ามชาติโดยทั่วไปยังคงพึ่งพาและบูรณาการกับระบบการเงินระดับโลก เมืองระดับโลกจึงกลายเป็นผู้อำนวยให้มีสิ่งบริการที่เป็นปัจจัยสำหรับบรรษัทข้ามชาติที่มีมักมีสำนักงานอยู่ในเมืองแห่งเดียวกัน

การบริการเฉพาะอย่างที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองระดับโลกที่รู้จักกันดี คือ การบริการผู้ผลิต (producer services) เป็นการบริการและปัจจัยนำเข้าที่ถูกใช้ไม่ใช่เพียงแค่ภาคสาธารณะเท่านั้น แต่บรรษัทก็จำเป็นต้องใช้เพื่อกิจกรรมการผลิตและการค้า เป็นผลผลิตขั้นกลางให้แก่ผู้ผลิต เป็นบริการปัจจัยสำหรับธุรกิจมากกว่าเป็นวัตถุดิบให้กับการผลิต การบริการผู้ผลิตประกอบด้วย บริการทางการเงิน (เช่น ธนาคาร) บัญชี โฆษณา ประกันภัย ที่ปรึกษาการจัดการ วิจัยและพัฒนา บริการกฎหมาย ประชาสัมพันธ์ เทคโนโลยีการผลิต สื่อสารคมนาคม บำรุงรักษา บริการทำความสะอาด ความปลอดภัย และอื่นๆ โดยการบริการผู้ผลิตเหล่านี้จะถูกปรับแปลงให้สามารถอำนวยประโยชน์ทั้งในแบบจำหน่ายและจำหน่ายซ้ำ Sassen (1991) กล่าวต่อเรื่องนี้ว่า “หัวใจของการวิเคราะห์ คือ ต้องเน้นเกี่ยวกับชนิดการผลิตที่พึ่งพาการบริการเพิ่มขึ้น และต้องเน้นเกี่ยวกับนวภิวัตน์และอุตสาหกรรมิวัตน์ของเทคโนโลยีการบริการเป็นอย่างมาก”

Sassen นำเสนอข้อมูลเชิงประจักษ์เพื่อให้เห็นว่า ธนาคารระดับโลก บรรษัทด้านความปลอดภัย ธุรกิจบริการทางกฎหมาย การบัญชี และการบริการผู้ผลิตอื่นๆ ที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในโลก กระจุกตัวกันอยู่ในเมืองระดับโลกที่สำคัญ แม้ว่าธุรกิจบริการผู้ผลิตไม่จำเป็นต้องตั้งอยู่ใกล้กับลูกค้า แต่ว่าก็จะต้องตั้งอยู่อย่างสัมพันธ์กับสิ่งบริการ เช่น ธุรกิจบัญชีจำเป็นต้องอยู่ใกล้กับธุรกิจบริการกฎหมาย และใกล้กับธุรกิจบริการด้านการจัดการ ซึ่งจะต้องรวมตัวกันอยู่ในเมืองระดับโลก การบริการผู้ผลิตที่รวมตัวกันอยู่ในเมืองใหญ่ๆ มีการเติบโตขึ้นเร็วมากๆ ในประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว ขณะเดียวก็เติบโตอย่างรวดเร็วในภูมิภาคที่กำลังพัฒนา เอกสารของ Sassen หลายฉบับ แสดงให้เห็นถึงการเติบโตอย่างมากของธุรกิจบริการผู้ผลิตในหลายประเทศ เหตุผลหนึ่งที่เป็นตัวหนุนหลังการเติบโตที่ว่านี้ คือ ความต้องการใช้บริการเพื่อการจัดการของทุกๆ อุตสาหกรรมและของระบบเศรษฐกิจทั่วไปที่เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง การบริการผู้ผลิตจึงมีการเชื่อมกันเป็ฯโครงข่ายในเมืองระดับโลก โดยสรุปแล้ว Sassen กล่าวว่า การกระจายตัวของบรรษัทข้ามชาติ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และการผลิตแบบนานาชาติ ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องใช้การบริการผู้ผลิตนานาชาติที่มีอยู่ ซึ่งจะมีอยู่ในเมืองระดับโลกเป็นส่วนใหญ่

Sassen ต้องการแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเมืองระดับโลกในการควบคุมการผลิตของโลก (global control) โดยเธอกล่าวถึงพลังอำนาจของบรรษัทขนาดใหญ่ว่า ไม่เพียงพอที่จะใช้อธิบายศักยภาพในการควบคุมระดับโลกได้ การกระจายตัวในดินแดนต่างๆ ของกิจกรรมเศรษฐกิจที่เป็นเครื่องหมายตีตราเศรษฐกิจระดับโลก ทำให้เกิดความจำเป็นต้องขยายศูนย์กลางการควบคุมและการจัดการ ซึ่งนำไปสู่การรวมตัวกัน หรือเกิดตรรกะใหม่ของการรวมตัวกันขึ้น โครงข่ายของเมืองระดับโลก คือ ระบบใหม่ของความร่วมมือกันเพื่อปฏิบัติกิจกรรมเศรษฐกิจระดับโลก เศรษฐกิจระดับโลกอีกนัยหนึ่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับการกระจายระบบการผลิตออกไปทั่วโลก พร้อมๆ กับการรวมศูนย์กลางการกำกับและควบคุมระบบการผลิตเอาไว้ภายในเมืองระดับโลก ตรงนี้ Sassen (1991) ใช้ความเข้าใจพื้นฐานทางสังคมวิทยาขององค์กร อธิบายว่า มีความซับซ้อนของกลไกการประสานงานเพิ่มขึ้น เมืองระดับโลกจะเชื่อมโยงสิ่งหนึ่งเข้าด้วยกันกับสิ่งอื่น จนกลายเป็นศูนย์บัญชาการระบบการผลิตที่หลากหลายและที่แตกกระจายออกไปสู่ภูมิภาคส่วนต่างๆ มีแนวโน้มว่าอุตสาหกรรมที่ต้องใช้ที่ตั้งหลายแห่งเชื่อมโยงกัน ธุรกิจบริการ และธุรกิจธนาคาร ได้ร่วมกันสร้างอุปสงค์ต่อการบริการผู้ผลิตและศูนย์รวมการควบคุมระดับโลกขึ้นมา แล้วยังนำไปสู่การรื้อฟื้นขั้วความเจริญ หรือ growth pole กลับมาใช้ประโยชน์ในระดับเศรษฐกิจระดับโลกกลับมาอีกครั้ง

Sassen (1991) ได้ระบุถึงบทบาทสำคัญ 4 อย่างของเมืองระดับโลก คือ

1) เป็นศูนย์ควบคุมการจัดการเศรษฐกิจโลก
2) เป็นที่ตั้งหลักของธุรกิจบริการทางการเงินและบริการเฉพาะอย่าง ให้บริการการผลิต ได้แก่ การบริการแบบมืออาชีพ การบริการปัจจัยแก่บรรษัทข้ามชาติ เพื่อนำไปสู่การดำเนินธุรกิจระดับโลก
3) เป็นที่ตั้งของการผลิตสินค้าและนวัตกรรม และสำนักงานใหญ่ของธุรกิจบริการการผลิต (producer-service firm) และ
4) เป็นตลาดสำหรับสินค้าและนวัตกรรมที่ผลิตอยู่ในเมือง

เมืองระดับโลกไม่ได้ทำหน้าที่เชื่อมโยงกับพื้นที่ที่เป็นอาณาเขตดินแดนภายในประเทศ แต่จะเชื่อมโยงกับเมืองศูนย์ระดับโลกอื่นๆ รอบโลก และพื้นที่บริเวณชายของของระบบโลกหรืออาณาเขตดินแดนข้ามชาติ มีความไม่ต่อเนื่องเป็นระบบบางอย่างเกิดขึ้นระหว่างสิ่งที่ใช้เป็นฐานความคิดของการเติบโตระดับชาติกับรูปแบบต่างๆ ของการเติบโตในเมืองระดับโลก จากการวิเคราะห์ของ Sassen ชี้ให้เห็นความสำคัญมากที่สุดของเมืองระดับโลก 3 แห่ง คือ นิวยอร์ก ลอนดอน และโตเกียว ที่มีการปรับโครงสร้างใหม่จากเมืองอุตสาหกรรมยุคก่อน ไปสู่การเป็นศูนย์กลางการบริการการผลิตที่เอื้อประโยชน์อย่างมากต่อเศรษฐกิจระดับโลก ที่มีโครงข่ายเชื่อมโยงกับเมืองระดับโลกอย่างเป็นระบบ ไม่ได้มุ่งสร้างความหลากหลายเพื่อการแข่งขันระหว่างกันและกัน

 Sassen ให้ความสนใจอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงระเบียบสังคมและวัฒนธรรมของเมืองและชายขอบของเมือง ที่โลกาภิวัตน์มีส่วนสร้างการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเงิน โดยกระบวนการของโลกจะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างทางสังคมของเมือง การปรับแปลงการจัดการแรงงาน การกระจายความมั่งคั่งร่ำรวย ความสัมพันธ์ของชนชั้นกับการบริโภค และนำไปสู่การจัดลำดับศักย์ทางสังคมและความสัมพันธ์ทางอำนาจใหม่ สำหรับชนชั้นทางสังคมในเมืองระดับโลกนั้น Bell (1976) และ Toffler (1980) ระบุว่าถูกป่นจนละเอียดจากเศรษฐกิจบริการ ส่วน Sassen มองเห็นว่าเกิดมีงานบริการการผลิตที่ถือเป็นงานในระบบเศรษฐกิจระดับโลกขึ้น ด้านหนึ่งจึงทำให้เกิดภาคการผลิตที่สร้างรายได้สูงขึ้นมาใหม่ เป็นงานในลักษณะมืออาชีพ ได้แก่ การจัดการการลงทุน วิจัยและพัฒนา บริหารจัดการและงานบุคคล ฯลฯ ทุกอย่างเป็นงานที่สร้างความสนุกสนานตื่นเต้นให้กับชีวิตแต่ละสไตล์ เกิดชนชั้นมืออาชีพรุ่นใหม่ของเมือง (young urban professional) นับตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา แต่อีกด้านหนึ่งก็เกิดกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่ทำงานด้วยการใช้ทักษะน้อย ได้แก่ เสมียน คนทำความสะอาด รักษาความปลอดภัย และงานบริการบุคคล ยังมีประเด็นเชิงทฤษฎีที่สำคัญที่ Sassen ได้นำเสนออีก นั่นคือ พลวัตของความเก่งกล้าแบบใหม่ (new valorization dynamic) ที่มีอยู่ในเมืองระดับโลก ด้วยเหตุที่มีคนงานบางกลุ่ม ธุรกิจบางแห่ง และภาคการผลิตบางอย่างอาจหาญ แต่ส่วนอื่นกลับไม่กล้าเปลี่ยนแปลง การปลูกฝัง (สร้าง) กระบวนการผลิตและตลาดระดับโลกนี้ Sassen (2000) ชี้ว่าคือการกำหนดพลวัตของความกล้าหาญแบบใหม่ ที่เป็นเงื่อนไขชุดใหม่สำหรับการกำหนดค่าหรือราคาให้กับกิจกรรมและผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจ นั่นหมายความว่า ระดับราคาและกำไรที่สูงของภาคการผลิตระดับโลกและกิจกรรมเสริม เช่น ส่วนบนสุดของไลน์ธุรกิจร้านอาหารและโรงแรม จะมีความยุ่งยากเพิ่มมากขึ้นกว่าธุรกิจอื่นที่เป็นคู่แข่งขันในพื้นที่และการลงทุน ร้านอาหารใกล้บ้านแบบเดิมจะถูกแทนที่ด้วยภัตตาคารบูติกและคาร์เตอร์แบบใหม่ ที่สามารถสร้างรายได้ให้สูงขึ้นสำหรับชนชั้นสูงในเมือง ใครก็ตามที่มีประสบการณ์เดินทางเข้าไปในนิวยอร์ก ลอนดอน โตเกียว และเมืองระดับโลกอื่นๆ ก็จะเห็นได้ว่า ไม่มีการพูดถึงชุมชนที่ผู้มีรายได้น้อย วันๆ ต้องปากกัดตีนถีบ อาศัยอยู่ในเมืองนั้นๆ ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยในเมืองเหล่านี้แพงมาก รวมไปถึงค่าเดินทางและค่าอาหารแบบที่คนคนจนไม่สามารถหารับประทานได้ด้วย

ยังมีการปรับปรุงที่อยู่อาศัยในเมืองเพื่อให้ประชาชนผู้มีรายได้สูงที่หลั่งไหลเข้ามาอาศัยใหม่ (gentrification) และการเพิ่มค่าของทุนทรัพย์ด้วยการปรับรูปแบบการใช้แรงงานในการผลิต (valorization dynamic) ด้วยการผลักราคาขึ้นไปสู่ระดับบนแต่ว่าใช้แรงงานราคาถูกที่มีอยู่จำนวนมาก การรวมตัวกันอยู่ของแรงงานค่าจ้างสูงในเมืองระดับโลกจึงอำนวยให้เกิดการปรับปรุงที่อยู่อาศัยและย่านการค้าในเขตเมืองขึ้นมาใหม่ นั่นก็เป็นเหตุให้เกิดการสร้างหรือปรับปรุงที่อยู่อาศัยของแรงงานบริการราคาถูก ที่ทำงานดูแลที่พักอาศัย คนงานในร้านอาหาร คนเตรียมอาหาร คนเลี้ยงสุนัข คนประคองวิ่ง คนทำความสะอาด คนเลี้ยงเด็ก ฯลฯ จึงมีความจริงที่ว่า งานจำนวนมากเหล่านี้อยู่นอกเหนือรายการที่กำหนดไว้อย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์การขยายตัวของงานในสังคมสารสนเทศ การได้รับค่าจ้างน้อย เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย และหน้าที่การงาน ผูกพันอยู่กับกิจกรรม 4 อย่าง ประกอบด้วย 1) งานบริการผู้ผลิต เช่น เสมียน คนทำความสะอาด 2) งานบริการไลฟ์สไตล์ให้แก่คนทำงานที่ใช้ทักษะขั้นมืออาชีพ 3) งานบริการภายในชุมชนใหม่ที่ได้ค่าจ้างค่อนข้างต่ำ และ 4) งานอุตสาหกรรมที่ลดระดับไปผลิตในประเทศด้อยพัฒนา

Sassen (1998) ต้องการนำวาทกรรมของเธอเกี่ยวกับทุนระดับโลกและการอพยพข้ามชาติมารวมกัน ซึ่งทำให้ต่อมาเธอได้ข้อสรุปออกมาเป็น “โลกาภิวัตน์ของแรงงาน” (globalization of labor) โดยทั้งสองอย่างที่นำมารวมกันอยู่ในทวิลักษณ์ของการบูรณะย่านใจกลางเมืองและย่านศูนย์กลางธุรกิจในเมืองระดับโลกที่เก่า-ทรุดโทรม ให้มีความงดงามขึ้นมา กลุ่มประชาชนผู้มีรายได้น้อย พยุหะของแรงงานบริการราคาถูก และคนงานในอุตสาหกรรมลดชั้น เหล่านี้ล้วนเป็นผู้อพยพมาจากประเทศโลกที่สามเพื่อเข้ามาทำงานที่ไม่เป็นทางการ หรืออาจเป็นงานนอกระบบ งานชั่วคราว งานพาร์ทไทม์ งานคอนแทรค ฯลฯ ที่ไม่ค่อยมีความมั่นคง และได้รับประโยชน์ตอบแทนน้อย การหลั่งไหลในโลกาภิวัตน์ของแรงงานถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาการเงินและการหมุนเวียนทุนระดับโลก ดังนั้น โลกของความแตกต่างทั้งหลายจึงถูกนำมาแสดงให้เห็นได้ในเมืองระดับโลก

 Sassen สังเกตุเห็นเสน่ห์ของเมืองระดับโลกที่เป็นสิ่งดึงดูดประชากรจำนวนมากให้อพยพเข้ามาเป็นช่างฝีมือ ทำงานอุตสาหกรรม ทำงานค่าจ้างราคาถูก ทำงานรับใช้ในครัวเรือน ทำงานสกปรกในระบบเศรษฐกิจระดับโลก มีการแบ่งแยกทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นระหว่างคนงานฝีมือดีที่มีอยู่ราวร้อยละ 20 ของประชากรเมือง กับอีกร้อยละ 80 ที่เหลือที่เป็นคนทำงานบริการ ซึ่งไม่ได้เป็นกลุ่มเป็นก้อนเดียวกัน เพราะแต่ละกลุ่มมาจากต่างชาติต่างวัฒนธรรม Sassen (1991) นิยามกลุ่มหลากหลายวัฒนธรรมนี้ว่า “การแตกกลุ่มออกจากประเทศ” ความเชื่อมโยงของบริเวณพื้นที่กลางมหานครนิวยอร์ก ซิตี้ ที่มีกับใจกลางมหานครเซา เปาโล นั้น มีมากมายกว่าการเชื่อมโยงกับพื้นที่โดยรอบของเมืองเอง เมืองระดับโลกเป็นกลไกการสกัดส่วนเกินใหม่ที่มีต่อพื้นที่ห่างไกลข้ามชาติ การจัดการทางพื้นที่และสังคมใหม่เพื่อการผลิตมีความสัมพันธ์กับการกระจายการเข้าถึงของตลาดแรงงานบริเวณชายขอบ ที่ต้องเดินทางเข้ามาทำงานหรือรับงานกลับไปทำที่บ้าน โดยไม่ต้องทำลายสถานการณ์อันไม่เอื้ออำนวยบริเวณชายขอบลงแต่อย่างใด” การลดลงของค่าจ้างจะลงไปสู่จุดที่การผลิตสินค้าแบบโรงงานนรกในมหานครนิวยอร์กหรือลอนดอน

ดังนั้น เราจะเห็นการรวมตัวกันอย่างหนาแน่นของกลุ่มแรงงานข้ามชาติหญิงชายและชาติพันธุ์ในเมืองระดับโลกเหล่านี้ ซึ่งพวกเขาต้องทำงานแบบไม่เป็นทางการและใช้สารสนเทศอย่างเข้มข้น ภูมิศาสตร์สังคม (social geography) เกี่ยวกับเมืองระดับโลก เป็นหนึ่งประเด็นเกี่ยวกับการแบ่งแยกสีผิวและชนชั้นเชิงพื้นที่ที่ Mike Davis (1992) ให้ความสนใจและเขียนหนังสือคลาสสิคสมัยใหม่ City of Quartz แสดงพื้นที่ของมหานครลอส แองเจลีส ในรูปแบบเมืองระดับโลกที่แสดงความหลากหลายของดินแดน ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนารัฐขึ้นมาใหม่ การลดขนาดของการฟื้นฟูเมือง ความหลากหลายของสำนักงานและบ้านเรือนที่หรูหรา วัฒนธรรมการค้าแบบใหม่ และรูปแบบการบริโภคที่เด่นๆ อีกทั้งความยากจนยังคงกระจุกตัวกันในบางพื้นที่มากขึ้นมาก มีการปรับปรุงที่อยู่อาศัยของคนผิวดำที่เข้ามสอยู่ก่อนในย่านชานเมือง ภาวะยากจนทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ผู้คนไร้บ้านมีจำนวนมาก และการสลายตัวทางสังคมควบคู่ไปกับความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นของชั้นบน

Source: Robinson, William I. (2009). “Saskia Sassen and the Sociology of Globalization: A Critical Appraisal.” Sociological Analysis. Volume 3, No. 1, (Spring): pp.5-29.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น