หน้าเว็บ

วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2554

เอา “ภูมิศาสตร์” กลับมาได้รึยัง

เอา “ภูมิศาสตร์” กลับมาได้รึยัง
Bring Back Geography!
By Jerome E. Dobson, University of Kansas, USA
Illustrations by Jay Merryweather, ESRI
พัฒนา ราชวงศ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร แปลและเรียบเรียง


การทดสอบครั้งย่อยๆ หลังจากที่มีการทดสอบย่อยๆ แล้ว แสดงอะไรบางอย่างให้เห็นเกี่ยวกับว่า เด็กๆ สมัยนี้ ไม่รู้ตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่สำคัญๆ คงเคยได้ยินกันบ่อยๆ เกี่ยวกับคำเสียดสีที่ว่า สมัยนี้เราละเลยไม่ให้ความใส่ใจต่อวิชาภูมิศาสตร์ (Geographic Ignorance) หรือไม่รู้เรื่องรู้ราวทางด้านภูมิศาสตร์ (Geographic Illiteracy)

ทุกวันนี้วิชาภูมิศาสตร์อาจถูกอธิบายด้วยสิ่งที่ปรากฏรอบๆ กาย แต่จะต้องมาถามกันชัดๆ อีกทีว่า วิชาภูมิศาสตร์นั้นเกี่ยวถึงเรื่องอะไรกันแน่ บางคนก็บอกว่าภูมิศาสตร์ หมายถึง การรู้ว่าสถานที่ใดตั้งอยู่ที่ไหน ซึ่งอันนั้นนักภูมิศาสตร์เขาจะเรียกว่า ภูมิศาสตร์นามของสถานที่ (Place-Name Geography) มันก็ดูสื่อสารให้เห็นภาพได้ดี แต่ว่านั่นเป็นเพียงเศษเสี้ยวเล็กๆ เพียงเสี้ยวเดียวที่นักภูมิศาสตร์เขาศึกษาเล่าเรียนกัน

ภูมิศาสตร์เป็นอะไรมากมายกว่าที่คนส่วนใหญ่คิดกัน ภูมิศาสตร์เป็นเรื่องของพื้นที่ ขณะที่ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องของเวลา ภูมิศาสตร์เป็นวิถีของความคิดที่เกี่ยวเนื่องกับพื้นที่ เป็นวิทยาศาสตร์ที่มีวิธีการและเครื่องมือ มีองค์ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ และมีเทคโนโลยีสารสนเทศที่พัฒนาการต่อเนื่องยาวนานมาหลายศตวรรษ ภูมิศาสตร์เป็นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาชนและสถานที่ และเป็นการรับรู้ถึงปัจจัยเชิงสถานที่ที่จะมีผลต่อสิ่งมีชีวิตในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ภูมิศาสตร์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ดูได้จากคำกล่าวของศาสตราจารย์ เจ โรว์แลนด์ อิลลิกค์ (J. Rowland Illick) ที่ว่า “เพราะเหตุใดประชาชนจึงทำสิ่งเหล่านั้น พวกเขากำลังทำอะไร และทำอะไรกันที่ไหน” ภูมิศาสตร์ถือเป็นมิติหนึ่งของวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ที่มีรากฐานอยู่บนตรรกะทางพื้นที่ ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับทำเลที่ตั้ง การเคลื่อนที่เลื่อนไหล และความสัมพันธ์ทางพื้นที่ที่ถูกพิจารณาว่าเป็นประเด็นสำคัญของกระบวนการบนพื้นโลกทั้งทางด้านกายภาพและวัฒนธรรม จุดเน้นหลักของภูมิศาสตร์ คือ การวิเคราะห์ทางพื้นที่ (Spatial Analysis) เป็นการวิจัยที่วางอยู่บนฐานของพื้นที่ (Place-Based Research) ทั้งด้านภูมิภาคศึกษา พื้นที่ศึกษา และพาราศึกษา และเป็นบูรณาการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Integration)

แรงอธิษฐานยังคงแรงกล้า เพราะว่า วิชาภูมิศาสตร์ยังคงเป็นวิชาที่มีความสำคัญกับเด็กๆ ถ้าหากโชคดี ก็จะพบว่าบางสิ่งบางอย่างที่คุณได้เรียนรู้มาจากโรงเรียนประถมศึกษาหรือโรงเรียนมัธยมศึกษา และใช้สำหรับการพักผ่อนหย่อนใจของคุณโดยไม่จำเป็นต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างนี้แล้วคุณคิดว่าวิชาภูมิศาสตร์มีเนื้อหาสาระจริงๆ สำหรับการเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ของเด็กๆ หรือเปล่าล่ะ แน่นอนต้องเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว ดังกรณีตัวอย่างที่ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะทางภูมิศาสตร์ ที่จะเป็นตัวไปก่อร่างสร้างนโยบายต่างประเทศ ออกแบบและใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และเป็นส่วนเกี่ยวข้องกับทุกสิ่งทุกอย่างในสังคมที่เป็นเรื่องของทำเลที่ตั้ง การเคลื่อนย้าย และการเลื่อนไหล

การประดิษฐ์ที่อัจฉริยะมาก
วิชาภูมิศาสตร์ได้รับการจัดตั้งมาตั้งแต่เมื่อ 2,500 ปีก่อน และมีการประยุกต์ให้ก้าวหน้าขึ้นโดยนักปราชญ์สมัยกรีก โรมัน และจีน นั่นเรียกว่าพัฒนาการของภูมิศาสตร์ในยุคโบราณ (Classical Age) เมื่อเข้าสู่สมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (Renaissance) วิชาภูมิศาสตร์และดาราศาสตร์ซึ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างมาก เพราะทั้งสองวิชานี้มีหลักการสำคัญเกี่ยวกับพื้นที่ ก็ได้กลายเป็นวิชาที่โดดเด่นเป็นอย่างมาก นับได้เป็นเวลาหลายพันปีแล้วที่วิชาภูมิศาสตร์ได้รับความสนใจและให้คุณค่าจากนักปราชญ์ พ่อค้าวาณิชย์ และนักปกครอง ดังข้อเขียนของเซ้นต์ ออกัสตีน (Saint Augustine) ในบทที่ว่าด้วยเมืองของพระเจ้า (The City of God) เมื่อตอนต้นศตวรรษที่ 5 “เหล่านี้เป็นการประดิษฐ์ที่อัจฉริยะอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นวิชาภูมิศาสตร์ เรขาคณิต ดาราศาสตร์ และศาสตร์ต่างๆ”

และแล้วก็ก้าวเข้าสู่ยุคกลาง (Middle Age) เป็นยุคที่มีการเข้ามาแทรกแซงของศาสนจักรอย่างมาก เชื่อหรือไม่ว่า วิชาภูมิศาสตร์ถูกทำให้กลายเป็นแฟนตาซีไปเสียแล้ว แม้ว่ายุคนี้จะกินเวลายาวนานเป็นพันปี แต่ก็ยังดีที่ตัวองค์ความรู้จริงๆ ได้รับการอนุรักษ์ไว้โดยพระชาวไอริช และมีกาประยุกต์ให้ก้าวหน้าเรื่อยๆ โดยปราชญ์อาหรับและเปอร์เซีย จนกระทั่งมารื้อฟื้นกันใหม่โดยปราชญ์ชาวยุโรปที่เป็นศูนย์กลางของการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ จนทำให้เกิดการสำรวจดินแดนต่างๆ ทั่วโลกในยุคสำรวจ (Exploration Age) ที่อยู่ในช่วง ค.ศ.1450-1948 การค้นหาข้อมูลสารสนเทศและขยายดินแดนไปทางตะวันตก ในช่วง ค.ศ.1600-1900 และยุคของการใช้แนวทางภูมิรัฐศาสตร์ ในช่วง ค.ศ.1915-1947 สำหรับประวัติศาสตร์ของวิชาภูมิศาสตร์ที่เป็นปัจจุบันๆ หน่อยนั้น ก็ดูได้จากรายการข้างล่างต่อไปนี้

o มีข้อเสนอฉบับแรกเกี่ยวกับการเลื่อนของทวีป (Continental Drift) ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรก เมื่อปี ค.ศ.1596 โดยนักภูมิศาสตร์ที่ชื่อว่า อับราฮัม ออร์เทลิอุส (Abraham Ortelius) และผู้ที่ทำให้ความรู้นี้แพร่หลายออกไปก็คือ อัลเฟรด เวเจเนอร์ (Alfred Wegener) ที่เป็นนักภูมิอากาศวิทยา (วิชาภูมิอากาศวิทยาเป็นสาขาย่อยที่สำคัญของวิชาภูมิศาสตร์)
o อัลเฟรด รัสเซลล์ วอลเลซ (Alfred Russell Wallace) นักชีวภูมิศาสตร์ (Biogeographer) ร่วมค้นพบทฤษฎีวิวัฒนาการ ในปี ค.ศ.1859 หากยังยืนยันความเชื่อต่อกฎที่ว่าด้วยการทำมาก่อน (Rules of Precedence) อย่างที่เชื่อกันอยู่ทุกวันนี้ เขาจะกลายเป็นผู้ค้นพบหลักของเรื่องนี้ แต่ว่าชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) ที่เป็นเพื่อนรักของเขากลับเขียนเอกสารขึ้นมาเสร็จก่อนหน้าที่วอลเลซจะได้นำไปเสนอต่อที่ประชุมราชสมาคม
o ไอซาห์ โบว์แมน (Isaiah Bowman) นักภูมิศาสตร์ที่ทำงานให้กับประธานาธิบดีวูดโรว วิลสัน (Woodrow Wilson) เป็นผู้เสนอนโยบายโลกาภิวัตของสหรัฐอเมริกา ที่ทำให้อเมริกากลายเป็นผู้นำของโลกผ่านทางการเมืองและเศรษฐกิจ มากกว่าการใช้กำลังทหาร นอกจากนี้โบว์แมนยังทำงานให้กับประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี รูสเวลท์ (Franklin D. Roosevelt) ในฐานะสำคัญหนึ่งในหกสถาปนิกออกแบบการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติด้วย
o คาร์ล ซาวเออร์ (Carl Sauer) นักภูมิศาสตร์คนสำคัญที่นำเอาวิธีการสร้างความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับอเมริกาโบราณ และการที่ทวีปอเมริกาเป็นศูนย์รวมการหลั่งไหลเข้ามาของประชาชนจำนวนมหาศาล โดยข้อเฉลียวใจของเขาได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในทศวรรษ 1930 ต่อมานักภูมิศาสตร์นามว่า บิลล์ เดเวแวน (Bill Denevan) ได้ค้นพบเหตุการณ์สนับสนุนจำนวนมากในปี ค.ศ.1961 นักภูมิศาสตร์ทั้งหลายให้การยอมรับอย่างกว้างขวางต่อข้อค้นพบของเขาในทศวรรษ 1970 และนักเขียนสารคดีวิทยาศาสตร์ ชาร์ลส์ มันน์ (Charles Mann) นำข้อค้นพบนี้มาประกาศต่อหน้าสาธารณชนจนได้รับการสรรเสริญอย่างมากในปี ค.ศ.2005
o โรเจอร์ ทอมลินสัน (Roger Tomlinson) นักภูมิศาสตร์ที่รู้กันเป็นสากลว่าเป็นบิดาของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาตั้งแต่ตอนต้นของทศวรรษ 1960 ขณะเดียวกันดูแอน มาร์เบิล (Duane Marble) และนักภูมิศาสตร์คนอื่นๆ ก็ทำการสอนและทำงานอย่างหนักโดยใช้หลักการพื้นฐานทางด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สำหรับจอห์น เค ไรท์ (John K. Wright) แห่งสมาคมภูมิศาสตร์อเมริกัน (American Geographical Society) ก็ได้ตีพิมพ์แนวคิดที่ทรงอิทธิพลมากเกี่ยวกับการแสดงจุด เส้น และพื้นที่ ที่กลายเป็นหัวใจสำคัญของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และการบุกเบิกใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อสนับสนุนให้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มีชีวิตชีวาอย่างแท้จริง

การล้างมลทินภูมิศาสตร์ (The Purge of Geography)
อย่างไรก็ตาม หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่นานวิชาภูมิศาสตร์ในสหรัฐอเมริกาก็ถึงคราวต้องจมลง และส่งผลกระทบต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้ โดยระหว่างปี ค.ศ.1948-1988 วิชาภูมิศาสตร์ได้ล้มหายไปจากมหาวิทยาลัยชิคาโก มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย มหาวิทยาลัยฮาร์วาด มหาวิทยาลัยมิชิแกน มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยเยล และอีกหลายมหาวิทยาลัย โดยไม่มีใครรู้ความจริงเลยว่า ทำไมสาขาวิชาภูมิศาสตร์จึงเป็นที่เพ่งเล็งและถูกกระทำเช่นนี้ หลายสิบปีต่อมา ไม่ปรากฏว่ามีภาควิชาภูมิศาสตร์อยู่ในมหาวิทยาลัยกลุ่มไอวี (Ivy League) ยกเว้นแต่ที่มหาวิทยาลัยดาร์ทเมาท์ (Dartmouth) เท่านั้นที่มีภาควิชาและเปิดสอนในระดับปริญญาตรี สำหรับมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำของสหรัฐ 20 อันดับ พบว่าทุกวันนี้มีเพียง 2 แห่งเท่านั้น ที่มีภาควิชาภูมิศาสตร์ ส่วนมหาวิทยาลัยชั้นนำ 20 อันดับนั้น มีภาควิชาภูมิศาสตร์ตั้งอยู่ถึง 15 แห่ง การล้างมลทินนี้เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมอเมริกันเท่านั้น ในสหราชอาณาจักรเองทุกวันนี้ ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด และมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ก็ยังคงมีโปรแกรมวิชาการที่แข็งแกร่ง สามารถรองรับการผลิตดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาภูมิศาสตร์ได้อย่างต่อเนื่อง

ต่อมาสาขาวิชาภูมิศาสตร์ก็กระดี๊กระด๊ากับการผุดขึ้นมาใหม่ของอะไรบางอย่าง นั่นก็คือ ความสำเร็จอย่างเป็นปรากฏการณ์ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และความจำเป็นต่อการทำความเข้าใจที่มากขึ้นเกี่ยวกับดินแดนและประชาชนในต่างประเทศภายใต้ยุคโลกภิวัติ และยุคที่มีการรวมตัวกันในกรอบของภูมิรัฐศาสตร์ วิชาภูมิศาสตร์ได้รับการยอมรับร่วมกับสาขาวิชาอื่นๆ มากขึ้น และบางคนก็ให้การยอมรับต่อจุดเด่นที่สำคัญของวิชาภูมิศาสตร์ นั่นก็คือ การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ การวิจัยที่เน้นสถานที่เป็นสำคัญ และการบูรณาการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งการโผล่ผุดขึ้นมาที่ว่านี้ในวิชาภูมิศาสตร์มีความหมายเป็นที่ทราบทั่วกันว่า ภาควิชาภูมิศาสตร์ที่มีอยู่กำลังเพิ่มบุคลากรและจัดการเรียนการสอนภายใต้ชื่อปริญญาใหม่ๆ ขึ้นมา ซึ่งไม่ได้มี่เฉพาะ 4 สาขาใหม่ในระดับปริญญาตรีที่มีการเพิ่มเข้ามาในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และยังได้เกิดภาควิชาใหม่ขึ้นมาให้เป็นถกเถียงอย่างเอาเป็นเอาตายอยู่ในปัจจุบัน ด้วยการไม่ให้เครดิตกันบ้างเลยเช่นนี้ ก็เป็นไปได้ว่าการจมสลายสาขาวิชาภูมิศาสตร์จะต้องเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไป และก็จะได้เห็นการปิดตัวเองลงไปอีกแห่งหนึ่งของภาควิชาภูมิศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเซ้าเทิร์น โอเรกอน (Southern Oregon University)

เครื่องห่อหุ้มเป็นเราะกำกับกายของสาขาวิชาจะต้องมีการวิวัฒน์ และสิ่งใดที่คร่ำครึล้าสมัยก็ควรที่จะขจัดมันออกไป อย่างไรก็ตาม หลังจากคำสรรเสริญต่อสาขาวิชาภูมิศาสตร์ที่พร่างพรูออกมาจากปากของท่านเซ้นต์ ออกัสตีน (Saint Augustine) แล้ว คงไม่มีสิ่งรบกวนอะไรที่ยิ่งใหญ่นับจากปี ค.ศ.1948 - ปัจจุบัน ที่จะเป็นเครื่องเตือนให้นึกถึงการตกต่ำของวิชาการในยุคกลาง ผู้เขียนเป็นคนหนึ่งที่มีความภาคภูมิใจต่อความเลวร้ายที่เกิดขึ้นอย่างไรบ้างกับสาขาวิชาภูมิศาสตร์ที่ด้อยโชคชะตา ราวๆ ครึ่งทศวรรษที่องค์ความรู้ของวิชาภูมิศาสตร์และกลุ่มของผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลายได้ถูกอนุรักษ์และประยุกต์โดยนักวิชการอเมริกันที่อยู่ในมหาวิทยาลัยแห่งรัฐ และมหาวิทยาลัยเอกชนบางแห่ง รวมถึงนักวิชาการในประเทศอื่นๆ ด้วย นักภูมิศาสตร์เก็บกรุเหล่านี้ได้อนุรักษ์ม้วนหนังสือโบราณหลายฉบับแบบเดียวกับพระชาวไอริชได้ทำในสมัยกลาง แต่ที่ดีกว่า ก็คือ พวกเขาได้ดำเนินการประยุกต์สาขาวชา และนำเสนอให้วิทยาศาสตร์สังคมได้เกิดความประทับใจในภารกิจของพวกเขา ทุกวันนี้ผลกระทบโดยรวมจากการทำงานของพวกเขาดูยิ่งใหญ่มาก เรียกว่ามากกว่าที่ใครบางคนจะไปคาดคั้นให้ลดจำนวนนักภูมิศาสตร์และจำนวนสถาบันที่สอนวิชาภูมิศาสตร์ลง

ขณะที่การศึกษาทางด้านภูมิศาสตร์ได้ถูกกำจัดออกไปจากหลักสูตรในระดับชั้น K2 ของสหรัฐอเมริกา ในโรงเรียนประถมศึกษาถือเป็นการสูญเสียที่จัดทำรายวิชาจับฉ่ายขึ้นมา คือ วิชาสังคมศึกษา (Social Studied) ที่ละเลยในส่วนที่เป็นเนื้อหาทางด้านภูมิศาสตร์กายภาพและแนวความคิดเชิงพื้นที่ ในแต่ละภาคการศึกษา ผู้เขียนเคยถามนักศึกษาที่เข้าเรียนในช่วงกล่าวนำเข้าสู่บทเรียนในชั้นเรียนขนาดใหญ่ว่า มีใครบ้างเคยเรียนวิชาภูมิศาสตร์มาก่อนที่จะเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัย ซึ่งมีนักศึกษาไม่ถึงร้อยละ 10 ที่ยกมือแสดงตน ในระดับชั้นมัธยมศึกษามีการลงทะเบียนเรียนวิชาภูมิศาสตร์มากขึ้น แต่จำนวนก็ยังน้อยอยู่ (21,000 คนในปี ค.ศ.2006) สำหรับการสอบเข้ามหาวิทยาลัยของนักเรียนนั้น ดูเหมือนว่าพวกเขาจะไม่รู้มาก่อนว่า มีการเรียนการสอนในสาขาวิชาภูมิศาสตร์ที่สามารถเรียนให้จบและรับปริญญาบัตรในสาขาวิชานี้ได้ มีกฎหมายว่าด้วยการไม่ทอดทิ้งให้เด็กอยู่อย่าล้าหลัง (The No Child Left Behind Program) ที่จัดสรรงบประมาณมาให้ปรับปรุงการสอนในทุกสาขาวิชาที่จำเป็น ยกเว้นวิชาภูมิศาสตร์ ซึ่งสภาได้กล่าวถึงวิชาภูมิศาสตร์ว่า เป็นวิชาที่จำเป็น แต่ไม่มีงบประมาณให้เพื่อการนี้แม้แต่ดอลลาร์เดียว

สถานการณ์ของรัฐบาลแบบนี้ สะท้อนให้เห็นแล้วว่ามีอะไรเกิดขึ้นในวงวิชาการ สมัยจักรพรรดิชู (Chou Emperor) ของจีนโบราณ พระองค์ทรงมีคณะนักภูมิศาสตร์ประจำราชสำนัก พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 พระองค์ก็ทรงมีคณะนักภูมิศาสตร์ประจำพระองค์เช่นกัน สำหรับสภาภาคพื้นทวีป (The Continental Congress) ก็ได้แต่งตั้งนักภูมิศาสตร์เป็นเจ้าหน้าที่ประจำ ท่านประธานาธิบดีวิลสันเองก็มีโบว์แมนเป็นนักภูมิศาสตร์ประจำตัว เช่นเดียวกับท่านประธานาธิบดีรูสเวลท์ที่ใช้บริการโบว์แมนเป็นนักภูมิศาสตร์ประจำตัว อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ไม่มีประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนใดที่มีนักภูมิศาสตร์ทำงานให้แบบตรงๆ อีกเลย ภาวการณ์ขาดแคลนอย่างว่า เป็นปรากฏการณ์เฉพาะของชาวอเมริกัน แต่ว่าในสหราชอาณาจักรนั้น เจ้าชายวิลเลียม รัชทายาทของราชบัลลังก์อังกฤษ พระองค์ทรงเป็นนักภูมิศาสตร์ ซึ่งจบการศึกษาระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเซ้นต์ แอนดรู (St Andrews University) เมื่อปี ค.ศ.2005

ช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 ภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) เป็นสาขาวิชาสำคัญของการวิจัยทางวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นการวิจัยที่ทำโดยนักภูมิศาสตร์ และยังมีอิทธิพลต่อภาคการเมืองในโลกของความเป็นจริงที่มีขนาดใหญ่มหึมา ครั้นพอถึงช่วงที่สองของศตวรรษเดียวกัน ภูมิรัฐศาสตร์ได้ถูกปรับแปลงเป็นวิชารัฐศาสตร์และกิจการต่างประเทศ (Political Sciences and International Affairs) ปัจจุบันมีวิทยาลัยกิจการต่างประเทศอยู่ในมหาวิทยาลัยอเมริกัน 9 แห่งจากมหาวิทยาลัยที่มีอันดับสูงสุด 15 แห่ง ซึ่งไม่ใช่ภาควิชาภูมิศาสตร์แบบเดิมอีกต่อไปแล้ว ต่อมาบิล วูด (Bill Wood) นักภูมิศาสตร์อเมริกัน ได้จัดทำรายงานจุดนั้น และได้ร่วมแลกเปลี่ยนสั้นๆ กับผู้เขียนก่อนที่จะเสียชีวิต วูดตระหนักดีถึงการขาดแคลนความรู้ทางภูมิศาสตร์ของผู้ที่จบการศึกษาด้านกิจการต่างประเทศ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกันกับการที่นักภูมิศาสตร์ไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องรัฐศาสตร์นั่นเอง ครั้งหนึ่งวูดเคยแสดงความจำนงจะจ้างงานคนที่มีความรู้ความเข้าใจแบบกว้างๆ ในด้านภูมิรัฐศาสตร์ ทั้งในด้านภูมิศาสตร์และรัฐศาสตร์ ซึ่งวูดก็ไม่สามารถหาคนที่มีคุณสมบัติแบบนั้นเข้ามาทำงานให้ได้

การบ่งชี้อย่างหนึ่งที่เป็นสาระด้านภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งเมื่อพิจารณาการเตือนของโบว์แมนเมื่อ ค.ศ.1949 ที่ว่า “เราอาจสูญเสียเสื้อที่เราสวมอยู่ไปในหนองน้ำหรือหุบเขาแห่งดินแดนอาณานิคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ซึ่งสองทศวรรษต่อมาเมื่อสหรัฐอเมริกากระโจนเข้าสู่สงครามเวียดนามอย่างเต็มตัว ตามสัญญายืนยันของจอร์จ เอฟ แคนนาน (George F. Kennan) แต่ว่าข้อคำเตือนของโบว์แมนกลับถูกหลงลืม โดยไม่มีการบรรจุให้เป็นวาระในการถกแถลงกันเลย

ระหว่าง 26 ปีที่ผู้เขียนทำงานอยู่ที่ห้องปฏิบัติการแห่งชาติโอ๊กริดจ์ (Oak Ridge National Laboratory) และ 6 ปีที่มหาวิทยาลัยแคนซัส ผู้เขียนได้มีส่วนร่วมในการให้คะแนนระหว่างการประชุมของคนภายในที่จะให้การสนับสนุนในการตัดสินใจต่อผู้กำหนดนโยบายต่างประเทศ และผู้กำหนดยุทธศาสตร์ทางการทหาร ผู้เขียนใช้เวลา 2 ปี เพื่อนั่งคิดให้ลึกๆ เพื่อที่จะเปิดประวัติศาสตร์ให้เกิดการฟื้นฟูสาขาวิชาภูมิศาสตร์ขึ้นมา ปัจจุบันนี้ บุคคลภายในจำนวนมากที่ยอมรับอย่างเปิดเผยว่ากำลังเกิดความผิดพลาดอย่างมหันต์ต่อความเข้าใจทางด้านภูมิศาสตร์ จากการทำตัวเป็นผู้สุขุมเรียบร้อยอย่างกับผ้าพับไว้ของพวกเขา ซึ่งนั่นเป็นเพราะมีความรู้น้อยมากในสิ่งที่เรียว่าภูมิศาสตร์ ตามที่ผู้เขียนได้ยินได้ฟังมาอย่างนั้น ผู้เขียนรู้สึกว่าจะต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ให้ชนะแพ้กันไปข้างหนึ่ง อย่างเดียวกับที่ท่านประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสันต้องเผชิญกับสงครามโลกครั้งที่ 1 และท่านประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี รูสเวลท์ต้องสู้รบการอริในสงครามโลกครั้งที่ 2 ยิ่งเมื่อสงครามสิ้นสุดด้วยชัยชนะที่ทุกวันนี้มองกันว่า เป็นชัยชนะทางปัญญา (Intelligence Triumphs) ประธานาธิบดีทั้งสองท่านค้นพบทางออกของปัญหาในวันที่ท่านต้องเผชิญ และผู้นำในปัจจุบันเองก็ควรที่จะใช้ภูมิปัญญาในการที่จะต้องตั้งคำถามต่างๆ ว่า สิ่งต่างๆ นั้นเป็นอะไร

คำมั่นสัญญาของท่านประธานาธิบดีวิลสัน คือ การสร้างสารสนเทศที่เป็นความรู้ขึ้นมาให้ได้ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ สงบลง เขาจึงรู้ว่าสหรัฐอเมริกาก้าวเดินอย่างสมดุลไปสู่การเป็นมหาอำนาจของโลก สงครามครั้งใหญ่ต่อด้วยสันติภาพเป็นสิ่งที่ปรากฏต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกในเวทีโลก เขาเพลิดเพลินกับบทบาทผู้นำของโลกเป็นอย่างมาก แต่จะมีใครบ้าง ที่คอยเล่นบทสนับสนุนตลอดกาลให้แก่เขา 140 ปีที่สหรัฐอเมริกาปฏิบัติตัวตามแนวผู้นำเดี่ยวนิยม (Isolationism) ไม่มีใครในรัฐบาล ไม่มีเจ้าหน้าที่และนักวิเคราะห์ในหน่วยงานราชการ หรือหน่วยปัญญาของกองทัพ ที่พร้อมที่จะวิเคราะห์ปัญญาของต่างประเทศ หรือพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับประเทศยุโรปที่ริเริ่มเรื่องพวกนี้มาก่อน ประธานาธิบดีวิลสันเอง เป็นนักวิชาการที่ลุ่มลึกพอ เขามองเห็นปัญหาในเชิงภูมิศาสตร์เหล่านี้ และเขาก็เรียกร้องให้สมาคมภูมิศาสตร์อเมริกันมาช่วยงานของเขา

ผู้อำนวยการสมาคมภูมิศาสตร์อเมริกัน คือ โบว์แมน ได้ทำการไต่สวน ทำการวิเคราะห์อะไรเยอะแยะ เกี่ยวกับปัญญาต่างๆ ในต่างประเทศ โดยมีคณะทำงานนักวิชาการกว่า 150 คนจากสาขาวิชาภูมิศาสตร์และสาขาวิชาอื่นๆ โดยงานของพวกเขาคือ จะต้องเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศที่จำเป็นสำหรับการสร้างสันติภาพเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Peace) ณ วันที่สงครามสิ้นสุดลง ในส่วนของการไต่สวนนั้น สมาคมภูมิศาสตร์อเมริกันรับผิดชอบในการจัดทำร่างประเด็นที่สำคัญของประธานาธิบดีวิลสัน 14 ประเด็น ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งของบรรดาข้อความที่ทำให้รู้สึกดีที่สุดและเป็นนโยบายที่มีประสิทธิภาพที่สุดที่ถูกเขียนขึ้นมา และเมื่อประธานาธิบดีวิลสันและตัวแทนของอเมริกกันเดินทางไปเยือนประเทศฝรั่งเศส ซึ่งโบว์แมนก็เดนทางร่วมคณะไปกับท่านด้วย เมื่อกลับมาโบว์แมนได้ถอนตัวออกมาและปฏิรูประบบงานในสำนักงาน ประธานาธิบดีวิลสันประกาศกฤษฎีกาออกมาว่า นักวิเคราะห์ทุกคนจากหน่วยงานของรัฐ องค์กรทางปัญญาของกองทัพ และหน่วยงานสถิติส่วนกลาง ทั้งหมดนี้จะต้องรายงานต่อท่านประธานาธิบดีโดยผ่านมาทางโบว์แมน ในเดือนมกราคม ค.ศ.1919 นักภูมิศาสตร์และนักทำแผนที่ของสมาคมภูมิศาสตร์อเมริกัน นำโดยมาร์ก เจฟเฟอร์สัน (Mark Jefferson) ได้ร่วมกันผลิตแผนที่มากกว่า 300 ฉบับต่อสัปดาห์ โดยใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์ทางภูมิศาสตร์จากข้อมูลจำนวนมหาศาลที่เก็บรวบรวมมา ครอบคุลมทั้งด้านภาษา ชาติพันธุ์ ทรัพยากร ขอบเขตทางประวัติศาสตร์ และอื่นๆ อีกหลายอย่าง ตัวแทนของอเมริกันจึงกลายเป็นที่หมั่นไส้ของที่ประชุมที่แวร์แซลส์เป็นอย่างยิ่ง

ท่านประธานาธิบดีรูสเวลท์เองก็เป็นอีกท่านหนึ่งที่ชื่นชอบวิชาภูมิศาสตร์ และก็ได้ให้การสนับสนุนสภาของสมาคมภูมิศาสตร์อเมริกันมากกว่าหนึ่งทศวรรษระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โบว์แมนซึ่งทำหน้าที่ที่ปรึกษาอย่างใกล้ชิดกับท่านประธานาธิบดี และเป็น 1 ใน 6 สถาปนิก ผู้ร่วมร่างและก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ และเขายังเป็นผู้โน้มน้าวท่านประธานาธิบดีวินสตัน เชอร์ชิลล์ ให้เห็นความสำคัญของการจัดการองค์กรต่างๆ ให้อยู่ในกรอบโลกาภิวัติหนึ่งเดียว ว่าจะเป็นผลดีกว่าการแบ่งองค์กรออกตามส่วนทั้งสามของภูมิภาคแบบเดิม

ระหว่างสงคราม นักภูมิศาสตร์หนึ่งในสามของนักภูมิศาสตร์ถูกเรียกตัวเข้าไปที่กรุงวอชิงตัน ดีซี เพื่อทำงานสนับสนุนสำนักงานวางแผนยุทธศาสตร์ (OSS: Office of Strategic Services) และองค์กรอื่นๆ ที่ทำงานเพื่อรองรับภาวะสงคราม ในการทำหน้าที่เหล่านั้น โบว์แมนมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก

ปัจจุบันนี้ มีการพิจารณาถึงศักยภาพใหม่ของอเมริกันในภาวะที่สงครามพร้อมที่จะเกิดขึ้นได้ทุกเวลาว่า บทบาทของสมาคมภูมิศาสตร์อเมริกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และบทบาทของโบว์แมนที่โดดเด่นมากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น เป็นการดำเนินการไปเพื่อให้เกิดสันติภาพ มากกว่าเป็นไปเพื่อก่อสงคราม ความรู้สำคัญต่างๆ ที่จะพาให้เรามุ่งสร้างสันติภาพได้ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าสิ่งที่เราได้ทำกันขึ้นมาเพื่อการสงคราม

การตั้งสมญานามภูมิศาสตร์
ถ้าหากว่าในโลกนี้ไม่มีวิชาภูมิศาสตร์ปรากฏอยู่ อาจจะต้องมีการค้นพบวิชาภูมิศาสตร์ขึ้นมา ซึ่งแน่นอนว่ามี 4 กรณีที่อาจจะเกิดขึ้นได้มากจากการค้นพบที่ไม่ได้ตั้งใจ
o สิบปีของการล้มสาขาวิชาภูมิศาสตร์ลง สภาสูงได้มีมติผ่านมาตรา VI ของกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ ค.ศ.1958 (NDEA: National Defense Education Act) ที่มีผลต่อการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนองค์กรเพื่อสร้างโปรแกรมด้านพื้นที่ศึกษา (Area Studies Programs) ขึ้นในมหาวิทยาลัยทั่วสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะเป็นแหล่งอบรมผู้เชี่ยวชาญที่มีคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอสำหรับการสร้างความมั่นคงของสหรัฐอเมริกา
o สี่สิบปีของการล้มสาขาวิชาภูมิศาสตร์ลง หน่วยงานของรัฐบาลกลางอย่างน้อย 3 หน่วยงาน ได้ลงนามในเค้าโครงการสร้างวิชาวิทยาศาสตร์ใหม่ขึ้นมา เรียกว่า “วิทยาศาสตร์ระบบของโลก” (Earth System Science) หลายวันต่อมา หลังจากที่มีรายงานของเบรเธอร์ตัน (Bretherton Report) ปรากฏออกมาในตอนปลายทศวรรษ 1980 ผู้เขียนได้อ่านข้อกำหนดที่กล่าวไว้อย่างสมบูรณ์ ณ ที่ประชุมนานาชาติของนักภูมิศาสตร์ และพวกเขาก็ได้พิจารณากันในที่นั้นว่า วิชาภูมิศาสตร์ได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่อีกครั้งแล้ว ซึ่งที่ประชุมก็ได้ระเบิดเสียงหัวเราะกันสนั่น
o มหาวิทยาลัยโคลัมเบียล้มล้างภาควิชาภูมิศาสตร์ออกไปจากสาระบบเมื่อปี ค.ศ.1986 และเก้าปีต่อมาก็ได้สร้างสถาบันโลก (Earth Institute) ขึ้นมา เพื่อบูรณาการการสอนเกี่ยวกับโลก สิ่งแวดล้อม และสังคม ซึ่งจะเห็นว่าวิชาภูมิศาสตร์ไม่ใช่สาขาวิชาหลักสำหรับที่นี่อีกต่อไปแล้ว
o มหาวิทยาลัยฮาร์วาดไม่เปิดสอนสาขาวิชาภูมิศาสตร์มาตั้งแต่ปี ค.ศ.1945 และผลลัพธ์หลายอย่างก็ได้แสดงอยู่ในรายงานการทบทวนหลักสูตรต่างๆ ของมหาวิทยาลัยฉบับปี ค.ศ.2004 รายงานดังกล่าวต้องการให้ปรับปรุงแก้ไขอย่างจริงจังเกี่ยวกับเครื่องหมายแสดงมาตรฐานขั้นสูงของวิชาภูมิศาสตร์ ที่จะต้องให้ความรู้แบบกว้างๆ ของศาสตร์ที่หลากหลาย และจะต้องทำให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นกว่าแต่ก่อนเกี่ยวกับวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองของต่างชาติ โดยไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงชื่อของสถานที่แห่งนั้นๆ

ทั้งสี่ประเด็นที่กล่าวมาเป็นเสมือนแถลงการณ์สำหรับวิชาภูมิศาสตร์ แต่ก็พยายามหลีกเลี่ยงอย่างตั้งใจที่จะใช้คำต่างๆ ให้เป็นภาษาธรรมดาๆ

เมื่อปี ค.ศ.2005 มหาวิทยาลัยฮาร์วาดประกาศเลยว่า จะมีเรียนการสอนในด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ แต่ไม่ใช่วิชาภูมิศาสตร์ โดยมีการตั้งศูนย์ใหม่ขึ้นมารองรับ คือ ศูนย์สำหรับงานวิเคราะห์เชิงพื้นที่ (Center for Geographic Analysis) ทำหน้าที่เป็นส่วนที่ทำงานตามความต้องการด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่มาจากทุกสาขาวิชา โดยไม่มีโครงสร้างสถาบันทางวิชาการที่เป็นตัวตนที่แน่นอน คล้ายๆ กับการสร้างศูนย์ประดิษฐ์โปรแกรมพิมพ์คำ โดยไม่จำเป็นต้องมีภาควิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งถือเป็นความผิดพลาดอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ เพราะไม่มีหน่วยงานใดเลยที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประยุกต์ใช้งานด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในช่วงทศวรรษ 1970 นอกจากนี้ การขาดหน่วยงานที่เป็นต้นสังกัดทางวิชาการ ยังเป็นตัวหยุดยั้งการพัฒนาการของงานด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ที่ทำให้ถูกหลลงเข้าใจผิดว่าเป็น “คอมพิวเตอรกราฟิก” และทำให้สูญเสียโอกาสใหญ่ๆ ไป

หลายปีมานี้ ผู้เขียนได้เฝ้าเตือนว่า “ด้วยการประยุกต์ในสาขาวิชาภูมิศาสตร์เองนั้น สามารถกำหนดตำแหน่งของสาขาวิชาให้แสดงบทบาทหลักในประเด็นสำคัญได้ เป็นต้นว่า การเปลี่ยนแปลงบรรยากาศของโลก หรือการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในยุโรปตะวันออก ในทางตรงกันข้าม การประยุกต์อย่างก้าวหน้าในด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพียงอย่างเดียวนั้น กลับจะพาให้พวกเราเข้ามุมอับด้วยการทำงานเป็นเจ้าหน้าที่จัดการข้อมูลเพื่อสนับสนุนนักนิเวศวิทยา นักรัฐศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ และผู้นำทางวิชาการสาขาอื่นๆ ในประเด็นเหล่านี้” ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และทิศทางปัจจุบันของมันกำลังมีการปรับปรุงในจุดที่ผู้เขียนได้กล่าวถึง ด้วยความร่วมมือกันของทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ และการหลั่งเลือดของพวกเราเองออกมาบ้างในบางครั้ง อย่างนี้เท่านั้นที่จะทำให้เราสามารถสร้างการยอมรับนับถือจากวิทยาศาสตร์อื่นที่ถือตนเหนือกว่า นโยบายศาสตร์ และนโยบายสาธารณะ ที่วิทยาศาสตร์มีอิทธิพลอย่างยิ่ง นั่นหมายความว่า ทฤษฎีแบบเดิมๆ จำนวนมากที่มีการพัฒนาขึ้นมาเดี่ยวๆ โดยสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นการเฉพาะ ที่ไม่ได้ใช้หรือใช้ความรู้ความสัมพันธ์กับวิชาภูมิศาสตร์ ตรรกะทางพื้นที่ หรือบูรณาการกับสิ่งอื่นเพียงเล็กน้อย นั่นจะไม่ใช่สิ่งท้าทายอีกต่อไปในอีกหลายทศวรรษข้างหน้า

ความจริงแล้วผู้บริหารมหาวิทยาลัยฮาร์วาด เปิดประตูให้โอกาสสาขาวิชาภูมิศาสตร์ได้รื้อฟื้นกลับมาอีก แต่กระบวนการต่างๆ กลับเป็นไปอย่างเชื่องช้าและไม่แน่นอน จึงเป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีความสนใจของใครสักคนหนึ่ง ที่เห็นในพลังของเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เชื่อในความสามารถของวิชาการในการชี้นำสังคม ที่เป็นผู้เกิดมาทันกาลเวลานี้พอดี ที่จะมาช่วยชี้ให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยนั้น มีบทบาทและอิทธิพลอย่างยิ่งต่อประเทศชาติ วิชาภูมิศาสตร์นั้นถือได้ว่าเป็นพลังแฝงที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และเป็นเสมือนกับบ้านทางวิชาการตามธรรมชาติของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์อีกด้วย ยืนยันเรื่องได้จากสถาบันสมาชิกของกลุ่มมหาวิทยาลัยที่ทำงานด้านภูมิสารสนเทศศาสตร์ (UCGIS: University Consortium for Geographic Information Science) รวม 80 แห่งนั้น ร้อยละ 85 เป็นผู้นำหรือผู้นำร่วมจากภาควิชาภูมิศาสตร์

พฤติกรรมการแดกดันที่ผิดมารยาทและน่าขัน
มีเหตุการณ์หนึ่งที่น่าขบขันยิ่งจากการแสดงออกในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งไม่มีทางเกิดขึ้นในลักษณะเดียวกันนี้ได้เลยกับสาขาวิชาภูมิศาสตร์ นั่นก็คือในปี ค.ศ.1897 สภาผู้แทนราษฎรแห่งมลรัฐอินเดียน่าผ่านเสียงเป็นเอกฉันท์ในการปรับแก้กฎหมายลำดับที่ 246 เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงค่าพาย (π) จากที่มีความหมายทางคณิตศาสตร์ว่ามีค่าเท่ากับ 3.1415 ให้เหลือค่าแค่เท่ากับ 3 เท่านั้น เคราะห์ดีอย่างยิ่งที่ร่างกฎหมายฉบับนี้ต้องม้วยลงก่อนที่จะไปถึงวุฒิสภา ผู้ที่เป็นตัวการที่เข้าไปขวางวันได้อย่างฉับพลัน คือ คลาเรนซ์ เอ วัลโด (Clarence A. Waldo) ศาสตราจารย์สาขาวิชาคณิตศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเปอร์ดู (Purdue University) ที่ถือร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวเข้าไปในสภานิติบัญญัติพร้อมกับเย้ยหยันในปัญญาของสมาชิกสภาที่ต้องเปลี่ยนค่าทางคณิตศาสตร์โดยไม่ได้คิดถึงความเป็นจริงทางวิชาการแม้แต่น้อย หากไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว พวกเราคงได้รับรู้กันทั่วไปแล้วว่า ค่าพายนั้นมีค่าเท่ากับ 3 ไม่ใช่ 3.1415 อย่างที่วิชาคณิตศาสตร์เคยสอนพวกเรามา

อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้ นักการเมืองและบัณฑิตทั้งหลาย ล้วนสามารถกล่าวอ้างหรือออกแถลงการณ์ต่างๆ ที่พวกเขาเพลิดเพลินกับการใช้ประโยชน์จากวิชาภูมิศาสตร์ได้ด้วยตัวเองทุกคน แต่ว่านั่นดูค่อนข้างไร้สาระ และพวกเขาไม่ได้เป็นผู้มีความรู้ทางภูมิศาสตร์อย่างพอเพียงที่จะกล่าวอ้างอะไรแบบนั้นได้ทุกๆ เรื่อง แน่นอนว่า ประชาชนมีความเฉลียวฉลาดด้วยฐานความรู้ทางด้านภูมิศาสตร์ ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นเจ้าหน้าที่อยู่ในหน่วยงานของรัฐ โรงเรียน ธุรกิจ และตามบ้านเรือนทั่วไป แต่พวกเขาก็มีจำนวนน้อยนิดเท่านั้นเอง ดูอย่างการกำหนดขนาดของเขตเลือกตั้งก็ได้ ทุกวันนี้นักการเมืองจัดเขตดังกล่าวอย่างไม่เหมาะสม แล้วก็ไม่ค่อยมีสื่อสารมวลชนคนไหนสนใจถามคำถามจากปัญหาที่ว่านี้เลย ทุกสิ่งทุกอย่างดูไร้ค่าไปเสียทั้งหมด วิชาภูมิศาสตร์ได้ก้าวผิดพลาดไปไกลเกินกว่าที่สาธารณะจะได้หันมาร่วมตระหนัก เห็นได้จากการที่ไม่มีนักการเมืองหรือนักข่าวที่พยายามจะค้นหาข้อความสนทนาทางด้านภูมิศาสตร์ที่เป็นทางการ อันเป็นสาระสำคัญในการสร้างสันติภาพหรือการก่อสงครามเลยแม้แต่น้อย

ทุกวันนี้ไม่มีความรู้อะไรที่จะยิ่งใหญ่ไปกว่าสิ่งที่จะวางอยู่ระหว่างความรู้ความเข้าใจของสาธารณชนในด้านภูมิศาสตร์และความจริงที่นักภูมิศาสตร์ต้องทำจริงๆ นักภูมิศาสตร์ทุกคนยังคงช่วยเตือนความทรงจำของประชาชนที่ทนทุกข์ทรมานจากการเข้าใจผิดอย่างจงใจ บางคนก็สนุกสนานกับมัน บางคนก็แดกดันมันอย่างเสียมิได้ มีตัวอย่างที่ครั้งหนึ่งผู้เขียนหลงเข้าไปในวงสนทนาของนักการขายในร้านแห่งหนึ่งที่เมืองแคนซัส สตรีผู้มากประสบการณ์คนหนึ่ง ซึ่งบุตรสาวของเธอได้รับคัดเลือกให้เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยที่ผู้เขียนสอนอยู่ สตรีผู้นี้ถามว่าผู้เขียนสอนอะไร ผู้เขียนตอบว่า “สอนวิชาภูมิศาสตร์” ซึ่งเธอก็พูดว่า “โอ้ วิชานั้นเขาไม่ใช่สอนกันในระดับมหาวิทยาลัยหรอก ไม่ใช่รึ รึว่าใช่” ผู้เขียนตอบกลับไปว่า “แน่นอนครับ เราสอนและให้ปริญญาทั้งศิลปศาสตรบัณฑิต ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต และปรัชญาดุษฎีบัณฑิต” จากนั้นก็มาถึงจุดที่เลวร้ายและเจ็บแปลบเป็นที่สุดของสถานการณ์ “เอาล่ะ ถามหน่อยนะว่า พวกเขาเรียกมันว่าอะไรกันรึ” เธอถามด้วยคำถามที่ไม่น่าเชื่อว่าจะหลุดออกมาได้จากปากคน

เชื่อหรือไม่ว่า คนบางคนคิดว่าวิชาภูมิศาสตร์นั้น เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับรัฐและเมืองหลวงของรัฐที่คุณอาศัยอยู่ บางคนคิดว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับพรมแดน บางคนคิดว่าเป็นเรื่องทางกายภาพเพียงอย่างเดียว มีบ้างบางคนที่คิดว่าเป็นเรื่องทางสังคมสุดๆ ซึ่งความจริงแล้ว สาระสำคัญของวิชาภูมิศาสตร์ที่ประกาศไว้เป็นประเด็นทางวัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจ ราวร้อยละ 47 เป็นภูมิสารสนเทศศาสตร์ ร้อยละ 21 ประเด็นทางกายภาพ ร้อยละ 10 ประเด็นของภูมิภาค ร้อยละ 8 ประเด็นสาระทางด้านระเบียบวิธีการ ร้อยละ 5 และเป็นสิ่งที่ผสมผสานกันของประเด็นทั้งหมดที่กล่าว ร้อยละ 9

การผิดมารยาทของบุคคลส่วนใหญ่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ และเราก็ปฏิบัติต่อๆ กันมาด้วยการกันคนเหล่านั้นออกไปเสีย แต่โดยรวมแล้วคนที่เข้าใจผิดเหล่านี้หลายคนเป็นผู้กำหนดทิศทางของสังคม ทั้งๆ ที่เป็นการกำหนดไปด้วยความไม่เข้าใจ จึงเป็นเหตุให้ได้นโยบายที่ไม่ดี ธุรกิจที่เลว และวิทยาศาสตร์ที่เหลว คนบางคนให้ข้อเสนอที่เป็นอันตรายและก่อให้เกิดการต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ อย่างกรณีตัวอย่างของการขืนใจกันที่ฮาร์วาร์ด เกิดขึ้นในปี ค.ศ.1948 เมื่ออธิการบดี เจมส์ โคแนนท์ (James Conant) ประกาศว่า “ภูมิศาสตร์ไม่ใช่วิชาที่จะต้องสอนกันในระดับมหาวิทยาลัย” อิทธิพลในเชิงสถาบันของเขาแผ่ซ่านออกมาผ่านคำพูดที่หลุดปากออกมา เป็นไกรปืนที่ถูกลั่นออกไปให้เกิดการสลายในระดับชาติอีกหลายต่อหลายแห่ง

แทนที่ทั้งหลายทั้งปวงจะช่วยกันแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดจากการริเริ่มต้นของโคแนนท์ บางคนกลับยังคงไม่รับรู้ต่อสัญญาณอันตรายอันนั้น ทุกวันนี้ รองอธิการบดีที่รับผิดชอบดูแลวิทยาลัยศิลปศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ถึงขนาดกับตั้งคำถามต่อสถานะของวิชาภูมิศาสตร์มนุษย์ว่า เป็นวิชาการประยุกต์ในการวางตำแหน่ง (Advanced Placement Course) วิชาหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องทั้งหมดนี้ ก็มีจดหมายที่ใช้คำสวยเป็นวาทศิลป์จำนวนมากที่ถูกเขียนขึ้นมาโดยนักภูมิศาสตร์ ไปถึงผู้บริหารมหาวิทยาลัย และก็มีหลายฉบับที่ถูกคัดเลือกไปตีพิมพ์ในวารสารสมาคมภูมิศาสตร์อเมริกัน
สมัครสมานสามัคคี

การฟื้นฟูภูมิศาสตร์กลับคืนมาดูจะเป็นผลประโยชน์อย่างมากสำหรับพวกเราในฐานะที่เป็นพลเมืองคนหนึ่งของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะที่เราอาจจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้วย ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่ไม่จำเป็นว่าจะต้องยืนอยู่บนขาของสาขาวิชาเดิมของเราไม่ว่าเราจะจบปริญญาในสาขาวิชาภูมิศาสตร์หรือไม่ก็ตาม ไม่มีสาขาวิชาใดที่จะเป็นอยู่ทุกอย่างโดยง่ายดายไปทั้งหมด จนกระทั่งเมื่อสาขาวิชานั้นที่อยู่ในภาวะล่มสลายจะต้องถูกฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้ง นักปราชญ์ผู้รู้ทุกคนควรจะปรีดาร่าเริงกับการที่วิชาภูมิศาสตร์จะได้ฟื้นกลับมาอีก จะได้กลับมาเยียวยาภาวะล่มสลายที่เคยเกิดขึ้นที่พวกเราต้องอดทนอยู่กันอย่างหดหู่ และนั้นคือความจริงที่ใครก็ตามที่ไม่ชอบสาขาวิชาภูมิศาสตร์จะต้องรับรู้เอาไว้ด้วย

จะปกป้องสาขาวิชาอื่นจาการจู่โจมแบบเดียวกับสาขาวิชาภูมิศาสตร์ถูกกระทำได้อย่างไรดี อาจจะจินตนาการเกินเลยไปถึงการต่อต้านของมวลชนที่ดูดุร้าย และมีกองกำลังขุนนางผู้ทรงปัญญาถือพร้าอาวุธครบมือบุกเข้ามา แต่ว่าเหตุการณ์อย่างนั้นไม่ได้เกิดขึ้นกับกรณีของเราหรอก หรืออาจจะจิตนาการว่าสาขาวิชาของเราอาจจะต้องล้มลงโดยไม่มีการต่อสู้แต่นักภูมิศาสตร์ทั้งหลายมักจะเลือกยอมรับโชคชะตามองว่าเป็นความสวยงามของชีวิตเสียมากกว่า ตอนต้นปี 2007 ที่ผู้เขียนตีพิมพ์ข้อคำถามที่ค่อยจ้างล้าสมัยว่า “การล่มสลายไปทั้งชาติของสาขาวิชาใดๆ เกิดขึ้นได้อย่างไรเพราะอะไร” คำตอบที่กลับเข้ามามีเยอะแต่มีนักภูมิศาสตร์ตอบมาเพียงคนเดียว ส่วนใหญ่กล่าวตำหนิตัวสาขาวิชานั้นๆ ซึ่งทุกเหตุผลผู้ตอบได้เสนอลักษณะของสาขาวิชาอื่นๆ หลายสาขา แต่ไม่มีสาขาวิชาไหนเลยที่ถูกลงโทษแบบที่สาขาวิชาภูมิศาสตร์ถูกระทำ

หากมองว่าผู้เขียนยึดมั่นตัวตนในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิชาภูมิศาสตร์ ผู้เขียนก็ขอยืนยันว่าไม่ได้เป็นพวกคลั่งชาติคลั่งวิชาแต่อย่างใด ผู้เขียนตระหนักดีกว่า สาขาวิชาภูมิศาสตร์ไม่ใช่คำตอบเท่านั้น การปฏิวัติขึ้นมาของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์นั้นไม่ได้เกิดขึ้นมาโดยปราศจากการให้ความรู้จำนวนมาก จากนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ สถาปนิกภูมิสถาปัตย์ นักคณิตศาสตร์ วิศวกรไฟฟ้า และสาขาอื่นๆ เช่นเดียวกับ ความจริงสำหรับสาขาวิชาภูมิศาสตร์ที่มีองค์ความรู้เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถานที่ การที่นักมานุษยวิทยาวัฒนธรรมเขามีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับวัฒนธรรม และพวกเขาก็ชอบในสิ่งที่เขารู้เข้าใจได้เป็นอย่างดีเช่นกัน ฉะนั้นผู้เขียนจึงสนับสนุนทั้งหมดทุกสาขาวิชาได้ดำเนินการต่อไป โดยที่พวกเขาจะไม่ต้องถูกล้มให้ฟุบลงแบบเดียวกับภูมิศาสตร์

จุดของผู้เขียนอย่างแรกก็คือว่า สาขาวิชาภูมิศาสตร์นั้นมีมุมมองและวิธีการที่จำเป็นอย่างน้องก็มีความสำคัญเท่าๆ กับวิชาอื่นๆ แต่ภูมิศาสตร์ถูกล้างผลาญ ถูกต้องสมญานาม และถูกแยกส่วน และส่วนต่างๆ ที่ถูกแยกสลายออกไปไม่มีเลยที่จะได้รับการผนวกเข้ากับภาพรวม โปรแกรมพื้นที่ศึกษา (Area Studies Programs) ดูจะเป็นศูนย์รวมของการทำงานของผู้เชี่ยวชาญทั้งหลาย ที่มีความรู้เกี่ยวกับภูมิภาคต่างๆ อย่างแท้จริง เพราะพวกเขาไม่ได้คิดให้เป็นปรกติ เกี่ยวกับพื้นที่และหานิยามพื้นที่แบบที่นักภูมิศาสตร์ทำอย่างเป็นปรกติ นั้นจึงเป็นคำตอบว่า เพราะเหตุใด แทนที่เงินทุกๆ ดอลลาร์ของรัฐที่ถมลงไปนับตั้งแต่ปี 1958 กับโปรแกรมพื้นที่ศึกษา แต่โปรแกรมนี้กลับไม่ได้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เลยแต่อย่างใด ขณะนี้สาขาวิชาภูมิศาสตร์กลับเป็นตัวหลักในการทำสิ่งนั้น

อย่างที่สองคือว่า สาขาวิชาภูมิศาสตร์นั้นได้ถูกละเลยที่จะขยายความรู้ออกไป ขณะที่สาขาวิชาอื่นๆ ไม่เคยต้องเผชิญแบบเดียวกันเลยในสมัยปัจจุบัน ตัวอย่างเช่นเฉพาะมหาวิทยาลัยในกลุ่มไอวีลีก ที่พยายามจะทำอย่างนั้นกับสาขาวิชาภูมิศาสตร์ โดยไม่กระทำต่อสาขาวิชามานุษยวิทยา ชีววิทยา ประวัติศาสตร์ คณิตศาสตร์ และสังคมวิทยา ซึ่งแน่นอนว่าเราสามารถพบเห็นว่ามีการเรียนการสอนระดับปริญญาเอกในสาขาวิชาเหล่านั้นทั้งหมด และก็ยังมีปริญญาเอกสาขาอื่นๆ อีก แต่ไม่มีสาขาภูมิศาสตร์เลย ยกเว้นก็แต่เพียงที่มหาวิทยาลัยดาร์ทเมาท์ ที่เดียวที่มีระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภูมิศาสตร์

เราสามารถช่วยอะไรกันได้บ้าง
ช่วยกันกล่าวคำนั้น - ทุกวันนี้ มีความไม่เต็มใจอย่างเห็นได้ชัด ในการที่จะกล่าวถึงภูมิศาสตร์หรือคำนามที่เริ่มต้นการสะกดด้วยพยัญชนะ G คำว่า “ศาสตร์ทางพื้นที่” หรือ Spatial หรือ Geospatial ดูเหมือนจะเป็นที่ยอมรับกันมากกว่าคำว่า “ภูมิศาสตร์” หรือคำว่า Geography และ Geographic ดูได้จากเมื่อนักภูมิศาสตร์ค้นพบอะไรใหม่ๆ ด้วยการใช้วิธีการทางภูมิศาสตร์เป็นฐานของการค้นพบอย่างแท้จริง แต่สิ่งเหล่านั้นกลับถูกระบุว่าเป็นเรื่องราวของศาสตร์เฉพาะที่ใกล้เคียง มากกว่าที่จะเป็นงานทางภูมิศาสตร์ นักภูมิศาสตร์มักไม่เอ่ยนามตัวเองบ่อยๆ แบบเดียวกับที่นักธรณีวิทยาชอบเอ่ย แม้ว่าจะมีบ้างเพียงร้อยละ 10 ของพวกเราที่อ้างว่ามีความเชี่ยวชาญทางด้านกายภาพ ที่อาจจะสับสนปนเปไปกันธรณีวิทยาได้

บอกประชาชนว่า ภูมิศาสตร์คืออะไร - นักภูมิศาสตร์กลุ่มใหญ่กำหนดให้วิชาของพวกเขาวางอยู่บนมุมมองและวิธีการเชิงพื้นที่ (Spatial Perspective and Methods) มากกว่าที่จะเป็นเนื้อหาสาระ ดังนั้นจึงให้บอกทุกคนว่า ภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์เกี่ยวกับพื้นที่ ขณะที่ประวัติศาสตร์เป็นศาสตร์เกี่ยวกับเวลา คงไม่มีใครจะเสนอแนะอย่างเคร่งเครียดว่า มหาวิทยาลัยหนึ่งๆ ควรจะตั้งอยู่ได้โดยปราศจากภาควิชาประวัติศาสตร์ ดังนั้นจึงจะต้องถามกันให้แน่ใจอีกครั้งว่า เพราะเหตุใดมหาวิทยาลัยจึงควรตั้งอยู่ได้โดยไม่มีภาควิชาภูมิศาสตร์

อธิบายให้ผู้บริหารฟังให้ได้ - หากว่ามหาวิทยาลัยที่คุณรักไม่มีภาควิชาภูมิศาสตร์ ลองถามผู้บริหารดูซิว่า เป็นเพราะเหตุใดจึงไม่มีภาควิชาภูมิศาสตร์ ถ้าหากว่ามี แต่ว่าไปรวมอยู่กับสาขาวิชาอื่น ก็ลองถามผู้บริหาร เพื่อให้เขาอธิบายเหตุผลที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังการจัดโครงสร้างแบบนั้น ขณะเดียวกันเราก็จะต้องส่งการสื่อสารที่ชัดเจนว่า ทุกๆ สาขาวิชาสามารถช่วยอธิบายรายละเอียดต่างๆ ของโลกให้กับทุกคนทราบได้ เราและสาขาวิชาอื่นๆ ที่สามารถช่วยสังคมได้นั้น จะต้องวางแนวทางโดยปราศจากนักการเมืองหรือนักบริหารที่จะมาก่อกวนให้วุ่นวายข้ามสายงาน บุคคลทุกคนทำงานข้ามหน้าข้ามตาดังกล่าวจะต้องถูกตรวจสอบและแสดงความรับผิดชอบ แน่นอนละว่า ส่วนที่หนักที่สุด คือ การจะต้องกำหนดกลุ่มความสนใจที่เร่งด่วนของสาระวิชาของคุณใน ........... แต่ความสามัคคีกันไว้ก็เป็นความหวังที่ดีที่สุดของเราที่จะห้ามหรือหยุดยั้งการล่มสลายของสาขาวิชาภูมิศาสตร์ และเราจะต้องต่อสู้กับอุปสรรคทุกอย่าง ด้วยการเริ่มต้นกับจุดใดจุดหนึ่งที่สุกงอมที่สุดที่พร้อมจะเกิดขึ้น

ใช้วิธีการล๊อบบี้ให้เกิดระเบียบวาระเชิงนิติบัญญัติอย่างสมเหตุสมผล - การสนับสนุนทุนสำหรับการศึกษา การพัฒนา และการวิจัยทางด้านภูมิศาสตร์ จะต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อยสองเท่า เพราะส่วนหนึ่งต้องนำไปแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานทางด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และอีกส่วนหนึ่งจะใช้สำหรับให้การศึกษากับสาธารณชนทั่วไป ทุนสนับสนุนเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดการเติมเต็ม 6 ประเด็นที่สำคัญที่สุด ประกอบด้วย

1. นักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทุกคน จะต้องได้รับโอกาสในการเรียนรู้หลักการพื้นฐานทางภูมิศาสตร์และประสบการณ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
2. อย่างน้อยที่สุดสิ่งหนึ่ง ก็คือ บุคคลที่พร้อมแก่การเรียนรู้ทุกคน ควรที่ได้รับโอกาสในการทราบว่าในมหาวิทยาลัยนั้น มีการเรียนการสอนในวิชาภูมิศาสตร์ที่เป็นสาขาวิชาที่มั่นคงด้วยการมีอาชีพรองรับอย่างมั่นคงหลังจากที่จบการศึกษาออกไปแล้ว
3. นักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยทุกคน จะต้องมีการเข้าถึงเนื้อหาต่างๆ ในหลักสูตรภูมิศาสตร์อย่างเต็มๆ ไม่ว่าจะเป็นในประเด็นเรื่องเฉพาะ ภูมิภาค ระเบียบวิธี และเทคโนโลยีที่อยู่ภายในกลุ่มของเป้าหมายปลายทางของการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยที่พวกเขาหรือเธอเป็นผู้เลือกเอง
4. นักวิชาการจะต้องทำทุกทางเพื่อสนับสนุนนักศึกษาที่ดีที่สุดและฉลาดที่สุด ที่เลือกทางเดินเข้าสู่การได้รับปริญญาตรีและปริญญาที่สูงกว่านั้นในสาขาวิชาภูมิศาสตร์
5. ทุนสนับสนุนการวิจัย จะต้องเอื้อให้เกิดการทำงานวิจัยด้านภูมิศาสตร์เพิ่มขึ้น รวมถึงส่วนที่จะต้องนำมาใช้เพื่อการทำงานในภาคสนามทั้งในประเทศและต่างประเทศ ของทั้งอาจารย์และนักศึกษา
6. ทุนสำหรับการพัฒนา จะต้องเอื้อต่อการปรับปรุงและสร้างสรรค์บุคลากรด้านภูมิศาสตร์ทั้งประเทศ โดยให้ครอบคลุมทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านประเด็นสำคัญๆ ภูมิภาค ระเบียบวิธี และเทคโนโลยี เพื่อเป็นการยกระดับระบบและโครงสร้างของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และเพื่อส่งเสริมให้เกิดสังคมเรียนรู้ตลอดเวลา

วางเป้าหมายให้ใหญ่เข้าไว้ - ด้วยเหตุด้วยผลแล้ว รัฐสภาของสหรัฐอเมริกาจะรีบให้เงินทุนสนับสนุนโปรแกรมการศึกษาที่ล่มลง เพื่อที่จะเร่งรัดให้เกิดความก้าวหน้าของสังคมด้วยวิชานั้นๆ อย่างที่เคยดำเนินการกับวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เมื่อทศวรรษ 1950 แทนที่พลังอำนาจที่มีอยู่อย่างมากในวงการศึกษา วิทยาศาสตร์ และนโยบายศาสตร์ จะได้ทำหน้าที่ต่อต้านอย่างแน่วแน่มั่นคงตลอดหกทศวรรษที่ผ่านมา ทุกวันนี้การเปลี่ยนแปลงกำลังคืบเข้ามา แต่จะเพียงพอหรือไม่ จะเกิดขึ้นเร็วพอหรือไม่ นักภูมิศาสตร์และผู้ทรงคุณวุฒิด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จะมีอิทธิพลมากพอต่อผลลัพธ์จากการเปลี่ยนแปลงนั้นหรือไม่
เอาสาขาวิชาภูมิศาสตร์กลับมา

ความจริงแล้ว ผู้เขียนไม่คิดว่า การล่มสลายของสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งจะต้องถูกละเลยด้วยการไม่มีคำถามตามมา สังคมอาจจะตระหนักดีต่อความเขลาของวิธีการต่างๆ และความพยายามที่จะฟื้นฟูวิชาภูมิศาสตร์กลับคืนมา ด้วยการแก้ไขอะไรๆ ที่ผู้เขียนได้นำเสนอเอาไว้แล้ว ผู้นำของชาติอาจจะตระหนักขึ้นมาทันทีถึงความผิดพลาดที่จะทำให้ปัญญาจากต่างชาติ นโยบายต่างประเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ และประเด็นสาระอื่นๆ ที่ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของชาติ ที่ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับการได้รับข่าวสารของเราผ่านไปยังประชาชนเป้าหมาย ทันที่พวกเขาอยู่ในที่นั้น แต่ละคนจะได้ยินเสียงของเรา การเปิดใจจะทำให้สามารถจับและเข้าใจประเด็นได้

เหตุผลหนึ่งสำหรับการเตือนแบบมองโลกในแง่ดีของผู้เขียน ก็คือ ผู้เขียนมองเห็นว่า ผู้นำแต่ละคนสามารถปรับแปลงความประทับใจส่วนบุคคลอย่างรวดเร็วต่อสาขาวิชาภูมิศาสตร์ได้อย่างไร อะไรก็ตาม ผุ้เขียนได้มีโอกาสพูดคุยกันถึงสามครั้งกับพลเอกเดวิด เอช เปเตรอุส (General David H. Petraeus) ผู้บัญชาการกองกำลังอเมริกันในอิรักคนใหม่ และเขานี่เองที่เป็นตัวอย่างของความเป็นผู้นำที่เฉลียวฉลาดเข้าประเด็นได้ดีที่สุด เขาเองได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากสถาบันกิจการสาธารณะและนานาชาติวูดโรว์ (Woodrow Wilson School of Public and International Affairs) มหาวิทยาลัยปรินส์ตัน ทุกคำที่เขากล่าวออกมาล้วนแสดงความฉลาดหลักแหลมทั้งสิ้น ความรู้สึกที่มีมาแต่กำเนิดของเขาเกี่ยวกับวิชาภูมิศาสตร์ แสดงออกมาได้จากหลักการทหารในสนามของกองกำลังของเขา 14 ประการ ตัวอย่างเช่นหลักการ 9 ที่ว่า “การรับรู้ด้านวัฒนธรรมเป็นกำลังทวีคูณอย่างหนึ่ง” พร้อมกับกล่าวเพิ่มเติมว่า “ความรู้เกี่ยวกับความแตกต่างด้านวัฒนธรรมเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก และบางครั้งมีความสำคัญยิ่งเสียกว่าความรู้เกี่ยวกับความแตกต่างของภูมิประเทศเสียอีก” ครั้งแรกที่เราพูดคุยกัน ผู้เขียนสนับสนุนอย่างจริงจังในการส่งนักภูมิศาสตร์ไปทำงานภาคสนามในดินแดนต่างประเทศ เพื่อที่จะได้เข้าถึงประเด็นสำคัญที่จะนำมาวางเป็นนโยบายต่างประเทศภายใต้สถานการณ์วิกฤติเยี่ยงนี้ อย่างที่สมาคมภูมิศาสตร์อเมริกันเคยทำมาก่อนสมัยที่มีโบว์แมนเป็นนักภูมิศาสตร์ผู้ดำเนินการในลักษณะดังกล่าว ปฏิกิริยาตอบสนองทันทีทันใดของท่านนายพล คือ “คุณควรจะส่งบางคนที่เป็นผู้มีความเข้าใจทางวัฒนธรรมที่ดีเข้าไปด้วย” คำกล่าวทั้งสองนี้บอกนัยยะว่า วิชาภูมิศาสตร์เป็นเรื่องของลักษณะทางกายภาพเพียงอย่างเดียว ท่านนายพลไม่ใช่คนๆ เดียวในโลกที่เห็นวิชาภูมิศาสตร์เป็นแบบนี้ ต่อมาสภาสมาคมภูมิศาสตร์อเมริกันได้มีโอกาสพบกับท่านนายพลผู้นี้ ใช้เวลาสนทนากันราว 2 ชั่วโมง ได้ข้อสรุปจากการเข้าพบครั้งนั้น ท่านนายพลกล่าวว่า เขามีความประทับใจใหม่ต่อวิชาภูมิศาสตร์อยู่อย่างหนึ่ง ในฐานะที่วิชาภูมิศาสตร์เป็นแหล่งสร้างความเข้าใจที่สำคัญ และได้รับข้อเสนอที่จะสร้างความกระจ่างชัดในการใช้คำที่เหมาะเกี่ยวกับหลักการที่ 9 ในอนาคต มหาวิทยาลัยปรินส์ตันไม่ได้สอนบทเรียนนั้น เพราะว่าที่นั่นไม่มีภาควิชาภูมิศาสตร์ แต่ท่านนายพลก็สามารถรับรู้สิ่งนั้นได้ ด้วยข้อความของเราที่สื่อสารกับท่านนายพลเอาไว้ก่อนหน้านี้

แน่นอนว่า มีความท้าทายที่จะต้องประกาศข้อความจากสามัญสำนึกเดียวกันออกไปให้เป็นประเด็นวิกฤติสู่ผู้สร้างประเด็นวินิจฉัย และผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ

หมดเวลาเป็น “คุณชายที่แสนดี” กันเสียที (No More Dr. Nice Guy)
นักภูมิศาสตร์เป็นผู้ที่มีมารยาทงดงามทั้งที่ถูกเนรเทศออกไปให้อยู่อย่างห่างไกลแสนไกล และวันนี้คงถึงเวลาแล้วล่ะ ที่จะลุกขึ้นมาต่อสู้กันเสียที ตอนนี้เป็นห้วงเวลาที่มีโอกาสสูงมาก ในการสลัดคราบไคลของการรับรู้ของสังคมที่มีความเชี่ยวชาญในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งแท้ที่จริงแล้วระบบดังกล่าวนั้นถูกโอบล้อมให้เป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิชาภูมิศาสตร์เท่านั้นเอง จึงจะต้องร่วมกันต่อสู้ให้สาขาวิชาภูมิศาสตร์ฟื้นกลับมาให้จงได้ ทั้งหลายทั้งปวงนี้เป็นเพราะว่า เรากำลังแสวงหาความเท่าเทียมกันกับสาขาวิชาอื่นๆ ที่มีอยู่ในโลกวิชาการ จึงเป็นสิ่งที่แน่นอนเหลือเกินว่า ไม่ใช่ว่าเป็นคนเรื่องมากเกินไปหรอกที่จะถาม และเป็นสิ่งที่ทุกคนในชาติต้องให้ความสนใจ ไม่ใช่เฉพาะแต่พวกเรานักภูมิศาสตร์เท่านั้น

เกี่ยวกับผู้เขียน
เจโรม อี ดอบสัน (Jerome E. Dobson) เป็นประธานสมาคมภูมิศาสตร์อเมริกัน (American Geographical Society) และเป็นศาสตราจารย์สาขาวิชาภูมิศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแคนซัส ลอว์เรนซ์ เขาเขียนบทความลงใน ArcNews Online ในฐานะสมาชิกเครือข่ายนักเขียนของสมาคมภูมิศาสตร์อเมริกัน

39 ความคิดเห็น:

  1. Thank to Dr.Kampanart who suggested this article !

    ตอบลบ
  2. เอา “ภูมิศาสตร์” กลับมาได้รึยัง(Bring Back Geography)
    การเอา “ภูมิศาสตร์” กลับมาได้รึยัง จะพูดถึงความสำคัญของวิชาภูมิศาสตร์ เพราะวิชาภูมิศาสตร์เป็นอะไรที่มากกว่าที่คนส่วนใหญ่เขาจะคิดกัน ภูมิศาสตร์จะเป็นเรื่องของพื้นที่ ทำเลที่ตั้ง การเคลื่อนย้าย และการเคลื่อนที่เลื่อนไหล และความสัมพันธ์ทางพื้นที่ที่จะถูกพิจารณาว่าเป็นประเด็นที่สำคัญของกระบวนการเกิดบนพื้นโลกทั้งทางด้านกายภาพและทางด้านมนุษย์ สิ่งที่เน้นเป็นจุดหลักก็คือ การวิเคราะห์ วิจัยทางพื้นที่ ทำเลที่ตั้ง (Spatial Analysis) เพื่อบูรณาการให้เป็นวิทยาศาสตร์ต่อไป
    การประดิษฐ์ที่อัจฉริยะมาก
    วิชาภูมิศาสตร์ได้จัดตั้งมาตั้งแต่ 2500 ปีก่อนที่ผ่านมา มีการประยุกต์ใช้ให้เจริญก้าวหน้ามากขึ้น โดยนักปราชญ์สมัยกรีก โรมัน จีน ซึ่งวิชาภูมิศาสตร์และดาราศาสตร์นั้นมีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างมาก เพราะเป็นวิชาที่ศึกษาหลักการสำคัญทางพื้นที่ ทำเลที่ตั้ง เหมือนกัน ก็เลยมีการประยุกต์เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เมื่อสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ ในเวลาหลายพันกว่าปีวิชาภูมิศาสตร์ก็ได้รับความสนใจจากนักปราชญ์ และนักปกครอง จนกระทั่งเมื่อตอนต้นของศตวรรษที่ 5 สิ่งทั้งหมดเหล่านี้ก็ได้ประยุกต์เข้าด้วยกันอย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นวิชาภูมิศาสตร์ เรขาคณิต ดาราศาสตร์ ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นการประดิษฐ์ที่น่าอัจฉริยะเป็นอย่างยิ่ง
    การล้างมลทินภูมิศาสตร์ (The Purge of Geography)
    หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 มาไม่นานวิชาภูมิศาสตร์ในสหรัฐอเมริกาก็ถึงเวลาต้องล้มสลายลง และส่งผลกระทบต่อเนื่องกันจนถึงทุกวันนี้ โดยในระหว่างปี ค.ศ.1948-1988 วิชาภูมิศาสตร์ได้ล้มหายไปจากมหาวิทยาลัยชิคาโก มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย มหาวิทยาลัยฮาร์วาด มหาวิทยาลัยมิชิแกน มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยเยล และอีกหลายมหาวิทยาลัย โดยไม่มีใครรู้ถึงความจริงเลยว่า ทำไมสาขาวิชาภูมิศาสตร์จึงเป็นที่เพ่งเล็งและถูกกระทำเช่นนี้ ในหลายสิบปีต่อมา ก็ได้ปรากฏว่ามีภาควิชาภูมิศาสตร์อยู่ในมหาวิทยาลัยกลุ่มไอวี (Ivy League) ยกเว้นแต่ที่มหาวิทยาลัยดาร์ทเมาท์ (Dartmouth) เท่านั้นที่มีภาควิชาและเปิดสอนในระดับปริญญาตรี การล้างมลทินนี้เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมอเมริกันเท่านั้น ในสหราชอาณาจักรเองทุกวันนี้ ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด และมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ก็ยังคงมีโปรแกรมวิชาการที่แข็งแกร่ง สามารถรองรับการผลิตดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาภูมิศาสตร์ได้อย่างต่อเนื่อง ต่อมาสาขาวิชาภูมิศาสตร์ก็กระดี๊กระด๊ากับการผุดขึ้นมาใหม่ของอะไรบางอย่าง นั่นก็คือ ความสำเร็จอย่างเป็นปรากฏการณ์ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และความจำเป็นต่อการทำความเข้าใจที่มากขึ้นเกี่ยวกับดินแดนและประชาชนในต่างประเทศภายใต้ยุคโลกภิวัติ


    **นางสาวนันทนิตย์ อินทยศ รหัส 51162646 ปี 3

    ตอบลบ
  3. ความเข้าใจเกี่ยวกับ ภูมิศาสตร์ ที่ไม่ใช่แค่การรู้ว่า สถานที่ใดตั้งอยู่ที่ไหน ภูมิศาสตร์เป็นอะไรมากมายกว่าที่คนส่วนใหญ่คิดกัน ภูมิศาสตร์เป็นเรื่องของพื้นที่ ภูมิศาสตร์ ถือเป็นมิติหนึ่งของวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ที่มีรากฐานอยู่บนตรรกะทางพื้นที่ ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับทำเลที่ตั้ง การเคลื่อนที่เลื่อนไหล และความสัมพันธ์ทางพื้นที่ที่ถูกพิจารณาว่าเป็นประเด็นสำคัญของกระบวนการบนพื้นโลกทั้งทางด้านกายภาพและวัฒนธรรม จุดเน้นหลักของภูมิศาสตร์ คือ การวิเคราะห์ทางพื้นที่ (Spatial Analysis) เป็นการวิจัยที่วางอยู่บนฐานของพื้นที่ (Place-Based Research) สาขาวิชาภูมิศาสตร์ นั้นได้ถูกละเลยที่จะขยายความรู้ออกไป ความพยายามที่จะฟื้นฟูวิชาภูมิศาสตร์กลับคืนมา การรับรู้ของสังคมที่มีความเชี่ยวชาญในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งแท้ที่จริงแล้วระบบดังกล่าวนั้นถูกโอบล้อมให้เป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิชาภูมิศาสตร์เท่านั้นเอง จึงจะต้องร่วมกันต่อสู้ให้สาขาวิชาภูมิศาสตร์ฟื้นกลับมาให้จงได้ ทั้งหลายทั้งปวงนี้เป็นเพราะว่า เรากำลังแสวงหาความเท่าเทียมกันกับสาขาวิชาอื่นๆที่มีอยู่ในโลกวิชาการ
    การตั้งสมญานามภูมิศาสตร์ ถ้าหากว่าในโลกนี้ไม่มีวิชาภูมิศาสตร์ปรากฏอยู่ อาจจะต้องมีการค้นพบวิชาภูมิศาสตร์ขึ้นมา ซึ่งแน่นอนว่ามี 4 กรณีที่อาจจะเกิดขึ้นได้มากจากการค้นพบที่ไม่ได้ตั้งใจ
    วิชาภูมิศาสตร์คืออะไร จากความหมายและขอบข่ายที่สำคัญของวิชาภูมิศาสตร์ที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า ภูมิศาสตร์เป็นวิชาที่มีพื้นฐานมาจากการสร้างองค์ความรู้ที่ต้องอาศัยความเป็นเหตุเป็นผลระหว่างกัน เพื่อนำความรู้ดังกล่าวมาใช้อธิบายถึงความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างธรรมชาติ มนุษย์ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงต้องอาศัยการนำความรู้ในสาขาวิชาต่างๆมาประกอบเพื่อสร้างเหตุและผลในการสืบค้นจนได้รับคำตอบที่สามารถพิสูจน์ได้ ดังนั้นธรรมชาติและเนื้อหาของวิชาภูมิศาสตร์ถือได้ว่า เป็นวิชาที่เกิดจาการสังเคราะห์ความรู้ที่มาจากความสัมพันธ์ของประกฎการณ์ที่เกี่ยวข้องระหว่างสิ่งแวดล้อมและมนุษย์
    พื้นฐานการเกิดองค์ความรู้ของวิชาภูมิศาสตร์ที่กล่าวมา สามารถวิเคราะห์ความสำคัญของวิชาภูมิศาสตร์ได้ 2 ลักษณะ ได้แก่ ความสำคัญของศาสตร์ในแง่ของการสร้างคุณลักษณะที่ดีให้เกิดแก่ผู้เรียน และความสำคัญขอศาสตร์ในแง่ของการนำไปใช้ประโยชน์ในสภาพปัจจุบัน
    1. ความสำคัญขอศาสตร์ในแง่ของการสร้างคุณลักษณะที่ดีให้เกิดแก่ผู้เรียน
    การที่วิชาภูมิศาสตร์มีเนื้อหาที่บรรยายและอธิบายภูมิทัศน์ของโลก เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ นอกจากผู้เรียนจะได้เรียนรู้ในเนื้อหาของวิชาแล้ว การใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ต่างๆรวมไปถึงการได้ศึกษาในแหล่งเรียนรู้ที่นำมาใช้ประกอบการศึกษาก็เป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่มีความสำคัญต่อผู้เรียน และในส่วนของผู้เรียนเองจะต้องรู้จักที่จะฝึกทักษะของกระบวนการคิดให้เกิดขึ้น โดยรู้จักการสร้างจินตนาการหรือสร้างมโนภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่กำลังศึกษาร่วมไปด้วย การดำเนินการด้วยวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้การเรียนรู้บรรลุผลและนำไปสู่การศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง

    2. เป็นผู้มีทักษะในการนำความรู้ทางภูมิศาสตร์ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการศึกษาทำความเข้าใจ และสามารถอธิบายหรือคาดการณ์ และเสนอแนะวิธีหลีกเลี่ยงหรือบรรเทาความรุนแรงจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้

    นาวสาวปาริชาติ มุงคุณ 51163421

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ23 มีนาคม 2554 เวลา 04:52

    2.1 บทความBring back geographyนี้ต้องการสื่อต้องการสื่อว่าทำไมภูมิศาสตร์ได้เลือนหายไป ความสำคัญของภูมิศาสตร์พยายามที่จะให้ทุกคนรู้ว่าภูมิศาสตร์นั้นมีประโยชน์อย่างไร
    มีอะไรมากมายกว่าที่คิดและมีความสำคัญอย่างไรทำไมหลายๆสถาบันถึงไม่มีการเรียนการสอนภูมศาสตร์ และยังรวมไปถึงการฟื้นฟูภูมิศาสตร์หลับคืนมา การปกป้องสาขาวิชานี้ การตระหนักถึงความเข้าใจของบุคคลทั่วไปที่ยังไม่รู้จักและทำความเข้าใจภูมิศาสตร์เสียใหม่ จุดยืนของภูมิศาสตร์ การละเลยของความรู้ทางภูมิศาสตร์และสุดท้าย การเอาภูมิศาสตร์กลับคืนมา
    2.2 ประเด็นที่ไม่รู้จักมาก่อนเลยคือ การเข้าใจผิดเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ หลายๆคนมองว่าภูมิศาสตร์นั้นไม่สำคัญ และการที่ภูมิศาสตร์ได้หายไปจากมหาวิทยาลัยต่างๆ แต่ยังมีอีก 15 แห่ง ที่มีสาขาวิชาภูมิศาสตร์แต่เกิดขึ้นในสังคมอเมริกา ในยุคโลกาพิวัฒน์ สาขาวิชาภูมิศาสตร์ก็ได้ค้นพบ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ขึ้น และได้ยอมรับ จากสาขาวิชาอื่นมากขึ้น
    2.3การฟื้นฟูภูมิศาสตร์กลับคืนมาภูมิศาสตร์มีมุมมองและมีความสำคัญเท่าๆไม่น้อยไปกว่า สาขาวิชาอื่นๆ สาขาวิชาภูมิศาสตร์นั้นได้ถูกละเลยที่จะขยายความรู้ออกไปขณะที่สาขาวิชาอื่นๆ ไม่เคยต้องเผชิญแบบเดียวกันเลยในสมัยปัจจุบันเราสามารถ ช่วยได้โดยการบอกกล่าวกับ บุคคลทั่วไปอธิบายถึงว่าภูมิศาสตร์คืออะไรภูมิศาสตร์ในปัจจุบันและอนาคต จะเป็นอย่างไรจะเดินไปทางไหน(Geography at Present and in the Future)ภูมิศาสตร์ในปัจจุบัน มีลักษณะหลายอย่างแตกต่างจาก ภูมิศาสตร์ในอดีต ลักษณะของความแตกต่างมีสองประการ คือ 1. ความแตกต่างทางด้านแนวความคิดทางภูมิศาสตร์ 2. ความแตกต่างทางด้านวิธีการศึกษาวิจัย
    ภูมิศาสตร์ในอดีต มุ่งเน้นที่จะ บรรยาย หรือ พรรณนา ปรากฏการณ์ของสิ่งต่างๆบนพื้นผิวโลก ในทางตรงข้ามภูมิศาสตร์ในปัจจุบันมุ่งเน้นที่จะ อธิบาย และ พยากรณ์ ปรากฏการณ์ของสิ่งต่างๆบนพื้นที่ ฉะนั้นคำถามเกี่ยวกับปัญหาทางภูมิศาสตร์จึงเน้นคำว่า “ ทำไม ” หรือ “ เพราะเหตุใด ” หรือ “ อย่างไร ”
    วิชาภูมิศาสตร์จะได้รับการพัฒนามากยิ่งขึ้น โดยยึดถือ Spatial tradition เป็นแกนนำ ส่วนแนวความคิดทางด้านอื่นอีกสามด้านก็จะได้รับการประยุกต์วิธีการทางด้านปริมาณวิเคราะห์ สถิติ โมเดล สมการ ดังนั้น วิชาภูมิศาสตร์ในปัจจุบัน จึงมีลักษณะที่แตกต่างจากภูมิศาสตร์ในอดีต ในสาระที่สำคัญสองประการ คือ ความแตกต่างกันด้านแนวความคิดทางภูมิศาสตร์และความแตกต่างกันทางด้านวิธีการศึกษา ตัวแปรทั้งสองดังกล่าวจะเป็นตัวกำหนดทิศทางภูมิศาสตร์ในปัจจุบันและอนาคตว่าจะมีลักษณะเนื้อหาวิชาและวิธีการศึกษาเน้นหนักไปในทางใด
    น.ส. พนิดา เพ็ชรชุมพล 51161045 ปี3

    ตอบลบ
  5. เอา “ภูมิศาสตร์” กลับมาได้รึยัง
    ต้องการให้คนอ่านรู้ว่าการทดสอบบางครั้ง จะเห็นว่า เด็กๆ สมัยนี้ ไม่รู้ตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่ ทุกวันนี้วิชาภูมิศาสตร์ถูกอธิบายด้วยสิ่งที่ปรากฏรอบๆ ตัว แต่จะต้องกลับมาถามกันให้เข้าใจ อีกครั้งว่า วิชาภูมิศาสตร์นั้นเกี่ยวกับเรื่องอะไรกัน และต้องการให้รู้ว่าคนในสมัยก่อนมีคนที่มีชื่อเสียงมีการนำเอาความรู้ทางภูมิศาสตร์มาใช้พัฒนาความเป็นภูมิศาสตร์ เช่น ไอซาห์ โบว์แมน นักภูมิศาสตร์ที่ทำงานให้กับประธานาธิบดีวูดโรว วิลสัน เป็นผู้เสนอนโยบายโลกาภิวัตของสหรัฐอเมริกา ที่ทำให้อเมริกากลายเป็นผู้นำของโลกผ่านทางการเมืองและเศรษฐกิจ ภูมิศาสตร์เป็นสิ่งที่ทุกคนคิดว่า ภูมิศาสตร์เป็นเรื่องของพื้นที่ ภูมิศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์ที่มีวิธีการและเครื่องมือ มีองค์ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ และมีเทคโนโลยีสารสนเทศ เกี่ยวกับประชาชนและสถานที่ จุดเน้นหลักของภูมิศาสตร์ คือ การวิเคราะห์ทางพื้นที่ เป็นการวิจัยที่วางอยู่บนฐานของพื้นที่ ทั้งด้านภูมิภาคศึกษา พื้นที่ศึกษา และเป็นบูรณาการทางวิทยาศาสตร์ พัฒนาการต่อเนื่องยาวนานมาหลายศตวรรษอีกทั่งการล้างมลทินภูมิศาสตร์ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่นานวิชาภูมิศาสตร์ในสหรัฐอเมริกาก็ถึงคราวต้องจมลง วิชาภูมิศาสตร์ได้ล้มหายไปจากมหาวิทยาลัยหลายที่ ยกเว้นแต่ที่มหาวิทยาลัยดาร์ทเมาท์ เท่านั้นที่มีภาควิชาและเปิดสอนในระดับปริญญาตรี ภูมิศาสตร์เกิดขึ้นมาใหม่ คือ ความสำเร็จ เกี่ยวกับดินแดนและประชาชนในต่างประเทศภายใต้ยุคโลกภิวัติ ภูมิรัฐศาสตร์เป็นกาทำวิจัยทางวิชาการ และ ภูมิรัฐศาสตร์ได้ถูกปรับแปลงเป็นวิชารัฐศาสตร์และกิจการต่างประเทศ ระหว่างสงคราม นักภูมิศาสตร์ถูกเรียกตัวเข้าไปที่กรุงวอชิงตัน ดีซี เพื่อทำงานสนับสนุนสำนักงานวางแผนยุทธศาสตร์ โบว์แมนมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก เราสามารถช่วยอะไรกันได้บ้างคือ1.ช่วยกันกล่าวคำว่า “ภูมิศาสตร์นั้น” 2.บอกใครข้างๆว่าภูมิศาสตร์เป็นอย่างไร 3.ตรวจสอบผู้บริหาร 4. พยายามลองชี้ให้เกิดวาระแห่งชาติ ให้ประถมมีการสอนวิชาภูมิศาสตร์ งานวิจัยมีทุนมากขึ้น 5. ตั้งเป้าหมายให้ใหญ่เข้าไว้
    พฤติกรรมการแดกดันที่ผิดมารยาทและน่าขัน มีเหตุการณ์หนึ่งที่น่าขบขัน ซึ่งไม่มีทางเกิดขึ้นกับสาขาวิชาภูมิศาสตร์ นั่นก็คือ สภาผู้แทนราษฎรแห่งมลรัฐอินเดียน่าจะผ่านเสียงเป็นเอกฉันท์ เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงค่าพาย (π) ทางคณิตศาสตร์ว่ามีค่าเท่ากับ 3.1415 ให้เหลือค่าแค่เท่ากับ 3 เท่านั้น ผู้ที่เป็นตัวการที่เข้าไปขวางวันได้อย่างฉับพลัน คือ คลาเรนซ์ เอ วัลโด (Clarence A. Waldo) ศาสตราจารย์สาขาวิชาคณิตศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเปอร์ดู และความจริงที่นักภูมิศาสตร์ต้องทำจริงๆทุกคนยังคงช่วยเตือนประชาชนที่เข้าใจผิดอย่างจงใจ บางคนก็สนุกสนานกับมัน บางคนก็แดกดันมันอย่างเสีย การผิดมารยาทของบุคคลส่วนใหญ่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่โดยรวมแล้วคนที่เข้าใจผิดเหล่านี้หลายคนเป็นผู้กำหนดทิศทางของสังคม ทั้งๆ ที่เป็นการกำหนดไปด้วยความไม่เข้าใจ จึงเป็นเหตุให้ได้นโยบายที่ไม่ดี ธุรกิจที่เลว และวิทยาศาสตร์ที่เหลว แทนที่ทั้งหลายทั้งปวงจะช่วยกันแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดจากการริเริ่มต้นของโคแนนท์ บางคนกลับยังคงไม่รับรู้ต่อสัญญาณอันตรายจุดของผู้เขียนอย่างแรกก็คือว่า สาขาวิชาภูมิศาสตร์นั้นมีมุมมองและวิธีการที่จำเป็นอย่างน้องก็มีความสำคัญเท่าๆ กับวิชาอื่นๆ นั้นจึงเป็นคำตอบว่า เพราะเหตุใด แทนที่เงินทุกๆ ดอลลาร์ของรัฐ กับโปรแกรมพื้นที่ไม่ได้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เลยแต่อย่างใด อย่างที่สองคือว่า สาขาวิชาภูมิศาสตร์นั้นได้ถูกละเลยที่จะขยายความรู้ออกไป ขณะที่สาขาวิชาอื่นๆ ไม่เคยต้องเผชิญแบบเดียวกันเลยในสมัยปัจจุบัน
    เราสามารถช่วยอะไรกันได้บ้าง 1.ช่วยกันกล่าวคำว่า “ภูมิศาสตร์นั้น” 2.บอกใครข้างๆว่าภูมิศาสตร์เป็นอย่างไร 3.ตรวจสอบผู้บริหาร
    4. พยายามลองชี้ให้เกิดวาระแห่งชาติ ให้ประถมมีการสอนวิชาภูมิศาสตร์ งานวิจัยมีทุนมากขึ้น 5. ตั้งเป้าหมายให้ใหญ่เข้าไว้
    นอกเหนือจากนั้นที่เราจะช่วยได้คือการคิดว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าใจปัจจุบันโดยปราศจากทางภูมิศาสตร์ เป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าใจปัจจุบันโดยปราศจากการเข้าใจถึงอดีตและ เป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าใจอดีตโดยปราศจากการเข้าใจทางภูมิศาสตร์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการชี้ให้เห็นว่าการจะทำอะไรต้องคิดว่าเวลา พื้นที่ ความรุ้จากการศึกษาภูมิศาสตร์ จะทำให้เราเข้าใจธรรมชาติ เข้าใจโลก ทั้งเพื่อนร่วมชาติ และเพื่อนร่วมโลกได้ชัดเจนขึ้น เพื่อที่เราจะนำความรู้ที่มีมาแก้ปัญหาและพัฒนาโลกและประเทศของเราเกิดทักษะในการใช้ชีวิตร่วมกับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติมากขึ้นด้วยและป็นสิ่งที่เราจะช่วยให้ภูมิศาสตร์กลับคืนมา

    ตอบลบ
  6. เอา “ ภูมิศาสตร์ ” กลับมาได้หรือยัง
    Bring Back Geography!

    1. หาประเด็นสำคัญในนั้นให้ได้ ว่าบทความนี้ต้องการสื่ออะไรออกมา ต้องการให้คนอ่านรู้เรื่องอะไร ประเด็นสำคัญที่ว่านั้นมีสาระสำคัญว่าอย่างไร

    ประเด็นสำคัญของบทความนี้ คือ การเอา “ ภูมิศาสตร์ ” กลับมาได้หรือยัง จะพูดถึงความสำคัญของวิชาภูมิศาสตร์ เพราะวิชาภูมิศาสตร์เป็นอะไรที่มากกว่าที่คนส่วนใหญ่เขาจะคิดกัน ภูมิศาสตร์จะเป็นเรื่องของพื้นที่ ขณะที่ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องของเวลา ภูมิศาสตร์จะพูดถึงความสัมพันธ์ทางพื้นที่ที่จะถูกพิจารณาว่าเป็นประเด็นที่สำคัญของกระบวนการเกิดบนพื้นโลกทั้งทางด้านกายภาพและทางด้านมนุษย์ ถือเป็นมิติหนึ่งของวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ที่มีรากฐานอยู่บนตรรกะทางพื้นที่ ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับทำเลที่ตั้ง การเคลื่อนที่เลื่อนไหล และจุดเน้นหลักของภูมิศาสตร์ คือ การวิเคราะห์ทางพื้นที่ ( Spatial Analysis ) เป็นการวิจัยที่วางอยู่บนฐานของพื้นที่ทั้งทางด้านภูมิภาคศึกษา พื้นที่ศึกษา และพาราศึกษา และยังเป็นบูรณาการทางภูมิศาสตร์ อีกด้วย

    2. บทความบทนี้มี (เลือกมาประเด็นเดียว) ประเด็นสำคัญที่ว่านั้นมีสาระสำคัญว่าอย่างไร

    ประเด็นอะไรที่คุณไม่เคยรู้มาก่อนเลยในชีวิต คือ การล้างมลทินภูมิศาสตร์ (The Purge of Geography) : การล้างมลทินนี้เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมอเมริกันเท่านั้น ในสหราชอาณาจักรเองทุกวันนี้ ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด และมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ก็ยังคงมีโปรแกรมวิชาการที่แข็งแกร่ง สามารถรองรับการผลิตดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาภูมิศาสตร์ได้อย่างต่อเนื่อง ต่อมาสาขาวิชาภูมิศาสตร์ก็กระดี๊กระด๊ากับการผุดขึ้นมาใหม่ของอะไรบางอย่าง นั่นก็คือ ความสำเร็จอย่างเป็นปรากฏการณ์ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และความจำเป็นต่อการทำความเข้าใจที่มากขึ้นเกี่ยวกับดินแดนและประชาชนในต่างประเทศภายใต้ยุคโลกภิวัติ และบางคนก็ให้การยอมรับต่อจุดเด่นที่สำคัญของวิชาภูมิศาสตร์ นั่นก็คือ การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ การวิจัยที่เน้นสถานที่เป็นสำคัญ และการบูรณาการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งการโผล่ผุดขึ้นมาที่ว่านี้ในวิชาภูมิศาสตร์มีความหมายเป็นที่ทราบทั่วกันว่า ภาควิชาภูมิศาสตร์ที่มีอยู่กำลังเพิ่มบุคลากรและจัดการเรียนการสอนภายใต้ชื่อปริญญาใหม่ๆ ขึ้นมา ซึ่งไม่ได้มีเฉพาะ 4 สาขาใหม่ในระดับปริญญาตรีที่มีการเพิ่มเข้ามาในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และยังได้เกิดภาควิชาใหม่ขึ้นมาให้เป็นถกเถียงอย่างเอาเป็นเอาตายอยู่ในปัจจุบัน ด้วยการไม่ให้เครดิตกันบ้างเลยเช่นนี้ ก็เป็นไปได้ว่าการจมสลายสาขาวิชาภูมิศาสตร์จะต้องเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไป


    *นางสาวธัญวรรณ สวัสดี รหัสนิสิต 51160963 ปี 3*

    ตอบลบ
  7. 2.1วิชาภูมิศาสตร์ในสหรัฐอเมริกาได้มีการเปลี่ยนแปลง และส่งผลกระทบไปทั่วประเทศโดยได้มีการล้มสาขาวิชาภูมิศาสตร์ลง จะได้ตั้งชื่อใหม่ขึ้นมา เรียกว่า “วิทยาศาสตร์ระบบของโลก” (Earth System Science) มหาวิทยาลัยโคลัมเบียล้มล้างภาควิชาภูมิศาสตร์ออกไปจากสาระบบเมื่อปี ค.ศ.1986 และได้สร้างสถาบันโลก (Earth Institute) ขึ้นมา เพื่อบูรณาการการสอนเกี่ยวกับโลก สิ่งแวดล้อม และสังคมขึ้นมาแทน ปี ค.ศ.2005มหาวิทยาลัยฮาร์วาดได้ประกาศเลยว่า จะมีเรียนการสอนในด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ แต่ไม่ใช่วิชาภูมิศาสตร์ โดยมีการตั้งศูนย์ใหม่ขึ้นมารองรับ คือ ศูนย์สำหรับงานวิเคราะห์เชิงพื้นที่ (Center for Geographic Analysis)
    2.2สภาผู้แทนราษฎรแห่งมลรัฐอินเดียน่าผ่านเสียงเป็นเอกฉันท์ในการปรับแก้กฎหมายลำดับที่ 246 ในการปรับแก้เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงค่าพาย (π)มีค่าเท่ากับ 3.1415 ให้เหลือค่าแค่เท่ากับ 3 เท่านั้นแต่ยังโชคดีที่ร่างกฎหมายฉบับนี้ต้องล้มเหลวลงก่อนที่จะไปถึงวุฒิสภา และได้รับการขัดขวางโดย คลาเรนซ์ เอ วัลโด (Clarence A. Waldo) ศาสตราจารย์สาขาวิชาคณิตศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเปอร์ดู (Purdue University) เพราะว่าถ้าเกิดแก้ค่าพายสำเร็จจะมีผลต่อการคำนวณในทางภูมิศาสตร์ด้วยเหมือนกัน ก็คือค่าที่คำนวณได้อาจจะเป็นค่าที่มีความผิดพลาดหรือคาดเคลื่อนมากอีกด้วย
    2.3ในปัจจุบันนี้สาขาวิชาภูมิศาสตร์พวกเราควรจะทำงานอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอันและแสดงให้คนอื่นเห็นถึงคุณค่าของสาขานี้ โดยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์นั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของสาขาภูมิศาสตร์ โดยมีประโยชน์ในด้านการทำแผนที่ การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ การดัดแก้ภาพถ่าย เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราที่เรียนสาขานี้ควรจะต้องทำเป็น เพื่อเวลาทำงานจะได้แสดงให้คนอื่นได้เห็นว่าสาขานี้ยังสามารถทำได้อีกหลายอย่างมากมายโดยมีหน่วยงานที่รับนักภูมิศาสตร์เข้าทำงานเยอะเหมือนกัน เช่น
    กรมแผนที่ทหาร กรมที่ดิน กรมป่าไม้ กรมผังเมือง และบริษัทเอกชนอื่นๆอีกที่ทำเกี่ยวกับแผนที่ เป็นต้น ส่วนงานที่เด่นชัดเลยในปัจจุบันก็คือ การสร้างเขื่อนก็มีการใช้ภาพถ่ายทางอากาศในการศึกษาโครงสร้างภูมิประเทศ และแนวเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้านนี้ก็เกี่ยวกับนักภูมิศษสตร์เหมือนกันในภาพถ่ายทางอากาศ


    นายบัญชา อู่พุฒินันท์ 51161007

    ตอบลบ
  8. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  9. Bring Back Geography
    2.1 หาประเด็นสำคัญในนั้นให้ได้ ว่าบทความนี้ต้องการสื่ออะไรออกมา ต้องการให้คนอ่านรู้เรื่องอะไร ประเด็นสำคัญที่ว่านั้นมีสาระสำคัญว่าอย่างไร
    จากบทความความนี้ จะให้ความสำคัญต่อการเข้าถึงและมีความเข้าใจในวิชาภูมิศาสตร์มากขึ้น เพราะทุกวันนี้ภูมิศาสตร์ถูกละเลยไม่ค่อยมีความสำคัญไม่ค่อยมีใครใส่ใจ ประเด็นสำคัญของบทความนี้ คือ การเอา “ ภูมิศาสตร์ ” กลับมาได้หรือยัง กล่าวคือ ภูมิศาสตร์เป็นวิถีของความคิดที่เกี่ยวเนื่องกับพื้นที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่มีวิธีการและเครื่องมือ มีองค์ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ และมีเทคโนโลยีสารสนเทศที่พัฒนาการต่อเนื่องยาวนานมาหลายศตวรรษ ภูมิศาสตร์เป็นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาชนและสถานที่ และเป็นการรับรู้ถึงปัจจัยเชิงสถานที่ที่จะมีผลต่อสิ่งมีชีวิตในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ภูมิศาสตร์ถือเป็นมิติหนึ่งของวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ที่มีรากฐานอยู่บนตรรกะทางพื้นที่ ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับทำเลที่ตั้ง การเคลื่อนที่ และความสัมพันธ์ทางพื้นที่ที่ถูกพิจารณาว่าเป็นประเด็นสำคัญของกระบวนการบนพื้นโลกทั้งทางด้านกายภาพและวัฒนธรรม จุดเน้นหลักของภูมิศาสตร์ คือ การวิเคราะห์ทางพื้นที่ เป็นการวิจัยที่วางอยู่บนฐานของพื้นที่ ทั้งด้านภูมิภาคศึกษา พื้นที่ศึกษา
    2.2 บทความบทนี้มีประเด็นอะไรที่คุณไม่เคยรู้มาก่อนเลยในชีวิต (เลือกมาประเด็นเดียว) ประเด็นสำคัญที่ว่านั้นมีสาระสำคัญว่าอย่างไร
    ประเด็นสำคัญคือ ( การประดิษฐ์ที่อัจฉริยะมาก )
    วิชาภูมิศาสตร์ได้จัดตั้งมาตั้งแต่ 2500 ปีก่อนที่ผ่านมา มีการประยุกต์ใช้ให้เจริญก้าวหน้ามากขึ้น โดยนักปราชญ์สมัยกรีก โรมัน จีน ซึ่งวิชาภูมิศาสตร์และดาราศาสตร์นั้นมีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างมาก เพราะเป็นวิชาที่ศึกษาหลักการสำคัญทางพื้นที่ ทำเลที่ตั้ง เหมือนกัน ก็เลยมีการประยุกต์เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เมื่อสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ ในเวลาหลายพันกว่าปีวิชาภูมิศาสตร์ก็ได้รับความสนใจจากนักปราชญ์ และนักปกครอง จนกระทั่งเมื่อตอนต้นของศตวรรษที่ 5 สิ่งทั้งหมดเหล่านี้ก็ได้ประยุกต์เข้าด้วยกันอย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นวิชาภูมิศาสตร์ เรขาคณิต ดาราศาสตร์ ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นการประดิษฐ์ที่น่าอัจฉริยะเป็นอย่างยิ่ง
    2.3 ให้แต่ละคนเลือกประเด็นสำคัญ (ตามความเห็นของตัวเอง) แล้วหาความรู้จากโลกไซเบอร์เพิ่มเติม นอกเหนือจากที่ได้เขียนไว้ในบทความบทนี้
    การล้างมลทินภูมิศาสตร์ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 มาไม่นานวิชาภูมิศาสตร์ในสหรัฐอเมริกาก็ถึงเวลาต้องล้มสลายลง และส่งผลกระทบต่อเนื่องกันจนถึงทุกวันนี้ โดยในระหว่างปี ค.ศ.1948-1988 วิชาภูมิศาสตร์ได้ล้มหายไปจากมหาวิทยาลัยชิคาโก มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย มหาวิทยาลัยฮาร์วาด มหาวิทยาลัยมิชิแกน มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยเยล และอีกหลายมหาวิทยาลัย การล้างมลทินนี้เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมอเมริกันเท่านั้น ในสหราชอาณาจักรเองทุกวันนี้ ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด และมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ก็ยังคงมีโปรแกรมวิชาการที่แข็งแกร่ง สามารถรองรับการผลิตดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาภูมิศาสตร์ได้อย่างต่อเนื่อง ต่อมาสาขาวิชาภูมิศาสตร์ก็เกิดขึ้นมาใหม่ นั่นก็คือ ความสำเร็จอย่างเป็นปรากฏการณ์ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และความจำเป็นต่อการทำความเข้าใจที่มากขึ้น
    นางสาวศันสนีย์ ศรีษะแย้ม 51161168

    ตอบลบ
  10. 2.1 Bring Back Geography! เอาภูมิศาสตร์กลับมาได้หรือยัง เป็นบทความที่ต้องการสื่อให้เห็นถึงความสำคัญของ “สาขาวิชาภูมิศาสตร์” ด้วยการอธิบายถึงการเลือนหายของภูมิศาสตร์ในสังคมและในมหาวิทยาลัยต่างๆ และอธิบายว่าสาขาภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับ พื้นที่ ทำเลที่ตั้ง การเคลื่อนย้าย การเคลื่อนที่ ความสัมพันธ์ทางพื้นที่ของกระบวนการเกิดบนพื้นโลกทั้งทางด้านกายภาพและทางด้านมนุษย์ โดยเน้นการวิเคราะห์ วิจัยทางพื้นที่ ทำเลที่ตั้ง (Spatial Analysis) โดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญและตระหนักถึงความสำคัญของสาขาวิชาภูมิศาสตร์ เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือต่อสู้ให้สาขาวิชาภูมิศาสตร์ฟื้นกลับมา และ แสวงหาความเท่าเทียมกันกับสาขาวิชาอื่นๆที่มีอยู่ในโลกวิชาการ

    2.2 การตั้งสมญานามภูมิศาสตร์ ขึ้นได้มากจากการค้นพบที่ไม่ได้ตั้งใจ
    1.) การจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการสร้างโปรแกรมด้านพื้นที่ศึกษา (Area Studies Programs) ในมหาวิทยาลัยทั่วสหรัฐอเมริกา
    2.) การลงนามในเค้าโครงการสร้างวิชาวิทยาศาสตร์ใหม่ขึ้นมา เรียกว่า “วิทยาศาสตร์ระบบของโลก” ของหน่วยงานกลางของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา
    3.) การสร้างสถาบันโลก (Earth Institute) เพื่อบูรณาการการสอนเกี่ยวกับโลก สิ่งแวดล้อม และสังคม ของมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
    4.) การปรับปรุงแก้ไขเกี่ยวกับเครื่องหมายแสดงมาตรฐานขั้นสูงของวิชาภูมิศาสตร์ ที่จะต้องให้ความรู้แบบกว้างๆ ของศาสตร์ที่หลากหลาย และจะต้องทำให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองของต่างชาติ โดยไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงชื่อของสถานที่แห่งนั้นๆ ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาด

    ซึ่งทั้งสี่ประเด็นที่กล่าวมาเป็นเสมือนแถลงการณ์สำหรับวิชาภูมิศาสตร์ที่พยายามหลีเลี่ยงการใช้คำว่า “ภูมิศาสตร์”

    2.3 การประยุกต์ในสาขาวิชาภูมิศาสตร์ สามารถกำหนดตำแหน่งของสาขาวิชาให้แสดงบทบาทหลักในประเด็นสำคัญได้ โดยปัจจุบันได้มีการนำความรู้ทางภูมิศาสตร์ที่ได้รับมาจากศาสตร์ทางด้านภูมิสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดการพัฒนา และการจัดการทางด้านต่างๆ เช่น การจัดการทางทรัพยากรธรรมชาติในส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ และแร่ การจัดการและการใช้ประโยชน์ในงานด้านอุตุนิยมวิทยา การใช้ประโยชน์ในการศึกษาข้อมูลต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวข้องกับลักษณะพื้นที่ทั้งในปัจจุบันหรือในอดีต การจัดการด้านการวางผังเมือง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องยืนยันให้เห็นได้ว่า ปัจจุบันความรู้ในสาขาวิชาภูมิศาสตร์ได้พัฒนามาสู่ระดับการศึกษาในลักษณะของรายละเอียดที่เจาะลึก ที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในภูมิประเทศนั้นๆโดยเฉพาะมากขึ้น แต่การประยุกต์ในด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพียงอย่างเดียว จะทำให้นักภูมิศาสตร์ต้องทำงานเป็นเจ้าหน้าที่จัดการข้อมูลเพื่อสนับสนุนนักนิเวศวิทยา นักรัฐศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ และผู้นำทางวิชาการสาขาอื่นๆ

    *** นางสาวนิลุบล ชัยวุฒิ 51163407

    ตอบลบ
  11. ‏ Bring Back Geography
    2.1 หาประเด็นสำคัญในนั้นให้ได้ ว่าบทความนี้ต้องการสื่ออะไรออกมา ต้องการให้คนอ่านรู้เรื่องอะไร ประเด็นสำคัญที่ว่านั้นมีสาระสำคัญว่าอย่างไร
    จากบทความความนี้ จะให้ความสำคัญต่อการเข้าถึงและมีความเข้าใจในวิชาภูมิศาสตร์มากขึ้น เพราะทุกวันนี้ภูมิศาสตร์ถูกละเลยไม่ค่อยมีความสำคัญไม่ค่อยมีใครใส่ใจ ประเด็นสำคัญของบทความนี้ คือ การเอา “ ภูมิศาสตร์ ” กลับมาได้หรือยัง กล่าวคือ ภูมิศาสตร์เป็นวิถีของความคิดที่เกี่ยวเนื่องกับพื้นที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่มีวิธีการและเครื่องมือ มีองค์ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ และมีเทคโนโลยีสารสนเทศที่พัฒนาการต่อเนื่องยาวนานมาหลายศตวรรษ ภูมิศาสตร์เป็นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาชนและสถานที่ และเป็นการรับรู้ถึงปัจจัยเชิงสถานที่ที่จะมีผลต่อสิ่งมีชีวิตในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ภูมิศาสตร์ถือเป็นมิติหนึ่งของวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ที่มีรากฐานอยู่บนตรรกะทางพื้นที่ ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับทำเลที่ตั้ง การเคลื่อนที่ และความสัมพันธ์ทางพื้นที่ที่ถูกพิจารณาว่าเป็นประเด็นสำคัญของกระบวนการบนพื้นโลกทั้งทางด้านกายภาพและวัฒนธรรม จุดเน้นหลักของภูมิศาสตร์ คือ การวิเคราะห์ทางพื้นที่ เป็นการวิจัยที่วางอยู่บนฐานของพื้นที่ ทั้งด้านภูมิภาคศึกษา พื้นที่ศึกษา
    2.2 บทความบทนี้มีประเด็นอะไรที่คุณไม่เคยรู้มาก่อนเลยในชีวิต (เลือกมาประเด็นเดียว) ประเด็นสำคัญที่ว่านั้นมีสาระสำคัญว่าอย่างไร
    ประเด็นสำคัญคือ ( การประดิษฐ์ที่อัจฉริยะมาก )
    วิชาภูมิศาสตร์ได้จัดตั้งมาตั้งแต่ 2500 ปีก่อนที่ผ่านมา มีการประยุกต์ใช้ให้เจริญก้าวหน้ามากขึ้น โดยนักปราชญ์สมัยกรีก โรมัน จีน ซึ่งวิชาภูมิศาสตร์และดาราศาสตร์นั้นมีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างมาก เพราะเป็นวิชาที่ศึกษาหลักการสำคัญทางพื้นที่ ทำเลที่ตั้ง เหมือนกัน ก็เลยมีการประยุกต์เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เมื่อสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ ในเวลาหลายพันกว่าปีวิชาภูมิศาสตร์ก็ได้รับความสนใจจากนักปราชญ์ และนักปกครอง จนกระทั่งเมื่อตอนต้นของศตวรรษที่ 5 สิ่งทั้งหมดเหล่านี้ก็ได้ประยุกต์เข้าด้วยกันอย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นวิชาภูมิศาสตร์ เรขาคณิต ดาราศาสตร์ ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นการประดิษฐ์ที่น่าอัจฉริยะเป็นอย่างยิ่ง
    2.3 ให้แต่ละคนเลือกประเด็นสำคัญ (ตามความเห็นของตัวเอง) แล้วหาความรู้จากโลกไซเบอร์เพิ่มเติม นอกเหนือจากที่ได้เขียนไว้ในบทความบทนี้
    การล้างมลทินภูมิศาสตร์ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 มาไม่นานวิชาภูมิศาสตร์ในสหรัฐอเมริกาก็ถึงเวลาต้องล้มสลายลง และส่งผลกระทบต่อเนื่องกันจนถึงทุกวันนี้ โดยในระหว่างปี ค.ศ.1948-1988 วิชาภูมิศาสตร์ได้ล้มหายไปจากมหาวิทยาลัยชิคาโก มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย มหาวิทยาลัยฮาร์วาด มหาวิทยาลัยมิชิแกน มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยเยล และอีกหลายมหาวิทยาลัย การล้างมลทินนี้เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมอเมริกันเท่านั้น ในสหราชอาณาจักรเองทุกวันนี้ ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด และมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ก็ยังคงมีโปรแกรมวิชาการที่แข็งแกร่ง สามารถรองรับการผลิตดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาภูมิศาสตร์ได้อย่างต่อเนื่อง ต่อมาสาขาวิชาภูมิศาสตร์ก็เกิดขึ้นมาใหม่ นั่นก็คือ ความสำเร็จอย่างเป็นปรากฏการณ์ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และความจำเป็นต่อการทำความเข้าใจที่มากขึ้น
    นางสาวศันสนีย์ ศรีษะแย้ม 51161168

    ตอบลบ
  12. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  13. Bring Back Geography

    2.1 บทความนี้มีสาระสำคัญ คือ บทความนี้ แสดงให้เห็นว่า ในปัจจุบันนี้ เด็กสมัยใหม่ไม่รู้ตำแหน่งของสถานที่ต่างๆ บนโลก จากการทดสอบต่างๆ คนจึงสรุปกันไปว่า พวกเค้าไม่มีความรู้ทางภูมิศาสตร์ บางคนจึงคิดว่า ภูมิศาสตร์ หมายถึง การที่เรารู้สถานที่ใดอยู่ที่ไหน แต่นักภูมิศาสตร์ จะบอกว่า การที่เรารู้ว่าที่ใดอยู่ตรงไหน เป็นเพียงส่วนหนึ่งของนักภูมิศาสตร์เท่านั้น เพราะว่า ภูมิศาสตร์เป็นอะไรที่มากกว่าที่คนส่วนใหญ่คิดกัน เช่น ภูมิศาสตร์เป็นความคิดเกี่ยวกับพื้นที่ ส่วนประวัติศาสตร์จะเกี่ยวกับเรื่องของเวลา หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ภูมิศาสตร์ในอเมริกาต้องจบลง ไม่มีใครรู้ว่า ต้องมาเป็นแบบนี้ แต่ต่อมาก็เริ่มมีภูมิศาสตร์เริ่มขึ้นออกมาใหม่ คือ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จากที่กล่าวมาจะแสดงให้เห็นว่า วิชาภูมิศาสตร์เรานี้ มีการหายไปจากสังคมและมหาวิทยาลัยต่างๆ เพราะฉะนั้น เราจึงต้องเอาภูมิศาสตร์กลับมา และให้มีความเท่าเทียมกับสาขาวิชาอื่นๆ ด้วย

    2.2 ประเด็นที่ไม่รู้มาก่อน คือ เจมส์ โคแนนท์ (James Conant)ประกาศว่า “ภูมิศาสตร์ไม่ใช่วิชาที่จะต้องสอนกันในระดับมหาวิทยาลัย” ในปี ค.ศ.1948 โดยสาระสำคัญ คือ โคแนนท์เป็นผู้กำหนดทิศทางของสังคม เขาเป็นคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ เค้าจึงทำไปด้วยความไม่เข้าใจ จึงทำให้ได้นโยบายที่ไม่ดี ซึ่งเป็นข้อเสนอที่เป็นอันตรายและก่อให้เกิดการที่ต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ จึงมีผลทำให้เกิดการสลายในระดับชาติในหลายๆ แห่ง

    2.3 ประเด็นที่น่าสนใจคือ ทุกวันนี้ มีความไม่เต็มใจอย่างเห็นได้ชัด ในการที่จะกล่าวถึงภูมิศาสตร์หรือคำนามที่เริ่มต้นการสะกดด้วยพยัญชนะ G คำว่า “ศาสตร์ทางพื้นที่” หรือ Spatial หรือ Geospatial ดูเหมือนจะเป็นที่ยอมรับกันมากกว่าคำว่า “ภูมิศาสตร์” หรือคำว่า Geography และ Geographic โดยความหมายของ Geospatial คือ การผสานกันระหว่าง วิธีการ โปรแกรมและข้อมูลภูมิสาระสนเทศ อธิบายง่ายๆก็คือ องค์ความรู้ ข้อมูล และโปรแกรม เพื่องานด้านภูมิสารสนเทศ
    นาย ธนะชัย ไวยะเนตร 51163377

    ตอบลบ
  14. 2.1 หาประเด็นสำคัญในนั้นให้ได้ ว่าบทความนี้ต้องการสื่ออะไรออกมา ต้องการให้คนอ่านรู้เรื่องอะไร ภูมิศาสตร์เป็นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาชนและสถานที่ และเป็นการรับรู้ถึงปัจจัยเชิงสถานที่ที่จะมีผลต่อสิ่งมีชีวิตในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ภูมิศาสตร์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาภูมิศาสตร์ถือเป็นมิติหนึ่งของวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จุดเน้นหลักของภูมิศาสตร์ คือ การวิเคราะห์ ทางพื้นที่ เป็นการวิจัยที่วางอยู่บนฐานของพื้นที่ ทั้งด้านภูมิภาคศึกษา พื้นที่ศึกษา และพาราศึกษา และเป็นบูรณาการทางวิทยาศาสตร์วิชาภูมิศาสตร์ได้รับการจัดตั้งมาตั้งแต่เมื่อ 2,500 ปีการล้างมลทินภูมิศาสตร์ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่นานวิชาภูมิศาสตร์ในสหรัฐอเมริกาก็ถึงคราวต้องจมลง วิชาภูมิศาสตร์ได้ล้มหายไปจากมหาวิทยาลัยหลายที่ ยกเว้นแต่ที่มหาวิทยาลัยดาร์ทเมาท์ เท่านั้นที่มีภาควิชาและเปิดสอนในระดับปริญญาตรี ภูมิศาสตร์เกิดขึ้นมาใหม่ คือ ความสำเร็จ เกี่ยวกับดินแดนและประชาชนในต่างประเทศภายใต้ยุคโลกภิวัติ ความเข้าใจที่มากขึ้นเกี่ยวกับ ดินแดนและประชาชน ต่อมาสาขาวิชาภูมิศาสตร์ก็เกิดการผุดขึ้นมาใหม่ของอะไรบางอย่าง นั่นก็คือ ความสำเร็จอย่างเป็นปรากฏการณ์ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และความจำเป็นต่อการทำความเข้าใจที่มากขึ้นเกี่ยวกับดินแดนและประชาชนในต่างประเทศภายใต้ยุคโลกภิวัติ และยุคที่มีการรวมตัวกันในกรอบของภูมิรัฐศาสตร์วิชาภูมิศาสตร์ได้รับการยอมรับร่วมกับสาขาวิชาอื่นๆ มากขึ้น และบางคนก็ให้การยอมรับต่อจุดเด่นที่สำคัญของวิชาภูมิศาสตร์นั่นก็คือ การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ การวิจัยที่เน้นสถานที่เป็นสำคัญ และการบูรณาการทางวิทยาศาสตร์คนบางคนคิดว่าวิชาภูมิศาสตร์นั้น เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับรัฐและเมืองหลวงของรัฐที่คุณอาศัยอยู่ บางคนคิดว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับพรมแดน เป็นเรื่องทางกายภาพเพียงอย่างเดียว เป็นเรื่องทางสังคม ซึ่งความจริงแล้ว สาขาวิชาภูมิศาสตร์นั้นมีมุมมองและวิธีการที่จำเป็นอย่างน้อยก็มีความสำคัญเท่าๆ กับวิชาอื่นๆ แต่ภูมิศาสตร์ถูกล้างผลาญ ถูกต้องสมญานาม และถูกแยกส่วน และส่วนต่างๆ ที่ถูกแยกสลายออกไปไม่มีเลยที่จะได้รับการผนวกเข้ากับภาพรวมโปรแกรมพื้นที่ศึกษาขณะที่สาขาวิชาอื่นๆ ไม่เคยต้องเผชิญแบบเดียวกันเลยในสมัยปัจจุบัน ความรู้จากการศึกษาภูมิศาสตร์ จะทำให้เราเข้าใจธรรมชาติ เข้าใจโลก ทั้งเพื่อนร่วมชาติ และเพื่อนร่วมโลกได้ชัดเจนขึ้น เพื่อที่เราจะนำความรู้ที่มีมาแก้ปัญหาและพัฒนาโลกและประเทศของเราเกิดทักษะในการใช้ชีวิตร่วมกับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติมากขึ้นด้วยและเป็นสิ่งที่เราจะช่วยให้ภูมิศาสตร์กลับคืนมา การตระหนักถึงความเข้าใจของบุคคลทั่วไปที่ยังไม่รู้จักและทำความเข้าใจภูมิศาสตร์เสียใหม่ จุดยืนของภูมิศาสตร์ การละเลยของความรู้ทางภูมิศาสตร์และยังรวมไปถึงการฟื้นฟูภูมิศาสตร์หลับคืนมา การปกป้องสาขาวิชานี้
    2.2 บทความบทนี้มีประเด็นอะไรที่คุณไม่เคยรู้มาก่อนเลยในชีวิต คือ สาขาวิชาภูมิศาสตร์นั้นได้ถูกละเลยที่จะขยายความรู้ออกไป ขณะที่สาขาวิชาอื่นๆ ไม่เคยต้องเผชิญแบบเดียวกันเลยในสมัยปัจจุบัน ตัวอย่างเช่นเฉพาะมหาวิทยาลัยในกลุ่มไอวีลีก ที่พยายามจะทำอย่างนั้นกับสาขาวิชาภูมิศาสตร์ โดยไม่กระทำต่อสาขาวิชามานุษยวิทยา ชีววิทยา ประวัติศาสตร์คณิตศาสตร์ และสังคมวิทยา ซึ่งแน่นอนว่าเราสามารถพบเห็นว่ามีการเรียนการสอนระดับปริญญาเอกในสาขาวิชาเหล่านั้นทั้งหมด และก็ยังมีปริญญาเอกสาขาอื่นๆ อีก แต่ไม่มีสาขาภูมิศาสตร์เลย ยกเว้นก็แต่เพียงที่มหาวิทยาลัยดาร์ทเมาท์ ที่เดียวที่มีระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภูมิศาสตร์
    2.3 ให้แต่ละคนเลือกประเด็นสำคัญ (ตามความเห็นของตัวเอง) คนบางคนคิดว่าวิชาภูมิศาสตร์นั้น เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับรัฐและเมืองหลวงของรัฐที่คุณอาศัยอยู่ บางคนคิดว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับพรมแดน บางคนคิดว่าเป็นเรื่องทางกายภาพเพียงอย่างเดียว และเป็นการรับรู้ถึงปัจจัยเชิงสถานที่ที่จะมีผลต่อสิ่งมีชีวิตในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ภูมิศาสตร์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ภูมิศาสตร์ถือเป็นมิติหนึ่งของวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ที่มีรากฐานอยู่บนตรรกะทางพื้นที่ ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับทำเลที่ตั้ง การเคลื่อนที่เลื่อนไหล และความสัมพันธ์ทางพื้นที่ที่ถูกพิจารณาว่าเป็นประเด็นสำคัญของกระบวนการบนพื้นโลกทั้งทางด้านกายภาพและวัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ในอดีต มุ่งเน้นที่จะ บรรยาย หรือ พรรณนา ปรากฏการณ์ของสิ่งต่างๆบนพื้นผิวโลก ในทางตรงข้ามภูมิศาสตร์ในปัจจุบันมุ่งเน้นที่จะ อธิบาย และ พยากรณ์ ปรากฏการณ์ของสิ่งต่างๆบนพื้นที่วิชาภูมิศาสตร์ในปัจจุบัน จึงมีลักษณะที่แตกต่างจากภูมิศาสตร์ในอดีต ในสาระที่สำคัญสองประการ คือ ความแตกต่างกันด้านแนวความคิดทางภูมิศาสตร์และความแตกต่างกันทางด้านวิธีการศึกษา

    *นางสาวอรุณรัตน์ กลิ่นสวรรค์ 51161205*

    ตอบลบ
  15. 2.1สิ่งที่บทความ เอา “ภูมิศาสตร์” กลับมาได้รึยัง (Bring Back Geography) ต้องการสื่อก็คือความสำคัญของภูมิศาสตร์ ที่เป็นอะไรมากกว่าที่คนส่วนใหญ่คิดกัน เป็นมิติหนึ่งของวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ที่มีรากฐานอยู่บนตรรกะทางพื้นที่ มีจุดเน้นหลัก คือ การวิเคราะห์ทางพื้นที่ (Spatial Analysis) เป็นการวิจัยที่วางอยู่บนฐานของพื้นที่ (Place-Based Research) มีมุมมองและวิธีการที่จำเป็นและมีความสำคัญเท่าๆ กับวิชาอื่นๆแต่ภูมิศาสตร์ถูกล้างผลาญ ถูกต้องสมญานาม และถูกแยกส่วน ถูกปรับแปลงไปกับสาขาวิชาอื่น วิชาภูมิศาสตร์ได้ถูกละเลยที่จะขยายความรู้ออกไป สาขาวิชาภูมิศาสตร์ถูกกำจัดออกไปจากหลักสูตรของหลายๆสถาบันการฟื้นฟูภูมิศาสตร์กลับคืนมา จะเป็นผลประโยชน์อย่างมากสำหรับพวกเราในฐานะที่เป็นพลเมืองคนหนึ่งของโลก จะได้กลับมาเยียวยาภาวะล่มสลายที่เคยเกิดขึ้น ปกป้องสาขาวิชานี้ สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิศาสตร์เสียใหม่ให้กับประชาชน
    2.2ประเด็นอะไรที่ไม่เคยรู้มาก่อนคือ การตั้งสมญานามภูมิศาสตร์ หากว่าในโลกนี้ไม่มีวิชาภูมิศาสตร์ปรากฏอยู่ อาจจะต้องมีการค้นพบวิชาภูมิศาสตร์ขึ้นมา จากการค้นพบที่ไม่ได้ตั้งใจจากประเด็นที่เป็นเสมือนแถลงการณ์สำหรับวิชา คือ
    -มีการสร้างโปรแกรมด้านพื้นที่ศึกษา(Area Studies Programs)ขึ้นในมหาวิทยาลัยทั่วสหรัฐอเมริกา
    -ภูมิศาสตร์ได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่เรียกว่า “วิทยาศาสตร์ระบบของโลก” (Earth System Science)
    -หลังมหาวิทยาลัยโคลัมเบียล้มล้างภาควิชาภูมิศาสตร์ออกไปจากสาระบบเก้าปีมีการสร้างสถาบันโลก (Earth Institute) ขึ้นมา เพื่อบูรณาการการสอนเกี่ยวกับโลก สิ่งแวดล้อมและสังคม
    -การปรับปรุงแก้ไขอย่างจริงจังเกี่ยวกับเครื่องหมายแสดงมาตรฐานขั้นสูงของวิชาภูมิศาสตร์ที่จะต้องให้ความรู้แบบกว้างๆ ของศาสตร์ที่หลากหลาย และจะต้องทำให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นกว่าแต่ก่อนเกี่ยวกับวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองของต่างชาติ
    2.3 ภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญ มีพื้นฐานมาจากการสร้างองค์ความรู้ที่ต้องอาศัยความเป็นเหตุเป็นผลระหว่างกัน เพื่อนำความรู้ดังกล่าวมาใช้อธิบายถึงความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น ระหว่างธรรมชาติ มนุษย์ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น การใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ต่างๆรวมไปถึงการได้ศึกษาในแหล่งเรียนรู้ที่นำมาใช้ประกอบการศึกษา และรู้จักฝึกทักษะกระบวนการคิด การสร้างจินตนาการหรือสร้างมโนภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาจะช่วยนำไปสู่การศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ที่สมบูรณ์ ในระยะเริ่มต้นนักภูมิศาสตร์ศึกษาลักษณะเฉพาะสถานที่ต่างๆในโลกอย่างคร่าวๆ แต่ในปัจจุบันความก้าวหน้าของวิทยาการ ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีมาสู่การศึกษาเฉพาะเจาะลึกในรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้นๆ เป็นวิธีการสร้างความเช้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในเชิงพื้นที่ สามารถอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น รวมไปถึงวิธีการแก้ปัญหาตลอดจนการวางแผนดำเนินการ หลักการทางภูมิศาสตร์มาใช้ประโยชน์ในสภาพปัจจุบัน นำมาใช้ทั้งในกระบวนการทางด้านสังคมศาสตร์และทางด้านวิทยาศาสตร์

    นางสาววิภารัตน์ นุ่มนิ่ม 51161137

    ตอบลบ
  16. 1. ภูมิศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์ที่มีวิธีการและเครื่องมือ มีองค์ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ และมีเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีการพัฒนาการต่อเนื่องยาวนานมาหลายศตวรรษ ภูมิศาสตร์ถือเป็นมิติหนึ่งของวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ที่มีรากฐานอยู่บนตรรกะทางพื้นที่ ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับทำเลที่ตั้งและความสัมพันธ์ทางพื้นที่ที่ถูกพิจารณาว่าเป็นประเด็นสำคัญของกระบวนการบนพื้นโลกทั้งทางด้านกายภาพและวัฒนธรรม จุดเน้นหลักของภูมิศาสตร์ คือ การวิเคราะห์ทางพื้นที่ (Spatial Analysis) เป็นการวิจัยที่วางอยู่บนฐานของพื้นที่ (Place-Based Research) ทั้งด้านภูมิภาคศึกษา พื้นที่ศึกษา และพาราศึกษา และเป็นบูรณาการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Integration)
    2. การล้างมลทินนี้เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมอเมริกันเท่านั้นและส่งผลกระทบต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้ โดยระหว่างปี ค.ศ.1948-1988 ไม่มีใครรู้ความจริงเลยว่า ทำไมสาขาวิชาภูมิศาสตร์ถูกกระทำเช่นนี้ หลายสิบปี สำหรับมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำของสหรัฐ 20 อันดับ พบว่าทุกวันนี้มีเพียง 2 แห่งเท่านั้น ที่มีภาควิชาภูมิศาสตร์ ส่วนมหาวิทยาลัยชั้นนำ 20 อันดับนั้น มีภาควิชาภูมิศาสตร์ตั้งอยู่ถึง 15 แห่ง ต่อมาสาขาวิชาภูมิศาสตร์มีการผุดขึ้นมาใหม่ นั่นก็คือ ความสำเร็จอย่างเป็นปรากฏการณ์ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และความจำ เป็นต่อการทำ ความเข้าใจที่มากขึ้นเ กี่ย ว กับ ดิน แ ด น แ ล ะ ป ร ะ ช า ช น ใ นต่างประเทศภายใต้ยุคโลกภิวัติ และยุคที่มีการรวมตัวกันในกรอบของภูมิรัฐศาสตร์วิชาภูมิศาสตร์ได้รับการยอมรับร่วมกับสาขาวิชาอื่นๆ มากขึ้น
    3. จาก ความหมายและขอบข่ายของ วิชาภูมิศาสตร์จะ เห็นได้ว่า ภูมิศาสตร์เป็นวิชาที่มีพื้นฐานมาจากการสร้างองค์ความรู้ที่ต้องอาศัยความเป็นเหตุเป็นผลระหว่างกัน เพื่อนำเอาความรู้ดังกล่าวมาใช้อธิบายถึงความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่าง ธรรมชาติ มนุษย์ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ดังนั้นธรรมชาติและเนื้อหาของวิชาภูมิศาสตร์ถือได้ว่า เป็นวิชาที่เกิดจาการสังเคราะห์ความรู้ที่มาจากความสัมพันธ์ของประกฎการณ์ ที่เกี่ยวข้องระหว่างสิ่งแวดล้อมและมนุษย์
    ในระยะเริ่มต้นของการศึกษา จะศึกษาลักษณะเฉพาะของสถานที่ต่างๆในโลกอย่างคร่าวๆซึ่งข้อมูล ที่ได้อาจไม่มีความละเอียดชัดเจนมากนัก แต่ในปัจจุบันความก้าวหน้าของวิทยาการอที่เอื้อต่อการเก็บรวบรวมข้อมูลที่นำมาใช้ประกอบการศึกษา ส่งผลให้นักภูมิศาสตร์ปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการศึกษา จากการศึกษาลักษณะพื้นที่อย่างคร่าวๆมาสู่การศึกษาเฉพาะเจาะลึกลงไปในรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งถือได้ว่าเป็นวิธีการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในเชิงพื้นที่
    http://tc.mengrai.ac.th/punnapa/socal/new_page_5.htm

    นายปิยพัทธิ์ สมโภชพิสุทธิ์ 51161038

    ตอบลบ
  17. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  18. 2.1 ภูมิศาสตร์เป็นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาชนและสถานที่ ภูมิศาสตร์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาภูมิศาสตร์ถือเป็นมิติหนึ่งของวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ที่มีรากฐานอยู่บนตรรกะทางพื้นที่ ที่เป็นเรื่อเกี่ยวกับทำเลที่ตั้ง การเคลื่อนที่เลื่อน จุดเน้นหลักของภูมิศาสตร์ คือ การวิเคราะห์ ทางพื้นที่ เป็นการวิจัยที่วางอยู่บนฐานของพื้นที่ ทั้งด้านภูมิภาคศึกษา พื้นที่ศึกษา และพาราศึกษา และเป็นบูรณาการทางวิทยาศาสตร์วิชาภูมิศาสตร์ได้รับการจัดตั้งมาตั้งแต่เมื่อ 2,500 ปีก่อน และมีการประยุกต์ให้ก้าวหน้าขึ้นโดยนักปราชญ์สมัยกรีก โรมัน และจีนวิชาภูมิศาสตร์และดาราศาสตร์ซึ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างมาก เพราะวิชานี้มีหลักการสำคัญเกี่ยวกับพื้นที่และแล้วก็ก้าวเข้าสู่ยุคกลางเป็นยุคที่มีการเข้ามาแทรกแซงของศาสนจักรอย่างมาก เชื่อหรือไม่ว่า วิชาภูมิศาสตร์ถูกทำให้กลายเป็นแฟนตาซีไปเสีย แต่ก็ยังดีที่ตัวองค์ความรู้จริงๆ ได้รับการอนุรักษ์ไว้โดยพระชาวไอริช และมีกาประยุกต์ให้ก้าวหน้าเรื่อยๆ โดยปราชญ์อาหรับและเปอร์เซีย จนกระทั่งมารื้อฟื้นกันใหม่โดยปราชญ์ชาวยุโรปที่เป็นศูนย์กลางของการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ จนทำให้เกิดการสำรวจดินแดนต่างๆ ทั่วโลกในยุคสำรวจความสำเร็จอย่างเป็นปรากฏการณ์ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ บางคนคิดว่าวิชาภูมิศาสตร์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับพรมแดน ทางกายภาพเพียงอย่างเดียว มีบ้างเรื่องทางสังคม ซึ่งความจริงแล้ว สาขาวิชวภูมิศาสตร์นั้นมีมุมมองและวิธีการที่จำเป็นอย่างน้อยก็มีความสำคัญเท่าๆ กับวิชาอื่นๆ แต่ภูมิศาสตร์ถูกล้างผลาญ ถูกต้องสมญานาม และถูกแยกส่วน และส่วนต่างๆ ที่ถูกแยกสลายออกไปไม่มีเลยที่จะได้รับการผนวกเข้ากับภาพรวมโปรแกรมพื้นที่ศึกษา การล้างมลทินภูมิศาสตร์หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่นานวิชาภูมิศาสตร์ในสหรัฐอเมริกาก็ถึงคราวต้องจมลง วิชาภูมิศาสตร์ได้ล้มหายไปจากมหาวิทยาลัยหลายที่ ยกเว้นแต่ที่มหาวิทยาลัยดาร์ทเมาท์ เท่านั้นที่มีภาควิชาและเปิดสอนในระดับปริญญาตรี ภูมิศาสตร์เกิดขึ้นมาใหม่ คือ ความสำเร็จ เกี่ยวกับดินแดนและประชาชนในต่างประเทศภายใต้ยุคโลกภิวัติ ภูมิรัฐศาสตร์เป็นกาทำวิจัยทางวิชาการ และ ภูมิรัฐศาสตร์ได้ถูกปรับแปลงเป็นวิชารัฐศาสตร์และกิจการต่างประเทศ เราจะช่วยอะไรในวิชานี้คือ1.ช่วยกันกล่าวคำว่า “ภูมิศาสตร์นั้น” 2.บอกใครข้างๆว่าภูมิศาสตร์เป็นอย่างไร 3.ตรวจสอบผู้บริหาร 4. พยายามลองชี้ ให้ประถมมีการสอนวิชาภูมิศาสตร์ งานวิจัยมีทุนมากขึ้น 5. ตั้งเป้าหมายให้ใหญ่
    2.2 หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่นานวิชาภูมิศาสตร์ในสหรัฐอเมริกาก็ถึงคราวต้องจมลงและส่งผลกระทบต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้ โดยระหว่างปี ค.ศ.1948-1988 วิชาภูมิศาสตร์ได้ล้มหายไปจากมหาวิทยาลัยชิคาโก มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย มหาวิทยาลัยฮาร์วาด มหาวิทยาลัยมิชิแกน มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยเยล และอีกหลายมหาวิทยาลัย โดยไม่มีใครรู้ความจริงเลยว่า ทำไมสาขาวิชาภูมิศาสตร์จึงเป็นที่เพ่งเล็งและถูกกระทำเช่นนี้ หลายสิบปีต่อมา ไม่ปรากฏว่ามีภาควิชาภูมิศาสตร์อยู่ในมหาวิทยาลัยกลุ่มไอวี ยกเว้นแต่ที่มหาวิทยาลัยดาร์ทเมาท์ เท่านั้นที่มีภาควิชาและเปิดสอนในระดับปริญญาตรี สำหรับมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำของสหรัฐ 20 อันดับ พบว่าทุกวันนี้มีเพียง 2 แห่งเท่านั้น ที่มีภาควิชาภูมิศาสตร์ ส่วนมหาวิทยาลัยชั้นนำ 20 อันดับนั้น มีภาควิชาภูมิศาสตร์ตั้งอยู่ถึง 15 แห่ง การล้างมลทินนี้เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมอเมริกันเท่านั้น ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด และมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ก็ยังคงมีโปรแกรมวิชาการที่แข็งแกร่ง สามารถรองรับการผลิตดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาภูมิศาสตร์ได้อย่างต่อเนื่อง
    2.3 สาขาวิชาภูมิศาสตร์นั้นได้ถูกละเลยที่จะขยายความรู้ออกไปขณะที่สาขาวิชาอื่นๆ ไม่เคยต้องเผชิญแบบเดียวกันเลยในสมัยปัจจุบันเราสามารถ ช่วยได้โดยการบอกกล่าวกับ บุคคลทั่วไปอธิบายถึงว่าภูมิศาสตร์คืออะไรภูมิศาสตร์ในปัจจุบันและอนาคต จะเป็นอย่างไรจะเดินไปทางไหน ภูมิศาสตร์ในปัจจุบัน มีลักษณะหลายอย่างแตกต่างจาก ภูมิศาสตร์ในอดีต โดยปัจจุบันได้มีการนำความรู้ทางภูมิศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดการพัฒนา และการจัดการทางด้านต่างๆ เช่น การจัดการทางทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ และแร่ การจัดการและการใช้ประโยชน์ในงานด้านอุตุนิยมวิทยา การใช้ประโยชน์ในการศึกษาข้อมูลต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวข้องกับลักษณะพื้นที่ทั้งในปัจจุบันหรือในอดีต การจัดการด้านการวางผังเมือง ปัจจุบันความรู้ในสาขาวิชาภูมิศาสตร์ได้พัฒนามาสู่ระดับการศึกษาในลักษณะของรายละเอียดที่เจาะลึก

    *** นายวีรพัฒน์ เกคุอินทร์ 51161151 ***

    ตอบลบ
  19. 2.1 ภูมิศาสตร์เป็นอะไรมากมายกว่าที่คนส่วนใหญ่คิดกัน ภูมิศาสตร์เป็นเรื่องของพื้นที่ ขณะที่ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องของเวลา ภูมิศาสตร์เป็นวิถีของความคิดที่เกี่ยวเนื่องกับพื้นที่ เป็นวิทยาศาสตร์ที่มีวิธีการและเครื่องมือ มีองค์ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ และมีเทคโนโลยีสารสนเทศที่พัฒนาการต่อเนื่องยาวนานมาหลายศตวรรษ ภูมิศาสตร์เป็นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาชนและสถานที่ และเป็นการรับรู้ถึงปัจจัยเชิงสถานที่ที่จะมีผลต่อสิ่งมีชีวิตในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ภูมิศาสตร์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ดูได้จากคำกล่าวของศาสตราจารย์ เจ โรว์แลนด์ อิลลิกค์ (J. Rowland Illick) ที่ว่า “เพราะเหตุใดประชาชนจึงทำสิ่งเหล่านั้น พวกเขากำลังทำอะไร และทำอะไรกันที่ไหน” ภูมิศาสตร์ถือเป็นมิติหนึ่งของวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ที่มีรากฐานอยู่บนตรรกะทางพื้นที่ ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับทำเลที่ตั้ง การเคลื่อนที่เลื่อนไหล และความสัมพันธ์ทางพื้นที่ที่ถูกพิจารณาว่าเป็นประเด็นสำคัญของกระบวนการบนพื้นโลกทั้งทางด้านกายภาพและวัฒนธรรม จุดเน้นหลักของภูมิศาสตร์ คือ การวิเคราะห์ทางพื้นที่ (Spatial Analysis) เป็นการวิจัยที่วางอยู่บนฐานของพื้นที่ (Place-Based Research) ทั้งด้านภูมิภาคศึกษา พื้นที่ศึกษา และพาราศึกษา และเป็นบูรณาการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Integration)
    2.2ความจริงแล้ว ผู้เขียนไม่คิดว่า การล่มสลายของสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งจะต้องถูกละเลยด้วยการไม่มีคำถามตามมา สังคมอาจจะตระหนักดีต่อความเขลาของวิธีการต่างๆ และความพยายามที่จะฟื้นฟูวิชาภูมิศาสตร์กลับคืนมา ด้วยการแก้ไขอะไรๆ ที่ผู้เขียนได้นำเสนอเอาไว้แล้ว ผู้นำของชาติอาจจะตระหนักขึ้นมาทันทีถึงความผิดพลาดที่จะทำให้ปัญญาจากต่างชาติ นโยบายต่างประเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ และประเด็นสาระอื่นๆ ที่ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของชาติ ที่ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับการได้รับข่าวสารของเราผ่านไปยังประชาชนเป้าหมาย ทันที่พวกเขาอยู่ในที่นั้น แต่ละคนจะได้ยินเสียงของเรา การเปิดใจจะทำให้สามารถจับและเข้าใจประเด็นได้
    2.3 สาขาวิชาภูมิศาสตร์นั้นมีมุมมองและวิธีการที่จำเป็นอย่างน้องก็มีความสำคัญเท่าๆ กับวิชาอื่นๆ แต่ภูมิศาสตร์ถูกล้างผลาญ ถูกต้องสมญานาม และถูกแยกส่วน และส่วนต่างๆ ที่ถูกแยกสลายออกไปไม่มีเลยที่จะได้รับการผนวกเข้ากับภาพรวม โปรแกรมพื้นที่ศึกษา (Area Studies Programs) ดูจะเป็นศูนย์รวมของการทำงานของผู้เชี่ยวชาญทั้งหลาย ที่มีความรู้เกี่ยวกับภูมิภาคต่างๆ อย่างแท้จริง เพราะพวกเขาไม่ได้คิดให้เป็นปรกติ เกี่ยวกับพื้นที่และหานิยามพื้นที่แบบที่นักภูมิศาสตร์ทำอย่างเป็นปรกติ นั้นจึงเป็นคำตอบว่า เพราะเหตุใด แทนที่เงินทุกๆ ดอลลาร์ของรัฐที่ถมลงไปนับตั้งแต่ปี 1958 กับโปรแกรมพื้นที่ศึกษา แต่โปรแกรมนี้กลับไม่ได้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เลยแต่อย่างใด ขณะนี้สาขาวิชาภูมิศาสตร์กลับเป็นตัวหลักในการทำสิ่งนั้น

    (นายปิยะพงษ์ เกตุอินทร์ 51163438)

    ตอบลบ
  20. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  21. Bring Back Geography
    เอาภูมิศาสตร์ กลับมาได้รึยัง !! บทความนี้ได้กล่าวถึง ภูมิศาสตร์ ที่ถูกละเลยความสนใจในการศึกษา ซึ่งในปัจจุบันนี้ภูมิศาสตร์กับชีวิตประจำวันของผู้คนได้ถูกให้ความละเลยไป ซึ่งมองว่าภูมิศาสตร์ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป แต่จริงๆแล้ววิชาภูมิศาสตร์มีอะไรมากมายกว่าที่คนส่วนใหญ่คิดกัน ภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เป็นศาสตร์อันดับหนึ่งของต้นกำเนิดของศาสตร์ต่างๆ ซึ่งภูมิศาสตร์ศึกษาถึงเรื่องของพื้นที่ และเป็นการนำศาสตร์ทางสังคมและศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์มารวมกัน แต่ยังโชคดีที่วิชาภูมิศาสตร์ยังคงเป็นวิชาที่มีความสำคัญขึ้นมาบ้าง อย่างน้อยก็ยังคงมีหลักสูตรให้ศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ดังนั้นจะยังทำให้เห็นว่า ทะกษะความรู้ทางภูมิศาสตร์จะยังเป็นส่วนเกี่ยวข้องกับทุกสิ่งทุกอย่างในสังคมที่เป็นเรื่องของทำเลที่ตั้ง การเคลื่อนย้าย และการเลื่อนไหล
    การประดิษฐ์ที่อัจฉริยะมาก
    ดั่งเดิมภูมิศาสตร์ถูกจัดตั้งมาตั้งแต่เมื่อ 2500 ปีก่อน และมีการประยุกต์ให้ก้าวหน้าขึ้นโดยนักปราชญ์สมัย กรีก โรมัน และจีน และหลังจากนั้นภูมิศาสตร์ก็ได้กลายมาเป็นวิชาที่โดดเด่นอย่างมาก และได้รับความสนใจจากนักปราชญ์ พ่อค้าวานิชย์ และนักปกครอง และพอมาถึงยุคกลางภูมิศาสตร์ได้ถูกให้ความสนใจน้อยลงโดยการเข้ามาแทรกแซงของศาสนจักร แต่ก็ยังมีการประยุกต์ให้ก้าวหน้าเรื่อยๆ จนกระทั่งมารื้อฟื้นกันใหม่โดยนักปราชญ์ชาวยุโรปซึ่งเป็นศูนย์กลางของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ จนทำให้เกิดการสำรวจดินแดนใหม่ในยุคกลางสำรวจ ส่วนใหญ่อเมริกาได้ให้ความสำคัญกับภูมิศาสตร์อย่างมากในช่วงของประธานาธิปดีวิลสันและประธานาธิปดีรูสเวลส์ซึ่งได้มีนักภูมิศาสตร์ที่ทำงานเป็นการส่วนตัวกับพวกเขาทั้งสองคือ ไอซาร์ โบว์แมน ซึ่งนั้นเป็นการที่ทำให้อเมริกากลายมาเป็นประเทศผู้นำของโลก และต่อมาภูมิศาสตร์ได้เปลี่ยนแปลงพัฒนามาเป็นระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยการเปลี่ยนแปลงของ โรเลอร์ ทอมลินสัน ซึ่งเป็นบิดาของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาตั้งแต่ตอนต้นของทศวรรษ 1960 นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จอห์น เด ไรท์ แห่งสมาคมภูมิศาสตร์ชาวอเมริกันก็ได้ตีพิมพ์แนวคิดที่ทรงอิทธิพลมากเกี่ยวกับการแสดงจุด เส้น และพื้นที่ที่กลายเป็นหัวใจสำคํญของระบบสารสนเทศ และการบุกเบิกใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อสนับสนุนให้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มีชีวิตชีวาอย่างแท้จริง
    หมดเวลาเป็น “คุณชายที่แสนดี” กันเสียที
    นักภูมิศาสตร์ถูกเปรียบเปรยว่าเหมือนคุณชายที่แสนดีเพราะว่า มีมารยาทที่ดีแม้จะถูกกดดันและถูกล้มล้างระบบการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ ทำไมละในเมื่อสมัยก่อนไม่ใช่หรอที่ศาสตร์วิชาภูมิศาสตร์นั้นและที่เป็ฯตัวสร้างสิ่งต่างๆขึ้นมา และเป็นศาสตร์ที่ช่วยสนับสนุนศาสตร์ต่างๆ ให้เกิดขึ้นมาได้ในปัจจุบัน แต่ทำไมปัจจุบันเอกภูมิศาสตร์ถูกละเลยความสำคัญ ซึ่งถึงเวลาแล้วที่จะลุกขึ้นมาต่อสู้กันเสียที ตอนนี้และเป็นเวลาที่มีโอกาสสูงมากในการที่จะปลัดคราบไคลของการรับรู้ของสังคมที่มีความเชี่ยวชาญในรับบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งแท้จริงแล้วระบบดังกล่าวนั้นถูกโอบล้อมให้เป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิชาภูมิศาสตร์เท่านั้นเอง ฉะนั้นเราจึงควรตื่นตัวสู้ เพื่อฟื้นวิชาภูมิศาสตร์ของเราให้กลับมาทั้งหมดทั้งปวงนี้เรากำลังแสวงหาความเท่าเทียมกันกับสาขาวิชาอื่นๆ ที่มีอยู่ในโลกวิชาการ จึงเป็นสิ่งที่แน่นอนเหลือเกินว่าเป็นคนเรื่องมากเกินไปหรอกที่จะถาม และเป็นสิ่งที่ทุกคนในชาติต้องให้ความสนใจ ไม่ใชข่แค่พวกเรานัภูมิศาสตร์เท่านั้น “ WE ARE THE KING OF LOGY IN THE WORLD ”

    นาย ณับ คำธร 51160932

    ตอบลบ
  22. 1. หาประเด็นสำคัญในนั้นให้ได้ ว่าบทความนี้ต้องการสื่ออะไรออกมา ต้องการให้คนอ่านรู้เรื่องอะไร ประเด็นสำคัญที่ว่านั้นมีสาระสำคัญว่าอย่างไร

    ประเด็นสำคัญของบทความนี้ คือ การบอกว่า ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะนำเอาภูมิศาสตร์กลับมา ให้ทุกคนมีความเข้าใจ ในสาขาภูมิศาสตร์ที่ถูกต้อง เพราะวิชาภูมิศาสตร์เป็นวิชาที่สำคัญและมีความลึกซึงต่อกระบวนการคิดที่สื่อความหมายที่ถูกต้อง และคนทั่วไปอาจคิดว่าภูมิศาสตร์เป็นเพียงความรู้ทั่วไปที่สามารถเข้าใจด้วยตนเองโดยไม่ต้องศึกษา จึงทำให้เกิดการเข้าใจผิดในสาขาวิชาภูมิศาสตร์ เมื่อภูมิศาสตร์จะอธิบายถึงความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ส่วนประวัติศาสตร์จะเป็นเรื่องของด้านเวลา ซึ้งภูมิศาสตร์จะถูกพิจารณาว่าเป็นประเด็นที่สำคัญของกระบวนการเกิดบนพื้นโลกทั้งทางด้านกายภาพและทางด้านมนุษย์ และมีวิวัฒนาการทางด้านข้อมูลเทคนิคตลอดเวลา

    บทความนี้ต้องการที่จะสื่อ การมีตัวตนของนักภูมิศาสตร์ออกมาให้ชัดเจน ในการมีบทบาททางสังคม และการลุกขึ้นมาต่อสู้สิทธิของนักภูมิศาสตร์ให้สังคมได้รู้ตัวตนที่แท้จริงของ “ ภูมิศาสตร์ ” ที่ผ่านมาหลายยุคหลายสมัย และได้พยามจะสื่อว่าสาขาภูมิศาสตร์จะยังคงอยู่หรือควรยุบตัวลง

    ต้องการให้คนอ่านรู้เรื่อง บทบาทและวิถีการดำรงอยู่ของนักภูมิศาสตร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและการต่อสู้ที่ให้บ่งบอกความมีตัวตนของนักภูมิศาสตร์ แสดงตนออกมาให้สังคมได้รับรู้บทบาทที่แท้จริง ให้รู้จักความหมายของภูมิสาสตร์คืออะไรและหน้าที่ที่จะดำเนินต่อไปอย่างไรที่จะหาจุดยืนหรือตำแหน่งที่อยู่ทางสังคมอย่างภาคภูมิใจได้อย่างไร และบทความนี้ยังแสดงถึงการร่วมมือกันของนักภูมิศาสตร์ให้ลุกขึ้นมาหาบทบาทของภูมิศาสตร์ให้ชัดเจนและเห็นความหมายของคำว่า”ภูมิศาสตร์”

    2. บทความบทนี้มี ประเด็นสำคัญที่ว่านั้นมีสาระสำคัญว่าอย่างไร
    เราสามารถช่วยอะไรกันได้บ้าง

    บทความตอนนี้เป็นช่วงหนึ่งที่ก็มีความสำคัญมาก เพราะบทความตอนนี้จะการบอกว่านักภูมิศาสตร์ทั้งหลายควรทำอย่างไรและจะช่วยอะไรได้บ้าง มีคำกล่าวตอนหนึ่งที่ให้บอกประชาชนว่า ภูมิศาสตร์คืออะไร และนักภูมิศาสตร์กลุ่มใหญ่จะกำหนดให้วิชาของพวกเขาวางอยู่บนมุมมองและวิธีการเชิง พื้นที่ (Spatial Perspective and Methods) มากกว่าที่จะเป็นเนื้อหาสาระ ดังนั้นจึงให้บอกทุกคนว่า ภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์เกี่ยวกับพื้นที่ ขณะที่ประวัติศาสตร์เป็นศาสตร์เกี่ยวกับเวลา แล้วให้เราอธิบายให้ผู้บริหารฟังให้ได้เพราะเหตุใดมหาวิทยาลัยจึงควรตั้งอยู่ได้โดยไม่มีภาควิชาภูมิศาสตร์ และถ้าเรามีความสามัคคีกันไว้ก็เป็นความหวังที่ดีที่สุดของเราที่จะห้ามหรือหยุดยั้งการ ล่มสลายของสาขาวิชาภูมิศาสตร์ และเราจะต้องต่อสู้กับอุปสรรคทุกอย่าง ด้วยการเริ่มต้นกับจุดใดจุดหนึ่งที่สุกงอมที่สุดที่พร้อมจะเกิดขึ้น



    ***นายฉัตรชัย นามพุทธา รหัส 51160918***

    ตอบลบ
  23. 1. หาประเด็นสำคัญในนั้นให้ได้ ว่าบทความนี้ต้องการสื่ออะไรออกมา ต้องการให้คนอ่านรู้เรื่องอะไร ประเด็นสำคัญที่ว่านั้นมีสาระสำคัญว่าอย่างไร
    ภูมิศาสตร์ถือเป็นมิติหนึ่งของวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ที่มีรากฐานอยู่บนตรรกะทางพื้นที่ ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับทำเลที่ตั้ง การเคลื่อนที่เลื่อนไหล และความสัมพันธ์ทางพื้นที่ที่ถูกพิจารณาว่าเป็นประเด็นสำคัญของกระบวนการบนพื้นโลกทั้งทางด้านกายภาพและวัฒนธรรม จุดเน้นหลักของภูมิศาสตร์ คือ การวิเคราะห์ทางพื้นที่ (Spatial Analysis) เป็นการวิจัยที่วางอยู่บนฐานของพื้นที่ (Place-Based Research) ทั้งด้านภูมิภาคศึกษา พื้นที่ศึกษา และพาราศึกษา และเป็นบูรณาการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Integration)ความสำคญของวิชาภูมิศาสตร์ ทำให้เป็นสิ่งสำเป็นอย่างไร ปัญหาความรู้ทางด้านภูมิศาสตร์ถูกละทิ้งไม่มีหลักสูตรการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยและประถม การฝื่นฝูสาขาวิชาภูมิศาสตร์ ถูกแทรกแซงด้วยนักการเมือง พวกที่ไม่มีความรู้ที่แท้จริงขาดบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านภูมิศาสตร์การกลับมาของวิชาภูมิศาสตร์แล้วแต่ไม่ยอมรับว่าจะชื่อชื่อภูมิศาสตร์ การแก้ไขที่ทุกคนควรทำ เพื่มหลักสูตรการศึกษาเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ เข้าใจและยอมรับสาขาภูมิศาสตร์ ส่งเสริม การศึกษาเรียนรู้ด้านภูมิศาสตร์

    2.2 บทความบทนี้มีประเด็นอะไรที่คุณไม่เคยรู้มาก่อนเลยในชีวิต (เลือกมาประเด็นเดียว) ประเด็นสำคัญที่ว่านั้นมีสาระสำคัญว่าอย่างไร
    สาขาวิชาภูมิศาสตร์นั้นมีมุมมองและวิธีการที่จำเป็นอย่างน้องก็มีความสำคัญเท่าๆ กับวิชาอื่นๆ แต่ภูมิศาสตร์ถูกล้างผลาญ ถูกต้องสมญานาม และถูกแยกส่วน และส่วนต่างๆ ที่ถูกแยกสลายออกไปไม่มีเลยที่จะได้รับการผนวกเข้ากับภาพรวม โปรแกรมพื้นที่ศึกษา (Area Studies Programs) ดูจะเป็นศูนย์รวมของการทำงานของผู้เชี่ยวชาญทั้งหลาย ที่มีความรู้เกี่ยวกับภูมิภาคต่างๆ อย่างแท้จริง เพราะพวกเขาไม่ได้คิดให้เป็นปรกติ เกี่ยวกับพื้นที่และหานิยามพื้นที่แบบที่นักภูมิศาสตร์ทำอย่างเป็นปรกติ นั้นจึงเป็นคำตอบว่า เพราะเหตุใด แทนที่เงินทุกๆ ดอลลาร์ของรัฐที่ถมลงไปนับตั้งแต่ปี 1958 กับโปรแกรมพื้นที่ศึกษา แต่โปรแกรมนี้กลับไม่ได้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เลยแต่อย่างใด ขณะนี้สาขาวิชาภูมิศาสตร์กลับเป็นตัวหลักในการทำสิ่งนั้นสาขาวิชาภูมิศาสตร์นั้นได้ถูกละเลยที่จะขยายความรู้ออกไป ขณะที่สาขาวิชาอื่นๆ ไม่เคยต้องเผชิญแบบเดียวกันเลยในสมัยปัจจุบัน ตัวอย่างเช่นเฉพาะมหาวิทยาลัยในกลุ่มไอวีลีก ที่พยายามจะทำอย่างนั้นกับสาขาวิชาภูมิศาสตร์ โดยไม่กระทำต่อสาขาวิชามานุษยวิทยา ชีววิทยา ประวัติศาสตร์ คณิตศาสตร์ และสังคมวิทยา ซึ่งแน่นอนว่าเราสามารถพบเห็นว่ามีการเรียนการสอนระดับปริญญาเอกในสาขาวิชาเหล่านั้นทั้งหมด และก็ยังมีปริญญาเอกสาขาอื่นๆ อีก แต่ไม่มีสาขาภูมิศาสตร์เลย ยกเว้นก็แต่เพียงที่มหาวิทยาลัยดาร์ทเมาท์ ที่เดียวที่มีระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภูมิศาสตร์


    2.3ให้แต่ละคนเลือดประเด็น(ตามความเห็นของตัวเอง)แล้วหาความรู้จากโลกไซเบอร์เพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ได้เขียนไว้ในบทความนี้
    เราสามารถช่วยอะไรกันได้บ้าง
    ช่วยกันกล่าวคำนั้น - ทุกวันนี้ มีความไม่เต็มใจอย่างเห็นได้ชัด ในการที่จะกล่าวถึงภูมิศาสตร์หรือคำนามที่เริ่มต้นการสะกดด้วยพยัญชนะ G คำว่า “ศาสตร์ทางพื้นที่” หรือ Spatial หรือ Geospatial ดูเหมือนจะเป็นที่ยอมรับกันมากกว่าคำว่า “ภูมิศาสตร์” หรือคำว่า Geography และ Geographic ดูได้จากเมื่อนักภูมิศาสตร์ค้นพบอะไรใหม่ๆ ด้วยการใช้วิธีการทางภูมิศาสตร์เป็นฐานของการค้นพบอย่างแท้จริง แต่สิ่งเหล่านั้นกลับถูกระบุว่าเป็นเรื่องราวของศาสตร์เฉพาะที่ใกล้เคียง มากกว่าที่จะเป็นงานทางภูมิศาสตร์ นักภูมิศาสตร์มักไม่เอ่ยนามตัวเองบ่อยๆ แบบเดียวกับที่นักธรณีวิทยาชอบเอ่ย แม้ว่าจะมีบ้างเพียงร้อยละ 10 ของพวกเราที่อ้างว่ามีความเชี่ยวชาญทางด้านกายภาพ ที่อาจจะสับสนปนเปไปกันธรณีวิทยาได้

    นายอภิรักษ์ บ้านสระ 51161182

    ตอบลบ
  24. 1. หาประเด็นสำคัญในนั้นให้ได้ ว่าบทความนี้ต้องการสื่ออะไรออกมา ต้องการให้คนอ่านรู้เรื่องอะไร ประเด็นสำคัญที่ว่านั้นมีสาระสำคัญว่าอย่างไร

    ภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เป็นศาสตร์ต้นกำเนิดอันดับหนึ่งของศาสตร์ต่างๆ ซึ่งภูมิศาสตร์ศึกษาถึงเรื่องของพื้นที่ และเป็นการนำศาสตร์ทางสังคมและศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์มารวมกัน ประเด็นสำคัญของบทความนี้ คือ การเอา “ ภูมิศาสตร์ ” กลับมาได้หรือยัง จะพูดถึงความสำคัญของวิชาภูมิศาสตร์ เพราะวิชาภูมิศาสตร์เป็นอะไรที่มากกว่าที่คนส่วนใหญ่เขาจะคิดกัน ภูมิศาสตร์จะเป็นเรื่องของพื้นที่ ขณะที่ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องของเวลา ภูมิศาสตร์จะพูดถึงความสัมพันธ์ทางพื้นที่ที่จะถูกพิจารณาว่าเป็นประเด็นที่สำคัญของกระบวนการเกิดบนพื้นโลกทั้งทางด้านกายภาพและทางด้านมนุษย์ ที่ถูกแยกสลายออกไปเลยไม่ได้รับการผนวกเข้ากับภาพรวมโปรแกรมพื้นที่ศึกษา ทำให้ภูมิสาสตร์ถูกละเลยไปในที่สุด

    2.2 บทความบทนี้มีประเด็นอะไรที่คุณไม่เคยรู้มาก่อนเลยในชีวิต

    สาขาวิชาภูมิศาสตร์นั้นได้ถูกละเลยที่จะขยายความรู้ออกไป ขณะที่สาขาวิชาอื่นๆ ไม่เคยต้องเผชิญแบบเดียวกันเลยในสมัยปัจจุบัน ตัวอย่างเช่นเฉพาะมหาวิทยาลัยในกลุ่มไอวีลีก ที่พยายามจะทำอย่างนั้นกับสาขาวิชาภูมิศาสตร์ โดยไม่กระทำต่อสาขาวิชามานุษยวิทยา ชีววิทยา ประวัติศาสตร์คณิตศาสตร์ และสังคมวิทยา ซึ่งแน่นอนว่าเราสามารถพบเห็นว่ามีการเรียนการสอนระดับปริญญาเอกในสาขาวิชาเหล่านั้นทั้งหมด และก็ยังมีปริญญาเอกสาขาอื่นๆ อีก แต่ไม่มีสาขาภูมิศาสตร์เลย ยกเว้นก็แต่เพียงที่มหาวิทยาลัยดาร์ทเมาท์ ที่เดียวที่มีระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจมาก เพราะว่าภูมิศาสตร์ เป็นศาสตร์เริ่มต้นของหลายๆศาสตร์ แต่กลับไม่มีใครสนใจในพื้นฐาน ของการเรียนรู้ศาสตร์อื่นๆเลย
    2.3 ให้แต่ละคนเลือกประเด็นสำคัญ (ตามความเห็นของตัวเอง) แล้วหาความรู้จากโลกไซเบอร์เพิ่มเติม นอกเหนือจากที่ได้เขียนไว้ในบทความบทนี้

    ประเด็นที่น่าสนใจคือ ทุกวันนี้ มีความไม่เต็มใจอย่างเห็นได้ชัด ในการที่จะกล่าวถึงภูมิศาสตร์ ซึ่งสาขาวิชาภูมิศาสตร์นั้นมีมุมมองและวิธีการที่จำเป็น และอย่างน้อยก็มีความสำคัญเท่าๆ กับวิชาอื่นๆ แต่ภูมิศาสตร์ถูกล้างผลาญ ถูกต้องสมญานาม และถูกแยกส่วน และส่วนต่างๆ ที่ถูกแยกสลายออกไปไม่มีเลยที่จะได้รับการผนวกเข้ากับภาพรวม โปรแกรมพื้นที่ศึกษา คือ การผสานกันระหว่าง วิธีการ โปรแกรมและข้อมูลภูมิสาระสนเทศ อธิบายง่ายๆก็คือ องค์ความรู้ ข้อมูล และโปรแกรม เพื่องานด้านภูมิสารสนเทศดูจะเป็นศูนย์รวมของการทำงานของผู้เชี่ยวชาญทั้งหลาย ที่มีความรู้เกี่ยวกับภูมิภาคต่างๆ อย่างแท้จริง เพราะพวกเขาไม่ได้คิดให้เป็นปรกติ เกี่ยวกับพื้นที่และหานิยามพื้นที่แบบที่นักภูมิศาสตร์ทำอย่างเป็นปรกติ

    นายอรรถพล มาลาวัลย์ สาขาภูมิศาสตร์ ปี 3 51161199

    ตอบลบ
  25. Bring Back Geography
    2.1ภูมิศาสตร์ความคิดที่เกี่ยวเนื่องกับพื้นที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่มีวิธีการและเครื่องมือ มีองค์ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ และมีเทคโนโลยีสารสนเทศที่พัฒนาการต่อเนื่องยาวนานมาหลายศตวรรษ ภูมิศาสตร์เป็นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาชนและสถานที่ และเป็นการรับรู้ถึงปัจจัยเชิงสถานที่ที่จะมีผลต่อสิ่งมีชีวิตในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ภูมิศาสตร์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ภูมิศาสตร์ถือเป็นมิติหนึ่งของวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ที่มีรากฐานทางพื้นที่ ทำเลที่ตั้ง การเคลื่อนที่เลื่อนไหล และความสัมพันธ์ทางพื้นที่ที่ถูกพิจารณาว่าเป็นประเด็นสำคัญของกระบวนการบนพื้นโลกทั้งทางด้านกายภาพและวัฒนธรรม จุดเน้นหลักของภูมิศาสตร์ คือ การวิเคราะห์ทางพื้นที่ (Spatial Analysis) เป็นการวิจัยที่วางอยู่บนฐานของพื้นที่ (Place-Based Research) ทั้งด้านภูมิภาคศึกษา พื้นที่ศึกษา และพาราศึกษา และเป็นบูรณาการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Integration)
    2.2วิชาภูมิศาสตร์ได้รับการจัดตั้งมาตั้งแต่เมื่อ 2,500 ปีก่อน และมีการประยุกต์ให้ก้าวหน้าขึ้นโดยนักปราชญ์สมัยกรีก โรมัน และจีน นั่นเรียกว่าพัฒนาการของภูมิศาสตร์ในยุคโบราณ (Classical Age)เมื่อเข้าสู่สมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (Renaissance) วิชาภูมิศาสตร์และดาราศาสตร์ซึ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างมาก เพราะทั้งสองวิชานี้มีหลักการสำคัญเกี่ยวกับพื้นที่ ก็ได้กลายเป็นวิชาที่โดดเด่นเป็นอย่างมาก นับได้เป็นเวลาหลายพันปีแล้วที่วิชาภูมิศาสตร์ได้รับความสนใจและให้คุณค่าจากนักปราชญ์ พ่อค้าวาณิชย์ และนักปกครอง และแล้วก็ก้าวเข้าสู่ยุคกลาง (Middle Age)เป็นยุคที่มีการเข้ามาแทรกแซงของศาสนจักรอย่างมาก เชื่อหรือไม่ว่า วิชาภูมิศาสตร์ถูกทำให้กลายเป็นแฟนตาซีไปเสียแล้ว แม้ว่ายุคนี้จะกินเวลายาวนานเป็นพันปี แต่ก็ยังดีที่ตัวองค์ความรู้จริงๆ ได้รับการอนุรักษ์ไว้โดยพระชาวไอริช และมีกาประยุกต์ให้ก้าวหน้าเรื่อยๆ โดยปราชญ์อาหรับและเปอร์เซีย จนกระทั่งมารื้อฟื้นกันใหม่โดยปราชญ์ชาวยุโรปที่เป็นศูนย์กลางของการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ จนทำให้เกิดการสำรวจดินแดนต่างๆ ทั่วโลกในยุคสำรวจ
    2.3 วิชาภูมิศาสตร์ได้ก้าวผิดพลาดไปไกลเกินกว่าที่สาธารณะจะได้หันมาร่วมตระหนัก
    เห็นได้จากการที่ไม่มีนักการเมืองหรือนักข่าวที่พยายามจะค้นหาข้อความสนทนาทางด้านภูมิศาสตร์ที่เป็นทางการ อันเป็นสาระสำคัญในการสร้างสันติภาพหรือการก่อสงครามเลยแม้แต่น้อย ทุกวันนี้ไม่มีความรู้อะไรที่จะยิ่งใหญ่ไปกว่าสิ่งที่จะวางอยู่ระหว่างความรู้ความเข้าใจของสาธารณชนในด้านภูมิศาสตร์และความจริงที่นักภูมิศาสตร์ต้องทำจริงๆ นักภูมิศาสตร์ทุกคนยังคงช่วยเตือนความทรงจำของประชาชนที่ทนทุกข์ทรมานจากการเข้าใจผิดอย่างจงใจ บางคนก็สนุกสนานกับมัน บางคนก็แดกดันมันอย่างเสียมิได้

    นายพิษณุ ป้อมแก้ว ปี 3 51161069

    ตอบลบ
  26. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  27. 2.1 หาประเด็นสำคัญในนั้นให้ได้ ว่าบทความนี้ต้องการสื่ออะไรออกมา ต้องการให้คนอ่านรู้เรื่องอะไร ประเด็นสำคัญที่ว่านั้นมีสาระสำคัญว่าอย่างไร
    สาขาวิชาภูมิศาสตร์นั้นมีมุมมองและวิธีการที่จำเป็นอย่างน้องก็มีความสำคัญเท่าๆ กับวิชาอื่นๆ แต่ภูมิศาสตร์ถูกล้างผลาญ ถูกต้องสมญานาม และถูกแยกส่วน และส่วนต่างๆ ที่ถูกแยกสลายออกไปไม่มีเลยที่จะได้รับการผนวกเข้ากับภาพรวม โปรแกรมพื้นที่ศึกษา อย่างที่สองคือว่า สาขาวิชาภูมิศาสตร์นั้นได้ถูกละเลยที่จะขยายความรู้ออกไป ขณะที่สาขาวิชาอื่นๆ ไม่เคยต้องเผชิญแบบเดียวกันเลย ทำอย่างไรล่ะ!ภูมิศาสตร์จึงจะกลับคืนมา นักภูมิศาสตร์ต้องช่วยกันพูดถึงภูมิศาสตร์ให้ผู้อื่นฟังให้มากๆ 1 ประเด็นสำคัญของบทความนี้ต้องการสื่อว่าภูมิศาสตร์กำลังจะถูกปิดตัวลงถ้านักภูมิสาสตร์ไม่ช่วยกัน อธิบายให้สังคมรู้ว่าภูมิศาสตร์กำลังทำอะไร
    2.2 บทความบทนี้มีประเด็นอะไรที่คุณไม่เคยรู้มาก่อนเลยในชีวิต (เลือกมาประเด็นเดียว) ประเด็นสำคัญที่ว่านั้นมีสาระสำคัญว่าอย่างไร
    การล้างมลทินภูมิศาสตร์ ระหว่างสงคราม นักภูมิศาสตร์หนึ่งในสามของนักภูมิศาสตร์ถูกเรียกตัวเข้าไปที่กรุงวอชิงตัน ดีซี เพื่อทำงานสนับสนุนสำนักงานวางแผนยุทธศาสตร์ (OSS: Office of Strategic Services) และองค์กรอื่นๆ ที่ทำงานเพื่อรองรับภาวะสงคราม ในการทำหน้าที่เหล่านั้น โบว์แมนมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก
    สาระสำคัญคือสมัยนั้นนักภูมิศาสตร์เข้ามามีบทบาททางการทหารของสหารัฐอย่างมากโดยเฉพาะโบว์แมน โดยทำงานสนับสนุนวางแผนยุทธศาสตร์ทางการทหาร

    2.3 ให้แต่ละคนเลือกประเด็นสำคัญ (ตามความเห็นของตัวเอง) แล้วหาความรู้จากโลกไซเบอร์เพิ่มเติม นอกเหนือจากที่ได้เขียนไว้ในบทความบทนี้
    เราสามารถช่วยอะไรกันได้บ้าง
    นักภูมิศาสตร์เป็นผู้ที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักมากนัก หลายคนคิดว่าวิชาภูมิศาสตร์นั้นเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับรัฐและเมืองหลวงของรัฐต่างๆตั้งอยู่ที่ไหนบาง บางคนคิดว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับพรมแดน บางคนคิดว่าเป็นเรื่องทางกายภาพเพียงอย่างเดียวมีบ้างบางคนที่คิดว่าเป็นเรื่องทางสังคมวัฒนธรรม รวมถึงสาระบบสนเทศภูมิศาสตร์ซึ่งมันก็ดูสื่อสารให้เห็นภาพได้ดี แต่ว่านั่นเป็นเพียงเศษเสี้ยวเล็กๆเพียงเสี้ยวเดียวที่นักภูมิศาสตร์เขาศึกษาเล่าเรียนกัน เหตุนี้ทำให้สาขาวิชาภูมิศาสตร์นั้นได้ถูกละเลยที่จะขยายความรู้ออกไป ขณะที่สาขาวิชาอื่นๆ ไม่เคยต้องเผชิญแบบเดียวกันเลย ทำอย่างไรล่ะภูมิศาสตร์จึงจะกลับคืนมา นักภูมิศาสตร์ต้องช่วยกันพูดถึงภูมิศาสตร์ให้ผู้อื่นฟังให้มากๆ
    การปรับตัวเพื่อให้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น จึงเกิดการนำศาสตร์ทางด้านเทคโนโลยีภูมิศาสตร์ เข้ามาเป็นเครื่องมือในกระบวนการศึกษาวิเคราห์ ทั้งนี้เนื่องจากเทคโนโลยีภูมิศาสตร์สามารถประยุกต์ใช้กับงานด้านต่างๆ ที่หลากหลาย เช่นการวิเคราะห์ข้อมูลภาพจากดาวเทียม รูปถ่ายทางอากาศ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น จึงสามารถนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ศึกษาวิเคราะห์ เพื่อการวางแผนและพัฒนาประเทศชาติในด้านต่างๆได้ ทั้งทางด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และรวมถึงสิ่งแวดล้อม เช่น ภัยพิบัติธรรมชาติ

    นาย ธเนศ ฤทธิ์ชาวนา 51160956

    ตอบลบ
  28. 2.1วิชาภูมิศาสตร์ในสหรัฐอเมริกาได้มีการเปลี่ยนแปลง และส่งผลกระทบไปทั่วประเทศโดยได้มีการล้มสาขาวิชาภูมิศาสตร์ลง จะได้ตั้งชื่อใหม่ขึ้นมา เรียกว่า “วิทยาศาสตร์ระบบของโลก” (Earth System Science) มหาวิทยาลัยโคลัมเบียล้มล้างภาควิชาภูมิศาสตร์ออกไปจากสาระบบเมื่อปี ค.ศ.1986 และได้สร้างสถาบันโลก (Earth Institute) ขึ้นมา เพื่อบูรณาการการสอนเกี่ยวกับโลก สิ่งแวดล้อม และสังคมขึ้นมาแทน ปี ค.ศ.2005มหาวิทยาลัยฮาร์วาดได้ประกาศเลยว่า จะมีเรียนการสอนในด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ แต่ไม่ใช่วิชาภูมิศาสตร์ โดยมีการตั้งศูนย์ใหม่ขึ้นมารองรับ คือ ศูนย์สำหรับงานวิเคราะห์เชิงพื้นที่ (Center for Geographic Analysis)
    2.2สภาผู้แทนราษฎรแห่งมลรัฐอินเดียน่าผ่านเสียงเป็นเอกฉันท์ในการปรับแก้กฎหมายลำดับที่ 246 ในการปรับแก้เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงค่าพาย (π)มีค่าเท่ากับ 3.1415 ให้เหลือค่าแค่เท่ากับ 3 เท่านั้นแต่ยังโชคดีที่ร่างกฎหมายฉบับนี้ต้องล้มเหลวลงก่อนที่จะไปถึงวุฒิสภา และได้รับการขัดขวางโดย คลาเรนซ์ เอ วัลโด (Clarence A. Waldo) ศาสตราจารย์สาขาวิชาคณิตศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเปอร์ดู (Purdue University) เพราะว่าถ้าเกิดแก้ค่าพายสำเร็จจะมีผลต่อการคำนวณในทางภูมิศาสตร์ด้วยเหมือนกัน ก็คือค่าที่คำนวณได้อาจจะเป็นค่าที่มีความผิดพลาดหรือคาดเคลื่อนมากอีกด้วย
    2.3ในปัจจุบันนี้สาขาวิชาภูมิศาสตร์พวกเราควรจะทำงานอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอันและแสดงให้คนอื่นเห็นถึงคุณค่าของสาขานี้ โดยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์นั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของสาขาภูมิศาสตร์ โดยมีประโยชน์ในด้านการทำแผนที่ การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ การดัดแก้ภาพถ่าย เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราที่เรียนสาขานี้ควรจะต้องทำเป็น เพื่อเวลาทำงานจะได้แสดงให้คนอื่นได้เห็นว่าสาขานี้ยังสามารถทำได้อีกหลายอย่างมากมายโดยมีหน่วยงานที่รับนักภูมิศาสตร์เข้าทำงานเยอะเหมือนกัน เช่น
    กรมแผนที่ทหาร กรมที่ดิน กรมป่าไม้ กรมผังเมือง และบริษัทเอกชนอื่นๆอีกที่ทำเกี่ยวกับแผนที่ เป็นต้น ส่วนงานที่เด่นชัดเลยในปัจจุบันก็คือ การสร้างเขื่อนก็มีการใช้ภาพถ่ายทางอากาศในการศึกษาโครงสร้างภูมิประเทศ และแนวเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้านนี้ก็เกี่ยวกับนักภูมิศษสตร์เหมือนกันในภาพถ่ายทางอากาศ
    นายบัญชา อู่พุฒินันท์ 51161007

    ตอบลบ
  29. 2.1 หาประเด็นสำคัญในนั้นให้ได้ ว่าบทความนี้ต้องการสื่ออะไรออกมา ต้องการให้คนอ่านรู้เรื่องอะไร ประเด็นสำคัญที่ว่านั้นมีสาระสำคัญว่าอย่างไร
    สาขาวิชาภูมิศาสตร์นั้นมีมุมมองและวิธีการที่จำเป็นอย่างน้อยก็มี
    ความสำคัญเท่าๆ กับวิชาอื่นๆ แต่ภูมิศาสตร์ถูกล้างผลาญ ถูกต้องสมญานาม และถูกแยกส่วน และส่วนต่างๆ ที่ถูกแยกสลายออกไปไม่มีเลยที่จะได้รับการผนวกเข้ากับภาพรวม สาขาวิชาภูมิศาสตร์นั้นได้ถูกละเลยที่จะขยายความรู้ออกไป ขณะที่สาขาวิชาอื่นๆ ไม่เคยต้องเผชิญแบบเดียวกันเลยในสมัยปัจจุบัน หลายๆคนที่มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับบทบาทและความสำคัญของวิชาภูมิศาสตร์ซึ่งทำให้สาขาวิชานี้ถูกมอง“ภูมิศาสตร์ไม่ใช่วิชาที่จะต้องสอนกันในระดับมหาวิทยาลัย” ถึงเวลาแล้วที่นักภูมิศาสตร์จะต้องร่วมกันต่อสู้ให้สาขาวิชาภูมิศาสตร์
    ฟื้นกลับมาอีกครั้งโดยการ
    1.ช่วยกันกล่าวคำนั้น
    2.บอกประชาชนว่า ภูมิศาสตร์คืออะไร
    3.อธิบายให้ผู้บริหารฟังให้ได้
    4.ใช้วิธีการล๊อบบี้ให้เกิดระเบียบวาระเชิงนิติบัญญัติอย่างสมเหตุสมผล
    5.วางเป้าหมายให้ใหญ่เข้าไว้

    ตอบลบ
  30. 2.3 ให้แต่ละคนเลือกประเด็นสำคัญ (ตามความเห็นของตัวเอง) แล้วหาความรู้จากโลกไซเบอร์เพิ่มเติม นอกเหนือจากที่ได้เขียนไว้ในบทความบทนี้
    ภูมิรัฐศาสตร์(Geopolitics) เป็นสาขาวิชาสำคัญของการวิจัย
    ทางวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นการวิจัยที่ทำโดยนักภูมิศาสตร์ และยังมีอิทธิพลต่อภาคการเมืองในโลกของความเป็นจริงที่มีขนาดใหญ่
    แนวทางนโยบายต่างประเทศที่พยายามอธิบายและพยากรณ์พฤติกรรมทางการเมืองและขีดความสามารถทางด้านการทหารในแง่ของสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ด้วยเหตุนี้ภูมิรัฐศาสตร์จึงเป็นนิยัตินิยมทางประวัติศาสตร์ที่อิงอาศัยภูมิศาสตร์ในระดับต่างๆ ฟรีดริช รัตเซล(1724-1804) ได้เปรียบเทียบรัฐกับอินทรีย์ที่มีชีวิตซึ่งจะต้องขยายพื้นที่ออกไปมิฉะนั้นก็จะต้องตาย สานุศิษย์ของรัตเซล ชื่อ รูดอล์ฟ เจลเลน(1864-1922) ก็ได้ดำเนินรอยตามกระบวนการเปรียบเทียบรัฐกับอินทรีย์นี้โดยกล่าวว่ารัฐเป็นอะไรมากไปกว่าแนวความคิดทางกฎหมาย เจลเลนได้พัฒนากฎเกณฑ์ว่าด้วยรัฐโดยกล่าวว่าเป็น ”อินทรีย์ทางภูมิศาสตร์ในเทศะ” และได้ตั้งชื่อกฎเกณฑ์เหล่านี้ว่า”ภูมิรัฐศาสตร์” ไว้ในหนังสือของเขาที่ชื่อ รัฐในฐานะที่เป็นรูปแบบแห่งชีวิตอย่างหนึ่ง (1916) หลักการของภูมิรัฐศาสตร์นี้ถึงแม้จะสร้างทฤษฎีโดยอิงภูมิศาสตร์และมีการนำเสนอในแง่ของการวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์แต่ก็เต็มไปด้วยสิ่งโฆษณาชวนเชื่ออยู่มากมาย เกียรติภูมิของภูมิรัฐศาสตร์เสื่อมเสียไปมากเพราะนักภูมิรัฐศาสตร์อย่างเช่น คาร์ล เฮาโชเฟอร์(1869-1946)มักจะให้การสนับสนุนอุดมการณ์ทางการเมืองหรือนโยบายแห่งชาติอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการเฉพาะ โดยพวกเขาจะพยายามอธิบายหรืออ้างเหตุผลให้การสนับสนุนในแง่ของการอ้างเหตุผลโดยอิงหลักภูมิศาสตร์ ศัพท์ว่า ภูมิรัฐศาสตร์ นี้ก็ยังอาจจะนำไปใช้เพื่ออธิบายภูมิศาสตร์การเมืองที่พิจารณาในแง่ของโครงสร้างของโลกและรัฐที่เป็นองค์ประกอบของโลก หรืออาจจะใช้หมายถึงการวางแผนนโยบายต่างประเทศในรูปแบบที่นำองค์ประกอบทางภูมิศาสตร์ต่างๆมาใช้เป็นข้อพิจารณา ความสำคัญ เหตุการณ์ทางการเมืองต่างๆมักจะเกิดในบริบททางภูมิศาสตร์ และองค์ประกอบทางภูมิศาสตร์อาจมีอิทธิพลต่อกระแสของเหตุการณ์ได้ แต่ตัวมนุษย์เรานี่เองไม่ใช่ภูมิศาสตร์ที่ไหนที่เป็นผู้สร้างเหตุการณ์ทางการเมือง ภูมิศาสตร์คือส่วนผสมขององค์ประกอบต่างๆ เช่น ขนาด ที่ตั้ง ภูมิอากาศ และภูมิประเทศเท่านั้นเอง นอกจากนี้แล้วภูมิศาสตร์เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งแต่ก็มิใช่ว่าจะเป็นปัจจัยเพียงหนึ่งเดียวโดยลำพังของอำนาจชาติ ความสำคัญของภูมิศาสตร์มีความสัมพันธ์กับข้อพิจารณาอื่นๆ เป็นต้นว่า เศรษฐกิจ เทคโนโลยี พลังมนุษย์ และขวัญด้วย การที่เราจะตีค่าปัจจัยทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้โดยพิจารณาเข้าด้วยกันว่าเป็นสมการอำนาจชาติได้นั้นจะมีความหมายก็ต่อเมื่อนำไปสัมพันธ์กับสมการอำนาจของรัฐอื่นๆโดยพิจารณาในบริบทของห้วงเวลา สถานที่ และสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการเฉพาะเท่านั้น ข้อเท็จจริงทางภูมิศาสตร์เป็นสิ่งที่นักปฏิบัตินโยบายต่างประเทศจะต้องนำมาพิจารณาอย่างต่อเนื่องก็จริง แต่ทั้งนี้ก็มิได้หมายความว่าปัจจัยทางภูมิศาสตร์นี้จะเป็นปัจจัยคงที่อยู่ตลอดไป ยกตัวอย่างเช่น การมีพรมแดนติดต่อกับรัฐอื่นโดยไม่มีสิ่งกีดขวางทางธรรมชาตินั้นจะช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อสัมพันธ์กับรัฐนั้นก็ได้ไม่จำเป็นว่าจะทำให้เกิดความขัดแย้งกันเสมอไป สภาพน้ำแข็งในขั้วโลกอาจจะเป็นสิ่งกีดขวางทางธรรมชาติทำให้รัฐที่อยู่ในอาณาบริเวณนั้นไม่สามารถพัฒนาเป็นมหาอำนาจทางทะเลได้ แต่สภาพทางภูมิศาสตร์เช่นนี้ไม่ได้เป็นอุปสรรคขัดขวางรัฐเช่นนี้พัฒนาเป็นมหาอำนาจทางอากาศแต่อย่างใด ทฤษฎีทางภูมิศาสตร์มีลักษณะไม่ผิดอะไรไปจากทฤษฎีที่ใช้เหตุผลอย่างเดียวในการตีความทางประวัติศาสตร์ทั้งหลายอย่างเช่นนิยัตินิยมทางเศรษฐกิจเป็นต้น คือ ไม่สามารถใช้อธิบายพฤติกรรมมนุษย์อย่างสมบูรณ์เป็นที่น่าพอใจได้ อย่างไรก็ดีทฤษฎีทางภูมิศาสตร์นี้เป็นแนวทางที่มีประโยชน์ต่อการนำมาใช้ศึกษาการเมืองระหว่างประเทศที่มีความซับซ้อนได้อย่างกว้างไกลได้ดียิ่งขึ้น
    นางสาวพรภิมล เย็นขันื51161052

    ตอบลบ
  31. 1. ประเด็นสำคัญของบทความ “ เอาภูมิศาสตร์ กลับมารึยัง(Bring Back Geography) ” คือ วิชาภูมิศาสตร์มีความสำคัญมากกว่าที่คนส่วนใหญ่คิดกัน ภูมิศาสตร์ถือเป็นมิติหนึ่งของวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ที่มีรากฐานอยู่บนตรรกะทางพื้นที่ ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับทำเลที่ตั้ง การเคลื่อนที่เลื่อนไหล และความสัมพันธ์ทางพื้นที่ที่ถูกพิจารณาว่าเป็นประเด็นสำคัญของกระบวนการบนพื้นโลกทั้งทางด้านกายภาพและวัฒนธรรม จุดเน้นหลักของภูมิศาสตร์ คือ การวิเคราะห์ทางพื้นที่ (Spatial Analysis) เป็นการวิจัยที่วางอยู่บนฐานของพื้นที่ (Place-Based Research) ทั้งด้านภูมิภาคศึกษา พื้นที่ศึกษา และพาราศึกษา และเป็นบูรณาการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Integration)มีองค์ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ และมีเทคโนโลยีสารสนเทศที่พัฒนาการต่อเนื่องยาวนาน ต่อมาวิชาภูมิศาสตร์ได้ถูกละเลย ถูกดัดแปลงไปกับวิชาอื่นๆ ทำให้ถูกลบล้างไปจากหลายๆสถาบัน แต่ก็ยังมีอีกหลายๆสถาบันที่เห็นความสำคัญพยายามฟื้นฟู นำภูมิศาสตร์กลับคืนมา พยายามสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน ให้เห็นความสำคัญ และปกป้องสาขาวิชานี้ไว้
    2. ในบทความนี้มีประเด็นที่ไม่เคยรู้มาก่อน คือ การตั้งสมญานามภูมิศาสตร์ หากว่าในโลกนี้ไม่มีวิชาภูมิศาสตร์ปรากฏอยู่ อาจจะต้องมีการค้นพบวิชาภูมิศาสตร์ขึ้นมา มีอยู่ 4 กรณีที่ค้นพบโดยไม่ได้ตั้งใจคือ 1.) มีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนองค์กรเพื่อสร้างโปรแกรมด้านพื้นที่ศึกษา (Area Studies Programs) ขึ้นในมหาวิทยาลัยทั่วสหรัฐอเมริกา 2.) 40 ปีของการล้มสาขาวิชาภูมิศาสตร์ลง นักภูมิศาสตร์ก็ได้พิจารณาในที่ประชุมนานาชาติว่าวิชาภูมิศาสตร์ได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่อีกครั้งแล้ว 3.)มหาวิทยาลัยโคลัมเบียล้มล้างภาควิชาภูมิศาสตร์ออกไปจากสายระบบ ต่อมาก็ได้สร้างสถาบันโลก (Earth Institute) ขึ้นมา เพื่อบูรณาการการสอนเกี่ยวกับโลก สิ่งแวดล้อมและสังคม 4.)มีการให้ปรับปรุงแก้ไขอย่างจริงจังเกี่ยวกับเครื่องหมายแสดงมาตรฐานขั้นสูงของวิชาภูมิศาสตร์ ที่จะต้องให้ความรู้แบบกว้างๆ ของศาสตร์ที่หลากหลาย และจะต้องทำให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นกว่าแต่ก่อนเกี่ยวกับวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองของต่างชาติ
    3. เอาสาขาวิชาภูมิศาสตร์กลับมา
    เราควรตระหนักและเห็นความสำคัญของวิชาภูมิศาสตร์ให้มากขึ้น เพราะว่านำเอาไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่นในการทำสงคราม การพัฒนาประเทศและ อื่นๆ อีกมากมาย อย่างพลเอกเดวิด เอช เปเตรอุส เป็นคนที่เฉลียวฉลาด นำเอาวิชาภมิศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อเข้าใจสภาพภูมิประเทศในการทำสงคราม ถ้าเรามีความเข้าใจในวิชาภูมิศาสตร์ เราก็ย่อมนำเอาวิชาภูมิศาสตร์มาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆมากมาย ดั้งนั้น สาขาวิชาภูมิศาสตร์จึงไม่ให้สูญหายไปจากโลก
    นางสาวประรัตดา จันทะคุณ รหัส51163414 ปี 3

    ตอบลบ
  32. 2.1 หาประเด็นสำคัญในนั้นให้ได้ เนื่องจากวิชาภูมิศาสตร์คนส่วนใหญ่คนก็บอกว่าภูมิศาสตร์ หมายถึง การรู้ว่าสถานที่ใดตั้งอยู่ที่ไหน ภูมิศาสตร์เป็นอะไรมากมายกว่าที่คนส่วนใหญ่คิดกัน ภูมิศาสตร์เป็นเรื่องของพื้นที่ เป็นวิถีของความคิดที่เกี่ยวเนื่องกับพื้นที่ เป็นวิทยาศาสตร์ที่มีวิธีการและเครื่องมือ มีองค์ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ และมีเทคโนโลยีสารสนเทศที่พัฒนาการต่อเนื่อง การเอาภูมิศาสตร์กลับมานั้นเป็นสิ่งที่สมควรเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าในอดีตนักภูมิศาสตร์ได้ใช้ความรู้ที่ตนเองมีอยู่ในการพัฒนาประเทศและโลกของเรา เช่นด้านการเมือง การทหารการปกครอง ด้านเศรษฐกิจ แม้กระทั้งการสร้างสันติภาพให้โลก และงานในหลายๆอย่างจะต้องใช้ความรู้ด้านภูมิศาสตร์ในการทำ หากใช้สาขาวิชาอื่นทำงาน งานจะออกมาได้ไม่ดีเหมือนกับสาขาภูมิศาสตร์ทำ จากที่มีการปิดตัวลงของภาควิชาภูมิศาสตร์ในมหาวิทยาลัยหลายๆแห่งมันไม่ได้ทำให้ภูมิศาสตร์หายไป แต่มันเป็นการหายไปของแก่นแท้และทักษะทางภูมิศาสตร์ เพราะว่ามีการเปิดสอนสาขาวิชาวิทยาศาสตร์โลก วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและอื่นๆ ขึ้นมาแทน เราจะต้องช่วยกันนำอาความเป็นภูมิศาสตร์ที่เป็นแก่นแท้ และทักษะที่แท้จริงของภูมิศาสตร์กลับคืนมาและสร้างสาขาวิชาภูมิศาสตร์ให้เทียบเท่ากับสาขาวิชาอื่นๆ
    2.2 บทความบทนี้มีประเด็นอะไรที่คุณไม่เคยรู้มาก่อนเลยในชีวิต คือ การตั้งสมญานามภูมิศาสตร์
    ถ้าหากว่าในโลกนี้ไม่มีวิชาภูมิศาสตร์ปรากฏอยู่ อาจจะต้องมีการค้นพบวิชาภูมิศาสตร์ขึ้นมา 1. สิบปีของการล้มสาขาวิชาภูมิศาสตร์ลง สภาสูงได้มีมติ ที่มีผลต่อการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนองค์กรเพื่อสร้างโปรแกรมด้านพื้นที่ศึกษา ในมหาวิทยาลัยทั่วสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา
    2.สี่สิบปีของการล้มสาขาวิชาภูมิศาสตร์ลง ได้ลงนามในเค้าโครงการสร้างวิชาวิทยาศาสตร์ใหม่ขึ้นมา เรียกว่า “วิทยาศาสตร์ระบบของโลก”
    3.มหาวิทยาลัยโคลัมเบียล้มล้างภาควิชาภูมิศาสตร์ และต่อมาก็ได้สร้างสถาบันโลก (Earth Institute) ขึ้นมา เพื่อบูรณาการการสอนเกี่ยวกับโลก สิ่งแวดล้อม และสังคม
    4.มหาวิทยาลัยฮาร์วาดไม่เปิดสอนสาขาวิชาภูมิศาสตร์ มีการรายงานให้ปรับปรุงแก้ไขอย่างจริงจังเกี่ยวกับมาตรฐานขั้นสูงของวิชาภูมิศาสตร์ ที่จะต้องให้ความรู้แบบกว้างๆ ของศาสตร์ที่หลากหลาย และจะต้องทำให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นกว่าแต่ก่อนเกี่ยวกับวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองของต่างชาติ
    2.3 ให้แต่ละคนเลือกประเด็นสำคัญ คือ การล้างมลทินภูมิศาสตร์ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่นานวิชาภูมิศาสตร์ในสหรัฐอเมริกาก็ถึงคราวต้องจมลง และส่งผลกระทบต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้ โดยระหว่างปี ค.ศ.1948-1988 วิชาภูมิศาสตร์ได้ล้มหายไปจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงหลายๆแห่งและไม่มีการเรียนการสอนในระดับประถมและมัธยม โดยไม่มีใครรู้ความจริงเลยว่า ทำไมสาขาวิชาภูมิศาสตร์จึงเป็นที่เพ่งเล็งและถูกกระทำเช่นนี้ การล้างมลทินเกิดขึ้นเมื่อ สาขาวิชาภูมิศาสตร์ก็กระดี๊กระด๊ากับการผุดขึ้นมาใหม่ของอะไรบางอย่าง นั่นก็คือ ความสำเร็จอย่างเป็นปรากฏการณ์ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และความจำเป็นต่อการทำความเข้าใจที่มากขึ้นเกี่ยวกับดินแดนและประชาชนในต่างประเทศภายใต้ยุคโลกภิวัติ และยุคที่มีการรวมตัวกันในกรอบของภูมิรัฐศาสตร์ วิชาภูมิศาสตร์ได้รับการยอมรับร่วมกับสาขาวิชาอื่นๆ มากขึ้น และบางคนก็ให้การยอมรับต่อจุดเด่นที่สำคัญของวิชาภูมิศาสตร์ นั่นก็คือ การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ การวิจัยที่เน้นสถานที่เป็นสำคัญ และการบูรณาการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งการโผล่ผุดขึ้นมาที่ว่านี้ในวิชาภูมิศาสตร์มีความหมายเป็นที่ทราบทั่วกันว่า ภาควิชาภูมิศาสตร์ที่มีอยู่กำลังเพิ่มบุคลากรและจัดการเรียนการสอนภายใต้ชื่อปริญญาใหม่ๆ ขึ้นมา
    นายธีรพัฒน์ จันฉิม รหัส51163384

    ตอบลบ
  33. ไม่ระบุชื่อ24 มีนาคม 2554 เวลา 07:16

    ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  34. 2.1 หาประเด็นสำคัญในนั้นให้ได้ ว่าบทความนี้ต้องการสื่ออะไรออกมา ต้องการให้คนอ่านรู้เรื่องอะไร ประเด็นสำคัญที่ว่านั้นมีสาระสำคัญว่าอย่างไร

    ทุกวันนี้วิชาภูมิศาสตร์อาจถูกอธิบายด้วยสิ่งที่ปรากฏรอบๆ กาย แต่จะต้องมาถามกันชัดๆ อีกทีว่า วิชาภูมิศาสตร์นั้นเกี่ยวถึงเรื่องอะไรกันแน่ บางคนก็บอกว่าภูมิศาสตร์ หมายถึง การรู้ว่าสถานที่ใดตั้งอยู่ที่ไหน ซึ่งอันนั้นนักภูมิศาสตร์เขาจะเรียกว่า ภูมิศาสตร์นามของสถานที่ (Place-Name Geography) มันก็ดูสื่อสารให้เห็นภาพได้ดี แต่ว่านั่นเป็นเพียงเศษเสี้ยวเล็กๆ เพียงเสี้ยวเดียวที่นักภูมิศาสตร์เขาศึกษาเล่าเรียนกัน

    จากบทความดังกล่าวได้แสดงถึงความสำคัญของวิชาภูมิศาสตร์ซึ่งกำลังถูกมองข้ามทางสังคมเนื่องจาไม่มีมีทฤษฎีและกฎต่างๆในการอธิบายเหมือนกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งความเป็นจริงแล้ววิชาภูมิศาสตร์มีความสำคัญในบทบาทของชีวิตมากว่าวิทยาศาสตร์เสียอีกเพราะไม่ว่าจะเดินไปทางไหนก็ต้องมีทิศทางในการเดินที่ถูกต้องจึงจะไปถึงจุดหมายได้

    2.2 บทความบทนี้มีประเด็นอะไรที่คุณไม่เคยรู้มาก่อนเลยในชีวิต (เลือกมาประเด็นเดียว) ประเด็นสำคัญที่ว่านั้นมีสาระสำคัญว่าอย่างไร

    ยุคกลาง (Middle Age) แม้ว่ายุคนี้จะกินเวลายาวนานเป็นพันปี แต่ก็ยังดีที่ตัวองค์ความรู้จริงๆ ได้รับการอนุรักษ์ไว้โดยพระชาวไอริช และมีกาประยุกต์ให้ก้าวหน้าเรื่อยๆ โดยปราชญ์อาหรับและเปอร์เซีย จนกระทั่งมารื้อฟื้นกันใหม่โดยปราชญ์ชาวยุโรปที่เป็นศูนย์กลางของการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ จนทำให้เกิดการสำรวจดินแดนต่างๆ ทั่วโลกในยุคสำรวจ (Exploration Age) ที่อยู่ในช่วง ค.ศ.1450-1948 การค้นหาข้อมูลสารสนเทศและขยายดินแดนไปทางตะวันตก ในช่วง ค.ศ.1600-1900 และยุคของการใช้แนวทางภูมิรัฐศาสตร์ ในช่วง ค.ศ.1915-1947

    จากบทความดังกล่าวได้สื่อถึงการสูญเสียของวิชาภูมิศาสตร์มาแล้วครั้งหนึ่งซึ่งถือได้ว่าเป็นยุคที่ทำให้ผู้ที่เรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ต้องลำบากในการศึกษาและต้องเก็บข้อมูลไว้อย่างลับๆเพื่อการอยู่รอดแต่ต่อมาก็มีการรื้อฟื้นขึ้นมาแสดงว่าวิชาภูมิศาสตร์นั้นย่อมเป็นศาสตร์ที่แท้จริงถึงแม้จะถูกทำลายก็มีคนที่เข้าใจหลักการและนำมาเผยแพร่ต่อให้ชาวโลกได้รู้ว่ามีวิชาภูมิศาสตร์อยู่จริงๆ

    2.3 ให้แต่ละคนเลือกประเด็นสำคัญ (ตามความเห็นของตัวเอง) แล้วหาความรู้จากโลกไซเบอร์เพิ่มเติม นอกเหนือจากที่ได้เขียนไว้ในบทความบทนี้

    ไอซาห์ โบว์แมน (Isaiah Bowman) นักภูมิศาสตร์ที่ทำงานให้กับประธานาธิบดีวูดโรว วิลสัน(Woodrow Wilson) เป็นผู้เสนอนโยบายโลกาภิวัตของสหรัฐอเมริกา ที่ทำให้อเมริกากลายเป็นผู้นำของโลกผ่านทางการเมืองและเศรษฐกิจ มากกว่าการใช้กำลังทหาร นอกจากนี้โบว์แมนยังทำงานให้กับประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดีรูสเวลท์ (Franklin D.Roosevelt) ในฐานะสำคัญหนึ่งในหกสถาปนิกออกแบบการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติด้วย

    จากบาทความนี้แสดงให้เห็นถึงความสามารถของนักภูมิศาสตร์คนหนึ่งซึ่งได้มีโอกาสทำงานให้กับประธานาธิบดีวูดโรว วิลสัน ของประเทศสหรัฐอเมริกา นั่นก็คือไอซาห์ โบว์แมน เขาได้ศึกษาที่ ฮาวาร์ด ในสาขาภูมิศาสตร์ เขาเคยเป็นผู้อำนวยการของ สังคมอเมริกันทางภูมิศาสตร์ ในปี1935 และเป็นที่ปรึกษาระหว่างประเทศในระหว่าง สงครามโลกครั้งที่สองในตำแหน่งคณะมนตรีความสัมพันธ์ต่างประเทศ

    ไอซาห์ โบว์แมน เป็นที่รู้จักไปทั่ว เพราะความสามารถและผลงานของเขาเองซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีของนักภูมิศาสตร์เพราะความรู้ทางภูมิศาสตร์สามารถที่จะทำให้ก้าวขึ้นไปสู่ระดับสูงและประสบความสำเร็จในชีวิตได้อย่างภาคภูมิและเป็นจุดยืนของการนำความรู้ทางภูมิศาสตร์ออกมาเผยแพร่สู่ชาวโลกว่าสาขาวิชาภูมิศาสตร์นั้นสามมารถนำมาประยุกต์เข้ากับทุกสาขาวิชา

    นายอภินันท์ คำปินไชย 51163490

    ตอบลบ
  35. 1.หาประเด็นสำคัญในนั้นให้ได้ ว่าบทความนี้ต้องการสื่ออะไรออกมา ต้องการให้คนอ่านรู้เรื่องอะไร ประเด็นสำคัญที่ว่านั้นมีสาระสำคัญว่าอย่างไร
    ตอบ ภูมิศาสตร์ไม่ใช่แค่จะบอกแต่สถานที่หรือที่ตั้งที่ใดที่หนึ่ง แต่ภูมิศาสตร์สามารถบอกอะไรได้มากกว่านั้น ภูมิศาสตร์เป็นอะไรมากมายกว่าที่คนส่วนใหญ่คิดกัน ภูมิศาสตร์เป็นเรื่องของพื้นที่ขณะที่ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องของเวลา ภูมิศาสตร์เป็นวิถีของความคิดที่เกี่ยวเนื่องกับพื้นที่

    2.บทความบทนี้มีประเด็นอะไรที่คุณไม่เคยรู้มาก่อนเลยในชีวิต (เลือกมาประเด็นเดียว) ประเด็นสำคัญที่ว่านั้นมีสาระสำคัญว่าอย่างไร

    ตอบ สมัยจักรพรรดิชู (ChouEmperor) ของจีนโบราณ พระองค์ทรงมีคณะนักภูมิศาสตร์ประจำราชสำนัก พระเจ้าหลุยส์ที่ 15พระองค์ก็ทรงมีคณะนักภูมิศาสตร์ประจำพระองค์เช่นกัน สำหรับสภาภาคพื้นทวีป (The ContinentalCongress) ก็ได้แต่งตั้งนักภูมิศาสตร์เป็นเจ้าหน้าที่ประจำ ท่านประธานาธิบดีวิลสันเองก็มีโบว์แมนเป็นนักภูมิศาสตร์ประจำตัวเช่นเดียวกับท่านประธานาธิบดีรูสเวลท์ที่ใช้บริการโบว์แมนเป็นนักภูมิศาสตร์ประจำตัว สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าในสมัยก่อนวิชาภูมิศาสตร์มีความสำคัญเพียงใด

    3.ให้แต่ละคนเลือกประเด็นสำคัญ (ตามความเห็นของตัวเอง) แล้วหาความรู้จากโลกไซเบอร์เพิ่มเติม นอกเหนือจากที่ได้เขียนไว้ในบทความบทนี้
    ตอบ บอกประชาชนว่า ภูมิศาสตร์คืออะไร - คนทั่วไปมักคิดว่า ภูมิศาสตร์เป็นวิชาไกลตัว ที่เกี่ยวกับแต่เรื่องดินน้ำลมอยากแท้จริง ภูมิศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์มากๆ เป็นศาสตร์ทางด้านพื้นที่และบริเวณต่างๆ บนพื้นผิวโลก เป็นวิชาที่ศึกษาปรากฏการณ์ทางกายภาพ และมนุษย์ ที่เกิดขึ้น ณ บริเวณที่ทำการศึกษา รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่บริเวณโดยรอบ นักภูมิศาสตร์ส่วนใหญ่กำหนดให้วิชาภูมิศาสตร์วางอยู่บนมุมมองและวิธีการเชิงพื้นที่ (Spatial Perspective and Methods) มากกว่าที่จะเป็นเนื้อหาสาระดังนั้นจึงให้บอกทุกคนว่า ภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์เกี่ยวกับพื้นที่ ขณะที่ประวัติศาสตร์เป็นศาสตร์เกี่ยวกับเวลา

    นายกุลโรจน์ สมโสภา 51160871

    ตอบลบ
  36. 2.1) หาประเด็นสำคัญในนั้นให้ได้ ว่าบทความนี้ต้องการสื่ออะไรออกมา ต้องการให้คนอ่านรู้เรื่องอะไร ประเด็นสำคัญที่ว่านั้นมีสาระสำคัญว่าอย่างไร

    -- ความรู้สึกที่ผู้เขียนเป็นเสมือนตัวแทนของนักภูมิศาสตร์หลาย ๆ ท่านได้เขียนถึงความรู้สึกผ่านตัวหนังสือถึงความอดสูใจที่นักวิชาการและสาธารณะชนทั้งหลายเหล่านั้นกระทำต่อสาขาวิชาภูมิศาสตร์ โดยการเมินเฉยเสียอย่างกับว่าสาขาวิชานี้ไม่มีตัวตน จะมีบ้างก็เพียงฉากหลังของสาขาความรู้อื่น หลักยืนที่แท้จริงของสาขาภูมิศาสตร์แท้จริงแล้วมีสักกี่คนที่สามารถอธิบายแก่สาธารณะชนได้รับทราบถึงความถูกต้องไม่ใช่เพียงแต่หลับหูหลับตาหรือหลบ ๆ ซ่อน ๆ ทำเหมือนว่าสาขาวิชานี้ มีบทบาทเพียงสนับสนุนอยู่เบื้องหลังแล้วส่งผ่านความดีความชอบแก่สาขาวิชาอื่น บัดนี้ถึงคราวลุกฮือขึ้นแล้วเพื่อสิ่งที่ถูกต้องและเพื่อประกาศถึงความจริงที่กำลังถูกเพิกเฉยละเลยเสียที ตัวตน บทบาท แก่นแท้และการกลับมาของสาขาวิชาภูมิศาสตร์ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นภูมิศาสตร์ไม่สมควรจะเป็นเพียงที่รู้จักแค่ในนามของสถานที่ หรือลักษณะทางกายภาพ แต่ภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เหมาะสมและสมควรแก่การได้รับความเอาใจใส่จากสาธารณะชนจนเกิดการขยายความรู้ออกไปรวมถึงเป็นที่ยอมรับในสังคมการศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนทุกแห่ง

    2.2) บทความบทนี้มีประเด็นอะไรที่คุณไม่เคยรู้มาก่อนเลยในชีวิต (เลือกมาประเด็นเดียว) ประเด็นสำคัญที่ว่านั้นมีสาระสำคัญว่าอย่างไร

    -- ประเด็นการมีบทบาททำให้เกิดความเป็นสันติภาพมากกว่าเป็นไปเพื่อก่อสงคราม ในระหว่างสงครามนักภูมิศาสตร์หนึ่งในสามของนักภูมิศาสตร์ถูกเรียกตัวเข้าไปที่กรุงวอชิงตัน ดีซี เพื่อทำงานสนับสนุนสำนักงานวางแผนยุทธศาสตร์และองค์กรอื่นๆ ที่ทำงานเพื่อรองรับภาวะสงคราม ในการทำหน้าที่เหล่านั้น โบว์แมนมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งเขาเป็นนักภูมิศาสตร์ที่ได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้นำประเทศหมายเลข1 ปัจจุบันนี้มีการพิจารณาถึงศักยภาพใหม่ของอเมริกันในภาวะที่สงครามพร้อมที่จะเกิดขึ้นได้ทุกเวลาว่าบทบาทของสมาคมภูมิศาสตร์อเมริกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และบทบาทของโบว์แมนที่โดดเด่นมากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นเป็นการดำเนินการไปเพื่อให้เกิดสันติภาพ มากกว่าเป็นไปเพื่อก่อสงคราม ความรู้สำคัญต่างๆ ที่จะพาให้เรามุ่งสร้างสันติภาพได้ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าสิ่งที่เราได้ทำกันขึ้นมาเพื่อการสงคราม

    2.3) ให้แต่ละคนเลือกประเด็นสำคัญ (ตามความเห็นของตัวเอง) แล้วหาความรู้จากโลกไซเบอร์เพิ่มเติม นอกเหนือจากที่ได้เขียนไว้ในบทความบทนี้

    -- ปัจจุบันการศึกษาในโรงเรียนระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษา วิชาภูมิศาสตร์ถือว่าได้มอบประสบการณ์และความรู้แก่ผู้เรียน แต่น้อยเหลือเกินจะเป็นในลักษณะที่ควรค่าแก่การจดจำ เมื่อเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาจนจบการศึกษา การทำงานมักไม่ค่อยได้ใช้วิชาที่เรียนมาหรือบางทีก็ทำงานไม่ตรงสาขาที่จบมาเลย ทำให้อดคิดไม่ได้ว่าเราน่าจะย้อนเวลากลับไปเรียนวิชานี้ได้ หรือถ้ามีโอกาสก็จะไปเรียนเสริมในวิชานี้ สำหรับวิชาภูมิศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องรวมไปถึงวัฒนธรรม เรื่องราวในอดีต และอนาคต หากใครหลายคนเคยได้ร่ำเรียนมาและลืมไปแล้วอยากให้หลาย ๆ คนนำเสนอความเป็นภูมิศาสตร์ออกมา ความจริงมันมีประโยชน์มาก บางทีเราอาจจะเก่งในทฤษฎีหรือข้อมูลที่เราศึกษา เเต่ไม่สามารถนำไปเล่าให้คนอื่นเข้าใจได้ มันก็เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย ฉะนั้นเรา ซึ่งเป็นนักภูมิศาสตร์ควรนำความรู้ที่ได้จากวิชาภูมิศาสตร์มาสร้างงานในฉากหน้าเสียบ้างแทนการเป็นเพียงฉากหลังให้สาขาวิชาอื่น และควรแสดงถึงพลังแห่งภูมิศาสตร์ให้แก่สาธารณะชนได้เห็นกันเสียที

    น.ส. รุ่งฤดี โพธิกลาง 51317589 ภูมิศาสตร์ ปี3

    ตอบลบ
  37. 1. สาระสำคัญและประเด็นสำคัญ
    บทความนี้ได้กล่าวถึงประเด็นที่ว่าการที่เราจะทำอย่างไร เพื่อที่จะพัฒนาสาขาวิชาภูมิศาสตร์ หลังจากที่มีการพื้นคืนกลับมาอีกครั้ง รวมถึงการฟื้นฟูภูมิศาสตร์กลับคืนมา และปกป้องมิให้มีการโจมตีสาขาวิชาอื่นที่จะถูกกระทำอย่างเดียวกันกับภูมิศาสตร์ บทความยังได้กล่าวถึงที่มาของการเป็นภูมิศาสตร์ และวิวัฒนาการของภูมิศาสตร์ ตลอดจนการที่สาขาวิชาภูมิศาสตร์ ได้ถูกนำไปใช้งานในการพัฒนาอย่างไร และได้ถูกหักหลังอย่างไร จากมหาวิทยาลัยชื่อดังต่างๆ ดังนั้นจากบทความที่เราได้อ่านมานี้เราควรที่จะมาช่วยกันในการดูแลรักษา ได้โดยวิธีการที่เราได้ช่วยกันอธิบายให้ผู้คนได้รู้ความจริงที่ว่าภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับพื้นที่ และนอกจากนี้เราควรที่จะพยายามแสดงตัวเองเมื่อมีเหตุการณ์ทางภูมิศาสตร์ให้มากขึ้นเพื่อที่จะแสดงและนำเสนอว่าเราให้การศึกษาเกี่ยวกับอะไรและทำงานเกี่ยวข้องกับสิ่งใด

    2. ประเด็นที่ไม่เคยรู้มาก่อนเลยในชีวิต
    การสำรวจดินแดนต่างๆ ทั่วโลกในยุคสำรวจ และมีการค้นหาข้อมูลสารสนเทศและขยายดินแดน การใช้แนวทางภูมิรัฐศาสตร์และในช่วง ค.ศ. 1915-1647 ประวัติศาสตร์ที่เป็นที่เรายังไม่รู้ ซึ่งยังมีบุคคลที่เป็นนักภูมิศาสตร์ที่ได้เสนอและแนะนำผู้นำให้มีการเปลี่ยนแปลงระดับโลก คือ ไอซาห์ โบว์แมน (Isaiah Bowman)ซึ่ง เขาได้ศึกษาที่ ฮาวาร์ด ในสาขาภูมิศาสตร์ เขาเคยเป็นผู้อำนวยการของ สังคมอเมริกันทางภูมิศาสตร์ ในปี1935 และเป็นที่ปรึกษาระหว่างประเทศในระหว่าง สงครามโลกครั้งที่สองในตำแหน่งคณะมนตรีความสัมพันธ์ต่างประเทศ และยังทำงานให้กับประธานาธิบดี วูดโรว วิลสัน (Woodrow Wilson) ซึ่งได้เสนอนโยบาย โลกาภิวัตของอเมริกา ที่ทำให้อเมริกาได้กลายเป็นประเทศมหาอำนาจของโลกทางการเมืองและเศรษฐกิจ และนอกจากนี้ โบว์แมน ยังทำไงให้ประธานาธิบดี แฟลงคลิน ดีรูสเวลท์ ในฐานะสำคัญคือเป็น หนึ่งในหก สถาปนิกออกแบบการก่อตั้ง องค์การสหประชาชาติ
    ซึ่งท่าน ไอซาห์ โบว์แมน ถือเป็นบุคลที่ทำให้สาขาวิชาภูมิศาสตร์ได้นำไปใช้ประโยชน์ และเฟื่องฟูในขณะนั้นได้เป็นอย่างมาก ดังนั้นพวกเรานักภูมิศาสตร์รุ่นหลังก็ควรที่จะทำแนวความคิดหรือ วิธีการที่นำสาขาวิชาภูมิศาสตร์ให้ได้เป็นสาขาวิชาที่สำคัญ มาใช้ในการพัฒนาสาขาภูมิศาสตร์ต่อไป

    3. ประเด็นสำคัญที่สนใจ คือ ไอซาห์ โบว์แมน (Isaiah Bowman)
    ไอซาห์ โบว์แมน (Isaiah Bowman) เขาได้รับการศึกษาที่ และ ซึ่งเขาได้รับการ สอนภูมิศาสตร์HarvardYaleAmerican Geographical Society หลังจากนั้นเขาก็ได้กลายเป็นผู้อำนวยการของ ตำแหน่งที่เขาจัดขึ้นเป็นเวลา 20 ปี เขาเป็นหัวหน้าที่ปรึกษาระหว่างประเทศไปยังประธาน ที่ และทำหน้าที่ใน เป็นที่ปรึกษาระหว่างประเทศในระหว่าง นอกจากนี้ยัง ผลงานบางส่วนของเขามีชื่อเสียงมากคือ Forest Physiography (1911) , Well-Drilling Methods (1911) , South America (1915) , The Andes of Southern Peru (1916) , The New World-Problems in Political Geography (1921).
    ในปี 1916 เขาเป็นบรรณาธิการร่วมของ Review ทางภูมิศาสตร์ และเขาได้กลายผู้อำนวยการ สภาความสัมพันธ์ต่างประเทศ ก่อนไปดำรงตำแหน่งประธานของ Johns Hopkins University ใน Baltimore , และระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาดำรงตำแหน่งในคณะมนตรีความสัมพันธ์ต่างประเทศของ สงครามและสันติภาพศึกษา
    และในปี 2005 จุดเริ่มต้นทางภูมิศาสตร์สังคมอเมริกัน ได้มีส่วนช่วยเปิดตัวโครงการความร่วมมือวิจัยระหว่างประเทศที่เรียกว่า การสำรวจของ Bowman ในส่วนให้คำแนะนำแก่รัฐบาลสหรัฐฯเกี่ยวกับแนวโน้มในอนาคตใน มนุษย์ ภูมิประเทศ ของประเทศอื่น ๆ โครงการครั้งแรกในเม็กซิโกเรียกว่า เม็กซิโก Indigena และได้สร้างการถกเถียงอย่างมาก

    อ้างอิงประวัติของ ไอซาห์ โบว์แมน จากhttp://en.wikipedia.org/wiki/Isaiah_Bowman

    วิจารณ์บทความโดย
    นายเกรียงไกร พันอ้น 51160888 สาขาภูมิศาสตร์ ชั้นปีที่ 3

    ตอบลบ
  38. 2.1 มีประเด็นสำคัญอยู่ว่า
    ภูมิศาสตร์นั้นเป็นอะไรมากกว่าที่คนส่วนใหญ่คิด ภูมิสาสตร์เป็นเรื่องของพื้นที่ ภูมิศาสตร์เป็นเรื่องของวิธีของความคิดเกี่ยวเนื่องกับพื้นที่ ภูมิมศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์ที่เป็นเรื่องของเวลา มีองค์ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ และมีเทคโนโลยีที่พัฒนาการอย่างต่อเนื่องเป็นเวลายาวนานหลายศตวรรษ ภูมิาสตร์เป็นเรื่องของเกี่ยวกับประชาชนและสถานที่ และจุดเน้นหลักของภูมิศาสตร์ คือ การวิเคราะห์
    ทางพื้นที่ (Spatial Analysis) เป็นการวิจัยที่วางอยู่บนฐานของพื้นที่ทั้งด้านภูมิภาคศึกษา พื้นที่ศึกษา และพาราศึกษา และเป็นบูรณาการทางวิทยาศาสตร์
    สาขาวิชาภูมิศาสตร์นั้นได้ถุกละเลยที่จะขยายควมรู้ออกไป ขณะที่สาขาวิชาอื่นๆ ไม่
    เคยต้องเผชิญแบบเดียวกันเลยในสมัยปัจจุบัน ตัวอย่างเช่นเฉพาะมหาวิทยาลัยในกลุ่มไอวีลีก ที่พยายาม
    จะทำอย่างนั้นกับสาขาวิชาภูมิศาสตร์ โดยไม่กระทำต่อสาขาวิชามานุษยวิทยา ชีววิทยา ประวัติศาสตร์
    คณิตศาสตร์ และสังคมวิทยา ซึ่งแน่นอนว่าเราสามารถพบเห็นว่ามีการเรียนการสอนระดับปริญญาเอกใน
    สาขาวิชาเหล่านั้นทั้งหมด และก็ยังมีปริญญาเอกสาขาอื่นๆ อีก แต่ไม่มีสาขาภูมิศาสตร์เลย ยกเว้นก็แต่
    เพียงที่มหาวิทยาลัยดาร์ทเมาท์ ที่เดียวที่มีระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภูมิศาสตร์

    2.2 ปรเด็นที่ไม่เคยรู้มาก่อนในชีวิต
    พฤติกรรมการแดกดันที่ผิดมารยาทและน่าขัน
    มีเหตุการณ์หนึ่งที่น่าขบขันยิ่งจากการแสดงออกในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งไม่มีทางเกิดขึ้นในลักษณะเดียวกันนี้
    ได้เลยกับสาขาวิชาภูมิศาสตร์ นั่นก็คือในปี ค.ศ.1897 สภาผู้แทนราษฎรแห่งมลรัฐอินเดียน่าผ่านเสียง
    เป็นเอกฉันท์ในการปรับแก้กฎหมายลำดับที่ 246 เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงค่าพาย (π) จากที่มีความหมาย
    ทางคณิตศาสตร์ว่ามีค่าเท่ากับ 3.1415 ให้เหลือค่าแค่เท่ากับ 3 เท่านั้น เคราะห์ดีอย่างยิ่งที่ร่างกฎหมาย
    ฉบับนี้ต้องม้วยลงก่อนที่จะไปถึงวุฒิสภา ผู้ที่เป็นตัวการที่เข้าไปขวางวันได้อย่างฉับพลัน คือ คลาเรนซ์ เอ
    วัลโด (Clarence A. Waldo) ศาสตราจารย์สาขาวิชาคณิตศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเปอร์ดู (Purdue
    University) ที่ถือร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวเข้าไปในสภานิติบัญญัติพร้อมกับเย้ยหยันในปัญญาของ
    สมาชิกสภาที่ต้องเปลี่ยนค่าทางคณิตศาสตร์โดยไม่ได้คิดถึงความเป็นจริงทางวิชาการแม้แต่น้อย หากไม่
    เป็นเช่นนั้นแล้ว พวกเราคงได้รับรู้กันทั่วไปแล้วว่า ค่าพายนั้นมีค่าเท่ากับ 3 ไม่ใช่ 3.1415 อย่างที่วิชา
    คณิตศาสตร์เคยสอนพวกเรามา
    2.3 ประเด็นสำคัญที่หาเพิ่มเติม
    ความเป็นมาของภูมิศาสตร์
    วิชาภูมิศาสตร์มีมาตั้งแต่สมัยอารยธรรมกรีกที่เจริญรุ่งเรือง เมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว โดยชาวกรีกได้รับความรู้จากชาวบาบิโลนและอียิปต์ นักปราชญ์ชาวบาบิโลนเป็นผู้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งของโลกและดวงดาวในสุริยจักรวาล ชาวอียิปต์มีความรู้ด้านคณิตศาสตร์ เรขาคณิต และดาราศาสตร์ ชาวกรีกได้รับความรู้ดังกล่าวจากพวกพ่อค้าชาวฟินิเชียนอีกทอดหนึ่ง
    นักปราชญ์ชาวกรีกที่ให้ความสนใจปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับภูมิศาสตร์ เช่น
    อริสโตเติล (Aristotle : 384 – 322 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ได้เสนอว่า โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล และดาวดวงอื่น ๆ หมุนในลักษณะวงกลมรอบโลกโดยความเร็วแตกต่างกัน
    อีราโทสเทเนียส (Eratostenes : ราว 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นนักปราชญ์ชาวกรีกคนแรกที่เรียกตนเองว่านักภูมิศาสตร์ ได้คิดวิธีการทางภูมิศาสตร์ขึ้นใช้คำนวณเส้นรอบโลก เขาเชื่อว่าโลกกลม ซึ่งระยะทางที่เขาคำนวณได้ใกล้เคียงกับที่วัดได้ในปัจจุบัน ผลงานของเขาชื่อ จีออกราฟิคา (Geographika) เป็นหนังสือที่ใช้คำว่าภูมิศาสตร์เป็นครั้งแรกของโลก
    โคลดิอุส ปโตเลมาอุส (Claudius Ptolemaeus) หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกว่า ปโตเลมี (Ptolemy) เชื่อว่าโลกกลม เขาได้สร้างแผนที่จำนวนมาก ที่คนรู้จักกันดีคือ แผนที่โลก เมื่อราว ค.ศ. 150 เขาได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ชื่อว่า จีออกราเฟีย (Geographia) ซึ่งรวบรวมสถานที่ ต่าง ๆ ที่รักจักกันดีในสมัยนั้น
    ในยุคฟื้นฟูศิปวิทยาการในยุโรป ชาวยุโรปได้บุกเบิกดินแดนใหม่ วิชาภูมิศาสตร์ได้รับความสนใจอีกครั้งหนึ่ง มีการนำเทคนิคใหม่ ๆ มาทำแผนที่ นักวิทยาศาสตร์ที่สนใจเรื่องโลกและจักรวาลที่สำคัญ คือ คอเปอร์นิคุส (Copernicus) ชาวโปแลนด์ ได้พิสูจน์ว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ โลกและดาวเคราะห์อื่น ๆ หมุนรอบโลก ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 กาลิเลโอ กาลิเลอิ (Galileo Galilei) ชาวอิตาเลียน ได้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์เพื่อสำรวจท้องฟ้าสำเร็จ เป็นคนแรก
    นาย อนุพนธ์ ศิริไทย 51163483

    ตอบลบ
  39. 2.1 บทความ เอา “ภูมิศาสตร์” กลับมาได้รึยัง (Bring Back Geography) เป็นการกล่าวถึงภูมิศาสตร์ ความสำคัญของวิชาภูมิศาสตร์ ภูมิศาสตร์มีความสำคัญและมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ ภูมิศาสตร์เป็นเรื่องของพื้นที่ขณะที่ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องของเวลา ภูมิศาสตร์เป็นวิถีความคิดที่มีความเกี่ยวข้องเกี่ยวเนื่องกับพื้นที่ เป็นวิทยาศาสตร์ที่มีวิธีการและเครื่องมือ มีองค์ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ และมีเทคโนโลยีสารสนเทศที่พัฒนาการต่อเนื่อง จุดเน้นหลักของภูมิศาสตร์ คือ การวิเคราะห์ทางพื้นที่ (Spatial Analysis) เป็นการวิจัยที่วางอยู่บนฐานของพื้นที่ทั้งด้านภูมิภาคศึกษา พื้นที่ศึกษา และพาราศึกษา และเป็นบูรณาการทางวิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ล้วนแต่มีความสำคัญกับทุกสิ่งทุกอย่างทั้งในสังคมและในชีวิตประจำวันของเรา ทั้งเรื่องทำเลที่ตั้ง การเคลื่อนย้าย และการเลื่อนไหลถึงแม้ว่าบางสถาบันการศึกษาบางที่อาจจะไม่ได้เห็นความสำคัญของภูมิศาสตร์ แต่อีกในหลาย ๆ สถาบันก็ยังเห็นถึงความสำคัญอยู่เพราะฉะนั้นเราจึงต้องให้ความสำคัญกับวิชาภูมิศาสตร์ให้มากโดยการกล่าวถึงให้มาก ให้ความสำคัญ ให้ความหมายของภูมิศาสตร์

    2.2 ประเด็นที่เลือกมาคือ การจมลงของภูมิศาสตร์ในสหรัฐอเมริกา โดยระหว่างปี ค.ศ.1948-1988 วิชาภูมิศาสตร์ได้หายไปจากหลาย ๆ สถาบันที่สำคัญ ๆ ในสหรัฐอเมริกา โดยไม่มีใครรู้ความจริงว่าภูมิศาสตร์หายไปไหนเพราะไม่มีปรากฏในภาควิชาภูมิศาสตร์อยู่ในมหาวิทยาลัยกลุ่มไอวี (Ivy League) ยกเว้นแต่ที่มหาวิทยาลัยดาร์ทเมาท์ (Dartmouth) เท่านั้นที่มีภาควิชาและเปิดสอนในระดับปริญญาตรี สำหรับมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำของสหรัฐ 20 อันดับ พบว่ามีเพียง 2 แห่งเท่านั้น ที่มีภาควิชาภูมิศาสตร์ ส่วนมหาวิทยาลัยชั้นนำ 20 อันดับนั้น มีภาควิชาภูมิศาสตร์ตั้งอยู่ถึง 15 แห่ง การจมลงของภูมิศาสตร์เกิดขึ้นเฉพาะในสังคมอเมริกันเพียงเท่านั้นและมีเพียง 2 มหาวิทยาลัยเท่านั้นที่ยังคงมีวิชาการทางภูมิศาสตร์ที่แข็งแกร่งคือ ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ดและมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ที่ยังคงผลิตบัณฑิตสาขาภูมิศาสตร์ออกมาอย่างต่อเนื่อง

    2.3 ประเด็นสำคัญคือการกลับมาของวิชาภูมิศาสตร์ เพื่อให้ทุกคนให้ความสำคัญและทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาภูมิศาสตร์ว่ามีความสำคัญอย่างไรกับเราในชีวิตประจำวัน ทุกอย่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับภูมิศาสตร์ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสถานที่ เวลา การเปลี่ยนแปลงหรือทุก ๆอย่างที่เกิดขึ้นบนโลกของเราอีกทั้งยังมีเครื่องมือ เทคโนโลยีที่ทำให้เราเข้าใจและรู้จักภูมิศาสตร์มากขึ้น เราจึงควรตระหนักและให้ความสำคัญเพราะภูมิศาสตร์ไม่ค่อยมีใครให้ความใส่ใจและให้ความสำคัญมากเท่าใดนัก เนื่องจากหลายคนไม่ทราบความหมายและวิธีการของภูมิศาสตร์ว่ามันคืออะไร และเป็นอย่างไรดังนั้นเราจึงต้องช่วยกันทำให้ภูมิศาสตร์ได้มีความสำคัญต่อสังคมและคนทั่วไปให้มากขึ้น

    **นางสาวกมลพร ประโพธิ์ธัง รหัส 51163353

    ตอบลบ