หน้าเว็บ

วันพุธที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2560

เรียนวิชาภูมิศาสตร์ต้องออกไปศึกษาภาคสนาม

สิ่งสำคัญมากอย่างหนึ่งในวิชาภูมิศาสตร์ คือ การเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ออกไปศึกษาเรียนรู้ในพื้นที่ภาคสนาม นอกเหนือจากที่ได้ศึกษาในตำราเรียน การศึกษาภาคสนามจะช่วยให้นักเรียนสามาถเชื่อมโยงแนวความคิดต่างๆ ทางภูมิศาสตร์ เข้ากับปรากฎการณ์จริง ซึ่งนั่นเป็นสิ่งสำคญมากของการเรียนวิชาภูมิศาสตร์

ทำให้งานภาคสนามมีเป้าหมายชัดเจน

ต่อคำถามที่ว่า "เบื้องหลังของการศึกษาภาคสนาม คืออะไร" นั้น นักเรียนวิชาภูมิศาสตร์ส่วนใหญ่รู้ดีว่า พวกเขาจำเป็นจะต้องออกไปในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล แล้วนำกลับมาวิเคราะห์และเขียนรายงานในชั้นเรียน

แต่ว่า คงต้องมีอะไรมากกว่านั้น" Tricia Seow คุณครูภูมิศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง สิงคโปร์ กล่าวต่ออีกว่า "การศึกษาภาคสนามจะต้องมีเป้าหมาย และเป้าหมายที่ว่านั้น ควรจะขึ้นอยู่กับระดับชั้นของนักเรียน" แน่นอนว่าในระดับพื้นฐานจำเป็นต้องฝึกทักษะการเก็บรวบรวมข้อมูลให้มีความถูกต้องแม่นยำ แต่ว่าในระดับที่สูงขึ้นนั้น ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งที่ได้รับความสนใจ การศึกษาภาคสนามถูกใช้เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ในสิ่งที่อยากรู้ (inquiry-based learning)

การเรียนรู้หยั่งลึก (deep learning) เริ่มต้นแล้ว “มันเป็นการซักไซร้ไล่เลียงให้ได้คำตอบที่อิงแอบกับทฤษฎี และนักเรียนก็จะได้รับรู้ความจริงทั้งหลายที่จะทำให้พวกเขาเข้าใจความซับซ้อนของโลกอย่างจริงจัง มากกว่าที่จะเข้าใจแค่ในทฤษฎี แค่นั้น” ทริเซียกล่าว

สร้างประสบการณ์บนแนวความคิดสำคัญๆ

ภูมิศาสตร์เป็นวิชาหนึ่งที่สนใจสร้างแนวความคิดนามธรรม อย่างเช่นคำว่า “พื้นที่” (space)

แต่ว่าตัวพื้นที่เอง ไม่ได้สื่อความหมายอะไรให้นักเรียนเข้าใจได้มากนัก ครูจะต้องบอกให้นักเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับพื้นที่และสถานที่ ซึ่งบ่อยครั้งที่มันดูว่างเปล่ายังงัยไม่รู้ นักเรียนสามารถเรียนรู้พื้นที่ได้จากคำนิยาม แต่มันมองไม่เห็นภาพใช่ไหม” Tricia ถาม “ดังนั้น การศึกษาภาคสนามจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการแกะรอยหาคำตอบต่างๆ เหล่านี้”

เอาง่ายๆ ลองยกตัวอย่างว่า ครูพานักเรียนเข้าไปในย่านไชน่าทาวน์และลิตเติ้ลอินเดียของสิงคโปร์ แล้วก็บอกนักเรียนว่า นั่นละคือพื้นที่ท่องเที่ยว (tourism space) นักเรียนจึงอาจมีคำถามกลับมาว่า นี่เป็นพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวใช่ไหม อะไรทำให้พื้นที่กลายเป็นพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยว ใครกันที่เข้ามาใช่พื้นที่นี้

หากนำเอาเทคนิคการศึกษาภาคสนามเพื่อสำรวจการใช้ที่ดินมาใช้ตรงนี้ นักเรียนก็จะได้เห็นถึงส่วนผสมของการใช้ที่ดินเป็นร้านค้าขายสำหรับนักท่องเที่ยวมีอยู่มากมายกว่าบริเวณพื้นที่อื่นตามถนน

เทคนิคเหล่านี้ช่วยให้นักเรียนเข้าใจแนวความคิดหลายๆ อย่าง ทั้งการกระจายและการเกาะกลุ่มกันบนพื้นที่ อีกทั้งพวกเขายังสามารถใช้ข้อมูลอธิบายความเหมาะสมของพื้นที่นี้ที่จะรองรับการท่องเที่ยวได้ดีหรือไม่ ได้ด้วย

"ความจริงแล้วแนวคิดทั้งหลายเหล่านี้เป็นนามธรรม เว้นแต่ว่าแนวความคิดนั้นจะวางอยู่บนฐานบางสิ่งบางอย่างที่เป็นประสบการณ์ของนักเรียน" Tricia กล่าวเอาไว้อย่างนั้น ซึ่งถ้าหากครูสามารถเชื่อมโยงแนวความคิดกับข้อมูลที่นักเรียนเก็บรวบรวมมา ภูมิศาสตร์ก็น่าจะดูดีมีชีวิตชีวาขึ้นอีกมากโขเลยทีเดียว

การเรียนรู้หยั่งลึกด้วยการศึกษาภาคสนาม

การสอนในชั้นเรียนและการทำวิจัยภาคสนามจะช่วยกันและกันได้เป็นอย่างดี Tricia บอกเรา หลังจากการสอนแนวคิดทางภูมิศาสตร์ เครื่องมือ หรือทักษะ แล้วการวางแผนการเดินทางออกจากห้องเรียน

เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการศึกษาภาคสนาม คำถามที่เกิดจากความอยากรู้อยากเห็นของนักเรียนในภาคสนามจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก

ตัวอย่างของการสำรวจการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นวิธีการที่ดีสำหรับการเรียนรู้เกี่ยวกับพื้นที่ (space) ตั้งต้นการสำรวจด้วยคำถาม - พื้นที่ถูกใช้ประโยชน์อะไร ? ใครเป็นเจ้าของพื้นที่นั้น ? นักเรียนจะต้องตัดสินใจว่าจะรวบรวมข้อมูลใดบ้างเพื่อตอบคำถามเหล่านี้

ในพื้นที่จริงของการศึกษษภาคสนาม มีมิติต่างๆ มากมายให้พิจารณา เป็นต้นว่า “หากต้องการทราบว่า ใครเป็นผู้ใช้พื้นที่นี้ ก็ให้พิจารณาหลายๆ สิ่ง อย่างเช่นเครื่องหมายหรือป้าย เพราะป้ายที่ติดไว้แสดงให้เห็นถึงการเรียกร้องผู้คนกลุ่มนั้นกลุ่มนี้ให้เข้ามาใช้พื้นที่นี้”

ลองสอบถามผู้คนแถวนั้นดู อาจถามเจ้าของร้านค้า หรือว่าถามลูกค้าประจำของร้านนั้น ลูกค้าประจำร้านนั้นเขาเป็นนักท่องเที่ยวหรือไม่ หากใช่นักท่องเที่ยว ถามเขาดูว่า เขาเดินทางมาจากไหน”

เมื่อการศึกษาภาคสนามดำเนินการไปเรียบร้อยแล้ว นักเรียนกลับสู่ชั้นเรียน ทำการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลทั้งหลายที่เก็บรวบรวมมาจากภาคสนาม

ระหว่างการนำเสนอ มีสิ่งสำคัญสามอย่างที่ครูจะต้องค้นหาจากนักเรียน คือ

·        สิ่งแรก นักเรียนได้แสดงความพยายามเก็บรวบรวมข้อมูลสารสนเทศด้วยวิธีการที่ดีที่สุดแล้วรึยัง พวกเขาเลือกใช้วิธีการที่ถูกต้องหรือไม่ เลือกตัวอย่างที่สำคัญจริงๆ หรือเปล่า ใครทำหน้าที่สอบถาม พวกเขาไปเก็บข้อมูลที่ไหนกันมา และเก็บมาตอนไหน
·        สอง นักเรียนแสดงข้อมูลข่าวสารให้ดูด้วยวิธีการที่ดีที่สุดแล้วหรือไม่ หากว่าพวกเขากำลังมองหาสิ่งช่วยการนำเสนอให้ดูดีขึ้นกว่าเดิม กราฟ สัดส่วนตัวเลข หรือภาพเคลื่อนไหว จะทำให้การนำเสนอดูดีขึ้นได้หรือไม่ และ
·        สุดท้าย แต่ไม่ใช่ท้ายสุด ครูควรแนะนำนักเรียนในการทำความเข้าใจกับข้อมูลสารสนเทศและความคิดเห็นทั้งหมดที่นักเรียนทุกกลุ่มได้นำเสนอ


เมื่อต้องกลับเข้าสู่ห้องเรียน

สำหรับการเรียนรู้หยั่งลึกเป็นอะไรอะไรที่เกิดขึ้นหลังจากการศึกษาภาคสนาม ได้สร้างความแตกต่างอันยิ่งใหญ่ขึ้นมาแล้ว ซึ่งมีความสำคัญมาก ถ้าหากว่าเราไม่ได้ทำให้ถูกต้องเหมาะสม มันจะไม่เกิดประโยชน์อะไรต่อการเรียนรู้เลย

ดังนั้น เมื่อกลับห้องเรียนมา คุณครูจะต้องฝึกทักษะการให้เหตุผลและทำความเข้าใจกับข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา เพราะอย่างไรเสีย ห้องเรียนก็ยังเป็นที่ที่นักเรียนจะต้องนำเสนอ เตรียมการแสดงผลการค้นพบ และตีความบางสิ่งบางอย่าง

คุณครูจะต้องขอให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นว่า การศึกษาภาคสนามได้ช่วยอะไรบ้างต่อการเรียนรู้ของพวกเขา ตัวอย่างเช่น ข้อมูลข่าวสารที่ได้มานี้ ช่วยให้นักเรียนพัฒนาทักษะอะไรขึ้นมาได้บ้าง ทำให้เข้าใจทฤษฎีอะไรได้มากขึ้นมากกว่าเดิมบ้าง ทำให้พวกเขาพัฒนาตัวเองไปสู่การเป็นนักภูมิศาสตร์ได้อย่างไรบ้าง “เหล่านี้คือสิ่งที่คุณครูสามารถเพิ่มคุณค่าของการเรียนรู้เข้าไปได้” Tricia กล่าว

“เพราะนี่เป็นการแนะนำให้นักเรียนได้รับรู้ว่า นักภูมิศาสตร์เขาคิดกันอย่างไร เขาต้องการเรียนรู้อะไร และเขาสร้างความรู้เกี่ยวกับโลกที่เราอาศัยอยู่กันอย่างไร เราจะไม่คาดหวังให้พวกเขาเข้าใจและผลิตองค์ความรู้ออกมาจากทฤษฎีที่ลึกลับและซับซ้อน แต่เชื่อได้ว่าจะมีบางสิ่งบางอย่างผุดออกมาจากความอยากรู้อยากเห็นเล็กๆ ของพวกเขาเอง”

มีคุณค่าที่ยิ่งใหญ่มากของการเรียนรู้วิชาภูมิศาสตร์ทั้งในและนอกชั้นเรียน Tracia เชื่อว่าสักวันหนึ่งนักเรียนของเธอจะรู้ซึ้งถึงคุณค่าของการเรียนรู้ภาคสนามนอกชั้นเรียน “ฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่า มันจะเป็นจุดร่วมที่เหมาะเจาะที่บางช่วงของชีวิตพวกเขา เขาจะได้รู้ได้เห็นในบางสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน แต่เมื่อกลับเข้าเข้าสู่ห้องเรียนแล้ว พวกเขาก็จะกลายเป็นคนที่คิดแบบนักภูมิศาสตร์”

มีอะไรที่จะต้องดำเนินการสำหรับการศึกษาภาคสนามบ้าง

การศึกษาภาคสนามที่เน้นความปรารถนาเรียนรู้ของนักเรียน อาจดูซับซ้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนเริ่มต้นวางแผน ที่ทั้งครูและนักเรียนจะต้องดำเนินการร่วมกัน ทั้งการกำหนดกรอบแนวความคิดให้เกี่ยวเน่องและสอดคล้องกับการศึกษาภาคสนาม

ครูจะต้องพิจารณาสิ่งสำคัญต่อไปนี้ให้ดี

1.     การทำงานเป็นทีม – นี่เป็นสิ่งจำเป็นในการศึกษาภาคสนาม อย่างแรกเลยนั้น นักเรียนควรจะได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม ประเด็นของการเชื่อมโยงทีมงานให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ต้องกำหนดไว้ตั้งแต่ต้นเลย
2.     แนวความคิดและเครื่องมือ – แนวความคิดจะต้องถูกสอนแล้วในชั้นเรียน นักเรียนจึงมีความเข้าใจบริบทของสิ่งต่างๆ ที่จะออกไปเผชิญหน้าในภาคสนามแล้ว ส่วนเครื่องมือต่างๆ นั้น นักเรียนจะต้องได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดีแล้ว
3.     แบบแผนการทำงาน – การดำเนินการในภาคสนามของนักเรียนเป็นสิ่งที่สำคัญที่แสดงถึงความสำเร็จของนักเรียน ดังนั้น นักเรียนจึงจะต้องได้รับการจัดการ และต้องทราบด้วยว่าพวกเขาและเพื่อนร่วมทีมควรจะบรรลุถึงสิ่งใด นี่จึงควรจะจัดกลุ่มจัดประเภทของนักเรียนก่อนออกไปศึกษาภาคสนาม
4.     ปลอดภัยไว้ก่อน – ในภาคสนามจริง ครูเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบความปลอดภัยของนักเรียน จึงควรออกสำรวจเบื้องต้นในพื้นที่ที่จะพานักเรียนไปศึกษาภาคสนามให้เรียบร้อยเสียก่อน และให้หามาตรการสร้างความปลอดภัยมาใช้ขณะออกภาคสนามด้วย
5.     การเรียนรู้ร่วม – ขั้นตอนสุดท้ายของการออกภาคสนาม จำเป็นจะต้องสรุปประเด็นสำคัญๆ ตั้งแต่จุดแรกเรื่องแรกและเรื่องต่อๆ มาจนครบทั้งหมด เพราะนี่จะช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ร่วมกับครูไปด้วยกันได้
6.     สบายสบาย – ขณะวางแผนจะต้องจำไว้ว่า มีสิ่งต่างๆ ให้เรียนรู้เป็นจำนวนมาก เท่าๆ กับสิ่งสำคัญสำหรับนักเรียน คือ การเล่น ดังนั้น ครูจะต้องมั่นใจว่าได้จัดสรรเวลาไว้เพียงพอสำหรับการผ่อนคลาย ทั้งทางกายและทางใจ

ความสำเร็จของการศึกษาภาคสนามขึ้นอยู่กับครู ผู้ที่มีบทบาทหลายอย่างมาก “ครูไม่ใช่ผู้อำนวยความสะดวกของการศึกษาภาคสนาม หากแต่ว่าเขาหรือเธอจะต้องเป็นธุระในฐานะผู้ชี้แนะ (mentor) ครู (teacher) ผู้จัดการ (manager) ที่ปรึกษา (counsellor) และเพื่อน เพื่อให้การเรียนรู้และการใช้ชีวิตของนักเรียนมีประสบการณ์ที่ดี”

วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

การเรียนการสอนแบบนักเรียนมีส่วนร่วมในห้องเรียนใหญ่

การเรียนการสอนแบบนักเรียนมีส่วนร่วมในห้องเรียนใหญ่
เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาวิชาการการศึกษาทั่วไปแห่งประเทศไทย เครือข่ายการศึกษาทั่วไปแห่งประเทศไทย
วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2560 ณ โรงละครเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาวิทยาลัยนเรศวร

เบื้องต้นอาจรู้สึกได้ว่าการสอนถูกจัดขึ้นในห้องเรียนที่มีขนาดเดียว ที่พอเหมาะกับการเรียนรู้ทุกๆ อย่าง และแม้ว่าเทคนิคการสอนที่มีประสิทธิภาพจะสามารถดำเนินการไปได้ด้วยดีทั้งสำหรับห้องเรียนเล็กและห้องเรียนใหญ่ แต่ว่าการสอนห้องเรียนใหญ่กลับต้องเผชิญกับสิ่งท้าทายที่จำเป็นจะต้องใส่ใจในรายละเอียดมากกว่า การสอนแบบบรรยายในห้องเรียนใหญ่ต้องการใช้กลยุทธ์และเทคนิคมากมาย ซึ่งสามารถหาอ่านและเรียนรู้ได้จากหนังสือและคู่มือการสอนทั่วไป เช่น หนังสือ Tools for Teaching ของ Davis (2009) หนังสือ Teaching Tips for College and University Instructors ของ Royse (2001) และหนังสือ McKeachies Teaching Tips ของ Svinicki and McKeachie (2011) และหนังสือที่กล่าวถึงเรื่องนี้เป็นการเฉพาะ เช่น หนังสือ Teaching the Large College Class ของ Heppner (2007) และหนังสือ Engaging Large Classes ของ Staley and Porter (2002) สำหรับบทความบทนี้ เป็นการนำเสนอสิ่งท้าทายในภาพกว้างๆ ของการสอนห้องเรียนใหญ่ และจะเน้นลงไปที่การสร้างนักเรียนให้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ในห้องเรียนใหญ่


ก่อนเปิดเรียน

มีสิ่งสำคัญเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนหลายอย่างที่จะต้องตัดสินใจก่อนเปิดชั้นเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้องเรียนใหญ่ โดยเราจะต้อง

        กำหนดผลลัพธ์สุดท้ายของการเรียนรู้และต้องระบุให้ชัดเจนว่าวิชานี้ต้องการให้นักเรียนได้อะไรออกไปจากชั้นเรียน
        ออกแบบชั้นเรียนที่จะสามารถทำให้นักเรียนบรรลุผลสำเร็จในเป้าหมายการเรียนรู้ ชั้นนี้ควรจะมีหนังสือหรือสื่อการอ่านที่มีสารัตถะครอบคลุมทุกหัวข้อ ระบบการทดสอบนี้จะใช้ และรูปแบบการสอบทุกอย่างต้องชัดเจน
        ตัดสินใจเสียตั้งแต่ต้นว่าจะใช้วิธีการสอนแบบใดตอนไหน โครงสร้างของห้องเรียนเป็นอย่างไร จะจัดให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนอย่างไร และการบรรยายจะเป็นอย่างไร

แม้คำถามเหล่านี้จะถูกถามไปยังคุณครูเสมอๆ แต่ทุกครั้งก่อนจะเปิดชั้นเรียนใหม่ ทุกคำถามจะต้องถูกนำมาทบทวน เพราะการเปลี่ยนแปลงระหว่างที่ชั้นเรียนเปิดไปแล้วนั้น ทำได้ค่อนข้างยาก

นักเรียนอาจไม่รับรู้สิ่งที่เราต้องการเปลี่ยนแปลง (อาจด้วยการที่พวกเขาไม่ได้เข้าห้องเรียนหรืออาจเพราะพวกเขาไม่สนใจฟัง ซึ่งเกิดขึ้นได้เสมอในห้องเรียนใหญ่) ส่วนในห้องเล็กที่มีความใกล้ชิดระหว่างครูกับนักเรียนมากกว่านั้น พวกเขาจะสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ได้ง่ายกว่า อีกทั้งนักเรียนจะไม่หลบซ่อนทั้งกายและใจแบบที่ชอบทำกันในห้องเรียนใหญ่ ด้วยปริมาณงานที่สอดสัมพันธ์กับการจัดการเกรด และการสื่อสารกับห้องเรียนใหญ่ ทำให้มีความยุ่งยากที่จะต้องทำหลายๆสิ่งที่คิดและตระเตรียมการเรียนการสอนในชั้นเรียน ดังนั้นจึงต้องเตรียมการทุกอย่างเสียก่อนเปิดชั้นเรียน

ข้อพิจารณาทั่วไปบางอย่างที่ต้องเตรียมการก่อนเปิดชั้นเรียนวันแรก

        ต้องกำหนดประเด็นสารัตถะการเรียนรู้ให้ชัดเจน ในห้องเรียนใหญ่ นักเรียนจะมีแรงบันดาลใจ ความรู้ความสามารถ และสติปัญญาแตกต่างกันเยอะมาก หากเราวางแผนการสอนให้ครอบคลุมทุกประเด็น เราจะไม่มีเวลาอธิบายลงลึกในรายละเอียด หรือหากวางแผนครอบคลุมประเด็นเนื้อหาไม่มากนัก ก็จะสามารถอธิบายแนววความคิดหลักและลงรายละเอียดที่ควรที่เหมาะสมได้ นั่นทำให้นักเรียนบางคนไม่สามารถเข้าใจแจ่มชัดต่อสิ่งที่เราสอนพวกเขา จึงเป็นการยากสำหรับนักเรียนห้องเรียนใหญ่ที่จะบอกกล่าวกับครู ให้สอนให้ช้าลง เมื่อพวกเขาไม่เข้าใจหลักการหรือแนวความคิดที่ครูกำลังสอนอยู่ มีตัวอย่างการศึกษาวิชาเคมีและชีววิทยาในห้องเรียนใหญ่ ที่จะไม่สามารถแสดงให้นักเรียนได้เรียนรู้หลักการแนวความคิดได้มากนัก นั่นจึงทำให้ไม่เกิดแรงจูงใจให้นักเรียนสนใจเรียนรายละเอียดที่ลึกซึ้ง และที่จำเป็นของรายวิชาเหล่านั้นได้มากนัก
        จัดการสาระการเรียนรู้ให้เป็นลำดับ ครูจะต้องไม่ยึดติดกับลำดับเนื้อหาสาระตามหนังสือหรือคู่มือ ซึ่งบางครั้งอาจจะต้องจัดลำดับใหม่ เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าถึงได้ง่าย และช่วยให้ทำการสอนได้ง่ายขึ้นในห้องเรียนใหญ่ที่มีนักเรียนมานั่งเรียนเป็นจำนวนมาก
        ไม่ควรกังวลกับวัสดุอุปกรณ์มากเกินไป แม้ว่านักเรียนในห้องเรียนใหญ่จะสามารถถามคำถามรูที่กำลังสอนอยู่หน้าชั้นเรียนได้ (และมีการทำให้นักเรียนห้องเรียนใหญ่สามารถมีส่วนร่วมตามเป้าหมายได้อย่างดี) แต่ด้วยความไม่รู้หรือความไม่มั่นใจ อาจทำให้นักเรียนเกิดความยุ่งยากในการเข้าถึงเนื้อหาสาระที่ครูกำลังทำการสอนอยู่หน้าชั้น บางครั้งผลลัพธ์นี้ อาจจบลงด้วยการให้เวลากับพวกเขา และอาจต้องจัดระบบการบรรยายเสียให้ตรงจุดกับความรู้ความเข้าใจและความสนใของนักเรียน โดยเอาบางสิ่งบางอย่างที่จะก่อให้เกิดความสับสนของนักเรียนออกไป เพราะเรารู้จักเนื้อหาสาระที่ทำการสอนมากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งมีโอกาสหงุดหงิดน้อยลง
   บอกผู้เรียนด้วยว่าเขาสามารถบันทึกอะไรได้บ้างระหว่างเรียน บางครั้งนักเรียนในห้องเรียนใหญ่อาจจะข้ามความสนใจขณะที่เราสอนอยู่หน้าชั้น แล้วไปขอคัดลอกบทเรียนภายหลัง อีกทางหนึ่ง นักเรียนบางคนอาจยุ่งยากที่จะเน้นในชั้นเรียนขนาดใหญ่ แต่ว่าพวกเขาสามารถเก็บเกี่ยวความรู้ได้มากจากการฟังบันทึกการบรรยายของเราภายหลังนอกห้องเรียน ดังนั้นจึงจะต้องพัฒนาและใช้นโยบายการจัดการเรียนการสอนที่เราสะดวกแก่การให้การเรียนรู้กับนักเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกนักเรียนที่มีปัญหาการเรียร็ในชั้นเรียน
        สนในความสามารถและความสนใจของนักเรียน ในห้องเรียนใหญ่ เราจะไม่สามารถคาดหวังนักเรียนให้สูงเกินไปหรือต่ำเกินไปได้ เพราะมันจะทำให้เราสูญเสียนักเรียนจำนวนหนึ่งไป จึงจำเป็นจะต้องสร้างทัศนคติที่ดีต่อความรู้ความสามารถและความถนัดของนักเรียนทุกกลุ่ม หากไม่มั่นใจพวกเขาจะสามารถจัดการอะไรได้ ให้วางแผนการประเมินเอาไว้เสียตั้งแต่ต้น และทำการประเมินผลอย่างจริงจังด้วยการวัดการสอนและหลักสูตร เพื่อช่วยให้นักเรียนทราบว่าจะเรียนวิชานี้กันอย่างไร
        เตรียมแผนการเรียนรู้ (syllabus) ไว้ให้นักเรียนด้วย เป็นเรื่องสำคัญที่ครูจะต้องนำเอานโยบาย เป้าหมายการเรียนรู้ และความคาดหวังสูงสุดของการเรียนการสอนมาอธิบายให้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระเบียบการเข้าชั้นเรียน ระบบการตัดเกรด การสอนกลางภาค-ปลายภาค หรือแม้แต่ช่องทางที่นักเรียนจะสามารถติดต่อครูผู้สอน ซึ่งอันหลังสุดนี้มีความสำคัญอย่างมากสำหรับห้องเรียนใหญ่ เพราะนักเรียนอาจไม่พูดในชั้นเรียนด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม แต่พวกเขาจะอยากไปสอบถามหรือขอคำอธิบายเพิ่มเติมหลังจากนั้น
        เข้าไปดูห้องเรียนเสียก่อนที่จะเข้าไปสอนจริง เราจะสามารถลดแรงกดดันต่อตัวเองลงได้ และยังเพิ่มระดับความรู้สึกสบาย เพราะได้รับรู้ว่าห้องเรียนที่จะไปสอนเป็นอย่างไร ก่อนที่จะลงมือทำการสอน หากเราจะใช้เทคโนโลยี ก็ต้องให้แน่ใจให้ได้ว่า จะทำให้สิ่งต่างๆ เหล่านั้นทำงานได้อย่างไร คงเป็นเรื่องน่าอายและหมดความน่าเชื่อถือในตัวเรา หากว่าเรามัวแต่คลำหาวิธีใช้เทคโนโลยีตั้งแต่วันแรกของการเรียน การมาห้องเรียนก่อนเวลาแล้วเรียนรู้ผังเทคโนโลยีและผังทั่วไปของห้องเรียน จะทำให้เรารู้สึกสบายขึ้นก่อนลงมือสอนนักเรียน

เปิดห้องเรียนวันแรก

ห้องเรียนแระเป็นอะไรที่สำคัญสุดๆ บ่อยครั้งที่ความประทับใจแรกพบกลับกลายเป็นความประทับใจที่ลืมเลือน การประเมินผลเบื้องต้นหลังจากที่ให้นักเรียนดูคลิปสั้นๆ 5 วินาที ในการเข้าห้องเรียนวันแรก จะช่วยให้เราสามารถจัดระดับผลลัพธ์ตอนปลายภาคเรียนได้ (Ambady & Rosenthal, 1992) วางแผนให้ดีว่าจะใช้เวลาทุกๆ นาที ในชั้นเรียนวันแรกอย่างไร นักเรียนของห้องเรียนใหญ่มักคาดหวังว่าจะสามารถไปนั่งอยู่ท้ายห้องและไม่ต้องมีส่วนร่วมอะไรกับชั้นเรียนเลย ซึ่งถ้าหากนักเรียนไม่ได้เข้ามาในห้องเรียนวันแรกหรือไม่รู้อะไรเกี่ยวกับเรามาก่อน พวกเราก็จะอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสไตล์การเรียนการสอนของวิชานี้ นักเรียนหลายคนไม่คาดคิดว่าจะสามารถมีส่วนร่วมในชั้นเรียนได้ เพราะขนาดขงห้องเรียนใหญ่เกินกว่าที่จะคิด แต่เราก็สามารถจัดระบบการเรียนรู้ที่ดีได้ด้วยการทำให้ห้องเรียนวิชาแรกดูกระฉับกระเฉง เป็นกันเอง น่าสนใจ โดยมีข้อแนะนำบางอย่างเพิ่มเติม ดังนี้

·        กำหนดและประกาศมารยาทของห้องเรียน ความไม่สุภาพของห้องเรียนจำพวกที่ชอบคุยกัน มาเรียนสาย ออกห้องเรียนก่อนเวลาเลิก ส่งข้อความหากัน และเอาอะไรขึ้นมาทาน ล้วนสร้างความรำคาญให้ทั้งครูและนักเรียน จึงใช้เวลาในวันแรกบอกกล่าวให้ชัด และให้เป็นที่ยอมรับกันทั้งหมดว่าอะไรบ้างที่ทำได้ อะไรบ้างที่ห้ามทำในห้องเรียนนี้
·        ครูบางคนจะแจกเฉพาะ Syllabus ในคาบแรก ซึ่งการทำแบบนั้น มันเป็นการละเลยการบอกกล่าวถึงสิ่งที่น่าตื่นเต้นอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งจากหนังสือ เอกสาร เวบไซต์ คลิป ฯลฯ ที่เป็นอุปกรณ์การเรียนรู้
ü ตั้งแต่ต้น ควรเริ่มชั้นเรียนด้วยตัวอย่างเรื่องตื่นเต้นที่เกี่ยวเนื่องกับรายวิชานี้ราว 15 นาที หรือมากกว่านั้นค่อยแจก Syllabus แล้วก็ตอบคำถาม
ü มีสาระมากกมายที่สามารถนำมาแสดงในวันเปิดชั้นเรียน พึงทำให้ชั่วโมงนี้เป็นวันที่น่าตื่นเต้นที่สุด อาจเป็นคลิปซัก 1 หรือ 2 คลิปสั้นๆ ก็ได้
ü เชิญชวนนักเรียนหลายๆ คนเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน ให้พวกเขาได้เคลื่อนย้ายตำแหน่ง ยกมือ หรือยืนขึ้น เพื่อตอบปัญหาต่างๆ ปัญหาที่ถามนักเรียนแต่ละคนไม่ควรซ้ำกัน
·        ทำรายการช่วยจำเสียตั้งแต่วันแรก การสอนห้องใหญ่นั้นจำนวนนักเรียนจริงๆ จะต้องถูกระบุชัดเจนตั้งแต่ต้นเพื่อจัดระบบอะไรหลายๆ อย่าง รายชื่อนักเรียนจะต้องพร้อม การอ่านสะกดชื่อให้ถูกต้องก็ควรทำ

ทำให้การเรียนรู้เข้าถึงบุคคล

ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของการเรียนการสอนห้องเรียนใหญ่ ที่มีนักเรียนมากกว่า 60 คนขึ้นไป คือ นักเรียนมักรู้สึกว่าผู้สอนไม่มีความสนใจการมีตัวตนของนักเรียนในชั้นเรียนนั้นๆ อย่างจริงจัง ขนาดของชั้นเรียนอาจเป็นอุปสรรคที่จะให้ผู้สอนใส่ใจนักเรียนเป็นรายบุคคล แต่ก็มีวิธีการอีกหลายอย่างที่จะทำให้ผู้เรียนอยู่ในห้องเรียนใหญ่รู้สึกว่าห้องเรียนเล็กลง เป็นต้นว่า

·        พยายามเรียนรู้นักเรียนจาก ชื่อ-สกุล ของพวกเขา บางทีวิธีที่ทรงพลังที่สุดในการทำให้นักเรียนแต่ละคนสนใจเรียน คือ การเรียนรู้จาก ชื่อ-สกุล ของพวกเขา ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเข้มงวดว่าต้องจำได้ทั้งหมด โดยมีเคล็ดง่ายๆ ดังนี้
ü ถ่ายรูปนักเรียนเป็นกลุ่มๆ ในระหว่างเข้าห้องเรียนวันแรก โดยที่นักเรียนแต่ละคนมีป้ายชื่อติดด้านหน้า (อาจออกแบบและทำกันในห้องเรียนวันนั้นเลย) แล้วใช้ภาพเหล่านี้สร้างความจำกับชื่อ-สกุลบางคนก่อนเข้าห้องเรียนในคราวถัดไป อาจใช้เวลาสักสัปดาห์หนึ่งเพื่อจำชื่อ-สกุลให้ได้มากที่สุดเพราะพวกเขาจะรู้สึกดีกับเรา ด้วยเห็นว่าเอาใจใส่พวกเขาอย่างจริงจัง
ü ให้นักเรียนนั่งตำแหน่งเดิม โดยกำหนดไว้ในแผ่นชาร์ต ระบุชื่อ-สกุลของแต่ละคนเอาไว้ โดยให้เป็นแบบนี้ตลอดภาคการศึกษา
·        แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มเล็กๆ หลายๆ กลุ่ม พยายามกำหนดให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกัน แล้วทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกันสัปดาห์ละครั้งเป้นอย่างน้อย พวกเขาจะได้รู้จักเพื่อนร่วมชั้น มีโอกาสพูดคุยทำให้บรรยากาศดีขึ้น
·        ส่งอีเมลถึงนักเรียน อันนี้ให้ทำก่อนเปิดห้องเรียนวันแรก เพื่อบอกข้อมูลบางอย่างเล็กๆ เกี่ยวกับตัวผู้สอนและชั้นเรียน
·        ทำอะไรบางอย่างหลังการสอนแต่ละครั้ง โดยเฉพาะกับใครบางคน เป็นต้นว่า ส่งอีเมลถึงนักเรียนที่สอบตก เพื่อหาสาเหตุที่เขาสอบตก เช่น ไม่ค่อยมาเรียน ไม่พยายามเรียนรู้ หรือไม่เข้าใจ หรือส่งอีเมลถึงนักเรียน 5 คน หรือมากกว่านี้ (ถ้าทำได้) ที่สอบได้คะแนนสูงที่สุด ทั้งหมดนี้จะแสดงให้เห็นว่าพวกเราเอาใจใส่พวกเขา ทั้งนักเรียนเก่งและนักเรียนไม่เก่ง ไม่ได้เห็นพวกเขาแค่ที่มีรายชื่อผู้ลงทะเบียนเรียนวิชานี้เท่านั้น
·        เข้าห้องก่อนและอยู่จนกระทั่งจบ เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนเข้ามาพูดคุยต่อหน้า นอกจากนี้การเข้ามาในห้องเรียนก่อนเวลายังแสดงว่าเราเปิดรับคำถาม โดยให้รีบจัดอุปกรณ์การสอนแล้วเดินไปรอบๆ ห้องทักทายนักเรียนที่นั่งอยู่แต่ละจุด
·        ใช้เทคโนโลยีเชื่อมโยงกับนักเรียน ใช้ซอฟแวร์จัดการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของนักเรียน เปิดให้มีการสนทนากลุ่ม หรือการตอบคำถามเกี่ยวกับชั้นเรียน หากมี TA ก็กำหนดให้ TA แต่ละคนดูและกลุ่มนักเรียนที่จัดเป็นกลุ่มย่อยๆ หลายๆ กลุ่ม และให้ TA รับผิดชอบในการสร้างกลุ่มสนทนา
ü บางครั้งอาจก่อตั้งกลุ่มสื่อสารออนไลน์ของนักเรียนทั้งหมดในชั้น เพื่อแลกเปลี่ยนวิดีโอและข่าวสารที่แต่ละคนค้นพบ หรือที่ได้จากการสื่อสารกับบุคคลอื่นนอกห้องเรียน

ออกแบบการเรียนให้น่าสนใจ

สร้างความตรึงใจให้กับนักเรียนเป็นสำคัญ สำหรับห้องเรียนทุกขนาด แต่มีความสำคัญมากที่สุดสำหรับห้องเรียนใหญ่ เราต้องการให้นักเรียนใช้เวลาในห้องเรียนอย่างคุ้มค่า ต้องการให้นักเรียนกลับมาเข้าห้องเรียนอีกในวันข้างหน้า และต้องการให้พวกเขาได้ประโยชน์จากห้องเรียนมากๆ การทำให้ได้ทุกอย่างดังกล่าวในห้องเรียนใหญ่เป็นเรื่องยาก แต่ใช่ว่าจะทำไม่ได้เอาเสียเลย ทำได้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น (active learning activities) ของผู้สอน ที่จะสามารถจัดการบรรยายให้ดีได้มากน้อยเพียงใด มีข้อแนะนำเป็นกลางๆ ดังนี้

·        ในห้องเรียนเราสามารถนำเสนออะไรต่อมิอะไรได้ตั้งหลายรูปแบบ อย่าใช้เสียงระดับเดียวตลอดระหว่างการบรรยาย อาจสร้างห้องเรียนให้มีปัญหาซักถามหรือตอบโต้กันบ้าง ควรใช้แบบฝึกหัดที่เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้หลายๆ อย่าง
ü ลดความเร็วและระดับเสียงลงเพื่อให้นักเรียนที่ไม่คุ้นเคยกับเสียงเราได้ปรับตัว
ü ใช้ท่าทางการทำมือ เพื่อสร้างความสนใจให้กับนักเรียน
·        ใช้ประโยชน์จากการสอนแบบบรรยายที่เป็นจุดแข็งอยู่แล้ว: โดยกำหนดประเด็นหัวข้อที่มีอยู่แล้วในเอกสาร/หนังสือ เพื่อกำกับและควบคุมให้การเรียนรู้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
·        หาทางจัดการกับข้อจำกัดของการบรรยาย: เป็นเรื่องยากที่ที่จะทำให้นักเรียนที่ชอบนั่งอยู่ท้ายห้อง และคัดลอกอะไรก็แล้วแต่ที่ครูกำลังพูดโดยไม่ได้ประมวลสารสนเทศให้เป็นความรู้ หรือคิดให้ลึกๆ เสียก่อน ให้หยุดพูดทันทีหลังจากที่บรรยายประเด็นสำคัญของตอนนั้นจบลง และพยายามสร้างความเข้าใจให้กับนักเรียนว่าเราต้องการให้รู้ให้เข้าใจสิ่งใด
·        อย่าบรรยายอย่างเดียวหมดทั้งคาบเรียน: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้อธิบายการบรรยายด้วยภาพตัวอย่าง และพยายามตรวจสอบดูว่าได้ให้นักเรียนทำงานในรายวิชานี้ หรือไม่ก็ให้มีการถามคำถามเพื่อให้พวกเขาค้นหาคำตอบร่วมกันกับเพื่อนที่นั่งข้างๆ กัน
ü ทำการสาธิตหรือแสดงตัวอย่างที่ดูแล้วน่าตื่นเต้นอย่างน้อยหนึ่งอย่างในการบรรยายแต่ละเรื่องแต่ละครั้ง ซึ่งภาพตัวอย่างหรือเรื่องเล่าที่ดูมีชีวิตชีวา จะช่วยทำให้นักเรียนจดจำบทเรียนตรงนั้นได้ดีกว่าการบรรยายธรรมดาๆ อีกทั้งยังทำให้มีความเข้าใจต่อเรื่องนั้นชัดเจนขึ้นด้วย
·   เตรียมการบรรยายเพื่อให้คนฟัง ไม่ใช่ให้คนดู: ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนด้วยว่า เราได้ใส่ข้อมูลสารสนเทศในสไลด์หรือสื่อการสอนอย่างอื่นมากเกินไปหรือไม่ เพราะนักเรียนส่วนใหญ่จะคัดลอกสิ่งต่างๆ จากการบรรยายลงสมุดบันทึกอย่างรวดเร็วเท่าที่พวกเขาจะทำได้ ฉะนั้นจึงควรทำสไลด์ให้สั้นกระชับ และทำให้เป็นคำพูด ให้นักเรียนได้ฟังว่าเราพูดอะไร แล้วค่อยบันทึกเฉพาะประเด็นหลักที่สำคัญๆ ต่อเรื่องนี้ มีงานวิจัยยืนยันว่า สไลด์ที่ใส่ภาพลงไปจะชักจูงใจนักเรียนให้ละจากตัวหนังสือที่ปรากฏอยู่ในสไลด์นั่น
·        จัดโครงสร้างการบรรยายแต่ละครั้งให้ดีๆ: เป็นเรื่องง่ายมากที่นักเรียนในห้องเรียนใหญ่จะถูกชักชวนให้หลุดออกจากการเรียนรู้ ฉะนั้นผู้สอนจะต้องมีกรอบการเรียนรู้ที่ชัดเจนในทุกๆ บทเรียน รวมทั้งอะไรก็ตามที่ต้องการบรรลุผล และตรงไหนที่จะต้องไปให้ถึง เขียนสรุปสั้นๆ เอาไว้ให้ทุกคนรับรู้ เมื่อบรรยายเสร็จก็บอกกล่าวให้นักเรียนทราบอีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งเกริ่นนำไปถึงประเด็นที่จะมีการเรียนรู้ในคราวต่อไปด้วย
·        ให้เดินไปรอบๆ ห้องเรียน: สิ่งหนึ่งที่จะทำให้นักเรียนรู้สึกว่าเราให้ความใส่ใจต่อการเรียนรู้ของพวกเขามาก คือ การเดินเข้าไปหาพวกเขาใกล้ๆ เข้าไประหว่างช่องทางเดินระหว่างเก้าอี้นั่งของพวกเขา นักเรียนจะชอบตอบคำถามของเรา เมื่อเราไปยืนอยู่ตรงหน้าเขา ส่วนการยืนอยู่หน้าชั้นเรียนหรือบนโพเดียมของครู จะทำให้นักเรียนที่นั่งเรียนอยู่รู้สึกถอยห่างออกจากการเรียนรู้ในชั้นเรียน

การสร้างการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ

แม้ว่าจะสามารถจัดการห้องเรียนใหญ่ด้วยการสอนแบบบรรยายอย่างดีเท่าไรก็ตาม เราก็ยังไม่สามารถทำให้นักเรียนมีความกระตือรือล้นต่อการเรียนได้ทั้งหมดทั้งมวล นักเรียนจึงต้องได้รับโอกาสเข้าถึงเนื้อหาตั้งแต่ในชั้นเรียน และร่วมเรียนรู้สิ่งต่างๆ เหล่านั้นในชั้นเรียน มีข้อแนะนำเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (active learning) นี้ว่า

·        วางแผนแบบฝึกหัดที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้แบบกระตือรือร้นเอาไว้ตั้งแต่ก่อนเปิดห้องเรียนวันแรก โดยพยายามกำหนดรูปแบบห้องเรียนและนักเรียนให้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาอย่าให้นักเรียนนั่งฟังเฉยๆ หรือไม่มีส่วนร่วม
·        จับคู่เรียนรู้ร่วมกัน มอบหมายงานใหม่ให้นักเรียนไปทำให้เสร็จก่อนการเรียนคราวต่อไปพร้อมอ่านและเตรียมคำถามที่เกี่ยวข้องมาด้วย โดยการเรียนในคราวต่อไปจัดให้นักเรียนจับคู่สอบถามปัญหาระหว่ากันและกัน
·        ใช้วิธีการสอนกันเอง การเรียนการสอนช่วงแนะนำรายวิชาฟิสิกส์และเคมีในระดับมหาวิทยาลัย ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนในห้องเรียนใหญ่โดยให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกันศึกษาค้นคว้า และนำมาสอนกันและกัน อย่างนี้เรียกว่า “การสอนกันเอง” เพราะในห้องเรียนใหญ่ เราสามารถแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่มเล็กๆ และให้แต่ละกลุ่มสอนกลุ่มอื่นในประเด็นที่กลุ่มตนรับผิดชอบ โดยครูผู้สอนทำหน้าที่ดำเนินกระบวนการและตอบคำถามยากๆ ที่นักเรียนอาจไม่สามารถตอบได้
·        สร้างกลุ่มทำงาน เพื่อให้เกิดการประยุกต์ความรู้ที่ได้จากการเรียนรายวิชานี้ไปแก้ปัญหา
·        จัดให้มีการถกแถลงในชั้นเรียน ด้วยการแบ่งกลุ่มความคิด/ ประเด็น ออกเป็น 2 ส่วน ให้ได้ร่วมกันคิดค้นและเขียนจาดนั้นก็เปิดเวที ให้ทั้งสองฝ่ายได้ถกแถลงกันหน้าชั้นเรียน
·        จัดให้มีการระดมสมองขึ้นในชั้นเรียน ด้วยการท้าทายนักเรียนให้ร่วมกันสร้างหรือเสนอแนวทางการแก้ปัญหาบางอย่างที่เป็นไปได้ โดยมีแนวชี้แนะให้เกิดเป้าหมายเชิงตัวเลข ไม่ยกใครคนใดคนหนึ่งให้เด่นกว่าใครๆ และสุ่มแนวคิดของคนใดคนหนึ่งขึ้นมาแสดงในชั้นเรียน
·   สร้างปรากฏการณ์แปลกประหลาด ด้วยการสอนจบก่อนหมดเวลา 30 นาที แล้วใช้เวลาที่เหลือนั้นสนทนากันกับนักเรียนแบบไม่เป็นทางการ

ใช้เครื่องมือสื่อสารการสอนแบบต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

การทำสไลด์ให้สวยงามและมีภาพประกอบในการสอนห้องเรียนใหญ่ จะช่วยดึงดูดและตรึงความสนใจของนักเรียนเป็นอย่างมาก ซึ่งยังมีวิธีการอื่นอีกหลายอย่างที่จะสามารถนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในห้องเรียนใหญ่ เป็นต้นว่า

·        ใส่ใจรายละเอียดของสไลด์: เราจะต้องแน่ใจว่า ไม่ได้ใส่ข้อมูลสารสนเทศในสไลด์มากเกินไป และมีการออกแบบสไลด์ให้สวยงามน่าดูแล้ว เป็นต้นว่าการไม่ใช้อักษรสีดำบนพื้นหลังสีเหลือง และต้องแน่ใจด้วยว่าขนาดอักษรไม่ได้น้อยกว่า 24
·        อย่าใช้ภาพและวิดีโอมากเกินจำเป็น: สไลด์ที่มีภาพอยู่ในนั้นหลายๆ ภาพ อาจรบกวนสิ่งสำคัญที่นักเรียนต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ รวมถึงการนำวิดีโอหลายๆ คลิปมาเปิดในห้องเรียน ก็ไม่ควรทำเช่นกัน
·   ใช้ระบบตอบสนองในชั้นเรียน (CRS: classroom response systems): ระบบตอบสนองในชั้นเรียนเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้นักเรียนสามารถตอบคำถามที่ผู้สอนโพสต์เอาไว้ ซึ่งครูจะสามารถวัดความรู้ความเข้าใจของนักเรียนได้ และมีข้อมูลอะไรที่ควรจะตั้งเป็นหัวข้อใหม่หรือย้ายไปยังหัวข้ออื่น หากจำเป็นต้องมีการอภิปรายหรือคำอธิบายเพิ่มเติม
·        ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจัดการรายวิชา: ทุกวันนี้มีหลายมหาวิทยาลัยที่เข้าไปใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจัดการรายวิชา ทำให้สามารถโพสต์ข้อคำถามที่ต้องการให้เกิดการถกแถลง การตั้งกลุ่มนักเรียนที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชานั้น และโพสต์ตัวอย่างสื่อสร้างสรรค์ประกอบการเรียนรู้อื่นๆ เอาไว้ให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่าง
·        จัดระบบมีเดียแต่ละอย่างให้ดี: เราจะต้องแน่ใจว่าได้นำเอาคลิปสื่อสร้างสรรค์ที่มีคำอธิบายถึงสิ่งที่นักเรียนจะได้เห็น และบางทีอาจเป็นสิ่งที่พวกเขากำลังค้นหากันอยู่ก็เป็นได้ หากว่าเราต้องการแสดงคลิปดีมีประโยชน์ที่มีความยาวมากๆ ก็สามารถทำได้ตรงนี้ โดยหลังจากที่นักเรียนได้ดูคลิปทั้งหลายแล้ว พวกเขาจะสามารถตอบคำถามที่ครูโพสต์เอาไว้ได้

สรุป

การสอนห้องเรียนขนาดใหญ่ ต้องใช้ทักษะอันจำเป็นคล้ายกับการสอนห้องเรียนขนาดเล็ก เพียงแต่ว่า มีสาระและปัจจัยที่จะต้องใส่ใจมากกว่า ดังกล่าวมาทั้งหมดตั้งแต่ต้น รวมทั้งบทความย่อยๆ ที่สอดแทรกแนบมา และสุดท้าย Heppner (2007) ได้สรุปให้เห็นถึงหัวใจสำคัญที่จะต้องตระหนักให้ดี ดังนี้

·        รายวิชาที่สอนกันในห้องเรียนใหญ่ ไม่สามารถสอนสดๆ โดยไม่มีการเตรียมการได้ และไม่สามารถจัดการได้ในรูปแบบเดียวทั้งหมดตลอดภาคการศึกษาได้
·        ความสอดคล้องและตรงไปตรงมา เป็นสิ่งสำคัญมาก เช่น ข้อกำหนดที่ระบุในแผนการเรียน (syllabus) หรือสิ่งต่างๆ ที่ได้กล่าวไว้ตั้งแต่ต้น ทั้งหลายเหล่านั้นจะต้องถือปฏิบัติตามนั้นตลอดทั้งภาคเรียน
·        อะไรที่เป็นนโยบายของรายวิชาทั้งหมดจะต้องเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องส่งให้นักเรียนโดยจัดเป็นส่วนหนึ่งของแผนจัดการเรียนรู้
·        อย่าเน้นที่นักเรียนที่เรียนอ่อนสุดมากเกินไป รวมถึงอย่าปฏิเสธคนที่สนใจเรียนมากกว่าคนอื่น
·        ต้องให้เวลาเตรียมการสอนห้องใหญ่อย่างเพียงพอ
·        ต้องสะท้อนออกมาว่าห้องเรียนเป็นอย่างไร และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ในอนาคต แม้ว่าจะสอนในเรื่องเดิมก็ตาม

การสอนห้องใหญ่ต้องใช้เวลาเยอะ ด้วยมีงานหลายๆ อย่างที่เตรียม ต้องทำอย่างจริงจัง แตกต่างจากการสอนห้องเล็ก แล้วก็ต้องวางแผนการดำเนินการตามนั้นทั้งหมด ซึ่งก็เหมือนการสอนในรูปแบบต่างๆ ที่ทำกันอยู่ การสอนห้องใหญ่ต้องใช้พลังทำงานเยอะ ต้องทำอย่างมีสติ และจะต้องปฏิบัติและสะท้อนกลับที่ดี

บรรณานุกรม

Barkley, E. F. (2010). Student engagement techniques: A handbook for college faculty. San Francisco, CA: Jossey-Bass.
Davis, B. G. (2009). Tools for teaching. San Francisco, CA: Jossey-Bass.
Golding, J. (2001). Teaching the large lecture course. In D. Royse (Ed.) Teaching tips for college and university instructors: A practical guide (pp. 95-120). Boston, MA: Allyn & Bacon.
Heppner, F. (2007).Teaching the large college class: A guidebook for instructors with multitudes. San Francisco, CA: Jossey-Bass.
Lowman, J. (1995). Mastering the techniques of teaching. San Francisco, CA: Jossey-Bass.
Staley, C. A., & Porter, M. E. (Eds.). (2002). Engaging large classes: Strategies and techniques for college faculty. San Francisco, CA: Anker (Jossey-Bass).

Svinicki, M. D., & McKeachie, W. J. (2011). McKeachies Teaching tips: Strategies, research, and theory for college and university teachers (13th ed,). San Francisco, CA: Wadsworth Cengage Learning.