สิ่งสำคัญมากอย่างหนึ่งในวิชาภูมิศาสตร์ คือ
การเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ออกไปศึกษาเรียนรู้ในพื้นที่ภาคสนาม
นอกเหนือจากที่ได้ศึกษาในตำราเรียน
การศึกษาภาคสนามจะช่วยให้นักเรียนสามาถเชื่อมโยงแนวความคิดต่างๆ ทางภูมิศาสตร์
เข้ากับปรากฎการณ์จริง ซึ่งนั่นเป็นสิ่งสำคญมากของการเรียนวิชาภูมิศาสตร์
ทำให้งานภาคสนามมีเป้าหมายชัดเจน
ต่อคำถามที่ว่า "เบื้องหลังของการศึกษาภาคสนาม คืออะไร"
นั้น นักเรียนวิชาภูมิศาสตร์ส่วนใหญ่รู้ดีว่า พวกเขาจำเป็นจะต้องออกไปในพื้นที่เป้าหมาย
เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล แล้วนำกลับมาวิเคราะห์และเขียนรายงานในชั้นเรียน
แต่ว่า คงต้องมีอะไรมากกว่านั้น" Tricia Seow คุณครูภูมิศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง
สิงคโปร์ กล่าวต่ออีกว่า "การศึกษาภาคสนามจะต้องมีเป้าหมาย
และเป้าหมายที่ว่านั้น ควรจะขึ้นอยู่กับระดับชั้นของนักเรียน"
แน่นอนว่าในระดับพื้นฐานจำเป็นต้องฝึกทักษะการเก็บรวบรวมข้อมูลให้มีความถูกต้องแม่นยำ
แต่ว่าในระดับที่สูงขึ้นนั้น ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งที่ได้รับความสนใจ
การศึกษาภาคสนามถูกใช้เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ในสิ่งที่อยากรู้ (inquiry-based learning)
การเรียนรู้หยั่งลึก (deep learning) เริ่มต้นแล้ว
“มันเป็นการซักไซร้ไล่เลียงให้ได้คำตอบที่อิงแอบกับทฤษฎี
และนักเรียนก็จะได้รับรู้ความจริงทั้งหลายที่จะทำให้พวกเขาเข้าใจความซับซ้อนของโลกอย่างจริงจัง
มากกว่าที่จะเข้าใจแค่ในทฤษฎี แค่นั้น” ทริเซียกล่าว
สร้างประสบการณ์บนแนวความคิดสำคัญๆ
ภูมิศาสตร์เป็นวิชาหนึ่งที่สนใจสร้างแนวความคิดนามธรรม
อย่างเช่นคำว่า “พื้นที่” (space)
“แต่ว่าตัวพื้นที่เอง
ไม่ได้สื่อความหมายอะไรให้นักเรียนเข้าใจได้มากนัก
ครูจะต้องบอกให้นักเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับพื้นที่และสถานที่
ซึ่งบ่อยครั้งที่มันดูว่างเปล่ายังงัยไม่รู้
นักเรียนสามารถเรียนรู้พื้นที่ได้จากคำนิยาม แต่มันมองไม่เห็นภาพใช่ไหม” Tricia ถาม “ดังนั้น
การศึกษาภาคสนามจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการแกะรอยหาคำตอบต่างๆ เหล่านี้”
เอาง่ายๆ ลองยกตัวอย่างว่า ครูพานักเรียนเข้าไปในย่านไชน่าทาวน์และลิตเติ้ลอินเดียของสิงคโปร์
แล้วก็บอกนักเรียนว่า นั่นละคือพื้นที่ท่องเที่ยว (tourism space) นักเรียนจึงอาจมีคำถามกลับมาว่า
นี่เป็นพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวใช่ไหม
อะไรทำให้พื้นที่กลายเป็นพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยว ใครกันที่เข้ามาใช่พื้นที่นี้
หากนำเอาเทคนิคการศึกษาภาคสนามเพื่อสำรวจการใช้ที่ดินมาใช้ตรงนี้
นักเรียนก็จะได้เห็นถึงส่วนผสมของการใช้ที่ดินเป็นร้านค้าขายสำหรับนักท่องเที่ยวมีอยู่มากมายกว่าบริเวณพื้นที่อื่นตามถนน
เทคนิคเหล่านี้ช่วยให้นักเรียนเข้าใจแนวความคิดหลายๆ อย่าง ทั้งการกระจายและการเกาะกลุ่มกันบนพื้นที่
อีกทั้งพวกเขายังสามารถใช้ข้อมูลอธิบายความเหมาะสมของพื้นที่นี้ที่จะรองรับการท่องเที่ยวได้ดีหรือไม่
ได้ด้วย
"ความจริงแล้วแนวคิดทั้งหลายเหล่านี้เป็นนามธรรม
เว้นแต่ว่าแนวความคิดนั้นจะวางอยู่บนฐานบางสิ่งบางอย่างที่เป็นประสบการณ์ของนักเรียน"
Tricia กล่าวเอาไว้อย่างนั้น
ซึ่งถ้าหากครูสามารถเชื่อมโยงแนวความคิดกับข้อมูลที่นักเรียนเก็บรวบรวมมา
ภูมิศาสตร์ก็น่าจะดูดีมีชีวิตชีวาขึ้นอีกมากโขเลยทีเดียว
การเรียนรู้หยั่งลึกด้วยการศึกษาภาคสนาม
การสอนในชั้นเรียนและการทำวิจัยภาคสนามจะช่วยกันและกันได้เป็นอย่างดี
Tricia บอกเรา
หลังจากการสอนแนวคิดทางภูมิศาสตร์ เครื่องมือ หรือทักษะ
แล้วการวางแผนการเดินทางออกจากห้องเรียน
เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการศึกษาภาคสนาม
คำถามที่เกิดจากความอยากรู้อยากเห็นของนักเรียนในภาคสนามจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก
ตัวอย่างของการสำรวจการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นวิธีการที่ดีสำหรับการเรียนรู้เกี่ยวกับพื้นที่
(space) ตั้งต้นการสำรวจด้วยคำถาม
- พื้นที่ถูกใช้ประโยชน์อะไร ?
ใครเป็นเจ้าของพื้นที่นั้น ? นักเรียนจะต้องตัดสินใจว่าจะรวบรวมข้อมูลใดบ้างเพื่อตอบคำถามเหล่านี้
ในพื้นที่จริงของการศึกษษภาคสนาม มีมิติต่างๆ มากมายให้พิจารณา
เป็นต้นว่า “หากต้องการทราบว่า ใครเป็นผู้ใช้พื้นที่นี้ ก็ให้พิจารณาหลายๆ สิ่ง
อย่างเช่นเครื่องหมายหรือป้าย
เพราะป้ายที่ติดไว้แสดงให้เห็นถึงการเรียกร้องผู้คนกลุ่มนั้นกลุ่มนี้ให้เข้ามาใช้พื้นที่นี้”
“ลองสอบถามผู้คนแถวนั้นดู
อาจถามเจ้าของร้านค้า หรือว่าถามลูกค้าประจำของร้านนั้น
ลูกค้าประจำร้านนั้นเขาเป็นนักท่องเที่ยวหรือไม่ หากใช่นักท่องเที่ยว
ถามเขาดูว่า เขาเดินทางมาจากไหน”
เมื่อการศึกษาภาคสนามดำเนินการไปเรียบร้อยแล้ว
นักเรียนกลับสู่ชั้นเรียน ทำการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลทั้งหลายที่เก็บรวบรวมมาจากภาคสนาม
ระหว่างการนำเสนอ
มีสิ่งสำคัญสามอย่างที่ครูจะต้องค้นหาจากนักเรียน คือ
·
สิ่งแรก
นักเรียนได้แสดงความพยายามเก็บรวบรวมข้อมูลสารสนเทศด้วยวิธีการที่ดีที่สุดแล้วรึยัง
พวกเขาเลือกใช้วิธีการที่ถูกต้องหรือไม่ เลือกตัวอย่างที่สำคัญจริงๆ หรือเปล่า
ใครทำหน้าที่สอบถาม พวกเขาไปเก็บข้อมูลที่ไหนกันมา และเก็บมาตอนไหน
·
สอง
นักเรียนแสดงข้อมูลข่าวสารให้ดูด้วยวิธีการที่ดีที่สุดแล้วหรือไม่
หากว่าพวกเขากำลังมองหาสิ่งช่วยการนำเสนอให้ดูดีขึ้นกว่าเดิม กราฟ สัดส่วนตัวเลข
หรือภาพเคลื่อนไหว จะทำให้การนำเสนอดูดีขึ้นได้หรือไม่ และ
·
สุดท้าย แต่ไม่ใช่ท้ายสุด
ครูควรแนะนำนักเรียนในการทำความเข้าใจกับข้อมูลสารสนเทศและความคิดเห็นทั้งหมดที่นักเรียนทุกกลุ่มได้นำเสนอ
|
เมื่อต้องกลับเข้าสู่ห้องเรียน
สำหรับการเรียนรู้หยั่งลึกเป็นอะไรอะไรที่เกิดขึ้นหลังจากการศึกษาภาคสนาม
ได้สร้างความแตกต่างอันยิ่งใหญ่ขึ้นมาแล้ว ซึ่งมีความสำคัญมาก
ถ้าหากว่าเราไม่ได้ทำให้ถูกต้องเหมาะสม มันจะไม่เกิดประโยชน์อะไรต่อการเรียนรู้เลย
ดังนั้น เมื่อกลับห้องเรียนมา
คุณครูจะต้องฝึกทักษะการให้เหตุผลและทำความเข้าใจกับข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา
เพราะอย่างไรเสีย ห้องเรียนก็ยังเป็นที่ที่นักเรียนจะต้องนำเสนอ
เตรียมการแสดงผลการค้นพบ และตีความบางสิ่งบางอย่าง
คุณครูจะต้องขอให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นว่า
การศึกษาภาคสนามได้ช่วยอะไรบ้างต่อการเรียนรู้ของพวกเขา ตัวอย่างเช่น
ข้อมูลข่าวสารที่ได้มานี้ ช่วยให้นักเรียนพัฒนาทักษะอะไรขึ้นมาได้บ้าง
ทำให้เข้าใจทฤษฎีอะไรได้มากขึ้นมากกว่าเดิมบ้าง
ทำให้พวกเขาพัฒนาตัวเองไปสู่การเป็นนักภูมิศาสตร์ได้อย่างไรบ้าง
“เหล่านี้คือสิ่งที่คุณครูสามารถเพิ่มคุณค่าของการเรียนรู้เข้าไปได้” Tricia กล่าว
“เพราะนี่เป็นการแนะนำให้นักเรียนได้รับรู้ว่า
นักภูมิศาสตร์เขาคิดกันอย่างไร เขาต้องการเรียนรู้อะไร
และเขาสร้างความรู้เกี่ยวกับโลกที่เราอาศัยอยู่กันอย่างไร
เราจะไม่คาดหวังให้พวกเขาเข้าใจและผลิตองค์ความรู้ออกมาจากทฤษฎีที่ลึกลับและซับซ้อน
แต่เชื่อได้ว่าจะมีบางสิ่งบางอย่างผุดออกมาจากความอยากรู้อยากเห็นเล็กๆ
ของพวกเขาเอง”
มีคุณค่าที่ยิ่งใหญ่มากของการเรียนรู้วิชาภูมิศาสตร์ทั้งในและนอกชั้นเรียน
Tracia เชื่อว่าสักวันหนึ่งนักเรียนของเธอจะรู้ซึ้งถึงคุณค่าของการเรียนรู้ภาคสนามนอกชั้นเรียน
“ฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่า มันจะเป็นจุดร่วมที่เหมาะเจาะที่บางช่วงของชีวิตพวกเขา
เขาจะได้รู้ได้เห็นในบางสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน
แต่เมื่อกลับเข้าเข้าสู่ห้องเรียนแล้ว
พวกเขาก็จะกลายเป็นคนที่คิดแบบนักภูมิศาสตร์”
มีอะไรที่จะต้องดำเนินการสำหรับการศึกษาภาคสนามบ้าง
การศึกษาภาคสนามที่เน้นความปรารถนาเรียนรู้ของนักเรียน
อาจดูซับซ้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนเริ่มต้นวางแผน
ที่ทั้งครูและนักเรียนจะต้องดำเนินการร่วมกัน
ทั้งการกำหนดกรอบแนวความคิดให้เกี่ยวเน่องและสอดคล้องกับการศึกษาภาคสนาม
ครูจะต้องพิจารณาสิ่งสำคัญต่อไปนี้ให้ดี
1.
การทำงานเป็นทีม –
นี่เป็นสิ่งจำเป็นในการศึกษาภาคสนาม อย่างแรกเลยนั้น
นักเรียนควรจะได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม
ประเด็นของการเชื่อมโยงทีมงานให้สามารถทำงานร่วมกันได้
ต้องกำหนดไว้ตั้งแต่ต้นเลย
2.
แนวความคิดและเครื่องมือ –
แนวความคิดจะต้องถูกสอนแล้วในชั้นเรียน
นักเรียนจึงมีความเข้าใจบริบทของสิ่งต่างๆ ที่จะออกไปเผชิญหน้าในภาคสนามแล้ว
ส่วนเครื่องมือต่างๆ นั้น นักเรียนจะต้องได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดีแล้ว
3.
แบบแผนการทำงาน – การดำเนินการในภาคสนามของนักเรียนเป็นสิ่งที่สำคัญที่แสดงถึงความสำเร็จของนักเรียน
ดังนั้น นักเรียนจึงจะต้องได้รับการจัดการ
และต้องทราบด้วยว่าพวกเขาและเพื่อนร่วมทีมควรจะบรรลุถึงสิ่งใด
นี่จึงควรจะจัดกลุ่มจัดประเภทของนักเรียนก่อนออกไปศึกษาภาคสนาม
4.
ปลอดภัยไว้ก่อน – ในภาคสนามจริง ครูเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบความปลอดภัยของนักเรียน
จึงควรออกสำรวจเบื้องต้นในพื้นที่ที่จะพานักเรียนไปศึกษาภาคสนามให้เรียบร้อยเสียก่อน
และให้หามาตรการสร้างความปลอดภัยมาใช้ขณะออกภาคสนามด้วย
5.
การเรียนรู้ร่วม –
ขั้นตอนสุดท้ายของการออกภาคสนาม จำเป็นจะต้องสรุปประเด็นสำคัญๆ
ตั้งแต่จุดแรกเรื่องแรกและเรื่องต่อๆ มาจนครบทั้งหมด
เพราะนี่จะช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ร่วมกับครูไปด้วยกันได้
6.
สบายสบาย – ขณะวางแผนจะต้องจำไว้ว่า
มีสิ่งต่างๆ ให้เรียนรู้เป็นจำนวนมาก เท่าๆ กับสิ่งสำคัญสำหรับนักเรียน คือ
การเล่น ดังนั้น ครูจะต้องมั่นใจว่าได้จัดสรรเวลาไว้เพียงพอสำหรับการผ่อนคลาย
ทั้งทางกายและทางใจ
ความสำเร็จของการศึกษาภาคสนามขึ้นอยู่กับครู
ผู้ที่มีบทบาทหลายอย่างมาก “ครูไม่ใช่ผู้อำนวยความสะดวกของการศึกษาภาคสนาม
หากแต่ว่าเขาหรือเธอจะต้องเป็นธุระในฐานะผู้ชี้แนะ (mentor) ครู (teacher) ผู้จัดการ
(manager) ที่ปรึกษา
(counsellor) และเพื่อน
เพื่อให้การเรียนรู้และการใช้ชีวิตของนักเรียนมีประสบการณ์ที่ดี”
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น