คำถามสำคัญที่ใหญ่มากของวิชาภูมิศาสตร์
The Big Questions in Geography
Susan L. Cutter, University of South Carolina
Reginald Golledge, University of California, Santa Barbara
William L. Graf, University of South Carolina
บทนำ
ในพิธีเปิดการประชุมประจำปี 2001 ของสมาคมนักภูมิศาสตร์อเมริกัน (AAG: Association of American Geographers) ในมหานครนิวยอร์ก ที่มี John Noble Wilford หัวหน้าบรรณาธิการรับผิดชอบด้านวิทยาศาสตร์ของนิตยสารข่าวนิวยอร์ก ไทม์ เป็นวิทยากรนำ เขากล่าวด้วยถ้อยคำตรงไปตรงมา ท้าทายต่อวิชาภูมิศาสตร์ด้วยคำพูดที่ชัดเจนว่า คำถามใหญ่มาก (The Big Questions) ของสาขาวิชาภูมิศาสตร์ของพวกเรา คือ คำถามต่างๆ ที่จะไปจับตรึงความสนใจของสาธารณะ สื่อ และ ผู้กำหนดนโยบาย (Abler, 2001) ซึ่งคำถามดังกล่าว Wilford ได้หมายเหตุให้ได้ขบคิดกันประกอบด้วย นักภูมิศาสตร์พลาดพลั้งในการทำงานวิจัยในประเด็นใหญ่ๆ สำคัญๆ ไปรึเปล่า ? เพราะเหตุใดของนักภูมิศาสตร์ที่ทำงานวิจัยในประเด็นใหญ่ๆ สำคัญๆ จึงไม่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ ? และสมาคมนักภูมิศาสตร์อเมริกันจะสามารถแสดงบทบาทอะไรได้บ้าง ในการปรับปรุงการนำเสนอความรู้ทางภูมิศาสตร์เพื่ออธิบายประเด็นใหญ่ๆ สำคัญๆ เหล่านั้น ?
ประเด็นปัญหาแรกนั้น นักภูมิศาสตร์หลายคนกำลังทำงานวิจัยในประเด็นบางประเด็นที่สำคัญของสังคมสมัยใหม่ แต่ก็ไม่ได้เป็นแบบนั้นทั้งหมด ตัวอย่างเช่น การคิดแบบภูมิศาสตร์ถือเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญของตรวจสอบภาวะโลกร้อน ผลผลิตที่ได้จากงานวิจัยที่เข้าสู่สายตาของผู้กำหนดนโยบายและสาธารณชนนั้น บ่อยครั้งที่ออกมาอยู่ในรูปของแผนที่และข้อมูลภาพจากดาวเทียม ที่จะช่วยอธิบายผลลัพธ์ทางภูมิศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก วิธีการทางภูมิศาสตร์เป็นหัวใจของการวิเคราะห์ภัยพิบัติทางธรรมชาติและภัยจากเทคโนโลยี ด้วยการเปิดโอกาสให้มีการปฏิสัมพันธ์สาธารณะผ่านสื่อที่เป็นแผนที่ นอกจากนี้ภัยพิบัติที่เกิดจากแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ชายฝั่งทะเล และแม่น้ำล้นตลิ่ง เหล่านี้เป็นต้นเหตุไปสู่การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ที่นำไปสู่การรับรู้ของสาธารณะต่อไป การโจมตีของลัทธิก่อการร้ายเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 เป็นสิ่งกระตุ้นความสนใจใหม่ที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ที่สามารถนำมาใช้เพื่อสนองตอบต่อเหตุการณ์ที่เป็นภัยพิบัติและเป็นแนวทางในการเตรียมตัวรับมือ
อย่างไรก็ตาม ยังมีสิ่งท้าทายในปัจจุบันนี้ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่นักภูมิศาสตร์ไม่ได้เข้าไปสัมผัสให้เพียงพอ ที่จะแสดงต่อไปในรายละเอียดของบทความบทนี้ ทั้งนี้เหตุผลหลักอย่างหนึ่งของความไม่สามารถเชื่อมโยงของศักยภาพในการช่วยแก้ปัญหากับการประยุกต์ใช้ทักษะสำหรับประเด็นสำคัญๆ เหล่านั้น ดูเหมือนได้กลายเป็นประเด็นทางสังคมวิทยาของวิชาภูมิศาสตร์ไปเสียแล้ว สมาชิกส่วนใหญ่ของสมาคมนักภูมิศาสตร์อเมริกันล้วนเป็นนักวิชาการในมหาวิทยาลัย พวกเขามีวาระและความปรารถนาตามโครงสร้าง คือ ต้องการทำงานวิจัยเน้นเฉพาะเรื่องให้มีความรู้ลึกตามกระบวนทัศน์ต่างๆ ซึ่งเป็นความรู้ที่ดูเหมือนว่าจะคลุมเครือสำหรับผู้มีอำนาจตัดสินใจและสาธารณะ นอกจากนี้ โครงสร้างทางสังคมปัจจุบันยังทำให้นักวิจัยทางภูมิศาสตร์ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องและทำงานวิจัยในประเด็นปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ที่ต้องการการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว การผลิตงานตีพิมพ์ และการสนับสนุนแรงผลักดันให้เกิดการครอบครอง มากกว่าที่จะให้เกิดการศึกษาวิจัยที่ซับซ้อนกว่าที่เป็นอยู่ ปัญหาขนาดใหญ่ๆ ทั้งหลายที่แก้ได้ไม่ง่ายและไม่เร็ว และที่ไม่จำเป็นงานวิชาการ
มียกเว้นอยู่บ้างเล็กน้อย ที่นักภูมิศาสตร์นอกมหาวิทยาลัยดำเนินการกันอยู่อย่างกระจัดกระจายและทำงานเป็นส่วนตัว หรือทำงานเป็นคณะทำงานสหวิทยาการในองค์กรภาครัฐ ธุรกิจ และองค์กรเอกชนต่างๆ เนื่องจากว่ามีสถาบันการวิจัยทางภูมิศาสตร์จริงๆ ไม่มากนัก จึงเป็นการยากที่จะเน้นให้เห็นถึงพลังทางภูมิศาสตร์ที่มีต่อคำถามใหญ่ๆ นักภูมิศาสตร์จำนวนมากในกลุ่มนี้จึงกำลังตอบสนองอยู่กับความต้องการแบบฉับพลันและแบบที่เป็นระยะสั้น มากกว่าที่จะเป็นผู้นำในการศึกษาประเด็นปัญหาใหญ่ๆ สำคัญๆ
สำหรับเหตุผลที่นักภูมิศาสตร์หลายคนที่ทำงานวิจัยในประเด็นใหญ่ๆ สำคัญๆ แต่ไม่ได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่มี 2 ประการ คือ ความไม่พอเหมาะของเบ้าหลอมแบบเดิมของวารสารรายงานการวิจัยที่นักภูมิศาสตร์จะเข้าไปนำเสนอผลงานเพื่อให้ได้รับรางวัลในวิชาชีพของตัวเอง และบ่อยครั้งที่งานที่สัมพันธ์กับนโยบายเกิดขึ้นมานอกเหนือรายละเอียดต่างๆ ที่มีอยู่ในจุดเริ่มต้นของงานวิจัย มีตัวอย่างที่สำคัญอันหนึ่งที่แสดงให้เห็นจุดที่กล่าวถึงนี้ คือ การทำงานของกรรมการภูมิศาสตร์ (Committee on Geography) ที่ทำงานในคณะกรรมการวิทยาศาสตร์โลกและทรัพยากร (Board on Earth Sciences and Resources) ภายใต้สภาวิจัยแห่งสหรัฐอเมริกา (NRC: National Research Council) กรรมการดังกล่าวผลิตผลงานการศึกษาทางภูมิศาสตร์ และจัดพิมพ์รายงานเพื่อเป็นข้อเสนอแนะและแนวทางให้กับรัฐบาลกลางในหลากหลายประเด็นที่เป็นคำถามใหญ่ๆ สำคัญๆ โดยงานวิจัยที่เห็นอยู่ในปัจจุบันที่นำเสนอจากนักภูมิศาสตร์และที่เป็นงานที่เกิดจากมุมมองทางภูมิศาสตร์ รวมถึงงานที่เป็นข้อแนะนำต่อสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (USGS: US Geological Survey) ที่เป็นการปรับโปรแกรมการวิจัยต่อประเด็นทางภูมิศาสตร์ที่สามารถจับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งที่เกี่ยวกับการขยายตัวของเมือง ภัยพิบัติ และการทำแผนที่ สำหรับกรณีอื่นๆนั้น งานศึกษาของคณะกรรมการอย่างหนึ่งทำให้ได้ทิศทางสำหรับรัฐบาลกลางสหรัฐให้กับผู้มีอำนาจในการตัดสินใจและองค์กรสาธารณะ ที่จำเป็นต้องทราบเกี่ยวกับโลกมุสลิม ขณะที่งานวิจัยอื่นๆ กำลังให้ความสนใจในประเด็นของการคมนาคมขนส่งที่สัมพันธ์กับการแออัดของปริมาณการจราจรในเขตเมืองและการพัฒนาดัชนีการมีชีวิตที่ดี รวมถึงยังมีนักภูมิศาสตร์คนอื่นๆ ก็ไปมีส่วนร่วมในคณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกี่ยวกับน้ำ (Water Science and Technology Board) ของสภาวิจัยแห่งสหรัฐอเมริกา ที่ทำงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้แนวความคิดด้านพื้นที่ลุ่มน้ำในการจัดการระบบนิเวศ และบทบาทของเขื่อนในการรักษาความมั่นคงของอุปทานน้ำของสาธารณะ นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างของนักภูมิศาสตร์ที่เป็นผู้นำการทำงานกลุ่มแบบสหวิทยาการในการสำรวจตรวจสอบการคิดเชิงพื้นที่และการทำแผนที่โลก ทุกกรณีทั้งหมดนี้ นักภูมิศาสตร์ได้แสดงบทบาทในฐานะศูนย์กลาง เพียงแต่ว่าผลผลิตของงานที่ทำกันจะถูกอ้างชื่อว่าเป็นผลงานของหน่วยงาน นักภูมิศาสตร์แต่ละคนที่ทำงานอยู่ในนั้น มีชื่อเป็นเพียงผู้ร่วมทำงานเท่านั้น และหากรายงานฉบับนั้นมีอิทธิพลต่อนโยบาย ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจก็มักจะได้รับเครดิตนั้นไปด้วยเพราะเป็นผู้ดำเนินการตามกระบวนการ โดยไม่ได้ใส่ใจกับผู้สำรวจวิจัยที่เริ่มต้นทำงานกันด้วยอุตสาหะ
สำหรับสมาคมนักภูมิศาสตร์อเมริกัน ที่แสดงบทบาทในการกระตุ้นงานวิจัยที่ทำกันในประเด็นปัญหาใหญ่ๆ ด้วยการให้ความสำคัญกับการทำงานและการทำให้งานนั้นได้รับการเผยแพร่ออกสู่สาธารณะ ซึ่งอาจจะเป็นนักวิจัยเดี่ยวส่วนบุคคลที่ปรารถนาจะทำงานวิจัยด้วยความรักและชื่นชมของพวกเขาร่วมกับคณะที่อยู่ในสาขาวิชาเดียวกัน สมาคมนักภูมิศาสตร์อเมริกันสามารถมีอิทธิพลต่อการทำงานของมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation) มูลนิธิแห่งชาติสำหรับสาขามนุษยศาสตร์ (National Endowment for the Humanities) สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institutes of Health) สมาคมภูมิศาสตร์แห่งชาติ (National Geographic Society) และแหล่งทุนอื่นๆ ที่เป็นช่องทางของความสนใจ และทรัพยากรที่บุคคลหรือคระบุคคลสามารถแสดงความสนใจประเด็นวิจัยที่เป็นประเด็นใหญ่ๆ ได้ ทั้งนี้นักวิจัยทางภูมิศาสตร์ที่เป็นบุคคลมักไม่อยากสำแดงอิทธิพลอะไรออกไปมากนัก ยกเว้นก็แต่เพียงเมื่อพวกเขาต้องให้การสนับสนุนในการทบทวนงานของคณะลูกขุนขององค์กรต่างๆ ที่กล่าวมา แต่ว่าสมาคมนักภูมิศาสตร์อเมริกันเองก็สามารถแสดงอิทธิพลได้เป็นอย่างดีในวอชิงตัน
บนความพยายามที่จะบ่งชี้ถึงประเด็นต่างๆ ที่จะต้องจัดให้มีคุณภาพระดับปัญหาใหญ่ ซึ่งมีข้อสรุปเป็นแนวความคิดแบบกว้างๆ ที่ผนึกประเด็นต่างๆ เชิงแนวคิดบางอย่างเอาไว้ (อย่างเช่นขนาด) และยังคงมีการชี้เฉพาะลงไปถึงชอบเขตของเนื้อหาที่เป็นที่สนใจอยู่ในขณะนี้ ที่จะต้องมายืนยันกันถึงความสำคัญของประเด็นใหญ่ๆ เหล่านั้น ก็เพราะเชื่อว่า ในท้ายที่สุดมันก็จะมีความสัมพันธ์กับประเด็นอื่นๆ ที่ต้องมาดำเนินการร่วมกัน ในบางประเด็นของปัญหาใหญ่นี้อาจจะดูคลุมเครือไปบ้างสำหรับสาธารณะ แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องคุ้นเคยกันดีสำหรับนักวิจัยและผู้กำหนดนโยบายที่เริ่มให้ความสนใจกับประเด็นเหล่านี้อยู่ มีความหวังเล็กๆ ที่การรวบรวมประเด็นใหญ่ๆ ว่าจะสามารถบ่งชี้ปัญหาต่างๆ ที่ใหญ่เท่าๆ กันออกมา แต่ว่าอย่างหนึ่งที่ได้จำแนกมานี้เป็นไปเพื่อคณะนักวิจัยที่ต้องการรับการสนับสนุนทุนวิจัยในประเด็นสำคัญๆ มากกว่าการทำงานวิจัยตามความสนใจในกลุ่มเล็กๆ ของสาขาวิชาที่ใช้งบประมาณไม่มากนักทำงานวิจัยภายในระยะเวลาปีหรือสองปี สำหรับการสื่อสารผลงานวิจัยภูมิศาสตร์ให้สาธารณชนได้เกิดเป็นแนวความคิด ก็ยังเป็นประโยชน์อีกอย่างหนึ่งที่ท้าทายการทำงานของนักภูมิศาสตร์ ซึ่งความท้าทายนี้ ด้วยตัวของมันเองสามารถที่จะกลายไปเป็นประเด็นสำคัญของสาขาวิชาอีกก็ได้ ด้วยข้อเสนอแนะทั้งหมดที่จะกล่าวต่อไปนี้ หวังว่านักภูมิศาสตร์ทุกคนที่ได้อ่านบทความบทนี้ จะได้รับรู้ถึงความสำคัญของชุมชนภูมิศาสตร์ที่จะต้องเข้าไปให้ถึงสิ่งต่างๆ เหล่านั้นให้จงได้
ปัญหาสำคัญมากของภูมิศาสตร์
1. อะไรที่ทำให้สถานที่และภูมิทัศน์แต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน
2. ลึกๆ แล้ว มนุษย์มีความปรารถนาที่จะจัดการพื้นที่ด้วยการสร้างสรรค์เขตแดน กำหนดขอบเขตพื้นที่ และสร้างย่านพื้นที่ขึ้นมาใช่หรือไม่
3. เรากำหนดขอบเขตของพื้นที่ได้อย่างไร
4. เพราะเหตุใดประชาชน ทรัพยากร และความคิด จึงต้องมีการเคลื่อนย้าย
5. โลกถูกเปลี่ยนแปลงจากกิจกรรมของมนุษย์ได้อย่างไร
6. ระบบเสมือนจริงมีบทบาทอะไรในการเรียนรู้เกี่ยวกับโลก
7. เราจะสามารถวัด “สิ่งที่ไม่สามารถวัดได้” ได้อย่างไร
8. ทักษะทางภูมิศาสตร์มีบทบาทอะไร ในการแสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของอารยะธรรมของมนุษย์ และมีบทบาทอะไรในการทำนายอนาคต
9. การเปลี่ยนแปลงความยั่งยืนและความเปราะบางในที่ต่างๆ และช่วงเวลาต่างๆ นั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร และเพราะเหตุใด
10. อะไรคือธรรมชาติของความคิด การให้เหตุผล และความสามารถทางพื้นที่
ทั้ง 10 ข้อมีประเด็นน่าสนใจมาก อยากทราบก็รีเควสมา หรือจะแสดงความเห็นก็เชิญเลยคร้าบบบบบบบบบบ
ตอบลบแสดงความคิดเห็นในข้อ7ตอนท้าย
ตอบลบประเด็นสำคัญอื่นๆเป็นเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมนุษย์ ด้วยคำถามที่ว่า เราสามารถผนวกข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์ในมิติง่ายๆ เพื่อรับประกันการสะท้อนความเป็นจริงของข้อมูล และดำเนินการผ่านประเด็นของความยุ่งยากจากการต้องจัดทำค่าเฉลี่ยและการกำหนดศูนย์กลางเชิงตัวเลขของพื้นที่หรือปัญหาการแปลงหน่วยทางพื้นที่ทั้งหลายเหล่านี้ได้อย่างไร มีบ่อยครั้งที่เราใช้เทคนิค ทั้งหลายในการจัดการผนวกข้อมูลประชากรและข้อมูลพื้นที่ที่เป็นความจริง ให้ออกห่างจากความเป็นจริงแล้วสภาพแวดล้อมประดิษฐ์ชนิดต่างๆขึ้นมา พอดีพอร้ายที่นโยบายสาธารณะทั้งหมดทั้งมวลนั้นมีฐานมาจากการสร้าความเป็นจริงเหล่านี้ ดังนั้นจึงส่งผลหนักเข้าไปอีกต่อการกระจายสินค้า บริการ และทรัพยากร จึงเกิดคำถามต่อมาอีกว่า มีเครื่องมือทางสถิติเชิงพื้นที่แบบใหม่อะไร ที่เราจำเป็นจะต้องนำเข้ามาให้ความสนใจให้มากขึ้นอีก
จาก ธเนศ ปี3 Geo27
4. เพราะเหตุใดประชาชน ทรัพยากร และความคิด จึงต้องมีการเคลื่อนย้าย
ตอบลบแนวความคิดพื้นฐานอย่างหนึ่งของวิชาภูมิศาสตร์ คือ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการที่สินค้า บริการ ประชาชน พลังงาน วัสดุ เงิน และแนวความคิดต่างๆ ที่เลื่อนไหลผ่านโครงข่ายและผ่านข้ามพื้นที่จากสถานที่แห่งหนึ่งไปยังสถานที่อีกแห่งหนึ่ง ถึงแม้วว่าวิชาภูมิศาสตร์จะต้องพบเจอกับคำถามหลายประการเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของสิ่งต่างๆ เหล่านี้ แต่คำภามที่ดูเหมือนจะเป็นการดดันมากที่สุดคำภามหนึ่ง ก็คือ คำถามเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายของประชาชน ซึ่งพวกเราเองถือได้ว่าเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของประชาชนที่มีการเคลื่อนย้ายอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยของพวกเขาจากสถานที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง และพวกเราสามารถเฝ้าสังเกตแรงบีบทางเศรษฐกิจที่นำไปสู่การอพยพเคลื่อนย้ายของประชาชนไปยังสถานที่ต่างๆ ที่เอื้อประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่พวกเขา แต่กระนั้นก็ตาม พวกเรายังมีความรู้ความเข้าใจไม่มากนักเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายเป็นฉากๆ ของประชาชนที่อยู่ในเมือง โดยในประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศนั้น การติดขัดของยวดยานบนถนนกลายเป็นประเด็นทางลบที่สำคัญที่จะต้องมีการประเมินผลที่จะเกิดขึ้นกับคุณภาพชีวิตของประชาชน และในประเทศที่พัฒนาน้อยกว่าหลายประเทศ ก็เริ่มที่จะมีจำนวนยานยนต์ที่ใช้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้โครงข่ายถนนที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการสัญจร ส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการเดินทางอย่างไม่พึงปรารถนานัก เรื่องต่างๆ เหล่านี้วิชาภูมิศาสตร์สามารถและควรจะเข้าไปเกี่ยวข้องในหลายประเด็นที่เป็นพื้นฐาน อย่างเช่น ความต่อเนื่องด้านสิ่งแวดล้อมของการตัดสินใจที่จะเข้ารับผิดชอบต่อการเดินทางไปยังที่ทำงานอันยากเย็นเหล่านี้ (เช่น การให้ความรู้เกี่ยวกับการปล่อยควันของยายนต์ที่ส่งผลต่อการเกิดมลพิษทางอากาศ การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมที่เป็นไปได้อันเนื่องมาจากการสื่อสารทางไกล และความจำเป็นของพลังงานงานเลือกหรือยานยนต์ที่ใช้พลังงานน้อย) นอกจากนี้ยังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความต่อเนื่องด้านสิ่งแวดล้อมของการเคลื่อนย้ายแบบรายวัน ที่วิชาภูมิศาสตร์สามารถอธิบาย พรรณนา และทำนายความเกี่ยวเนื่องด้านสังคมวัฒนธรรมที่มีผลต่อการตัดสินใจเคลื่อนย้ายต่างๆ
Tanyawan ~ Geography#27
( ต่อ ) แม้ว่าการเลื่อนไหลของยวดยานบนถนนมีลักษณะเป็นโครงข่ายทางกายภาพ แต่ยังมีความต้องการให้ความสนใจการเลื่อนไหลแบบอื่นๆ ที่ดำเนินการบนพื้นที่นามธรรม (Abstract Space) ซึ่งการแพร่กระจาย (Diffusion) ของวัฒนธรรม อย่างเช่นการแพร่ของวัฒนธรรมตะวันตกที่มีเอกลักษณ์ของการยึดถือในวัตถุนิยมและปัจเจกชนนิยม (Materialism and Individualism) เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการคืบคลานเข้ามาของโลกาภิวัตน์ของเศรษฐกิจโลก นักภูมิศาสตร์จะต้องเริ่มให้ความใส่ใจว่า แรงขับด้านสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ จะดำเนินไปด้วยกับการแพร่กระจายจากแหล่งที่มีอยู่ไม่มากหนัก ไปสู่การยอมรับของประชากรที่มีวัฒนธรรมหลากหลายจำนวนมาก หากว่าการแพร่กระจายนั้นเกิดขึ้นผ่านระบบพื้นที่ดิจิตัล (Digital Space) ก็เป็นไปได้ที่จะดำเนินการด้วยกระบวนการและแนวความคิดของวิชาภูมิศาสตร์ให้เกิดความรู้ความเข้าใจโลกในศตวรรษที่ 21 ได้ไม่ยากนัก
ตอบลบสำหรับวิกฤตพลังงานไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ.2001 ทำให้ชาวอเมริกันต้องระมัดระวังกันมากขึ้นเกี่ยวกับการมีอยู่อย่างจำกัดของทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป (Nonrenewable Resources) อย่างเช่น น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ รวมถึงความยุ่งยากของการกระจายทรัพยากรเหล่านี้ไปยังพื้นที่ต่างๆ ด้วย พวกเรานักภูมิศาสตร์รับทราบกันเป็นอย่างดีว่า ทุกวันนี้มนุษย์ได้รวมหัวกันบริโภคทรัพยากรพลังงานทั้งสองรูปแบบที่ว่านั้นรวมๆ แล้วราวร้อยละ 50 ของคลังธรรมชาติที่มีอยู่ (ผู้แปลขอให้ดู “ฮับเบอร์ตพีค” (Hubbert’s Peak) ว่าด้วยการลดลงของทรัพยากรน้ำมันของโลก) ทั้งนี้ตามประวัติศาสตร์มนุษยชาติจะเห็นได้ว่า แหล่งพลังงานชนิดหนึ่งจะถูกทดแทนด้วยพลังงานอีกประเภทหนึ่งเสมอ อย่างเช่น พลังงานถ่านหินที่ถูกทดแทนด้วยพลังน้ำ เป็นต้น และจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของทำเลที่ตั้ง การเติบโต ความสำคัญของชุมชน และความสำคัญของภูมิภาค ตัวอย่างนี้รวมถึงการลดความสำคัญของย่านอุตสาหกรรมหนักในเขต rust belts ทางตอนเหนือของอเมริกา และการทดแทนด้วยศูนย์กลางการบริการและสารสนเทศที่ทำให้เกิดความซับซ้อนในเชิงทำเลที่ตั้งมากขึ้น และเมื่อแหล่งพลังงานที่มีอยู่ในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป อะไรจะเกิดขึ้นกับทำเลที่ตั้งและการเติบโตของเมือง โครงสร้างทางด้านอำนาจในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ของโลกจะเปลี่ยนไปหรือไม่ ตัวอย่างเช่น ประเทศทั้งหลายที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มประเทศผู้ค้าออกน้ำมัน (OPEC: Organization of the Petroleum Exporting Countries) จะยังคงสภาพเป็นมหาอำนาจเศรษฐกิจของโลกอยู่หรือไม่ จะมีความเข้มแข็งทางการเมืองอยู่หรือไม่ ประชากรและชุมชนทั้งหลายจะเสื่อมสลายหรือลดความสำคัญลงหรือว่าต้องย้ายที่ตั้งตามไปยังแหล่งพลังงานทางเลือกต่างๆ โครงร่างภายนอกทางภูมิศาสตร์ของอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นอะไร
( ต่อ ) สุดท้ายของประเด็นนี้ คงเป็นเรื่องของการเลื่อนไหลที่ดำเนินไปตามลักษณะทางกายภาพ เช่น พลังงาน และวัสดุ ที่สื่อให้เห็นถึงคำถามเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ชุดหนึ่ง โดยขณะที่นักภูมิเคมี (Geochemist) กำลังประมวลความเข้มข้นของการไหลนองของสารประกอบ เช่น คาร์บอน และไนโตรเจน หน้าที่ของนักภูมิศาสตร์ที่จะเข้ามาช่วยในประเด็นนี้ คือ การชี้ว่าการไหลนองที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดขึ้นในเชิงนามธรรมบนอย่างไม่มีตำแหน่งที่ตั้งแต่อย่างใด หากแต่ภูมิทัศน์ทางกายภาพและสังคมนั้น มีความสำคัญอย่างมากบนทำเลที่ตั้งของการเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าว ในทางตรงข้าม แม้ว่าจะมีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีแล้วเกี่ยวกับจำนวนไนโตรเจนที่หมุนเวียนจากแผ่นดินไปสู่มหาสมุทรและไปสู่บรรยากาศ แต่การหมุนบนเวียนในวัฏจักรนั้นจะเกิดขึ้นอย่างไม่เท่ากันในทุกๆ สถานที่ จึงจำเป็นที่จะต้องตั้งคำถามอีกอย่างน้อย 3 คำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก่อนที่จะก้าวไปสู่คำถามใหญ่คำถามที่ห้าต่อไป คือ การจัดการของมนุษย์จะส่งผลกระทบต่อวัฏจักรของไนโตรเจนและสารชนิดอื่นๆ อย่างไรบ้าง ความแปรปรวนทางภูมิศาสตร์จะถูกนำมาใช้อธิบายประเด็นนี้อย่างไร และมีการเปลี่ยนแปลงความแปรปรวนอย่างไร ในการตอบสนองต่อการเข้ามาควบคุมที่ไม่สัมพันธ์กับการแทรกแซงของมนุษย์
ตอบลบสนใจในข้อ 5
ตอบลบเกี่ยวโลกถูกเปลี่ยนแปลงจากกิจกรรมของมนุษย์ได้อย่างไร
ซึ่งจะเห็นว่าโลก ปัจจุบันนี้นั้นมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากจากอดีตเป็นยุคโลกาภิวัฒน์ เเละที่รู้ๆกันอยู่ว่สสิ่งที่สำคัญที่ทำให้โลกเปลี่ยนแปลงไป คือ มนุษย์ ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากในการทำให้ทรัพยากรธรรมชาติของโลกนั้นถูกทำลาย เเละกำลังจะหมดไป เเละจะเห็นว่าเรื่องทีเป็นประเด็นอยู่ที่มนุษย์ควรใส่ใจ คือ ภาวะโลกร้อน ผลกระทบต่อ “ภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ” (climate change), "ภาวะโลกร้อน"( global warming) และปรากฏการณ์เรือนกระจก "( greenhouse effect ) ที่ทุกคนทั่วโลกได้สัมผัสทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม มันอาจเป็นมหันตภัยที่ร้ายเเรงในอีกไม่กี่ปี ผลกระทบที่จะตามมาอาจจะมีความเสียหายนับไม่ถ้วน
สิ่งที่เป็นคำถามอยู่ในใจ คือ ถ้าหาก น้ำเเข็งขั้วโลกเหนือละลายลงไปเรื่อยๆแล้ว มนุษย์จะทำยังไง? จะอพยพ?ไปอยู่ที่ไหน? ประเทศไทยเราจะมีความปลอดภัยหรือไม่?
Parichat mungkun Geo#27
แสดงข้อคิดเห็นในข้อ 2
ตอบลบมนุษย์เราต้องการที่จะจัดการพื้นที่มาตั้งแต่แรกเริ่มแล้วซึ่งจะเห็นได้จาการไปรบเพื่อแย่งพื้นที่เพื่อให้พื้นที่ของประเทศของตนมีอาณาเขตกว้างไกลโดยมีการกำหนดขอบเขตของประเทศตัวเองหรือเรียกว่าแนวเขตพรมแดนนั้นเองเพื่อที่จะสามารถจัดการและควบคุมระบบต่างๆในประเทศตัวเองได้ง่ายเพราะว่าถ้าไม่มีการกำหนดขอบเขตจะจัดการควบคุมสิ่งต่างๆได้ยาก ถ้ามีการกำหนดขอบเขตผู้นำของประเทศสามารถที่จะจัดการและควบคุมทรัพยากรภายในประเทศได้อย่างเป็นระบบและเพื่อที่จะให้ประเทศตัวเองมีอำนาจต่อโลกและเพื่อให้ประเทศตัวเองเป็นที่นับถือแกประเทศต่างๆ ดังนั้นมนุษย์จึงมีความปารถนาที่จะจัดการและกำหนดขอบเขตของและสร้างย่านพื้นที่ภายในประเทศหรือนอกประเทศขึ้นมาและพยายามที่จะคิดค้นหาเคื่องมือที่มีความไฮเทคและสร้างเครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีเพื่อง่ายต่อการจัดการ ควบคุมของพื้นที่ของตนเอง
ค่ะ.............น่าคิด
ตอบลบ9.การเปลี่ยนแปลงความยั่งยืนและความเปราะบางในที่ต่างๆ และช่วงเวลาต่างๆ นั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร และเพราะเหตุใด
ตอบลบเรื่องนี้น่าสนใจ
เพราะว่า เป็นคำถามที่เกี่ยวกับพื้นที่ซึ่งพวกเราก็เรียนเกี่ยวกับพื้นที่ และช่วงเวลา ซึ่งมีหลายเหตุการต่างๆที่เกี่ยวกับพื้นที่ที่เราไม่รู้
แต่ก่อนเครื่องมีในการศึกษาไม่ค่อยจะมี
ปัจจุบันก็มีเทคโนโลยีเข้ามาใช้อย่างมากมาย
แล้วอนาคตอาจจะมีสิ่งที่เราต้องเรียนรู้อีกมาก
เสนอแนวคิด แนวทางใหม่ทางภูมิศาสตร์สำหรับ เวลาและพื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัดในอนาคต คือ พื้นที่นอกโลก ซึ่งมีการเริ่มสำรวจในหลายพื้นที่เช่น ดวงจันทร์และดาวอังคาร และไม่รู้ว่าอนาคตเราอาจจะต้องใช้ชีวิตนอกโลกก็เป็นได้
ขอแสดงว่าคิดเห็นในข้อที่8 นะคับ ผมคิดว่าทักษะในทางภูมิศาสตร์มีความสำคัญอย่างมากตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เราเริ่มทำแผนที่ตั้งแต่อดีต ใช้ในการทำสงคราม การหาทำเลที่ตั้งเพื่อหาหลักแหล่งในการวางที่อยู่อาศัย และการทำนายเหตุการณ์และพฤติกรรมในอนาคต ผมว่าความรู้ทางภูมิศาสตร์มีความสำคัญมาก โดยเราตั้งข้อสมมติฐานจากสิ่งแวดล้อม ประชากร รสนิยมและความพึงพอใจ ล้วนเป็นตัวแปรในอนาคตของประชากร ในการสร้างถิ่นฐานทั้งสิ้น
ตอบลบสนใจในบทความข้อที่4 คือเพราะเหตุใดประชาชน ทรัพยากร และความคิด จึงต้องมีการเคลื่อนย้าย
ตอบลบมีความคิดเห็นว่าการเคลื่อนย้ายของสินค้า บริการ พลังงาน วัสดุ เงินนั้น เป็นการเลื่อนไหลจากสถานที่แห่งหนึ่งไปยังสถานที่อีกแห่งหนึ่ง ซึ่งมีมนุษย์เป็นตัวกลางในการเคลื่อนที่ การเคลื่อนย้ายทั้งหมดทั้งมวลนี้เป็นความต้องการของมนุษย์ต่อที่อยู่อาศัยของพวกเขาจากที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง อาจเกิดจากแรงบีบทางเศรษฐกิจที่จะเอื้อประโยชน์แก่พวกเขาในการทำมาหากินเพื่อความอยู่รอด ทั้งหมดนี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายของประชาชน ทรัพยากร และความคิด เกิดขึ้นมา
สนใจในข้อ 6 เพราะว่าวิธีที่มีประสิทธิภาะมากที่สุดของการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ก็คือ การมีประสบการณ์โดยตรงต่อสิ่งแวดล้อมโดยในปัจจุบันนี้สามารถทำได้ เช่น ใช้ภาพถ่ายดาวเทียม แสดงพื้นที่หรือบริเวณที่เราต้องการจะศึกษา เพราะบางทีเราไม่สามารถไปในพื้นที่นั้นๆได้เอง จึงต้องใช้ระบบเสมือนจริงนี้ในการศึกษา ซึ่งจะแสดงออกมาเป็นภาะถ่ายดาวเทียมโดยเราสามารถดูเกี่ยวกับผลกระทบทางภาวะโลกได้ โดยศึกษาบริเวณชายฝั่ง หรือพื้นที่บางแห่งและก็สามารถอธิบายได้ว่า พื้นที่บริเวณไหนจะเกิดน้ำท่วมได้ด้วย
ตอบลบสนใจในข้อ 6 เพราะว่าวิธีที่มีประสิทธิภาะมากที่สุดของการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ก็คือ การมีประสบการณ์โดยตรงต่อสิ่งแวดล้อมโดยในปัจจุบันนี้สามารถทำได้ เช่น ใช้ภาพถ่ายดาวเทียม แสดงพื้นที่หรือบริเวณที่เราต้องการจะศึกษา เพราะบางทีเราไม่สามารถไปในพื้นที่นั้นๆได้เอง จึงต้องใช้ระบบเสมือนจริงนี้ในการศึกษา ซึ่งจะแสดงออกมาเป็นภาะถ่ายดาวเทียมโดยเราสามารถดูเกี่ยวกับผลกระทบทางภาวะโลกได้ โดยศึกษาบริเวณชายฝั่ง หรือพื้นที่บางแห่งและก็สามารถอธิบายได้ว่า พื้นที่บริเวณไหนจะเกิดน้ำท่วมได้ด้วย
ตอบลบ9. การเปลี่ยนแปลงความยั่งยืนและความเปราะบางในที่ต่างๆ และช่วงเวลาต่างๆ นั้น เกิดขึ้น สิ่งเเวดล้อมที่ไม่ยังยืนทำให้ความเสี่ยงหลายอย่างเเละเพิ่มความเปราะบางทั้งชีวกายภาพเเละสังคม จึงทำให้เกิดภัย ต่างๆเช่นการทำลายสิ่งเเวดล้อมที่ทะเลอาราล สถาวะความเปราะบางนำมาใช้เป็นเเนวคิดเชิงกระบวนการที่จะฟื้นฟูสภาพให้ กลับคืนมาวกระบวนการเหล่านี้เเจ้งชัดด้วยตัวเองด้วยขนาดทางภูมิศาสตร์ที่เเตกต่างกัน
ตอบลบสนใจในข้อ 5.โลกถูกเปลี่ยนแปลงจากกิจกรรมของมนุษย์ได้อย่างไร
ตอบลบเพราะว่า ไม่ว่าจากอดีตจนถึงปัจจุบันกิจกรรมต่างของมนุษย์ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อโลกของเราทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ สิ่งปกคลุมผิวโลกอันเนื่องมาจากการก่อสร้างบ้านเรือน ตึกหรือสิ่งก่อสร้างอื่น หรือแม้กระทั่งการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ จากโรงงานอุตสาหกรรม การเผาขยะ การใช้รถยนต์ เป็นต้น ซึ่งส่งผลต่อสภาพอากาศ ทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น นอกจากนี้การตัดไม้ทำลายป่าก็มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกเช่นกัน ดั้งนั้นการที่เราจะทำอะไรควรคิดพิจารณาถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โลกอยู่ได้เราก็อยู่ได้
1. อะไรที่ทำให้สถานที่และภูมิทัศน์แต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน
ตอบลบอันนี้น่าจะOK การที่สถานที่แต่ละแห่งมีความแตกต่างกันนั้นก็เนื่องมาจากลักษณะการเกิดขึ้นของลักษณะทางกายภาพ เช่น ลักษณะภูมิประเทศ และอื่นๆเป็นต้น..จึงทำให้พื้นที่ต่างๆมีลักษณะต่างกันไป
5. โลกถูกเปลี่ยนแปลงจากกิจกรรมของมนุษย์ได้อย่างไร
ตอบลบประเด็นนี้ก็น่าสนใจ...โลกถูกเปลี่ยนแปลงจากกิจกรรมของมนุษย์ได้ก็สามารถสังเกตได้ง่ายๆๆจากสิ่งต่างๆมากมายที่เกิดขึ้นทุกสิ่งล้วนมาจากมนุษย์เปลี่ยนแปลงและสร้างสิ่งต่างๆขึ้นทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นปัญหาโลกร้อนที่กำลังเผิชญอยู่ในขณะนี้และเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานานแล้วมนุษย์ก็มีสวนที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ขึ้น สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ภัยพิบัติต่าต่างที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ก็ด้วย ล้วนมาจากฝีมือมนุษย์ด้านนี้จะอิงกับพุทธศาสนาเล็กน้อยถ้ากล่าวมาในที่นี้คงจะยาวถ้าอยากทราบว่าภัยพิบัติที่เกิดขึ้นเกิดมาจากฝีมือมนุษย์ได้ยังไงนั้นคงต้องคุยเป็นส่วนตัว อีกทั้งสังเกตง่ายๆๆได้จากปรากฎการณ์ต่างๆๆที่เกิดขึ้นบนโลกนั่นเองค่ะ
นั่นก็ล้วนมาจากมนุษย์ทั้งสิ้นหรือสังเกตุง่ายๆได้จากอดีตจนถึงปัจจุบันของวิวัฒนาการของสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลกค่ะ