ญาณวิทยาภูมิศาสตร์การย้ายถิ่น
เอกสารแสดงความคิดเห็นนี้ เริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามเกี่ยวกับข้อสันนิษฐานที่ว่าการย้ายถิ่นหมายถึงการย้ายถิ่นระหว่างประเทศ และยืนยันต่อไปว่าการศึกษาการย้ายถิ่นนั้นเกิดขึ้นจริงในลักษณะที่สอดคล้องกัน
แต่ว่ามีความหลากหลายของสาขาการวิจัยมาก และมีชุมชนแสวงหาความรู้เกี่ยวกับประเด็นนี้เกิดขึ้นใหม่หลายแห่ง พวกเขามีความสนใจทั้งการย้ายถิ่นและการพัฒนา เพศและการย้ายถิ่น การย้ายถิ่นตามวิถีชีวิต และการอพยพของเยาวชนและนักเรียน สุดท้ายนี้ ขอยืนยันว่าบทบาทของวิชาภูมิศาสตร์ในการศึกษาการย้ายถิ่นนั้น
ที่ผ่านมาเราประเมินค่าต่ำเกินไป
บทนำ
บทความนี้ถือเป็นบทวิจารณ์งานเขียนชิ้นสำคัญ
เรื่อง ‘Between fragmentation
and institutionalisation: the rise of migration studies as a research field’ ที่นำเสนอโดยเลวี
ปิซาเรฟสกายา และโชลเทน (Levy, Pisarevskaya and
Scholten 2020) ซึ่งรัสเซล คิง (King 2020) มุ่งเน้นไปที่แสดงปฏิกิริยาหลักๆ
4
ประการ คือ
1.
ประเด็นหลักในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการย้ายถิ่น
และขอบเขตของการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้
2.
การศึกษาการย้ายถิ่นฐานที่มาถึงช่วงเวลาที่มั่นคงแล้วนี้
มีรากฐานมาจากไหนและกำลังจะไปในทิศทางใด?
3.
การวิเคราะห์ของเลวีและคณะ ไม่ได้ให้ความสนใจต่อ
'ชุมชนแสวงหาความรู้' ที่เกิดขึ้นใหม่
4.
การมีส่วนร่วมของวิชาภูมิศาสตร์ได้รับการพิจารณาต่ำเกินไป
ใช่หรือไม่?
เนื่องจากงานชิ้นนี้เป็นการสะท้อนพื้นฐานของลักษณะตัวตนและการพัฒนางานวิจัย จึงต้องพึ่งพางานเขียนชิ้นก่อนๆ บางส่วน บางทีอาจมากเกินไป ซึ่งถูกสร้างขึ้นจากงานวิจัยการย้ายถิ่นในส่วนต่างๆ ของโลกหลายทศวรรษ แต่ส่วนใหญ่อยู่ในยุโรป และจากบทบาทการวิจัยที่มีความสำเร็จเชื่อมโยงกันสองประการ
ประการแรก คือ การออกแบบและการสอนหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาการย้ายถิ่น (Migration
Studies) เรื่องทฤษฎีและประเภทของการย้ายถิ่น (Theories and
Typologies of Migration) ที่มหาวิทยาลัยซัสเซก ระหว่างปี 1997-2011 และประการที่สอง คือ การจัดทำวารสารการศึกษาชาติพันธุ์และการย้ายถิ่น
(Journal
of Ethnic and Migration Studies) ตั้งแต่ปี 2001-2013
ประเด็นสำคัญของการศึกษาการย้ายถิ่น
เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจที่ตำราหลักหลายเล่มเกี่ยวกับการย้ายถิ่น
ลังเลที่จะเสนอคำจำกัดความที่เป็นรูปธรรมของการศึกษาการย้ายถิ่น จึงต้องการเน้นย้ำตรงนี้ก่อนว่า การย้ายถิ่นเป็นการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของผู้คนจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ซึ่งห่างไกลกันมากขึ้น และอาศัยอยู่ที่นั่นเป็นระยะเวลาหนึ่ง การศึกษาการย้ายถิ่นเป็นการศึกษาปรากฏการณ์นี้ที่มีขอบเขตกว้างขวางมากขึ้น ด้วยการอธิบาย การวิเคราะห์ และการสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายของผู้คนจากสถานที่หนึ่ง ภูมิภาคหนึ่ง หรือประเทศหนึ่ง ไปยังสถานที่อีกที่หนึ่ง โดยตระหนักว่ามีเกณฑ์ของพื้นที่และเวลาที่สร้างขึ้นภายในคำจำกัดความนี้ การย้ายถิ่นเป็นมากกว่าการย้ายที่อยู่อาศัยภายในหมู่บ้านหรือเมือง และการย้ายถิ่นควรใช้เวลานานกว่าการเดินทางเพื่อไปเยี่ยมเยือนชั่วคราวแบบการท่องเที่ยวและการทำธุรกิจในระยะสั้นๆ โดยทั่วไปมักกำหนดไว้ที่ 1 ปี แต่ก็มีบ้างที่แย้งว่ากรอบเวลาควรสั้นกว่านั้นเพื่อให้เกิดการได้รับรู้ความเกี่ยวข้องของการย้ายถิ่นตามฤดูกาลและการย้ายถิ่นแบบหมุนเวียน
(seasonal
and circular migration) (King
2012c, p.7)
ขณะสอนนักศึกษาเรื่อง 'ทฤษฎีและประเภทของการย้ายถิ่น' รัสเซล คิง ได้สร้างชุดความเข้าใจขึ้นมาชุดหนึ่ง
พร้อมๆ กับคาดหวังว่านักศึกษาจะเข้าใจการย้ายถิ่นที่เกี่ยวข้องกับคำถามสำคัญ 5
ประการที่ไวท์กับวูดส์ (White and Woods 1980a, p.
1)
เคยประกาศเอาเมื่อ 40 ปีก่อน คือ
1.
เหตุใดการโยกย้ายจึงเกิดขึ้น? อันนี้เป็นคำถามที่เป็นทฤษฎีพื้นฐาน
2.
ใครบ้างที่ย้ายถิ่น? คำถามนี้มีลักษณะทำนองเดียวกับที่ถามว่า ใครบ้างที่ไม่ย้ายและทำไม
3.
ต้นทางและปลายทางของสายธารการย้ายถิ่นมีรูปแบบอย่างไร?
และมีวิวัฒนาการอย่างไรเมื่อเวลาผ่านไป? ตรงนี้เป็นคำถามพื้นฐานเกี่ยวกับประวัติศาสตร์
ภูมิศาสตร์ และสถิติการย้ายถิ่น
4.
การย้ายถิ่นมีผลกระทบอย่างไรต่อสถานที่ สังคม และประเทศที่ผู้ย้ายถิ่นจากมา? เหนือสิ่งอื่นใด
คำถามนี้เป็นการกล่าวถึงการอภิปรายถึงความเชื่อมโยงการพัฒนาการย้ายถิ่น
5.
การย้ายถิ่นมีผลกระทบอย่างไรต่อสถานที่ สังคม
และประเทศที่ผู้ย้ายถิ่นตั้งถิ่นเข้าไปอยู่ ความเชื่อมโยงที่ชัดเจนที่สุดของคำถามนี้คือประเด็นของการบูรณาการ
และคำถามที่หกสุดท้ายที่รัสเซล
คิง เพิ่มเติมเข้ามาเอง ถามว่า
6.
การย้ายถิ่นมีผลกระทบอย่างไรต่อตัวผู้ย้ายถิ่นเอง?
สิ่งที่มองเห็นเป็นมุมแรกต่อคำถามสำคัญเหล่านี้ ซึ่งในความเห็นของผมยังคงใช้ได้จนถึงทุกวันนี้เหมือนที่เคยเป็นในปี 1980 ไม่ได้เชื่อมโยงเข้ากับการวิเคราะห์ที่ดำเนินการโดยเลวีและคณะอย่างง่ายดาย เกี่ยวกับโครงสร้างการพัฒนาของสาขาวิชาการย้ายถิ่นฐาน ความสัมพันธ์ดังกล่าวชัดเจนที่สุดในช่วงปีแรกๆ (ระหว่างปี 1975–1984; ดูภาพที่ 1 ข้างล่าง (Levy et al., 2020)) โดยจะเห็นว่านักประชากรศาสตร์กำลังหาคำตอบสำหรับคำถามที่ 2 และ 3 นักเศรษฐศาสตร์ในคำถามที่ 1 และ 4 และนักลัทธิการผสมกลมกลืนและนักสังคมวิทยาเศรษฐกิจในคำถามที่ 5 สำหรับช่วงเวลาต่อมา ความสัมพันธ์มีความชัดเจนน้อยลง เนื่องจากชุมชนที่แสวงหาความรู้ที่โดดเด่นทางด้านซ้ายของแผนภาพฟองอากาศ – เกี่ยวกับวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์และเชื้อชาติ ผู้ประกอบการชาติพันธุ์ และการย้ายถิ่นฐานและสุขภาพ - ที่ปรากฎมากขึ้นเรื่อยๆ สะท้อนให้เห็นถึงการปรับโครงร่างของการศึกษาการย้ายถิ่นว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการย้ายถิ่นและการบูรณาการ และเฉพาะเกี่ยวกับการย้ายถิ่นระหว่างประเทศเท่านั้น การเปลี่ยนแปลงทั้งสองนี้บ่งชี้ว่าด้านหนึ่งเป็นการจำกัดเขตข้อมูลให้แคบลง เพิกเฉยต่อการย้ายถิ่นภายใน และอีกด้านหนึ่งเป็นการขยายขอบเขตโดยการวิเคราะห์ไม่เพียงแต่การกระทำของการย้ายถิ่นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผลกระทบหลังการย้ายถิ่นฐานหลังการตั้งถิ่นฐานในประเทศปลายทางด้วย
ภาพที่ 1 Visualisations of
cross-national co-authorship links in 1998 - top and 2018 – bottom
ภาพที่ 2 co-citations 1975–1984 (N = 554)
แนวโน้มของแนวคิดทั้งสองนี้มีข้อบกพร่องอยู่บ้างในมุมมองของรัสเซล
คิง เพราะดูเหมือนว่าการวิเคราะห์เกือบทั้งหมดของเลวีและคณะ ถูกระบุไว้ในคำจำกัดความของการย้ายถิ่นว่าเป็นการย้ายถิ่นระหว่างประเทศเท่านั้น ซึ่งบางทีนี่อาจสะท้อนรับคำย่อของ IMISCOE (International
Migration, Integration and Social Cohesion in Europe) อย่างไม่ได้ตั้งใจ รวมถึงแนวโน้มของตำราการย้ายถิ่นหลักจำนวนมากที่มักจะมีความเกี่ยวข้องกับการอพยพระหว่างประเทศเท่านั้น แม้ว่าการย้ายถิ่นภายในประเทศจะมีมากอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของโลก และมีการศึกษาอย่างแพร่หลายมากขึ้นและมีความสำคัญมากขึ้นก็ตาม ดังนั้น The Age of
Migration บล็อกบัสเตอร์ของคาสเติลส์กับมิลเลอร์ (พิมพ์ครั้งแรก Castles and Miller 1993; ฉบับล่าสุด de Haas et al. 2020) จึงเป็นยุคของการย้ายถิ่นระหว่างประเทศ โดยมีการกล่าวถึงการย้ายถิ่นภายในประเทศเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในทำนองเดียวกันที่งานเขียนเรื่อง Migration
Theory ของเบรเตลและฮอลลิฟิลด์ (ฉบับล่าสุด Brettell and Hollifield 2015) ได้รับการยกย่องอย่างสูง
แม้ว่าจะเป็นเพียงทฤษฎีการย้ายถิ่นระหว่างประเทศ โดยไม่มีการอ้างอิงถึงการเคลื่อนย้ายภายในประเทศ และหนังสือเรียนเรื่อง Key Concepts
in Migration (Bartram et
al. 2014) ซึ่งใครๆ ก็คาดหวังว่าจะมีการรับรู้ที่กว้างขึ้น แต่ออกตัวว่าเน้นไปที่การย้ายถิ่นฐานระหว่างประเทศเกือบทั้งหมด ดังที่รัสเซล คิง และรอน
สเกลดอน เพื่อนร่วมงานที่ซัสเซกยืนยันอย่างแข็งขัน (King and Skeldon 2010) ให้เห็นถึงช่องว่างระหว่างการย้ายถิ่นระหว่างประเทศและภายในประเทศ
จำเป็นต้องเชื่อมโยงกันทั้งในระดับทฤษฎีและเชิงประจักษ์ ซึ่งในทางทฤษฎีแล้ว มีศักยภาพในการสร้างสรรค์ที่สำคัญสำหรับการบูรณาการทฤษฎีการย้ายถิ่นทั้งภายในและระหว่างประเทศ เช่น ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการย้ายถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างการย้ายถิ่นกับการพัฒนา หรือการศึกษาการปรับตัวทางวัฒนธรรมในบริบทสังคมรับ ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ย้ายถิ่นจำนวนมากย้ายทั้งภายในและต่างประเทศ และข้อเท็จจริงง่ายๆ นี้จำเป็นต้องได้รับการสำรวจเชิงประจักษ์ในรายละเอียดเพิ่มเติม
มุมมองอย่างที่สอง การเน้นที่กลุ่มของชุมชนแสวงหาความรู้
(epistemic
community) ซึ่งจากการตรวจสอบประสบการณ์หลังการย้ายถิ่นของผู้ย้ายถิ่นระหว่างประเทศ โดยอ้างอิงจากคำสำคัญ เช่น การผสมกลมกลืน (assimilation) การสร้างวัฒนธรรมร่วม (acculturation) การประกอบการทางชาติพันธุ์ (ethnic
entrepreneurship) และความสัมพันธ์ทางเชื้อชาติ (race relations) การมีคำว่า 'บูรณาการ' ในคำย่อ IMISCOE อีกครั้งอาจมีบทบาท ณ ตรงนี้ แต่ควรตระหนักถึงข้อสงสัยทางศีลธรรมและปรัชญาพื้นฐานที่มีอยู่เกี่ยวกับการใช้และการสร้างเครื่องมือของแนวคิดนี้ รวมถึงนัยยะเกี่ยวกับความเป็นเจ้าโลก
(hegemony) และอาณานิคมสมัยใหม่ (neo-colony) ประเด็นเหล่านี้ได้รับการอภิปรายอย่างละเอียดถี่ถ้วนในการโต้วาทีในวารสารนี้ซึ่งนำโดยชินเกล (Schinkel 2018, 2019) ซึ่งระบุว่า 'การบูรณาการ' เป็นแนวคิดที่ตายตัวไม่สามารถโต้แย้งใดๆ
ได้
การอพยพศึกษาเดินทางมาถึงจุดที่มั่นคงแล้วหรือ?
คำตอบสำหรับคำถามนี้ดูเหมือนจะชัดเจนในตัวเองโดยมีหลักฐานยืนยันจากหลายๆ
อย่าง อย่างแรกคือลำดับของตัวเลขหลากสีที่รวบรวมโดยเลวีและคณะ (ดูภาพที่ 2 ข้างบน และภาพที่ 3 4 และ 5 ข้างล่าง) ไดอะแกรมหลากสีลวงตาเหล่านี้ จะเห็นเกลียวกระจุกที่แตกตัวออกไปในปี 1975-1984 และ 1984-1985 รูปแบบดังกล่าวกลายเป็นมวลรวมที่สอดคล้องกันในปี 2005-2014 บ่งชี้ว่า 'ยุคใหม่ของการศึกษาการย้ายถิ่นได้เกิดขึ้นแล้ว' (Levy et al., 2020)
สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่าง
คือ รายชื่อสำคัญที่เรียงแถวแสดงในชุมชนแสวงหาความรู้ มีการแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆ อย่างชัดเจน
พร้อมเชื่อมโยงกับการอ้างอิงและความถี่ของการอ้างอิง ความโดดเด่นของชุมชนแสวงหาความรู้ที่เชื่อมโยงกันนี้
คือ ความเป็นศูนย์กลางที่ยั่งยืนยาวนานของพอร์เตส ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางของทะเลฟองสีที่เคลื่อนตัวไปมา
ขณะที่กลุ่มชุมชนแสวงหาความรู้อื่นๆ ก็ได้รับการนำเสนอเอาไว้ด้วย อย่างเช่น แบร์รีที่เป็นผู้นำของกลุ่มนักสะสมวัฒนธรรม
บอร์จาร์ผู้นำกลุ่มนักสังคมวิทยาเศรษฐกิจ
คาสเติลส์และซาสเซนเป็นเจ้าสำนักคิดระบบโลก
– ทั้งหมดนี้ดูไม่น่าแปลกใจเลย แต่ว่ามีสิ่งที่รัสเซล คิง ประหลาดใจมาก ก็คือ
ความเป็นศูนย์กลางของบูร์ดีอูและฟูโกลต์ที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มผู้สนใจชาติพันธุ์/เชื้อชาติสัมพันธ์
เนื่องจากพวกเขาไม่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปว่าเป็นนักวิชาการด้านการย้ายถิ่น
แต่แน่นอนว่า พวกเขาเป็นนักสังคมวิทยาวัฒนธรรม ซึ่งแนวคิดและทฤษฎีได้รับการหยิบยกขึ้นมาโดยนักวิชาการด้านการย้ายถิ่น
ซึ่งวางกรอบงานของพวกเขาเกี่ยวกับแนวคิดต่างๆ เช่น 'สาขาวิชา' 'ที่อยู่อาศัย' 'รูปแบบทุน' 'วาทกรรม' 'อำนาจ' 'การปกครอง' เป็นต้น
ภาพที่ 3 co-citation networks
1985–1994 (N = 1043)
ภาพที่ 4 co-citations 1995–2004 (N = 2237)
ภาพที่ 5 co-citations 2005–2014 (N = 7782)
ส่วนที่สองของคำตอบสำหรับคำถาม
'การมาถึงจุดที่มั่นคง’ ของการศึกษาการย้ายถิ่น เนื้อหาที่วิเคราะห์เชิงคุณภาพของเลวีและคณะ
(Levy et al., 2020) และบทความอื่นของปิซาเรฟสกายา
(Pisarevskaya et al.
2019) ซึ่งอยู่ทีมวิจัยเดียวกัน หลักฐานนี้ประกอบด้วยคำให้การของผู้ให้สัมภาษณ์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ แสดงให้เห็นว่ามีการเพิ่มขึ้นของจำนวนวารสารด้านการย้ายถิ่นฐาน และรากฐานของสถาบันวิจัยหลายแห่ง
รวมถึงหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา เลนส์ส่องทั้งหลายเหล่านี้ บ่งชี้ว่ามีกิจกรรมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว บางครั้งก็เกิดขึ้นในอัตราเร่งสูงมาก นั่นเองที่ทำให้ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการศึกษาการย้ายถิ่นนั้นมาถึงยุคที่มีความมั่นคงแล้ว ซึ่งแท้จริงแล้ว รัสเซล คิง เคยเขียนบทความที่มีชื่อแบบนี้มาแล้วเมื่อ 5 ปีก่อน ซึ่งพอได้สรุปว่า งานวิจัยการย้ายถิ่นไม่ได้ตั้งอยู่ตรงชายขอบของวิชาสังคมศาสตร์อีกต่อไป
หากแต่การย้ายถิ่นได้ถือกำเนิดขึ้นมาและอยู่ในฐานะสาขาวิชาการแล้ว (King 2015, p. 2370)
ยังมีคำถามที่ตอบยากมากกว่านั้น
ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิถีการศึกษาการย้ายถิ่น ถามว่า ‘อะไรคือจุดกำเนิดและตอนนี้กำลังมุ่งหน้าไปที่ใด’ เลวี่และคณะ (Levy et al 2020) พัฒนาแนวคิดที่ว่าการศึกษาการย้ายถิ่นเกิดขึ้นภายใต้ร่มเงาของการศึกษาชาติพันธุ์และเชื้อชาติในช่วงทศวรรษ 1970-1990 นี่เป็นมุมมองที่รัสเซล
คิง บอกว่าไม่เคยทราบแบบนี้มาก่อน โดยเขาระบุว่า ต้นกำเนิดของการศึกษาการย้ายถิ่นนั้นอยู่ห่างไกลออกไปมาก
ปรากฎอยู่ในงานเขียนคลาสสิกของทั้งนักสังคมวิทยา นักภูมิศาสตร์ และนักเศรษฐศาสตร์ เริ่มจากเออร์เนส จี
ราเวนสไตน์ (Revenstien 1885, 1889) และดำเนินการผ่านผลงานที่สำคัญของบรินเลย์
โธมัส (Thomas 1954, 1972) ลาร์รี เอ สจาสตาด (Sjaastad 1962) เอเวเรต อี ลี (Lee 1966) เจ เอ แจ๊คสัน (Jackson 1969) อกิน แอล มาโบกุนเจ (Mabogunje 1970) และวิลเบอร์ เซลินสกี (Zelinsky 1971) - เพื่อตั้งชื่อผู้บุกเบิกที่โดดเด่นเพียงไม่กี่คน ทิศทางในอนาคตของการเดินทางขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งของการศึกษาการย้ายถิ่นในฐานะสาขาสหวิทยาการที่มีงานวิจัยที่น่าสนใจ มีทุนการศึกษาและการสอน มีความนิยมในหมู่นักศึกษาและนักวิจัยรุ่นเยาว์ มีความสำคัญทางสังคมและการเมือง และมีแผนการระดมทุนจำนวนมากสำหรับการวิจัยร่วมกัน เมื่อพิจารณาจากแนวโน้มทางปรัชญาและระเบียบวิธีที่มุ่งสู่เอกภาพทั่วทั้งสังคมศาสตร์ สาขาวิชาการย้ายถิ่นจึงมักถูกเรียกว่าสหวิทยาการ (interdisciplinary) พหุวิทยาการ (multidisciplinary) การศึกษาข้ามสาขาวิทยาการ (transdisciplinary) วิทยาการร่วมสาขาวิชา (cross-disciplinary) หรือก้าวพ้นวิทยาการ (postdisciplinary) นี่ไม่ใช่สถานที่ที่จะหยอกล้อความแตกต่าง (เท่าที่มีอยู่) ระหว่างป้ายกำกับเหล่านี้ แต่จะเน้นย้ำถึงความแข็งแกร่ง ความสอดคล้องกัน และความเกี่ยวข้องของสาขาการศึกษาการย้ายถิ่นที่หลากหลาย
ชุมชนแสวงหาความรู้เกี่ยวกับการย้ายถิ่นที่เกิดขึ้นใหม่
เลวี่และคณะ (Levy et al 2020) นิยามชุมชนแสวงหาความรู้ (epistemic
community) ว่าเป็นกลุ่มนักวิชาการที่รวมตัวกันตามหัวข้อ แนวคิด ระเบียบวินัย หรือวิธีการบางอย่าง สร้าง 'พื้นที่อภิปราย' ที่มีการอ้างอิงและเชื่อมโยงข้ามสาขาวิชาอย่างจริงจัง ในชุดแผนภาพที่แสดงเป็นรูปฟองสบู่ซึ่งอิงจากการวิเคราะห์ทางบรรณานุกรมและการร่วมเขียน โดยแต่ละจุดแสดงถึงผู้เขียนที่มีการอ้างอิงดีเพียงคนเดียว 'ชุมชนแห่งการปฏิบัติการย้ายถิ่นฐาน' เหล่านี้ถูกเรียกอย่างกว้างๆ ว่า 'สำนักคิด' เช่น 'สำนักคิดวัฒนธรรม' 'สำนักคิดระบบโลก' 'สำนักคิดมิชิแกน/วิสคอนซิน' ฯลฯ ซึ่งค่อนข้างคงที่จากหนึ่งทศวรรษสู่อีกทศวรรษหน้า รากฐานของวิวัฒนาการของชุมชนแสวงหาความรู้ที่แสดงเอาไว้ตลอดช่วงเวลาระหว่างทศวรรษที่ 1970-2010 คือ
การเติบโตอย่างมหาศาลของปริมาณสิ่งพิมพ์ การเติบโตอย่างต่อเนื่องในสัดส่วนของเอกสารที่เขียนร่วม และการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบต้นกำเนิดของชาติของผู้ร่วมเขียน
ผู้เขียนทุนการย้ายถิ่นจากที่ครอบงำโดยสหรัฐอเมริกาไปยังทุนที่ยุโรป โดยเฉพาะภาษาอังกฤษที่ผู้เขียนตรงกับอำนาจสำคัญของสหรัฐอเมริกา (Levy et al., 2020) แน่นอนว่า ประเทศต่างๆ ที่แสดงในภาพที่ 1 ไม่จำเป็นต้องตรงกับสัญชาติหรือประเทศต้นทางของผู้เขียนที่บันทึกไว้ แต่เป็นเพียงสถานที่ตั้งของสถาบันการศึกษาที่ผู้เขียนอาศัยอยู่เท่านั้น และเบื้องหลังความไม่สอดคล้องกันนี้มีเรื่องราวที่แยกจากกันเกี่ยวกับการโยกย้ายถิ่นฐานของนักวิชาการและนักวิจัยที่ได้เขียนเกี่ยวกับการโยกย้ายถิ่นฐาน
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการย้ายถิ่นมีขอบเขตมากขึ้น
ดูได้จากการตีความตามแผนภาพจากการวิเคราะห์ของเลวีและคณะที่อ้างอิงมา (Levy et al. 2020 ภาพที่ 1–4) ตัวอย่างเช่น
เกิดอะไรขึ้นกับชุมชนนักวิชาการที่สนใจทำการศึกษาเกี่ยวผู้ลี้ภัยที่เกิดขึ้นเป็นกลุ่มชัดเจนระหว่างปี
1975–1984
แต่หลังจากนั้นก็หายไปในฐานะชุมชนคล้ายกับโรคระบาด
เราทราบดีว่าการศึกษาเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยยังคงเป็นสาขาวิชาที่สำคัญและโดดเด่น
โดยมีวารสาร โครงการวิจัย และสถาบันของตนเอง แผนภาพที่นำเสนอล่าสุดนี้
จะเห็นว่าระหว่างปี 2005-2014 ที่ถือเป็นช่วงพลิกผันของการเคลื่อนย้ายในช่วงกลางทศวรรษ
2000
โดยมีรากฐานมาจากวารสาร Mobilities ในปี 2006
และหนังสือชื่อเดียวกันนี้ที่เขียนโดยเออร์รี (Urry 2007)
แต่ว่าก็มีคำถามต่ออีกว่า
ชุมชนแสวงหาความรู้อันใหม่ใหม่แห่งใดบ้าง ที่ขาดหายไป และชุมชนใดบ้าง ที่มีแนวโน้มที่จะเติบโตต่อไปในอีกไม่ช่วงเวลากี่ปีข้างหน้า
อย่างน้อยก็สำหรับทวีปยุโรป เหตุการณ์สำคัญเมื่อเร็วๆ นี้ เช่น
วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นในปี 2008 'วิกฤตผู้ลี้ภัย' ที่รุมเร้าอย่างเข้มข้นระหว่างปี 2015–2016 หรือการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในปี 2020 เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการวิจัยด้านการย้ายถิ่นที่กำลังพัฒนาอย่างไรบ้าง ความหลากหลายของรูปแบบการเคลื่อนย้ายและความเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ
ที่เพิ่มขึ้นของกระแสและแรงจูงใจของการย้ายถิ่นแบบผสมนำไปสู่การแยกส่วนใหม่ของสาขาการศึกษาการย้ายถิ่นหรือไม่ วิธีหนึ่งในการเริ่มตอบคำถามเหล่านี้คือการมองว่า IMISCOE เป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดและมีชีวิตชีวาที่สุดของนักวิชาการด้านการย้ายถิ่นในทวีปยุโรปและทั่วโลก ตลอดจนวิธีการที่ธุรกิจของ IMISCOE ถูกจัดระเบียบเป็นกลุ่มการวิจัยและความคิดริเริ่ม และวิธีที่หัวข้อเหล่านี้เปลี่ยนไป 15 ปีของเครือข่ายที่ยังคงปรากฎอยู่
องค์ประกอบดั้งเดิมของกลุ่มวิจัยเก้ากลุ่มของ IMISCOE มีหลายกลุ่มที่ไม่ลงตัวพอดีกับผลการวิเคราะห์ที่ปรากฎในแผนที่ฟองอากาศที่นำเสนอ
แต่ว่ายังคงเป็นจุดสนใจของการวิจัยที่สำคัญทั่วโลก หนึ่งในนั้นคือกลุ่มวิจัยการย้ายถิ่นและการพัฒนา (Migration and
Development) ซึ่งในอดีตความสัมพันธ์ของทั้งสองอย่างนี้ส่วนใหญ่ได้รับการวิเคราะห์ผ่านสายตาหรือมุมมองของสังคมโลกที่พัฒนาแล้ว (Thomas 1954; Zelinsky 1971) แต่ด้วยแนวคิดหลักเกี่ยวกับการเชื่อมโยงการพัฒนาการย้ายถิ่น (van Hear and Sørensen 2003) ความสัมพันธ์นี้จึงมุ่งเน้นไปยังประเด็นที่ว่า
‘การย้ายถิ่นสามารถช่วยเหลือการพัฒนาในประเทศต้นทางของผู้ย้ายถิ่นได้หลายวิธี' เช่น ผ่านการไหลเข้าของเงินที่ส่งกลับ อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงการตีความเดียวของการเชื่อมโยงระหว่างการย้ายถิ่นและการพัฒนาเท่านั้น
ยังมีมุมมองทางเลือกอื่นที่เป็นการมองในแง่ลบอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเกี่ยวกับสมองไหลและความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกัน (de Haas 2010) สิ่งนี้ทำให้รัสเซล คิง
มองเห็นในประเด็นที่กว้างมากขึ้นจากแผนที่การศึกษาการย้ายถิ่นที่เลวีและคณะทำสำเร็จมาแล้ว ซึ่งเป็นมุมมองที่ไม่ได้ฉายออกมาจากโลกทางตอนใต้ที่ด้อยพัฒนา (Castles and Delgado Wise 2008) โดยเมื่อพื้นที่ต้นทางและปลายทางการย้ายถิ่นถูกรวมเข้าด้วยกันแล้ว จะเห็นได้ว่าพื้นที่ด้อยพัฒนาทางใต้ทั่วโลกมีอะไรๆ
ที่เยอะแยะมากมายแซงหน้าเหนือกว่าพื้นที่ของโลกที่พัฒนาแล้ว รวมถึงเป็นสถานที่ที่จะมีการย้ายถิ่นภายในขนาดใหญ่ที่สุดกำลังเกิดขึ้นด้วย
กลุ่มที่สองของ IMISCOE เป็นกลุ่มที่มีความผิดพลาดค่อนข้างมากในแผนที่ฟองอากาศดังกล่าว
คือ ความสนใจทำการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องเพศ อายุ และคนแต่ละรุ่น สิ่งเหล่านี้สามารถเห็นได้ว่าเป็นการคาดเดาเพื่อจัดกลุ่มประชากรที่ทำเป็นแผนที่เอาไว้ในภาพที่
1-4 แต่ว่าเลวีและคณะตีความข้อมูลประชากรของการย้ายถิ่นโดยส่วนใหญ่ผ่านเลนส์ของปริมาณการเปลี่ยนแปลงของประชากร กลุ่มต่างๆ ของ IMISCOE นี้เกิดขึ้นและสะท้อนถึงสายการวิจัยที่สำคัญอื่นๆ ซึ่งเนื้อหาประกอบด้วยชุมชนแสวงหาความรู้ที่มีอยู่อย่างเป็นรูปธรรมหรือเพิ่งเกิดขึ้นเป็นตัวอ่อน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเพศและการย้ายถิ่นที่ได้พัฒนางานเขียนที่ดูมีชีวิตชีวาและเชื่อมโยงกันเป็นอย่างดี เช่นเดียวกับเพศที่กลายเป็นกระแสหลักมากขึ้นในสาขาอื่นๆ ของการวิจัยการย้ายถิ่น (สำหรับข้อมูลเชิงลึกที่หลากหลาย ดู Gabaccia and Donato 2015; Pessar
and Mahler 2003; Willis and Yeoh 2000)
การย้ายถิ่นอีกสองประเภทที่กลายเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ในช่วงเปลี่ยนสหัสวรรษ
และเป็นตัวแทนที่ดีในกิจกรรมของกลุ่มวิจัยของ IMISCOE ล่าสุด โดยทั้งสองอันนี้สะท้อนถึงแรงขับเคลื่อนการย้ายถิ่นที่ไม่เปิดเผยมากนักในเรื่องเศรษฐกิจ
(เช่นเดียวกับการย้ายถิ่นของแรงงาน) หรือเรื่องการเมือง (กรณีผู้ลี้ภัย) และอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้องกับช่วงชีวิตและวิถีชีวิต ทั้งนี้การย้ายถิ่นของนักศึกษาต่างชาติได้รับความสนใจอย่างมาก
โดยส่วนใหญ่มาจากนักวิชาการรุ่นเยาว์ซึ่งมีประสบการณ์ของตนเองเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางวิชาการระหว่างประเทศ
(ดูเช่น Bilecen 2014; Van Mol
2014
และสำหรับภาพรวมของสาขา King
and Findlay 2012; King and Raghuram 2013) โดยทั่วไปแล้วนักศึกษาต่างชาติจะไม่ถูกมองว่าเป็นผู้ย้ายถิ่น (แม้ว่าในทางเทคนิคแล้วมักจะเป็นเช่นนั้นก็ตาม)
และเป็นส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์ที่กว้างขึ้นของการเคลื่อนไหวของเยาวชน ซึ่งการศึกษา
การผจญภัย และการใช้ชีวิต โดยทั่วไปแล้วมีความสำคัญเหนือแรงจูงใจในการย้ายถิ่นนทางเศรษฐกิจ
(King 2018)
ประการที่สอง
ชุมชนนักวิชาการที่มีชีวิตชีวาอีกแห่งรวมตัวกันอย่างมากมายเพื่อศึกษาปรากฏการณ์ที่ทับซ้อนกันของการย้ายถิ่นหลังเกษียณอายุระหว่างประเทศและการย้ายถิ่นเพื่อตอบสนองวิถีชีวิต (international
retirement migration and lifestyle migration) โดยเป็นการอพยพเพื่อแสวงหา 'คุณภาพชีวิต' ที่ดีขึ้นในสภาพแวดล้อมที่สวยงามและภูมิอากาศที่น่าอยู่ ทั้งนี้การอพยพย้ายถิ่นแบบนี้ภายในทวีปยุโรปอาจเกิดขึ้นตามฤดูกาลหรือเป็นการเคลื่อนย้ายถาวรก็ได้ โดยการเคลื่อนย้ายจากพื้นที่ที่มีสภาพอากาศหนาวเย็นทางตอนเหนือไปยังบริเวณชายฝั่งที่อุ่นกว่าและมีแสงแดดส่องถึง รวมถึงพื้นที่ชนบททางตอนใต้ โดยขยายไปยังถึงตุรกีและโมร็อกโก ตลอดจนไกลออกไปที่ประเทศไทยและแคริบเบียน วิถีชีวิตแบบคู่ขนานเหนือ-ใต้และการย้ายถิ่นหลังเกษียณอายุสามารถสังเกตได้ในทวีปอเมริกาที่มีผู้คนย้ายถิ่นจากสหรัฐอเมริกาและแคนาดาไปยังเม็กซิโก แคริบเบียน เอกวาดอร์ และที่อื่นๆ การศึกษาในประเด็นนี้ในยุโรปที่บุกเบิกจัดทำโดยเบนสัน
(Benson 2011) และโอไรล์ลี (O'Reilly 2000)
ท้ายที่สุด
หากชุมชนแสวงหาความรู้สามารถอ้างอิงได้กับจุดเปลี่ยนของระเบียบวิธี จะพบว่ามีการเติบโตอย่างรวดเร็วของการศึกษาเชิงคุณภาพเชิงลึกเกี่ยวกับการย้ายถิ่นฐานที่เป็นองค์ประกอบอันทรงพลัง
ช่วยเสริมความแข็งแกร่งทั้งปริมาณงานวิจัยและความเข้าใจของเอกสารในทศวรรษที่ผ่านมา การพัฒนานี้เกิดขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในการวิจัยการย้ายถิ่น ดังที่เลวีและคณะ (Levi et al.
2020) แสดงหมายเหตุเอาไว้ ปริมาณการอ้างอิงถึง Bourdieu, Foucault และ Stuart Hall บ่งบอกถึงการพัฒนานี้ โดยเชื่อมโยงแนวทางวัฒนธรรมเข้ากับธีมความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์/เชื้อชาติ (ดูภาพที่ 3 และ 4) แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผลกระทบของวิธีการเชิงคุณภาพนั้นกว้างกว่าทั่วทั้งสาขาวิชาของการศึกษาการย้ายถิ่นฐานมาก (Zapata
Barrero and Yalaz 2018) รวมถึงสิ่งที่เกิดขึ้นมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้สองอย่าง
คือ 'จุดเปลี่ยนทางเพศ' (Mai and King 2009) และ 'จุดเปลี่ยนทางอารมณ์' (Boccagni and Baldassar 2015;
Svašek 2010)
ภาพที่ 6 visualisation
of the genesis of Migration Studies as a research field (1974–2018).
Co-citation clusters of migration studies literature 1975–2018
เราประเมินค่าภูมิศาสตร์การย้ายถิ่นต่ำเกินไปไหม
คำถามที่สี่และคำถามสุดท้าย
ลองเล่นขี่ม้าก้านกล้วย (personal hobby-horse) กลางสนามหญ้าดูหน่อยเป็นไร การย้ายถิ่นในฐานะที่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบนกาลเทศะ
เป็นปรากฏการณ์ที่มีวิชาภูมิศาสตร์แก่นแกนของสาระ ถึงกระนั้นก็ยังเชื่อว่าการมีส่วนร่วมของนักภูมิศาสตร์ในการศึกษาการย้ายถิ่นนั้น
ได้รับการประเมินค่าต่ำมากอย่างต่อเนื่อง (King
2012a)
ซึ่งความประทับใจต่องานวิจัยทั้งหลายเหล่านี้ไม่ได้ลดลงจากการอ่านรายงานของเลวีและคณะ
(Levy et al. 2020) เลย แต่ว่าทำไมถึงเกิดความรู้สึกแบบนั้นขึ้นมา ในอดีตอาจเป็นเพราะมีความรู้สึกที่ด้อยกว่าสาขาวิชาอื่นๆ
ในหมู่นักภูมิศาสตร์ เมื่อต้องเปรียบเทียบกับสาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพในด้านหนึ่ง
หรือเปรียบเทียบกับสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในอีกด้านหนึ่ง วิชาภูมิศาสตร์ดูเหมือนจะเป็นวิชาที่ 'หลงทาง' อยู่ในสนามเด็กเล่นทางวิชาการ ซึ่งถูกมองว่าเป็นวิชาที่มุ่งเน้นการบรรยายข้อเท็จจริง ตัวเลข และเอกสารระดับภูมิภาค แน่นอนว่ามันไม่มีขอบที่ชัดเจน
แต่ว่าเดวิด ฮาร์วีย์ และดอรีน มาสซี สองคนนี้ก็ได้ดำเนินการหลายๆ อย่าง เพื่อฟื้นฟู 'ความเคารพ' ที่มีต่อวิชาภูมิศาสตร์ ในขณะที่วิกฤตสภาพภูมิอากาศและปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เร่งด่วนอื่นๆ ได้สร้างความจำเป็นสำหรับการหลอมรวมวิชาภูมิศาสตร์กายภาพและวิชาภูมิศาสตร์มนุษย์เข้าด้วยกัน รวมทั้งวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์กายภาพและสังคมศาสตร์ในวงกว้าง เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายระดับโลกเหล่านี้ ปัจจุบันนี้นักภูมิศาสตร์ที่ศึกษาการย้ายถิ่นอาจรู้สึกได้รับแรงบันดาลใจจากคำพูดของฟาเวล (Favell 2008, p. 262) ที่อธิบายว่า 'ภูมิศาสตร์... [เป็น] สาขาวิชาที่น่าตื่นเต้นที่สุดในบรรดาวิชาสังคมศาสตร์ทั้งหมด'
แต่ภูมิศาสตร์ก็ค่อนข้างสั้นโดยเลวีและคณะในการอภิปรายเกี่ยวกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของการศึกษาเกี่ยวกับการย้ายถิ่นฐาน
สังคมวิทยาได้รับการยืนยันว่ามีความสำคัญเป็นอันดับแรก
รองลงมาคือเศรษฐศาสตร์และประชากรศาสตร์ เนื่องจากเป็นสามสาขาวิชาพื้นฐาน
ไม่มีการกล่าวถึงภูมิศาสตร์ หรือข้อเท็จจริงที่ว่าราเวนสไตน์ซึ่งเป็น 'บุคคลสำคัญ' ของการศึกษาการย้ายถิ่น
เป็นนักภูมิศาสตร์ ในแผนภาพคลัสเตอร์การอ้างอิง เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยา
ประชากรศาสตร์ และจิตวิทยา ถูกอ้างถึง แต่ไม่ใช่ภูมิศาสตร์หรือมานุษยวิทยา
ซึ่งบ่งชี้ว่าการมีส่วนร่วมของสองสาขาวิชานี้อยู่ในระดับเล็กน้อย และแผนภาพรายวิชาที่แสดงด้วยแถบสีห้าส่วนในภาพที่ 5
ถือเป็นการยืนยันหย่างหนักแน่นของเลวีและคณะว่า วิชาภูมิศาสตร์ที่เน้นทางด้านสังคมศาสตร์เป็นส่วนประกอบสำคัญของการศึกษาการย้ายถิ่นนับตั้งแต่ปี
2010
ซึ่งส่วนใหญ่ทำหน้าที่เป็นแกนหลักของการวิจัยแบบสหวิทยาการ
ภาพที่ 6 IMISCOE Standing
Committees
สาเหตุที่เป็นไปได้ประการหนึ่งที่ทำให้ภูมิศาสตร์มีผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อแผนภาพและการวิเคราะห์ของเลวีและคณะ
คือ เอกสารที่ระบุว่านักภูมิศาสตร์ไม่ได้ทำงานประสานกันเพื่อสร้างสำนักคิดวิชาการ แต่ได้ให้ความช่วยเหลือในสาขาวิชาต่างๆ
ของการศึกษาการย้ายถิ่นแทน เดาว่าความสำคัญของงานวิเคราะห์เชิงปริมาณที่ดำเนินการโดยนักภูมิศาสตร์ประชากรนั้นซ่อนตัวแอบอยู่ในกลุ่มชุมชนแสวงหาความรู้ด้านประชากรศาสตร์
ขณะที่นักภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ได้เผยแพร่งานวิจัยของพวกเขาไปทั่วอาณาเขตทางปัญญา
ส่วนใหญ่ที่แสดงลงในแผนภาพฟองอากาศนี้ เอื้อและแอบอิงต่อการศึกษาชาติพันธุ์และเชื้อชาติ
วัฒนธรรม และระบบโลก เช่นเดียวกับการย้ายถิ่นและการพัฒนา
ประเด็นเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของผู้ย้ายถิ่น ลัทธิข้ามชาติ การพลัดถิ่น กระบวนทัศน์การเคลื่อนย้าย
และอื่นๆ อีกมากมาย ลัทธิผสมผสานแบบนี้สามารถยืนยันได้ว่าเป็นทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน
ซึ่งถือได้ว่าเป็นความแข็งแกร่ง! ตัวอย่างหนึ่งที่ง่ายและใกล้ตัวของผลกระทบของนักภูมิศาสตร์ที่มีต่อการจัดตั้งสถาบันและการจัดการการศึกษาการย้ายถิ่นมาจากการจัดโครงสร้างดั้งเดิมของ
IMISCOE
ในกลุ่มการวิจัย 9-10 กลุ่ม ซึ่งนั้นมี 4 กลุ่มที่มีนักภูมิศาสตร์เป็นผู้นำ
นอกจากนี้ นักภูมิศาสตร์ยังได้เขียนตำราที่ทันสมัยเกี่ยวกับทฤษฎีและโครงสร้างของการย้ายถิ่น
ซึ่งบ่งบอกถึงทักษะในการสังเคราะห์ เปรียบเทียบ และรวมมุมมองในท้องถิ่น ภูมิภาค
และระดับโลกของปรากฏการณ์ดังกล่าว สิ่งที่สำคัญที่สุด ไล่เลียงกันตามลำดับเวลาได้แก่งานเขียนของไวท์และวูดส์ (White and Woods 1980b) ชื่อว่า The Geographical Impact of Migration งานเขียนของสเกลดอน (Skeldon 1997) เรื่อง Migration and Development งานเขียนของบอยล์และคณะ (Boyle et al. 1998) เรื่อง Exploring Contemporary
Migration งานเขียนของซาเมอร์ส (Samers 2010) เรื่อง Migration (พิมพ์ครั้งที่ 2, Samers and Collyer
2017) งานเขียนของมาวรูดีและนาเกล (Mavroudi and Nagel 2016) เรื่อง Global Migration และงานเขียนเรื่อง Handbook on Critical Geographies of Migration ของมิตเชลและคณะ (Mitchell et al.
2019) ด้วยเงินของตัวผมเอง บอยล์และคณะ ข้อความยังคงแสดงภาพรวมที่ครอบคลุมที่สุดของสาขาการย้ายถิ่นฐาน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการย้ายถิ่นภายในประเทศ
และครอบคลุมทั้งด้านเทคนิคและเศรษฐกิจมากขึ้น ตลอดจนสังคมและวัฒนธรรม
แง่มุมของทฤษฎีการย้ายถิ่นและงานเขียนชิ้นสำคัญๆ น่าเสียดายที่ไม่มีการผลิตงานรุ่นใหม่ออกมา
ในขณะเดียวกัน หนังสือ Handbook ดังกล่าวของมิตเชลและคณะ ถือเป็นการนำเสนอภาพรวมที่ยอดเยี่ยมและครอบคลุมของสถานะขั้นสูงของต้นทุนการศึกษาทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญในหัวข้อการย้ายถิ่นที่หลากหลาย
ประกอบด้วยภูมิศาสตร์การย้ายถิ่นที่พิจารณาตัวตนและเพศของผู้ย้ายถิ่น
ภูมิศาสตร์ของพรมแดนและการควบคุมการย้ายถิ่น การพลัดถิ่นและข้ามชาติ
ผู้ลี้ภัยและมนุษยธรรม เหนือสิ่งอื่นใด ความอ่อนไหวของนักภูมิศาสตร์ที่มีต่อทั้งการตั้งทฤษฎีการย้ายถิ่นจากข้างบน และการตีความเงื่อนไขการย้ายถิ่นจากมุมมองและความหมายของผู้ให้ข้อมูลหรือชุมชน
เหล่านี้ช่วยตอบคำถามหลักข้อที่หกที่เขียนเอาไว้ก่อนหน้านี้เกี่ยวกับผลกระทบของการย้ายถิ่นต่อผู้ย้ายถิ่นเอง
บทสรุป
บทความของเลวีและคณะเป็นการสำรวจงานวิจัยและลานเขียนที่เป็นต้นฉบับและที่น่าสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาของสหวิทยาการของการศึกษาการย้ายถิ่นโดยอาศัยวิธีการและแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย ทำการทบทวนวรรณกรรมจำนวนมากเป็นแกนหลัก นักวิชาการด้านการย้ายถิ่นจะได้เรียนรู้อะไรมากมายจากบทความนี้ อย่างไรก็ตามแต่ก็ทำให้เกิดคำถามขึ้นมามากเท่าที่จะตอบได้ ตัวอย่างเช่น เหตุใดลัทธิข้ามชาติจึงไม่ปรากฏอย่างโดดเด่นเป็นชุมชนแสวงหาความรู้หนึ่ง
ในเมื่อสิ่งนี้เป็นกระบวนทัศน์ที่โดดเด่นในการศึกษาการย้ายถิ่นระหว่างประเทศในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา ทำนองเดียวกัน การสนับสนุนที่สำคัญของรัฐศาสตร์และนโยบายการย้ายถิ่นกลับถูกคัดออกจากการวิเคราะห์ของเลวีและคณะ ขณะที่วิชาภูมิศาสตร์และมานุษยวิทยาถูกมองข้าม
แล้วจัดเข้าไปอยู่ในกลุ่มวิชาสังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ และประชากรศาสตร์ เข้าใจว่า 'นี่คือสิ่งที่การวิเคราะห์แสดงให้เห็น' แต่โดยสัญชาตญาณแล้ว
ดูเหมือนว่าผลลัพธ์ค่อนข้างไม่ได้เน้นความเป็นจริงของสาขาการวิจัย/ศึกษาการย้ายถิ่น อีกทั้งยังไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในชีวิตของผู้ย้ายถิ่นส่วนใหญ่ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการย้ายถิ่นทั้งในฐานะที่เป็นปฏิกิริยาและศูนย์รวมความยากจนและความไม่เท่าเทียม
การตอบคำถามสำคัญข้อหนึ่งของเลวีและคณะ
จะเห็นได้ว่าการศึกษาการย้ายถิ่นเกิดขึ้นมานานแล้ว แต่ด้วยเงื่อนไขที่ว่าการย้ายถิ่นมีความหลากหลาย บางทีเราอาจมียุคใหม่ของการเคลื่อนย้ายที่เต็มไปด้วยความหลากหลาย ในการตอบคำถามสำคัญอีกข้อหนึ่ง
ไม่ว่าการเพิ่มขึ้นของงานวิจัยและการศึกษาการย้ายถิ่นจะนำไปสู่การสร้างสำนักคิดและสถาบันที่รวบรวมวิจัยจำนวนมากเข้าไว้เป็นหมวดหมู่ รวมถึงมีการแยกส่วนและการขยายตัวของสาขาย่อยใหม่หรือไม่ อันนี้ตอบได้ว่าทั้งสองอย่างเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน
ประเด็นสรุปข้อต่อไป คือ การคาดเดาความสนใจในการใช้เทคนิคการจัดกลุ่มให้อยู่ในวิชาอื่นๆ หรืออาจะสร้างสาขาวิชาขึ้นมาใหม่ เช่น สังคมวิทยา ภูมิศาสตร์ หรือเศรษฐศาสตร์ หรือไม่ก็จัดให้เป็นสหวิทยาการ ซึ่งการศึกษาด้านการพัฒนาถือเป็นอะไรที่มีความชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ
ท้ายที่สุด ควรยอมรับว่ามีการวิจารณ์พื้นฐานของการศึกษาการย้ายถิ่น (และการบูรณาการ) ซึ่งนักวิชาการด้านการย้ายถิ่นจำนวนมาก
ไม่อาจปฏิเสธที่จะจัดหมวดหมู่ และให้ความสำคัญกับผู้ย้ายถิ่นฐาน และแม้กระทั่งทำให้ผู้ย้ายถิ่นหลงตัวเอง โดยคิดว่าการย้ายถิ่นของพวกเขามีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับพวกเขา เช่นเดียวกับสำหรับเราในฐานะนักวิชาการด้านการย้ายถิ่นฐานของพวกเขา เราจำเป็นต้องลบภาพลวงตาที่ว่า สำหรับคนที่เราตีตราและมองว่าเป็นผู้ย้ายถิ่นแล้ว การย้ายถิ่นเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดในชีวิตของพวกเขา ซึ่งบ่อยครั้งมันไม่ใช่ (Ragaly 2015) ในทำนองเดียวกัน ดาฮินเดน (Dahinden 2016) ได้ขอร้องให้ลดการย้ายฐานของการวิจัยการย้ายถิ่นและทำการบูรณาการโดยเน้นการแสวงหาความรู้ที่เน้นรัฐชาติและชาติพันธุ์เป็นศูนย์กลาง เราควรย้ายฐานใหม่ของการวิจัยทางสังคมศาสตร์โดยทั่วไป โดยนำความเป็นจริงในชีวิตประจำวันของการย้ายถิ่นฐาน เชื้อชาติ และชาติพันธุ์ เข้ามาเป็นศูนย์กลางของทฤษฎีสังคม ยิ่งกว่านั้นในคำวิจารณ์ของชิงเกล
(Schinkel 2018, 2019) ที่มีคำพูดเป็นเหมือนดาบฟาดฟันเข้าไปในอาคารวิชาการด้านการย้ายถิ่นฐานและการศึกษาบูรณาการ ด้วยทัศนะของเขาที่มองว่าการศึกษาเกี่ยวกับการย้ายถิ่นเป็นการบังคับทำให้ผู้ย้ายถิ่นเปลี่ยนสัญชาติและทำให้ผู้ย้ายถิ่นกลายเป็นวัตถุ และการบูรณาการถูกมองว่าเป็นปฏิบัติการอาณานิคมแบบใหม่
(neo-colonial
exercise) ที่มุ่งสู่ความเป็นเจ้าโลกทางการเมือง-สังคม-วัฒนธรรมของรัฐชาติอย่างไม่อาจปฏิเสธได้
และนี่คือเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ว่า มีความเจ็บปวดจากการดำรงอาชีพของนักวิชาการ สิ่งนี้นับได้ว่ามีความหมายมากๆ
สำหรับโครงการวิจัยการย้ายถิ่นแบบวิทยาการร่วมสาขาวิชา
ที่มา - Russell King (2020) On migration, geography, and epistemic communities. Comparative Migration Studies. Volume 8, Article number: 35 (2020) Cite this article
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น