อภิภูมิศาสตร์ว่าด้วยโครงสร้างการแบ่งทวีป
รองศาสตราจารย์พัฒนา ราชวงศ์ นายกสมาคมภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย
ทวีปต่างๆ ที่มีอยู่บนโลกของเราใบนี้ ความเข้าใจร่วมสมัยของพวกเราล้วนรับรู้กันว่ามีขนาดใหญ่ มีบางส่วนที่ต่อเนื่องกัน และมีผืนแผ่นดินที่แยกออกจากกัน โดยแยกออกจากกันด้วยการมีผืนน้ำที่กว้างใหญ่กลางกั้น แม้ว่าจะมีต้นกำเนิดมาแต่โบราณ การรับรู้และยอมรับร่วมกันแบบนี้มีทั้งความไม่แน่นอนทางประวัติศาสตร์และการตรวจสอบอย่างน่าประหลาดใจ ไม่เคยกำหนดขนาดที่ต้องการและระดับการแยกทางกายภาพที่จำเป็น เห็นได้จากระบบทวีปทั้งเจ็ดในระบบการรเรียนรู้วิชาภูมิศาสตร์ในชั้นประถมศึกษาอเมริกัน ที่ไม่ได้เกิดขึ้นมาเป็นรูปแบบสุดท้าย จนกระทั่งช่วงกลางทศวรรษของศตวรรษปัจจุบัน
แบบอย่างคลาสสิก
ตามคำกล่าวของ Arnold Toynbee ความแตกต่างของทวีปดั้งเดิมนั้น
ได้รับการคิดค้นขึ้นโดยกะลาสีเรือชาวกรีกโบราณ ซึ่งตั้งชื่อทวีปยุโรปและเอเชีย ให้กับดินแดนทั้งสองฝั่งของทางน้ำภายในที่ซับซ้อน
ที่ไหลจากทะเลเอเจียนผ่านช่องแคบดาร์ดาแนล ทะเลมาร์มารา และช่องแคบบอสพอรัส ทะเลดำ
และช่องแคบเคิร์ช ก่อนถึงทะเลอะซอฟ
เส้นทางน้ำนี้กลายเป็นแกนหลักของระบบทวีปเมื่อนักปรัชญากรีกยุคแรกสุด
ชาวไอโอเนียนแห่งไมลิทัสได้กำหนดให้บริเวณนี้เป็นเขตแดนระหว่างสองทวีปอันยิ่งใหญ่ของโลก
ต่อมาไม่นาน ลิเบีย หรือแอฟริกาก็ถูกเพิ่มเติมเข้ามาเพื่อสร้างโครงสร้างสามทวีป (three-continent scheme) นั่นจึงทำให้ไม่น่าแปลกใจเลยที่ทะเลเอเจียนจะถือเป็นหัวใจสำคัญของแนวคิดเรื่องโลกของชาวกรีก
โดยพื้นฐานแล้ว เอเชีย (Asia) หมายถึงดินแดนทั้งหลายที่อยู่ทางทิศตะวันออก
ยุโรป (Europe) หมายถึงดินแดนทั้งหลายที่อยู่ทางทิศตะวันตกและเหนือ
ส่วนลิเบีย (Libya) หมายถึงดินแดนทั้งหลายที่อยู่ทางทิศใต้
ความผิดปกติที่ดูเหมือนของโครงสร้างสามทวีปนี้
คือ ตำแหน่งตรงกลางโครงสร้างของชาวกรีกเอง ซึ่งมีอารยธรรมทอดยาวทั้งไปตามชายฝั่งตะวันตกและตะวันออกของทะเลเอเจียน
Toynbee แย้งว่าชาวกรีซตอนกลางใช้เขตแดนเอเชีย-ยุโรป
เพื่อแสดงการดูหมิ่นญาติพี่น้องชาวไอโอเนียน (หมายถึง
ผู้คนที่อยู่ทางตะวันออกของฝั่งทะเลเอเจียน เป็นกลุ่มอนาโตเลียหรือตุรกีในปัจจุบัน)
ที่ยอมจำนนต่อการปกครองแบบเอเชีย (เปอร์เซีย) ซึ่งตรงกันข้ามกับการมีเสรีภาพแบบประจบประแจงของชาวยุโรปอย่างพวกเขา
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่นักคิดชาวกรีกทุกคนที่ระบุตนเองว่าเป็นชาวยุโรป ดูเหมือนว่าบางคนใช้คำยุโรปเป็นคำพ้องสำหรับดินแดนทางเหนือแห่งทราเซีย อีกรูปแบบหนึ่ง ดินแดนยุโรปหมายความรวมถึงแผ่นดินใหญ่ของกรีซด้วย
โดยไม่ได้รวมเอาดินแดนที่เป็นหมู่เกาะหรือคาบสมุทรเพโลพอนเนซัสเอาไว้ด้วย ส่วนคนอื่นๆ
โดยเฉพาะ Aristotle ได้แบ่งแยกเชื้อชาติของชาวกรีกออกจากโครงสร้างสามทวีปโดยสิ้นเชิง
โดยให้เหตุผลว่าคุณลักษณะของกรีกเป็นเฉกเช่นเดียวกับดินแดนกรีกเอง คือ ครอบครองอยู่
ณ ตำแหน่งตรงกลางระหว่างยุโรปและเอเชีย อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็นความเห็นหรือคำยืนยันของใครหรือในกรณีใดๆ
ก็ตาม ข้อพิพาทเหล่านี้ค่อนข้างเป็นเรื่องทางเทคนิค
เนื่องจากชาวกรีกมีแนวโน้มที่จะมองว่าแต่ละทวีปเป็นหน่วยที่มีสภาพทางกายภาพแบบเดียวกัน
โดยมีเนื้อหาทางวัฒนธรรมหรือการเมืองผสมอยู่บ้างเพียงเล็กน้อย
เมื่อพวกเขาให้ข้อสรุปเกี่ยวกับผู้อยู่อาศัยในทวีปต่างๆ
พวกเขามักจะจำกัดการสนทนาไว้เพียงความแตกต่างระหว่างชาวเอเชียและชาวยุโรป ทำให้เห็นได้ชัดว่าลิเบียนั้นมีขนาดเล็กและแห้งแล้งเกินกว่าจะนำมาพิจารณาให้เป็นสาระ
เห็นได้ชัดว่าโครงสร้างทวีปของชาวกรีกที่มีสองขั้วหรือสามขั้วนั้นมีประโยชน์บางประการสำหรับผู้ที่กำหนดขอบเขตทางภูมิศาสตร์โดยไม่ได้ขยายออกไปไกลกว่าทะเลเอเจียน
ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก และทะเลดำ มากนัก แต่ลักษณะการกล่าวอ้างตามอำเภอใจแบบนี้ปรากฏชัดให้เห็นได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้งในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริตสกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
Herodotus ที่ตั้งคำถามอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับระบบโครงสร้างสามทวีปแบบเดิมแม้ในขณะใช้งานก็ตาม
ด้วยการวิพากษ์วิจารณ์การวางแนวทางทฤษฎีที่มากเกินไปของนักภูมิศาสตร์ชาวกรีก ที่พยายามเข้าใจโลกผ่านแบบจำลองทางเรขาคณิตที่สวยงาม
Herodotus จึงยืนยันเรื่องนี้ว่าการทำแผนที่เชิงประจักษ์ที่เห็นกันอยู่นั้นได้มาจากการสำรวจและการเดินทาง
อย่างอื่นที่ยังคงเป็นปัญหาของภูมิศาสตร์ที่ Herodotus วิพากษ์วิจารณ์ คือ การแบ่งเอเชียและแอฟริกาตามแนวแม่น้ำไนล์
ซึ่งเป็นเขตแดนที่ทำลายเอกภาพที่ชัดเจนของอียิปต์ ดังที่เขาตั้งข้อสังเกตว่า จริงๆ
แล้วเอเชียและแอฟริกาอยู่ติดกัน รวมทั้งเชื่อมต่อกับยุโรปด้วย ‘อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้งง
คือ เหตุใดจึงควรตั้งชื่อเป็นนามของสตรีที่แตกต่างกันถึงสามคนให้กับดินแดนที่ทั้งหมดทั้งมวลเป็นทวีปเดียวกัน
และเพราะเหตุใดด้วย แม่น้ำไนล์และฟาซิส - หรือตามที่บางคนกล่าวไว้คือแม่น้ำเมโอติค
ทาไนส์ และช่องแคบซิมเมอเรียน - ควรได้รับการแก้ไขเป็นเขตแดน
และก็ไม่สามารถรู้ได้ว่า ใครเป็นผู้กำหนดเขตแดนเป็นคนแรก หรือที่ใด
พวกเขาได้ชื่อมาจากไหนกัน’
‘ความคิดเห็นที่คล้ายกัน
ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความตระหนักอย่างต่อเนื่องว่าสิ่งเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นเป็นหมวดหมู่
สะท้อนให้เห็นตลอดยุคคลาสสิก Strabo ซึ่งเขียนเอาไว้เมื่อศตวรรษแรกก่อนคริตสกาล
ให้ข้อสังเกตว่ามี ‘ข้อถกเถียงกันมากเกี่ยวกับทวีป’ โดยนักเขียนบางคนถือว่าทวีปนั้นเป็นเกาะ
ส่วนอื่นๆ เป็นเพียงคาบสมุทรเท่านั้น นอกจากนี้ เขายังยืนยันว่า ‘การตั้งชื่อให้กับทั้งสามทวีป
ชาวกรีกไม่ได้คำนึงถึงโลกที่สามารถอยู่อาศัยได้ทั้งหมด คำนึงถึงแต่เพียงประเทศของพวกเขาเอง
และดินแดนที่อยู่ตรงกันข้ามเท่านั้น ...’
ภายใต้จักรวรรดิโรมัน โครงสร้างการแบ่งทวีปยังคงถูกนำมาใช้ในวาทกรรมทางวิชาการ
และบางครั้งมีการใช้ป้ายกำกับยุโรปและเอเชียในความหมายที่ไม่เป็นทางการ เพื่อกำหนดส่วนตะวันตกและตะวันออกของจักรวรรดิ
ในเรื่องทางการทหาร คำว่า ‘ชาวยุโรป’
ถูกนำมาใช้กับพื้นที่ฝั่งตะวันตกค่อนข้างแม่นยำกว่า ส่วนพื้นที่ฝั่งเอเชียยังคงถูกใช้ในความหมายเฉพาะของท้องถิ่น
เพื่ออ้างถึงการแบ่งเขตทางการเมืองของจักรวรรดิโรมันในอนาโตเลียตะวันตกเท่านั้น
การก่อสร้างในยุคกลางและยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา
เป็นเวลาเกือบสองพันปีหลังจาก Herodotus การแบ่งโลกออกเป็นสามส่วนยังคงนำทางจินตนาการทางวิชาการของชาวยุโรปต่อไป
โครงสร้างพื้นที่ที่มีการแบ่งทวีปได้รับการเสริมกำลังในสมัยโบราณตอนปลายเมื่อนักเขียนคริสเตียนยุคแรกได้เชื่อมโยงเรื่องราวของผู้สืบทอดตำนานโนอาห์เอาไว้บนนั้นด้วย
ตามคำบอกเล่าของนักบุญ St.Jerome (เสียชีวิตราวปี
420) ผู้แปลพระคัมภีร์วัลเกตเอาไว้ว่า ‘โนอาห์ได้มอบบุตรชายทั้งสามของเขาเป็นมรดก คือ เชม ฮาม และยาเฟธ
ซึ่งเป็นตัวแทนหนึ่งๆ ในสามส่วนของโลก และสิ่งเหล่านี้ก็คือ เอเชีย แอฟริกา
และยุโรป ตามลำดับ’ แนวความคิดทางเทววิทยาใหม่นี้ มีข้อดีในการอธิบายถึงพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ของทวีปเอเชียโดยอ้างอิงถึงต้นกำเนิดของเชม
นอกจากนี้ยังทำให้การแบ่งแยกโลกไตรภาคีของชาวกรีกมีความสำคัญทางศาสนาด้วย
แบบจำลองทวีปอันศักดิ์สิทธิ์นี้จะคงอยู่ต่อไปโดยมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยจนกระทั่งถึงต้นยุคสมัยใหม่
ยุโรปในยุคกลางจึงสืบทอดแนวความคิดทางภูมิศาสตร์ของโลกคลาสสิกเอาไว้อย่างต่อเนื่อง
แต่มาในรูปแบบที่กลายเป็นการก่อตัวของหินปูนและมีตำนานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ขณะที่นักภูมิศาสตร์ชาวกรีกที่เก่งที่สุดได้ตระหนักถึงธรรมชาติทั่วไปของทวีปต่างๆ
และยืนยันว่าทะเลแดง เป็นขอบเขตที่เหมาะสมมากๆ ในการแบ่งเขตระหว่างเอเชียและแอฟริกา
เหมาะสมมากกว่าแม่น้ำไนล์เยอะ เพียงแต่ว่าความงดงามดังกล่าวเหล่านั้น ต้องสูญหายมลายไปจากทวีปอื่นๆ
ในตอนปลายยุคโบราณและตอนต้นของยุคกลาง การรวบรวมความรู้ของ Martianus Capella ได้กลายเป็นตำรามาตรฐานในยุคกลาง
ซึ่งถือเป็นข่าวประเสริฐที่ว่าโลกถูกแบ่งออกเป็นยุโรป เอเชีย และแอฟริกา
โดยแม่น้ำไนล์เป็นเส้นแบ่งที่ช่วยแยกทวีปทั้งสองออกจากกัน โดยนักสารานุกรมผู้มีอิทธิพลคนอื่นๆ
ในยุคนั้น รวมถึง Orosius of Seville และ Isidore of Seville ต่างก็มีความคิดเห็นที่คล้ายคลึงกัน
ในทางตรงกันข้าม ในยุคสมัยจักรวรรดิการอแล็งเฌียง
(Carolingian period, 800-887
AC) กรอบภูมิศาสตร์กรีกที่สืบทอดมาเริ่มถอยห่างจากสายตา
คำว่ายุโรปบางครั้งใช้เพื่ออ้างถึงอารยธรรมที่เกิดขึ้นใหม่ในดินแดนแฟรงก์ส่วนใหญ่ของคริสต์ศาสนาละติน
ซึ่งบางครั้งอาจแตกต่างกับเอเชียที่เจริญรุ่งเรืองมากขึ้นเรื่อยๆ ทางตะวันออก
ในความเป็นจริง ผู้เสนอลัทธิจักรวรรดินิยมแบบการอแล็งเฌียงและออตโตเนียน (เยอรมัน)
ตลอดจนพระสันตปาปา ต่างก็ใช้แนวคิดของยุโรปว่าเป็น ‘การจัดหมวดหมู่คุณลักษณะอย่างหนึ่ง
อย่างเช่นการแบ่งกลุ่มลักษณะทางวัฒนธรรม’
แต่จนกระทั่งถึงยุคกลางตอนปลาย
การอ้างอิงถึงโครงการทวีปที่เป็นทางการที่ใหญ่กว่านั้นส่วนใหญ่จำกัดอยู่ที่การพิจารณาทบทวนการศึกษาทางภูมิศาสตร์อีกครั้ง
โดยแทบไม่มีที่ว่างในวาทกรรมทางวิชาการทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งทวีปแอฟริกาไม่ได้มีความสำคัญในตำนานการเดินทางและนิทานของชาวยุโรปในยุคกลาง
โดยทวีปทางตอนใต้ในขณะนั้นถูกมองว่าด้อยกว่า
เนื่องจากเข้าใจผิดว่ามีขนาดเล็กและถูกครอบงำด้วยทะเลทรายเกือบทั้งหมด
แน่นอนว่าการศึกษาทางภูมิศาสตร์เชิงวิชาการก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ที่นี่ โลกทัศน์แบบไตรภาคของชาวกรีกยังคงอยู่ แต่ถูกเปลี่ยนไปสู่การนำเสนอแบบจำลองจักรวาลวิทยาเชิงนามธรรม
โดยละทิ้งการเสแสร้งจอมปลอมทั้งหมดไปเพื่อสร้างความถูกต้องเชิงพื้นที่ขึ้นมา
แผนที่ ‘T-O map’ ที่มีชื่อเสียงมากๆ
ในยุคกลาง เป็นตัวแทนของโลกตามรูปแบบของไม้กางเขน เป็นการสะท้อนมุมมองทางเทววิทยาอย่างลึกซึ้งของยุคสมัย
สัญลักษณ์ไม้กางเขนที่เป็นรูปตัว T อยู่ภายในวงกลมโลก
แสดงถึงแหล่งน้ำที่คาดว่าจะเป็นแนวแบ่งแยกยุโรป เอเชีย และแอฟริกา ออกจากกัน
ในแง่หนึ่งผืนดินเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นพื้นหลังซึ่งมีการจารึกสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์ไว้
ในกรณีส่วนใหญ่แม่น้ำไนล์ยังคงเป็นเส้นแบ่งระหว่างแอฟริกาและเอเชีย
ลำดับความสำคัญแบบคลาสสิกเข้าร่วมที่นี่พร้อมกับความจำเป็นทางเทววิทยา
โดยแปลงการบิดเบือนเชิงประจักษ์เป็นการแสดงออกของลำดับจักรวาลวิทยาได้อย่างลึกซึ้ง
ด้วยการฟื้นตัวของการเรียนรู้ภาษากรีกและโรมันในยุคเรอเนซองส์
โครงสร้างพื้นที่ที่มีการแบ่งทวีปแบบเก่าก็ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาเช่นกัน ด้วยอำนาจและบทบาททางวิทยาศาสตร์อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
Sebastian Munster นักภูมิศาสตร์ชาวเยอรมันผู้มีชื่อเสียงโด่งดังมากๆ
ในศตวรรษที่ 16 ได้กล่าวถึง
‘การแบ่งโลกแบบเก่าในสมัยโบราณออกเป็นสามภูมิภาค โดยใช้แม่น้ำดอน
ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และแม่น้ำไนล์’
แม้จะมีการสั่งสมความรู้มากมายตลอดหลายศตวรรษนับตั้งแต่ Herodotus แต่ก็ยังมีนักวิชาการยุคเรอเนซองส์สองสามคนตั้งคำถามด้วยความสงสัยถึงขอบเขตที่กำหนดไว้ในสมัยโบราณ
โดยช่วงเวลานี้เองที่โครงสร้างการแบ่งทวีปกลายเป็นกรอบอ้างอิงที่เชื่อถือได้ในการแยกแยะความแตกต่างระหว่างสังคมมนุษย์ต่างๆ
การยกระดับโครงสร้างการแบ่งทวีปไปสู่ระดับความจริงที่ยอมรับได้นั้น
ส่วนหนึ่งถูกกำหนดโดยช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญในศตวรรษที่ 14 และ 15
เช่นเดียวกับที่งานเขียนคลาสสิกที่ได้รับการประเมินใหม่
ภูมิศาสตร์ของศาสนาคริสต์ก็เปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆ กันในหลายๆ ด้าน การรุกคืบเข้ามาพิชิตพื้นที่ตรงขอบตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกีทำให้ชุมชนคริสเตียนที่เหลืออยู่ในเอเชียไมเนอร์ต้องล่าถอย
ในขณะที่การพิชิตและการเปลี่ยนใจเลื่อมใสของคริสเตียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกำลังเอาชนะการยึดครองลัทธินอกรีตครั้งสุดท้ายในภูมิภาคบอลติก
ขณะเดียวกัน การผงาดขึ้นของลัทธิมนุษยนิยม (humanism) กำลังท้าทายความสามัคคีทางวัฒนธรรมของโลกคาทอลิกจากภายใน
สถานการณ์ทางประวัติศาสตร์เหล่านี้หลอมรวมเข้าด้วยกันเพื่อทำให้โครงสร้างการแบ่งทวีปของกรีกมีความโดดเด่นขึ้นมาใหม่
อีกด้านหนึ่ง
ขณะที่คริสต์ศาสนาถอยร่นไปทางตะวันออกเฉียงใต้และก้าวหน้าไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ
ขอบเขตของคริสต์ศาสนาก็เพิ่มมากขึ้น แม้ว่าจะยังไม่สมบูรณ์แบบก็ตาม แต่ก็ใกล้เคียงกับขอบเขตของยุโรปของชาวกรีก
ในทางกลับกัน นักวิชาการด้านมนุษยนิยมเริ่มค้นหาการกำหนดตนเองทางโลก ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ
ศตวรรษนี้ยุโรปเริ่มเข้ามาแทนที่คริสต์ศาสนจักรในฐานะแหล่งอ้างอิงหลักสำหรับสังคมตะวันตก
ในศตวรรษที่ 15 คริสเตียนตะวันตกเริ่มเรียกตัวเองว่าชาวยุโรป โครงสร้างการแบ่งทวีปโดยรวมก็ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย
แต่ไม่นานก่อนที่ความพอดีของการแบ่งส่วนทางภูมิศาสตร์ใหม่ในพื้นที่บางส่วนระหว่างยุโรปและคริสต์ศาสนจักรจะถูกปรับปรุงอีกครั้ง
ในที่สุดการรุกคืบพิชิตของตุรกีอย่างต่อเนื่องเมื่อรวมเข้ากับการแยกประเพณีคริสเตียนตะวันออกและตะวันตกออก
ก็ดึงยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ออกจากวงโคจรของอารยธรรมยุโรปที่ระบุตัวตนชัดเจนไปเกือบหมด
โลกเก่า
ทวีปใหม่
เมื่อชาวยุโรปข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกสำเร็จ
พวกเขาค่อยๆ ค้นพบว่า ระบบการแบ่งทวีปออกเป็นสามทวีปของพวกเขา ไม่ได้มีความเหมาะสมสำหรับการสร้างแบบจำลองโลกอีกต่อไป
หลักฐานที่เป็นสิ่งที่ดูเหมือนว่าจะมีทวีปของโลกใหม่เกิดขึ้นมาแล้วอย่างเดียวที่มีจึงต้องนำมาพิจารณา
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนผ่านจากโครงสร้างสามทวีปเป็นโครงสร้างสี่ทวีปไม่ได้เกิดขึ้นทันทีหลังจากการค้นพบของ Christopher Columbus ประการแรก ทวีปอเมริกาจะต้องถูกค้นพบและยืนยันด้วยสติปัญญาให้เป็นผืนแผ่นดินที่แตกต่างออกไป
เป็นผืนดินที่สามารถมองเห็นได้ในเชิงภูมิศาสตร์ ไม่ใช่แค่เชิงวัฒนธรรม และก็ต้องเทียบเท่ากับทวีปอื่นๆ
ได้ด้วย ตามการกล่าวอ้างของ Eviatar
Zerubavel ยืนยันว่าการปรับแนวความคิดใหม่นี้ใช้เวลาเกือบหนึ่งศตวรรษ
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมันกระตุ้นให้เกิดการตกตะลึงครั้งใหญ่อย่างรุนแรงระดับจักรวาลเลยทีเดียว
ด้วยเหตุว่าเป็นเวลานานแล้วที่ชาวยุโรปจำนวนมากเลือกที่จะเพิกเฉยต่อหลักฐาน อย่างเช่นช่วงปลายปี
1555 ที่พวกเขายังคงยอมรับกับข้อความภูมิศาสตร์ฝรั่งเศสยอดนิยมภายใต้ชื่อที่เรียกกันว่า
La division du monde ซึ่งประกาศก้องว่าโลกประกอบด้วยเอเชีย
ยุโรป และแอฟริกา ไม่ได้เอ่ยถึงทวีปอเมริกาเลย
จินตนาการของจักรวรรดิสเปนยืนกรานที่จะปฏิเสธสถานะของทวีปต่ออาณานิคมข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกอีกต่อไป
ตามคำกล่าวของ
Walter Mignolo ‘แนวคิดของแคว้นคาสตีลเกี่ยวกับอินเดียยังคงอยู่จนกระทั่งสิ้นสุดจักรวรรดิอาณานิคม
ส่วนอเมริกาเริ่มถูกนำมาใช้โดยปัญญาชนอิสระในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 เท่านั้น’ ทว่าเมื่อถึงต้นศตวรรษที่ 16 Duarte
Pacheco นักเขียนจักรวาลวิทยาชาวโปรตุเกส และ Martin Waldseemuller
เพื่อนร่วมงานชาวเยอรมันของเขา ได้จัดทำแผนที่ด้วยการยกดินแดนอเมริกาขึ้นเป็นทวีป
แม้ว่าการทำแผนที่ตามแบบแผนในยุคนั้นจะทำให้ทวีปใหม่อย่างแอฟริกาด้อยกว่าเอเชียและยุโรปอย่างเห็นได้ชัด
แต่ภูมิศาสตร์ทั่วโลกเกือบทั้งหมดในช่วงศตวรรษที่ 17 อย่างน้อยก็ยอมรับว่าทวีปอเมริกาเป็น
1 ใน 4 ของดินแดนผืนใหญ่ของโลก
ดังที่เรื่องราวสั้นๆ นี้ ชี้ให้เห็น
การยอมรับการมีอยู่ของทวีปแดนไกลข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกนั้น ต้องการมากกว่าแค่การเพิ่มชิ้นส่วนใหม่ให้กับแบบจำลองทวีปที่มีอยู่
ดังที่ Edmundo O'Gorman แสดงให้เห็นได้อย่างยอดเยี่ยมด้วยการยอมรับการมีอยู่ของดินแดนที่ไม่เคยมีใครเคยรู้จักมาก่อน
จำเป็นต้องมีการปรับโครงสร้างพื้นฐานของจักรวาลวิทยาของยุโรป สำหรับแนวคิดเก่าๆ ที่ว่ายุโรป
แอฟริกา และปลายสุดที่เอเชีย มักถูกมองว่าเป็นเกาะโลกเพียงแห่งเดียวที่เชื่อมต่อถึงกัน
หรือที่เรียกกันตามฐานคิดแบบกรีกโบราณว่า orbis terrarum การมีอยู่ของเกาะดังกล่าวอีกแห่งหนึ่งในบริเวณขั้วตรงกันข้ามของซีกโลกใต้
- orbis alterius - นั่นมักถูกตั้งสมมติฐานไว้แล้ว
แต่ก็จะสันนิษฐานว่าบริเวณนั้นประกอบกันเป็นโลกที่แยกส่วนออกจากกัน
และเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่มีสติปัญญาสายพันธุ์อื่นที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
ในทางตรงกันข้าม คนอเมริกันดูเหมือนจะมีลำดับชั้นแบบเดียวกันกับมนุษย์คนอื่นๆ
โดยเสนอว่าบ้านเกิดของพวกเขาจะต้องเป็นหนึ่งในสี่ของโลกมนุษย์เรานี่แหละ ไม่ใช่โลกอื่นที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างแท้จริง
ดังนั้นข้อมูลทางมานุษยวิทยาจึงเป็นตัวการบ่อนทำลายการจัดลำดับจักรวาลที่เคยมีมาก่อน
ในระยะยาว การค้นพบประชากรมนุษย์ที่อยู่ห่างไกลออกไปแต่เป็นที่รู้จักในอเมริกา
จะทำให้แนวความคิดที่ว่าด้วยเกาะโลกแหลกสลายอย่างไม่อาจเรียกกลับคืนมาได้ ตลอดเวลาหลายศตวรรษถัดมา
ความสัมพันธ์พื้นฐานระหว่างทวีปหลักๆ ของโลกถูกมองว่าเป็นการแยกออกจากกัน
ไม่ใช่อยู่ติดกัน ในปี 1570 Ortelius ได้แบ่งโลกออกเป็น 4 ส่วน
แต่แผนที่โลกของเขาไม่ได้เน้นการแบ่งแยก
และบางครั้งแผนที่ระดับภูมิภาคของเขาก็ขยายการแบ่งส่วนของทวีปออก อย่างไรก็ตาม
เมื่อถึงปลายศตวรรษที่ 17 แผนที่โลกส่วนใหญ่แยกแยะทวีปหลักของโลกเอาไว้ได้อย่างชัดเจน
และจำแนกแผนที่ระดับภูมิภาคทั้งหมดตามนั้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง
แนวคิดของชาวกรีกเกี่ยวกับภูมิประเทศของมนุษย์ที่รวมกันเป็นหนึ่งเดียวถูกแยกออกเป็นทวีปๆ
ประกอบกอบกัน
ซึ่งปัจจุบันการแยกตัวโดยสัมพันธ์กันได้ถูกแปลงให้กลายเป็นลักษณะที่กำหนดอย่างแดกดัน
แม้ว่าความเป็นไปได้ของ orbis
alterius จะไม่ได้รับการพิจารณาอย่างจริงจังอีกต่อไป
แต่ขอบเขตที่แบ่งดินแดนที่รู้จักจะถูกสร้างขึ้นในแง่ที่สมบูรณ์มากกว่าที่เคยเป็นมาในอดีต
แม้ว่าความแม่นยำของการทำแผนที่จะดีขึ้นอย่างมากในช่วงเวลานี้
แต่แนวความคิดของการแบ่งส่วนทั่วโลกก็ยังแข็งแกร่งขึ้น จนทำให้เกิดความเสื่อมถอยของแนวความคิดบางประการ
การแบ่งส่วนใหม่ของโลก
เมื่อความรู้ทางภูมิศาสตร์มีเพิ่มมากขึ้น และเมื่อพลังอำนาจของจักรวรรดิกรีกลดน้อยลง
สถาปัตยกรรมของภูมิศาสตร์โลกก็ได้รับการเปลี่ยนแปลงที่มีความลึกซึ้งมากขึ้นเช่นกัน
หากการมีตัวตนของทวีปต่างๆ
เป็นการแบ่งส่วนทางภูมิศาสตร์ที่มีความหมายในภูมิศาสตร์มนุษย์
แทนที่จะเป็นเพียงภาพสะท้อนของแผนการจักรวาลที่กำหนดไว้ แม่น้ำไนล์และแม่น้ำดอนก็ก่อให้เกิดขอบเขตที่ไม่เหมาะสมอย่างเห็นได้ชัด
นักวิชาการทั้งหลายจึงค่อยๆ เลือกทะเลแดง อ่าวและคอคอดสุเอซ เป็นเขตแบ่งแยกระหว่างแอฟริกัน-เอเชีย
ในทำนองเดียวกัน เมื่อถึงศตวรรษที่ 16 นักภูมิศาสตร์เริ่มตระหนักว่ายุโรปและเอเชียไม่ได้แยกออกจากกันด้วยคอคอดแคบ
แม่น้ำดอนไม่ได้กำเนิดที่ใดก็ได้ใกล้ๆ ทะเลอาร์คติก และทะเลอะซอฟนั้นก็เล็กกว่าที่เคยจินตนาการเอาไว้
แม้ว่ามุมมองแบบเก่าจะคงอยู่อย่างน่าทึ่ง แต่ท้ายที่สุดแล้ว
ขอบเขตใหม่สำหรับทั้งสองทวีปก็จำเป็นต้องกำหนดให้ชัดเจนเช่นกัน
ปัญหาคือไม่มีสิ่งขวางกั้นที่เห็นได้ชัดเจนเหมือนกับทะเลแดงที่ทำหน้าที่กั้นกลางระหว่างยุโรปกับเอเชีย
การตอบสนองเบื้องต้นคือการระบุความเชื่อมโยงที่แม่นยำระหว่างแม่น้ำที่ไหลไปทางทิศใต้และทิศเหนือผ่านที่ราบรัสเซีย
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 17 กลยุทธ์ประการหนึ่งคือการแบ่งยุโรปออกจากเอเชียตามแนวแม่น้ำดอน
โวลก้า คามา และออบ อย่างไรก็ตาม
นี่ถือเป็นปัญหาทางภูมิศาสตร์ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข
และนักภูมิศาสตร์ก็แข่งขันกันเพื่อค้นหาเส้นแบ่งที่เหมาะสมที่สุด เฉพาะแค่ศตวรรษที่
18 นายทหารชาวสวีเดน Philipp-Johann von Strahlenberg
ยืนยันว่าเทือกเขาอูราลเป็นสิ่งขวางกั้นที่สำคัญที่สุด ข้อเสนอของ von Strahlenberg เกี่ยวข้องกับโครงการสร้างความเป็นตะวันตกของปีเตอร์มหาราช (Peter
the great's westernization program) ได้รับการสนับสนุนอย่างกระตือรือร้นจากปัญญาชนชาวรัสเซีย
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Vasilii Nikitich Tatishchev ทั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นเพราะความสะดวกทางอุดมการณ์
การเน้นย้ำถึงการแบ่งแยกตามแนวเทือกอูราล ชาวรัสเซียตะวันตกสามารถเน้นย้ำถึงธรรมชาติของยุโรปในแก่นแท้ทางประวัติศาสตร์ของรัสเซีย
ขณะเดียวกันก็จัดให้ไซบีเรียอยู่ในตำแหน่งของอาณาจักรเอเชียต่างด้าวที่เหมาะสมสำหรับการปกครองอาณานิคมและการแสวงประโยชน์
แท้จริงแล้ว ตำราภาษารัสเซียหลายฉบับในเวลานี้ทิ้งชื่อไซบีเรียไปแทนชื่อ great tartary ที่ฟังดูมีความเป็นเอเชียมากกว่า
อย่างไรก็ตาม การโต้เถียงยังคงดำเนินต่อไปในแวดวงภูมิศาสตร์ของรัสเซียและเยอรมัน
โดยนักวิชาการบางคนพยายามที่จะผลักดันขอบเขตออกไปทางตะวันออกจนถึงแม่น้ำออบ หรือไม่ก็เลยออกไปที่แม่น้ำเยนิเซย์
ในขณะที่คนอื่นยืนยันว่าน่าจะอยู่แถวๆ แม่น้ำดอนมากว่า
ในที่สุดตำแหน่งที่ Tatishchev และ von
Strahlenberg ระบุเอาไว้ก็ได้รับการยอมรับไม่เพียงแต่ในรัสเซียแต่เป็นไปทั่วทั้งยุโรป
เมื่อนักภูมิศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อดัง M. Malte-Brun ได้ให้การรับรองแนวแบ่งเขตดังกล่าวในศตวรรษที่ 19 เขตแดนเทือกเขาอูราลก็ได้รับการยอมรับจนเกือบเป็นสากล
อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวนี้จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติม
เนื่องจากเทือกเขาอูราลไม่ได้ขยายออกไปทางใต้หรือตะวันตกมากพอที่จะสร้างพรมแดนที่สมบูรณ์
ในแผนที่ของศตวรรษที่ 18 และต้นศตวรรษที่ 19 การแบ่งแยกแบบเก่าและแบบใหม่มักถูกควบรวมเข้าด้วยกัน โดยจะแสดงให้เห็นว่ายุโรปถูกแยกออกจากเอเชียด้วยแม่น้ำดอน
แนวยาวของแม่น้ำโวลกา และเทือกเขาอูราล แต่ว่านับจากกลางทศวรรษ 1800 เป็นต้นมา วิธีแก้ปัญหานี้คือการแยกเอเชียออกจากยุโรปด้วยแนวเส้นที่ค่อนข้างซับซ้อนทอดไปทางทิศใต้ผ่านเทือกเขาอูราล
กระโดดไปทางทิศใต้ไปยังแม่น้ำอูราล โดยทอดยาวผ่านไปประมาณสองในสามของทะเลแคสเปียน
และเลี้ยวเป็นมุมแหลมเพื่อวิ่งไปทางตะวันตกเฉียงเหนือไปตามยอดเทือกเขาคอเคซัส อันที่จริง
เมื่อไม่นานมานี้ในปี 1994 กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา
ได้ให้การรับรองแผนการแบ่งแบบนี้อย่างเป็นทางการ การใช้แม่น้ำดอนแบบเก่านั้น
แม้ว่าจะเป็นไปตามอำเภอใจก็ตาม แต่ว่าอย่างน้อยก็จำเป็นต้องมีการวาดภาพที่บิดเบี้ยวน้อยกว่า
ยิ่งไปกว่านั้น แผนการแบ่งแบบใหม่ยังสร้างความอยุติธรรมต่อภูมิศาสตร์วัฒนธรรมมากกว่าแผนการแบ่งแบบเก่า
เนื่องจากแผนการแบ่งแบบใหม่ได้รวมกลุ่มชนที่ไม่ใช่ชาวยุโรปเอาไว้ภายในทวีปยุโรปด้วย
เช่น ชาวพุทธมองโกลที่พูดภาษาคาลมีกส์
แม้ว่าการแบ่งขอบเขตทางภูมิศาสตร์ระหว่างยุโรปกับเอเชียในปัจจุบันแทบจะไม่มีการตั้งคำถาม
และมักถูกมองว่าเป็นเรื่องธรรมชาติหรือไม่สำคัญเกินกว่าจะกังวล
แต่ประเด็นนี้ยังคงกระตุ้นให้เกิดความสนใจเป็นครั้งคราว ตัวอย่างเช่นในปี 1958 นักภูมิศาสตร์ชาวรัสเซียกลุ่มหนึ่งแย้งขึ้นมาว่าการแบ่งแยกที่แท้จริงควรเป็นไปตาม
‘ความลาดชันทางตะวันออกของเทือกเขาอูราล และการยืดออกไปของเนินเขามูกอดชาร์ แม่น้ำเอมบา
ชายฝั่งทางตอนเหนือของทะเลแคสเปียน หุบกูโม-มานิชกายา วพาดินา และช่องแคบเคอร์เชนสกี้
ไปยังทะเลดำ’ ส่งผลให้เทือกเขาอูราลคงอยู่ภายในทวีปยุโรป และคอเคซัสอยู่ภายในทวีปเอเชีย
นักเขียนคนอื่นๆ เลือกที่จะเพิกเฉยต่อแนวทางที่เป็นทางการโดยสิ้นเชิง
โดยวางขอบเขตระหว่างทวีปทั้งสองส่วนเอาไว้ทุกที่ที่เห็นสมควร ตัวอย่างเช่น
สารานุกรมบริแทนนิกา ฉบับปี 1963 ให้คำจำกัดความย่านสวาทที่อยู่ทางตอนเหนือของปากีสถานว่าเป็นภูมิภาคที่มีพรมแดนติดกับยุโรปและเอเชีย
หรือว่าจะให้ทวีปยุโรปหมายถึงทุกหนทุกแห่งทุกพื้นที่ที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชเสด็จพระราชดำเนินไปถึง
ในทางกลับกัน Halford Mackinder ก็เลือกใช้เกณฑ์เชื้อชาติเพื่อแบ่งยุโรปออกจากแอฟริกา
และด้วยเหตุนี้จึงขยายขอบเขตไปทางทิศใต้ ‘อันที่จริง
พรมแดนทางใต้ของยุโรปเคยเป็นและเป็นทะเลทรายซาฮารา
แทนที่จะเป็นทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เพราะเป็นดินแดนทะเลทรายแห่งนี้ได้แบ่งคนผิวดำออกจากคนผิวขาว’
การทำโครงสร้างการแบ่งทวีปที่ต่อเนื่อง
แม้จะมีการแบ่งส่วนพื้นโลกในสมัยโบราณและแพร่หลายออกไปเป็นทวีปยุโรป
เอเชีย และแอฟริกา โดยมีทวีปอเมริกาเพิ่มเติมในภายหลัง แต่ว่าส่วนต่างๆ
ของโลกดังกล่าวไม่จำเป็นต้องให้คำจำกัดความอย่างชัดเจนว่าเคยเป็นทวีปมากก่อนปลายศตวรรษที่
19 แม้ว่าคำว่าทวีปซึ่งเน้นถึงลักษณะที่ต่อเนื่องกันของผืนแผ่นดินดังกล่าว
มักใช้ในการแปลแนวคิดภาษากรีกและละตินเกี่ยวกับการแบ่งแยกพื้นที่ทั่วทั้งโลกให้อยู่ในแบบไตรภาคี
แต่ก็ยังใช้ในลักษณะที่ไม่เป็นทางการมากกว่ามาก ในความเป็นจริง
ในภาษาอังกฤษสมัยใหม่ตอนต้น
พื้นที่ขนาดใหญ่พอสมควรหรือแม้แต่กลุ่มเกาะก็อาจถือเป็นทวีปได้ ตัวอย่างเช่น ในปี 1599
Richard Hakluyt กล่าวถึงหมู่เกาะอินเดียตะวันตกว่าเป็นทวีปที่ใหญ่และอุดมสมบูรณ์
อย่างไรก็ตาม นักภูมิศาสตร์ค่อยๆ แยกหมู่เกาะและผืนดินขนาดเล็กออกจากหมวดหมู่นี้
โดยปฏิบัติตามมาตรฐานการแยกเชิงพื้นที่ที่เข้มงวดมากขึ้นเช่นกัน ในปี 1752 Emanuel
Bowen เป็นผู้ที่สามารถกล่าวนิยามเรื่องนี้ได้อย่างเด็ดขาดว่า ‘ทวีป คือ พื้นที่ขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยพื้นที่ที่แห้ง ครอบคลุมหลายประเทศเข้าด้วยกัน
โดยไม่มีส่วนที่ปกคลุมด้วยน้ำมาแยกออกจากกัน ดังนั้น ยุโรป เอเชีย และแอฟริกา
แต่ละแห่งเหล่านี้จึงเป็นทวีปที่ยิ่งใหญ่ ขณะที่อเมริกาก็เป็นอีกทวีปหนึ่ง’
การแบ่งโลกออกเป็นสองทวีปอย่างแน่นอนบังคับให้เราต้องตระหนัก เช่นเดียวกับเมื่อหลายศตวรรษก่อนที่ Herodotus พิจารณาว่ายุโรป เอเชีย และแอฟริกา ไม่ได้ถูกแยกออกจากกันในความหมายที่แท้จริงใดๆ แท้จริงแล้ว นักภูมิศาสตร์ที่ฉลาดมักจะประสบปัญหากับการแบ่งทวีปแบบนี้มาโดยตลอด ในช่วงต้นปี 1680 ผู้เขียนหนังสือ The English Atlas ให้ความเห็นว่า ‘การแบ่งทวีปแบบนี้ดูไม่สมเหตุสมผลนัก ทวีปเอเชียนั้นมีขนาดใหญ่กว่าอีกทั้งสองทวีปมาก และทวีปยุโรปก็ไม่ได้มีขนาดสมดุลกับทวีปแอฟริกา’ นักภูมิศาสตร์ชาวเยอรมันที่มีชื่อเสียงหลายคนในศตวรรษที่ 19 ทั้ง Alexander von Humboldt และ Oskar Peschel ต่างก็ยืนยันว่ายุโรปเป็นเพียงส่วนขยายของทวีปเอเชีย ขณะที่ชาวสลาฟรัสเซียที่ทรงอิทธิพลทางความคิดจำนวนมากซึ่งมักเป็นฝ่ายตรงข้ามตลอดกาลของชาวตะวันตกมาก ก็เห็นพ้องต้องกัน อย่างไรก็ตาม การใช้เหตุผลอันเฉียบแหลมเช่นนี้ยังไม่อาจเอาชนะความคิดความเชื่อแบบเดิมๆ ได้ ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 พื้นที่ส่วนต่างๆ ของโลกเก่าได้รับการตั้งชื่ออย่างแน่ชัดให้เป็น ‘ทวีป’ โดยการแยกระหว่างทวีปยุโรปและทวีปเอเชียยังคงเป็นศูนย์กลางของโครงสร้างการแบ่งส่วนพื้นที่ครั้งนี้ พจนานุกรมภาษาอังกฤษออกซ์ฟอร์ดซึ่งได้รวบรวมฐานข้อมูลต่างๆ ในหลายทศวรรษของช่วงเปลี่ยนผ่านของศตวรรษที่ 20 อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงเอาไว้ดังนี้ ‘เมื่อก่อนมีการแบ่งทวีปเป็นสองทวีป คือ ทวีปเก่าและทวีปใหม่ ทวีปแรกหรือทวีปเก่าประกอบด้วยยุโรป เอเชีย และแอฟริกา ซึ่งรวมกันเป็นหนึ่งเดียวต่อเนื่องกันเป็นแผ่นดินใหญ่ ต่อมาทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ จึงเกิดขึ้นมารวมถึงทวีปอื่นๆ ด้วย โดยสองทวีปนี้มีลักษณะเป็นเกาะอย่างชัดเจน ต่างกันแค่ขอบเขตเท่านั้น ตามปกติแล้วปัจจุบันจะนับทวีปเป็น 4-5 ทวีป ได้แก่ ยุโรป เอเชีย แอฟริกา อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ รวมถึงมีเกาะออสเตรเลียขนาดใหญ่ที่บางครั้งก็ถูกมองว่าเป็นอีกเกาะหนึ่ง’
หากไม่คำนึงถึงคำที่ใช้เพื่อแสดงถึงสิ่งเหล่านี้
หมวดหมู่มาตรฐานของโบราณวัตถุที่มีการเพิ่มโลกใหม่เข้ามา จะยังคงประกอบด้วยกรอบการทำงานพื้นฐานที่ทำให้เกิดภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์โลก
แต่ยังคงมีความขัดแย้งเล็กน้อยเกี่ยวกับจำนวนหน่วยที่แน่นอนที่ควรนับ โดยทั่วไปแล้วในแผนที่โลกสมัยศตวรรษที่
18 และ 19
จะพิมพ์หน่วยหลักๆ ของโลกด้วยหมึกสีต่างๆ กัน เราอาจพบรูปแบบการแบ่งพื้นที่ออกเป็นสี่ส่วนบ้าง
ห้าส่วนบ้าง และหกส่วนบ้าง อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้อาจนับเป็นหนึ่งหรือสองหน่วยก็แล้วแต่
ขณะที่ออสเตรเลียหรือนิวฮอลแลนด์บางครั้งถูกแต่งแต้มให้เป็นส่วนหนึ่งของเอเชีย
บางครั้งก็แยกออกเป็นทวีป และบางครั้งก็ให้เป็นเพียงเกาะเท่านั้น อย่างไรก็ตาม
ทุกสิ่งที่พิจารณาแล้ว ดูเหมือยว่าโครงสร้างการแบ่งทวีปสี่ส่วนจะมีชัยเหนือการแบ่งแบบอื่นในช่วงทศวรรษ
1800
ไม่ว่าจะใช้แผนที่รูปแบบใด
การแบ่งโลกออกเป็นทวีปใหญ่ๆ ได้กลายมาเป็นแนวคิดอภิภูมิศาสตร์ (metageographical concept) ที่มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นในศตวรรษที่ 18 และ 19
ซึ่งเรื่องนี้ Montesquieu นักคิดทางภูมิศาสตร์สมัยฟื้นฟูวิทยาการชั้นแนวหน้าของฝรั่งเศส
ได้วางรากฐานทฤษฎีทางสังคมของเขาเพื่อแบ่งแยกยุโรปตามลักษณะทางภูมิศาสตร์อย่างสมบูรณ์แบบออกจากเอเชีย
ซึ่งเป็นแก่นแท้ของโครงสร้างการแบ่งโลกเป็น 4 ทวีป เช่นเดียวกับ Carl Ritter
นักภูมิศาสตร์มนุษย์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดในช่วงกลางศตวรรษที่
19
ก็ได้ยืนยันในทำนองเดียวกันด้วยรูปแบบเทววิทยาอันเป็นเอกลักษณ์ของเขาว่า
‘ทวีปแต่ละทวีปเหมือนมีตัวมันเองเพียงลำพัง ... แต่ละทวีปได้รับการวางแผนและก่อรูปขึ้นมาเพื่อให้มีหน้าที่พิเศษสำหรับช่วยสร้างความก้าวหน้าของวัฒนธรรมมนุษย์’
นอกจากนี้ Ritter ยังพยายามที่จะวางรากฐานโครงสร้างทั้งหมดในกรอบของมานุษยวิทยากายภาพ
เขามองว่ายุโรปเป็นดินแดนของคนผิวขาว แอฟริกาเป็นดินแดนของคนผิวดำ
เอเชียเป็นคนผิวเหลือง และอเมริกาเป็นคนผิวแดง นับเป็นแนวคิดที่เป็นอันตรายที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในจินตนาการของสาธารณชน
ด้วยการที่ Arnold Guyot นักวิชาการชาวสวิสที่เป็นผู้นำเอาแนวความคิดทางภูมิศาสตร์ในเวอร์ชันของ
Ritter มาสู่สหรัฐอเมริกาในช่วงกลางทศวรรษที่ 1800 นั้น ทำให้ความคิดต่างๆ ที่จำเป็นต้องมีการแบ่งทวีปนั้นมาถึงจุดสุดยอด Guyot
มองเห็นมือของความก้าวหน้าที่จะอุบัติขึ้นในกาลข้างหน้าที่จะมีการรวมตัวกันของทวีป
ตลอดจนการพิจารณาในโครงร่างและโครงสร้างทางกายภาพของแต่ละทวีป ทวีปต่างๆ
จึงเป็นแกนหลักในการนำเสนอทางภูมิศาสตร์ของ Guyot โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเปิดเผยการมีอยู่ของกฎทั่วไปและเปิดเผยการจัดการที่ล้วนมีวัตถุประสงค์
อีกทั้งยังไม่น่าแปลกใจเลยที่จุดประสงค์ของ Guyot ที่มองเห็นการจัดการของทวีปต่างๆ
บนโลกนี้นั้น นำมาซึ่งการเปิดเผยที่ก้าวหน้าของความเหนือกว่าที่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าสำหรับทวีปยุโรปและชาวยุโรป
บนตำแหน่งหน้าที่ของเขาในมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน Guyot ทำให้สามารถเผยแพร่ความคิดเห็นของเขาเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้เป็นเวลาหลายปีต่อเนื่อง
ซึ่งล้วนมีอิทธิพลต่อครูและนักเขียนชาวอเมริกันหลายชั่วอายุคน
เมื่อระบบการแบ่งทวีปถูกทำให้เป็นทางการในศตวรรษที่
19 หมวดหมู่ของระบบก็ถูกแปลงคุณสมบัติภายในมากขึ้นเรื่อยๆ
ซึ่งถูกมองว่าไม่ใช่เป็นผลจากจินตนาการของมนุษย์ที่เข้าใจผิด แต่เป็นหน่วยงานทางภูมิศาสตร์ที่แท้จริงที่ถูกค้นพบผ่านการสืบค้นเชิงประจักษ์
(empirical inquiry) Edward H. Bunbury นักศึกษาชั้นนำด้านประวัติศาสตร์ความคิดทางภูมิศาสตร์แห่งยุควิกตอเรียที่สังคมแบ่งชนชั้นกันชัดเจน
ได้ตีตรา Homer ว่าเป็นนักภูมิศาสตร์ดึกดำบรรพ์
เนื่องจากเขาล้มเหลวในการรับรู้ถึงการแบ่งโลกออกเป็นสามทวีป ขณะเดียวกัน Bunbury
ก็ยังยอมรับว่า Herodotus ต้องรับผิดชอบต่อความคิดที่ผิดพลาดของเขาที่เคยว่าชี้ยุโรปมีขอบเขตพื้นที่ขยายไปถึงด้านตะวันออก-ตะวันตกมากกว่าขอบเขตของทวีปเอเชียกับลิเบีย
(แอฟริกา) รวมกัน อย่างไรก็ตาม Herodotus เคยข้อสรุปนี้เอาไว้แล้ว ว่าไม่ใช่เพราะแนวความคิดเชิงพื้นที่ของเขามีความแม่นยำน้อยกว่าแนวคิดอื่นๆ
ในกลุ่มเดียวกัน แต่เป็นเพราะเขาเลี่ยงการใช้แนวเส้นทาไนส์ (ดอน) ที่พาดตามแนวเหนือ-ใต้เป็นพรมแดนทวีป
โดยเลือกใช้แม่น้ำที่ไหลจากทิศตะวันออกและตะวันตกแทน คือ ไฟส์และอแรกเซส์ในภูมิภาคคอเคซัส
(phais & araxes in
the caucasus) สำหรับ Bunbury แล้ว เขาถือว่านี่ไม่ใช่ประเด็นที่ผู้มีการศึกษาอาจไม่เห็นด้วย
สิ่งที่นักภูมิศาสตร์ในศตวรรษที่ 19 สูญเสียไปคือความรู้สึกของ Herodotus ที่ว่าเหตุผลเดียวในการแบ่งยุโรปและเอเชียตามแนวเหนือ-ใต้แทนที่จะเป็นแกนตะวันออก-ตะวันตก
คือ ระเบียบแบบแผนที่เป็นทางการ ในความเป็นจริง ตามเงื่อนไขทางวิทยาศาสตร์ Herodotus อาจมีข้อโต้แย้งที่ดีกว่า แน่นอนว่าในแง่ของลักษณะทางกายภาพนั้น ไซบีเรียมีความคล้ายคลึงกับทางตอนเหนือสุดของยุโรป
ซึ่งเป็นบริเวณเขตแดนที่ Herodotus
ควรจะวางไซบีเรียเอาไว้ภายใน มากกว่าที่จะไปจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกับโอมานหรือกัมพูชา
เข้าสู่ศตวรรษที่ยี่สิบ
นับตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 18 สิ่งหนึ่งที่เป็นปัญหามากที่สุดสำหรับนักภูมิศาสตร์ทั่วโลก
คือ ‘จะสามารถการจำแนกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก
ได้อย่างไร’ การแบ่งส่วนพื้นที่ครั้งใหม่เริ่มปรากฏขึ้นจากส่วนนี้ของโลกทีละน้อย
ตามผลงานประวัติศาสตร์โลกยุควิคตอเรียที่ได้รับความนิยมชิ้นหนึ่ง ระบุว่า ‘เป็นเรื่องปกติจนถึงศตวรรษปัจจุบันที่จะพูดถึงการแบ่งส่วนต่างๆ ของโลกออกเป็น
4 ส่วน ประกอบด้วย ยุโรป เอเชีย แอฟริกา และอเมริกา’ ขณะเดียวกันก็มีการยืนยันต่ออีกว่า การกระจายทางวิทยาศาสตร์ของพื้นแผ่นดินของโลกจะต้องผนวกเอาออสเตรเลียและโพลินีเซีย
โดยให้เป็นเขตพื้นที่แยกกันออกไป โดยปกติแล้วในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ออสเตรเลียจะถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของโลกที่แยกออกไป ทั้งๆ ที่มักจะเชื่อมโยงกับหมู่เกาะต่างๆ
ในมหาสมุทรแปซิฟิกอยู่ก็ตาม แนวความคิดที่จะจัดให้โอเชียเนียมีฐานะเป็นส่วนที่ห้าหรือที่หกของโลก
(หากทวีปอเมริกาถูกแบ่งแยก) เริ่มแพร่หลายมากขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เมื่อนักทำแผนที่หลายคนทำเครื่องหมายเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แยกออกไปจากเอเชีย
และผนวกเข้ากับดินแดนส่วนที่เป็นเกาะต่างๆ รายรอบ
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 หนังสือเรียนภูมิศาสตร์โลกที่ตีพิมพ์ในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา
เกือบจะใช้ระบบการแบ่งทวีปเป็นกรอบการจัดระเบียบการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้โดยทั่วไปแล้วจะอุทิศหนึ่งบทให้กับแต่ละหน่วยแสดงคุณลักษณะตามธรรมชาติเหล่านี้
รูปแบบนี้อาจพบได้ในผลงานในโลกธรรมชาติและในงานที่เกี่ยวข้องกับภูมิศาสตร์มนุษย์
เมื่ออ่านตำราเรียนเหล่านี้แล้ว จะพบว่ามีการเบี่ยงเบนไปจากแบบจำลองมาตรฐานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ตัวอย่างเช่นหนังสือ the international geography ที่เรียบเรียงโดย Hugh Robert Mill ได้รวมเอาดินแดนอเมริกากลางและอเมริกาใต้ไว้ในบทเดียว
ขณะเดียวกันก็อุทิศอีกบทหนึ่งให้กับภูมิภาคที่เป็นบริเวณขั้วโลก รวมถึงงานเขียนของ
Leonard Brooks เรื่อง a regional geography of the world ก็ดำเนินตามแบบแผนเดิมนี้เช่นกัน
โดยมีบทต่อเนื่องกันในยุโรป เอเชีย อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ แอฟริกา และออสเตรเลีย
แต่อุทิศบทเพิ่มเติมให้กับเกาะอังกฤษเพียงแห่งเดียว ลัทธิจัดให้ยุโรปเป็นศูนย์กลางโลก
(eurocentrism) นี้ ส่งเสริมและทำให้เกิดลัทธิจัดให้อังกฤษเป็นศูนย์กลางโลก
(britanocentrism) มีความภาคภูมิใจ
ซึ่งบ่งบอกถึงการเกิดขึ้นของทวีปเสมือนใหม่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ
แต่ไม่ใช่ว่าผู้เขียนทางภูมิศาสตร์ในช่วงต้นศตวรรษที่
20 ทุกคนจะมองว่าทวีปต่างๆ
เป็นสิ่งที่ถูกกำหนดไว้และการแบ่งแยกของโลกอย่างไม่มีปัญหา ตัวอย่างเช่น ในงานเขียนเรื่อง
geography of 1937 ของ Van Loon ที่ได้รับความนิยมมาก
ผู้เขียนบรรยายถึงโครงสร้างการแบ่งทวีปด้วยถ้อยคำที่เบาและแทบจะตลกขบขัน
โดยสรุปว่าคนๆ หนึ่งอาจใช้ระบบมาตรฐานเช่นกันตราบใดที่เราจำรากฐานที่เป็นไปตามอำเภอใจของมันได้
Van Loon มองว่าข้อตกลงมาตรฐานนี้ทำให้โลกมีปริมณฑลครอบคลุม 5
ทวีป ได้แก่ เอเชีย อเมริกา แอฟริกา ยุโรป และออสเตรเลีย
แม้ว่าอาจดูน่าประหลาดใจที่พบว่าอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ยังคงรวมกันเป็นทวีปเดียวในหนังสือที่ตีพิมพ์ในสหรัฐอเมริกาในปี
1937 แต่แนวคิดดังกล่าวยังคงพบเห็นได้ทั่วไปจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สอง
ซึ่งไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่แนวคิดนี้รองรับการออกแบบภูมิรัฐศาสตร์ของอเมริกาในขณะนั้น
ซึ่งแสวงหาการครอบงำทั้งซีกโลกตะวันตกและแยกตัวออกจากทวีปในโลกเก่า ของยุโรป
เอเชีย และแอฟริกา
อย่างไรก็ตาม ในช่วงทศวรรษ 1950 นักภูมิศาสตร์ชาวอเมริกันแทบทุกคนออกมายืนกรานว่าทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ที่มีรูปลักษณ์แตกต่างกันอย่างโดดเด่นชัดเจน
สมควรให้แยกออกจากกัน ซึ่งนี่เป็นช่วงเวลาที่ทวีปแอนตาร์กติกาถูกเพิ่มเข้าไปในรายชื่อทวีปบนโลก
แม้ว่าจะไม่มีมนุษย์อาศัยอยู่ก็ตาม และเมื่อโอเชียเนียที่เคยมีฐานะเป็นการแบ่งแยกอันยิ่งใหญ่ถูกแทนที่ด้วยทวีปออสเตรเลียพร้อมกับหมู่เกาะทั้งที่อยู่ห่างไกลและติดทวีปหลายแห่ง
ระบบโครงสร้างการแบ่งเป็นเจ็ดทวีปที่เกิดขึ้นนั้นได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็วทั่วทั้งสหรัฐอเมริกา
ช่วงทศวรรษ 1960 อันรุ่งเรืองของการปฏิวัติเชิงปริมาณทางภูมิศาสตร์
โครงสร้างแบบนี้ได้รับการจัดทำให้ถูกต้องตามกฎทางวิทยาศาสตร์รูปแบบใหม่โดยนักวิชาการผู้ตั้งใจจะคำนวณจำนวนที่แน่นอนของทวีปต่างๆ
ในโลกผ่านสมการทางคณิตศาสตร์ สิ่งที่น่าสนใจก็คือ คำตอบที่เขาคิดมาได้นั้นเกือบจะตรงกับรายการที่เคยมีมาก่อนแล้ว
คือ ทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยุโรป เอเชีย แอฟริกาโอเชียเนีย
(ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์) และแอนตาร์กติกา
แม้จะมีอคติแบบยุโรปโดยนัยต่อโครงสร้างการแบ่งทวีป
แต่การจุติสิ่งใหม่กว่านั้นได้ถูกส่งออกไปยังส่วนอื่นๆ ของโลก เท่าที่เราทราบ
โดยไม่ได้กระตุ้นให้เกิดการตอบสนองที่สำคัญหรือการปรับเปลี่ยนในท้องถิ่นใดๆ
ในกรณีของญี่ปุ่นนั้น โครงสร้างแบบสี่ทวีปที่ได้มาจากยุโรปได้ถูกนำมาใช้ในช่วงทศวรรษ
1700 และแพร่หลายในห้วงเวลากลางทศวรรษ
1800 การเปลี่ยนแปลงที่ตามมาในแนวความคิดเกี่ยวกับโลกของญี่ปุ่นเกิดขึ้นตามมาอย่างใกล้ชิดกับการเปลี่ยนแปลงของยุโรป
โดยมีข้อแตกต่างที่บ่งบอกว่าเอเชียมักจะได้รับการจัดอันดับให้เป็นทวีปแรกเสมอ ขณะที่นักภูมิศาสตร์ในอาณาจักรอิสลามได้นำโครงสร้างการแบ่งโลกออกเป็นสามส่วนจากชาวกรีกมาใช้ก่อนหน้านี้มาก
แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วทวีปต่างๆ จะมีบทบาทอย่างไม่มีนัยสำคัญในแนวความคิดเกี่ยวกับลำดับโลกก่อนศตวรรษที่
20 ชาวเอเชียใต้และคนอื่นๆ
ที่ได้รับอิทธิพลจากความเชื่อทางศาสนาของอินเดียใช้ระบบโครงสร้างการแบ่งทวีปแบบดั้งเดิมที่แตกต่างกันมาก
โดยมีความเกี่ยวพันกับจักรวาลวิทยามากกว่าที่จะเป็นการแบ่งส่วนตามลักษณะทางภูมิศาสตร์กายภาพ
อย่างไรก็ตาม ด้วยชัยชนะของลัทธิจักรวรรดินิยมยุโรป
ทัศนะร่วมสมัยของยุโรปเกี่ยวกับการแบ่งแยกส่วนต่างๆ ของโลกก็ได้รับการยอมรับจนเกือบเป็นสากล
นักวิชาการจากประเทศต่างๆ อาจไม่เห็นด้วยกับจำนวนทวีปที่แน่นอน (เช่น
ในยุโรปส่วนใหญ่ยังคงนิยมการแบ่งแบบห้าทวีปมากกว่าเจ็ดทวีป) แต่ระบบพื้นฐานที่มาที่ไปก็ไม่มีใครทักท้วงเลย
ในทางตรงข้าม เกือบจะทันทีที่ระบบโครงสร้างการแบ่งเป็นเจ็ดทวีปที่เป็นแบบแผนในปัจจุบันเกิดขึ้น ระบบนี้ก็เริ่มถูกละทิ้งโดยผู้ที่มีส่วนได้เสียมากที่สุดในการเผยแพร่ระบบ นั่นคือนักภูมิศาสตร์มืออาชีพ ขณะที่หนังสือเรียนภูมิศาสตร์โลกระดับมหาวิทยาลัยในอเมริกาเกือบทั้งหมดในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง สะท้อนให้เห็นค่อนข้างชัดเจนถึงการแบ่งผืนแผ่นดินบนโลกออกเป็นทวีป แต่ในช่วงทศวรรษ 1950 หนังสือเรียนส่วนใหญ่มีการจัดโครงสร้างตามภูมิภาคของโลก ทว่าการแบ่งส่วนต่างๆ ของโลกออกเป็นทวีปที่เก่ากว่ายังคงยืนหยัดอย่างเหนียวแน่นในสื่อสารมวลชนยอดนิยม ในหลักสูตรประถมศึกษา ในงานอ้างอิง และแม้แต่ในศัพท์เฉพาะของภูมิภาคโลกเอง ใครก็ตามที่สงสัยเกี่ยวกับสถานะร่วมสมัยของโครงสร้างการแบ่งทวีป ก็สามารถหาคำตอบได้เพียงแค่มองผ่านชั้นวางเกมเขียนแผนที่และผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาสำหรับเด็กเท่านั้น และการเรียนการสอนดังกล่าวไม่ได้มุ่งเป้าไปที่เยาวชนอย่างจริงจัง ผลงานของ Kenneth C. Davis ที่ได้รับการตีพิมพ์เมื่อปี 1801 ซึ่งออกแบบมาเพื่อผู้ใหญ่เป็นหลัก ซึ่งมีชื่อว่า don't know much about geography ระบุตำแหน่งประเทศต่างๆ ในโลกเอาไว้ตามตำแหน่งทวีปของแต่ละประเทศ โดยผู้เขียนแจ้งให้เราทราบเพิ่มเติมว่านักทำแผนที่คิดออกเพียงแค่ว่าออสเตรเลียเป็นทวีปที่หก และการกล่าวอ้างที่คุ้นเคยซ้ำๆ ของเขาที่ว่าออสเตรเลียเป็น ‘ทวีปที่เล็กที่สุดในโลกและเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด’ ก็เป็นการยืนยันอีกเช่นกันถึงความต่อเนื่อง การมองไม่เห็นของเกาะโลกที่เคยครอบคลุมดินแดนหลักทั้งสาม - ยุโรป เอเชีย และแอฟริกา
ที่มา Martin W. Lewis and Karen E. Wigen. (1997). The Myth of Continents: A Critique of
Metageography. Berkeley: University of
California Press.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น