หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2566

โลกต้องการแผนที่ใหม่ที่งดงามกว่าเดิม

ผมอ่านบทความสั้นๆ เรื่อง โลกต้องการแผนที่ใหม่ เรื่องนี้ของ ไคลี บลิช ที่เขียนไว้ในอิเตอร์นิตีนิวส์ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2021 ตอนเริ่มต้นอ่าน แค่เพียงความอยากรู้ว่า ก่อนผลิตแผนที่สวยๆ ออกมานั้น คนทำเขาคิดอะไรและคิดอย่างไร ก่อนที่จะวางแผน ออกแบบ และลงมือทำ แต่พออ่านไปๆ มันไม่ได้จบแค่นั้น เรื่องราวมันนำพาไปสู่คำถามใหม่ที่ใหญ่กว่า สำคัญกว่า เพราะ “โลกต้องการแผนที่ใหม่” ที่ต้องอาศัยการสร้างแผนที่สวยๆ ที่ทุกคนต้องร่วมกันสร้าง


อ่านแล้ว อยากให้ทุกคนอ่านครับ


เรื่องราวเริ่มต้นว่า เดิมทีเดียวห้องสมุดอโปสโตลิคของสำนักวาติกันเท่านั้นที่เป็นพื้นที่ที่นักวิจัยมักจะเข้าถึงได้ แต่ว่าปัจจุบันนี้หอนิทรรศการถูกสร้างขึ้นมา และได้กลายเป็นห้องแสดงนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยที่เปิดให้สาธารณชนเข้าชมอย่างทั่วถึง


“ความงามไม่ใช่ภาพลวงตาชั่ววูบของรูปร่างหน้าตาหรือเครื่องประดับ แต่มันเกิดขึ้นแทนที่จะมาจากรากแห่งความดี ความจริง และความยุติธรรม ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายเหมือนกัน” สมเด็จพระสันตปาปาฟรานซิสตรัสในพิธีเปิดห้องนิทรรศการเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2021


“เราจะต้องไม่ละเลยที่จะคิดและพูดถึงความงาม เพราะหัวใจมนุษย์ไม่ได้ต้องการแค่อาหารเท่านั้น ไม่เพียงต้องการสิ่งที่รับประกันความอยู่รอดในทันทีเท่านั้น หากแต่เรายังต้องการวัฒนธรรม สิ่งที่สัมผัสจิตวิญญาณที่นำพามนุษย์มาอยู่ ณ ที่แห่งนั้นแห่งนี้ ใกล้ชิดกับศักดิ์ศรีที่ลึกซึ้งของเขาหรือเธอ นี่คือเหตุผลที่ศาสนจักรต้องเป็นพยานยืนยันถึงความสำคัญของความงามและวัฒนธรรมในการสนทนากับความกระหายในสิ่งไม่มีขอบเขตที่กำหนดความเป็นมนุษย์”


นิทรรศการเปิดตัวจัดแสดงผลงานของปิแอโตร รัฟโฟ ซึ่งมีชื่อว่า “ตุตติ” อันหมายถึง อูมานิต้า อิน กัมมิโญ หรือแปลว่า เราทุกคนที่เป็นมนุษยชาติร่วมทางเดียวกัน ได้รับเลือกให้เป็นภาพสะท้อนของ Fratelli tutti หรือ พี่น้องทุกคนของพระบิดาผู้บริสุทธิ์ ซึ่งเป็นลายลักษณ์พระหัตถ์ของสมเด็จพระสันตปาปาฟรานซิสผู้ซึ่งเป็นพี่น้องของคนทั้งมวล


งานศิลปะบนลูกโลกถูกนำมาจัดแสดงในฐานะสิ่งประดิษฐ์ทางประวัติศาสตร์ เป็นแผนภูมิและแผนที่แม่น้ำไนล์สมัยศตวรรษที่ 17 ที่มีความยาวถึง 6 เมตร ซึ่งสร้างโดยเอฟลิญา เซเลบี ในฐานะที่เป็นบทสนทนาเกี่ยวกับแผนที่ใหม่ที่ศิลปินสร้างขึ้น


สาธุคุณดอน จิอาโกโม ผู้ได้รับมอบหมายให้ดูแลพื้นที่ใหม่แห่งนี้กล่าวว่านิทรรศการนี้เป็นการเปิดโลกของการทำแผนที่ที่ไม่ใช่การทำเพื่องานทางภูมิศาสตร์ สิ่งที่รวบรวมมาได้เหล่านี้ประกอบไปด้วยแผนที่เชิงเปรียบเทียบ แผนที่ศาสนศาสตร์ แผนที่เหน็บแนม และแผนที่ที่แสดงอารมณ์ความรู้สึก รวมไปถึงแผนที่ความปรารถนาและการต่อต้าน แผนที่ความฝันและความสิ้นหวังของมนุษยชาติ


“ตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ผู้คนใช้พลังที่เป็นตัวแทนของแผนที่ ไม่เพียงแต่เพื่ออธิบายความเป็นกลางของโลกเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการตกแต่งภายใน อุดมคติ การเดินทาง การค้นพบ และความเชื่อมั่นของเราเองด้วย” สาธุคุณดอนกล่าว


สมเด็จพระสันตปาปาฟรานซิสทรงเสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการและกล่าวถึงในสุนทรพจน์เปิดงานของพระองค์


“ฉันชื่นชมความท้าทายในการสร้างบทสนทนานี้ ชีวิตคือศิลปะแห่งการเผชิญหน้า วัฒนธรรมไม่สบายเมื่อพวกเขาอ้างอิงตนเองเมื่อพวกเขาสูญเสียความอยากรู้อยากเห็นและการเปิดกว้างต่อผู้อื่น เมื่อพวกเขาแยกออก แทนที่จะรวมเข้าด้วยกัน เรามีข้อได้เปรียบอะไรในการตั้งตนเป็นผู้พิทักษ์เขตแดน แทนที่จะเป็นผู้พิทักษ์พี่น้องของเรา คำถามที่พระเจ้าตรัสซ้ำกับเราคือ “น้องชายของคุณอยู่ที่ไหน” (บทเปรียบเทียบ ปฐก 4:9)”


สมเด็จพระสันตปาปาทรงดำรัสกับผู้ฟังทั้งหลายในห้องประชุมแห่งนั้นว่า “โลกต้องการแผนที่ใหม่”


“การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ที่ถูกเร่งเร้าอย่างรุนแรงด้วยโรคระบาด มนุษยชาติต้องการแผนที่ใหม่เพื่อค้นหาความหมายของภราดรภาพ มิตรภาพทางสังคม และความดีที่เป็นของส่วนรวม ตรรกะของการปิดกั้นอย่างมิดชิดนั้นถือเป็นความแห้งแล้ง แถมยังเต็มไปด้วยความเข้าใจผิด เราต้องการความสวยงามแบบใหม่ ซึ่งไม่ใช่ภาพสะท้อนพลังของคนไม่กี่คนอีกต่อไป แต่เป็นภาพโมเสคที่กล้าหาญจากความหลากหลายของทุกคน ที่จะต้องไม่ใช่กระจกเงาของลัทธิมานุษยนิยมที่เอาแต่กดขี่ แต่ต้องเป็นแนวทางใหม่ของสิ่งมีชีวิตที่ซึ่งระบบนิเวศที่เป็นส่วนประกอบของกันและกันถูกสร้างขึ้นมาให้สามารถจับต้องได้” สมเด็จพระสันตปาปาฟรานซิสทรงพระดำรัสเช่นนั้น


สมเด็จพระสันตปาปาฟรานซิสทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สาธารณชนสามารถเข้าถึงอาคารวาติกันได้มากขึ้น ทำให้บ้านฤดูร้อนของพระสันตปาปาในคาสเทล กันโดลโฟ ต้องกลายสภาพเป็นพิพิธภัณฑ์ เป็นสถานที่จัดค่ายฤดูร้อนสำหรับเด็กๆ ในครอบครัวของเจ้าหน้าที่ของสำนักวาติกัน และปรับเปลี่ยนพาลาซซา มิกลิออริ ให้เป็นพระราชวังสำหรับคนจน


สมเด็จพระสันตปาปาฟรานซิสทรงพระดำรัสต่ออีกว่า “ตั้งแต่เริ่มเป็นสังฆราช ข้าพเจ้าเรียกร้องศาสนจักรให้ตั้งตนเป็นศาสนจักรสำหรับบุคคลภายนอก และเป็นตัวชูโรงของวัฒนธรรมแห่งการเผชิญหน้า สิ่งเดียวกันนี้ถูกนำมาใช้กับห้องสมุด ห้องสมุดจะสามารถรับใช้ศาสนจักรได้ดียิ่งขึ้น หากทำหน้าที่นอกเหนือจากการเก็บรักษาเรื่องราวต่างๆ ในอดีตแล้ว ห้องสมุดยังกล้าที่จะเป็นพรมแดนของปัจจุบันและอนาคต ฉันรู้ว่าพวกคุณตระหนักถึงสิ่งนี้ สิ่งที่บ่งบอกว่าความรับผิดชอบของเรา คือ การรักษารากและความทรงจำให้คงอยู่ โดยมองไปที่ดอกไม้และผลไม้เสมอ”


สมเด็จพระสันตปาปาตรัสว่าทรงวางใจให้ห้องสมุดอโปสโตลิกแห่งนี้ทำหน้าที่แปลทุนสะสมของศาสนาคริสต์ให้เป็นภาษาต่างๆ ของวันนี้ และพรุ่งนี้


และทรงดำรัสต่อไปอีกว่า “เรามาร่วมกันฝันถึง “แผนที่ใหม่” ฉันกำลังคิดถึงความจำเป็นในการย้ายจากระบบอนาล็อกไปสู่ระบบดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อแปลมรดกของเราให้เป็นภาษาใหม่ๆ ที่เป็นความท้าทายครั้งประวัติศาสตร์ ที่เราต้องเผชิญด้วยสติปัญญาและความกล้าหาญ”ฃ


ผู้นำของสันตปาปายังใช้เวลาให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ของห้องสมุด โดยตรัสกับพวกเขาว่าแม้คนส่วนใหญ่จะไม่เห็นงานของพวกเขา แต่สิ่งเหล่านี้ก็จะไปมีบทบาทสนับสนุนพวกเขาไม่ทางหนึ่งก็ทางใดแน่นอน


“บางครั้งเราคิดถึงคุณค่าของสิ่งของหรือผู้คนที่มองเห็นได้ แต่ยังคงมีผู้คนอีกมากมายที่ซ่อนเร้นนำพาชีวิต ครอบครัว โลก สังคม ทุกสิ่ง วัฒนธรรม … ขอบคุณสำหรับผลงานชิ้นนี้ ขอบคุณ และฉันขอให้พระเจ้าอวยพรคุณ คุณและครอบครัวของคุณ”


อ่านจบแล้ว และอ่านซ้ำอีกหลายรอบ ได้สาระอะไรต่างๆ มากมาย และได้รับการตอกย้ำซ้ำๆ ตามที่ คีลญา บลีช  ย้ำพระดำรัสของพระสันตปาปาที่ว่า “คริสตจักรต้องเป็นประจักษ์พยานให้ศาสนิกชนเห็นถึงความสำคัญของความงามและวัฒนธรรม” ผมรู้สึกซาบซึ้งกับพระดำรัสที่ว่า “พวกเราต้องการความสวยงามแบบใหม่ ซึ่งไม่ใช่ภาพสะท้อนพลังของคนไม่กี่คนอีกต่อไป แต่เป็นภาพโมเสคที่กล้าหาญของความหลากหลายของพวกเราทุกคน”


เรื่องความงดงามนี้มีปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมทุกชาติทุกศาสนา พุทธศาสนาของเราก็อธิบายเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า “ความจริงคือความงาม” โดยขอยกเอาคำอธิบายของ ชักติ ไมรา ศิลปินร่วมสมัยผู้มีผลงานจิตรกรรมและปฏิมากรรมมากมายชาวอินเดีย ที่กล่าวไว้ใน Buddhist Aesthetics ว่า พระหัตถ์ของพระพุทธรูปที่นำมาตั้งไว้อยู่ในถ่วงท่าการสอน พระเนตรทั้งสองปิดมีรอยยิ้มที่อ่อนโยน พระปฏิมาดูราวประหนึ่งได้ฉุดดึงให้ผู้พบเห็นถลำเข้าสู่ความจริงซึ่งพระพุทธองค์ทรงสัมพันธ์อยู่ เป็นภาพตัวแทนที่แสดงความงามออกมา เป็นความงามของสภาวะจิตใจและการดำรงอยู่ภายใน เป็นความงามปกติที่มีอยู่ด้วยประสบการณ์การหยั่งรู้ความจริงอันลึกซึ้ง เป็นความงามของนิพพาน สันติภาพ ความสงบ ความอ่อนโยน และความกว้างใหญ่ไพศาล


ในฐานะผู้มีส่วนร่วมและผู้มีส่วนได้เสียจากการสร้างการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และศิลปะการสร้างแผนที่ จึงขอชักชวนทุกๆ ท่านที่เกี่ยวข้อง ทั้งในฐานะผู้ปรารถนาจะใช้ประโยชน์จากแบบแผนและแผนที่ ผู้กำหนดหลักการ ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ และผู้เรียนรู้วิทยาการและศิลปะดังกล่าว ร่วมกันแสดงความกล้าหาญที่จะสร้างความงดงามที่แท้จริงแบบใหม่ด้วยความคิด จินตนาการ และการกระทำของเรา






เอกสารอ้างอิง


Kylie Blish (2021) The World Needs New Maps' Says Pope Francis As Vatican Opens New Contemporary Art Gallery.  Eternity News. 12th November 2021.

Paolo Euron (2017) Beauty and Aesthetic Experience in Theravāda Buddhism. Contemporary Buddhism. 18(2) October. doi.org/10.1080/14639947.2017.1386415

Shakti Maira (2003) Buddhist Aesthetics. Resurgence & Ecologist. 217(March-April): pp.54-55.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น