เทศกาลน้ำ : ภูมิศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมกัมพูชา”
โดย สมเกียรติ อ่อนวิมล(http://photos-c.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc4/hs991.snc4/76442_464302675982_637890982_6163379_4670006_a.jpg)
เมื่อคืนที่เป็นคืนวันลอยกระทงในประเทศไทย ที่ประเทศกัมพูชาก็มีงานเทศกาลน้ำคืนวันเพ็ญคล้ายกัน แต่งานเทศกาลน้ำที่กรุงพนมเปญปีนี้เกิดโศกนาฏกรรมผู้คนเหยียบกันตายถึง 450 คน และบาดเจ็บอีกกว่า 760 คน ตามตัวเลขแถลงโดยนายไพ สีพัน โฆษกรัฐบาลกัมพูชา หลังเกิดเหตุคืนวันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน 2553
มีเรื่องเชิงภูมิศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมที่เป็นข้อมูลความรู้ 2 เรื่อง ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ คือ
งานเทศกาลน้ำคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง ของชาวกัมพูชา
เหตุเกิดบนสะพานข้ามแม่น้ำบาสัก (Bassac River) ที่เชื่อมฝั่งกรุงพนมเปญ กับ เกาะเพชร (Koh Pich / Diamond Island)
เทศกาลน้ำคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง : “บอน ออม ตุก” (Bon Om Touk / Bon Om Thook / Bonn Om Teuk / Bon Om Tuk) หรือ “เทศกาลน้ำ” (Water Festival) ของชาวกัมพูชา เป็นงานประเพณีที่ใหญ่ที่สุดในรอบปีของชาวกัมพูชา ยิ่งใหญ่กว่างานวันส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่มากมายนัก
“บอน ออม ตุก” เทศกาลแสดงสำนึกในพระคุณของนำ้ ย้อนอดีตไปถึงยุคแรกเริ่มใน สมัยพระนคร (Angkor) ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในคริสต์ศตวรรษที่ 2 เป็นการบูชา เทพยดาแห่งแม่น้ำ เพื่อมิให้เหล่าเทพยดาทรงพิโรธโกรธมวลมนุษย์ เพื่อความความอุดม สมบูรณ์ของชีวิตชาวขอมโบราณที่อาศัยพึ่งพาน้ำจากทะเลสาปและแม่น้ำสายต่างๆเป็นหลัก และนักประวัติศาสตร์บางกลุ่มก็เชื่ออีกด้วยว่าประเพณีฉลองเทศกาลน้ำในสมัยโบราณเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมความพร้อมและแสดงพลังของกองทัพเรือในการออกศึกสงครามด้วย
เทศกาลน้ำ “บอน ออม ตุก” มีกิจกรรมหลัก 3 กิจกรรม :
ลอยประทีป (Loy Pratip) หลังจากประเพณีแข่งเรือยาวในตอนกลางวัน ตกกลางคืนก็มีการแสดงขบวนเรือประดับไฟแสงสีสวยงามในลำน้ำ โดยรัฐบาล ส่วนราชการ และกลุ่มองค์กรต่างๆจะแข่งขันกันส่งเรือเข้าร่วมขบวน
สัมเพียส พระเค (Sampeas Preah Khe) ไหว้พระจันทร์ ในวาระที่ดวงจันทร์วันเพ็ญส่งสัญลักษณ์ว่าถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวและพืชผลการเกษตรแล้ว แสดงความขอบคุณและอธิษฐานให้ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ต่อไปด้วย
อุก อัมบก (Auk Ambok) เป็นพิธีการเวลาเที่ยงคืนชาวบ้านชาวเมืองจะรวมตัวกัน
เทศกาลน้ำ “บอน ออม ตุก” มีกิจกรรมหลัก 3 กิจกรรม :
ลอยประทีป (Loy Pratip) หลังจากประเพณีแข่งเรือยาวในตอนกลางวัน ตกกลางคืนก็มีการแสดงขบวนเรือประดับไฟแสงสีสวยงามในลำน้ำ โดยรัฐบาล ส่วนราชการ และกลุ่มองค์กรต่างๆจะแข่งขันกันส่งเรือเข้าร่วมขบวน
สัมเพียส พระเค (Sampeas Preah Khe) ไหว้พระจันทร์ ในวาระที่ดวงจันทร์วันเพ็ญส่งสัญลักษณ์ว่าถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวและพืชผลการเกษตรแล้ว แสดงความขอบคุณและอธิษฐานให้ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ต่อไปด้วย
อุก อัมบก (Auk Ambok) เป็นพิธีการเวลาเที่ยงคืนชาวบ้านชาวเมืองจะรวมตัวกันที่วัดเพื่อร่วมกิน “อัมบก” มีลักษณะคล้ายข้าวตอกหรือข้าวเม่าผสมกล้วยและมะพร้าวขูด
เทศกาลนำ้ “บอน ออม ตุก” ฉลองกันตามลำน้ำทั่วประเทศกัมพูชา แต่ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดก็ที่นครหลวงพนมเปญ ในช่วงเทศกาลที่ฉลองกันสามวันสามคืนที่พนมเปญจะมีผู้คนมาเที่ยวงานกันจากทุกสารทิศโดยประมาณถึงล้านคน มีการแข่งเรือยาวประเพณีกันยิ่งใหญ่บนแม่น้ำโตนเลสาป (แม่น้ำทะเลสาบ / Tonle Sap River) และแม่น้ำโขง (Mekong River) สำหรับปี 2553 นี้ข่าวรายงานว่ามีเรือ 400 ลำ กับ 2,500 ฝีพาย มาร่วมแข่งขันกันชิงรางวัลที่เป็นเกียรติสูงสุดของประเพณีแข่งเรือในกัมพูชา เมือถึงเวลาค่ำจะมีเรือตกแต่งประดับประดาสีแสงสวยงามมากมายล่องลำน้ำโชว์ความสวยงามตระการตา นอกจากนั้นแล้วทั่วบริเวณสองฝั่งแม่น้ำก็จะมีงานสนุกสานรื่นเริงมากมายต้อนรับผู้ที่มาเที่ยวกันทุกรูปแบบ เทศกาลน้ำของชาวกัมพูชานี้ จะให้เป็นที่สุดแห่งเทศกาลก็ต้องมาฉลองกันที่พนมเปญ และ ณ บริเวณริมแม่น้ำสามสายรอบๆพนมเปญเท่านั้น เพราะเป็นงานประเพณีฉลองการเปลี่ยนทิศทางของสายน้ำ และเป็นการแสดงความขอบคุณต่อคุณค่าของแม่น้ำด้วย และพนมเปญเป็นที่พบกันของแม่น้ำสามสาย และเป็นจุดที่น้ำในแม่น้ำเปลี่ยนทิศทางไหลในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสองนี้
(http://sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc4/hs978.snc4/77147_464303595982_637890982_6163385_5784609_n.jpg)
(http://)คืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง เป็นคืนที่หน้าฝนยุติลง เปลี่ยนฤดูกาลเข้าสู่หน้าแล้ง สายน้ำที่เคยไหลย้อนขึ้นเหนือเข้าสู่ทะเลสาปเขมร (โตนเลสาป/Tonle Sap) จะไหลกลับลงสู่ทะเลตามธรรมชาติ สภาพภูมิศาสตร์จึงส่งผลต่อวัฒนธรรมโดยตรงตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว
(http://sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc4/hs1144.snc4/148658_464304650982_637890982_6163392_4202774_n.jpg)
แม่น้ำโตนเลสาป พบ แม่น้ำโขง ที่พนมเปญ เกิดเป็นแม่น้ำบาสัก ส่วนแม่น้ำโขงไหลต่อเข้าเวียดนาม ออกสู่ทะเล
หากดูแผนที่กัมพูชา จะเห็นทะเลสาบเขมรอยู่ตรงกลางประเทศ ตรงปลายล่างทางใต้ของทะเลสาบจะมีแม่น้ำเรียกชื่อว่า “แม่น้ำทะเลสาบ” หรือ “แม่น้ำโตนเลสาป” (Tonle Sap River) ไหลลงมาเชื่อมกับแม่น้ำโขงที่ไหลลงมาจากลาว เข้ากัมพูชาทางตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นสายน้ำยาว 500 กิโลเมตร แม่น้ำโตนเลสาปมาเชื่อมกับแม่น้ำโขง ตรงกรุงพนมเปญพอดี จากนั้นแม่น้ำโขงก็จะไหลต่อออกชายแดน เข้าเวียดนามและออกสู่ทะเลในที่สุด แต่ว่าแม่น้ำโตนเลสาปยังมีส่วนที่ไม่ยอมเชื่อมกับแม่น้ำโขงทั้งหมด โดยกลับแยกตัวออกมาเป็นแม่น้ำสายใหม่ ไหลขนานกันทางตะวันตก หรือทางซ้ายมือบนแผนที่ แม่น้ำที่แยกออกมาอีกสายหนึ่งนี้ เรียกชื่อว่า “แม่น้ำบาสัก” (Bassac River – ออกเสียงตามสะดวกแบบไทยอาจเรียกว่า “แม่น้ำป่าสัก” ก็ได้) แม่น้ำบาสัก แม่น้ำโตนเลสาป และ แม่น้ำโขง จึงมาพบบรรจบกันที่พนมเปญ
(http://sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc4/hs1206.snc4/155845_464305425982_637890982_6163398_3663711_n.jpg)
ในฤดูฝน หรือหน้าน้ำ ปริมาณน้ำมากมายมหาศาลจะท่วมท้นล้นแม่น้ำโขง จนดันน้ำเข้าแม่น้ำโตนเลสาบ ไหลเข้าสู่ตัวโตนเลสาป หรือ “ทะเลสาบเขมร”อันยิ่งใหญ่ ให้ยิ่งใหญ่สมชื่อเสียงจริงๆ เพราะน้ำในโตนเลสาปนี้จะเพิ่มปริมาณจากหน้าแล้งขึ้นมาเป็นกว่า 3 เท่า ในหน้าฝน ผิวน้ำโตนเลสาปกว้าง 3,000 ตารางกิโลเมตร เพิ่มเป็น 10,000 ตารางกิโลเมตร สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับโตนเลสาปและชีวิตเศรษฐกิจของผู้คนรอบๆพื้นที่ ปลากว่า 300 ชนิดพันธุ์ในโตนเลสาปเลี้ยงชาวกัมพูชาได้กว่าครึ่งประเทศ นกน้ำอีกกว่า 100 ชนิดกับสัตว์น้ำอื่นในโตนเลสาปเป็นความหลากหลายทางชีวภาพที่ชาวกัมพูชาภาคภูมิใจ
(http://sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc4/hs1195.snc4/154789_464306780982_637890982_6163415_7681913_n.jpg)
คืนวันเพ็ญเดือนสิบสองเป็นคืนที่สายน้ำเปลี่ยนทาง จากที่เคยไหลย้อนขึ้นเหนือเข้าโตนเลสาป น้ำลดลงแล้วจึงจะไหลกลับลงใต้ออกสู่ทะเลตามธรรมชาติ จากนี้ไปไม่นาน น้ำในโตนเลสาปจะค่อยๆแห้งลง และลดลงเหลือเพียง 1 ใน 3 ในที่สุด ความอุดมสมบูรณ์ในโตนเลสาปจะลดลง ชีวิตชาวกัมพูชาจะลำบากมากขึ้น ดังนั้นเทศกาลงานประเพณีน้ำคืนเพ็ญเดือนสิบสองจึงเป็นประเพณีขอบคุณแม่น้ำโขง แม่น้ำโตนเลสาป แม่น้ำบาสัก และ โตนเลสาป โดยเฉพาะ และเป็นการขอบคุณแม่น้ำ โดยภาพรวม แบบที่ชาวไทยลอยกระทงขอบคุณพระแม่คงคา (โดยใช้คำว่า “คงคา” แทนแม่น้ำทั้งหมดโดยภาพรวมเช่นกัน)
เกาะเพชร กลางแม่น้ำบาสัก ที่ไหลผ่านพนมเปญ
เกาะเพชร - เหตุเกิดบนสะพานข้ามแม่น้ำบาสัก (Bassac River) ที่เชื่อมฝั่งกรุงพนมเปญ กับ เกาะเพชร (Koh Pich / Diamond Island) : โดยปรกติงานเทศกาลน้ำนี้ก็มีผู้คนมากมายนับล้านคนเช่นนี้ทุกปี ไม่เคยมีเหตุภัยรุนแรงจนเบียดเสียดและเหยียบกันจนตายดังปีนี้ ที่เกิดขึ้นเป็นอุบัติเหตุเพราะผู้คนบนสะพานข้ามแม่น้ำบาสักตะโกนว่าถูกไฟช๊อต จากนั้นก็เกิดความโกลาหล วิ่งหนี เบียดเสียด เหยียบย่ำกัน จนเกิดโศกนาฏกรรม ซึ่งนายกรัฐมนตรีฮุนเซ็นฉวยโอกาสกล่าวเชิงเสียดสีอย่างผิดที่ผิดทางว่า “เป็นการเสียชีวิตหมู่มากมายที่สุดนับจากครั้งที่พวกเขมรแดงฆ่าหมู่ชาวกัมพูชาในทศวรรษที่ 1970”
อันที่จริง หากไม่มีสะพาน ไม่มีเกาะเพชร ก็อาจไม่เกิดความสูญเสียเช่นนี้ก็เป็นได้(http://photos-b.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc4/hs1161.snc4/150362_464306890982_637890982_6163419_53591_a.jpg)
เกาะเพชร (Koh Pich / Diamond Island) เป็นเกาะเล็กๆ ขนาดพื้นที่ประมาณ 618 ไร่ ติดพนมเปญทางทิศตะวันออก กลางแม่น้ำบาสัก ตรงบริเวณที่แยกออกมาจากแม่น้ำโตนเลสาปและแม่น้ำโขงพอดี คนจากฝั่งพนมเปญ ต้องเดินข้ามสะพาน หากจะไปเที่ยวงานบนเกาะเพชร
เกาะเพชรนี่เองคือชีวิตใหม่ของชาวพนมเปญ เพราะเป็นพื้นที่ที่ถูกเช่า 99 ปี พัฒนาเป็นเขตเมืองใหม่ มีธุรกิจสมัยใหม่ครบวงจร บริษัท Khmer-Canadian Oversea Cambodia Investment Company ได้ลงนามในสัญญาที่ต้องจ่ายรัฐบาลกัมพูชา $50 ล้าน ในข่วงเวลาเช่า 99 ปี กำลังสร้างเป็นศูนย์แสดงสินค้า สวนสนุก แหล่งพักผ่อน จัดงานดนตรี และสารพัดกิจกรรมทางธุรกิจและความบันเทิงนานาชนิด ตลอดจนสร้างหมู่บ้านที่อยู่อาศัย อาคารชุด ตลาด ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ การสร้างเกาะเพชรให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจแห่งใหม่ใหม่ต้องถมที่เกาะให้สูงกว่าฝั่งพนมเปญถึง 11.75 เมตร แม้ทุกวันนี้งานก่อสร้าง และการขายอาคารสถานที่ยังดำเนินต่อไปเรื่อยๆ แต่เกาะเพชรก็มีชีวิตชีวาแล้ว ผู้คนนิยมข้ามฝั่งมาเที่ยว มาจัดงาน จัดเลี้ยง งานแต่งงาน จัดนิทรรศการ แสดงสินค้า พาลูกหลานมาเที่ยวสวนสนุก ฯลฯ กันมากมายทุกวัน ทุกคืน แม้ปีนี้จะโชคร้ายเกิดโศกนาฎกรรมรุนแรง ชีวิตใหม่บนเกาะเพชรจะดำเนินต่อไปเป็นโฉมใหม่ของพนมเปญ และปีหน้า ชาวกัมพูชานับล้านคน ก็จะมาฉลองเทศกาลน้ำที่เกาะเพชรอีก
ทั้งหมดนี้คือภูมิศาสตร์สังคมและวัฒนธรรม อันเนื่องมาจากแม่น้ำไหลเปลี่ยนทิศทางประจำปี ในราชอาณาจักรกัมพูชา
ขอบคุณข้อมูลจากอาจารย์
สมเกียรติ อ่อนวิมล
25 พฤศจิกายน 2553
ท่องไปกับความรู้ ทักษะ ปัญญา และสุนทรียญาณ "วิชาภูมิศาสตร์" ไม่ได้มีไว้ขาย มีไว้เป็นเครื่องมือสรวญเสเฮฮา มีไว้ประเทืองปัญญา ที่จะพาสังคมพัฒนาและอยู่รอด ที่นี่เป็นสังคมเรียนรู้ของคนที่เรียนวิชาภูมิศาสตร์
วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
The Big Questions in Geography
คำถามสำคัญที่ใหญ่มากของวิชาภูมิศาสตร์
The Big Questions in Geography
Susan L. Cutter, University of South Carolina
Reginald Golledge, University of California, Santa Barbara
William L. Graf, University of South Carolina
บทนำ
ในพิธีเปิดการประชุมประจำปี 2001 ของสมาคมนักภูมิศาสตร์อเมริกัน (AAG: Association of American Geographers) ในมหานครนิวยอร์ก ที่มี John Noble Wilford หัวหน้าบรรณาธิการรับผิดชอบด้านวิทยาศาสตร์ของนิตยสารข่าวนิวยอร์ก ไทม์ เป็นวิทยากรนำ เขากล่าวด้วยถ้อยคำตรงไปตรงมา ท้าทายต่อวิชาภูมิศาสตร์ด้วยคำพูดที่ชัดเจนว่า คำถามใหญ่มาก (The Big Questions) ของสาขาวิชาภูมิศาสตร์ของพวกเรา คือ คำถามต่างๆ ที่จะไปจับตรึงความสนใจของสาธารณะ สื่อ และ ผู้กำหนดนโยบาย (Abler, 2001) ซึ่งคำถามดังกล่าว Wilford ได้หมายเหตุให้ได้ขบคิดกันประกอบด้วย นักภูมิศาสตร์พลาดพลั้งในการทำงานวิจัยในประเด็นใหญ่ๆ สำคัญๆ ไปรึเปล่า ? เพราะเหตุใดของนักภูมิศาสตร์ที่ทำงานวิจัยในประเด็นใหญ่ๆ สำคัญๆ จึงไม่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ ? และสมาคมนักภูมิศาสตร์อเมริกันจะสามารถแสดงบทบาทอะไรได้บ้าง ในการปรับปรุงการนำเสนอความรู้ทางภูมิศาสตร์เพื่ออธิบายประเด็นใหญ่ๆ สำคัญๆ เหล่านั้น ?
ประเด็นปัญหาแรกนั้น นักภูมิศาสตร์หลายคนกำลังทำงานวิจัยในประเด็นบางประเด็นที่สำคัญของสังคมสมัยใหม่ แต่ก็ไม่ได้เป็นแบบนั้นทั้งหมด ตัวอย่างเช่น การคิดแบบภูมิศาสตร์ถือเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญของตรวจสอบภาวะโลกร้อน ผลผลิตที่ได้จากงานวิจัยที่เข้าสู่สายตาของผู้กำหนดนโยบายและสาธารณชนนั้น บ่อยครั้งที่ออกมาอยู่ในรูปของแผนที่และข้อมูลภาพจากดาวเทียม ที่จะช่วยอธิบายผลลัพธ์ทางภูมิศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก วิธีการทางภูมิศาสตร์เป็นหัวใจของการวิเคราะห์ภัยพิบัติทางธรรมชาติและภัยจากเทคโนโลยี ด้วยการเปิดโอกาสให้มีการปฏิสัมพันธ์สาธารณะผ่านสื่อที่เป็นแผนที่ นอกจากนี้ภัยพิบัติที่เกิดจากแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ชายฝั่งทะเล และแม่น้ำล้นตลิ่ง เหล่านี้เป็นต้นเหตุไปสู่การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ที่นำไปสู่การรับรู้ของสาธารณะต่อไป การโจมตีของลัทธิก่อการร้ายเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 เป็นสิ่งกระตุ้นความสนใจใหม่ที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ที่สามารถนำมาใช้เพื่อสนองตอบต่อเหตุการณ์ที่เป็นภัยพิบัติและเป็นแนวทางในการเตรียมตัวรับมือ
อย่างไรก็ตาม ยังมีสิ่งท้าทายในปัจจุบันนี้ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่นักภูมิศาสตร์ไม่ได้เข้าไปสัมผัสให้เพียงพอ ที่จะแสดงต่อไปในรายละเอียดของบทความบทนี้ ทั้งนี้เหตุผลหลักอย่างหนึ่งของความไม่สามารถเชื่อมโยงของศักยภาพในการช่วยแก้ปัญหากับการประยุกต์ใช้ทักษะสำหรับประเด็นสำคัญๆ เหล่านั้น ดูเหมือนได้กลายเป็นประเด็นทางสังคมวิทยาของวิชาภูมิศาสตร์ไปเสียแล้ว สมาชิกส่วนใหญ่ของสมาคมนักภูมิศาสตร์อเมริกันล้วนเป็นนักวิชาการในมหาวิทยาลัย พวกเขามีวาระและความปรารถนาตามโครงสร้าง คือ ต้องการทำงานวิจัยเน้นเฉพาะเรื่องให้มีความรู้ลึกตามกระบวนทัศน์ต่างๆ ซึ่งเป็นความรู้ที่ดูเหมือนว่าจะคลุมเครือสำหรับผู้มีอำนาจตัดสินใจและสาธารณะ นอกจากนี้ โครงสร้างทางสังคมปัจจุบันยังทำให้นักวิจัยทางภูมิศาสตร์ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องและทำงานวิจัยในประเด็นปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ที่ต้องการการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว การผลิตงานตีพิมพ์ และการสนับสนุนแรงผลักดันให้เกิดการครอบครอง มากกว่าที่จะให้เกิดการศึกษาวิจัยที่ซับซ้อนกว่าที่เป็นอยู่ ปัญหาขนาดใหญ่ๆ ทั้งหลายที่แก้ได้ไม่ง่ายและไม่เร็ว และที่ไม่จำเป็นงานวิชาการ
มียกเว้นอยู่บ้างเล็กน้อย ที่นักภูมิศาสตร์นอกมหาวิทยาลัยดำเนินการกันอยู่อย่างกระจัดกระจายและทำงานเป็นส่วนตัว หรือทำงานเป็นคณะทำงานสหวิทยาการในองค์กรภาครัฐ ธุรกิจ และองค์กรเอกชนต่างๆ เนื่องจากว่ามีสถาบันการวิจัยทางภูมิศาสตร์จริงๆ ไม่มากนัก จึงเป็นการยากที่จะเน้นให้เห็นถึงพลังทางภูมิศาสตร์ที่มีต่อคำถามใหญ่ๆ นักภูมิศาสตร์จำนวนมากในกลุ่มนี้จึงกำลังตอบสนองอยู่กับความต้องการแบบฉับพลันและแบบที่เป็นระยะสั้น มากกว่าที่จะเป็นผู้นำในการศึกษาประเด็นปัญหาใหญ่ๆ สำคัญๆ
สำหรับเหตุผลที่นักภูมิศาสตร์หลายคนที่ทำงานวิจัยในประเด็นใหญ่ๆ สำคัญๆ แต่ไม่ได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่มี 2 ประการ คือ ความไม่พอเหมาะของเบ้าหลอมแบบเดิมของวารสารรายงานการวิจัยที่นักภูมิศาสตร์จะเข้าไปนำเสนอผลงานเพื่อให้ได้รับรางวัลในวิชาชีพของตัวเอง และบ่อยครั้งที่งานที่สัมพันธ์กับนโยบายเกิดขึ้นมานอกเหนือรายละเอียดต่างๆ ที่มีอยู่ในจุดเริ่มต้นของงานวิจัย มีตัวอย่างที่สำคัญอันหนึ่งที่แสดงให้เห็นจุดที่กล่าวถึงนี้ คือ การทำงานของกรรมการภูมิศาสตร์ (Committee on Geography) ที่ทำงานในคณะกรรมการวิทยาศาสตร์โลกและทรัพยากร (Board on Earth Sciences and Resources) ภายใต้สภาวิจัยแห่งสหรัฐอเมริกา (NRC: National Research Council) กรรมการดังกล่าวผลิตผลงานการศึกษาทางภูมิศาสตร์ และจัดพิมพ์รายงานเพื่อเป็นข้อเสนอแนะและแนวทางให้กับรัฐบาลกลางในหลากหลายประเด็นที่เป็นคำถามใหญ่ๆ สำคัญๆ โดยงานวิจัยที่เห็นอยู่ในปัจจุบันที่นำเสนอจากนักภูมิศาสตร์และที่เป็นงานที่เกิดจากมุมมองทางภูมิศาสตร์ รวมถึงงานที่เป็นข้อแนะนำต่อสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (USGS: US Geological Survey) ที่เป็นการปรับโปรแกรมการวิจัยต่อประเด็นทางภูมิศาสตร์ที่สามารถจับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งที่เกี่ยวกับการขยายตัวของเมือง ภัยพิบัติ และการทำแผนที่ สำหรับกรณีอื่นๆนั้น งานศึกษาของคณะกรรมการอย่างหนึ่งทำให้ได้ทิศทางสำหรับรัฐบาลกลางสหรัฐให้กับผู้มีอำนาจในการตัดสินใจและองค์กรสาธารณะ ที่จำเป็นต้องทราบเกี่ยวกับโลกมุสลิม ขณะที่งานวิจัยอื่นๆ กำลังให้ความสนใจในประเด็นของการคมนาคมขนส่งที่สัมพันธ์กับการแออัดของปริมาณการจราจรในเขตเมืองและการพัฒนาดัชนีการมีชีวิตที่ดี รวมถึงยังมีนักภูมิศาสตร์คนอื่นๆ ก็ไปมีส่วนร่วมในคณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกี่ยวกับน้ำ (Water Science and Technology Board) ของสภาวิจัยแห่งสหรัฐอเมริกา ที่ทำงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้แนวความคิดด้านพื้นที่ลุ่มน้ำในการจัดการระบบนิเวศ และบทบาทของเขื่อนในการรักษาความมั่นคงของอุปทานน้ำของสาธารณะ นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างของนักภูมิศาสตร์ที่เป็นผู้นำการทำงานกลุ่มแบบสหวิทยาการในการสำรวจตรวจสอบการคิดเชิงพื้นที่และการทำแผนที่โลก ทุกกรณีทั้งหมดนี้ นักภูมิศาสตร์ได้แสดงบทบาทในฐานะศูนย์กลาง เพียงแต่ว่าผลผลิตของงานที่ทำกันจะถูกอ้างชื่อว่าเป็นผลงานของหน่วยงาน นักภูมิศาสตร์แต่ละคนที่ทำงานอยู่ในนั้น มีชื่อเป็นเพียงผู้ร่วมทำงานเท่านั้น และหากรายงานฉบับนั้นมีอิทธิพลต่อนโยบาย ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจก็มักจะได้รับเครดิตนั้นไปด้วยเพราะเป็นผู้ดำเนินการตามกระบวนการ โดยไม่ได้ใส่ใจกับผู้สำรวจวิจัยที่เริ่มต้นทำงานกันด้วยอุตสาหะ
สำหรับสมาคมนักภูมิศาสตร์อเมริกัน ที่แสดงบทบาทในการกระตุ้นงานวิจัยที่ทำกันในประเด็นปัญหาใหญ่ๆ ด้วยการให้ความสำคัญกับการทำงานและการทำให้งานนั้นได้รับการเผยแพร่ออกสู่สาธารณะ ซึ่งอาจจะเป็นนักวิจัยเดี่ยวส่วนบุคคลที่ปรารถนาจะทำงานวิจัยด้วยความรักและชื่นชมของพวกเขาร่วมกับคณะที่อยู่ในสาขาวิชาเดียวกัน สมาคมนักภูมิศาสตร์อเมริกันสามารถมีอิทธิพลต่อการทำงานของมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation) มูลนิธิแห่งชาติสำหรับสาขามนุษยศาสตร์ (National Endowment for the Humanities) สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institutes of Health) สมาคมภูมิศาสตร์แห่งชาติ (National Geographic Society) และแหล่งทุนอื่นๆ ที่เป็นช่องทางของความสนใจ และทรัพยากรที่บุคคลหรือคระบุคคลสามารถแสดงความสนใจประเด็นวิจัยที่เป็นประเด็นใหญ่ๆ ได้ ทั้งนี้นักวิจัยทางภูมิศาสตร์ที่เป็นบุคคลมักไม่อยากสำแดงอิทธิพลอะไรออกไปมากนัก ยกเว้นก็แต่เพียงเมื่อพวกเขาต้องให้การสนับสนุนในการทบทวนงานของคณะลูกขุนขององค์กรต่างๆ ที่กล่าวมา แต่ว่าสมาคมนักภูมิศาสตร์อเมริกันเองก็สามารถแสดงอิทธิพลได้เป็นอย่างดีในวอชิงตัน
บนความพยายามที่จะบ่งชี้ถึงประเด็นต่างๆ ที่จะต้องจัดให้มีคุณภาพระดับปัญหาใหญ่ ซึ่งมีข้อสรุปเป็นแนวความคิดแบบกว้างๆ ที่ผนึกประเด็นต่างๆ เชิงแนวคิดบางอย่างเอาไว้ (อย่างเช่นขนาด) และยังคงมีการชี้เฉพาะลงไปถึงชอบเขตของเนื้อหาที่เป็นที่สนใจอยู่ในขณะนี้ ที่จะต้องมายืนยันกันถึงความสำคัญของประเด็นใหญ่ๆ เหล่านั้น ก็เพราะเชื่อว่า ในท้ายที่สุดมันก็จะมีความสัมพันธ์กับประเด็นอื่นๆ ที่ต้องมาดำเนินการร่วมกัน ในบางประเด็นของปัญหาใหญ่นี้อาจจะดูคลุมเครือไปบ้างสำหรับสาธารณะ แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องคุ้นเคยกันดีสำหรับนักวิจัยและผู้กำหนดนโยบายที่เริ่มให้ความสนใจกับประเด็นเหล่านี้อยู่ มีความหวังเล็กๆ ที่การรวบรวมประเด็นใหญ่ๆ ว่าจะสามารถบ่งชี้ปัญหาต่างๆ ที่ใหญ่เท่าๆ กันออกมา แต่ว่าอย่างหนึ่งที่ได้จำแนกมานี้เป็นไปเพื่อคณะนักวิจัยที่ต้องการรับการสนับสนุนทุนวิจัยในประเด็นสำคัญๆ มากกว่าการทำงานวิจัยตามความสนใจในกลุ่มเล็กๆ ของสาขาวิชาที่ใช้งบประมาณไม่มากนักทำงานวิจัยภายในระยะเวลาปีหรือสองปี สำหรับการสื่อสารผลงานวิจัยภูมิศาสตร์ให้สาธารณชนได้เกิดเป็นแนวความคิด ก็ยังเป็นประโยชน์อีกอย่างหนึ่งที่ท้าทายการทำงานของนักภูมิศาสตร์ ซึ่งความท้าทายนี้ ด้วยตัวของมันเองสามารถที่จะกลายไปเป็นประเด็นสำคัญของสาขาวิชาอีกก็ได้ ด้วยข้อเสนอแนะทั้งหมดที่จะกล่าวต่อไปนี้ หวังว่านักภูมิศาสตร์ทุกคนที่ได้อ่านบทความบทนี้ จะได้รับรู้ถึงความสำคัญของชุมชนภูมิศาสตร์ที่จะต้องเข้าไปให้ถึงสิ่งต่างๆ เหล่านั้นให้จงได้
ปัญหาสำคัญมากของภูมิศาสตร์
1. อะไรที่ทำให้สถานที่และภูมิทัศน์แต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน
2. ลึกๆ แล้ว มนุษย์มีความปรารถนาที่จะจัดการพื้นที่ด้วยการสร้างสรรค์เขตแดน กำหนดขอบเขตพื้นที่ และสร้างย่านพื้นที่ขึ้นมาใช่หรือไม่
3. เรากำหนดขอบเขตของพื้นที่ได้อย่างไร
4. เพราะเหตุใดประชาชน ทรัพยากร และความคิด จึงต้องมีการเคลื่อนย้าย
5. โลกถูกเปลี่ยนแปลงจากกิจกรรมของมนุษย์ได้อย่างไร
6. ระบบเสมือนจริงมีบทบาทอะไรในการเรียนรู้เกี่ยวกับโลก
7. เราจะสามารถวัด “สิ่งที่ไม่สามารถวัดได้” ได้อย่างไร
8. ทักษะทางภูมิศาสตร์มีบทบาทอะไร ในการแสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของอารยะธรรมของมนุษย์ และมีบทบาทอะไรในการทำนายอนาคต
9. การเปลี่ยนแปลงความยั่งยืนและความเปราะบางในที่ต่างๆ และช่วงเวลาต่างๆ นั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร และเพราะเหตุใด
10. อะไรคือธรรมชาติของความคิด การให้เหตุผล และความสามารถทางพื้นที่
The Big Questions in Geography
Susan L. Cutter, University of South Carolina
Reginald Golledge, University of California, Santa Barbara
William L. Graf, University of South Carolina
บทนำ
ในพิธีเปิดการประชุมประจำปี 2001 ของสมาคมนักภูมิศาสตร์อเมริกัน (AAG: Association of American Geographers) ในมหานครนิวยอร์ก ที่มี John Noble Wilford หัวหน้าบรรณาธิการรับผิดชอบด้านวิทยาศาสตร์ของนิตยสารข่าวนิวยอร์ก ไทม์ เป็นวิทยากรนำ เขากล่าวด้วยถ้อยคำตรงไปตรงมา ท้าทายต่อวิชาภูมิศาสตร์ด้วยคำพูดที่ชัดเจนว่า คำถามใหญ่มาก (The Big Questions) ของสาขาวิชาภูมิศาสตร์ของพวกเรา คือ คำถามต่างๆ ที่จะไปจับตรึงความสนใจของสาธารณะ สื่อ และ ผู้กำหนดนโยบาย (Abler, 2001) ซึ่งคำถามดังกล่าว Wilford ได้หมายเหตุให้ได้ขบคิดกันประกอบด้วย นักภูมิศาสตร์พลาดพลั้งในการทำงานวิจัยในประเด็นใหญ่ๆ สำคัญๆ ไปรึเปล่า ? เพราะเหตุใดของนักภูมิศาสตร์ที่ทำงานวิจัยในประเด็นใหญ่ๆ สำคัญๆ จึงไม่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ ? และสมาคมนักภูมิศาสตร์อเมริกันจะสามารถแสดงบทบาทอะไรได้บ้าง ในการปรับปรุงการนำเสนอความรู้ทางภูมิศาสตร์เพื่ออธิบายประเด็นใหญ่ๆ สำคัญๆ เหล่านั้น ?
ประเด็นปัญหาแรกนั้น นักภูมิศาสตร์หลายคนกำลังทำงานวิจัยในประเด็นบางประเด็นที่สำคัญของสังคมสมัยใหม่ แต่ก็ไม่ได้เป็นแบบนั้นทั้งหมด ตัวอย่างเช่น การคิดแบบภูมิศาสตร์ถือเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญของตรวจสอบภาวะโลกร้อน ผลผลิตที่ได้จากงานวิจัยที่เข้าสู่สายตาของผู้กำหนดนโยบายและสาธารณชนนั้น บ่อยครั้งที่ออกมาอยู่ในรูปของแผนที่และข้อมูลภาพจากดาวเทียม ที่จะช่วยอธิบายผลลัพธ์ทางภูมิศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก วิธีการทางภูมิศาสตร์เป็นหัวใจของการวิเคราะห์ภัยพิบัติทางธรรมชาติและภัยจากเทคโนโลยี ด้วยการเปิดโอกาสให้มีการปฏิสัมพันธ์สาธารณะผ่านสื่อที่เป็นแผนที่ นอกจากนี้ภัยพิบัติที่เกิดจากแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ชายฝั่งทะเล และแม่น้ำล้นตลิ่ง เหล่านี้เป็นต้นเหตุไปสู่การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ที่นำไปสู่การรับรู้ของสาธารณะต่อไป การโจมตีของลัทธิก่อการร้ายเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 เป็นสิ่งกระตุ้นความสนใจใหม่ที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ที่สามารถนำมาใช้เพื่อสนองตอบต่อเหตุการณ์ที่เป็นภัยพิบัติและเป็นแนวทางในการเตรียมตัวรับมือ
อย่างไรก็ตาม ยังมีสิ่งท้าทายในปัจจุบันนี้ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่นักภูมิศาสตร์ไม่ได้เข้าไปสัมผัสให้เพียงพอ ที่จะแสดงต่อไปในรายละเอียดของบทความบทนี้ ทั้งนี้เหตุผลหลักอย่างหนึ่งของความไม่สามารถเชื่อมโยงของศักยภาพในการช่วยแก้ปัญหากับการประยุกต์ใช้ทักษะสำหรับประเด็นสำคัญๆ เหล่านั้น ดูเหมือนได้กลายเป็นประเด็นทางสังคมวิทยาของวิชาภูมิศาสตร์ไปเสียแล้ว สมาชิกส่วนใหญ่ของสมาคมนักภูมิศาสตร์อเมริกันล้วนเป็นนักวิชาการในมหาวิทยาลัย พวกเขามีวาระและความปรารถนาตามโครงสร้าง คือ ต้องการทำงานวิจัยเน้นเฉพาะเรื่องให้มีความรู้ลึกตามกระบวนทัศน์ต่างๆ ซึ่งเป็นความรู้ที่ดูเหมือนว่าจะคลุมเครือสำหรับผู้มีอำนาจตัดสินใจและสาธารณะ นอกจากนี้ โครงสร้างทางสังคมปัจจุบันยังทำให้นักวิจัยทางภูมิศาสตร์ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องและทำงานวิจัยในประเด็นปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ที่ต้องการการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว การผลิตงานตีพิมพ์ และการสนับสนุนแรงผลักดันให้เกิดการครอบครอง มากกว่าที่จะให้เกิดการศึกษาวิจัยที่ซับซ้อนกว่าที่เป็นอยู่ ปัญหาขนาดใหญ่ๆ ทั้งหลายที่แก้ได้ไม่ง่ายและไม่เร็ว และที่ไม่จำเป็นงานวิชาการ
มียกเว้นอยู่บ้างเล็กน้อย ที่นักภูมิศาสตร์นอกมหาวิทยาลัยดำเนินการกันอยู่อย่างกระจัดกระจายและทำงานเป็นส่วนตัว หรือทำงานเป็นคณะทำงานสหวิทยาการในองค์กรภาครัฐ ธุรกิจ และองค์กรเอกชนต่างๆ เนื่องจากว่ามีสถาบันการวิจัยทางภูมิศาสตร์จริงๆ ไม่มากนัก จึงเป็นการยากที่จะเน้นให้เห็นถึงพลังทางภูมิศาสตร์ที่มีต่อคำถามใหญ่ๆ นักภูมิศาสตร์จำนวนมากในกลุ่มนี้จึงกำลังตอบสนองอยู่กับความต้องการแบบฉับพลันและแบบที่เป็นระยะสั้น มากกว่าที่จะเป็นผู้นำในการศึกษาประเด็นปัญหาใหญ่ๆ สำคัญๆ
สำหรับเหตุผลที่นักภูมิศาสตร์หลายคนที่ทำงานวิจัยในประเด็นใหญ่ๆ สำคัญๆ แต่ไม่ได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่มี 2 ประการ คือ ความไม่พอเหมาะของเบ้าหลอมแบบเดิมของวารสารรายงานการวิจัยที่นักภูมิศาสตร์จะเข้าไปนำเสนอผลงานเพื่อให้ได้รับรางวัลในวิชาชีพของตัวเอง และบ่อยครั้งที่งานที่สัมพันธ์กับนโยบายเกิดขึ้นมานอกเหนือรายละเอียดต่างๆ ที่มีอยู่ในจุดเริ่มต้นของงานวิจัย มีตัวอย่างที่สำคัญอันหนึ่งที่แสดงให้เห็นจุดที่กล่าวถึงนี้ คือ การทำงานของกรรมการภูมิศาสตร์ (Committee on Geography) ที่ทำงานในคณะกรรมการวิทยาศาสตร์โลกและทรัพยากร (Board on Earth Sciences and Resources) ภายใต้สภาวิจัยแห่งสหรัฐอเมริกา (NRC: National Research Council) กรรมการดังกล่าวผลิตผลงานการศึกษาทางภูมิศาสตร์ และจัดพิมพ์รายงานเพื่อเป็นข้อเสนอแนะและแนวทางให้กับรัฐบาลกลางในหลากหลายประเด็นที่เป็นคำถามใหญ่ๆ สำคัญๆ โดยงานวิจัยที่เห็นอยู่ในปัจจุบันที่นำเสนอจากนักภูมิศาสตร์และที่เป็นงานที่เกิดจากมุมมองทางภูมิศาสตร์ รวมถึงงานที่เป็นข้อแนะนำต่อสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (USGS: US Geological Survey) ที่เป็นการปรับโปรแกรมการวิจัยต่อประเด็นทางภูมิศาสตร์ที่สามารถจับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งที่เกี่ยวกับการขยายตัวของเมือง ภัยพิบัติ และการทำแผนที่ สำหรับกรณีอื่นๆนั้น งานศึกษาของคณะกรรมการอย่างหนึ่งทำให้ได้ทิศทางสำหรับรัฐบาลกลางสหรัฐให้กับผู้มีอำนาจในการตัดสินใจและองค์กรสาธารณะ ที่จำเป็นต้องทราบเกี่ยวกับโลกมุสลิม ขณะที่งานวิจัยอื่นๆ กำลังให้ความสนใจในประเด็นของการคมนาคมขนส่งที่สัมพันธ์กับการแออัดของปริมาณการจราจรในเขตเมืองและการพัฒนาดัชนีการมีชีวิตที่ดี รวมถึงยังมีนักภูมิศาสตร์คนอื่นๆ ก็ไปมีส่วนร่วมในคณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกี่ยวกับน้ำ (Water Science and Technology Board) ของสภาวิจัยแห่งสหรัฐอเมริกา ที่ทำงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้แนวความคิดด้านพื้นที่ลุ่มน้ำในการจัดการระบบนิเวศ และบทบาทของเขื่อนในการรักษาความมั่นคงของอุปทานน้ำของสาธารณะ นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างของนักภูมิศาสตร์ที่เป็นผู้นำการทำงานกลุ่มแบบสหวิทยาการในการสำรวจตรวจสอบการคิดเชิงพื้นที่และการทำแผนที่โลก ทุกกรณีทั้งหมดนี้ นักภูมิศาสตร์ได้แสดงบทบาทในฐานะศูนย์กลาง เพียงแต่ว่าผลผลิตของงานที่ทำกันจะถูกอ้างชื่อว่าเป็นผลงานของหน่วยงาน นักภูมิศาสตร์แต่ละคนที่ทำงานอยู่ในนั้น มีชื่อเป็นเพียงผู้ร่วมทำงานเท่านั้น และหากรายงานฉบับนั้นมีอิทธิพลต่อนโยบาย ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจก็มักจะได้รับเครดิตนั้นไปด้วยเพราะเป็นผู้ดำเนินการตามกระบวนการ โดยไม่ได้ใส่ใจกับผู้สำรวจวิจัยที่เริ่มต้นทำงานกันด้วยอุตสาหะ
สำหรับสมาคมนักภูมิศาสตร์อเมริกัน ที่แสดงบทบาทในการกระตุ้นงานวิจัยที่ทำกันในประเด็นปัญหาใหญ่ๆ ด้วยการให้ความสำคัญกับการทำงานและการทำให้งานนั้นได้รับการเผยแพร่ออกสู่สาธารณะ ซึ่งอาจจะเป็นนักวิจัยเดี่ยวส่วนบุคคลที่ปรารถนาจะทำงานวิจัยด้วยความรักและชื่นชมของพวกเขาร่วมกับคณะที่อยู่ในสาขาวิชาเดียวกัน สมาคมนักภูมิศาสตร์อเมริกันสามารถมีอิทธิพลต่อการทำงานของมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation) มูลนิธิแห่งชาติสำหรับสาขามนุษยศาสตร์ (National Endowment for the Humanities) สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institutes of Health) สมาคมภูมิศาสตร์แห่งชาติ (National Geographic Society) และแหล่งทุนอื่นๆ ที่เป็นช่องทางของความสนใจ และทรัพยากรที่บุคคลหรือคระบุคคลสามารถแสดงความสนใจประเด็นวิจัยที่เป็นประเด็นใหญ่ๆ ได้ ทั้งนี้นักวิจัยทางภูมิศาสตร์ที่เป็นบุคคลมักไม่อยากสำแดงอิทธิพลอะไรออกไปมากนัก ยกเว้นก็แต่เพียงเมื่อพวกเขาต้องให้การสนับสนุนในการทบทวนงานของคณะลูกขุนขององค์กรต่างๆ ที่กล่าวมา แต่ว่าสมาคมนักภูมิศาสตร์อเมริกันเองก็สามารถแสดงอิทธิพลได้เป็นอย่างดีในวอชิงตัน
บนความพยายามที่จะบ่งชี้ถึงประเด็นต่างๆ ที่จะต้องจัดให้มีคุณภาพระดับปัญหาใหญ่ ซึ่งมีข้อสรุปเป็นแนวความคิดแบบกว้างๆ ที่ผนึกประเด็นต่างๆ เชิงแนวคิดบางอย่างเอาไว้ (อย่างเช่นขนาด) และยังคงมีการชี้เฉพาะลงไปถึงชอบเขตของเนื้อหาที่เป็นที่สนใจอยู่ในขณะนี้ ที่จะต้องมายืนยันกันถึงความสำคัญของประเด็นใหญ่ๆ เหล่านั้น ก็เพราะเชื่อว่า ในท้ายที่สุดมันก็จะมีความสัมพันธ์กับประเด็นอื่นๆ ที่ต้องมาดำเนินการร่วมกัน ในบางประเด็นของปัญหาใหญ่นี้อาจจะดูคลุมเครือไปบ้างสำหรับสาธารณะ แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องคุ้นเคยกันดีสำหรับนักวิจัยและผู้กำหนดนโยบายที่เริ่มให้ความสนใจกับประเด็นเหล่านี้อยู่ มีความหวังเล็กๆ ที่การรวบรวมประเด็นใหญ่ๆ ว่าจะสามารถบ่งชี้ปัญหาต่างๆ ที่ใหญ่เท่าๆ กันออกมา แต่ว่าอย่างหนึ่งที่ได้จำแนกมานี้เป็นไปเพื่อคณะนักวิจัยที่ต้องการรับการสนับสนุนทุนวิจัยในประเด็นสำคัญๆ มากกว่าการทำงานวิจัยตามความสนใจในกลุ่มเล็กๆ ของสาขาวิชาที่ใช้งบประมาณไม่มากนักทำงานวิจัยภายในระยะเวลาปีหรือสองปี สำหรับการสื่อสารผลงานวิจัยภูมิศาสตร์ให้สาธารณชนได้เกิดเป็นแนวความคิด ก็ยังเป็นประโยชน์อีกอย่างหนึ่งที่ท้าทายการทำงานของนักภูมิศาสตร์ ซึ่งความท้าทายนี้ ด้วยตัวของมันเองสามารถที่จะกลายไปเป็นประเด็นสำคัญของสาขาวิชาอีกก็ได้ ด้วยข้อเสนอแนะทั้งหมดที่จะกล่าวต่อไปนี้ หวังว่านักภูมิศาสตร์ทุกคนที่ได้อ่านบทความบทนี้ จะได้รับรู้ถึงความสำคัญของชุมชนภูมิศาสตร์ที่จะต้องเข้าไปให้ถึงสิ่งต่างๆ เหล่านั้นให้จงได้
ปัญหาสำคัญมากของภูมิศาสตร์
1. อะไรที่ทำให้สถานที่และภูมิทัศน์แต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน
2. ลึกๆ แล้ว มนุษย์มีความปรารถนาที่จะจัดการพื้นที่ด้วยการสร้างสรรค์เขตแดน กำหนดขอบเขตพื้นที่ และสร้างย่านพื้นที่ขึ้นมาใช่หรือไม่
3. เรากำหนดขอบเขตของพื้นที่ได้อย่างไร
4. เพราะเหตุใดประชาชน ทรัพยากร และความคิด จึงต้องมีการเคลื่อนย้าย
5. โลกถูกเปลี่ยนแปลงจากกิจกรรมของมนุษย์ได้อย่างไร
6. ระบบเสมือนจริงมีบทบาทอะไรในการเรียนรู้เกี่ยวกับโลก
7. เราจะสามารถวัด “สิ่งที่ไม่สามารถวัดได้” ได้อย่างไร
8. ทักษะทางภูมิศาสตร์มีบทบาทอะไร ในการแสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของอารยะธรรมของมนุษย์ และมีบทบาทอะไรในการทำนายอนาคต
9. การเปลี่ยนแปลงความยั่งยืนและความเปราะบางในที่ต่างๆ และช่วงเวลาต่างๆ นั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร และเพราะเหตุใด
10. อะไรคือธรรมชาติของความคิด การให้เหตุผล และความสามารถทางพื้นที่
วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2553
มาตรฐานการเรียนรู้วิชาภูมิศาสตร์
สังคมทุกวันนี้มีประเด็นที่พึงให้ความสำคัญให้มากขึ้น เพื่อที่จะให้เยาวชนได้มีพื้นฐานความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ (The Nature of Geographic Literacy) ให้เป็นความรู้ในลักษณะที่กว้างออกไปและลุ่มลึกมากขึ้น มากกว่าแค่เพียงแต่ตอบคำถามว่า สิ่งนั้นสิ่งนี้อยู่ที่ไหน หรือแค่ว่าเกาะบริติช ไอส์แลนด์หรือประเทศนิคารากัวอยู่ตรงไหนในแผนที่โลก หรือแค่ว่าแม่น้ำไนล์ไหลผ่านประเทศใดบ้าง หรือแค่ว่าเมืองแอตแลนต้าตั้งอยู่ที่ไหน
การมีความรู้แค่ว่าสิ่งใดตั้งอยู่ตรงไหนบ้างนั้น เป็นแค่เพียงขั้นแรกของความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ท้ายที่สุดของภูมิศาสตร์ คือ ความใส่ใจที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจว่า เพราะเหตุใดสิ่งต่างๆ จึงตั้งอยู่ในที่ที่มันตั้งอยู่ เพื่อตอบคำถามดังกล่าวนั้น จำเป็นจะต้องใช้ประเด็นสำคัญ กรอบแนวความคิด และทักษะสำคัญทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเรื่องนี้สตีเฟน เอส เบิร์ดซาล (1986) กล่าวไว้ในบทความเรื่อง ความไม่ประสาด้านภูมิศาสตร์ของสังคมอเมริกัน (America's Geographic Illiteracy) ไว้ว่า “เราจะต้องมีกรอบแนวความคิดและหลักการสำคัญต่างๆ ทางภูมิศาสตร์ที่ดีและเหมาะสมอย่างเพียงพอ เพื่อที่เราจะได้สร้างและปรับปรุงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานที่และประชาชนอย่างไม่มีข้อจำกัด” บทความบทนี้เขียนขึ้นมาเพื่อที่จะให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งจำเป็นที่จะนำไปสู่การคิด การสืบค้น และการกำหนดเป็นกรอบเนื้อหาสาระ/เทคนิควิธีการในการจัดการเรียนการสอนวิชาภูมิศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพสอดรับการเป้าหมายการจัดการศึกษาในแต่ละระดับต่อไป
ประเด็นสำคัญของภูมิศาสตร์
ประเด็นสำคัญของภูมิศาสตร์ ทั้ง 5 ประเด็นเกิดจากความประสงค์ของสมาคมภูมิศาสตร์สหรัฐอเมริกา ในการกำหนดกรอบมุมมองต่อปรากฏการณ์ต่างๆ ทั้งหมด เพื่อที่นักภูมิศาสตร์จะได้ทำการศึกษาและแบ่ง/จำแนกประเภท โดยประเด็นสำคัญเหล่านั้นประกอบด้วย ทำเลที่ตั้ง (Theme I Location) สถานที่ (Theme II Place) ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม (Theme III Human/Environment Interaction) การเคลื่อนที่ (Theme IV Movement) และภูมิภาค (Theme V Region)
ทำเลที่ตั้ง
ทำเลที่ตั้ง แบ่งได้ 2 ส่วน คือ ที่ตั้งเฉพาะ และที่ตั้งทั่วไป ทั้งนี้ที่ตั้งเฉพาะ (Specific Location) เป็นการระบุชี้ชัด ด้วยที่อยู่หรือที่ตั้งที่แน่นอน บางครั้งนักภูมิศาสตร์เรียกที่ตั้งแบบนี้ว่า “ที่ตั้งสมบูรณ์” (Absolute Location) ดังตัวอย่างที่แสดงทำเลที่ตั้งที่มีอยู่จริงทั้งสองนี้
· ที่อยู่บนถนน: เลขที่ 22/43 ถนนพุทธบูชา อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
· ที่อยู่บนแผนที่: 15 องศา 20 ลิปดาเหนือ 102 องศา 12 ลิปดาตะวันออก
ที่ตั้งทั่วไป (General Location) เป็นทำเลที่ตั้งที่บอกกล่าวกันถึงบางสิ่งบางอย่าง ที่ตั้งอยู่อย่างสัมพันธ์กับอีกบางสิ่งบางอย่าง อย่างนี้นักภูมิศาสตร์หลายคนเรียกว่า “ที่ตั้งสัมพันธ์” (Relative Location) ดังตัวอย่าง ต่อไปนี้
· อยู่ห่างจากนี้ไปอีก 10 นาทีโดยรถราง
· อยู่ด้านหน้าของธนาคาร
สถานที่
สถานที่ เป็นการอธิบายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นบนพื้นที่แห่งหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะแตกต่างไปจากสิ่งแบบเดียวกันที่เกิดขึ้นในอีกที่แห่งหนึ่ง โดยความแตกต่างนี้มีทั้งด้านกายภาพและมนุษย์ (Physical and Human Differences)
1. ลักษณะด้านกายภาพ ประกอบด้วยสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ภูเขา แม่น้ำ ชนิดของดิน ป่าไม้ สัตว์ป่า ภูมิอากาศ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้หากมองในแง่ของความสัมพันธ์กัน ให้ลองจินตนาการว่า บนพื้นที่ราบ ดินมักมีความอุดมสมบูรณ์ และมีแม่น้ำไหลผ่านเข้ามาหลายสาย ขณะที่บริเวณเชิงเขา มักอุดมไปด้วยป่าไม้ ซึ่งหากประชาชนเข้าไปถากถาง ก็จะทำให้หน้าดินถูกชะล้างให้สูญเสียความอุดมสมบูรณ์ไปได้ง่าย
2. ลักษณะด้านมนุษย์ เป็นสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์ ทั้งที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ และส่วนที่เป็นการเข้าไปเปลี่ยนแปลงสภาพเดิมที่เป็นธรรมชาติอยู่ก่อน เช่น ถนน อาคาร เขื่อน ฯลฯ ทั้งหมดนี้ ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์เพื่อการดำรงชีวิตและสร้างสรรค์วิถีชีวิต ประเพณี และวัฒนธรรมของตนขึ้นมาในสถานที่ต่างๆ
ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม เป็นการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับสิ่งแวดล้อมของพวกเขา ซึ่งมีคำตอบมากมายต่อคำถามต่างๆ เหล่านี้ อย่างเช่น กิจกรรมของประชาชนจะส่งผลกระทบอะไรบ้างต่อสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมที่ประชาชนพึ่งพาอยู่จะส่งผลอย่างไร และมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างที่ประชาชนดำเนินการขึ้นมาเพื่อทำให้มีชีวิตเป็นอยู่ที่ดี/เรียบง่ายขึ้น ความสัมพันธ์ที่ว่านี้มี 3 ส่วน
· ประชาชนทั้งหลายถูกเปลี่ยนแปลง/ควบคุมโดยสิ่งแวดล้อมอย่างไร
· สิ่งแวดล้อมถูกประชาชนเปลี่ยนไปอย่างไร
· ประชาชนพึ่งพิงสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง
ประชาชนถูกเปลี่ยนแปลง/ถูกควบคุมโดยสิ่งแวดล้อม เรียกว่า “การปรับตัว” ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงวิถีของมนุษย์ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม เช่น ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่มีอากาศหนาว สวมเสื้อผ้าปกปิดร่างกายหนาแน่นเพื่อรักษาความร้อนของร่างกายเอาไว้ หรือการขนส่งสิ่งของของประชาชนในเขตทะเลทรายด้วยอูฐที่มีความอดทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี
ประชาชนเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม เรียกว่า “การเปลี่ยนแปลง” ที่ประชาชนเข้าไปเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมต่างๆ ให้เหมาะสม เช่น การวางระบบชลประทานบริเวณลุ่มน้ำไซร์ ดาร์ยา ของคาซัคสถาน และอามู ดาร์ยา ของอูซเบกิสถาน เพื่อเป็นแหล่งปลูกฝ้ายใหญ่ที่สุดของโลก หรือการถางป่าในบอร์เนียว เพื่อรองรับการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันขนาดใหญ่ของโลก
ประชาชนพึ่งพิงสิ่งแวดล้อม ลักษณะเช่นนี้จะเกิดขึ้นเมื่อ ประชาชนต้องพึ่งพิงสิ่งแวดล้อมบางสิ่งบางอย่างเพื่อประโยชน์หรือความอยู่รอดของพวกเขาเอง เช่น การใช้ไม้หรือถ่านหินเพื่อเป็นเชื้อเพลิง การใช้แม่น้ำเพื่อการคมนาคมขนส่งสินค้าและทรัพยากรธรรมชาติ
การเคลื่อนย้าย
การเคลื่อนย้าย หมายถึง การเคลื่อนย้ายประชาชน สิ่งของต่างๆ เช่นสินค้า และรวมถึง การคมนาคมสื่อสาร ซึ่งเป็นการเคลื่อนย้ายความรู้ ความรู้สึก และความคิด เราสามารถอธิบายถึงประเภทของการสื่อสารคมนาคมและรูปแบบหลักๆ ของการคมนาคมขนส่งที่เกิดขึ้น ณ สถานที่แห่งหนึ่งได้ เช่นเดียวกับการอธิบายถึงลักษณะของการขนส่งสินค้าในรูปแบบการนำเข้าและการส่งออก ทั้งหมดนี้เป็นเนื้อหาสาระของการเคลื่อนย้าย
ภูมิภาค
ภูมิภาค หมายถึง บริเวณพื้นที่ที่เราสามารถรวมกลุ่มเอาสิ่งต่างๆ ที่มีลักษณะเฉพาะที่มีรูปแบบเดียวกันเข้าด้วยกัน อย่างเช่น ประเทศแต่ละประเทศที่ถูกปกครองโดยรัฐบาลของประเทศนั้นๆ มักจะเป็นบริเวณพื้นที่ที่พูดภาษาเดียวกัน หรือนับถือศาสนาเดียวกัน หรือตัวอย่างของบริเวณพื้นที่ที่รองรับการบริการเฉพาะอย่าง เช่นเขตบริการของโรงเรียนมัธยมศึกษา ภูมิภาคแบ่งออกได้ 3 วิธีด้วยกัน คือ การแบ่งภูมิภาคด้วยลักษณะของรํฐหรือสภาพทางกายภาพ (Government or Physical Characteristics) การแบ่งภูมิภาคตามบทบาทหน้าที่ของภูมิภาค (A Function of Region) และการแบ่งภูมิภาคตามสภาพความต้องการของนักภูมิภาคศึกษา (Loosely Defined)
1. ภูมิภาคที่ถูกแบ่งด้วยลักษณะของรัฐหรือสภาพทางกายภาพ เป็นภูมิภาคที่มีลักษณะแน่นอนตายตัวไม่มีการ เปลี่ยนแปลงมากนัก เช่น ประเทศ หรือทวีป เป็นต้น
2. ภูมิภาคแบ่งตามบทบาทหน้าที่ บริเวณพื้นที่จะถูกกำหนดด้วยการบริการเฉพาะอย่าง เช่น เขตพื้นที่บริการของโรงเรียนจุฬาภรณ์วิทยาลัยที่มีกฎเกณฑ์ในการให้บริการชัดเจน ทั้งนี้หากกฎเกณฑ์เหล่านั้นถูกยกเลิก จะ ทำให้บริเวณพื้นที่ที่เป็นภูมิภาคนี้สูญหายตามไปด้วย
3. ภูมิภาคแบ่งตามความต้องการของนักภูมิภาคศึกษา ซึ่งกรณีนี้มีความหลากหลายอย่างยิ่ง เช่น การแบ่งซีก โลกเหนือ ย่านมิดแลนด์ โลกที่สาม โลกของชาวพุทธ ตะวันออกกลาง ตะวันออกไกล ฯลฯ
เกณฑ์มาตรฐานของนักภูมิศาสตร์
ปรากฏการณ์ทางกายภาพและมนุษย์มีการกระจายอยู่บนพื้นที่ต่างๆ ของโลก หนังสือ Geography for Life ของ Geography Education National Implementation Project (1994) บอกให้ทราบว่านักภูมิศาสตร์เป็นบุคคลที่มีการจัดการตนเองในเชิงภูมิศาสตร์โดยมีความสามารถพื้นฐาน 4 ประการ คือ 1) สามารถแสดงความหมายของการจัดวางสิ่งต่างๆ ลงบนพื้นที่ได้ 2) สามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สถานที่ และสิ่งแวดล้อมได้ 3) สามารถใช้ความเชี่ยวชาญทางภูมิศาสตร์ได้ และ 4) สามารถประยุกต์มุมมองด้านพื้นที่และนิเวศวิทยาให้เข้ากับสถานการณ์แห่งชีวิตได้ เพื่อให้นักเรียนนักศึกษาก้าวเข้าสู่ความเป็นนักภูมิศาสตร์ได้ตามพื้นฐานดังกล่าว ผู้จัดการเรียนการสอนและพัฒนาหลักสูตร จึงควรรู้และเข้าใจเกณฑ์มาตรฐานของนักภูมิศาสตร์ทั้ง 6 กลุ่มหลัก จำนวน 18 มาตรฐาน ดังนี้
การมองโลกในเชิงพื้นที่
ภูมิศาสตร์เป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน สถานที่ และสิ่งแวดล้อม โดยจัดทำแผนที่แสดงข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ให้อยู่ในรูปข้อมูลเชิงพื้นที่ ดังนั้นบุคคลจึงควรรู้และเข้าใจในเชิงภูมิศาสตร์ ดังนี้
1. รู้และเข้าใจว่าจะใช้แผนที่ รวมทั้งสื่อทางภูมิศาสตร์ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์อย่างไร เพื่อที่จะได้สามารถสืบเสาะ สร้างกระบวนการและทำรายงานข่าวสารข้อมูลเหล่านั้นออกมาในเชิงพื้นที่ ได้
2. รู้และเข้าใจว่าจะใช้แผนที่ในเชิงจิต (Mental Maps) ยอย่างไร เพื่อที่จะจัดการข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับประชาชน สถานที่ และสิ่งแวดล้อมในเชิงพื้นที่
3. รู้และเข้าใจในการวิเคราะห์การจัดการเชิงพื้นที่ของประชาชน สถานที่ และสิ่งแวดล้อมบนพื้นบนผิวโลก
สถานที่และภูมิภาค
ความมีตัวตนและการมีชีวิตรอดของสิ่งต่างๆ และประชาชนเป็นรากฐานและเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละสถานที่ รวมถึงเป็นการสร้างกลุ่มก้อนของมนุษย์ซึ่งเรียกว่าภูมิภาค ดังนั้นบุคคลจึงควรเรียนรู้และเข้าใจในเชิงภูมิศาสตร์ ดังนี้
4. รู้และเข้าใจลักษณะทางกายภาพ และลักษณะเชิงมนุษย์ของสถานที่นั้นๆ
5. รู้และเข้าใจว่าประชาชนได้สร้างภูมิภาคต่างๆ ขึ้นมาอย่างซับซ้อน
6. รู้และเข้าใจว่าวัฒนธรรมและประสบการณ์มีอิทธิพลต่อการรับรู้ของประชาชนที่มีต่อสถานที่และภูมิภาค
ระบบทางกายภาพ
กระบวนการทางกายภาพได้ก่อรูปให้เกิดพื้นผิวโลกและได้สร้างให้มีปฏิสัมพันธ์ของพืชและสัตว์ ทั้งนี้เพื่อที่จะสร้างสรรค์ จรรโลง และปรับแปลงระบบนิเวศน์ ดังนั้นบุคคลจึงควรเรียนรู้และเข้าใจในเชิงภูมิศาสตร์ดังนี้
7. รู้และเข้าใจว่ากระบวนการทางกายภาพนั้นได้ก่อรูปและสร้างรูปแบบพื้นผิวโลก
8. รู้และเข้าใจคุณลักษณะและการกระจายทางพื้นที่ของระบบนิเวศบนพื้นผิวโลก
ระบบมนุษย์
ประชาชนเป็นแกนกลางสำคัญสำหรับภูมิศาสตร์ในกรณีที่กิจกรรมของมนุษย์ช่วยสร้างสรรค์รูปทรงของพื้นผิวโลก การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์และโครงสร้างของมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของพื้นผิวโลก และยังมีการแข่งขันแก่งแย่งของมนุษย์ที่มีส่วนในการควบคุมพื้นผิวโลกด้วย ดังนั้นบุคคลจึงควรเรียนรู้และเข้าใจในเชิงภูมิศาสตร์ ดังนี้
9. รู้และเข้าใจว่าคุณลักษณะ การกระจาย และการเคลื่อนย้ายประชาชน เป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งบนพื้นผิวโลก
10. รู้และเข้าใจว่าคุณลักษณะ การกระจาย และความซับซ้อนของวัฒนธรรมบนพื้นผิวโลก เป็นไปด้วยความซับซ้อน
11. รู้และเข้าใจรูปแบบและโครงข่ายความผูกพันพึ่งพิงทางเศรษฐกิจบนพื้นผิวโลก
12. รู้และเข้าใจกระบวนการ รูปแบบ และองค์ประกอบของการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์
13. รู้และเข้าใจว่าอิทธิพลของความร่วมแรงร่วมใจ และความขัดแย้งระหว่างประชาชนมีบทบาทสำคัญต่อการแบ่งแยกและควบคุมพื้นผิวโลก
สิ่งแวดล้อมและสังคม
สภาพแวดล้อมทางกายภาพถูกปรับแปลงโดยกิจกรรมของมนุษย์ และยังมีผลสืบเนื่องไปสู่วิถีในการกำหนดคุณค่าแห่งสังคมมนุษย์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้งกิจกรรมของมนุษย์ยังคงได้รับอิทธิพลจากลักษณะและกระบวนการทางกายภาพของโลกด้วย ดังนั้นจึงควรที่จะรู้และเข้าใจในเชิงภูมิศาสตร์ ดังนี้
14. รู้และเข้าใจกิจกรรมของมนุษย์ที่มีผลต่อการปรับแปลงสภาพแวดล้อมทางกายภาพ
15. รู้และเข้าใจว่าระบบทางกายภาพมีผลต่อระบบมนุษย์อย่างไร
16. รู้และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นโดยความหมาย การใช้ การกระจาย และความสำคัญของทรัพยากร
การใช้ประโยชน์ภูมิศาสตร์
ความรู้เกี่ยวกับภูมิศาสตร์ช่วยให้ประชาชนพัฒนาความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน สถานที่และสิ่งแวดล้อม ในช่วงเวลาหนึ่งๆ ซึ่งนั่นหมายความว่าเป็นการมองโลกที่เป็นอยู่และการมองโลกว่าจะเป็นอย่างไร จึงควรที่จะรู้และเข้าใจในเชิงภูมิศาสตร์ ดังนี้
17. รู้และเข้าใจว่าควรประยุกต์ภูมิศาสตร์ในการตีความถึงความเป็นมาในอดีตได้อย่างไร
18. รู้และเข้าใจว่าควรประยุกต์ภูมิศาสตร์ในการตีความถึงลักษณะปัจจุบัน เพื่อวางแผนสำหรับอนาคตอย่างไร
จึงหมายความว่า “เรียนภูมิศาสตร์เพื่อให้คนที่เป็นคน เพื่อให้รู้ปัจจุบัน เพื่อให้ย้อนอดีตความเป็นมาได้ และเพื่อให้คาดการณ์อนาคตได้ ทั้งนี้ก็เพื่อความอยู่รอดแห่งมวลมนุษย์ชาตินั่นเอง”
ทักษะสำคัญของภูมิศาสตร์
เราสามารถใช้ทักษะสำคัญของภูมิศาสตร์ช่วยให้กระบวนการตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี (Well-Being) ได้ดีและรอบคอบขึ้น ทั้งในการเลือกย่านพื้นที่ซื้อบ้าน หางานทำ หาร้านจับจ่าย หาแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อน หรือแม้กระทั่งเลือกโรงเรียนให้ลูก ซึ่งการตัดสินใจต่างๆ เหล่านี้ต้องอาศัยความสามารถในการเก็บรวบรวม จัดเรียง และใช้สารสนเทศภูมิศาสตร์ นอกจากนี้การตัดสินใจและการประกอบกิจกรรมประจำวัน ทั้งหลายยังเชื่อมโยงกับการคิดเกี่ยวกับประเด็นของสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างเป็นระบบด้วย ขณะที่การตัดสินใจของชุมชน มักมีความสัมพันธ์ปัญหามลพิษด้านอากาศ น้ำ และดิน/ที่ดิน หรือเป็นเรื่องเกี่ยวกับทำเลที่ตั้ง เช่น ที่ตั้งของอุตสาหกรรม โรงเรียน และย่านที่อยู่อาศัย ซึ่งเหล่านี้ต้องการความชำนาญในการใช้สารสนเทศภูมิศาสตร์ทั้งสิ้น สำหรับการตัดสินใจของธุรกิจและของภาครัฐนั้น เป็นประเด็นเกี่ยวกับการเลือกสรรหาทำเลที่ตั้งที่ดีที่สุดสำหรับห้างสรรพสินค้าหรือท่าอากาศยานระดับภูมิภาค การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ หรือการค้ากับต่างชาติ ซึ่งต้องการข้อมูลทางภูมิศาสตร์สนับสนุนการตัดสินใจ
ทักษะสำคัญของภูมิศาสตร์จะช่วยให้เราตัดสินใจตามเหตุผลด้านการเมืองได้อย่างน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่ต้องมีการประเมินนโยบายด้านการต่างประเทศ เศรษฐกิจระหว่างชาติ การกำหนดย่านพื้นที่และการใช้ที่ดินระดับท้องถิ่น ซึ่งทักษะต่างๆ ของภูมิศาสตร์จะทำให้สามารถเก็บและวิเคราะห์สารสนเทศ อันจะทำให้ได้บทสรุปและดำเนินกิจกรรมอย่างสมเหตุสมผล อีกทั้งทักษะสำคัญของภูมิศาสตร์ยังช่วยในการพัฒนาและนำเสนอประเด็นต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือไปสู่เวทีนโยบายสาธารณะต่อไป
ทักษะสำคัญของภูมิศาสตร์มี 5 ประเด็นหลัก ที่ประยุกต์มาจาก Guidelines for Geographic Education: Elementary and Secondary Schools ที่คณะกรรมาธิการจัดการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ เตรียมร่างเพื่อให้สมาคมนักภูมิศาสตร์อเมริกัน และสภาการศึกษาแห่งสหรัฐอเมริกา ตีพิมพ์ไว้เมื่อปี ค.ศ.1984 ประกอบด้วย การถามคำถามทางด้านภูมิศาสตร์ (Asking Geographic Questions) การเก็บรวบรวมสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Acquiring Geographic Information) การจัดการสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Organizing Geographic Information) การวิเคราะห์สารสนเทศภูมิศาสตร์ (Analyzing Geographic Information) และการตอบคำถามทางด้านภูมิศาสตร์ (Answering Geographic Information)
1. การถามคำถามทางด้านภูมิศาสตร์
การค้นหาความรู้ทางภูมิศาสตร์จะประสบผลสำเร็จด้วยดีนั้น ต้องอาศัยความสามารถและความสมัครใจที่จะตั้งคำถามอย่างใคร่ครวญเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ และหาคำตอบทั้งหลายเกี่ยวกับว่า เพราะเหตุใดสิ่งต่างๆ จึงปรากฏและเป็นอยู่ที่ตรงนั้น นักเรียนนักศึกษาจำเป็นต้องตั้งคำถามกับสิ่งต่างๆ รอบตัว - บางสิ่งบางอย่างปรากฏอยู่ที่ไหนบ้าง (Where is something located?) เพราะเหตุใดมันจึงอยู่ที่นั่น (Why is it there?) บางสิ่งบางอย่างนั้นสัมพันธ์กับอะไรบ้าง (With what is it associated?) อะไรที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากทำเลที่ตั้งและความสัมพันธ์เหล่านั้น (What are the consequences of its location and associations?) ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตรงนี้คล้ายกับที่ไหนบ้าง (What is this place like?)
สำหรับคำถามต่างๆ นักเรียนนักศึกษาจะต้องทดลองหาคำตอบที่เป็นไปได้ เพื่อให้คำตอบทางเลือกเหล่านั้นนำไปพัฒนาเป็นสมมุติฐาน ที่จะเชื่อมโยงกับขั้นตอนของกระบวนการตั้งคำถามและหาคำตอบ โดยสมมติฐานที่ว่านี้จะนำไปสู่การสืบค้นหาสารสนเทศต่อไป
ว่ากันจริงๆ แล้ว วิชาภูมิศาสตร์ถูกแบ่งออกด้วยประเภทของคำถามที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง โดยเป็นปัญหาเกี่ยวกับคำถามที่ถามว่า ที่ไหน และเพราะเหตุใดจึงต้องเป็นที่นั่น (Where and Why There) จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่นักเรียนนักศึกษาจะต้องพัฒนาและฝึกทักษะเกี่ยวกับการตั้งคำถามดังกล่าวด้วยตัวของพวกเขา/เธอเอง ซึ่งสามารถฝึกได้ไม่ยาก ด้วยการเริ่มต้นแยกคำถามทางด้านภูมิศาสตร์ออกจากคำถามที่ไม่ใช่ภูมิศาสตร์ จากนั้นครูผู้สอนก็นำเสนอให้นักเรียนนักศึกษากำหนดประเด็นและฝึกตั้งคำถามทางด้านภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนนักศึกษาระดับชั้นสูงๆ ก็จะต้องจัดให้ฝึกทักษะให้สามารถจำแนกคำถามและวิธีทางด้านภูมิศาสตร์ เพื่อให้เกิดการประยุกต์เอาความรู้ทางด้านภูมิศาสตร์ไปช่วยแก้ปัญหาต่างๆ
2. การเก็บรวบรวมสารสนเทศภูมิศาสตร์
สารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information) เป็นข่าวสารข้อมูลที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับทำเลที่ตั้ง คุณลักษณะทางกายภาพและมนุษย์ของทำเลที่ตั้งเหล่านั้น และกิจกรรมและสถานการณ์ทางภูมิศาสตร์ของประชาชนที่อาศัยอยู่ในสถานที่เหล่านั้น เมื่อย้อนกลับไปมองที่การตอบคำถามทางภูมิศาสตร์ นักเรียนนักศึกษาควรจะเริ่มต้นด้วยการเก็บรวบรวมสารสนเทศจากแหล่งต่างๆ ทั้งจากการอ่านและแปลความหมายให้ได้สารสนเทศจากแผนที่ทุกชนิด ทำการรวบรวมและใช้ข้อมูลชั้นต้นและชั้นสองเพื่อเตรียมการบรรยายเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวมถึงการเก็บข้อมูลจากการสอบถาม การสำรวจภาคสนาม การใช้เอกสารอ้างอิง และการทบทวนงานวิจัยต่างๆ ในห้องสมุด
ทักษะต่างๆ เหล่านี้ จะทำให้ได้มาซึ่งสารสนเทศภูมิศาสตร์ ที่ผ่านกระบวนการกำหนดทำเลที่ตั้งและรายละเอียดของปรากฏการณ์ การสังเกตและบันทึกสารสนเทศอย่างมีระบบระเบียบ การอ่านและแปลความหมายแผนที่หรือภาพแสดงพื้นที่และสถานที่ การสัมภาษณ์ และการใช้วิธีการทางสถิติต่างๆ
แหล่งข้อมูลชั้นต้นของสารสนเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการสำรวจภาคสนามของนักเรียนนักศึกษา นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากในการศึกษาทางภูมิศาสตร์ โดยการสำรวจภาคสนามเป็นส่วนที่นักเรียนนักศึกษาจะต้องดำเนินการจริงในพื้นที่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวิจัยด้วยการกระจายแบบสอบถามออกไปในชุมชน มีการบันทึกภาพ บันทึกสิ่งที่สำคัญในพื้นที่ สัมภาษณ์ประชาชน และเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง งานสำรวจภาคสนามจะช่วยกระตุ้นให้นักเรียนนักศึกษาเกิดความอยากรู้อยากเห็น และทำการศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน ช่วยให้เกิดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) จากการสังเกต การตั้งคำถาม การจำแนกประเด็นปัญหา และรับรู้ถึงลักษณะทางกายภาพและกิจกรรมของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในที่ต่างๆ นอกจากนี้การสำรวจภาคสนามยังจะช่วยเชื่อมโยงกิจกรรมในโรงเรียนของนักเรียนนักศึกษากับโลกที่พวกเขา/เธออาศัยอยู่ด้วย
3. การจัดการสารสนเทศภูมิศาสตร์
เมื่อสารสนเทศภูมิศาสตร์ถูกเก็บรวบรวมมาแล้ว ก็ควรจะมีการจัดการและนำเสนอออกไปด้วยวิธีการต่างๆ ที่จะทำให้มีการนำเอาไปวิเคราะห์และแปลความหมายในขั้นตอนต่อไป ข้อมูลต่างๆ เหล่านั้นควรจะถูกจัดระเบียบอย่างเป็นระบบ ความต่างประเภทกันของข้อมูลจะต้องถูกแบ่งแยกออกและจัดกลุ่มให้อยู่ในรูปแบบแผนภาพที่มองเห็นและเข้าใจได้ชัดเจน เช่น รูปภาพ ภาพถ่ายทางอากาศ กราฟ ภาพตัดขวาง กราฟอากาศประจำปี (Climograph) แผนผัง ตาราง แผนที่ผัง (Cartogram) และแผนที่ ทั้งนี้การนำสารสนเทศจากเอกสารหรือจากการสัมภาษณ์มาเขียนนั้น ควรจะจัดการในลักษณะการคัดลอกมาไว้ในเครื่องหมายคำพูดหรือในรูปของตารางแสดงสารสนเทศ
มีวิธีการหลายอย่างมากในการจัดการกับสารสนเทศภูมิศาสตร์ อย่างเช่นแผนที่ที่เป็นเครื่องมือหลักของการศึกษาหาความรู้ทางภูมิศาสตร์ รวมถึงยังมีวิธีการอื่นๆ ในการแปลข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่มองเห็นเป็นภาพได้ (Visual Form) เช่น การใช้กราฟทุกชนิด ตาราง แผ่นแสดงข้อมูล (Spreadsheets) และเส้นแสดงเหตุการณ์ตามลำดับเวลา (Timeline) โดยวิธีการเหล่านี้จะเป้นประโยชน์อย่างมากเพราะทำให้เห็นภาพสรุปที่ชัดเจน รวมทั้งสามารถแสดงข้อความที่ต้องการอธิบายเพิ่มเติมได้อย่างเหมาะสม ในการจัดการสารสนเทศภูมิศาสตร์มให้มีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และทักษะ การตัดสินใจเกี่ยวกับการออกแบบ การให้สี การแสดงภาพ การกำหนดขนาด และการสร้างความชัดเจน ทั้งหลายเหล่านี้เป็นประเด็นสำคัญในการพัฒนาแผนที่และสื่อแสดงข้อมูลเชิงพื้นที่ชนิดอื่นๆ ให้สามารถสะท้อนข้อมูลออกไปได้ชัดเจนตามวัตถุประสงค์
วิชาภูมิศาสตร์นั้น ถูกเรียกขานบ่อยครั้งว่า เป็นวิชาที่ว่าด้วยศิลปะการเขียนแผนที่ (The Art of Mappable) ดังนั้นการทำแผนที่ จึงควรจะจัดให้เป็นกิจกรรมปรกติพื้นฐานอย่างหนึ่งของนักเรียนนักศึกษาทุกคน พวกเขา/เธอควรจะอ่านแผนที่ด้วยการตีความสัญลักษณ์ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เก็บบันทึกไว้ในนั้น และทำการวิเคราะห์รูปแบบต่างๆ ของสารสนเทศเหล่านั้น และจัดทำสัญลักษณ์ ในแผนที่เพื่อให้สอดรับกับการจัดการสารสนเทศต่างๆ ซึ่งการทำแผนที่ อาจหมายถึงการใช้ระบบการร่างแผนที่ เพื่อสร้างจุดๆ หนึ่งในการแสดงข้อความหรือบันทึกจากการสำรวจที่ต้องการนำเสนอไว้ในแผนที่ หรืออาจหมายถึงการใช้สัญลักษณ์แสดงข้อมูลในแผนที่เกี่ยวกับทำเลที่ตั้งของทรัพยากรที่มีอยู่บนโลกหรือแสดงระดับรายได้ของมณฑลต่างๆ ในประเทศหนึ่งๆ หรืออาจหมายถึงการทำแผนที่การกระจายของรังมดในหรือจุดตั้งถังขยะในสนามของโรงเรียน ต่างๆ เหล่านี้ก็เป็นได้ทั้งนั้น ดังนั้นนักเรียนนักศึกษาจึงจะต้องเกี่ยวพันกับการทำแผนที่ในฐานะที่เป็นกิจกรรมพื้นฐาน พวกเขา/เธอควรที่จะมีทักษะในการแปลความหมายและสร้างสรรค์สัญลักษณ์ในแผนที่ การค้นหาทำเลที่ตั้งบนแผนที่ที่ใช้ระบบอ้างอิงเชิงพื้นที่ที่หลากหลาย การจัดวางแผนที่และการกำหนดทิศทางที่เหมาะสม การใช้ขนาดและมาตราส่วนเพื่อกำหนดระยะทางในแผนที่ และการคิดเชิงแย้งเกี่ยวกับสารสนเทศที่ปรากฎอยู่ในแผนที่
4. การวิเคราะห์สารสนเทศภูมิศาสตร์
การวิเคราะห์สารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นการค้นหารูปแบบ ความสัมพันธ์ และความเชื่อมโยงที่เกิดขึ้นของปรากฏการณ์ต่างๆ เมื่อได้มีการวิเคราะห์และแปลความหมายสารสนเทศแล้ว รูปแบบหรือกระบวนการบางอย่างก็จะผุดขึ้นมาให้เห็น จากนั้นนักเรียนนักศึกษาก็ทำการสังเคราะห์ผลจากการการสังเกตของตัวเองให้เข้ากับระบบการบรรยายของตน ในขั้นตอนนี้อาจจะทำการบันทึกเกี่ยวกับความสัมพันธ์สอดคล้องกันและลักษณะที่คล้ายกันระหว่างพื้นที่ มีการพิจารณารูปแบบด้วยการเปรียบเทียบกับข้อมูลจากแผนที่ กราฟ แผนภาพ ตาราง และอื่นๆ ด้วยการใช้สถิติอย่างง่ายๆ นักเรียนนักศึกษาสามารถระบุถึงแนวโน้ม ความสัมพันธ์ และความต่อเนื่องของปรากฏการณ์ได้
การวิเคราะห์ทางภูมิศาสตร์เกี่ยวพันกับกิจกรรมต่างๆ หลากหลาย มีบางครั้งที่เกิดความยุ่งยากที่จะแบ่งแยกกระบวนการที่จะใช้ในการจัดการสารสนเทศภูมิศาสตร์ออกจากขั้นตอนที่ใช้ในการวิเคราะห์ กระบวนการทั้งสองดังกล่าวคงเกิดขึ้นกับหลายๆ กรณี แต่ในบางสถานการณ์ การวิเคราะห์ก็ทำไปด้วยความรู้และความเข้าใจแบบง่ายๆ ซึ่งนักเรียนนักศึกษาควรจะตรวจสอบและพินิจพิเคราะห์แผนที่เพื่อค้นหาและเปรียบเทียบรูปแบบและความสัมพันธ์ทางพื้นที่ ศึกษาตารางและกราฟเพื่อกำหนดแนวโน้มและความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นต่างๆ ตรวจสอบข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติเพื่อระบุชี้แนวโน้ม ความต่อเนื่อง สหสัมพันธ์ และความสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ ศึกษาจากเอกสารตำราเพื่อแปลความหมาย อธิบาย และสังเคราะห์คุณลักษณะของแต่ละสิ่งที่สนใจ ด้วยกระบวนการวิเคราะห์นี้จะทำให้ได้คำตอบสำหรับคำถามมาเป็นลำดับแรก จากนั้นจะนำไปสู่การพัฒนาแบบจำลองและคำอธิบายที่เป็นสากลทางภูมิศาสตร์ (GMG: Geographic Models and Generalizations) ที่กล่าวมาทั้งหมดตรงนี้ คือ ทักษะในการวิเคราะห์ที่นักเรียนนักศึกาทุกคนจำเป็นจะต้องพัฒนาขึ้นมาในตัวเองให้ได้
5. การตอบคำถามทางด้านภูมิศาสตร์
เป้าหมายสูงสุดของการแสวงหารู้ทางภูมิศาสตร์ จะประสบผลสำเร็จไปสู่การพัฒนาคำอธิบายที่เป็นสากลและการสรุปบนฐานข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมมา มีการจัดการและการวิเคราะห์เป็นขั้นตอน ทักษะทั้งหลายที่สัมพันธ์กับการตอบคำถามทางภูมิศาสตร์ด้วยรูปแบบการกล่าวอ้างอิงถึงสารสนเทศในลักษณะภาพ (ทั้งที่เป็นแผนที่ ตาราง และกราฟ) ควบคู่ไปกับการบอกกล่าวด้วยวาจาและข้อเขียนต่างๆ ทักษะเหล่านี้เกี่ยวกับเชื่อมโยงกับความสามารถในการแยกแยะคำอธิบายที่เป็นสากล เพื่อประยุกต์ใช้ในระดับท้องถิ่นจนถึงระดับโลก
การสร้างคำอธิบายที่เป็นสากล ถือเป็นเป้าหมายสูงสุดของกระบวนการแสวงหาความรู้ และยังจะช่วยสร้างความเข้าใจในเชิงสัญลักษณ์ได้มากขึ้นด้วย การพัฒนาเพื่อสร้างคำอธิบายที่เป็นสากลนั้น ต้องการให้นักเรียนนักศึกษาได้ใช้สารสนเทศที่พวกเขา/เธอเก็บรวบรวม จัดการ และวิเคราะห์เพื่อสร้างคำอธิบายทางภูมิศาสตร์ในรูปแบบทั่วไป และบางครั้งพวกเขา/เธออาจจะใช้เหตุการณ์นั้นๆ ไปช่วยในการตัดสินใจ แก้ปัญหา หรือสร้างข้อยืนยันเกี่ยวกับการตอบปัญหา การกำหนดประเด็น หรือการบ่งชี้ความสำคัญของปัญหาต่างๆ ได้
การสร้างคำอธิบายที่เป็นสากลทางภูมิศาสตร์ สามารถสร้างขึ้นมาด้วยการใช้วิธีการให้เหตุผลเชิงอุปนัยหรืออนุมานก็ได้ โดยวิธีให้เหตุผลเชิงอุปนัย นักเรียนนักศึกษาจะต้องทำการสังเคราะห์สารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อตอบคำถามและให้ได้ข้อสรุปเฉพาะเรื่องที่กำลังให้ความสนใจอยู่ในขณะนั้น ขณะที่วิธีให้เหตุเชิงอนุมานนั้น พวกเขา/เธอจะต้องระบุชี้ชัดในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับข้อคำถาม สังเกตและประเมินเหตุการณ์ และตัดสินใจหาคำอธิบายที่เป็นสากลที่เหมาะสมด้วยการทดสอบข้อสรุปเหล่านั้นเปรียบเทียบกับโลกที่เป็นจริง ซึ่งนักเรียนนักศึกษาควรที่จะได้รับการฝึกฝนให้มีประสบการณ์ในทั้งสองวิธี
นอกจากนี้นักเรียนนักศึกษายังควรจะต้องมีความสามารถในการสื่อสารที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้เพื่อที่จะตอบปัญหาทางภูมิศาสตร์ ในประเด็นนี้ มีทักษะสำคัญอันหนึ่งที่เชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับการเป็นพลเมืองที่ดี (Good Citizenship) ซึ่งพวกเขา/เธอสามารถพัฒนาความรู้สึกนึกคิดในด้านความรับผิดชอบในฐานะพลเมือง ด้วยการแผ่ขยายคำตอบที่พวกเขา/เธอได้รับจากการศึกษาค้นคว้าออกไปสู่สังคม เพราะพวกเขา/เธอสามารถนำเสนอสารสนเทศภูมิศาสตร์ได้หลายๆ วิธี อย่างเช่น การใช้มัลติมีเดียที่เป็นการผสมผสานเอารูปภาพ แผนที่ กราฟ เชื่อมโยงไปพร้อมๆ กับการนำเสนอเรื่องราวหรือถ้อยแถลงที่เข้าใจได้อย่างเป็นสากล นอกจากนี้ สารสนเทศภูมิศาสตร์ยังสามารถถูกนำเสนอได้ด้วยกวีนิพนธ์ ศิลปะตัดต่อ การละเล่น บทความ และเรียงความ โดยสื่อทุกๆ สื่อที่ถูกเลือกใช้ในการนำเสนอสารสนเทศภูมิศาสตร์ ล้วนแล้วแต่เป็นไปเพื่อให้ได้คำตอบ และการบ่งชี้ประเด็นหรือปัญหาที่จะต้องค้นหาความรู้มาเป็นคำตอบและทำการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจกระจ่างชัดมากขึ้น จึงสรุปได้ว่า การเลือกวิธีที่ดีที่สุดในการตอบคำถามทางภูมิศาสตร์ ถือเป็นทักษะที่สำคัญอย่างยิ่ง
นักเรียนนักศึกษาควรจะต้องเข้าใจว่า ยังคงมีวิธีการที่เป็นทางเลือกอีกหลายๆ วิธี สำหรับการอธิบายและสรุปที่เป็นสากล เพราะมีความรู้ ความจริง และความหมายของสิ่งต่างๆ อยู่หลายประเภทหลายระดับ ครูผู้สอนจึงควรจะกระตุ้นให้นักเรียนนักศึกษาพัฒนาและมีมุมมองหลากหลาย และค้นหาผลลัพธ์ที่หลากหลายหรับปัญหาต่างๆ
จะเห็นได้ว่าทักษะที่ห้านี้ เป็นขั้นตอนท้ายสุดของกระบวนการค้นหาความรู้ทางภูมิศาสตร์ แต่ก็ใช่ว่าทุกอย่างจะสิ้นสุดแค่เพียงแต่การดำเนินการศึกษาตามขั้นตอนนี้เท่านั้น เพราะปัญหาต่างๆ ไม่ได้หยุดนิ่งอยู่กับที่ ข้อสรุปหลายๆ อย่างมีเหตุและปัจจัยอื่นเพิ่มเติมเข้ามา ทำให้คำอธิบายที่เป็นสากลที่เคยอธิบายไว้แต่เดิมไม่ครอบคุลมประเด็นปัญหา มีการทดสอบสมมติฐานใหม่ๆ ด้วยการทบทวนข้อความคำอธิบายที่เคยเป้นสากล คำตอบแต่ละคำตอบ การตัดสินใจแต่ละอย่าง หรือการแก้ปัญหาแต่ละครั้ง เหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดประเด็น มุมมอง และปัญหาใหม่ การศึกษาเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์จึงเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ทรงพลังและท้าทาย
การพัฒนาทักษะสำคัญของภูมิศาสตร์
ถือได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นมากที่นักเรียนนักศึกษาจะต้องพัฒนาทักษะทั้งหลายดังกล่าวมาแล้วข้างต้น เพื่อที่จะทำให้พวกเขา/เธอสามารถทำการสังเกตรูปแบบ ความสัมพันธ์ และระเบียบทางพื้นที่ต่างๆ ได้อย่างเข้าใจ มีทักษะหลายอย่างที่ถูกคาดหวังให้นักเรียนนักศึกษาได้ศึกษาเรียนรู้เพื่อให้นำไปสู่การเลือกใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีอันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการศึกษาหาความรู้ทางภูมิศาสตร์ ซึ่งแผนที่คือเครื่องมือที่จำเป็นของภูมิศาสตร์ เนื่องจากว่าในแผนที่ได้บรรจุเอาสาระต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนพื้นที่ โดยนำแสดงให้ผู้ใช้แผนที่เห็นเป็นภาพที่ง่ายแก่การทำความเข้าใจ กราฟ ภาพร่าง แผนผัง และรูปภาพ ล้วนยังคงทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งในการวิเคราะห์ทางภูมิศาสตร์ ดังจะเห็นได้จากการวิเคราะห์อัตราการเติบโตของพื้นที่เมือง ที่เราสามารถตรวจสอบได้จากการเปรียบเทียบรูปถ่ายเก่าและใหม่ หรือตัวอย่างของการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจากการเปรียบเทียบข้อมูลภาพจากดาวเทียมที่บันทึกในปีที่แตกต่างกัน
เครื่องมือชนิดใหม่ที่มีความสำคัญในการวิเคราะห์ทางภูมิศาสตร์ คือ ฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Database) หรือที่เรียกกันจนติดปากว่า ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS: Geographic Information System) ระบบนี้จะทำให้กระบวนการนำเสนอและวิเคราะห์สารสนเทศภูมิศาสตร์ง่ายขึ้น อันเป็นการเพิ่มความเร็วในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ทางภูมิศาสตร์ ฐานข้อมูลเชิงพื้นที่นี้ สามารถนำไปพัฒนาในห้องเรียนได้ด้วยการใช้กระดาษและดินสอธรรมดาๆ
มีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพหลายอย่างที่นักเรียนนักศึกษาจำเป็นต้องใช้ในการพัฒนาทักษะสำคัญทางภูมิศาสตร์ ซึ่งอยู่ในรูปทักษะทางความคิดเชิงวิกฤติ (Critical Thinking Skills) โดยทักษะที่ว่านี้จะไม่มีการจัดอยู่เป็นหมวดเป็นหมู่ หากแต่จะอยู่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในกระบวนการสร้างความรู้ การอ้างอิง การวิเคราะห์ การยืนยัน การทดสอบสมมติฐาน การสรุปให้เข้าใจอย่างเป็นสากล การทำนาย และการตัดสินใจ สิ่งต่างๆ เหล่านี้สามารถประยุกต์ใช้ได้กับการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ทุกระดับ และสามารถสร้างเป็นทักษะพื้นฐานให้นักเรียนนักศึกษามีศักยภาพในการประยุกต์ใช้ทักษะสำคัญทางภูมิศาสตร์ในการศึกษาหาความรู้ได้เป็นอย่างดี
ทักษะสำคัญทางภูมิศาสตร์ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ สามารถจัดให้เข้าไปอยู่ในหลักสูตรของแต่ชั้นปีการศึกษาได้ ซึ่งครูผู้สอนและผู้พัฒนาหลักสูตรจำเป็นจะต้องพินิจพิจารณาจัดวางให้เหมาะสมและเป็นลำดับขั้นตอน ให้นักเรียนนักศึกษาเรียนรู้และเก็บทักษะไว้กับตัวเอง และเสริมสร้างในส่วนที่เป็นการประยุกต์ให้สามารถเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
ประโยชน์ที่เกิดจากการเรียนรู้ภูมิศาสตร์อย่างเป็นระบบ
มีผลลัพธ์อะไรบ้างที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ หากว่าเยาวชนของเราได้รับการสอนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้พวกเขา/เธอมีมุมมอง มีสารสนเทศ มีแนวความคิด และมีทักษะสำคัญทางภูมิศาสตร์ ข้อความต่อไปนี้คือคำตอบ
ประการแรกสุด นักเรียนนักศึกษาจะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับที่ตั้งสมบูรณ์และที่ตั้งสัมพันธ์ ว่าเป็นประเด็นสาระที่สำคัญอย่างยิ่งในการอธิบายลักษณะทางกายภาพและมนุษย์ทุกๆ อย่างที่ปรากฏบนพื้นผิวโลก ตัวอย่างเช่น การมีความรู้ถึงทำเลที่ตั้งสมบูรณ์ของประเทศอัฟานิสถาน และที่ตั้งสัมพันธ์ของประเทศนี้ที่ชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมของรัสเซียอาศัยอยู่ ซึ่งจะช่วยในเกิดความเข้าใจเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันของประเทศนี้
ประการที่สอง นักเรียนนักศึกษาจะมีความสามารถในการกำหนดความสำคัญของสถานที่ต่างๆ ในบริบทที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพและมนุษย์ รวมถึงการสร้างความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของสถานนี้นั้นๆ เมื่อเวลาผ่านไป ตัวอย่างเช่น นักเรียนจะสามารถระบุชี้ชัดว่าปัจจัยทางธรรมชาติและมนุษย์อะไรบ้างที่ทำให้มหานครนิวยอร์กเติบโตขึ้นมาจนกลายเป็นศูนย์กลางของโลก และสามารถอธิบายได้ว่า มหานครแห่งนี้จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างไรเมื่อเวลาผ่านไป
ประการที่สาม นักเรียนนักศึกษาจะมีความตระหนักรู้ว่า ประชาชนอาศัยอยู่กันอย่างไร ปรับปรุงเพิ่มเติมในพื้นที่นั้นๆ กันอย่างไร และปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพและมนุษย์กันอย่างไร ตัวอย่างเช่น นักเรียนนักศึกษาจะรู้ซึ้งว่าป่าฝนในที่ต่างๆ นั้นถูกใช้สำหรับเป็นแหล่งล่าสัตว์และเก็บของป่า ใช้เพื่อทำการเกษตรไร่เลื่อนลอย ใช้เพื่อกิจการป่าไม้ และใช้เพื่อการเกษตรขนาดใหญ่
ประการที่สี่ นักเรียนนักศึกษาจะได้ทำการไตร่สวนว่า สถานที่ต่างๆ นั้นมีการพึ่งพิงกันและกันอย่างไรบ้าง ตัวอย่างเช่น นักเรียนนักศึกษาจะสามารถตรวจสอบการพึ่งพิงกันของประเทศญี่ปุ่นกับสหรัฐอเมริกา และเกิดความคิดอะไรบางอย่างที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตปรกติของครอบครัวชาวอเมริกันและชาวญี่ปุ่น
ประการที่ห้า นักเรียนนักศึกษาจะต้องได้เรียนรู้ถึงการใช้แนวความคิดด้านภูมิภาคเพื่อสร้างถ้อยแถลงทั่วไปเกี่ยวกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น นักเรียนนักศึกษาจะสามารถบ่งชี้พื้นที่ต่างๆ บนโลกใบนี้ได้ว่า มีบริเวณใดบ้างที่ประชาชนตัดไม้จากป่าเพื่อเป็นเชื้อเพลิงหลักสำหรับการดำรงชีวิต พวกเขาและเธอจะสามารถอธิบายและประเมินสภาพแวดล้อมทางกายภาพและมนุษย์ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของโลก รวมถึงสามารถแสดงความสัมพันธ์ของพวกเขาและเธอเองที่มีต่อการตัดไม้ทำลายป่าไม้เหล่านั้น
การมุ่งเข้าไปหาความสำเร็จทั้งหมดตามเป้าหมายที่กล่าวมานี้ นักเรียนนักศึกษาจะต้องมีทักษะและความสามารถในการใช้แผนที่ทั้งหลายเพื่อสร้างและตอบข้อคำถามเกี่ยวกับความสำคัญของประเด็นต่างๆ อย่างเช่น พวกเขาและเธอจะสามารถพินิจพิเคราะห์แผนที่ให้เห็นสารสนเทศเกี่ยวกับประชากร การใช้ประโยชน์ที่ดิน รูปลักษณ์สัณฐานภูมิประเทศ และการเปาะปลูกที่เกิดขึ้นอย่างน่าพิศวงในภูมิภาคที่แห้งแล้งอย่างยิ่งในอัฟริกา
การมีความรู้แค่ว่าสิ่งใดตั้งอยู่ตรงไหนบ้างนั้น เป็นแค่เพียงขั้นแรกของความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ท้ายที่สุดของภูมิศาสตร์ คือ ความใส่ใจที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจว่า เพราะเหตุใดสิ่งต่างๆ จึงตั้งอยู่ในที่ที่มันตั้งอยู่ เพื่อตอบคำถามดังกล่าวนั้น จำเป็นจะต้องใช้ประเด็นสำคัญ กรอบแนวความคิด และทักษะสำคัญทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเรื่องนี้สตีเฟน เอส เบิร์ดซาล (1986) กล่าวไว้ในบทความเรื่อง ความไม่ประสาด้านภูมิศาสตร์ของสังคมอเมริกัน (America's Geographic Illiteracy) ไว้ว่า “เราจะต้องมีกรอบแนวความคิดและหลักการสำคัญต่างๆ ทางภูมิศาสตร์ที่ดีและเหมาะสมอย่างเพียงพอ เพื่อที่เราจะได้สร้างและปรับปรุงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานที่และประชาชนอย่างไม่มีข้อจำกัด” บทความบทนี้เขียนขึ้นมาเพื่อที่จะให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งจำเป็นที่จะนำไปสู่การคิด การสืบค้น และการกำหนดเป็นกรอบเนื้อหาสาระ/เทคนิควิธีการในการจัดการเรียนการสอนวิชาภูมิศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพสอดรับการเป้าหมายการจัดการศึกษาในแต่ละระดับต่อไป
ประเด็นสำคัญของภูมิศาสตร์
ประเด็นสำคัญของภูมิศาสตร์ ทั้ง 5 ประเด็นเกิดจากความประสงค์ของสมาคมภูมิศาสตร์สหรัฐอเมริกา ในการกำหนดกรอบมุมมองต่อปรากฏการณ์ต่างๆ ทั้งหมด เพื่อที่นักภูมิศาสตร์จะได้ทำการศึกษาและแบ่ง/จำแนกประเภท โดยประเด็นสำคัญเหล่านั้นประกอบด้วย ทำเลที่ตั้ง (Theme I Location) สถานที่ (Theme II Place) ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม (Theme III Human/Environment Interaction) การเคลื่อนที่ (Theme IV Movement) และภูมิภาค (Theme V Region)
ทำเลที่ตั้ง
ทำเลที่ตั้ง แบ่งได้ 2 ส่วน คือ ที่ตั้งเฉพาะ และที่ตั้งทั่วไป ทั้งนี้ที่ตั้งเฉพาะ (Specific Location) เป็นการระบุชี้ชัด ด้วยที่อยู่หรือที่ตั้งที่แน่นอน บางครั้งนักภูมิศาสตร์เรียกที่ตั้งแบบนี้ว่า “ที่ตั้งสมบูรณ์” (Absolute Location) ดังตัวอย่างที่แสดงทำเลที่ตั้งที่มีอยู่จริงทั้งสองนี้
· ที่อยู่บนถนน: เลขที่ 22/43 ถนนพุทธบูชา อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
· ที่อยู่บนแผนที่: 15 องศา 20 ลิปดาเหนือ 102 องศา 12 ลิปดาตะวันออก
ที่ตั้งทั่วไป (General Location) เป็นทำเลที่ตั้งที่บอกกล่าวกันถึงบางสิ่งบางอย่าง ที่ตั้งอยู่อย่างสัมพันธ์กับอีกบางสิ่งบางอย่าง อย่างนี้นักภูมิศาสตร์หลายคนเรียกว่า “ที่ตั้งสัมพันธ์” (Relative Location) ดังตัวอย่าง ต่อไปนี้
· อยู่ห่างจากนี้ไปอีก 10 นาทีโดยรถราง
· อยู่ด้านหน้าของธนาคาร
สถานที่
สถานที่ เป็นการอธิบายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นบนพื้นที่แห่งหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะแตกต่างไปจากสิ่งแบบเดียวกันที่เกิดขึ้นในอีกที่แห่งหนึ่ง โดยความแตกต่างนี้มีทั้งด้านกายภาพและมนุษย์ (Physical and Human Differences)
1. ลักษณะด้านกายภาพ ประกอบด้วยสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ภูเขา แม่น้ำ ชนิดของดิน ป่าไม้ สัตว์ป่า ภูมิอากาศ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้หากมองในแง่ของความสัมพันธ์กัน ให้ลองจินตนาการว่า บนพื้นที่ราบ ดินมักมีความอุดมสมบูรณ์ และมีแม่น้ำไหลผ่านเข้ามาหลายสาย ขณะที่บริเวณเชิงเขา มักอุดมไปด้วยป่าไม้ ซึ่งหากประชาชนเข้าไปถากถาง ก็จะทำให้หน้าดินถูกชะล้างให้สูญเสียความอุดมสมบูรณ์ไปได้ง่าย
2. ลักษณะด้านมนุษย์ เป็นสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์ ทั้งที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ และส่วนที่เป็นการเข้าไปเปลี่ยนแปลงสภาพเดิมที่เป็นธรรมชาติอยู่ก่อน เช่น ถนน อาคาร เขื่อน ฯลฯ ทั้งหมดนี้ ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์เพื่อการดำรงชีวิตและสร้างสรรค์วิถีชีวิต ประเพณี และวัฒนธรรมของตนขึ้นมาในสถานที่ต่างๆ
ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม เป็นการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับสิ่งแวดล้อมของพวกเขา ซึ่งมีคำตอบมากมายต่อคำถามต่างๆ เหล่านี้ อย่างเช่น กิจกรรมของประชาชนจะส่งผลกระทบอะไรบ้างต่อสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมที่ประชาชนพึ่งพาอยู่จะส่งผลอย่างไร และมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างที่ประชาชนดำเนินการขึ้นมาเพื่อทำให้มีชีวิตเป็นอยู่ที่ดี/เรียบง่ายขึ้น ความสัมพันธ์ที่ว่านี้มี 3 ส่วน
· ประชาชนทั้งหลายถูกเปลี่ยนแปลง/ควบคุมโดยสิ่งแวดล้อมอย่างไร
· สิ่งแวดล้อมถูกประชาชนเปลี่ยนไปอย่างไร
· ประชาชนพึ่งพิงสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง
ประชาชนถูกเปลี่ยนแปลง/ถูกควบคุมโดยสิ่งแวดล้อม เรียกว่า “การปรับตัว” ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงวิถีของมนุษย์ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม เช่น ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่มีอากาศหนาว สวมเสื้อผ้าปกปิดร่างกายหนาแน่นเพื่อรักษาความร้อนของร่างกายเอาไว้ หรือการขนส่งสิ่งของของประชาชนในเขตทะเลทรายด้วยอูฐที่มีความอดทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี
ประชาชนเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม เรียกว่า “การเปลี่ยนแปลง” ที่ประชาชนเข้าไปเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมต่างๆ ให้เหมาะสม เช่น การวางระบบชลประทานบริเวณลุ่มน้ำไซร์ ดาร์ยา ของคาซัคสถาน และอามู ดาร์ยา ของอูซเบกิสถาน เพื่อเป็นแหล่งปลูกฝ้ายใหญ่ที่สุดของโลก หรือการถางป่าในบอร์เนียว เพื่อรองรับการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันขนาดใหญ่ของโลก
ประชาชนพึ่งพิงสิ่งแวดล้อม ลักษณะเช่นนี้จะเกิดขึ้นเมื่อ ประชาชนต้องพึ่งพิงสิ่งแวดล้อมบางสิ่งบางอย่างเพื่อประโยชน์หรือความอยู่รอดของพวกเขาเอง เช่น การใช้ไม้หรือถ่านหินเพื่อเป็นเชื้อเพลิง การใช้แม่น้ำเพื่อการคมนาคมขนส่งสินค้าและทรัพยากรธรรมชาติ
การเคลื่อนย้าย
การเคลื่อนย้าย หมายถึง การเคลื่อนย้ายประชาชน สิ่งของต่างๆ เช่นสินค้า และรวมถึง การคมนาคมสื่อสาร ซึ่งเป็นการเคลื่อนย้ายความรู้ ความรู้สึก และความคิด เราสามารถอธิบายถึงประเภทของการสื่อสารคมนาคมและรูปแบบหลักๆ ของการคมนาคมขนส่งที่เกิดขึ้น ณ สถานที่แห่งหนึ่งได้ เช่นเดียวกับการอธิบายถึงลักษณะของการขนส่งสินค้าในรูปแบบการนำเข้าและการส่งออก ทั้งหมดนี้เป็นเนื้อหาสาระของการเคลื่อนย้าย
ภูมิภาค
ภูมิภาค หมายถึง บริเวณพื้นที่ที่เราสามารถรวมกลุ่มเอาสิ่งต่างๆ ที่มีลักษณะเฉพาะที่มีรูปแบบเดียวกันเข้าด้วยกัน อย่างเช่น ประเทศแต่ละประเทศที่ถูกปกครองโดยรัฐบาลของประเทศนั้นๆ มักจะเป็นบริเวณพื้นที่ที่พูดภาษาเดียวกัน หรือนับถือศาสนาเดียวกัน หรือตัวอย่างของบริเวณพื้นที่ที่รองรับการบริการเฉพาะอย่าง เช่นเขตบริการของโรงเรียนมัธยมศึกษา ภูมิภาคแบ่งออกได้ 3 วิธีด้วยกัน คือ การแบ่งภูมิภาคด้วยลักษณะของรํฐหรือสภาพทางกายภาพ (Government or Physical Characteristics) การแบ่งภูมิภาคตามบทบาทหน้าที่ของภูมิภาค (A Function of Region) และการแบ่งภูมิภาคตามสภาพความต้องการของนักภูมิภาคศึกษา (Loosely Defined)
1. ภูมิภาคที่ถูกแบ่งด้วยลักษณะของรัฐหรือสภาพทางกายภาพ เป็นภูมิภาคที่มีลักษณะแน่นอนตายตัวไม่มีการ เปลี่ยนแปลงมากนัก เช่น ประเทศ หรือทวีป เป็นต้น
2. ภูมิภาคแบ่งตามบทบาทหน้าที่ บริเวณพื้นที่จะถูกกำหนดด้วยการบริการเฉพาะอย่าง เช่น เขตพื้นที่บริการของโรงเรียนจุฬาภรณ์วิทยาลัยที่มีกฎเกณฑ์ในการให้บริการชัดเจน ทั้งนี้หากกฎเกณฑ์เหล่านั้นถูกยกเลิก จะ ทำให้บริเวณพื้นที่ที่เป็นภูมิภาคนี้สูญหายตามไปด้วย
3. ภูมิภาคแบ่งตามความต้องการของนักภูมิภาคศึกษา ซึ่งกรณีนี้มีความหลากหลายอย่างยิ่ง เช่น การแบ่งซีก โลกเหนือ ย่านมิดแลนด์ โลกที่สาม โลกของชาวพุทธ ตะวันออกกลาง ตะวันออกไกล ฯลฯ
เกณฑ์มาตรฐานของนักภูมิศาสตร์
ปรากฏการณ์ทางกายภาพและมนุษย์มีการกระจายอยู่บนพื้นที่ต่างๆ ของโลก หนังสือ Geography for Life ของ Geography Education National Implementation Project (1994) บอกให้ทราบว่านักภูมิศาสตร์เป็นบุคคลที่มีการจัดการตนเองในเชิงภูมิศาสตร์โดยมีความสามารถพื้นฐาน 4 ประการ คือ 1) สามารถแสดงความหมายของการจัดวางสิ่งต่างๆ ลงบนพื้นที่ได้ 2) สามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สถานที่ และสิ่งแวดล้อมได้ 3) สามารถใช้ความเชี่ยวชาญทางภูมิศาสตร์ได้ และ 4) สามารถประยุกต์มุมมองด้านพื้นที่และนิเวศวิทยาให้เข้ากับสถานการณ์แห่งชีวิตได้ เพื่อให้นักเรียนนักศึกษาก้าวเข้าสู่ความเป็นนักภูมิศาสตร์ได้ตามพื้นฐานดังกล่าว ผู้จัดการเรียนการสอนและพัฒนาหลักสูตร จึงควรรู้และเข้าใจเกณฑ์มาตรฐานของนักภูมิศาสตร์ทั้ง 6 กลุ่มหลัก จำนวน 18 มาตรฐาน ดังนี้
การมองโลกในเชิงพื้นที่
ภูมิศาสตร์เป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน สถานที่ และสิ่งแวดล้อม โดยจัดทำแผนที่แสดงข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ให้อยู่ในรูปข้อมูลเชิงพื้นที่ ดังนั้นบุคคลจึงควรรู้และเข้าใจในเชิงภูมิศาสตร์ ดังนี้
1. รู้และเข้าใจว่าจะใช้แผนที่ รวมทั้งสื่อทางภูมิศาสตร์ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์อย่างไร เพื่อที่จะได้สามารถสืบเสาะ สร้างกระบวนการและทำรายงานข่าวสารข้อมูลเหล่านั้นออกมาในเชิงพื้นที่ ได้
2. รู้และเข้าใจว่าจะใช้แผนที่ในเชิงจิต (Mental Maps) ยอย่างไร เพื่อที่จะจัดการข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับประชาชน สถานที่ และสิ่งแวดล้อมในเชิงพื้นที่
3. รู้และเข้าใจในการวิเคราะห์การจัดการเชิงพื้นที่ของประชาชน สถานที่ และสิ่งแวดล้อมบนพื้นบนผิวโลก
สถานที่และภูมิภาค
ความมีตัวตนและการมีชีวิตรอดของสิ่งต่างๆ และประชาชนเป็นรากฐานและเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละสถานที่ รวมถึงเป็นการสร้างกลุ่มก้อนของมนุษย์ซึ่งเรียกว่าภูมิภาค ดังนั้นบุคคลจึงควรเรียนรู้และเข้าใจในเชิงภูมิศาสตร์ ดังนี้
4. รู้และเข้าใจลักษณะทางกายภาพ และลักษณะเชิงมนุษย์ของสถานที่นั้นๆ
5. รู้และเข้าใจว่าประชาชนได้สร้างภูมิภาคต่างๆ ขึ้นมาอย่างซับซ้อน
6. รู้และเข้าใจว่าวัฒนธรรมและประสบการณ์มีอิทธิพลต่อการรับรู้ของประชาชนที่มีต่อสถานที่และภูมิภาค
ระบบทางกายภาพ
กระบวนการทางกายภาพได้ก่อรูปให้เกิดพื้นผิวโลกและได้สร้างให้มีปฏิสัมพันธ์ของพืชและสัตว์ ทั้งนี้เพื่อที่จะสร้างสรรค์ จรรโลง และปรับแปลงระบบนิเวศน์ ดังนั้นบุคคลจึงควรเรียนรู้และเข้าใจในเชิงภูมิศาสตร์ดังนี้
7. รู้และเข้าใจว่ากระบวนการทางกายภาพนั้นได้ก่อรูปและสร้างรูปแบบพื้นผิวโลก
8. รู้และเข้าใจคุณลักษณะและการกระจายทางพื้นที่ของระบบนิเวศบนพื้นผิวโลก
ระบบมนุษย์
ประชาชนเป็นแกนกลางสำคัญสำหรับภูมิศาสตร์ในกรณีที่กิจกรรมของมนุษย์ช่วยสร้างสรรค์รูปทรงของพื้นผิวโลก การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์และโครงสร้างของมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของพื้นผิวโลก และยังมีการแข่งขันแก่งแย่งของมนุษย์ที่มีส่วนในการควบคุมพื้นผิวโลกด้วย ดังนั้นบุคคลจึงควรเรียนรู้และเข้าใจในเชิงภูมิศาสตร์ ดังนี้
9. รู้และเข้าใจว่าคุณลักษณะ การกระจาย และการเคลื่อนย้ายประชาชน เป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งบนพื้นผิวโลก
10. รู้และเข้าใจว่าคุณลักษณะ การกระจาย และความซับซ้อนของวัฒนธรรมบนพื้นผิวโลก เป็นไปด้วยความซับซ้อน
11. รู้และเข้าใจรูปแบบและโครงข่ายความผูกพันพึ่งพิงทางเศรษฐกิจบนพื้นผิวโลก
12. รู้และเข้าใจกระบวนการ รูปแบบ และองค์ประกอบของการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์
13. รู้และเข้าใจว่าอิทธิพลของความร่วมแรงร่วมใจ และความขัดแย้งระหว่างประชาชนมีบทบาทสำคัญต่อการแบ่งแยกและควบคุมพื้นผิวโลก
สิ่งแวดล้อมและสังคม
สภาพแวดล้อมทางกายภาพถูกปรับแปลงโดยกิจกรรมของมนุษย์ และยังมีผลสืบเนื่องไปสู่วิถีในการกำหนดคุณค่าแห่งสังคมมนุษย์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้งกิจกรรมของมนุษย์ยังคงได้รับอิทธิพลจากลักษณะและกระบวนการทางกายภาพของโลกด้วย ดังนั้นจึงควรที่จะรู้และเข้าใจในเชิงภูมิศาสตร์ ดังนี้
14. รู้และเข้าใจกิจกรรมของมนุษย์ที่มีผลต่อการปรับแปลงสภาพแวดล้อมทางกายภาพ
15. รู้และเข้าใจว่าระบบทางกายภาพมีผลต่อระบบมนุษย์อย่างไร
16. รู้และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นโดยความหมาย การใช้ การกระจาย และความสำคัญของทรัพยากร
การใช้ประโยชน์ภูมิศาสตร์
ความรู้เกี่ยวกับภูมิศาสตร์ช่วยให้ประชาชนพัฒนาความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน สถานที่และสิ่งแวดล้อม ในช่วงเวลาหนึ่งๆ ซึ่งนั่นหมายความว่าเป็นการมองโลกที่เป็นอยู่และการมองโลกว่าจะเป็นอย่างไร จึงควรที่จะรู้และเข้าใจในเชิงภูมิศาสตร์ ดังนี้
17. รู้และเข้าใจว่าควรประยุกต์ภูมิศาสตร์ในการตีความถึงความเป็นมาในอดีตได้อย่างไร
18. รู้และเข้าใจว่าควรประยุกต์ภูมิศาสตร์ในการตีความถึงลักษณะปัจจุบัน เพื่อวางแผนสำหรับอนาคตอย่างไร
จึงหมายความว่า “เรียนภูมิศาสตร์เพื่อให้คนที่เป็นคน เพื่อให้รู้ปัจจุบัน เพื่อให้ย้อนอดีตความเป็นมาได้ และเพื่อให้คาดการณ์อนาคตได้ ทั้งนี้ก็เพื่อความอยู่รอดแห่งมวลมนุษย์ชาตินั่นเอง”
ทักษะสำคัญของภูมิศาสตร์
เราสามารถใช้ทักษะสำคัญของภูมิศาสตร์ช่วยให้กระบวนการตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี (Well-Being) ได้ดีและรอบคอบขึ้น ทั้งในการเลือกย่านพื้นที่ซื้อบ้าน หางานทำ หาร้านจับจ่าย หาแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อน หรือแม้กระทั่งเลือกโรงเรียนให้ลูก ซึ่งการตัดสินใจต่างๆ เหล่านี้ต้องอาศัยความสามารถในการเก็บรวบรวม จัดเรียง และใช้สารสนเทศภูมิศาสตร์ นอกจากนี้การตัดสินใจและการประกอบกิจกรรมประจำวัน ทั้งหลายยังเชื่อมโยงกับการคิดเกี่ยวกับประเด็นของสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างเป็นระบบด้วย ขณะที่การตัดสินใจของชุมชน มักมีความสัมพันธ์ปัญหามลพิษด้านอากาศ น้ำ และดิน/ที่ดิน หรือเป็นเรื่องเกี่ยวกับทำเลที่ตั้ง เช่น ที่ตั้งของอุตสาหกรรม โรงเรียน และย่านที่อยู่อาศัย ซึ่งเหล่านี้ต้องการความชำนาญในการใช้สารสนเทศภูมิศาสตร์ทั้งสิ้น สำหรับการตัดสินใจของธุรกิจและของภาครัฐนั้น เป็นประเด็นเกี่ยวกับการเลือกสรรหาทำเลที่ตั้งที่ดีที่สุดสำหรับห้างสรรพสินค้าหรือท่าอากาศยานระดับภูมิภาค การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ หรือการค้ากับต่างชาติ ซึ่งต้องการข้อมูลทางภูมิศาสตร์สนับสนุนการตัดสินใจ
ทักษะสำคัญของภูมิศาสตร์จะช่วยให้เราตัดสินใจตามเหตุผลด้านการเมืองได้อย่างน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่ต้องมีการประเมินนโยบายด้านการต่างประเทศ เศรษฐกิจระหว่างชาติ การกำหนดย่านพื้นที่และการใช้ที่ดินระดับท้องถิ่น ซึ่งทักษะต่างๆ ของภูมิศาสตร์จะทำให้สามารถเก็บและวิเคราะห์สารสนเทศ อันจะทำให้ได้บทสรุปและดำเนินกิจกรรมอย่างสมเหตุสมผล อีกทั้งทักษะสำคัญของภูมิศาสตร์ยังช่วยในการพัฒนาและนำเสนอประเด็นต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือไปสู่เวทีนโยบายสาธารณะต่อไป
ทักษะสำคัญของภูมิศาสตร์มี 5 ประเด็นหลัก ที่ประยุกต์มาจาก Guidelines for Geographic Education: Elementary and Secondary Schools ที่คณะกรรมาธิการจัดการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ เตรียมร่างเพื่อให้สมาคมนักภูมิศาสตร์อเมริกัน และสภาการศึกษาแห่งสหรัฐอเมริกา ตีพิมพ์ไว้เมื่อปี ค.ศ.1984 ประกอบด้วย การถามคำถามทางด้านภูมิศาสตร์ (Asking Geographic Questions) การเก็บรวบรวมสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Acquiring Geographic Information) การจัดการสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Organizing Geographic Information) การวิเคราะห์สารสนเทศภูมิศาสตร์ (Analyzing Geographic Information) และการตอบคำถามทางด้านภูมิศาสตร์ (Answering Geographic Information)
1. การถามคำถามทางด้านภูมิศาสตร์
การค้นหาความรู้ทางภูมิศาสตร์จะประสบผลสำเร็จด้วยดีนั้น ต้องอาศัยความสามารถและความสมัครใจที่จะตั้งคำถามอย่างใคร่ครวญเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ และหาคำตอบทั้งหลายเกี่ยวกับว่า เพราะเหตุใดสิ่งต่างๆ จึงปรากฏและเป็นอยู่ที่ตรงนั้น นักเรียนนักศึกษาจำเป็นต้องตั้งคำถามกับสิ่งต่างๆ รอบตัว - บางสิ่งบางอย่างปรากฏอยู่ที่ไหนบ้าง (Where is something located?) เพราะเหตุใดมันจึงอยู่ที่นั่น (Why is it there?) บางสิ่งบางอย่างนั้นสัมพันธ์กับอะไรบ้าง (With what is it associated?) อะไรที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากทำเลที่ตั้งและความสัมพันธ์เหล่านั้น (What are the consequences of its location and associations?) ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตรงนี้คล้ายกับที่ไหนบ้าง (What is this place like?)
สำหรับคำถามต่างๆ นักเรียนนักศึกษาจะต้องทดลองหาคำตอบที่เป็นไปได้ เพื่อให้คำตอบทางเลือกเหล่านั้นนำไปพัฒนาเป็นสมมุติฐาน ที่จะเชื่อมโยงกับขั้นตอนของกระบวนการตั้งคำถามและหาคำตอบ โดยสมมติฐานที่ว่านี้จะนำไปสู่การสืบค้นหาสารสนเทศต่อไป
ว่ากันจริงๆ แล้ว วิชาภูมิศาสตร์ถูกแบ่งออกด้วยประเภทของคำถามที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง โดยเป็นปัญหาเกี่ยวกับคำถามที่ถามว่า ที่ไหน และเพราะเหตุใดจึงต้องเป็นที่นั่น (Where and Why There) จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่นักเรียนนักศึกษาจะต้องพัฒนาและฝึกทักษะเกี่ยวกับการตั้งคำถามดังกล่าวด้วยตัวของพวกเขา/เธอเอง ซึ่งสามารถฝึกได้ไม่ยาก ด้วยการเริ่มต้นแยกคำถามทางด้านภูมิศาสตร์ออกจากคำถามที่ไม่ใช่ภูมิศาสตร์ จากนั้นครูผู้สอนก็นำเสนอให้นักเรียนนักศึกษากำหนดประเด็นและฝึกตั้งคำถามทางด้านภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนนักศึกษาระดับชั้นสูงๆ ก็จะต้องจัดให้ฝึกทักษะให้สามารถจำแนกคำถามและวิธีทางด้านภูมิศาสตร์ เพื่อให้เกิดการประยุกต์เอาความรู้ทางด้านภูมิศาสตร์ไปช่วยแก้ปัญหาต่างๆ
2. การเก็บรวบรวมสารสนเทศภูมิศาสตร์
สารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information) เป็นข่าวสารข้อมูลที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับทำเลที่ตั้ง คุณลักษณะทางกายภาพและมนุษย์ของทำเลที่ตั้งเหล่านั้น และกิจกรรมและสถานการณ์ทางภูมิศาสตร์ของประชาชนที่อาศัยอยู่ในสถานที่เหล่านั้น เมื่อย้อนกลับไปมองที่การตอบคำถามทางภูมิศาสตร์ นักเรียนนักศึกษาควรจะเริ่มต้นด้วยการเก็บรวบรวมสารสนเทศจากแหล่งต่างๆ ทั้งจากการอ่านและแปลความหมายให้ได้สารสนเทศจากแผนที่ทุกชนิด ทำการรวบรวมและใช้ข้อมูลชั้นต้นและชั้นสองเพื่อเตรียมการบรรยายเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวมถึงการเก็บข้อมูลจากการสอบถาม การสำรวจภาคสนาม การใช้เอกสารอ้างอิง และการทบทวนงานวิจัยต่างๆ ในห้องสมุด
ทักษะต่างๆ เหล่านี้ จะทำให้ได้มาซึ่งสารสนเทศภูมิศาสตร์ ที่ผ่านกระบวนการกำหนดทำเลที่ตั้งและรายละเอียดของปรากฏการณ์ การสังเกตและบันทึกสารสนเทศอย่างมีระบบระเบียบ การอ่านและแปลความหมายแผนที่หรือภาพแสดงพื้นที่และสถานที่ การสัมภาษณ์ และการใช้วิธีการทางสถิติต่างๆ
แหล่งข้อมูลชั้นต้นของสารสนเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการสำรวจภาคสนามของนักเรียนนักศึกษา นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากในการศึกษาทางภูมิศาสตร์ โดยการสำรวจภาคสนามเป็นส่วนที่นักเรียนนักศึกษาจะต้องดำเนินการจริงในพื้นที่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวิจัยด้วยการกระจายแบบสอบถามออกไปในชุมชน มีการบันทึกภาพ บันทึกสิ่งที่สำคัญในพื้นที่ สัมภาษณ์ประชาชน และเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง งานสำรวจภาคสนามจะช่วยกระตุ้นให้นักเรียนนักศึกษาเกิดความอยากรู้อยากเห็น และทำการศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน ช่วยให้เกิดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) จากการสังเกต การตั้งคำถาม การจำแนกประเด็นปัญหา และรับรู้ถึงลักษณะทางกายภาพและกิจกรรมของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในที่ต่างๆ นอกจากนี้การสำรวจภาคสนามยังจะช่วยเชื่อมโยงกิจกรรมในโรงเรียนของนักเรียนนักศึกษากับโลกที่พวกเขา/เธออาศัยอยู่ด้วย
3. การจัดการสารสนเทศภูมิศาสตร์
เมื่อสารสนเทศภูมิศาสตร์ถูกเก็บรวบรวมมาแล้ว ก็ควรจะมีการจัดการและนำเสนอออกไปด้วยวิธีการต่างๆ ที่จะทำให้มีการนำเอาไปวิเคราะห์และแปลความหมายในขั้นตอนต่อไป ข้อมูลต่างๆ เหล่านั้นควรจะถูกจัดระเบียบอย่างเป็นระบบ ความต่างประเภทกันของข้อมูลจะต้องถูกแบ่งแยกออกและจัดกลุ่มให้อยู่ในรูปแบบแผนภาพที่มองเห็นและเข้าใจได้ชัดเจน เช่น รูปภาพ ภาพถ่ายทางอากาศ กราฟ ภาพตัดขวาง กราฟอากาศประจำปี (Climograph) แผนผัง ตาราง แผนที่ผัง (Cartogram) และแผนที่ ทั้งนี้การนำสารสนเทศจากเอกสารหรือจากการสัมภาษณ์มาเขียนนั้น ควรจะจัดการในลักษณะการคัดลอกมาไว้ในเครื่องหมายคำพูดหรือในรูปของตารางแสดงสารสนเทศ
มีวิธีการหลายอย่างมากในการจัดการกับสารสนเทศภูมิศาสตร์ อย่างเช่นแผนที่ที่เป็นเครื่องมือหลักของการศึกษาหาความรู้ทางภูมิศาสตร์ รวมถึงยังมีวิธีการอื่นๆ ในการแปลข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่มองเห็นเป็นภาพได้ (Visual Form) เช่น การใช้กราฟทุกชนิด ตาราง แผ่นแสดงข้อมูล (Spreadsheets) และเส้นแสดงเหตุการณ์ตามลำดับเวลา (Timeline) โดยวิธีการเหล่านี้จะเป้นประโยชน์อย่างมากเพราะทำให้เห็นภาพสรุปที่ชัดเจน รวมทั้งสามารถแสดงข้อความที่ต้องการอธิบายเพิ่มเติมได้อย่างเหมาะสม ในการจัดการสารสนเทศภูมิศาสตร์มให้มีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และทักษะ การตัดสินใจเกี่ยวกับการออกแบบ การให้สี การแสดงภาพ การกำหนดขนาด และการสร้างความชัดเจน ทั้งหลายเหล่านี้เป็นประเด็นสำคัญในการพัฒนาแผนที่และสื่อแสดงข้อมูลเชิงพื้นที่ชนิดอื่นๆ ให้สามารถสะท้อนข้อมูลออกไปได้ชัดเจนตามวัตถุประสงค์
วิชาภูมิศาสตร์นั้น ถูกเรียกขานบ่อยครั้งว่า เป็นวิชาที่ว่าด้วยศิลปะการเขียนแผนที่ (The Art of Mappable) ดังนั้นการทำแผนที่ จึงควรจะจัดให้เป็นกิจกรรมปรกติพื้นฐานอย่างหนึ่งของนักเรียนนักศึกษาทุกคน พวกเขา/เธอควรจะอ่านแผนที่ด้วยการตีความสัญลักษณ์ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เก็บบันทึกไว้ในนั้น และทำการวิเคราะห์รูปแบบต่างๆ ของสารสนเทศเหล่านั้น และจัดทำสัญลักษณ์ ในแผนที่เพื่อให้สอดรับกับการจัดการสารสนเทศต่างๆ ซึ่งการทำแผนที่ อาจหมายถึงการใช้ระบบการร่างแผนที่ เพื่อสร้างจุดๆ หนึ่งในการแสดงข้อความหรือบันทึกจากการสำรวจที่ต้องการนำเสนอไว้ในแผนที่ หรืออาจหมายถึงการใช้สัญลักษณ์แสดงข้อมูลในแผนที่เกี่ยวกับทำเลที่ตั้งของทรัพยากรที่มีอยู่บนโลกหรือแสดงระดับรายได้ของมณฑลต่างๆ ในประเทศหนึ่งๆ หรืออาจหมายถึงการทำแผนที่การกระจายของรังมดในหรือจุดตั้งถังขยะในสนามของโรงเรียน ต่างๆ เหล่านี้ก็เป็นได้ทั้งนั้น ดังนั้นนักเรียนนักศึกษาจึงจะต้องเกี่ยวพันกับการทำแผนที่ในฐานะที่เป็นกิจกรรมพื้นฐาน พวกเขา/เธอควรที่จะมีทักษะในการแปลความหมายและสร้างสรรค์สัญลักษณ์ในแผนที่ การค้นหาทำเลที่ตั้งบนแผนที่ที่ใช้ระบบอ้างอิงเชิงพื้นที่ที่หลากหลาย การจัดวางแผนที่และการกำหนดทิศทางที่เหมาะสม การใช้ขนาดและมาตราส่วนเพื่อกำหนดระยะทางในแผนที่ และการคิดเชิงแย้งเกี่ยวกับสารสนเทศที่ปรากฎอยู่ในแผนที่
4. การวิเคราะห์สารสนเทศภูมิศาสตร์
การวิเคราะห์สารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นการค้นหารูปแบบ ความสัมพันธ์ และความเชื่อมโยงที่เกิดขึ้นของปรากฏการณ์ต่างๆ เมื่อได้มีการวิเคราะห์และแปลความหมายสารสนเทศแล้ว รูปแบบหรือกระบวนการบางอย่างก็จะผุดขึ้นมาให้เห็น จากนั้นนักเรียนนักศึกษาก็ทำการสังเคราะห์ผลจากการการสังเกตของตัวเองให้เข้ากับระบบการบรรยายของตน ในขั้นตอนนี้อาจจะทำการบันทึกเกี่ยวกับความสัมพันธ์สอดคล้องกันและลักษณะที่คล้ายกันระหว่างพื้นที่ มีการพิจารณารูปแบบด้วยการเปรียบเทียบกับข้อมูลจากแผนที่ กราฟ แผนภาพ ตาราง และอื่นๆ ด้วยการใช้สถิติอย่างง่ายๆ นักเรียนนักศึกษาสามารถระบุถึงแนวโน้ม ความสัมพันธ์ และความต่อเนื่องของปรากฏการณ์ได้
การวิเคราะห์ทางภูมิศาสตร์เกี่ยวพันกับกิจกรรมต่างๆ หลากหลาย มีบางครั้งที่เกิดความยุ่งยากที่จะแบ่งแยกกระบวนการที่จะใช้ในการจัดการสารสนเทศภูมิศาสตร์ออกจากขั้นตอนที่ใช้ในการวิเคราะห์ กระบวนการทั้งสองดังกล่าวคงเกิดขึ้นกับหลายๆ กรณี แต่ในบางสถานการณ์ การวิเคราะห์ก็ทำไปด้วยความรู้และความเข้าใจแบบง่ายๆ ซึ่งนักเรียนนักศึกษาควรจะตรวจสอบและพินิจพิเคราะห์แผนที่เพื่อค้นหาและเปรียบเทียบรูปแบบและความสัมพันธ์ทางพื้นที่ ศึกษาตารางและกราฟเพื่อกำหนดแนวโน้มและความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นต่างๆ ตรวจสอบข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติเพื่อระบุชี้แนวโน้ม ความต่อเนื่อง สหสัมพันธ์ และความสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ ศึกษาจากเอกสารตำราเพื่อแปลความหมาย อธิบาย และสังเคราะห์คุณลักษณะของแต่ละสิ่งที่สนใจ ด้วยกระบวนการวิเคราะห์นี้จะทำให้ได้คำตอบสำหรับคำถามมาเป็นลำดับแรก จากนั้นจะนำไปสู่การพัฒนาแบบจำลองและคำอธิบายที่เป็นสากลทางภูมิศาสตร์ (GMG: Geographic Models and Generalizations) ที่กล่าวมาทั้งหมดตรงนี้ คือ ทักษะในการวิเคราะห์ที่นักเรียนนักศึกาทุกคนจำเป็นจะต้องพัฒนาขึ้นมาในตัวเองให้ได้
5. การตอบคำถามทางด้านภูมิศาสตร์
เป้าหมายสูงสุดของการแสวงหารู้ทางภูมิศาสตร์ จะประสบผลสำเร็จไปสู่การพัฒนาคำอธิบายที่เป็นสากลและการสรุปบนฐานข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมมา มีการจัดการและการวิเคราะห์เป็นขั้นตอน ทักษะทั้งหลายที่สัมพันธ์กับการตอบคำถามทางภูมิศาสตร์ด้วยรูปแบบการกล่าวอ้างอิงถึงสารสนเทศในลักษณะภาพ (ทั้งที่เป็นแผนที่ ตาราง และกราฟ) ควบคู่ไปกับการบอกกล่าวด้วยวาจาและข้อเขียนต่างๆ ทักษะเหล่านี้เกี่ยวกับเชื่อมโยงกับความสามารถในการแยกแยะคำอธิบายที่เป็นสากล เพื่อประยุกต์ใช้ในระดับท้องถิ่นจนถึงระดับโลก
การสร้างคำอธิบายที่เป็นสากล ถือเป็นเป้าหมายสูงสุดของกระบวนการแสวงหาความรู้ และยังจะช่วยสร้างความเข้าใจในเชิงสัญลักษณ์ได้มากขึ้นด้วย การพัฒนาเพื่อสร้างคำอธิบายที่เป็นสากลนั้น ต้องการให้นักเรียนนักศึกษาได้ใช้สารสนเทศที่พวกเขา/เธอเก็บรวบรวม จัดการ และวิเคราะห์เพื่อสร้างคำอธิบายทางภูมิศาสตร์ในรูปแบบทั่วไป และบางครั้งพวกเขา/เธออาจจะใช้เหตุการณ์นั้นๆ ไปช่วยในการตัดสินใจ แก้ปัญหา หรือสร้างข้อยืนยันเกี่ยวกับการตอบปัญหา การกำหนดประเด็น หรือการบ่งชี้ความสำคัญของปัญหาต่างๆ ได้
การสร้างคำอธิบายที่เป็นสากลทางภูมิศาสตร์ สามารถสร้างขึ้นมาด้วยการใช้วิธีการให้เหตุผลเชิงอุปนัยหรืออนุมานก็ได้ โดยวิธีให้เหตุผลเชิงอุปนัย นักเรียนนักศึกษาจะต้องทำการสังเคราะห์สารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อตอบคำถามและให้ได้ข้อสรุปเฉพาะเรื่องที่กำลังให้ความสนใจอยู่ในขณะนั้น ขณะที่วิธีให้เหตุเชิงอนุมานนั้น พวกเขา/เธอจะต้องระบุชี้ชัดในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับข้อคำถาม สังเกตและประเมินเหตุการณ์ และตัดสินใจหาคำอธิบายที่เป็นสากลที่เหมาะสมด้วยการทดสอบข้อสรุปเหล่านั้นเปรียบเทียบกับโลกที่เป็นจริง ซึ่งนักเรียนนักศึกษาควรที่จะได้รับการฝึกฝนให้มีประสบการณ์ในทั้งสองวิธี
นอกจากนี้นักเรียนนักศึกษายังควรจะต้องมีความสามารถในการสื่อสารที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้เพื่อที่จะตอบปัญหาทางภูมิศาสตร์ ในประเด็นนี้ มีทักษะสำคัญอันหนึ่งที่เชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับการเป็นพลเมืองที่ดี (Good Citizenship) ซึ่งพวกเขา/เธอสามารถพัฒนาความรู้สึกนึกคิดในด้านความรับผิดชอบในฐานะพลเมือง ด้วยการแผ่ขยายคำตอบที่พวกเขา/เธอได้รับจากการศึกษาค้นคว้าออกไปสู่สังคม เพราะพวกเขา/เธอสามารถนำเสนอสารสนเทศภูมิศาสตร์ได้หลายๆ วิธี อย่างเช่น การใช้มัลติมีเดียที่เป็นการผสมผสานเอารูปภาพ แผนที่ กราฟ เชื่อมโยงไปพร้อมๆ กับการนำเสนอเรื่องราวหรือถ้อยแถลงที่เข้าใจได้อย่างเป็นสากล นอกจากนี้ สารสนเทศภูมิศาสตร์ยังสามารถถูกนำเสนอได้ด้วยกวีนิพนธ์ ศิลปะตัดต่อ การละเล่น บทความ และเรียงความ โดยสื่อทุกๆ สื่อที่ถูกเลือกใช้ในการนำเสนอสารสนเทศภูมิศาสตร์ ล้วนแล้วแต่เป็นไปเพื่อให้ได้คำตอบ และการบ่งชี้ประเด็นหรือปัญหาที่จะต้องค้นหาความรู้มาเป็นคำตอบและทำการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจกระจ่างชัดมากขึ้น จึงสรุปได้ว่า การเลือกวิธีที่ดีที่สุดในการตอบคำถามทางภูมิศาสตร์ ถือเป็นทักษะที่สำคัญอย่างยิ่ง
นักเรียนนักศึกษาควรจะต้องเข้าใจว่า ยังคงมีวิธีการที่เป็นทางเลือกอีกหลายๆ วิธี สำหรับการอธิบายและสรุปที่เป็นสากล เพราะมีความรู้ ความจริง และความหมายของสิ่งต่างๆ อยู่หลายประเภทหลายระดับ ครูผู้สอนจึงควรจะกระตุ้นให้นักเรียนนักศึกษาพัฒนาและมีมุมมองหลากหลาย และค้นหาผลลัพธ์ที่หลากหลายหรับปัญหาต่างๆ
จะเห็นได้ว่าทักษะที่ห้านี้ เป็นขั้นตอนท้ายสุดของกระบวนการค้นหาความรู้ทางภูมิศาสตร์ แต่ก็ใช่ว่าทุกอย่างจะสิ้นสุดแค่เพียงแต่การดำเนินการศึกษาตามขั้นตอนนี้เท่านั้น เพราะปัญหาต่างๆ ไม่ได้หยุดนิ่งอยู่กับที่ ข้อสรุปหลายๆ อย่างมีเหตุและปัจจัยอื่นเพิ่มเติมเข้ามา ทำให้คำอธิบายที่เป็นสากลที่เคยอธิบายไว้แต่เดิมไม่ครอบคุลมประเด็นปัญหา มีการทดสอบสมมติฐานใหม่ๆ ด้วยการทบทวนข้อความคำอธิบายที่เคยเป้นสากล คำตอบแต่ละคำตอบ การตัดสินใจแต่ละอย่าง หรือการแก้ปัญหาแต่ละครั้ง เหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดประเด็น มุมมอง และปัญหาใหม่ การศึกษาเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์จึงเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ทรงพลังและท้าทาย
การพัฒนาทักษะสำคัญของภูมิศาสตร์
ถือได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นมากที่นักเรียนนักศึกษาจะต้องพัฒนาทักษะทั้งหลายดังกล่าวมาแล้วข้างต้น เพื่อที่จะทำให้พวกเขา/เธอสามารถทำการสังเกตรูปแบบ ความสัมพันธ์ และระเบียบทางพื้นที่ต่างๆ ได้อย่างเข้าใจ มีทักษะหลายอย่างที่ถูกคาดหวังให้นักเรียนนักศึกษาได้ศึกษาเรียนรู้เพื่อให้นำไปสู่การเลือกใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีอันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการศึกษาหาความรู้ทางภูมิศาสตร์ ซึ่งแผนที่คือเครื่องมือที่จำเป็นของภูมิศาสตร์ เนื่องจากว่าในแผนที่ได้บรรจุเอาสาระต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนพื้นที่ โดยนำแสดงให้ผู้ใช้แผนที่เห็นเป็นภาพที่ง่ายแก่การทำความเข้าใจ กราฟ ภาพร่าง แผนผัง และรูปภาพ ล้วนยังคงทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งในการวิเคราะห์ทางภูมิศาสตร์ ดังจะเห็นได้จากการวิเคราะห์อัตราการเติบโตของพื้นที่เมือง ที่เราสามารถตรวจสอบได้จากการเปรียบเทียบรูปถ่ายเก่าและใหม่ หรือตัวอย่างของการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจากการเปรียบเทียบข้อมูลภาพจากดาวเทียมที่บันทึกในปีที่แตกต่างกัน
เครื่องมือชนิดใหม่ที่มีความสำคัญในการวิเคราะห์ทางภูมิศาสตร์ คือ ฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Database) หรือที่เรียกกันจนติดปากว่า ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS: Geographic Information System) ระบบนี้จะทำให้กระบวนการนำเสนอและวิเคราะห์สารสนเทศภูมิศาสตร์ง่ายขึ้น อันเป็นการเพิ่มความเร็วในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ทางภูมิศาสตร์ ฐานข้อมูลเชิงพื้นที่นี้ สามารถนำไปพัฒนาในห้องเรียนได้ด้วยการใช้กระดาษและดินสอธรรมดาๆ
มีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพหลายอย่างที่นักเรียนนักศึกษาจำเป็นต้องใช้ในการพัฒนาทักษะสำคัญทางภูมิศาสตร์ ซึ่งอยู่ในรูปทักษะทางความคิดเชิงวิกฤติ (Critical Thinking Skills) โดยทักษะที่ว่านี้จะไม่มีการจัดอยู่เป็นหมวดเป็นหมู่ หากแต่จะอยู่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในกระบวนการสร้างความรู้ การอ้างอิง การวิเคราะห์ การยืนยัน การทดสอบสมมติฐาน การสรุปให้เข้าใจอย่างเป็นสากล การทำนาย และการตัดสินใจ สิ่งต่างๆ เหล่านี้สามารถประยุกต์ใช้ได้กับการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ทุกระดับ และสามารถสร้างเป็นทักษะพื้นฐานให้นักเรียนนักศึกษามีศักยภาพในการประยุกต์ใช้ทักษะสำคัญทางภูมิศาสตร์ในการศึกษาหาความรู้ได้เป็นอย่างดี
ทักษะสำคัญทางภูมิศาสตร์ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ สามารถจัดให้เข้าไปอยู่ในหลักสูตรของแต่ชั้นปีการศึกษาได้ ซึ่งครูผู้สอนและผู้พัฒนาหลักสูตรจำเป็นจะต้องพินิจพิจารณาจัดวางให้เหมาะสมและเป็นลำดับขั้นตอน ให้นักเรียนนักศึกษาเรียนรู้และเก็บทักษะไว้กับตัวเอง และเสริมสร้างในส่วนที่เป็นการประยุกต์ให้สามารถเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
ประโยชน์ที่เกิดจากการเรียนรู้ภูมิศาสตร์อย่างเป็นระบบ
มีผลลัพธ์อะไรบ้างที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ หากว่าเยาวชนของเราได้รับการสอนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้พวกเขา/เธอมีมุมมอง มีสารสนเทศ มีแนวความคิด และมีทักษะสำคัญทางภูมิศาสตร์ ข้อความต่อไปนี้คือคำตอบ
ประการแรกสุด นักเรียนนักศึกษาจะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับที่ตั้งสมบูรณ์และที่ตั้งสัมพันธ์ ว่าเป็นประเด็นสาระที่สำคัญอย่างยิ่งในการอธิบายลักษณะทางกายภาพและมนุษย์ทุกๆ อย่างที่ปรากฏบนพื้นผิวโลก ตัวอย่างเช่น การมีความรู้ถึงทำเลที่ตั้งสมบูรณ์ของประเทศอัฟานิสถาน และที่ตั้งสัมพันธ์ของประเทศนี้ที่ชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมของรัสเซียอาศัยอยู่ ซึ่งจะช่วยในเกิดความเข้าใจเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันของประเทศนี้
ประการที่สอง นักเรียนนักศึกษาจะมีความสามารถในการกำหนดความสำคัญของสถานที่ต่างๆ ในบริบทที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพและมนุษย์ รวมถึงการสร้างความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของสถานนี้นั้นๆ เมื่อเวลาผ่านไป ตัวอย่างเช่น นักเรียนจะสามารถระบุชี้ชัดว่าปัจจัยทางธรรมชาติและมนุษย์อะไรบ้างที่ทำให้มหานครนิวยอร์กเติบโตขึ้นมาจนกลายเป็นศูนย์กลางของโลก และสามารถอธิบายได้ว่า มหานครแห่งนี้จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างไรเมื่อเวลาผ่านไป
ประการที่สาม นักเรียนนักศึกษาจะมีความตระหนักรู้ว่า ประชาชนอาศัยอยู่กันอย่างไร ปรับปรุงเพิ่มเติมในพื้นที่นั้นๆ กันอย่างไร และปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพและมนุษย์กันอย่างไร ตัวอย่างเช่น นักเรียนนักศึกษาจะรู้ซึ้งว่าป่าฝนในที่ต่างๆ นั้นถูกใช้สำหรับเป็นแหล่งล่าสัตว์และเก็บของป่า ใช้เพื่อทำการเกษตรไร่เลื่อนลอย ใช้เพื่อกิจการป่าไม้ และใช้เพื่อการเกษตรขนาดใหญ่
ประการที่สี่ นักเรียนนักศึกษาจะได้ทำการไตร่สวนว่า สถานที่ต่างๆ นั้นมีการพึ่งพิงกันและกันอย่างไรบ้าง ตัวอย่างเช่น นักเรียนนักศึกษาจะสามารถตรวจสอบการพึ่งพิงกันของประเทศญี่ปุ่นกับสหรัฐอเมริกา และเกิดความคิดอะไรบางอย่างที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตปรกติของครอบครัวชาวอเมริกันและชาวญี่ปุ่น
ประการที่ห้า นักเรียนนักศึกษาจะต้องได้เรียนรู้ถึงการใช้แนวความคิดด้านภูมิภาคเพื่อสร้างถ้อยแถลงทั่วไปเกี่ยวกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น นักเรียนนักศึกษาจะสามารถบ่งชี้พื้นที่ต่างๆ บนโลกใบนี้ได้ว่า มีบริเวณใดบ้างที่ประชาชนตัดไม้จากป่าเพื่อเป็นเชื้อเพลิงหลักสำหรับการดำรงชีวิต พวกเขาและเธอจะสามารถอธิบายและประเมินสภาพแวดล้อมทางกายภาพและมนุษย์ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของโลก รวมถึงสามารถแสดงความสัมพันธ์ของพวกเขาและเธอเองที่มีต่อการตัดไม้ทำลายป่าไม้เหล่านั้น
การมุ่งเข้าไปหาความสำเร็จทั้งหมดตามเป้าหมายที่กล่าวมานี้ นักเรียนนักศึกษาจะต้องมีทักษะและความสามารถในการใช้แผนที่ทั้งหลายเพื่อสร้างและตอบข้อคำถามเกี่ยวกับความสำคัญของประเด็นต่างๆ อย่างเช่น พวกเขาและเธอจะสามารถพินิจพิเคราะห์แผนที่ให้เห็นสารสนเทศเกี่ยวกับประชากร การใช้ประโยชน์ที่ดิน รูปลักษณ์สัณฐานภูมิประเทศ และการเปาะปลูกที่เกิดขึ้นอย่างน่าพิศวงในภูมิภาคที่แห้งแล้งอย่างยิ่งในอัฟริกา
วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ระบบนิเวศของทะเลใต้
ปัจจัยทางกายภาพและห่วงโซ่อาหารของแอนตาร์คติกา
ระบบนิเวศของแอนตาร์คติกาได้รับอิทธิพลอย่างมากจากปัจจัยทางกายภาพ อันได้แก่ อากาศและภูมิอากาศ น้ำแข็ง และกระแสน้ำ ในมหาสมุทรแอนตาร์คติกานั้น เมื่อน้ำแข็งขยายตัวครอบคุลมพื้นที่กว้างขึ้น จะส่งผลกระทบต่อการแข่งขันในระบบนิเวศของฟีโตแพลงค์ตอน (Phytoplankton) ชนิดต่างๆ ที่เป็นผู้ผลิตชั้นต้นในระบบนิเวศ ผลลัพธ์จากการแข่งขันดังกล่าวส่งผลต่อเนื่องไปถึงการแข่งขันระหว่างชนิดพันธุ์ของซูแพลงค์ตอน (Zooplankton) ที่เป็นผู้บริโภคชั้นต้นในระบบนิเวศ บางปีช่วงหน้าหนาวจะหนาวเย็นกว่าบางปี นั่นจะทำให้แผ่นน้ำแข็งปกคลุมหนาขึ้นๆ หน้าหนาวของปีที่หนาวเย็นนั้นเองที่จะทำให้ฟีโตแพลงค์ตอนจำพวกไดอะตอมส์ (Diatoms) เจริญเติบโตได้ดี ซึ่งไดอะตอมส์นี่เองที่เป็นอาหารอันโอชะที่ตัวเคย (Krill) ชอบนักชอบหนา และตัวกริลนี้ก็จะทำหน้าที่เป็นอาหารให้กับสัตว์ชนิดอื่นๆ อีกหลายชนิดในสายใยอาหารของมหาสมุทรแห่งนี้ เมื่อหน้าหนาวมีความหนาวเย็นมากกว่าปรกติ ในมหาสมุทรก็จะมีน้ำแข็งปกคลุมมากตามไปด้วย ทำให้ทุกๆ กลุ่มในสายใยอาหารทำหน้าที่ในระบบนิเวศได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากมีพลังงานจากอาหารถูกส่งผ่านจากระดับการป้อนต่ำกว่าไปยังระดับการป้อน (Trophic Levels) ที่สูงกว่า
หากสถานการณ์ตรงข้าม หน้าหนาวไม่หนาวเย็นมากนัก น้ำแข็งส่วนใหญ่ละลายไปกับกระแสน้ำ และชนิดพันธุ์ต่างๆ ของฟีโตแพลงค์ตอนก็จะได้รับประโยชน์ ทำให้สามารถขยายพันธุ์ได้เป็นจำนวนมาก
ฤดูหนาวที่อุ่นกว่าเป็นที่โปรดปรานของฟีโตแพลงค์ตอนขนาดเล็กจำพวกไครปโตไฟตส์ (Cryptophytes) โชคไม่ค่อยดีนัก ที่สิ่งเหล่านี้ไปถูกบริโภคจากตัวเคย ทำให้พลังงานอาหารจากไครปโตไฟตส์ถูกส่งผ่านเข้าไปในสายใยอาหาร ประชาชนของไครปโตไฟตส์จึงเพิ่มจำนวนขึ้นมหาศาล ขณะที่ไดอตอมกลับตรงกันข้าม เพราะทั้งของชนิดพันธุ์เป็นคู่แข่งกันในการหาอาหาร เมื่อไดอตอมมีจำนวนน้อยก็หมายความอาหารของตัวเคยก็น้อยลงไปด้วย ทำให้ตัวเคยที่เป็นอาหารของสัตว์มีกระดูกสันหลังก็มีจำนวนน้อยลง ผลกระทบจึงตกมาอยู่กับสัตว์ผู้ล่าชั้นสูง
ในช่วงห้าสิบปีที่ผ่านมา ความหนาวเย็นที่มีผลอย่างมากต่อพัฒนาการของน้ำแข็งในมหาสมุทรแผ่วลงๆ ทำให้ประชากรกริลลดลงอย่างมาก ปรากฎการณ์นี้พบเห็นได้ไม่ยากเลยในแอนตาร์คติกา เป็นปรากฎการณ์ที่สายใยอาหารได้รับผลกระทบจากปัจจัยด้านภูมิอากาศ
นักวิทยาศาสตร์หลายคนไม่ยอมรับว่าแนวโน้มความร้อนบนโลกของเราในช่วง 50 ปีที่ผ่านมานั้น เป็นส่วนหนึ่งของวัฎจักรที่เกิดขึ้นเป็นระยะยาวของความร้อนและความเย็นของโลก หรือว่าเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ในศตวรรษปัจจุบันนี้มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงจากซากบรรพชีวิน (Fossil Fuels) เพิ่มมากขึ้นๆ ซึ่งทำให้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเพิ่มมากตามไปด้วย และก็เป็นที่รู้กันว่า ก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์นี้เองที่เป็นต้นเหตุสำคัญของการเกิดภาวะโลกร้อน หากแนวโน้มความร้อนที่มีการเก็บข้อมูลเอาไว้ได้รับการยืนยันว่า เป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบของภูมิอากาศบนโลก ความต่อเนื่องต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นก็จะส่งสัญญาณอันตรายไม่เฉพาะแต่ทวีปแอนตาร์คติกาเท่านั้น แต่จะส่งผลต่อโลกทั้งใบเลยทีเดียว
โครงสร้างทะเลแนวดิ่งและฟีโตแพลงค์ตอน
โครงสร้างแนวดิ่งของมหาสมุทรถูกกำหนดด้วยความหนาแน่นของน้ำ ซึ่งถูกกำหนดด้วยอุณหภูมิและความเค็มอีกชั้นหนึ่ง
• ความเค็ม คือ การสะสมตัวของเกลือที่ละลายน้ำอยู่
• หากเกลือสะสมอยู่มาก ความหนาแน่นของน้ำจะสูงตาม
• น้ำที่เย็นมากๆ ก็จะมีความหนาแน่นมากด้วย
ดังนั้น น้ำเย็นที่เค็มจะมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำจืดที่อุ่น ก็จะมุดจมลงไปอยู่ก้นสมุทร ขณะที่น้ำอุ่นจะผุดขึ้นมาอยู่ด้านบน การกระจายของน้ำทั้งสองแบบนี้เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ในมหาสมุทร จนกลายเป็นย่านความหนาแน่นของน้ำที่ต่างกัน
ฟีโตแพลงค์ตอนจำเป็นต้องใช้แสงและธาตุอาหารในการเติบโตและสืบพันธุ์ ปัญหาหนึ่งที่พบเนื่องจากแหล่งแสงมาจากด้านบน แหล่งธาตุอาหารมาจากด้านล่าง การสังเคราะห์แสงจะเกิดขึ้นไปเฉพาะย่านที่เรียกว่ายูโฟติก (Euphotic Zone) การเคลื่อนไหวแบบปั่นป่วนของน้ำที่เกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เป็นต้นว่าแรงลมที่ผิวหน้าน้ำทะเล หรือคลื่นใต้น้ำ เหล่านี้ทำให้เกิดการผสมปนเปกันของน้ำที่อยู่ในแต่ละระดับ ด้วยการผสมกันนี้ทำให้ธาตุอาหารจากน้ำชั้นล่างถูกดันขึ้นมาอยู่ในย่านยูโฟติก ที่ที่ฟีโตแพลงค์ตอนสามารถใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์และคลอโรฟิลล์เพื่อการเติบโตและสืบพันธุ์ได้เป็นอย่างดี
เมื่อลมยังคงพัดแรงอย่างต่อเนื่องลงไปข้างล่าง การปั่นป่วนจะถูกกระทำโดยคลื่น ทำให้ชั้นน้ำที่มีการผสมกันนั้นลึกลงไปยิ่งขึ้น ณ จุดล่างสุดของชั้นน้ำที่มีการผสมกันอยู่นี้จะมีการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้น เรียกว่า ปิคโนไคลน์ (Pycnocline) ซึ่งจะมีการแบ่งชั้นน้ำทะเลออกเป็นสองส่วนตรงนี้ น้ำที่มีน้ำหนักเบาของชั้นน้ำที่ผสมกันจะอยู่ด้านบนเหนือน้ำที่มีความหนาแน่นมากกว่า ปิคโนไคลน์นี้มีความสำคัญมากต่อฟีโตแพลงค์ตอนและการผลิตขั้นปฐมภูมิ เนื่องจากจะช่วยเก็บรักษาธาตุอาหารและส่งเข้าไปสู่ชั้นที่มีน้ำทะเลผสมกันอยู่ ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของฟีโตแพลงค์ตอน ระหว่างฤดูหนาวของแอนตาร์คติกา ผิวน้ำทะเลที่เย็นมากๆ จะมุดตัวลึกลงไป และกระแสลมจะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการปั่นป่วนที่ว่านี้
เหตุการณ์ทั้งสองอย่างเกิดขึ้นร่วมกันที่ชั้นที่มีน้ำทะเลผสมกันอยู่ในที่ลึก การปั่นป่วนลึกลงไปอีก นั่นทำให้มีการดึงธาตุอาหารต่างๆ ให้ขึ้นมาอยู่ที่ย่านยูโฟติก ในเวลาเดียวกัน ฟีโตแพลงค์ตอนที่อยู่ในน้ำชั้นบนก็จะถูกผลักให้เคลื่อนตัวลงมาจากย่านยูโฟติก
เมื่อฤดูหนาวสิ้นสุดลง กระบวนการต่างๆ เหล่านี้จะย้อนกลับกันกับที่กล่าวมา โดยผิวหน้าของน้ำทะเลจะกลายเป็นน้ำอุ่น ชั้นที่มีน้ำทะเลผสมกันอยู่จะอยู่ที่ระดับตื้นกว่าเดิม ฟีโตแพลงค์ตอนจะถูกจับตรึงไว้เป็นเวลานานในย่านยูโฟติคด้วยธาตุอาหารอันอุดมสมบูรณ์ที่ยกตัวกลับขึ้นมาด้านบน การเพิ่มขึ้นของแสงและความอบอุ่น ทำให้ธาตุอาหารอุดมขึ้น ส่งผลสืบเนื่องต่อให้เกิดสปริงบลูม (Spring Bloom) และฟีโตแพลงค์ตอนเติบโตขึ้นจนถึงขีดสุด
ห่วงโซ่อาหารของทะเลแอนตาร์คติกา
ฟีโตแพลงค์ตอนและซูแพลงค์ตอน สำหรับฟีโตแพลงค์ตอนเป็นผู้ผลิตปฐมภูมิในสายใยอาหารของทะเลแอนตาร์คติกา พวกมันจัดสรรอาหารให้กับสัตว์ทุกระดับชั้นในลำดับขั้นอาหาร จากชั้นซูแพลงค์ตอนบางๆ อย่างตัวเคย ไปสู่ชั้นอาหารที่มีพื้นที่กว้างที่สุดของปลาวาฬสีน้ำเงิน ในฤดูหนาวที่ไม่ค่อยมีฟีโตแพลงค์ตอน ตัวเคยจะหากินพวกสาหร่ายน้ำแข็ง (Ice Algae) ที่อยู่ด้านล่างของก้อนน้ำแข็งในทะเล ผู้เลี้ยงดูอย่างซูแพลงค์ตอนและปลาบางชนิดจะทำหน้าที่เป็นผู้บริโภคขั้นต้นในสายใยอาหาร ซูแพลงค์ตอนอย่างเช่นตัวเคย จะถูกจับกินโดยปลา นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางอย่าง ตัวเคยเป็นสัตว์คล้ายๆ กุ้งตัวเล็กๆ ขนาดยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ตัวเคยจำนวนมากเกิดขึ้นในแอนตาร์คติกา ประมาณว่าระบบชีวมวลที่นี่มีจำนวนมากกว่าประชากรมนุษย์ทั้งโลกนี่เสียอีก ตัวเคยเป็นชนิดพันธุ์สำคัญที่เป็นกลไกกลางของสายไยอาหารในระบบนิเวศทางทะเลของแอนตาร์คติกา เนื่องจากสัตว์ที่มีชั้นอาหารสูงกว่าทั้งหมดต้องอาหารตัวเคยเป็นอาหาร อย่างปลาวาฬบาลีนที่อาศัยตัวเคยเป็นอาหาร ตอนนี้กำลังมีปัญหาถูกรบกวนอย่างหนักจากการลดจำนวนลงของตัวเคย เพราะตัวเคยมีปริมาณโปรตีนสูงมาก จึงถูกมนุษย์จับเพื่อการค้ามากขึ้นๆ ทุกวัน
ปลาหมึกและปลาตัวเล็ก เช่นเดียวกับปลาวาฬที่ทั้งปลาหมึกและปลาตัวน้อย ที่ได้อาศัยตัวเคย (Krill) เป็นอาหารโดยตรง ในทะเลทั้งหมดของแอนตาร์คติกาประมาณกันว่ามีปลาหมึกอยู่ราวๆ 100 ล้านตัน ซึ่งจำนวนนี้ 1/3 ของพวกมันถูกปลาวาฬ แมวน้ำ และนกทะเล จับเป็นอาหาร นอกจากนี้ปลาหมึกยังถูกจับเพื่อการค้าด้วย
ปลา ในทะเลโดยรอบทวีปแอนตาร์คติกานี้ มีปลาอยู่ประมาณ 120-200 ชนิดพันธุ์ ปลาส่วนใหญ่ที่นี่กินตัวเคยและสัตว์ตัวน้อยอื่นๆ เป็นอาหาร ทุกชนิดพันธุ์ของปลามีการปรับตัวให้สามารถอยู่ได้ในน้ำที่หนาวเย็น การปรับตัวดังกล่าวทำได้ด้วยการลดอัตราของเมตตาบอลิซึม และลดขนาดของโมเลกุลกลีโคเปปไทด์ (Glycopeptides) ของของเหลวในร่างกายลง โมเลกุลเหล่านี้จะทำหน้าที่ต่อต้านการแข็งตัวของของเหลวในร่างกายเมื่ออุณหภูมิลดลงมากจนถึงจุดเยือกแข็ง
เพนกวิน ทั่วโลกเรานี้มีเพนกวินอยู่ทั้งหมด 17 สายพันธุ์ เฉพาะที่ทวีปแอนตาร์คติกามีเพนกวินอยู่ 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วย อาดีลีย์ (Adelie Penguin) เอมเพอเรอร์ (Emperor Penguin) ชินสแทรป (Chinstrap Penguin) และเจนตู (Gentoo Penguin) ในจำนวนนี้เพนกวินเอมเพอเรอร์ ที่เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด เป็นสายพันธุ์เดียวเท่านั้นที่ผูกพันอยู่อย่างแน่นแฟ้นกับน้ำแข็งเพื่อผสมพันธุ์และเพาะเลี้ยงอย่างฟูมฟักลูกน้อยของพวกมัน เพนกวินจับตัวเคยและปลาเป็นอาหาร ในทางกลับกันพวกมันยังทำหน้าที่เป็นอาหารให้กับแมวน้ำและปลาวาฬเพชฌฆาต รวมทั้งนกทะเลด้วย
แมวน้ำ มีแมวน้ำอาศัยอยู่ที่นี่ 4 สายพันธุ์ คือ เวดเดลล์ (Weddell Seal) แครบบีเอเตอร์ (Crabeater Seal) ลีโอปาร์ด (Leopard Seal) และ โรสส์ (Ross Seal) โดยแมวน้ำเวดเดลล์นั้นกินปลาหมึกและปลาเป็นอาหาร ขณะที่แมวน้ำแครบบีเอเตอร์ที่เป็นสายพันธุ์ที่มีจำนวนมากที่สุดในโลก แมวน้ำสายพันธุ์นี้กินตัวเคยเป็นอาหาร โดยที่ตัวมันเองเป็นอาหารอันโอชะของปลาวาฬเพชฌฆาต สำหรับแมวน้ำลีโอปาร์ดสายพันธุ์นี้เป็นศัตรูที่ร้ายกาจของเพนกวิน รวมถึงแมวน้ำตัวน้อยๆ ด้วยอีกทั้งมันยังขอบกินตัวเคย ปลาหมึก และปลาด้วย สุดท้ายคือแมวน้ำโรสส์ที่ดูเหมือนว่าจะมีจำนวนไม่มากนัก พวกมันอาศัยปลาหมึกและปลาเป็นอาหาร
นกทะเล ประกอบด้วย นกปีกใหญ่ (Skuas) นกหิมะ (Snow Petrels) และนกอื่นๆ ทั้งนี้นกปีกใหญ่เป็นทั้งผู้ล่าและผู้กินซาก พวกมันมีชีวิตอยู่ได้ด้วยการกินซากสัตว์ทั้งหลายและไข่ของสัตว์อื่น สิ่งที่มันชื่นชอบมากที่สุดดูเหมือนว่าจะเป็นลูกเพนกวินตัวน้อยๆ นกปีกใหญ่จะเพียรพยายามกวนใจฝูงเพนกวินเพื่อแยกลูกน้อยออกมาจากฝูง แล้วมันก็จะฉีกพุงควักไส้เพนกวินน้อยออกมากินอย่างรวดเร็วด้วยจะงอยปากที่คมและเป็นรูปตะขอ ส่วนนกหิมะจะกินซูแพลงค์ตอนในโปลินยาส (Polynyas) และบางครั้งก็จะกินอาหารที่นกเพนกวินสำรอกออกมา สำหรับนกประเภทอื่นๆ ที่บินมาเยือนแอนตาร์คติกาบ่อยๆ ส่วนใหญ่กินตัวเคย ปลา และปลาหมึกเป็นอาหาร
ปลาวาฬ มีปลาวาฬอยู่ในทะเลรอบๆ ทวีปแอนตาร์คติกอยู่ 4 สายพันธุ์ คือ ปลาวาฬออร์กาส์ (Orgas Whales) ปลาวาฬสเปอร์ม (Sperm Whales) ปลาวาฬมิงเก (Minke Whales) และปลาวาฬสีน้ำเงิน (Blue Whales) ซึ่งปลาวาฬออร์กาส์กินเพนกวิน แมวน้ำ และปลา ทั้งสามอย่างนี้ที่อยู่บริเวณผิวน้ำเป็นอาหาร อย่างไรก็ดีเป็นที่ทราบทั่วกันว่า ปลาวาฬสายพันธุ์นี้ คือ ปลาวาฬเพชฌฆาต ที่มักโจมตีปลาวาฬสายพันธุ์อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาวาฬสเปอร์ม ตามตำแหน่งในสายใยอาหาร ปลาวาฬออร์กาส์อยู่ในตำแหน่งที่สูงมาก กล่าวคือ ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดในระบบนิเวศนี้ที่มาเป็นผู้ล่าปลาวาฬออร์กาส์ จะมีก้แต่เพียงมนุษย์ที่มาจากภายนอกเท่านั้น ส่วนปลาวาฬสเปอร์มกินปลาและปลาหมึกที่อยู่ในน้ำลึกเป็นอาหาร ปลาวาฬมิงเกที่จัดอยู่ในสายพันธุ์เดียวกับปลาวาฬบาลีน (Baleen Whales) ซึ่งมีขนาดเล็กที่สุด พวกมันกินตัวเคยเป็นอาหาร แต่พวกมันกำลังถูกรุกรานอย่างหนักจากนักล่าปลาวาฬชาวญี่ปุ่นและนอรเวย์ ทั้งหมดด้วยข้ออ้างว่าเป็นไปตามเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์ และปลาวาฬสีน้ำเงินที่ถือกันว่าเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก พวกมันกินตัวเคยเป็นอาหาร และเช่นเดียวกับปลาวาฬสเปอร์มที่มันถูกล่าโดยปลาวาฬเพชฌฆาต
สรุป
ในทวีปแอนตาร์คติกานั้น สิ่งมีชีวิตและส่วนอื่นๆ ที่สัมพันธ์กันในสายใยอาหารนั้น ล้วนแล้วแต่ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากสภาพแวดล้อมทางกายภาพ รวมถึงปัจจัยอื่น เช่น การปกคลุมของน้ำแข็ง กระแสน้ำ ลม อุณหภูมิ และสภาวะของอากาศและภูมิอากาศ
ห่วงโซ่อาหารในแอนตาร์คติกนั้นมีความสัมพันธ์กัน ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตหลายชนิดในลำดับขั้นการบริโภคอันน้อยนิด ผู้ผลิตขั้นปฐมภูมิของห่วงโซ่อาหารในแอนตาร์คติกคือแพลงตอนพืช และผู้บริโภคขั้นปฐมภูมิคือแพลงตอนสัตว์ สิ่งมีชีวิตที่เป็นแพลงตอนสัตว์ก็คือตัวเคย ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่สัตว์ชนิดอื่นต้องพึ่งพาทั้งโดยตรงและโดยอ้อม
ในทวีปแอนตาร์คติกานั้นห่วงโซ่อาหารทางทะเลประกอบด้วย แพลงตอนพืช แพลงตอนสัตว์ และผู้บริโภคขั้นทุติยภูมิและขั้นตติยภูมิ และผู้ล่าเป็นจำนวนมาก สัตว์ที่อยู่ในลำดับขั้นการบริโภคขั้นสูงนั้นมีทั้ง ปลา เพนกวิน นกชนิดต่างๆ และวาฬ
ระบบนิเวศของแอนตาร์คติกาได้รับอิทธิพลอย่างมากจากปัจจัยทางกายภาพ อันได้แก่ อากาศและภูมิอากาศ น้ำแข็ง และกระแสน้ำ ในมหาสมุทรแอนตาร์คติกานั้น เมื่อน้ำแข็งขยายตัวครอบคุลมพื้นที่กว้างขึ้น จะส่งผลกระทบต่อการแข่งขันในระบบนิเวศของฟีโตแพลงค์ตอน (Phytoplankton) ชนิดต่างๆ ที่เป็นผู้ผลิตชั้นต้นในระบบนิเวศ ผลลัพธ์จากการแข่งขันดังกล่าวส่งผลต่อเนื่องไปถึงการแข่งขันระหว่างชนิดพันธุ์ของซูแพลงค์ตอน (Zooplankton) ที่เป็นผู้บริโภคชั้นต้นในระบบนิเวศ บางปีช่วงหน้าหนาวจะหนาวเย็นกว่าบางปี นั่นจะทำให้แผ่นน้ำแข็งปกคลุมหนาขึ้นๆ หน้าหนาวของปีที่หนาวเย็นนั้นเองที่จะทำให้ฟีโตแพลงค์ตอนจำพวกไดอะตอมส์ (Diatoms) เจริญเติบโตได้ดี ซึ่งไดอะตอมส์นี่เองที่เป็นอาหารอันโอชะที่ตัวเคย (Krill) ชอบนักชอบหนา และตัวกริลนี้ก็จะทำหน้าที่เป็นอาหารให้กับสัตว์ชนิดอื่นๆ อีกหลายชนิดในสายใยอาหารของมหาสมุทรแห่งนี้ เมื่อหน้าหนาวมีความหนาวเย็นมากกว่าปรกติ ในมหาสมุทรก็จะมีน้ำแข็งปกคลุมมากตามไปด้วย ทำให้ทุกๆ กลุ่มในสายใยอาหารทำหน้าที่ในระบบนิเวศได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากมีพลังงานจากอาหารถูกส่งผ่านจากระดับการป้อนต่ำกว่าไปยังระดับการป้อน (Trophic Levels) ที่สูงกว่า
หากสถานการณ์ตรงข้าม หน้าหนาวไม่หนาวเย็นมากนัก น้ำแข็งส่วนใหญ่ละลายไปกับกระแสน้ำ และชนิดพันธุ์ต่างๆ ของฟีโตแพลงค์ตอนก็จะได้รับประโยชน์ ทำให้สามารถขยายพันธุ์ได้เป็นจำนวนมาก
ฤดูหนาวที่อุ่นกว่าเป็นที่โปรดปรานของฟีโตแพลงค์ตอนขนาดเล็กจำพวกไครปโตไฟตส์ (Cryptophytes) โชคไม่ค่อยดีนัก ที่สิ่งเหล่านี้ไปถูกบริโภคจากตัวเคย ทำให้พลังงานอาหารจากไครปโตไฟตส์ถูกส่งผ่านเข้าไปในสายใยอาหาร ประชาชนของไครปโตไฟตส์จึงเพิ่มจำนวนขึ้นมหาศาล ขณะที่ไดอตอมกลับตรงกันข้าม เพราะทั้งของชนิดพันธุ์เป็นคู่แข่งกันในการหาอาหาร เมื่อไดอตอมมีจำนวนน้อยก็หมายความอาหารของตัวเคยก็น้อยลงไปด้วย ทำให้ตัวเคยที่เป็นอาหารของสัตว์มีกระดูกสันหลังก็มีจำนวนน้อยลง ผลกระทบจึงตกมาอยู่กับสัตว์ผู้ล่าชั้นสูง
ในช่วงห้าสิบปีที่ผ่านมา ความหนาวเย็นที่มีผลอย่างมากต่อพัฒนาการของน้ำแข็งในมหาสมุทรแผ่วลงๆ ทำให้ประชากรกริลลดลงอย่างมาก ปรากฎการณ์นี้พบเห็นได้ไม่ยากเลยในแอนตาร์คติกา เป็นปรากฎการณ์ที่สายใยอาหารได้รับผลกระทบจากปัจจัยด้านภูมิอากาศ
นักวิทยาศาสตร์หลายคนไม่ยอมรับว่าแนวโน้มความร้อนบนโลกของเราในช่วง 50 ปีที่ผ่านมานั้น เป็นส่วนหนึ่งของวัฎจักรที่เกิดขึ้นเป็นระยะยาวของความร้อนและความเย็นของโลก หรือว่าเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ในศตวรรษปัจจุบันนี้มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงจากซากบรรพชีวิน (Fossil Fuels) เพิ่มมากขึ้นๆ ซึ่งทำให้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเพิ่มมากตามไปด้วย และก็เป็นที่รู้กันว่า ก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์นี้เองที่เป็นต้นเหตุสำคัญของการเกิดภาวะโลกร้อน หากแนวโน้มความร้อนที่มีการเก็บข้อมูลเอาไว้ได้รับการยืนยันว่า เป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบของภูมิอากาศบนโลก ความต่อเนื่องต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นก็จะส่งสัญญาณอันตรายไม่เฉพาะแต่ทวีปแอนตาร์คติกาเท่านั้น แต่จะส่งผลต่อโลกทั้งใบเลยทีเดียว
โครงสร้างทะเลแนวดิ่งและฟีโตแพลงค์ตอน
โครงสร้างแนวดิ่งของมหาสมุทรถูกกำหนดด้วยความหนาแน่นของน้ำ ซึ่งถูกกำหนดด้วยอุณหภูมิและความเค็มอีกชั้นหนึ่ง
• ความเค็ม คือ การสะสมตัวของเกลือที่ละลายน้ำอยู่
• หากเกลือสะสมอยู่มาก ความหนาแน่นของน้ำจะสูงตาม
• น้ำที่เย็นมากๆ ก็จะมีความหนาแน่นมากด้วย
ดังนั้น น้ำเย็นที่เค็มจะมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำจืดที่อุ่น ก็จะมุดจมลงไปอยู่ก้นสมุทร ขณะที่น้ำอุ่นจะผุดขึ้นมาอยู่ด้านบน การกระจายของน้ำทั้งสองแบบนี้เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ในมหาสมุทร จนกลายเป็นย่านความหนาแน่นของน้ำที่ต่างกัน
ฟีโตแพลงค์ตอนจำเป็นต้องใช้แสงและธาตุอาหารในการเติบโตและสืบพันธุ์ ปัญหาหนึ่งที่พบเนื่องจากแหล่งแสงมาจากด้านบน แหล่งธาตุอาหารมาจากด้านล่าง การสังเคราะห์แสงจะเกิดขึ้นไปเฉพาะย่านที่เรียกว่ายูโฟติก (Euphotic Zone) การเคลื่อนไหวแบบปั่นป่วนของน้ำที่เกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เป็นต้นว่าแรงลมที่ผิวหน้าน้ำทะเล หรือคลื่นใต้น้ำ เหล่านี้ทำให้เกิดการผสมปนเปกันของน้ำที่อยู่ในแต่ละระดับ ด้วยการผสมกันนี้ทำให้ธาตุอาหารจากน้ำชั้นล่างถูกดันขึ้นมาอยู่ในย่านยูโฟติก ที่ที่ฟีโตแพลงค์ตอนสามารถใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์และคลอโรฟิลล์เพื่อการเติบโตและสืบพันธุ์ได้เป็นอย่างดี
เมื่อลมยังคงพัดแรงอย่างต่อเนื่องลงไปข้างล่าง การปั่นป่วนจะถูกกระทำโดยคลื่น ทำให้ชั้นน้ำที่มีการผสมกันนั้นลึกลงไปยิ่งขึ้น ณ จุดล่างสุดของชั้นน้ำที่มีการผสมกันอยู่นี้จะมีการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้น เรียกว่า ปิคโนไคลน์ (Pycnocline) ซึ่งจะมีการแบ่งชั้นน้ำทะเลออกเป็นสองส่วนตรงนี้ น้ำที่มีน้ำหนักเบาของชั้นน้ำที่ผสมกันจะอยู่ด้านบนเหนือน้ำที่มีความหนาแน่นมากกว่า ปิคโนไคลน์นี้มีความสำคัญมากต่อฟีโตแพลงค์ตอนและการผลิตขั้นปฐมภูมิ เนื่องจากจะช่วยเก็บรักษาธาตุอาหารและส่งเข้าไปสู่ชั้นที่มีน้ำทะเลผสมกันอยู่ ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของฟีโตแพลงค์ตอน ระหว่างฤดูหนาวของแอนตาร์คติกา ผิวน้ำทะเลที่เย็นมากๆ จะมุดตัวลึกลงไป และกระแสลมจะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการปั่นป่วนที่ว่านี้
เหตุการณ์ทั้งสองอย่างเกิดขึ้นร่วมกันที่ชั้นที่มีน้ำทะเลผสมกันอยู่ในที่ลึก การปั่นป่วนลึกลงไปอีก นั่นทำให้มีการดึงธาตุอาหารต่างๆ ให้ขึ้นมาอยู่ที่ย่านยูโฟติก ในเวลาเดียวกัน ฟีโตแพลงค์ตอนที่อยู่ในน้ำชั้นบนก็จะถูกผลักให้เคลื่อนตัวลงมาจากย่านยูโฟติก
เมื่อฤดูหนาวสิ้นสุดลง กระบวนการต่างๆ เหล่านี้จะย้อนกลับกันกับที่กล่าวมา โดยผิวหน้าของน้ำทะเลจะกลายเป็นน้ำอุ่น ชั้นที่มีน้ำทะเลผสมกันอยู่จะอยู่ที่ระดับตื้นกว่าเดิม ฟีโตแพลงค์ตอนจะถูกจับตรึงไว้เป็นเวลานานในย่านยูโฟติคด้วยธาตุอาหารอันอุดมสมบูรณ์ที่ยกตัวกลับขึ้นมาด้านบน การเพิ่มขึ้นของแสงและความอบอุ่น ทำให้ธาตุอาหารอุดมขึ้น ส่งผลสืบเนื่องต่อให้เกิดสปริงบลูม (Spring Bloom) และฟีโตแพลงค์ตอนเติบโตขึ้นจนถึงขีดสุด
ห่วงโซ่อาหารของทะเลแอนตาร์คติกา
ฟีโตแพลงค์ตอนและซูแพลงค์ตอน สำหรับฟีโตแพลงค์ตอนเป็นผู้ผลิตปฐมภูมิในสายใยอาหารของทะเลแอนตาร์คติกา พวกมันจัดสรรอาหารให้กับสัตว์ทุกระดับชั้นในลำดับขั้นอาหาร จากชั้นซูแพลงค์ตอนบางๆ อย่างตัวเคย ไปสู่ชั้นอาหารที่มีพื้นที่กว้างที่สุดของปลาวาฬสีน้ำเงิน ในฤดูหนาวที่ไม่ค่อยมีฟีโตแพลงค์ตอน ตัวเคยจะหากินพวกสาหร่ายน้ำแข็ง (Ice Algae) ที่อยู่ด้านล่างของก้อนน้ำแข็งในทะเล ผู้เลี้ยงดูอย่างซูแพลงค์ตอนและปลาบางชนิดจะทำหน้าที่เป็นผู้บริโภคขั้นต้นในสายใยอาหาร ซูแพลงค์ตอนอย่างเช่นตัวเคย จะถูกจับกินโดยปลา นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางอย่าง ตัวเคยเป็นสัตว์คล้ายๆ กุ้งตัวเล็กๆ ขนาดยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ตัวเคยจำนวนมากเกิดขึ้นในแอนตาร์คติกา ประมาณว่าระบบชีวมวลที่นี่มีจำนวนมากกว่าประชากรมนุษย์ทั้งโลกนี่เสียอีก ตัวเคยเป็นชนิดพันธุ์สำคัญที่เป็นกลไกกลางของสายไยอาหารในระบบนิเวศทางทะเลของแอนตาร์คติกา เนื่องจากสัตว์ที่มีชั้นอาหารสูงกว่าทั้งหมดต้องอาหารตัวเคยเป็นอาหาร อย่างปลาวาฬบาลีนที่อาศัยตัวเคยเป็นอาหาร ตอนนี้กำลังมีปัญหาถูกรบกวนอย่างหนักจากการลดจำนวนลงของตัวเคย เพราะตัวเคยมีปริมาณโปรตีนสูงมาก จึงถูกมนุษย์จับเพื่อการค้ามากขึ้นๆ ทุกวัน
ปลาหมึกและปลาตัวเล็ก เช่นเดียวกับปลาวาฬที่ทั้งปลาหมึกและปลาตัวน้อย ที่ได้อาศัยตัวเคย (Krill) เป็นอาหารโดยตรง ในทะเลทั้งหมดของแอนตาร์คติกาประมาณกันว่ามีปลาหมึกอยู่ราวๆ 100 ล้านตัน ซึ่งจำนวนนี้ 1/3 ของพวกมันถูกปลาวาฬ แมวน้ำ และนกทะเล จับเป็นอาหาร นอกจากนี้ปลาหมึกยังถูกจับเพื่อการค้าด้วย
ปลา ในทะเลโดยรอบทวีปแอนตาร์คติกานี้ มีปลาอยู่ประมาณ 120-200 ชนิดพันธุ์ ปลาส่วนใหญ่ที่นี่กินตัวเคยและสัตว์ตัวน้อยอื่นๆ เป็นอาหาร ทุกชนิดพันธุ์ของปลามีการปรับตัวให้สามารถอยู่ได้ในน้ำที่หนาวเย็น การปรับตัวดังกล่าวทำได้ด้วยการลดอัตราของเมตตาบอลิซึม และลดขนาดของโมเลกุลกลีโคเปปไทด์ (Glycopeptides) ของของเหลวในร่างกายลง โมเลกุลเหล่านี้จะทำหน้าที่ต่อต้านการแข็งตัวของของเหลวในร่างกายเมื่ออุณหภูมิลดลงมากจนถึงจุดเยือกแข็ง
เพนกวิน ทั่วโลกเรานี้มีเพนกวินอยู่ทั้งหมด 17 สายพันธุ์ เฉพาะที่ทวีปแอนตาร์คติกามีเพนกวินอยู่ 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วย อาดีลีย์ (Adelie Penguin) เอมเพอเรอร์ (Emperor Penguin) ชินสแทรป (Chinstrap Penguin) และเจนตู (Gentoo Penguin) ในจำนวนนี้เพนกวินเอมเพอเรอร์ ที่เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด เป็นสายพันธุ์เดียวเท่านั้นที่ผูกพันอยู่อย่างแน่นแฟ้นกับน้ำแข็งเพื่อผสมพันธุ์และเพาะเลี้ยงอย่างฟูมฟักลูกน้อยของพวกมัน เพนกวินจับตัวเคยและปลาเป็นอาหาร ในทางกลับกันพวกมันยังทำหน้าที่เป็นอาหารให้กับแมวน้ำและปลาวาฬเพชฌฆาต รวมทั้งนกทะเลด้วย
แมวน้ำ มีแมวน้ำอาศัยอยู่ที่นี่ 4 สายพันธุ์ คือ เวดเดลล์ (Weddell Seal) แครบบีเอเตอร์ (Crabeater Seal) ลีโอปาร์ด (Leopard Seal) และ โรสส์ (Ross Seal) โดยแมวน้ำเวดเดลล์นั้นกินปลาหมึกและปลาเป็นอาหาร ขณะที่แมวน้ำแครบบีเอเตอร์ที่เป็นสายพันธุ์ที่มีจำนวนมากที่สุดในโลก แมวน้ำสายพันธุ์นี้กินตัวเคยเป็นอาหาร โดยที่ตัวมันเองเป็นอาหารอันโอชะของปลาวาฬเพชฌฆาต สำหรับแมวน้ำลีโอปาร์ดสายพันธุ์นี้เป็นศัตรูที่ร้ายกาจของเพนกวิน รวมถึงแมวน้ำตัวน้อยๆ ด้วยอีกทั้งมันยังขอบกินตัวเคย ปลาหมึก และปลาด้วย สุดท้ายคือแมวน้ำโรสส์ที่ดูเหมือนว่าจะมีจำนวนไม่มากนัก พวกมันอาศัยปลาหมึกและปลาเป็นอาหาร
นกทะเล ประกอบด้วย นกปีกใหญ่ (Skuas) นกหิมะ (Snow Petrels) และนกอื่นๆ ทั้งนี้นกปีกใหญ่เป็นทั้งผู้ล่าและผู้กินซาก พวกมันมีชีวิตอยู่ได้ด้วยการกินซากสัตว์ทั้งหลายและไข่ของสัตว์อื่น สิ่งที่มันชื่นชอบมากที่สุดดูเหมือนว่าจะเป็นลูกเพนกวินตัวน้อยๆ นกปีกใหญ่จะเพียรพยายามกวนใจฝูงเพนกวินเพื่อแยกลูกน้อยออกมาจากฝูง แล้วมันก็จะฉีกพุงควักไส้เพนกวินน้อยออกมากินอย่างรวดเร็วด้วยจะงอยปากที่คมและเป็นรูปตะขอ ส่วนนกหิมะจะกินซูแพลงค์ตอนในโปลินยาส (Polynyas) และบางครั้งก็จะกินอาหารที่นกเพนกวินสำรอกออกมา สำหรับนกประเภทอื่นๆ ที่บินมาเยือนแอนตาร์คติกาบ่อยๆ ส่วนใหญ่กินตัวเคย ปลา และปลาหมึกเป็นอาหาร
ปลาวาฬ มีปลาวาฬอยู่ในทะเลรอบๆ ทวีปแอนตาร์คติกอยู่ 4 สายพันธุ์ คือ ปลาวาฬออร์กาส์ (Orgas Whales) ปลาวาฬสเปอร์ม (Sperm Whales) ปลาวาฬมิงเก (Minke Whales) และปลาวาฬสีน้ำเงิน (Blue Whales) ซึ่งปลาวาฬออร์กาส์กินเพนกวิน แมวน้ำ และปลา ทั้งสามอย่างนี้ที่อยู่บริเวณผิวน้ำเป็นอาหาร อย่างไรก็ดีเป็นที่ทราบทั่วกันว่า ปลาวาฬสายพันธุ์นี้ คือ ปลาวาฬเพชฌฆาต ที่มักโจมตีปลาวาฬสายพันธุ์อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาวาฬสเปอร์ม ตามตำแหน่งในสายใยอาหาร ปลาวาฬออร์กาส์อยู่ในตำแหน่งที่สูงมาก กล่าวคือ ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดในระบบนิเวศนี้ที่มาเป็นผู้ล่าปลาวาฬออร์กาส์ จะมีก้แต่เพียงมนุษย์ที่มาจากภายนอกเท่านั้น ส่วนปลาวาฬสเปอร์มกินปลาและปลาหมึกที่อยู่ในน้ำลึกเป็นอาหาร ปลาวาฬมิงเกที่จัดอยู่ในสายพันธุ์เดียวกับปลาวาฬบาลีน (Baleen Whales) ซึ่งมีขนาดเล็กที่สุด พวกมันกินตัวเคยเป็นอาหาร แต่พวกมันกำลังถูกรุกรานอย่างหนักจากนักล่าปลาวาฬชาวญี่ปุ่นและนอรเวย์ ทั้งหมดด้วยข้ออ้างว่าเป็นไปตามเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์ และปลาวาฬสีน้ำเงินที่ถือกันว่าเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก พวกมันกินตัวเคยเป็นอาหาร และเช่นเดียวกับปลาวาฬสเปอร์มที่มันถูกล่าโดยปลาวาฬเพชฌฆาต
สรุป
ในทวีปแอนตาร์คติกานั้น สิ่งมีชีวิตและส่วนอื่นๆ ที่สัมพันธ์กันในสายใยอาหารนั้น ล้วนแล้วแต่ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากสภาพแวดล้อมทางกายภาพ รวมถึงปัจจัยอื่น เช่น การปกคลุมของน้ำแข็ง กระแสน้ำ ลม อุณหภูมิ และสภาวะของอากาศและภูมิอากาศ
ห่วงโซ่อาหารในแอนตาร์คติกนั้นมีความสัมพันธ์กัน ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตหลายชนิดในลำดับขั้นการบริโภคอันน้อยนิด ผู้ผลิตขั้นปฐมภูมิของห่วงโซ่อาหารในแอนตาร์คติกคือแพลงตอนพืช และผู้บริโภคขั้นปฐมภูมิคือแพลงตอนสัตว์ สิ่งมีชีวิตที่เป็นแพลงตอนสัตว์ก็คือตัวเคย ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่สัตว์ชนิดอื่นต้องพึ่งพาทั้งโดยตรงและโดยอ้อม
ในทวีปแอนตาร์คติกานั้นห่วงโซ่อาหารทางทะเลประกอบด้วย แพลงตอนพืช แพลงตอนสัตว์ และผู้บริโภคขั้นทุติยภูมิและขั้นตติยภูมิ และผู้ล่าเป็นจำนวนมาก สัตว์ที่อยู่ในลำดับขั้นการบริโภคขั้นสูงนั้นมีทั้ง ปลา เพนกวิน นกชนิดต่างๆ และวาฬ
วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ทฤษฎีอุปนิสัยของบุคลิกภาพ (Trait Theory of Personality)
ทฤษฎีอุปนิสัยของบุคลิกภาพ (Trait Theory of Personality)
รองศาสตราจารย์พัฒนา ราชวงศ์
Email Address: pathanar@nu.ac.th
ภาควิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ระบบวิธีการศึกษาอุปนิสัยเป็นกรอบทฤษฎีหลักของการศึกษาบุคลิกภาพ โดยทฤษฎีอุปนิสัย (Trait Theory) นี้ระบุว่า ลักษณะเฉพาะของบุคคลมีการผสมผสานของอารมณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน ทั้งนี้ด้วยการพิจารณาว่า เราจะบรรยายบุคลิกภาพของเพื่อผู้ใกล้ชิดกับเราว่าอย่างไรบ้าง มีโอกาสเป็นไปได้ที่เราจะต้องจัดทำรายการแสดงคุณลักษณะส่วนบุคคลเอาไว้เป็นดัชนี อย่างเช่น ไม่ชอบสมาคม เมตตา และสงบนิ่ง นอกจากนี้อุปนิสัยยังสามารถพิจารณาเป็นแนวความคิดเกี่ยวกับลักษณะความมั่นคงสัมพันธ์ (Stable Characteristic) ที่เป็นเหตุให้บุคคลแต่ละคนแสดงพฤติกรรมที่เป็นแบบฉบับของตน
แตกต่างออกไปจากทฤษฎีบุคลิกภาพอื่นๆ อย่างเช่น ทฤษฎีจิตวิทยาวิเคราะห์ หรือทฤษฎีมานุษยวิทยา (Psychoanalytic or Humanistic Theories) ที่วิธีการศึกษาอุปนิสัยเน้นไปที่ความแตกต่างระหว่างบุคคล การประสมและปฏิสัมพันธ์กันของลักษณะต่างๆ เพื่อก่อรูปบุคลิกภาพอันเป็นลักษณะสำคัญของบุคคลแต่ละคน ดังนั้น ทฤษฎีอุปนิสัยเน้นการระบุ/จำแนก และการตรวจวัดบุคลิกลักษณะเฉพาะของบุคคล
ทฤษฎีอุปนิสัยของกอร์ดอน ออลพอร์ต (Gordon Allport’s Trait Theory)
ปี ค.ศ.1936 กอร์ดอน วิลลาร์ด ออลพอร์ต (Gordon Willard Allport) นักจิตวิทยา ค้นพบว่า ในพจนานุกรมภาษาอังกฤษเล่มหนึ่งเดียวนั้น มีคำบรรยายเกี่ยวกับอุปนิสัยมากกว่า 4,000 คำเลยทีเดียว ทั้งนี้เขาได้แบ่งประเภทของอุปนิสัยออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
อุปนิสัยที่สำคัญหรืออุปนิสัยเด่น (Cardinal or Eminent Traits) อุปนิสัยแบบนี้มีความโดดเด่นในมนุษย์ทุกคน บ่อยครั้งยังเป็นตัวบ่งชี้ว่าบุคคลจะเป็นที่รู้จักของคนอื่นภายใต้อุปนิสัยเฉพาะต่างๆ เหล่านี้ จนอาจถูกกล่าวขานหรือเรียกสมญานามตามคุณลักษณะแบบนั้นๆ ออลพอร์ตเสนอว่า อุปนิสัยที่สำคัญนี้ใช่ว่าจะค้นหาจากบุคคลได้ง่ายๆ แต่เหล่านี้ก็จะพัฒนาในระยะต่อมาสำหรับชีวิตของมนุษย์แต่ละคน ใน http://www.novabizz.com/NovaAce/Personality/ อธิบายอุปนิสัยแบบนี้ว่า จะมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมเกือบทุกด้านของบุคคล เป็นลักษณะเด่นที่แสดงออกชัดเจนเหนือพฤติกรรมอื่นๆ ที่ไม่สามารถปิดบังซ่อนเร้นได้ เป็นอุปนิสัยที่มากำหนดอารมณ์ ความรู้สึก และชี้นำวิถีทางชีวิต ควบคุมแรงจูงใจต่างๆ เพื่อให้บุคคลเกิดพลังในการแสดงพฤติกรรมทั้งหมดของบุคคล เช่น สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีความกล้าหาญ เป็นอุปนิสัยที่โดดเด่นที่มีอยู่ในพระองค์ จนเป็นที่ประจักษ์โดยทั่วไป เป็นต้น อุปนิสัยสำคัญนี้ อาจไม่ปรากฏกับทุก ๆ คนก็ได้ แต่ถ้าผู้ใดมีอุปนิสัยสำคัญเพียงลักษณะเดียวที่ควบคุมพฤติกรรมของบุคคลนั้น ก็จะกลายเป็นบุคลิกภาพอ้างอิง (Reference Personality) ที่มักจะใช้เรียกผู้อื่นที่มีลักษณะเหมือนเขา เช่น เรามักจะอ้างอิงคนที่มีความตระหนี่ขี้เหนียว ว่าเหมือนกับไซล็อค หรือผู้ชายที่เจ้าชู้ว่าเป็นขุนแผน เป็นต้น
อุปนิสัยร่วม (Central Traits) เป็นลักษณะทั่วไปที่ก่อตัวขึ้นเป็นพื้นฐานลักษณะบุคลิกภาพ แต่ว่าอุปนิสัยร่วมเหล่านี้ จะไม่ใช่ลักษณะเด่นแบบเดียวกับอุปนิสัยที่สำคัญ หากแต่จะเป็นลักษณะหลักของบุคคลที่จะใช้อธิบายบุคคลแต่ละคน อุปนิสัยเหล่านี้ได้แก่ ความฉลาดหลักแหลม ความซื่อสัตย์สุจริต การประหม่า/ขี้อาย และความวิตกกังวล ใน http://www.novabizz.com/NovaAce/Personality/ อธิบายอุปนิสัยแบบนี้ว่า เป็นกลุ่มของอุปนิสัยของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ที่มีอยู่ภายในตัวบุคคล เป็นอุปนิสัยที่สังเกตได้ง่ายเช่นเดียวกัน เป็นสิ่งที่มั่นคงอยู่ในบุคลิกภาพ แต่อาจแสดงออกมาเพียงเล็กน้อย แต่ก็เป็นคุณลักษณะที่มีความสำคัญในการควบคุมพฤติกรรมของบุคคล เช่น ความทะเยอทะยาน การแข่งขัน ความซื่อสัตย์ การตรงต่อเวลา และความเมตตากรุณา ลักษณะเหล่านี้จะควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในสถานการณ์ต่างๆ อย่างไรก็ตาม เป็นการจะเข้าใจอุปนิสัยนี้ต้องสังเกตมาก เพราะบางอย่างไม่สามารถสังเกตอย่างตรงไปตรงมาจากท่วงทีอากัปกิริยาและการแสดงออกภายนอกได้ ดังนั้น จึงควรคำนึงถึงความถี่ และความเข้มของพฤติกรรมนั้น ในสถานการณ์ต่างๆ อย่างหลากหลายในขณะเดียวกัน
อุปนิสัยทุติยะหรืออุปนิสัยเชิงทัศนคติ (Secondary Traits) เป็นอุปนิสัยที่บางครั้งสัมพันธ์กับทัศนคติหรือความชอบพึงพอใจ และบ่อยครั้งที่ปรากฏอยู่ในสถานการณ์ที่แน่นอนหรือภายใต้บรรยากาศพิเศษ อย่างเช่นบางกรณีอาจทำให้เกิดข้อวิตกกังวลเมื่อมีการพูดคุยอยู่กับคนบางกลุ่ม หรือหุนหันพลันแล่นขณะรอสายโทรศัพท์นานๆ ใน http://www.novabizz.com/NovaAce/Personality/ อธิบายอุปนิสัยแบบนี้ว่า เป็นคุณลักษณะที่อยู่บริเวณรอบนอก (Peripheral) ที่ผลักดันให้บุคคลแสดงออกโดยทั่วไป เป็นลักษณะที่มีอยู่มากในตัวบุคคล ได้แก่ ความสนใจ และปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ เช่น เมื่อบุคคลชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เขาก็มักจะแสดงความคิดเห็นที่ดีที่มีต่อสิ่งนั้นๆ ทำให้เขาเกิดความชอบ และสนใจ หรือเป็นเจตคติซึ่งบางครั้งเรียกอุปนิสัยชนิดนี้ว่า เป็นอุปนิสัยเชิงเจตคติ (Attitudinal Traits)
แบบสอบถามปัจจัยบุคลิกภาพสิบหกประการของคัตเทลล์ (Cattell’s Sixteen Personality Factor Questionnaire)
เรย์มอนด์ เบอร์นาร์ด คัตเทลล์ (Raymond Bernard Cattell) นักทฤษฎีบุคลิกภาพ ได้ทำการลดจำนวนลักษณะบุคลิกภาพจากรายการทั้งหมด 4,000 รายการของออลพอร์ต เหลือเพียง 171 รายการเท่านั้น โดยรายการส่วนใหญ่ที่ถูกตัดออกไปนั้น พิจารณาแล้วเป็นบุคลิกภาพที่ไม่เป็นปรกติ พร้อมนี้ยังได้รวมเอาบุคลิกภาพที่คล้ายกันเข้าด้วยกัน คัตเทลล์ก็ได้จัดกลุ่มอย่างหยาบๆ ให้กับบุคคลให้อยู่ภายใน 171 ลักษณะนี้ จากนั้นจึงใช้วิธีการทางสถิติที่รู้จักกันดี คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) เพื่อระบุถึงความสัมพันธ์อันใกล้ชิดของลักษณะบุคลิกภาพ พร้อมกับลดรายการให้เหลือลักษณะบุคลิกภาพหลักๆ 16 ลักษณะเท่านั้น ตามเหตุผลของคัตเทลล์นี้ ถือได้ว่ารายการทั้งสิบหกลักษณะนี้ เป็นฐานแสดงลักษณะบุคลิกภาพของมนุษย์ทั้งมวล นอกจากนี้คัตเทลล์ยังได้พัฒนาเครื่องมือสำหรับประเมินบุคลิกภาพที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง เรียกว่า แบบสอบถามปัจจัยบุคลิกภาพสิบหกประการ (16PF: Sixteen Personality Factor Questionnaire)
มิติบุคลิกภาพทั้งสามของไอย์เซงก์ (Eysenck’s Three Dimensions of Personality)
ฮานส์ เจอร์เกน ไอย์เซงค์ (Hans Jurgen Eysenck) นักจิตวิทยาอังกฤษ ได้พัฒนาแบบจำลองแสดงลักษณะบุคลิกภาพของบุคคล (Model of Personality) ขึ้นมาตามหลักการทั่วไป 3 ประการ คือ
1. ความสนใจอย่างยิ่งต่อประสบการณ์ภายในของตนเอง/ความสนใจอย่างยิ่งต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อมภายนอก (Introversion/Extroversion) ความสนใจแต่ภายในตัวเองเกี่ยวพันอย่างตรงไปตรงมากับความตั้งใจและใส่ใจอยู่กับแต่ประสบการณ์ภายในของบุคคลหนึ่งๆ ขณะที่ความสนใจต่อสภาพแวดล้อมภายนอกนั้น จะมีความสัมพันธ์กับการมุ่งเน้นไปที่สิ่งที่เกิดขึ้นและเป็นไปของบุคคลอื่น และสภาพแวดล้อมภายนอกอื่นๆ ดังนั้น บุคคลที่มีลักษณะสนใจภายในตัวเองสูงมากๆ จะเป็นคนเงียบขรึมและเก็บเนื้อเก็บตัว ขณะที่บุคคลที่มุ่งสนใจสภาพแวดล้อมภายนอกสูงนั้น จะชอบออกสังคมและเข้ากับคนอื่นได้ง่าย
2. ความเอนเอียงของอารมณ์/ความมั่นคงของอารมณ์ (Neuroticism/Emotional Stability) มิตินี้ตามทฤษฎีอุปนิสัยของไอย์เซงก์ เป็นความสัมพันธ์กันของความรู้สึกหงุดหงิดกับการสงบสติอารมณ์ โดยที่ความเอนเอียงของอารมณ์จะหมายถึงแนวโน้มของแต่ละบุคคลจะกลายไปเป็นคนที่กลัดกลุ้ม อารมณ์เสีย หรือเอาแต่อารมณ์ตัวเองเป็นที่ตั้ง ขณะที่ความมั่นคงของอารมณ์หมายถึงแนวโน้มที่บุคคลจะมีอารมณ์คงที่ แน่นอน และมั่นคง
3.ภาวะโรคจิต (Psychoticism) ภายหลังเมื่อได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับบุคคลที่ต้องทนทุกข์ทรมานอยู่กับอาการป่วยทางจิตแล้ว ไอย์เซงค์จึงได้เพิ่มมิติลักษณะบุคลิกภาพเข้าไปในทฤษฎีของเขาอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเขาเรียกว่าเป็นภาวะโรคจิต ทั้งนี้บุคคลใดที่มีอุปนิสัยแบบนี้สูง ก็เป็นความยุ่งยากที่จะจินตนาการให้เห็นถึงความเป็นจริงใดๆ ได้ เพราะบุคคลเหล่านี้อาจจะต่อต้านสังคม ทำตัวเป็นปรปักษ์กับทุกอย่าง ทำตัวไม่น่าสงสาร และอารมณ์แปรปรวนตลอดเวลา
ทฤษฎีบุคลิกภาพตามปัจจัยห้าประการ (The Five-Factor Theory of Personality)
นักวิจัยด้านลักษณะบุคลิกภาพได้นำเสนอ ห้ามิติพื้นฐานสำหรับอธิบายลักษณะบุคลิกภาพ (Big Five Dimensions of Personality) ซึ่งเป็นลำดับเหตุการณ์ที่มีการนำมาอธิบายอย่างต่อเนื่องกันมามากกว่า 50 ปี เริ่มต้นด้วยงานวิจัยของฟิสเก้ (D. W. Fiske, 1949) และต่อมาก็ได้นำมาขยายความโดยนักวิจัยคนอื่นๆ ได้แก่ นอร์แมน (Norman, 1967) สมิธ (Smith, 1967) โกลด์เบิร์ก (Goldberg, 1981) และแมคแครกับคอสต้า (McCrae & Costa, 1987)
ทฤษฎีของทั้งคัตเทลล์และไอย์เซงค์ มีลักษณะเป็นอัตพิสัยของการวิจัย นักทฤษฎีบางคนเชื่อและยืนยันว่า คัตเทลล์ให้ความสำคัญอย่างมากต่อลักษณะบุคลิกภาพ ขณะที่ไอย์เซงค์ก็เน้นบ้างแต่ไม่มากเท่า ทำให้เกิดทฤษฎีลักษณะบุคลิกภาพใหม่ที่หลายคนอ้างถึงภายใต้ชื่อว่า “ทฤษฎีบุคลิกภาพห้าแบบ” (Big Five Theory) ซึ่งแบบจำลองแสดงลักษณะบุคลิกภาพห้าแบบนี้ ได้นำเสนอลักษณะหลัก 5 แบบที่ปฏิสัมพันธ์กับรูปแบบของลักษณะบุคลิกภาพของมนุษย์ ข้างล่างต่อไปนี้เป็นคำบรรยายลักษณะทั้งห้าแบบง่ายๆ
1. การเข้าสังคม (Extraversion, Sometimes Called Surgency) เป็นลักษณะกว้างๆ ของคนที่ชอบพูดมาก ทรงพลัง และก้าวร้าว บุคคลที่มีอุปนิสัยแบบนี้มักจะมีอะไรตื่นเต้นตลอดเวลา (Excitability) ชอบเข้าสังคม (Sociability) ชอบพูดและพูดได้ทุกเรื่อง (Talkativeness) ชอบเปิดเกมรุก (Assertiveness) และชอบแสดงออกทางอารมณ์ (Emotional Expressiveness)
2. ความเป็นมิตร/ยอมรับกันและกัน (Agreeableness) ลักษณะบุคลิกภาพแบบนี้จะเป็นคนที่มีความไว้เนื้อเชื่อใจ (Trust) มีหลักปฏิบัติที่เห็นแก่ผู้อื่นอยู่เสมอ (Altruism) มีความกรุณา (Kindness) มีความเมตตา (Affection) และมีพฤติกรรมชอบสังคม (Prosocial Behaviors)
3. ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี (Conscientiousness) ลักษณะพื้นฐานของบุคคลที่จัดอยู่ในมิตินี้ คือ เป็นผู้ที่มีระดับการคิดตรึกตรองสูง (Thoughtfulness) เป็นคนที่มีลักษณะเจ้ากี้เจ้าการ รอบคอบ และเจ้าแผนการ มีการควบคุมสิ่งกระตุ้นดี (Good Impulse Control) และมีพฤติกรรมที่มุ่งสู่เป้าหมายเป็นสำคัญ (Goal-Directed Behaviors) บุคคลที่มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีนี้มักจะถูกจัดการและเตรียมจิตใจในรายละเอียดต่างๆ มาเป็นอย่างดี
4. ความเอนเอียงของอารมณ์ (Neuroticism, Sometimes Reversed and Called Emotional Stability) บุคคลที่มีอุปนิสัยแบบนี้จะเป็นผู้มีอารมณ์ไม่มั่นคง (Emotional Instability) มีความกังวลอยู่เสมอ (Anxiety) มีอารมณ์ขุ่นหมองเสมอ (Moodiness) ฉุนเฉียวง่าย (Irritability) และซึมเศร้า (Sadness)
5. ความจริงใจตรงไปตรงมา (Openness to Experience, Sometimes Called Intellect or Intellect/Imagination) เป็นลักษณะของคนที่สามารถให้ความสนใจต่อโลกกว้าง และสามารถมองทะลุ/เข้าใจอะไรได้ง่ายๆ เป็นคนมีจินตนาการและมองทะลุในสิ่งที่สนใจ (Imagination and Insight) และมีความสนใจหลายหลาก (Broad Range of Interests)
จะเห็นได้ว่า มิติที่กล่าวมานี้เป็นภาพรวมของลักษณะบุคลิกภาพ งานวิจัยหลายฉบับได้แสดงให้เห็นถึงการจัดกลุ่มลักษณะของบุคคลที่นำไปสู่การมีลักษณะอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกันตามมา ตัวอย่างเช่น บุคคลที่ชอบเข้าสังคมก็มีแนวโน้มว่าจะเป็นคนชอบพูดด้วย อย่างไรก็ตาม อุปนิสัยเหล่านี้มีความซับซ้อนและแปรปรวน และบุคคลแต่ละคนอาจจะแสดงพฤติกรรมต่างๆ ออกมาผ่านมิติต่างๆ เหล่านี้
การประเมินบุคลิกภาพด้วยวิธีการศึกษาอุปนิสัย (Assessing the Trait Approach to Personality)
ขณะที่คนส่วนใหญ่ยอมรับว่า เราสามารถอธิบายเกี่ยวกับประชาชนบนพื้นฐานของลักษณะบุคลิกภาพ นักทฤษฎีกลับยังคงถกแถลงกันในเรื่องของอุปนิสัยที่จะมีส่วนปรุงแต่งบุคลิกภาพของมนุษย์ แม้ว่าทฤษฎีอุปนิสัยมีความเป็นวัตถุประสงค์ซึ่งทฤษฎีลักษณะบุคลิกภาพบางทฤษฎีไม่มี (อย่างเช่นทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์) แต่ก็ยังคงมีข้อด้อยอยู่หลายอย่าง ซึ่งบางสิ่งบางอย่างที่ดูจะเป็นจุดวิกฤติเบื้องต้นของทฤษฎีอุปนิสัย ก็คือ การมุ่งเน้นอยู่ที่ความจริง ที่บ่อยครั้งอุปนิสัยเป็นตัวทำนายพฤติกรรมที่ไม่ดีนัก ขณะที่บุคคลแต่ละคนอาจจะให้คะแนนสูงมากในการประเมินอุปนิสัยเฉพาะ เขาหรือเธออาจจะไม่ได้มีความประพฤติไปตามสถานการณ์หลายๆ อย่างเหล่านั้น ปัญหาอื่นๆ ยังมีให้เห็นอีก คือ ทฤษฎีอุปนิสัยไม่ได้เข้าไปมีส่วนอธิบายว่า ความแตกต่างในด้านบุคลิกลักษณะของบุคคลแต่ละคนพัฒนาหรือเกิดขึ้นมาได้อย่างไร เพราะอะไร
เอกสารอ้างอิง
Boeree, C.G. (2006). Gordon Allport. Personality Theories. Found online at http://webspace.ship.edu/cgboer/allport.html
Cattell, R.B. (1965). The scientific analysis of personality. Baltimore: Penguin Books.
Eysenck, H.J. (1992). Four ways five factors are not basic. Personality and Individual Differences, 13, 667-673.
McCrae, R.R., & Costa, P.T. (1997) Personality trait structure as a human universal. American Psychologist, 52, 509-516.
รองศาสตราจารย์พัฒนา ราชวงศ์
Email Address: pathanar@nu.ac.th
ภาควิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ระบบวิธีการศึกษาอุปนิสัยเป็นกรอบทฤษฎีหลักของการศึกษาบุคลิกภาพ โดยทฤษฎีอุปนิสัย (Trait Theory) นี้ระบุว่า ลักษณะเฉพาะของบุคคลมีการผสมผสานของอารมณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน ทั้งนี้ด้วยการพิจารณาว่า เราจะบรรยายบุคลิกภาพของเพื่อผู้ใกล้ชิดกับเราว่าอย่างไรบ้าง มีโอกาสเป็นไปได้ที่เราจะต้องจัดทำรายการแสดงคุณลักษณะส่วนบุคคลเอาไว้เป็นดัชนี อย่างเช่น ไม่ชอบสมาคม เมตตา และสงบนิ่ง นอกจากนี้อุปนิสัยยังสามารถพิจารณาเป็นแนวความคิดเกี่ยวกับลักษณะความมั่นคงสัมพันธ์ (Stable Characteristic) ที่เป็นเหตุให้บุคคลแต่ละคนแสดงพฤติกรรมที่เป็นแบบฉบับของตน
แตกต่างออกไปจากทฤษฎีบุคลิกภาพอื่นๆ อย่างเช่น ทฤษฎีจิตวิทยาวิเคราะห์ หรือทฤษฎีมานุษยวิทยา (Psychoanalytic or Humanistic Theories) ที่วิธีการศึกษาอุปนิสัยเน้นไปที่ความแตกต่างระหว่างบุคคล การประสมและปฏิสัมพันธ์กันของลักษณะต่างๆ เพื่อก่อรูปบุคลิกภาพอันเป็นลักษณะสำคัญของบุคคลแต่ละคน ดังนั้น ทฤษฎีอุปนิสัยเน้นการระบุ/จำแนก และการตรวจวัดบุคลิกลักษณะเฉพาะของบุคคล
ทฤษฎีอุปนิสัยของกอร์ดอน ออลพอร์ต (Gordon Allport’s Trait Theory)
ปี ค.ศ.1936 กอร์ดอน วิลลาร์ด ออลพอร์ต (Gordon Willard Allport) นักจิตวิทยา ค้นพบว่า ในพจนานุกรมภาษาอังกฤษเล่มหนึ่งเดียวนั้น มีคำบรรยายเกี่ยวกับอุปนิสัยมากกว่า 4,000 คำเลยทีเดียว ทั้งนี้เขาได้แบ่งประเภทของอุปนิสัยออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
อุปนิสัยที่สำคัญหรืออุปนิสัยเด่น (Cardinal or Eminent Traits) อุปนิสัยแบบนี้มีความโดดเด่นในมนุษย์ทุกคน บ่อยครั้งยังเป็นตัวบ่งชี้ว่าบุคคลจะเป็นที่รู้จักของคนอื่นภายใต้อุปนิสัยเฉพาะต่างๆ เหล่านี้ จนอาจถูกกล่าวขานหรือเรียกสมญานามตามคุณลักษณะแบบนั้นๆ ออลพอร์ตเสนอว่า อุปนิสัยที่สำคัญนี้ใช่ว่าจะค้นหาจากบุคคลได้ง่ายๆ แต่เหล่านี้ก็จะพัฒนาในระยะต่อมาสำหรับชีวิตของมนุษย์แต่ละคน ใน http://www.novabizz.com/NovaAce/Personality/ อธิบายอุปนิสัยแบบนี้ว่า จะมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมเกือบทุกด้านของบุคคล เป็นลักษณะเด่นที่แสดงออกชัดเจนเหนือพฤติกรรมอื่นๆ ที่ไม่สามารถปิดบังซ่อนเร้นได้ เป็นอุปนิสัยที่มากำหนดอารมณ์ ความรู้สึก และชี้นำวิถีทางชีวิต ควบคุมแรงจูงใจต่างๆ เพื่อให้บุคคลเกิดพลังในการแสดงพฤติกรรมทั้งหมดของบุคคล เช่น สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีความกล้าหาญ เป็นอุปนิสัยที่โดดเด่นที่มีอยู่ในพระองค์ จนเป็นที่ประจักษ์โดยทั่วไป เป็นต้น อุปนิสัยสำคัญนี้ อาจไม่ปรากฏกับทุก ๆ คนก็ได้ แต่ถ้าผู้ใดมีอุปนิสัยสำคัญเพียงลักษณะเดียวที่ควบคุมพฤติกรรมของบุคคลนั้น ก็จะกลายเป็นบุคลิกภาพอ้างอิง (Reference Personality) ที่มักจะใช้เรียกผู้อื่นที่มีลักษณะเหมือนเขา เช่น เรามักจะอ้างอิงคนที่มีความตระหนี่ขี้เหนียว ว่าเหมือนกับไซล็อค หรือผู้ชายที่เจ้าชู้ว่าเป็นขุนแผน เป็นต้น
อุปนิสัยร่วม (Central Traits) เป็นลักษณะทั่วไปที่ก่อตัวขึ้นเป็นพื้นฐานลักษณะบุคลิกภาพ แต่ว่าอุปนิสัยร่วมเหล่านี้ จะไม่ใช่ลักษณะเด่นแบบเดียวกับอุปนิสัยที่สำคัญ หากแต่จะเป็นลักษณะหลักของบุคคลที่จะใช้อธิบายบุคคลแต่ละคน อุปนิสัยเหล่านี้ได้แก่ ความฉลาดหลักแหลม ความซื่อสัตย์สุจริต การประหม่า/ขี้อาย และความวิตกกังวล ใน http://www.novabizz.com/NovaAce/Personality/ อธิบายอุปนิสัยแบบนี้ว่า เป็นกลุ่มของอุปนิสัยของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ที่มีอยู่ภายในตัวบุคคล เป็นอุปนิสัยที่สังเกตได้ง่ายเช่นเดียวกัน เป็นสิ่งที่มั่นคงอยู่ในบุคลิกภาพ แต่อาจแสดงออกมาเพียงเล็กน้อย แต่ก็เป็นคุณลักษณะที่มีความสำคัญในการควบคุมพฤติกรรมของบุคคล เช่น ความทะเยอทะยาน การแข่งขัน ความซื่อสัตย์ การตรงต่อเวลา และความเมตตากรุณา ลักษณะเหล่านี้จะควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในสถานการณ์ต่างๆ อย่างไรก็ตาม เป็นการจะเข้าใจอุปนิสัยนี้ต้องสังเกตมาก เพราะบางอย่างไม่สามารถสังเกตอย่างตรงไปตรงมาจากท่วงทีอากัปกิริยาและการแสดงออกภายนอกได้ ดังนั้น จึงควรคำนึงถึงความถี่ และความเข้มของพฤติกรรมนั้น ในสถานการณ์ต่างๆ อย่างหลากหลายในขณะเดียวกัน
อุปนิสัยทุติยะหรืออุปนิสัยเชิงทัศนคติ (Secondary Traits) เป็นอุปนิสัยที่บางครั้งสัมพันธ์กับทัศนคติหรือความชอบพึงพอใจ และบ่อยครั้งที่ปรากฏอยู่ในสถานการณ์ที่แน่นอนหรือภายใต้บรรยากาศพิเศษ อย่างเช่นบางกรณีอาจทำให้เกิดข้อวิตกกังวลเมื่อมีการพูดคุยอยู่กับคนบางกลุ่ม หรือหุนหันพลันแล่นขณะรอสายโทรศัพท์นานๆ ใน http://www.novabizz.com/NovaAce/Personality/ อธิบายอุปนิสัยแบบนี้ว่า เป็นคุณลักษณะที่อยู่บริเวณรอบนอก (Peripheral) ที่ผลักดันให้บุคคลแสดงออกโดยทั่วไป เป็นลักษณะที่มีอยู่มากในตัวบุคคล ได้แก่ ความสนใจ และปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ เช่น เมื่อบุคคลชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เขาก็มักจะแสดงความคิดเห็นที่ดีที่มีต่อสิ่งนั้นๆ ทำให้เขาเกิดความชอบ และสนใจ หรือเป็นเจตคติซึ่งบางครั้งเรียกอุปนิสัยชนิดนี้ว่า เป็นอุปนิสัยเชิงเจตคติ (Attitudinal Traits)
แบบสอบถามปัจจัยบุคลิกภาพสิบหกประการของคัตเทลล์ (Cattell’s Sixteen Personality Factor Questionnaire)
เรย์มอนด์ เบอร์นาร์ด คัตเทลล์ (Raymond Bernard Cattell) นักทฤษฎีบุคลิกภาพ ได้ทำการลดจำนวนลักษณะบุคลิกภาพจากรายการทั้งหมด 4,000 รายการของออลพอร์ต เหลือเพียง 171 รายการเท่านั้น โดยรายการส่วนใหญ่ที่ถูกตัดออกไปนั้น พิจารณาแล้วเป็นบุคลิกภาพที่ไม่เป็นปรกติ พร้อมนี้ยังได้รวมเอาบุคลิกภาพที่คล้ายกันเข้าด้วยกัน คัตเทลล์ก็ได้จัดกลุ่มอย่างหยาบๆ ให้กับบุคคลให้อยู่ภายใน 171 ลักษณะนี้ จากนั้นจึงใช้วิธีการทางสถิติที่รู้จักกันดี คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) เพื่อระบุถึงความสัมพันธ์อันใกล้ชิดของลักษณะบุคลิกภาพ พร้อมกับลดรายการให้เหลือลักษณะบุคลิกภาพหลักๆ 16 ลักษณะเท่านั้น ตามเหตุผลของคัตเทลล์นี้ ถือได้ว่ารายการทั้งสิบหกลักษณะนี้ เป็นฐานแสดงลักษณะบุคลิกภาพของมนุษย์ทั้งมวล นอกจากนี้คัตเทลล์ยังได้พัฒนาเครื่องมือสำหรับประเมินบุคลิกภาพที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง เรียกว่า แบบสอบถามปัจจัยบุคลิกภาพสิบหกประการ (16PF: Sixteen Personality Factor Questionnaire)
มิติบุคลิกภาพทั้งสามของไอย์เซงก์ (Eysenck’s Three Dimensions of Personality)
ฮานส์ เจอร์เกน ไอย์เซงค์ (Hans Jurgen Eysenck) นักจิตวิทยาอังกฤษ ได้พัฒนาแบบจำลองแสดงลักษณะบุคลิกภาพของบุคคล (Model of Personality) ขึ้นมาตามหลักการทั่วไป 3 ประการ คือ
1. ความสนใจอย่างยิ่งต่อประสบการณ์ภายในของตนเอง/ความสนใจอย่างยิ่งต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อมภายนอก (Introversion/Extroversion) ความสนใจแต่ภายในตัวเองเกี่ยวพันอย่างตรงไปตรงมากับความตั้งใจและใส่ใจอยู่กับแต่ประสบการณ์ภายในของบุคคลหนึ่งๆ ขณะที่ความสนใจต่อสภาพแวดล้อมภายนอกนั้น จะมีความสัมพันธ์กับการมุ่งเน้นไปที่สิ่งที่เกิดขึ้นและเป็นไปของบุคคลอื่น และสภาพแวดล้อมภายนอกอื่นๆ ดังนั้น บุคคลที่มีลักษณะสนใจภายในตัวเองสูงมากๆ จะเป็นคนเงียบขรึมและเก็บเนื้อเก็บตัว ขณะที่บุคคลที่มุ่งสนใจสภาพแวดล้อมภายนอกสูงนั้น จะชอบออกสังคมและเข้ากับคนอื่นได้ง่าย
2. ความเอนเอียงของอารมณ์/ความมั่นคงของอารมณ์ (Neuroticism/Emotional Stability) มิตินี้ตามทฤษฎีอุปนิสัยของไอย์เซงก์ เป็นความสัมพันธ์กันของความรู้สึกหงุดหงิดกับการสงบสติอารมณ์ โดยที่ความเอนเอียงของอารมณ์จะหมายถึงแนวโน้มของแต่ละบุคคลจะกลายไปเป็นคนที่กลัดกลุ้ม อารมณ์เสีย หรือเอาแต่อารมณ์ตัวเองเป็นที่ตั้ง ขณะที่ความมั่นคงของอารมณ์หมายถึงแนวโน้มที่บุคคลจะมีอารมณ์คงที่ แน่นอน และมั่นคง
3.ภาวะโรคจิต (Psychoticism) ภายหลังเมื่อได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับบุคคลที่ต้องทนทุกข์ทรมานอยู่กับอาการป่วยทางจิตแล้ว ไอย์เซงค์จึงได้เพิ่มมิติลักษณะบุคลิกภาพเข้าไปในทฤษฎีของเขาอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเขาเรียกว่าเป็นภาวะโรคจิต ทั้งนี้บุคคลใดที่มีอุปนิสัยแบบนี้สูง ก็เป็นความยุ่งยากที่จะจินตนาการให้เห็นถึงความเป็นจริงใดๆ ได้ เพราะบุคคลเหล่านี้อาจจะต่อต้านสังคม ทำตัวเป็นปรปักษ์กับทุกอย่าง ทำตัวไม่น่าสงสาร และอารมณ์แปรปรวนตลอดเวลา
ทฤษฎีบุคลิกภาพตามปัจจัยห้าประการ (The Five-Factor Theory of Personality)
นักวิจัยด้านลักษณะบุคลิกภาพได้นำเสนอ ห้ามิติพื้นฐานสำหรับอธิบายลักษณะบุคลิกภาพ (Big Five Dimensions of Personality) ซึ่งเป็นลำดับเหตุการณ์ที่มีการนำมาอธิบายอย่างต่อเนื่องกันมามากกว่า 50 ปี เริ่มต้นด้วยงานวิจัยของฟิสเก้ (D. W. Fiske, 1949) และต่อมาก็ได้นำมาขยายความโดยนักวิจัยคนอื่นๆ ได้แก่ นอร์แมน (Norman, 1967) สมิธ (Smith, 1967) โกลด์เบิร์ก (Goldberg, 1981) และแมคแครกับคอสต้า (McCrae & Costa, 1987)
ทฤษฎีของทั้งคัตเทลล์และไอย์เซงค์ มีลักษณะเป็นอัตพิสัยของการวิจัย นักทฤษฎีบางคนเชื่อและยืนยันว่า คัตเทลล์ให้ความสำคัญอย่างมากต่อลักษณะบุคลิกภาพ ขณะที่ไอย์เซงค์ก็เน้นบ้างแต่ไม่มากเท่า ทำให้เกิดทฤษฎีลักษณะบุคลิกภาพใหม่ที่หลายคนอ้างถึงภายใต้ชื่อว่า “ทฤษฎีบุคลิกภาพห้าแบบ” (Big Five Theory) ซึ่งแบบจำลองแสดงลักษณะบุคลิกภาพห้าแบบนี้ ได้นำเสนอลักษณะหลัก 5 แบบที่ปฏิสัมพันธ์กับรูปแบบของลักษณะบุคลิกภาพของมนุษย์ ข้างล่างต่อไปนี้เป็นคำบรรยายลักษณะทั้งห้าแบบง่ายๆ
1. การเข้าสังคม (Extraversion, Sometimes Called Surgency) เป็นลักษณะกว้างๆ ของคนที่ชอบพูดมาก ทรงพลัง และก้าวร้าว บุคคลที่มีอุปนิสัยแบบนี้มักจะมีอะไรตื่นเต้นตลอดเวลา (Excitability) ชอบเข้าสังคม (Sociability) ชอบพูดและพูดได้ทุกเรื่อง (Talkativeness) ชอบเปิดเกมรุก (Assertiveness) และชอบแสดงออกทางอารมณ์ (Emotional Expressiveness)
2. ความเป็นมิตร/ยอมรับกันและกัน (Agreeableness) ลักษณะบุคลิกภาพแบบนี้จะเป็นคนที่มีความไว้เนื้อเชื่อใจ (Trust) มีหลักปฏิบัติที่เห็นแก่ผู้อื่นอยู่เสมอ (Altruism) มีความกรุณา (Kindness) มีความเมตตา (Affection) และมีพฤติกรรมชอบสังคม (Prosocial Behaviors)
3. ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี (Conscientiousness) ลักษณะพื้นฐานของบุคคลที่จัดอยู่ในมิตินี้ คือ เป็นผู้ที่มีระดับการคิดตรึกตรองสูง (Thoughtfulness) เป็นคนที่มีลักษณะเจ้ากี้เจ้าการ รอบคอบ และเจ้าแผนการ มีการควบคุมสิ่งกระตุ้นดี (Good Impulse Control) และมีพฤติกรรมที่มุ่งสู่เป้าหมายเป็นสำคัญ (Goal-Directed Behaviors) บุคคลที่มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีนี้มักจะถูกจัดการและเตรียมจิตใจในรายละเอียดต่างๆ มาเป็นอย่างดี
4. ความเอนเอียงของอารมณ์ (Neuroticism, Sometimes Reversed and Called Emotional Stability) บุคคลที่มีอุปนิสัยแบบนี้จะเป็นผู้มีอารมณ์ไม่มั่นคง (Emotional Instability) มีความกังวลอยู่เสมอ (Anxiety) มีอารมณ์ขุ่นหมองเสมอ (Moodiness) ฉุนเฉียวง่าย (Irritability) และซึมเศร้า (Sadness)
5. ความจริงใจตรงไปตรงมา (Openness to Experience, Sometimes Called Intellect or Intellect/Imagination) เป็นลักษณะของคนที่สามารถให้ความสนใจต่อโลกกว้าง และสามารถมองทะลุ/เข้าใจอะไรได้ง่ายๆ เป็นคนมีจินตนาการและมองทะลุในสิ่งที่สนใจ (Imagination and Insight) และมีความสนใจหลายหลาก (Broad Range of Interests)
จะเห็นได้ว่า มิติที่กล่าวมานี้เป็นภาพรวมของลักษณะบุคลิกภาพ งานวิจัยหลายฉบับได้แสดงให้เห็นถึงการจัดกลุ่มลักษณะของบุคคลที่นำไปสู่การมีลักษณะอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกันตามมา ตัวอย่างเช่น บุคคลที่ชอบเข้าสังคมก็มีแนวโน้มว่าจะเป็นคนชอบพูดด้วย อย่างไรก็ตาม อุปนิสัยเหล่านี้มีความซับซ้อนและแปรปรวน และบุคคลแต่ละคนอาจจะแสดงพฤติกรรมต่างๆ ออกมาผ่านมิติต่างๆ เหล่านี้
การประเมินบุคลิกภาพด้วยวิธีการศึกษาอุปนิสัย (Assessing the Trait Approach to Personality)
ขณะที่คนส่วนใหญ่ยอมรับว่า เราสามารถอธิบายเกี่ยวกับประชาชนบนพื้นฐานของลักษณะบุคลิกภาพ นักทฤษฎีกลับยังคงถกแถลงกันในเรื่องของอุปนิสัยที่จะมีส่วนปรุงแต่งบุคลิกภาพของมนุษย์ แม้ว่าทฤษฎีอุปนิสัยมีความเป็นวัตถุประสงค์ซึ่งทฤษฎีลักษณะบุคลิกภาพบางทฤษฎีไม่มี (อย่างเช่นทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์) แต่ก็ยังคงมีข้อด้อยอยู่หลายอย่าง ซึ่งบางสิ่งบางอย่างที่ดูจะเป็นจุดวิกฤติเบื้องต้นของทฤษฎีอุปนิสัย ก็คือ การมุ่งเน้นอยู่ที่ความจริง ที่บ่อยครั้งอุปนิสัยเป็นตัวทำนายพฤติกรรมที่ไม่ดีนัก ขณะที่บุคคลแต่ละคนอาจจะให้คะแนนสูงมากในการประเมินอุปนิสัยเฉพาะ เขาหรือเธออาจจะไม่ได้มีความประพฤติไปตามสถานการณ์หลายๆ อย่างเหล่านั้น ปัญหาอื่นๆ ยังมีให้เห็นอีก คือ ทฤษฎีอุปนิสัยไม่ได้เข้าไปมีส่วนอธิบายว่า ความแตกต่างในด้านบุคลิกลักษณะของบุคคลแต่ละคนพัฒนาหรือเกิดขึ้นมาได้อย่างไร เพราะอะไร
เอกสารอ้างอิง
Boeree, C.G. (2006). Gordon Allport. Personality Theories. Found online at http://webspace.ship.edu/cgboer/allport.html
Cattell, R.B. (1965). The scientific analysis of personality. Baltimore: Penguin Books.
Eysenck, H.J. (1992). Four ways five factors are not basic. Personality and Individual Differences, 13, 667-673.
McCrae, R.R., & Costa, P.T. (1997) Personality trait structure as a human universal. American Psychologist, 52, 509-516.
การปกป้องแผ่นดินแม่ด้วยแผนที่
บ่อยครั้งที่ประชาชนพื้นเมืองต้องสูญเสียที่ดินไป เพราะพวกเขาไม่สามารถปรับสถานะความเป็นเจ้าของที่ดินให้ถูกต้องได้ แต่ก็มีอยู่อีกสองโครงการที่จะสาธิตให้ได้เห็นว่า “การทำแผนที่แปลงที่ดิน” ช่วยปกป้องคุ้มครองสิทธิอันมีมาแต่โบราณของพวกเขาบนผืนแผ่นดินเหล่านั้น จากการรุกรานของผู้บุกเบิกที่เข้ามาทีหลัง
รองศาสตราจารย์พัฒนา ราชวงศ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร แปลและเรียบเรียงจากงานของ Derek Denniston. “Defending the Land with Maps.” WorldWatch Institute. January/February 1994: pp.27-32.
การปกป้องแผ่นดินแม่ด้วยแผนที่
เมื่อเดือนมกราคม ปี ค.ศ.1989 เรือบรรทุกคนถือปืนยาว จำนวน 2 ลำ แล่นเข้ามาใกล้กับปากแม่น้ำปาทูกา (Patuca River) ทางตอนเหนือของฮอนดูรัส และจอดทอดสมออยู่บริเวณชายฝั่งกรัวตารา (Krautara) ที่เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ของชาวอินเดียนตาวาขา ซูมู (Tawakha Sumu Indians) คนแปลกหน้าลงมาจากเรือพร้อมปืนสั้น และปืนกลยาว พวกเขาขนถ่ายเอาเลื่อยโซ่และถุงบรรจุอาหารจำนวนมากลงมา พวกเขาประกาศครอบครองสิทธิเหนือที่ดินทั้งหมดโดยรอบ แม้ว่าจะไม่มีแผ่นกระดาษแสดงสิทธิ์ก็ตาม สามเดือนต่อมาพวกเขาได้เข้ายึดครองหมู่บ้านของชาวอินเดียน บีบบังคับให้ครอบครัวหนึ่ง ให้ละทิ้งบ้านเรือนแล้วเข้าไปถางป่าฝนเขตร้อนที่เขียวขจีเพื่อทำเป็นพื้นที่ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ขนาด 20 เฮกแตร์ ปีต่อมาชาวอินเดียนต้องกลับเข้าไปเพื่อเผาป่าบริเวณภูเขาอีกลูกหนึ่ง ทุ่งหญ้าสำหรับปศุสัตว์มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับการทำไม้เพื่อการค้า และการไร้ที่ทำกินของชาวไร่ชาวนาก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นเองที่ทำให้สภาพปัจจุบันที่พบเห็นกัน ก็คือ การบุกรุกแผ่นดินแม่ของชาวอินเดียนที่เป็นชนเผ่าที่ฝังตัวแน่นอยู่พื้นที่ป่าห่างไกลผืนสุดท้าย ป่าและทุ่งหญ้าซาวันนา และพื้นที่ชุ่มน้ำของอเมริกากลาง
นักสำรวจชาวยุโรปจากซีกโลกตะวันตกระบุและบ่งชี้ว่าที่ดินที่ยังไม่ได้มีการตั้งรกรากโดยพวกเขาเองว่า เป็นที่ดินว่างเปล่าไร้การตั้งถิ่นฐานรกราก น่าเศร้ายิ่ง ที่การปฏิเสธการมีตัวตนออยู่ของชนพื้นเมืองในโลกสมัยใหม่อย่างสิ้นเชิงของเจ้าอาณานิคม แผ่นดินที่ไม่ได้มีการตั้งรกรากของชาวอินเดียนถูกกำหนดว่าเป็นพื้นที่ว่างเปล่า และยังคงไม่ได้รับการคำนึงถึงแม้แต่น้อยว่า ชนพื้นเมืองทั้งหลายเป็นเจ้าของที่ดินเหล่านั้น ... ตรงนี้คือประเด็นสำคัญ
มีสิ่งคุกคามหลายอย่างที่จะทำให้ปัญหาเหล่านี้เลวร้ายไปมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นก็คือ มีการคาดการณ์กันว่าภายในระยะเวลา 25 ปีข้างหน้านี้ ประชากรในย่านอเมริกากลางจะเพิ่มขึ้นมาเป็น 60 ล้านคน ด้วยสภาพที่เกิดการขาดแคลนพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ทางเดียวที่ชาวไร่ชาวนาจะทำได้ ก็คือ การเข้าป่าหาที่ดินผืนใหม่แล้วถากถางทำไม้ เลี้ยงสัตว์ หรือทำการเกษตรต่างๆ เพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งที่ดินทำกิน เนื่องจากว่าชาวไร่ชาวนาไม่ได้มีอำนาจหรือพลังมากพอที่จะปกปักษ์รักษาผืนที่ดินเอาไว้ แมค ชาแปง (Mac Chapin) ผู้อำนวยการโครงการจัดการที่ดินสำหรับคนพื้นถิ่นอาร์ลิงตัน (Arlington, Virginia-Based Native Lands) (ภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิไทดส์ (Tides Foundation) ที่ทำงานเกี่ยวกับการสร้างความมั่นคงในสิทธิที่ดินทำกินของคนพื้นถิ่น) ถึงกับกล่าวว่า “ความขัดแย้งหลายอย่างเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินกลายเป็นประเด็นก่อความไม่สงบสุขและประเด็นแห่งความตายที่ใหญ่หลวงของอเมริกากลาง และเป็นสิ่งคุกคามใหญ่ที่สุดที่เกิดกับวัฒนธรรมการดำรงอยู่ของคนพื้นเมืองที่นี่”
สองปีต่อมา ผู้นำอินเดียนหลายคนร่วมกับนักเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรม ที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของฮอนดูรัส ตัดสินใจที่จะต้องทำการเมืองของพื้นที่มอสคิสเทีย (Mosquitia Region) ที่มองไม่เห็นตัว ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดพลาดมาตลอดให้ถูกต้องเสียที ด้วยการทำแผนที่อย่างปราณีตแสดงให้เห็นตำแหน่งที่อยู่อาศัยของชนเผ่าการิฟูนา (Garifuna) เปช (Pesch) มิสกิโต (Miskito) และตาวาห์กา สูมู (Tawahka Sumu) พวกเขาทั้งหมดทำงานร่วมกันอย่างขันแข็ง เพื่อที่จะช่วยให้ชาวอินเดียนสร้างสรรค์รายละเอียดและบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นดินเกิดของพวกเขาให้อยู่ในรูปภาพที่มีตำแหน่งที่ตั้งชัดเจน แผนที่การใช้ที่ดิน (Land Use Map) ไม่ได้มีความจำเป็นจะต้องแสดงขอบเขตของการใช้แต่ละประเภท พวกเขาชี้แผ่นดินที่ทำกินของแต่ละคนและด้วยว่าที่ดินถูกใช้อย่างไร ขณะเดียวกันก็มีการยืนยันด้วยว่า แปลงที่ดินต่างๆ ไม่ได้ถูกทิ้งให้ว่างเปล่า แต่ถูกครอบครองโดยพวกเขาแต่ละคน
โครงการในฮอนดูรัสดำเนินการโดยมาสต้า (MASTA: Miskito Indian group) และโมปาวี (MOPAWI: Development of the Mosquitia) ซึ่งเป็นกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน ที่ทำงานโครงการจัดการกรรมสิทธิ์ที่ดินอย่างใกล้ชิดกับลุ่มชนพื้นถิ่นมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1987 ในกระบวนการทำแผนที่นั้น จะต้องมีการอบรมเชิงปฏิบัติการหลายอย่างหลายครั้ง มีการสำรวจการใช้ประโยชน์ที่ดิน และท้ายที่สุดก็จะจัดให้มีเวทีประชุมเสวนาระดับชาติขึ้นมาเพื่อให้แต่ละกลุ่มแต่ละพื้นที่ได้นำผลการดำเนินงานมานำเสนอ ขั้นสุดท้ายจริงๆ จึงได้มีการทำสำเนาขึ้นมาใหม่ในภูมิภาคดาเรียนของปานามา อันเป็นถิ่นฐานที่แท้จริงของชนเผ่าเอมเบรา วูนัน และกูนา (Embera, Wounaan and Kuna Tribes.) เนื่องจากผู้นำของคนพื้นถิ่นในปานามามีความเข้มแข็งมากกว่าที่อื่นๆ ดังนั้น โครงการที่สองจึงได้รับการประสานงานให้ดำเนินการโดยกลุ่มอินเดียนร่วมเผ่า (Intertribal Group of Indians) กับกลุ่มนักพัฒนาเอกชนกลาง (CEASPA: Centro de Estudios y Accion Social Panameno) แต่ทั้งหมดใช้วิธีการเดียวกันกับที่ได้ดำเนินการไปแล้วในฮอนดูรัส
ขั้นที่หนึ่ง (ตามภาพหน้า 2 ) เริ่มต้นจากการร่างแผนที่การใช้ที่ดินด้วยมือของนักสำรวจชนพื้นเมืองและชาวบ้านในภูมิภาคมารีอา (Marea SubRegion) เมืองดาเรียน (Darien) ประเทศปานามา ผืนแผ่นดินที่คนข้างนอกดูเหมือนว่าเป็นป่าทึบที่ไม่ได้มีความแตกต่างกัน ถูกคนในพื้นที่ร่วมกันจำแนกประเภทของการอยู่และใช้อย่างยั่งยืนในหลายๆ กิจกรรม
ขั้นที่สอง (ขวามือ) แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินของภูมิภาคมารีอา ที่ใช้ข้อมูลพื้นฐานจากแผนที่ของชาวอินเดียน แผนที่ของรัฐบาล และภาพถ่ายทางอากาศ แผนที่ของชาวอินเดียนให้รายละเอียดและความถูกต้องดีมากกว่าแผนที่ที่ผลิตขึ้นมาโดยหน่วยงานของรัฐ มาตราส่วนของแผนที่ คือ 1: 50,000 พื้นที่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าในแผนที่แสดงขนาดพื้นที่โดยประมาณได้จากขั้นตอนที่หนึ่งที่กล่าวมาแล้ว ทั้งในภูมิภาคมอสกิเทียและดาเรียน (Mosquitia and Darien Regions) ไม่มีใครสามารถเดินผ่านเข้าไปในป่าฝน ป่าและทุ่งหญ้าซาวันนา หรือพื้นที่ชุ่มน้ำได้เลย จะมีก็แต่คนพื้นถิ่นที่เข้าไปตั้งถิ่นฐานตามลำน้ำ มีหลายคนกล่าวขานถึงฤดูฝนล่าสุดว่าเป็นช่วงเวลาไม่กี่เดือนที่เต็มไปด้วยเห็บและลิ้นไร นั่นเองที่ทำให้ชาวอินเดียนต้องสร้างบ้านเรือนตามลำน้ำ ประชาชนพลเมืองไม่ได้รับการศึกษาและการบริการด้านสุขภาพ ทั้งสองภูมิภาคนี้ ชาวอินเดียนส่วนใหญ่ต้องเผชิญหน้ากับความรุนแรงจากผู้ที่เข้ามาทำปศุสัตว์ แน่นอนว่า ชนพื้นถิ่นพบเห็นผู้บุกรุกบริเวณชายขอบของพื้นที่
การประชุมสัมมนาครั้งแรกในฮอนดูรัสและปานามา ผู้มีส่วนร่วมกับโครงการได้เข้ามาถกแถลงกันอย่างเป็นกระบวนการ ปีเตอร์ เฮอร์ลิฮี (Peter Herlihy) นักภูมิศาสตร์วัฒนธรรมแห่งมหาวิทยาลัยแคนซัสที่ลอว์เรนซ์ ซึ่งได้ทำการศึกษาอย่างลึกซึ้งในทั้งสองพื้นที่ โดยเขาทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการให้เกิดการทำแผนที่ร่วมกัน เขาแบ่งภูมิทัศน์ออกเป็นย่านๆ มีขนาดพอเหมาะสำหรับผู้ที่จะออกสำรวจจริงในพื้นที่ ซึ่งจะใช้เวลาในพื้นที่เพียงไม่กี่สัปดาห์สำหรับพื้นที่ประมาณ 100-200 ตารางกิโลเมตร ผู้นำชาวอินเดียนจะช่วยคัดเลือกนักสำรวจพื้นเมือง โดยเลือกจากผู้ที่มีมีความรู้ที่แนบแน่นกับพื้นที่แต่ละย่าน และนักสำรวจเหล่านี้จะต้องมีความสามารถในการพูดและเขียนภาษาสเปนได้ด้วย ผู้ดำเนินการทั้งหลายจะต้องทำงานร่วมกันกับนักสำรวจพื้นเมืองเพื่อสร้างคำถามเกี่ยวกับการใช้ที่ดิน และกำหนดกระบวนการขั้นตอนในการบริหารงานสำรวจและทำแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน นักสำรวจแต่ละคนจะถือกระดาษแผ่นใหญ่และแบบสอบถาม พวกเขาจะต้องเดินผ่านเข้าไปในพื้นที่ทุกแห่ง ซึ่งบางแห่งมีโคลนลึกเหนือเข่าขึ้นมาเลยทีเดียว ในแต่ละหมู่บ้าน นักสำรวจจะต้องสำมะโนข้อมูลประชากรให้เรียบร้อย และได้สอบถามครอบครัวแต่ละครอบครัวเพื่อให้อธิบายเกี่ยวพื้นที่เกษตรกรรม ล่าสัตว์ จับปลา และเก็บสมุนไพรของพวกเขา รวมไปถึงพื้นที่พวกเขาไปตัดไม้มาสร้างบ้านเรือน ต่อเรือคานู และทำสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ แต่ละหมู่บ้านจะสร้างสัญลักษณ์ของพวกเขาเองมาแสดงกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดิน นักสำรวจจะร่วมมือกับประชาชนในหมู่บ้านเขียนรายละเอียดของแผนที่ด้วยมือ เพื่อแสดงกิจกรรมแต่ละอย่างที่เกิดขึ้นในจุดต่างๆ โดยอ้างอิงข้อมูลทางพื้นที่จากแม่น้ำหลายสาย (ดูแผนที่ในหน้าตรงข้ามและปกหลังของรายงาน)
หลังจากที่ได้เก็บข้อมูลจากทุกๆ ครอบครัวแล้ว นักสำรวจจะเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการประชุมสัมมนาครั้งที่ 2 โดยมีคณะนักเขียนแผนที่เข้ามาช่วยจัดการ ปรับข้อมูลให้ถูกต้อง และวิเคราะห์สารสนเทศ ในขั้นนี้มีการเปรียบเทียบข้อมูลจากภาพถ่ายทางอากาศกับแผนที่ที่ทำโดยหน่วยงานของรัฐบาล คณะทำงานจะผองถ่ายผลลัพธ์ที่ได้จากการสำรวจไปเป็นข้อมูลชุดใหม่ เป็นแผนที่สีผสมขนาดมาตราส่วน 1: 50,000 (ดูแผนที่ที่อยู่ในหน้านี้) จากนั้นนักสำรวจพื้นเมืองแต่ละคนจะกลับเข้าไปที่ชุมชนของพวกเขา เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของแผนที่ที่ทำด้วยมือและแผนที่สีผสมกับประชาชนในหมู่บ้าน ในกระบวนการเปรียบเทียบแผนที่ที่รัฐบาลจัดทำขึ้นกับภาพถ่ายทางอากาศที่ประชาชนนำมาเป็นฐานในการทำแผนที่ด้วยมือนั้น คณะนักทำแผนที่พบว่ามีสิ่งประหลาดบางอย่างเกิดขึ้น กล่าวคือ ไม่เพียงแต่ว่าแผนที่ทำมือของประชาชนจะมีตำแหน่งและสัดส่วนพื้นที่ที่ถูกต้องเท่านั้น แต่ยังพบว่าแผนที่ที่รัฐบาลเป็นผู้จัดทำมีความไม่ถูกต้องอยู่หลายส่วน คณะทำแผนที่พบว่า พื้นที่หลายแห่งที่ประชาชนชาวอินเดียนอาศัยอยู่นั้นสอดรับอย่างพอดิบพอดีกับภูมิทัศน์ธรรมชาติที่จะต้องสงวนรักษาเอาไว้ และที่สำคัญที่สุด คือ แผนที่ของชาวอินเดียนได้ให้ภาพแท้ๆ เป็นภาพแรกสุดของพื้นที่ที่พวกเขาอาศัยอยู่ พร้อมๆ กับบอกด้วยว่าพวกเขาจะใช้ผืนที่ดินของเขาเหล่านั้นเพื่อทำอะไร “ไม่มีใครรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับแผ่นดินแม่ของชาวอินเดียน” เฮอร์ลิฮีกล่าว “แต่อย่างน้อยที่สุด วันนี้เราก็ได้ภาพแรกของพวกเราเกี่ยวกับขอบเขตการใช้พื้นที่ที่กระจ่างขึ้น”
ในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 3 นักสำรวจทั้งหลายจะทำการรวบรวมแผนที่หลายฉบับ ภายใต้การแนะนำของคณะทำงานของเฮอร์ลิฮี เพื่อให้ได้แผนที่ฉบับปรับปรุงครั้งสุดท้ายที่มีมาตราส่วน 1: 250,000 (ดูแผนที่ในหน้า 30) แผนที่ฉบับนี้จะเรียกว่า แผนที่ต้นฉบับ (Master Map) ใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการนำเสนอเหตุการณ์ต่างๆ สำหรับการสัมมนาสองวันในเมืองหลวงของ 2 ประเทศ คือ เมืองเตกูซิกัลปา (Tegucigalpa) และปานามา ซิตี้ (Panama City)
จะเห็นได้ว่าการประชุมสัมมนาได้เปิดโอกาสเป็นครั้งแรก ให้กลุ่มประชาชนพื้นถิ่นหลายๆ กลุ่มเข้ามานำเสนอผลลัพธ์จากการทำงาน และการแลกเปลี่ยนความเห็นกัน เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินและรูปแบบการตั้งถิ่นฐานชุมชน ได้มีการรับฟังการนำเสนอต่อที่ประชุมของรัฐมนตรี ประชาชนพื้นที่ถิ่นกลุ่มอื่นๆ นักอนุรักษ์ และกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนประจำท้องถิ่นต่างๆ ด้วยการที่มีแผนที่และการประเมินด้วยเทคนิคเชิงวิทยาศาสตร์เป็นแกนกลาง ชาวอินเดียนได้สร้างระบบข้อมูลที่มีลักษณะเห็นได้ด้วยภาพและมีความน่าเชื่อถือ เพื่อนำไปสู่การรณรงค์ทางการเมืองในหลายประเด็น ประกอบด้วย การสร้างความถูกต้องเชิงกฎหมายให้กับแผนที่ดินแม่ของชุมชน (Legalizing Communal Homelands) การยับยั้งการโจมตีของเจ้าอาณานิคม (Stemming the Incursions of Colonization) ที่เข้ามาตั้งชุมชนใหม่และพัฒนาพื้นที่โดยบรรษัทข้ามชาติ และการแก้ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างผืนแผ่นดินแม่ของชาวอินเดียนกับพื้นที่อนุรักษ์ของชาติ “ชาวอินเดียนไม่ได้รับอนุญาตให้พูด การประชุมสัมมนาเหล่านี้เปิดโอกาสให้ได้พูดในประเด็นที่พวกเขาต้องการพูด” นี่คือคำกล่าวของแมค ชาแปง ผู้อำนวยการโครงการจัดการที่ดินสำหรับคนพื้นถิ่น จากการประชุมทำให้เกิดการปรับปรุงสิ่งต่างๆ จนลุล่วงมากกว่าที่ผู้มีส่วนร่วมเคยคาดหวังเอาไว้ ที่มากที่สุดก็คือ ผลลัพธ์จากงานของโมปาวีที่ทำให้ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินของชนพื้นถิ่น ถูกนำเข้าไปสู่การรับรู้อย่างจริงจังของนักการเมืองระดับชาติของฮอนดูรัส ส่วนในปานามานั้น ชนเผ่าเอมเบรา วูนัน และกูนา ไม่เคยมีโอกาสเข้าร่วมการประชุมสัมมนาระดับนี้มาก่อนเลย ระหว่างการประเมินอย่างไม่เป็นทางการของสภาแห่งชาติปานามาหลังจากการประชุมสัมมนาได้เสร็จสิ้นไปแล้ว เอลปิดิโอ โรซาเลส (Elpidio Rosales) ผู้นำชุมชนระดับภูมิภาคอายุ 63 ปี จากนิคมเอมเบรา-วูนัน กล่าวว่า “เมื่อคืนลุงนอนไม่หลับทั้งคืน มันปลาบปลื้ม ในหัวของลุงเต็มไปด้วยสิ่งสวยงามที่ลุงได้ยินได้เห็นระหว่างการประชุมสัมมนา”
ชาวอินเดียนกลุ่มอื่นๆ ที่เข้าร่วมเวทีประชุมสัมมนาล้วนแต่ให้การยอมรับ ชาวอินเดียนเผ่ามิสกิโตสองกลุ่มจากนิคารากัวเริ่มคลายกังวล พร้อมกับเข้าไปสอบถามผู้ประสานงานของชาวอินเดียนในที่ประชุมที่ปานามา ซิตี้ เพื่อให้ไปช่วยพวกเขาทำแผนที่ชุมชนที่จะเริ่มขึ้นในเดือนธันวาคม ทั้งนี้โดยผู้ประสานงานโครงการที่ดินของชนพื้นถิ่นในภาคสนาม นิกานอร์ กอนซาเลส (Nicanor Gonzales) ได้ชักชวนให้ชาวมิสกิโตมามีส่วนร่วมในการสำรวจการใช้ที่ดิน และกระบวนการทำแผนที่จะทำให้ง่ายขึ้นกว่าเดิม ภายใต้การจัดการของชนพื้นถิ่นเองเพื่อหลีกเลี่ยงบทลงโทษทางวัฒนธรรมบางอย่าง โครงการที่ดินของชนพื้นถิ่นกำลังทำงานร่วมกับนักภูมิศาสตร์ คือ เบอร์นาร์ด นิตช์มัน (Bernard Nietchmann) จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอเนียที่เบอร์กเลย์ ซึ่งจะคอยให้การสนับสนุนทางด้านเทคนิคแก่โครงการ
เจอรัลเดส เฮอร์นานเดซ (Geraldes Hernandez) ผู้ประสานงานคนหนึ่งในการทำแผนที่ดาเรียนให้กับเผ่ากูนา ไม่สามารถกลั้นน้ำตาเอาไว้ได้ ขณะที่เขาอธิบายความเป็นมาเป็นไปของโครงการที่เขาทำ “มันเป็นประสบการณ์ที่ผิดปรกติธรรมดาจริงๆ แต่ก็เป็นเวลานานมาเหลือเกินที่สิทธิของประชาชนคนพื้นถิ่นไม่เคยได้รับการเคารพ จนไม่มีสันติภาพเกิดขึ้นเลยในประเทศนี้”
ขณะที่ ฮวน เชวาลิเยร์ (Juan Chevalier) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการปกครองและยุติธรรมของปานามา ก็ได้สร้างความประหลาดใจให้กับผู้ฟังการประชุมสัมมนาที่ปานามา ซิตี้ ด้วยประเด็นสนับสนุนทางสาธารณะที่จะให้ความใส่ใจทางกฎหมายเกี่ยวกับแผ่นดินแม่ของชาวอินเดียนในดาเรียน ทำให้ชาวอินเดียนทั้งหลายเริ่มมองเห็นความยุ่งยากที่จะเกิดขึ้น โดยเขาบอกกับที่ประชุมว่า รัฐบาลปานามาและโคลัมเบียได้พยายามแสวงหาเงินทุนระหว่างชาติ เพื่อที่จะสร้างทางหลวงสายแพน-อเมริกัน (Pan-American Highway) เชื่อมระหว่างสองประเทศ และทางหลวงสายดังกล่าวนี้จะไปจำกัดสิทธิในการอยู่กินบนแผ่นดินแม่ของชนเผ่าเอมเบรา วูนัน และกูนา
มีประจักษ์พยานเป็นสิ่งก่อสร้างที่แสดงให้เห็นถึงการทำลายทางวัฒนธรรมและนิเวศวิทยา ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเขื่อนพลังน้ำบายาโน (Bayano Hydropower Dam) และโครงการสร้างทางหลวงไกลสุดขอบฟ้าลงไปทางใต้อย่างยาไวซ่า (Yaviza) ซึ่งแมค ชาแปง หวั่นวิตกว่า ในอนาคตการครอบครองที่ดินของชาวอินเดียนในดาเรียนจะเป็นอย่างไรเมื่อถนนสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว “ถ้าไม่มีกำลังตำรวจคอยปกป้องคุ้มครองประชาชนและป่าไม้ของคนพื้นถิ่น ถนนจะกลายเป็นคลื่นหนุนนำเอาชาวไร่ชาวนาที่ไร้ที่ทำกิน ยาเสพติด และการปล้นสดมภ์เข้ามา สิ่งสืบเนื่องที่จะเกิดขึ้นกับชาวปานามาและอเมริกากลางทั้งมวล ก็คือ การทำลายล้าง” นับตั้งแต่ทศวรรษ 1940 อย่างน้อยที่สุด 2/3 ของผืนป่าดั้งเดิมที่เคยห่อหุ้มอเมริกากลางถูกทำลายไปอย่างสิ้นเชิง และก้าวย่างของการทำลายป่าไม้เพิ่มความเร็วขึ้นๆ อย่างน่าใจหาย ป่าฝนเขตร้อนผืนสุดท้ายที่ยังอยู่และชนอเมริกันพื้นถิ่นที่อาศัยอยู่ร่วมกับป่าแห่งนี้ กำลังลดลงไปก่อนที่ความก้าวหน้าของกิจการทำไม้ ปศุสัตว์ และเกษตรกร จะเข้ามาด้วยแรงบีบของการเพิ่มจำนวนประชากรขึ้นอย่างมากและการสูญเสียแผ่นดินแม่ของพื้นที่ริมฝั่งแปซิฟิก ผืนป่าฝนที่ทำหน้าที่เป็นเข็มขัดรัดพื้นที่นี้มีความอุดมสมบูรณ์เหลือเกิน อีกทั้งยังเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายอย่างยิ่ง ที่เป็นเสมือนสะพานแห่งพืชพรรณ (Vegetational Bridge) เชื่อมต่อระหว่างระบบนิเวศพื้นทวีปขนาดใหญ่ทั้งสองแห่งเข้าด้วยกัน คือ อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ นักนิเวศวิทยาเคยกล่าวไว้ว่า ถ้าหากแนวโน้มยังเป็นอยู่อย่างนี้ไปเรื่อยๆ ภายในปลายทศวรรษนี้สะพานป่าแห่งนี้ ก็จะผุพังและสลายลลงไปอย่างไม่สามารถเยียวยาได้เลย
เรื่อยลงมาตามความยาวของอ่าวแคริบเบียนในอเมริกากลาง ชนพื้นเมืองกลุ่มอื่นๆ ได้มีการรวมตัวกันเพื่อจับกลุ่มวิพากษ์และถกแถลงกันในประเด็นสิทธิในที่ดิน ในเบไลซ์ตอนใต้ (Belize) สภาวัฒนธรรมมายากลุ่มโทเลโด (Toledo Maya Cultural Council) กำลังถูกชักชวนให้สร้างโครงการแผ่นดินแม่ของมายัน (Mayan Homeland) ในนิคารากัว กลุ่มมิสกิโตได้กำหนดเขตพื้นที่อนุรักษ์ขึ้นมาบนชายฝั่งแอตแลนติก เพื่อที่จะทำหน้าที่ควบคุมความมั่งคั่งของทรัพยากรธรรมชาติของภูมิภาคของพวกเขา ในคอสตา ริกา ประชาชนชาวบริบรีและกาเบการ์ (Bribri and Cabecar) ร่วมกันก่อตั้งสภาพผู้สูงวัย (Councils of Elders) เพื่อให้ได้มาร่วมกันแสดงบทบาทผู้นำในการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพในลา อมิสตาด (La Amistad Biosphere Reserve) ใกล้ๆ กับตาลามันกา (Talamanca) ด้วยเสียงครวญครางของเลื่อยโซ่ที่ดังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กลุ่มประชาชนคนพื้นถิ่นเหล่านี้ ได้เริ่มต้นขยับเข้าหากันเพื่อที่จะทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ร่วมกันอย่างน้อยก็ร่วม 5 ปี 10 ปีผ่านมาแล้ว
เคราะห์ยังดีอยู่ ที่ยังคงมีความช่วยเหลือเข้ามาสู่หนทางของพวกเขาเหล่านี้บ้าง เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ มีกลุ่มอนุรักษ์ระดับนานาชาติเริ่มเห็นความสำคัญ อันเป็นความหวังที่ดีที่สุดสำหรับการอนุรักษ์สิ่งขาดแคลนที่ยังคงหลงเหลืออยู่บ้างของป่าฝนเขตร้อน ที่วางตัวอยู่เป็นส่วนๆ เพื่อสนับสนุนค้ำจุนสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย เพราะเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับนักอนุรักษ์จะทำการตัดสินใจอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับป่าฝนเขตร้อน ในการที่จะสงวนรักษาเอาไว้จนกระทั่งได้รู้ว่าพวกเขาเหล่านั้นได้อาศัยอยู่ภายในนั้น และรู้ว่าพวกเขาได้ใช้ประโยชน์จากป่าอย่างไร ความพยายามที่จะทำแผนที่ออกมาจึงเป็นขั้นตอนที่หนึ่งที่มีเหตุมีผลอย่างแท้จริง “แผนที่ที่ทำขึ้นมาโดยชาวอินเดียน เป็นสิ่งแรกเลยทีเดียวที่ช่วยสร้างยุทธศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ ในการพิทักษ์และคุ้มครองแผ่นดินแม่และความหลากหลายทางชีวภาพของคนพื้นถิ่น” แมค ชาแปง กล่าว
อันที่จริงแล้ว นักทำแผนที่หลายคนจากสถาบันภูมิศาสตร์แห่งชาติ (National Institutes of Geography) ของทั้งประเทศฮอนดูรัสและปานามา ที่เข้ามาทำงานร่วมกันตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการทำแผนที่ของชาวอินเดียน นั่นทำให้ถือได้ว่าแผนที่ดังกล่าวเป็นสิ่งที่วิเศษมากที่แผนที่ฉบับอื่นๆ ควรจะยึดเอาเป็นแบบอย่าง แต่ก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นไปเสียทั้งหมด จนกระทั่งแผนที่ของฮอนดูรัสได้ถูกผลิตขึ้นมา เป็นที่ยอมรับของนักอนุรักษ์ทั้งหลายต่อคุณค่าเชิงวิทยาศาสตร์ของแผนที่ของชาวอินเดียน จนทำให้คณะทำงานสามารถระดมทุนสนับสนุนสำหรับดำเนินการโครงการในปานามาต่อเนื่อง จากแหล่งทุนหลายๆ แหล่ง เป็นต้นว่า มูลนิธิอเมริกันนานาชาติ (Inter-American Foundation) สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (Wildlife Conservation Society) กองทุนอนุรักษ์ธรรมชาติ (The Nature Conservancy) กองทุนคุ้มครองสัตว์ป่า (World Wildlife Fund) และสถาบันทรัพยากรโลก (World Resources Institute)
การทำแผนที่แผ่นดินแม่ของคนพื้นถิ่นได้มีส่วนอย่างมากในการลบล้างตำนานอันเลวร้ายของลัทธิล่าอาณานิคม ที่บอกกล่าวกันว่าผืนแผ่นเหล่านี้ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้และกำลังถูกบุกรุกทำลาย เพราะความจริงแล้ว พื้นที่ดังกล่าวยังคงมีป่าไม้หลงเหลืออยู่ ป่าซาวันนาและพื้นที่ชุ่มน้ำยังคงสมบูรณ์อยู่ และเป็นพื้นที่ซ้อนทับกับขอบเขตของชาวอินเดียน อนุสาวรีย์ทางการเมืองถูกสร้างขึ้นมาด้วยกระบวนการเพิ่มความตระหนักของคนอินเดียนทั้งภูมิภาค เพื่อแสดงว่าพวกเขามีหลักคิดพื้นฐานที่จะอยู่กันอย่างแบ่งปันกับคนชนพื้นถิ่นเผ่าอื่นๆ และจะสร้างพลังให้แข็งแกร่งให้สามารถลุล่วงภารกิจในการพิทักษ์แผ่นดินแม่ของพวกเขาในทางกฏหมายให้ได้
สำหรับช่วงหนึ่งพันปีนี้ ประชาชนคนพื้นถิ่นได้มีการปรับวิถีชีวิตของตัวเองอย่างระมัดระวังภายใต้ความซับซ้อนทางนิเวศวิทยาของภูมิทัศน์ท้องถิ่น ด้วยจิตที่ต้องการให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่น้อยที่สุด พวกเขาจึงใช้ความมั่งคั่งของธรรมชาติเฉพาะแต่เพียงเพื่อการดำรงชีพให้สอดคล้องกับวิถีที่ยั่งยืนมากที่สุดเท่าที่มนุษยชาติพึงจะทำได้ ณ จุดที่พวกเขาต้องการความอยู่รอดเท่านั้น จึงจะต้องให้ความสำคัญกับประชาชนคนพื้นถิ่นเท่านั้น ที่จะให้ความหวังที่ดีที่สุดแก่การอนุรักษ์ความหลากหลายของชีวิตที่ยังคงเหลืออยู่
รองศาสตราจารย์พัฒนา ราชวงศ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร แปลและเรียบเรียงจากงานของ Derek Denniston. “Defending the Land with Maps.” WorldWatch Institute. January/February 1994: pp.27-32.
การปกป้องแผ่นดินแม่ด้วยแผนที่
เมื่อเดือนมกราคม ปี ค.ศ.1989 เรือบรรทุกคนถือปืนยาว จำนวน 2 ลำ แล่นเข้ามาใกล้กับปากแม่น้ำปาทูกา (Patuca River) ทางตอนเหนือของฮอนดูรัส และจอดทอดสมออยู่บริเวณชายฝั่งกรัวตารา (Krautara) ที่เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ของชาวอินเดียนตาวาขา ซูมู (Tawakha Sumu Indians) คนแปลกหน้าลงมาจากเรือพร้อมปืนสั้น และปืนกลยาว พวกเขาขนถ่ายเอาเลื่อยโซ่และถุงบรรจุอาหารจำนวนมากลงมา พวกเขาประกาศครอบครองสิทธิเหนือที่ดินทั้งหมดโดยรอบ แม้ว่าจะไม่มีแผ่นกระดาษแสดงสิทธิ์ก็ตาม สามเดือนต่อมาพวกเขาได้เข้ายึดครองหมู่บ้านของชาวอินเดียน บีบบังคับให้ครอบครัวหนึ่ง ให้ละทิ้งบ้านเรือนแล้วเข้าไปถางป่าฝนเขตร้อนที่เขียวขจีเพื่อทำเป็นพื้นที่ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ขนาด 20 เฮกแตร์ ปีต่อมาชาวอินเดียนต้องกลับเข้าไปเพื่อเผาป่าบริเวณภูเขาอีกลูกหนึ่ง ทุ่งหญ้าสำหรับปศุสัตว์มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับการทำไม้เพื่อการค้า และการไร้ที่ทำกินของชาวไร่ชาวนาก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นเองที่ทำให้สภาพปัจจุบันที่พบเห็นกัน ก็คือ การบุกรุกแผ่นดินแม่ของชาวอินเดียนที่เป็นชนเผ่าที่ฝังตัวแน่นอยู่พื้นที่ป่าห่างไกลผืนสุดท้าย ป่าและทุ่งหญ้าซาวันนา และพื้นที่ชุ่มน้ำของอเมริกากลาง
นักสำรวจชาวยุโรปจากซีกโลกตะวันตกระบุและบ่งชี้ว่าที่ดินที่ยังไม่ได้มีการตั้งรกรากโดยพวกเขาเองว่า เป็นที่ดินว่างเปล่าไร้การตั้งถิ่นฐานรกราก น่าเศร้ายิ่ง ที่การปฏิเสธการมีตัวตนออยู่ของชนพื้นเมืองในโลกสมัยใหม่อย่างสิ้นเชิงของเจ้าอาณานิคม แผ่นดินที่ไม่ได้มีการตั้งรกรากของชาวอินเดียนถูกกำหนดว่าเป็นพื้นที่ว่างเปล่า และยังคงไม่ได้รับการคำนึงถึงแม้แต่น้อยว่า ชนพื้นเมืองทั้งหลายเป็นเจ้าของที่ดินเหล่านั้น ... ตรงนี้คือประเด็นสำคัญ
มีสิ่งคุกคามหลายอย่างที่จะทำให้ปัญหาเหล่านี้เลวร้ายไปมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นก็คือ มีการคาดการณ์กันว่าภายในระยะเวลา 25 ปีข้างหน้านี้ ประชากรในย่านอเมริกากลางจะเพิ่มขึ้นมาเป็น 60 ล้านคน ด้วยสภาพที่เกิดการขาดแคลนพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ทางเดียวที่ชาวไร่ชาวนาจะทำได้ ก็คือ การเข้าป่าหาที่ดินผืนใหม่แล้วถากถางทำไม้ เลี้ยงสัตว์ หรือทำการเกษตรต่างๆ เพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งที่ดินทำกิน เนื่องจากว่าชาวไร่ชาวนาไม่ได้มีอำนาจหรือพลังมากพอที่จะปกปักษ์รักษาผืนที่ดินเอาไว้ แมค ชาแปง (Mac Chapin) ผู้อำนวยการโครงการจัดการที่ดินสำหรับคนพื้นถิ่นอาร์ลิงตัน (Arlington, Virginia-Based Native Lands) (ภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิไทดส์ (Tides Foundation) ที่ทำงานเกี่ยวกับการสร้างความมั่นคงในสิทธิที่ดินทำกินของคนพื้นถิ่น) ถึงกับกล่าวว่า “ความขัดแย้งหลายอย่างเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินกลายเป็นประเด็นก่อความไม่สงบสุขและประเด็นแห่งความตายที่ใหญ่หลวงของอเมริกากลาง และเป็นสิ่งคุกคามใหญ่ที่สุดที่เกิดกับวัฒนธรรมการดำรงอยู่ของคนพื้นเมืองที่นี่”
สองปีต่อมา ผู้นำอินเดียนหลายคนร่วมกับนักเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรม ที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของฮอนดูรัส ตัดสินใจที่จะต้องทำการเมืองของพื้นที่มอสคิสเทีย (Mosquitia Region) ที่มองไม่เห็นตัว ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดพลาดมาตลอดให้ถูกต้องเสียที ด้วยการทำแผนที่อย่างปราณีตแสดงให้เห็นตำแหน่งที่อยู่อาศัยของชนเผ่าการิฟูนา (Garifuna) เปช (Pesch) มิสกิโต (Miskito) และตาวาห์กา สูมู (Tawahka Sumu) พวกเขาทั้งหมดทำงานร่วมกันอย่างขันแข็ง เพื่อที่จะช่วยให้ชาวอินเดียนสร้างสรรค์รายละเอียดและบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นดินเกิดของพวกเขาให้อยู่ในรูปภาพที่มีตำแหน่งที่ตั้งชัดเจน แผนที่การใช้ที่ดิน (Land Use Map) ไม่ได้มีความจำเป็นจะต้องแสดงขอบเขตของการใช้แต่ละประเภท พวกเขาชี้แผ่นดินที่ทำกินของแต่ละคนและด้วยว่าที่ดินถูกใช้อย่างไร ขณะเดียวกันก็มีการยืนยันด้วยว่า แปลงที่ดินต่างๆ ไม่ได้ถูกทิ้งให้ว่างเปล่า แต่ถูกครอบครองโดยพวกเขาแต่ละคน
โครงการในฮอนดูรัสดำเนินการโดยมาสต้า (MASTA: Miskito Indian group) และโมปาวี (MOPAWI: Development of the Mosquitia) ซึ่งเป็นกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน ที่ทำงานโครงการจัดการกรรมสิทธิ์ที่ดินอย่างใกล้ชิดกับลุ่มชนพื้นถิ่นมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1987 ในกระบวนการทำแผนที่นั้น จะต้องมีการอบรมเชิงปฏิบัติการหลายอย่างหลายครั้ง มีการสำรวจการใช้ประโยชน์ที่ดิน และท้ายที่สุดก็จะจัดให้มีเวทีประชุมเสวนาระดับชาติขึ้นมาเพื่อให้แต่ละกลุ่มแต่ละพื้นที่ได้นำผลการดำเนินงานมานำเสนอ ขั้นสุดท้ายจริงๆ จึงได้มีการทำสำเนาขึ้นมาใหม่ในภูมิภาคดาเรียนของปานามา อันเป็นถิ่นฐานที่แท้จริงของชนเผ่าเอมเบรา วูนัน และกูนา (Embera, Wounaan and Kuna Tribes.) เนื่องจากผู้นำของคนพื้นถิ่นในปานามามีความเข้มแข็งมากกว่าที่อื่นๆ ดังนั้น โครงการที่สองจึงได้รับการประสานงานให้ดำเนินการโดยกลุ่มอินเดียนร่วมเผ่า (Intertribal Group of Indians) กับกลุ่มนักพัฒนาเอกชนกลาง (CEASPA: Centro de Estudios y Accion Social Panameno) แต่ทั้งหมดใช้วิธีการเดียวกันกับที่ได้ดำเนินการไปแล้วในฮอนดูรัส
ขั้นที่หนึ่ง (ตามภาพหน้า 2 ) เริ่มต้นจากการร่างแผนที่การใช้ที่ดินด้วยมือของนักสำรวจชนพื้นเมืองและชาวบ้านในภูมิภาคมารีอา (Marea SubRegion) เมืองดาเรียน (Darien) ประเทศปานามา ผืนแผ่นดินที่คนข้างนอกดูเหมือนว่าเป็นป่าทึบที่ไม่ได้มีความแตกต่างกัน ถูกคนในพื้นที่ร่วมกันจำแนกประเภทของการอยู่และใช้อย่างยั่งยืนในหลายๆ กิจกรรม
ขั้นที่สอง (ขวามือ) แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินของภูมิภาคมารีอา ที่ใช้ข้อมูลพื้นฐานจากแผนที่ของชาวอินเดียน แผนที่ของรัฐบาล และภาพถ่ายทางอากาศ แผนที่ของชาวอินเดียนให้รายละเอียดและความถูกต้องดีมากกว่าแผนที่ที่ผลิตขึ้นมาโดยหน่วยงานของรัฐ มาตราส่วนของแผนที่ คือ 1: 50,000 พื้นที่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าในแผนที่แสดงขนาดพื้นที่โดยประมาณได้จากขั้นตอนที่หนึ่งที่กล่าวมาแล้ว ทั้งในภูมิภาคมอสกิเทียและดาเรียน (Mosquitia and Darien Regions) ไม่มีใครสามารถเดินผ่านเข้าไปในป่าฝน ป่าและทุ่งหญ้าซาวันนา หรือพื้นที่ชุ่มน้ำได้เลย จะมีก็แต่คนพื้นถิ่นที่เข้าไปตั้งถิ่นฐานตามลำน้ำ มีหลายคนกล่าวขานถึงฤดูฝนล่าสุดว่าเป็นช่วงเวลาไม่กี่เดือนที่เต็มไปด้วยเห็บและลิ้นไร นั่นเองที่ทำให้ชาวอินเดียนต้องสร้างบ้านเรือนตามลำน้ำ ประชาชนพลเมืองไม่ได้รับการศึกษาและการบริการด้านสุขภาพ ทั้งสองภูมิภาคนี้ ชาวอินเดียนส่วนใหญ่ต้องเผชิญหน้ากับความรุนแรงจากผู้ที่เข้ามาทำปศุสัตว์ แน่นอนว่า ชนพื้นถิ่นพบเห็นผู้บุกรุกบริเวณชายขอบของพื้นที่
การประชุมสัมมนาครั้งแรกในฮอนดูรัสและปานามา ผู้มีส่วนร่วมกับโครงการได้เข้ามาถกแถลงกันอย่างเป็นกระบวนการ ปีเตอร์ เฮอร์ลิฮี (Peter Herlihy) นักภูมิศาสตร์วัฒนธรรมแห่งมหาวิทยาลัยแคนซัสที่ลอว์เรนซ์ ซึ่งได้ทำการศึกษาอย่างลึกซึ้งในทั้งสองพื้นที่ โดยเขาทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการให้เกิดการทำแผนที่ร่วมกัน เขาแบ่งภูมิทัศน์ออกเป็นย่านๆ มีขนาดพอเหมาะสำหรับผู้ที่จะออกสำรวจจริงในพื้นที่ ซึ่งจะใช้เวลาในพื้นที่เพียงไม่กี่สัปดาห์สำหรับพื้นที่ประมาณ 100-200 ตารางกิโลเมตร ผู้นำชาวอินเดียนจะช่วยคัดเลือกนักสำรวจพื้นเมือง โดยเลือกจากผู้ที่มีมีความรู้ที่แนบแน่นกับพื้นที่แต่ละย่าน และนักสำรวจเหล่านี้จะต้องมีความสามารถในการพูดและเขียนภาษาสเปนได้ด้วย ผู้ดำเนินการทั้งหลายจะต้องทำงานร่วมกันกับนักสำรวจพื้นเมืองเพื่อสร้างคำถามเกี่ยวกับการใช้ที่ดิน และกำหนดกระบวนการขั้นตอนในการบริหารงานสำรวจและทำแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน นักสำรวจแต่ละคนจะถือกระดาษแผ่นใหญ่และแบบสอบถาม พวกเขาจะต้องเดินผ่านเข้าไปในพื้นที่ทุกแห่ง ซึ่งบางแห่งมีโคลนลึกเหนือเข่าขึ้นมาเลยทีเดียว ในแต่ละหมู่บ้าน นักสำรวจจะต้องสำมะโนข้อมูลประชากรให้เรียบร้อย และได้สอบถามครอบครัวแต่ละครอบครัวเพื่อให้อธิบายเกี่ยวพื้นที่เกษตรกรรม ล่าสัตว์ จับปลา และเก็บสมุนไพรของพวกเขา รวมไปถึงพื้นที่พวกเขาไปตัดไม้มาสร้างบ้านเรือน ต่อเรือคานู และทำสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ แต่ละหมู่บ้านจะสร้างสัญลักษณ์ของพวกเขาเองมาแสดงกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดิน นักสำรวจจะร่วมมือกับประชาชนในหมู่บ้านเขียนรายละเอียดของแผนที่ด้วยมือ เพื่อแสดงกิจกรรมแต่ละอย่างที่เกิดขึ้นในจุดต่างๆ โดยอ้างอิงข้อมูลทางพื้นที่จากแม่น้ำหลายสาย (ดูแผนที่ในหน้าตรงข้ามและปกหลังของรายงาน)
หลังจากที่ได้เก็บข้อมูลจากทุกๆ ครอบครัวแล้ว นักสำรวจจะเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการประชุมสัมมนาครั้งที่ 2 โดยมีคณะนักเขียนแผนที่เข้ามาช่วยจัดการ ปรับข้อมูลให้ถูกต้อง และวิเคราะห์สารสนเทศ ในขั้นนี้มีการเปรียบเทียบข้อมูลจากภาพถ่ายทางอากาศกับแผนที่ที่ทำโดยหน่วยงานของรัฐบาล คณะทำงานจะผองถ่ายผลลัพธ์ที่ได้จากการสำรวจไปเป็นข้อมูลชุดใหม่ เป็นแผนที่สีผสมขนาดมาตราส่วน 1: 50,000 (ดูแผนที่ที่อยู่ในหน้านี้) จากนั้นนักสำรวจพื้นเมืองแต่ละคนจะกลับเข้าไปที่ชุมชนของพวกเขา เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของแผนที่ที่ทำด้วยมือและแผนที่สีผสมกับประชาชนในหมู่บ้าน ในกระบวนการเปรียบเทียบแผนที่ที่รัฐบาลจัดทำขึ้นกับภาพถ่ายทางอากาศที่ประชาชนนำมาเป็นฐานในการทำแผนที่ด้วยมือนั้น คณะนักทำแผนที่พบว่ามีสิ่งประหลาดบางอย่างเกิดขึ้น กล่าวคือ ไม่เพียงแต่ว่าแผนที่ทำมือของประชาชนจะมีตำแหน่งและสัดส่วนพื้นที่ที่ถูกต้องเท่านั้น แต่ยังพบว่าแผนที่ที่รัฐบาลเป็นผู้จัดทำมีความไม่ถูกต้องอยู่หลายส่วน คณะทำแผนที่พบว่า พื้นที่หลายแห่งที่ประชาชนชาวอินเดียนอาศัยอยู่นั้นสอดรับอย่างพอดิบพอดีกับภูมิทัศน์ธรรมชาติที่จะต้องสงวนรักษาเอาไว้ และที่สำคัญที่สุด คือ แผนที่ของชาวอินเดียนได้ให้ภาพแท้ๆ เป็นภาพแรกสุดของพื้นที่ที่พวกเขาอาศัยอยู่ พร้อมๆ กับบอกด้วยว่าพวกเขาจะใช้ผืนที่ดินของเขาเหล่านั้นเพื่อทำอะไร “ไม่มีใครรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับแผ่นดินแม่ของชาวอินเดียน” เฮอร์ลิฮีกล่าว “แต่อย่างน้อยที่สุด วันนี้เราก็ได้ภาพแรกของพวกเราเกี่ยวกับขอบเขตการใช้พื้นที่ที่กระจ่างขึ้น”
ในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 3 นักสำรวจทั้งหลายจะทำการรวบรวมแผนที่หลายฉบับ ภายใต้การแนะนำของคณะทำงานของเฮอร์ลิฮี เพื่อให้ได้แผนที่ฉบับปรับปรุงครั้งสุดท้ายที่มีมาตราส่วน 1: 250,000 (ดูแผนที่ในหน้า 30) แผนที่ฉบับนี้จะเรียกว่า แผนที่ต้นฉบับ (Master Map) ใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการนำเสนอเหตุการณ์ต่างๆ สำหรับการสัมมนาสองวันในเมืองหลวงของ 2 ประเทศ คือ เมืองเตกูซิกัลปา (Tegucigalpa) และปานามา ซิตี้ (Panama City)
จะเห็นได้ว่าการประชุมสัมมนาได้เปิดโอกาสเป็นครั้งแรก ให้กลุ่มประชาชนพื้นถิ่นหลายๆ กลุ่มเข้ามานำเสนอผลลัพธ์จากการทำงาน และการแลกเปลี่ยนความเห็นกัน เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินและรูปแบบการตั้งถิ่นฐานชุมชน ได้มีการรับฟังการนำเสนอต่อที่ประชุมของรัฐมนตรี ประชาชนพื้นที่ถิ่นกลุ่มอื่นๆ นักอนุรักษ์ และกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนประจำท้องถิ่นต่างๆ ด้วยการที่มีแผนที่และการประเมินด้วยเทคนิคเชิงวิทยาศาสตร์เป็นแกนกลาง ชาวอินเดียนได้สร้างระบบข้อมูลที่มีลักษณะเห็นได้ด้วยภาพและมีความน่าเชื่อถือ เพื่อนำไปสู่การรณรงค์ทางการเมืองในหลายประเด็น ประกอบด้วย การสร้างความถูกต้องเชิงกฎหมายให้กับแผนที่ดินแม่ของชุมชน (Legalizing Communal Homelands) การยับยั้งการโจมตีของเจ้าอาณานิคม (Stemming the Incursions of Colonization) ที่เข้ามาตั้งชุมชนใหม่และพัฒนาพื้นที่โดยบรรษัทข้ามชาติ และการแก้ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างผืนแผ่นดินแม่ของชาวอินเดียนกับพื้นที่อนุรักษ์ของชาติ “ชาวอินเดียนไม่ได้รับอนุญาตให้พูด การประชุมสัมมนาเหล่านี้เปิดโอกาสให้ได้พูดในประเด็นที่พวกเขาต้องการพูด” นี่คือคำกล่าวของแมค ชาแปง ผู้อำนวยการโครงการจัดการที่ดินสำหรับคนพื้นถิ่น จากการประชุมทำให้เกิดการปรับปรุงสิ่งต่างๆ จนลุล่วงมากกว่าที่ผู้มีส่วนร่วมเคยคาดหวังเอาไว้ ที่มากที่สุดก็คือ ผลลัพธ์จากงานของโมปาวีที่ทำให้ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินของชนพื้นถิ่น ถูกนำเข้าไปสู่การรับรู้อย่างจริงจังของนักการเมืองระดับชาติของฮอนดูรัส ส่วนในปานามานั้น ชนเผ่าเอมเบรา วูนัน และกูนา ไม่เคยมีโอกาสเข้าร่วมการประชุมสัมมนาระดับนี้มาก่อนเลย ระหว่างการประเมินอย่างไม่เป็นทางการของสภาแห่งชาติปานามาหลังจากการประชุมสัมมนาได้เสร็จสิ้นไปแล้ว เอลปิดิโอ โรซาเลส (Elpidio Rosales) ผู้นำชุมชนระดับภูมิภาคอายุ 63 ปี จากนิคมเอมเบรา-วูนัน กล่าวว่า “เมื่อคืนลุงนอนไม่หลับทั้งคืน มันปลาบปลื้ม ในหัวของลุงเต็มไปด้วยสิ่งสวยงามที่ลุงได้ยินได้เห็นระหว่างการประชุมสัมมนา”
ชาวอินเดียนกลุ่มอื่นๆ ที่เข้าร่วมเวทีประชุมสัมมนาล้วนแต่ให้การยอมรับ ชาวอินเดียนเผ่ามิสกิโตสองกลุ่มจากนิคารากัวเริ่มคลายกังวล พร้อมกับเข้าไปสอบถามผู้ประสานงานของชาวอินเดียนในที่ประชุมที่ปานามา ซิตี้ เพื่อให้ไปช่วยพวกเขาทำแผนที่ชุมชนที่จะเริ่มขึ้นในเดือนธันวาคม ทั้งนี้โดยผู้ประสานงานโครงการที่ดินของชนพื้นถิ่นในภาคสนาม นิกานอร์ กอนซาเลส (Nicanor Gonzales) ได้ชักชวนให้ชาวมิสกิโตมามีส่วนร่วมในการสำรวจการใช้ที่ดิน และกระบวนการทำแผนที่จะทำให้ง่ายขึ้นกว่าเดิม ภายใต้การจัดการของชนพื้นถิ่นเองเพื่อหลีกเลี่ยงบทลงโทษทางวัฒนธรรมบางอย่าง โครงการที่ดินของชนพื้นถิ่นกำลังทำงานร่วมกับนักภูมิศาสตร์ คือ เบอร์นาร์ด นิตช์มัน (Bernard Nietchmann) จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอเนียที่เบอร์กเลย์ ซึ่งจะคอยให้การสนับสนุนทางด้านเทคนิคแก่โครงการ
เจอรัลเดส เฮอร์นานเดซ (Geraldes Hernandez) ผู้ประสานงานคนหนึ่งในการทำแผนที่ดาเรียนให้กับเผ่ากูนา ไม่สามารถกลั้นน้ำตาเอาไว้ได้ ขณะที่เขาอธิบายความเป็นมาเป็นไปของโครงการที่เขาทำ “มันเป็นประสบการณ์ที่ผิดปรกติธรรมดาจริงๆ แต่ก็เป็นเวลานานมาเหลือเกินที่สิทธิของประชาชนคนพื้นถิ่นไม่เคยได้รับการเคารพ จนไม่มีสันติภาพเกิดขึ้นเลยในประเทศนี้”
ขณะที่ ฮวน เชวาลิเยร์ (Juan Chevalier) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการปกครองและยุติธรรมของปานามา ก็ได้สร้างความประหลาดใจให้กับผู้ฟังการประชุมสัมมนาที่ปานามา ซิตี้ ด้วยประเด็นสนับสนุนทางสาธารณะที่จะให้ความใส่ใจทางกฎหมายเกี่ยวกับแผ่นดินแม่ของชาวอินเดียนในดาเรียน ทำให้ชาวอินเดียนทั้งหลายเริ่มมองเห็นความยุ่งยากที่จะเกิดขึ้น โดยเขาบอกกับที่ประชุมว่า รัฐบาลปานามาและโคลัมเบียได้พยายามแสวงหาเงินทุนระหว่างชาติ เพื่อที่จะสร้างทางหลวงสายแพน-อเมริกัน (Pan-American Highway) เชื่อมระหว่างสองประเทศ และทางหลวงสายดังกล่าวนี้จะไปจำกัดสิทธิในการอยู่กินบนแผ่นดินแม่ของชนเผ่าเอมเบรา วูนัน และกูนา
มีประจักษ์พยานเป็นสิ่งก่อสร้างที่แสดงให้เห็นถึงการทำลายทางวัฒนธรรมและนิเวศวิทยา ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเขื่อนพลังน้ำบายาโน (Bayano Hydropower Dam) และโครงการสร้างทางหลวงไกลสุดขอบฟ้าลงไปทางใต้อย่างยาไวซ่า (Yaviza) ซึ่งแมค ชาแปง หวั่นวิตกว่า ในอนาคตการครอบครองที่ดินของชาวอินเดียนในดาเรียนจะเป็นอย่างไรเมื่อถนนสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว “ถ้าไม่มีกำลังตำรวจคอยปกป้องคุ้มครองประชาชนและป่าไม้ของคนพื้นถิ่น ถนนจะกลายเป็นคลื่นหนุนนำเอาชาวไร่ชาวนาที่ไร้ที่ทำกิน ยาเสพติด และการปล้นสดมภ์เข้ามา สิ่งสืบเนื่องที่จะเกิดขึ้นกับชาวปานามาและอเมริกากลางทั้งมวล ก็คือ การทำลายล้าง” นับตั้งแต่ทศวรรษ 1940 อย่างน้อยที่สุด 2/3 ของผืนป่าดั้งเดิมที่เคยห่อหุ้มอเมริกากลางถูกทำลายไปอย่างสิ้นเชิง และก้าวย่างของการทำลายป่าไม้เพิ่มความเร็วขึ้นๆ อย่างน่าใจหาย ป่าฝนเขตร้อนผืนสุดท้ายที่ยังอยู่และชนอเมริกันพื้นถิ่นที่อาศัยอยู่ร่วมกับป่าแห่งนี้ กำลังลดลงไปก่อนที่ความก้าวหน้าของกิจการทำไม้ ปศุสัตว์ และเกษตรกร จะเข้ามาด้วยแรงบีบของการเพิ่มจำนวนประชากรขึ้นอย่างมากและการสูญเสียแผ่นดินแม่ของพื้นที่ริมฝั่งแปซิฟิก ผืนป่าฝนที่ทำหน้าที่เป็นเข็มขัดรัดพื้นที่นี้มีความอุดมสมบูรณ์เหลือเกิน อีกทั้งยังเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายอย่างยิ่ง ที่เป็นเสมือนสะพานแห่งพืชพรรณ (Vegetational Bridge) เชื่อมต่อระหว่างระบบนิเวศพื้นทวีปขนาดใหญ่ทั้งสองแห่งเข้าด้วยกัน คือ อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ นักนิเวศวิทยาเคยกล่าวไว้ว่า ถ้าหากแนวโน้มยังเป็นอยู่อย่างนี้ไปเรื่อยๆ ภายในปลายทศวรรษนี้สะพานป่าแห่งนี้ ก็จะผุพังและสลายลลงไปอย่างไม่สามารถเยียวยาได้เลย
เรื่อยลงมาตามความยาวของอ่าวแคริบเบียนในอเมริกากลาง ชนพื้นเมืองกลุ่มอื่นๆ ได้มีการรวมตัวกันเพื่อจับกลุ่มวิพากษ์และถกแถลงกันในประเด็นสิทธิในที่ดิน ในเบไลซ์ตอนใต้ (Belize) สภาวัฒนธรรมมายากลุ่มโทเลโด (Toledo Maya Cultural Council) กำลังถูกชักชวนให้สร้างโครงการแผ่นดินแม่ของมายัน (Mayan Homeland) ในนิคารากัว กลุ่มมิสกิโตได้กำหนดเขตพื้นที่อนุรักษ์ขึ้นมาบนชายฝั่งแอตแลนติก เพื่อที่จะทำหน้าที่ควบคุมความมั่งคั่งของทรัพยากรธรรมชาติของภูมิภาคของพวกเขา ในคอสตา ริกา ประชาชนชาวบริบรีและกาเบการ์ (Bribri and Cabecar) ร่วมกันก่อตั้งสภาพผู้สูงวัย (Councils of Elders) เพื่อให้ได้มาร่วมกันแสดงบทบาทผู้นำในการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพในลา อมิสตาด (La Amistad Biosphere Reserve) ใกล้ๆ กับตาลามันกา (Talamanca) ด้วยเสียงครวญครางของเลื่อยโซ่ที่ดังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กลุ่มประชาชนคนพื้นถิ่นเหล่านี้ ได้เริ่มต้นขยับเข้าหากันเพื่อที่จะทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ร่วมกันอย่างน้อยก็ร่วม 5 ปี 10 ปีผ่านมาแล้ว
เคราะห์ยังดีอยู่ ที่ยังคงมีความช่วยเหลือเข้ามาสู่หนทางของพวกเขาเหล่านี้บ้าง เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ มีกลุ่มอนุรักษ์ระดับนานาชาติเริ่มเห็นความสำคัญ อันเป็นความหวังที่ดีที่สุดสำหรับการอนุรักษ์สิ่งขาดแคลนที่ยังคงหลงเหลืออยู่บ้างของป่าฝนเขตร้อน ที่วางตัวอยู่เป็นส่วนๆ เพื่อสนับสนุนค้ำจุนสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย เพราะเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับนักอนุรักษ์จะทำการตัดสินใจอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับป่าฝนเขตร้อน ในการที่จะสงวนรักษาเอาไว้จนกระทั่งได้รู้ว่าพวกเขาเหล่านั้นได้อาศัยอยู่ภายในนั้น และรู้ว่าพวกเขาได้ใช้ประโยชน์จากป่าอย่างไร ความพยายามที่จะทำแผนที่ออกมาจึงเป็นขั้นตอนที่หนึ่งที่มีเหตุมีผลอย่างแท้จริง “แผนที่ที่ทำขึ้นมาโดยชาวอินเดียน เป็นสิ่งแรกเลยทีเดียวที่ช่วยสร้างยุทธศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ ในการพิทักษ์และคุ้มครองแผ่นดินแม่และความหลากหลายทางชีวภาพของคนพื้นถิ่น” แมค ชาแปง กล่าว
อันที่จริงแล้ว นักทำแผนที่หลายคนจากสถาบันภูมิศาสตร์แห่งชาติ (National Institutes of Geography) ของทั้งประเทศฮอนดูรัสและปานามา ที่เข้ามาทำงานร่วมกันตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการทำแผนที่ของชาวอินเดียน นั่นทำให้ถือได้ว่าแผนที่ดังกล่าวเป็นสิ่งที่วิเศษมากที่แผนที่ฉบับอื่นๆ ควรจะยึดเอาเป็นแบบอย่าง แต่ก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นไปเสียทั้งหมด จนกระทั่งแผนที่ของฮอนดูรัสได้ถูกผลิตขึ้นมา เป็นที่ยอมรับของนักอนุรักษ์ทั้งหลายต่อคุณค่าเชิงวิทยาศาสตร์ของแผนที่ของชาวอินเดียน จนทำให้คณะทำงานสามารถระดมทุนสนับสนุนสำหรับดำเนินการโครงการในปานามาต่อเนื่อง จากแหล่งทุนหลายๆ แหล่ง เป็นต้นว่า มูลนิธิอเมริกันนานาชาติ (Inter-American Foundation) สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (Wildlife Conservation Society) กองทุนอนุรักษ์ธรรมชาติ (The Nature Conservancy) กองทุนคุ้มครองสัตว์ป่า (World Wildlife Fund) และสถาบันทรัพยากรโลก (World Resources Institute)
การทำแผนที่แผ่นดินแม่ของคนพื้นถิ่นได้มีส่วนอย่างมากในการลบล้างตำนานอันเลวร้ายของลัทธิล่าอาณานิคม ที่บอกกล่าวกันว่าผืนแผ่นเหล่านี้ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้และกำลังถูกบุกรุกทำลาย เพราะความจริงแล้ว พื้นที่ดังกล่าวยังคงมีป่าไม้หลงเหลืออยู่ ป่าซาวันนาและพื้นที่ชุ่มน้ำยังคงสมบูรณ์อยู่ และเป็นพื้นที่ซ้อนทับกับขอบเขตของชาวอินเดียน อนุสาวรีย์ทางการเมืองถูกสร้างขึ้นมาด้วยกระบวนการเพิ่มความตระหนักของคนอินเดียนทั้งภูมิภาค เพื่อแสดงว่าพวกเขามีหลักคิดพื้นฐานที่จะอยู่กันอย่างแบ่งปันกับคนชนพื้นถิ่นเผ่าอื่นๆ และจะสร้างพลังให้แข็งแกร่งให้สามารถลุล่วงภารกิจในการพิทักษ์แผ่นดินแม่ของพวกเขาในทางกฏหมายให้ได้
สำหรับช่วงหนึ่งพันปีนี้ ประชาชนคนพื้นถิ่นได้มีการปรับวิถีชีวิตของตัวเองอย่างระมัดระวังภายใต้ความซับซ้อนทางนิเวศวิทยาของภูมิทัศน์ท้องถิ่น ด้วยจิตที่ต้องการให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่น้อยที่สุด พวกเขาจึงใช้ความมั่งคั่งของธรรมชาติเฉพาะแต่เพียงเพื่อการดำรงชีพให้สอดคล้องกับวิถีที่ยั่งยืนมากที่สุดเท่าที่มนุษยชาติพึงจะทำได้ ณ จุดที่พวกเขาต้องการความอยู่รอดเท่านั้น จึงจะต้องให้ความสำคัญกับประชาชนคนพื้นถิ่นเท่านั้น ที่จะให้ความหวังที่ดีที่สุดแก่การอนุรักษ์ความหลากหลายของชีวิตที่ยังคงเหลืออยู่
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)