ภูมิศาสตร์ ภูมิรัฐศาสตร์ และทฤษฎีระบบโลก
ทฤษฎีระบบโลกเป็นสหวิทยาการในระดับมหภาคสำหรับประวัติศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมโลก
ซึ่งเน้นที่ระบบโลกเป็นหน่วยหลัก (แต่ไม่เฉพาะเจาะจง) ของการวิเคราะห์ทางสังคม “ระบบโลก” หมายถึง การแบ่งงานกัน (division of labor) ระหว่างภูมิภาคและข้ามชาติ ซึ่งแบ่งโลกออกเป็นประเทศแกนกลาง
ประเทศกึ่งขอบ และประเทศชายขอบรอบนอก
แม้ว่ามุมมองของระบบโลกจะไม่ได้รับความสนใจจากนักภูมิศาสตร์จนถึงช่วงทศวรรษ 1980 ซึ่งส่วนใหญ่อยู่วิชาในภูมิศาสตร์เศรษฐกิจและการเมือง
อย่างไรก็ตาม นักภูมิศาสตร์มีส่วนสำคัญในการกำหนดมุมมองของระบบโลกผ่านการพัฒนาเชิงทฤษฎีและการวิพากษ์วิจารณ์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำความเข้าใจกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในเมือง รัฐ
และภูมิรัฐศาสตร์
ทฤษฎีระบบโลกถือได้ว่าเป็นสาขาวิชาย่อยของการศึกษาภูมิศาสตร์การเมือง แม้ว่าจะมีใช้ทฤษฎี
วิธีการ และความสนใจร่วมกันมากมายในฐานะที่สนศึกษาวิชาภูมิศาสตร์มนุษย์
ภูมิศาสตร์ทางการเมืองก็มีความสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับอาณาเขต รัฐ อำนาจ และขอบเขต (รวมถึงพรมแดน) ที่มีขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ระดับพื้นที่เฉพาะไปจนถึงระดับโลก
ภูมิศาสตร์การเมืองได้ขยายขอบเขตของแนวทางรัฐศาสตร์แบบดั้งเดิมโดยยอมรับว่าการใช้อำนาจไม่ได้จำกัดเฉพาะรัฐและระบบราชการ
แต่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน
สิ่งนี้ส่งผลให้ความกังวลเกี่ยวกับภูมิศาสตร์การเมืองมีการซ้อนทับกันกับสาขาย่อยอื่นๆ
มากขึ้น เช่น ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ
และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับภูมิศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาการเมืองของสถานที่ต่างๆ
บทนำ
ทฤษฎีระบบโลกเป็นองค์ความรู้ที่ถูกสร้างขึ้นจากรากฐานของสำนักประวัติศาสตร์ซึ่งมีมุมมองที่เน้นถึงความสำคัญของโครงสร้างทางสังคมในวงกว้าง
ครอบคลุมประวัติศาสตร์และผลกระทบต่อชีวิตประจำวันอันยาวนาน (Baudel
1973; 1984) มุมมองของสำนักบรูเดล (Braudelian
perspective) นี้ ถูกดัดแปลงใหม่โดยอิมมานูเอล
วอลเลอร์สไตน์ (Immanuel Wallerstein …)
เอาไว้ในชุดเอกสารเชิงทฤษฎีทศวรรษ 1970 เสริมด้วยเอกสารทางประวัติศาสตร์เรื่องใหญ่ๆ
เกี่ยวกับทุนนิยมโลกหลายเล่ม
เอกสารที่ได้รับการตีพิมพ์ของวอลเลอร์สไตน์ได้รับการสนับสนุนจากการสร้างสรรค์ของศูนย์เฟอร์ดินาลด์
บรูเดล เพื่อการศึกษาเศรษฐกิจ ระบบประวัติศาสตร์ และอารยธรรม (Fernand
Braudel Center for the Study of Economies, Historical Systems, and
Civilizations) ซึ่งตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอ์ก
(State University
of New York – Binghamton) ในปี 1976 และการจัดตั้งวารสาร Review ในปีต่อมา ทั้งนี้ ทฤษฎีระบบโลกมองก้าวข้ามขอบเขตของรายวิชาไป
และระบุขนาดของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมให้อยู่ในฐานะระบบสังคมประวัติศาสตร์
ประวัติและผลงานทางทฤษฎีของวอลเลอร์สไตน์
มุ่งเน้นไปที่การขยายตัวของเศรษฐกิจทุนนิยมโลกจากต้นกำเนิดในช่วงกลางทศวรรษ 1400 สำหรับนักภูมิศาสตร์นั้น เริ่มให้ความสนใจทฤษฎีระบบโลกเนื่องจากทฤษฎีนี้ได้นำเสนอกรอบทฤษฎีในสาขาวิชาหนึ่งที่ตอนนั้นดูมีความเป็นทฤษฎีที่ชัดเจนค่อนข้างมาก
นอกจากนี้ ดูเหมือนว่าทฤษฎีระบบโลกจะสนับสนุนการค้นหาคำตอบต่อคำถามทางภูมิศาสตร์ในสองหลักการสำคัญ
คือ พื้นที่กับขนาด โดยพื้นที่เป็นส่วนที่มีความสำคัญในทฤษฎีนี้ ในการที่จะระบุความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่แต่ละพื้นที่มีอยู่ไม่เท่าเทียมกัน
จนทำให้เกิดรูปแบบความไม่เท่าเทียมกันในระดับโลก หรือด้วยวิธีการทางทฤษฎีแบบใหม่อธิบายเรื่องแบบนี้ว่าเป็น
"ความล้าหลัง" ส่วนคำถามเกี่ยวกับขนาดนั้นเห็นได้ชัดเจนในงานของปีเตอร์
เทย์เลอร์ ที่เขาต้องตกอยู่ในสถานการณ์ทางการเมืองทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติภายในโครงสร้างที่ครอบคลุมของเศรษฐกิจโลกทุนนิยม
ทั้งสองเส้นทางสู่ภูมิศาสตร์ได้รับการกล่าวถึงอย่างชัดแจ้งตั้งแต่เริ่มแรกโดยนักภูมิศาสตร์มนุษย์ในช่วงต้นทศวรรษ
1980 การนำเสนอทางทฤษฎีได้รับการนำเอามาเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์กับภูมิศาสตร์ร่วมกัน
และความเข้าใจที่มีต่อกิจกรรมทางการเมืองที่มีส่วนสร้างพื้นฐานและพื้นที่ต่างๆ ที่เป็นสื่อกลางของกิจกรรมทางการเมือง
ตัวอย่างเช่น รัฐชาติเป็นพื้นที่ที่ถูกสร้างขึ้นมาทางการเมือง
อีกตัวอย่างหนึ่งคือวิธีที่พื้นที่ต่างๆ ของลัทธิจักรวรรดินิยมทั้งแบบที่เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ
มีส่วนในการกำหนดรูปแบบของกิจกรรมทางการเมืองที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่เหล่านั้น
เมื่อตอนเริ่มต้นในทศวรรษ 1980 ภูมิศาสตร์มนุษย์มีความเป็นทฤษฎีไปบ้างมากขึ้น
การสร้างพื้นที่และสังคมร่วมกันก็กลายเป็นความจริง แม้ว่าจะมีความแปรผันในกรอบทฤษฎีก็ตาม
ประเด็นหลักที่จะทำการสำรวจในบทนี้ คือ วิธีที่การนำเสนอเบื้องต้นเกี่ยวกับพื้นที่ที่ถูกสร้างขึ้นมาทางการเมืองด้วยทฤษฎีระบบโลก
(world
system theory) ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีลักษณะเป็นโครงสร้างที่มากเกินไป
ทฤษฎีระบบโลกของ Wallerstein (2004) มีสำคัญมากในการฟื้นฟูภูมิศาสตร์การเมืองในทศวรรษ
1970 และ 1980 (Taylor 1981a; 1982;
Shelley and Flint 2000)
อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไป การพัฒนาเชิงทฤษฎีของสาขาวิชานี้ได้เข้ามามีส่วนต่อการจัดลำดับความสำคัญของการวิพากษ์แบบจำลองเชิงโครงสร้าง
ส่งผลให้บทบาททฤษฎีระบบโลกในการกำหนดกรอบการวิเคราะห์ทางภูมิศาสตร์ทางการเมืองลดลง
(Cox et
al. 2008a) ภูมิศาสตร์การเมืองร่วมสมัยถูกครอบงำด้วยแนวทางต่างๆ
ที่มักเน้นถึงเหตุการณ์ที่เป็นกรณีฉุกเฉิน องค์กร และเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดประจำวัน
มากกว่าการพิจารราประเด็นที่เป็นโครงสร้าง กระบวนการทางประวัติศาสตร์
และการเปลี่ยนแปลงระดับมหภาค ที่เป็นสิ่งที่ครอบงำทฤษฎีระบบโลกให้ความสนใจที่ทำการศึกษาวิเคราะห์
น่าแปลกที่ปัจจุบันการเน้นย้ำถึงการสร้างสังคมร่วมกันในด้านรัฐศาสตร์และภูมิศาสตร์ยังคงเป็นแก่นแกนของกรอบการทำงานที่ปีเตอร์
เทย์เลอร์ นำทฤษฎีระบบโลกมาใช้ในการพัฒนาภูมิศาสตร์การเมือง ทั้งนี้ ความแตกต่างที่สำคัญคือทฤษฎีระบบโลกเริ่มต้นด้วยมุมมองเชิงโครงสร้างมากกว่ามุมมองที่สนใจและพิจารราเหตุการณ์แบบทันทีทันใด
และแบบที่แอบอิงอยู่กับตัวการที่ทำให้เกิดเหตุการณ์เหล่านั้น
รายละเอียดที่มีอยู่พอสมควรของบทนี้ พยายามที่จะกล่าวถึงบทบาทของทฤษฎีระบบโลกในการกระตุ้นภูมิศาสตร์การเมืองและการวิพากษ์ต่อการมุ่งเน้นเชิงโครงสร้างของอดีต
โดยมีประเด็นที่สำคัญเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ที่ถูกสังคมสร้างขึ้นมาภายใต้กรอบทฤษฎีระบบโลก
บทบาทของขนาด ความเป็นเจ้าครองโลก
(hegemony) ผู้มีบทบาททางการเมือง (political actors) รัฐ (states) และเมืองของโลก (world-cities) ทั้งหลายเหล่านี้จะได้นำเสนอในรายละเอียด
บทสรุปของเรื่องจะพิจารณาถึงความเกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องของภูมิศาสตร์การเมืองของระบบโลกในฐานะเครื่องมืออธิบายเชิงประวัติศาสตร์
แม้ว่าจะมีข้อจำกัดที่เป็นที่ยอมรับให้อยู่ในฐานะกรอบทฤษฎีก็ตาม
ทั้งนี้จุดเน้นของบทนี้ถูกจำกัดเอาไว้ 2 ประการ โดยประการแรก เน้นที่นักวิชาการทางภูมิศาสตร์สายแองโกล-อเมริกัน
แม้ว่านี่จะเป็นภาพสะท้อนที่แท้จริงของจุดศูนย์ถ่วงของแนวทางระบบโลกที่มีต่อภูมิศาสตร์
แต่ว่ามุมมองที่ได้รับมาจากนักวิชาการทางภูมิศาสตร์สายฝรั่งเศสหรือเยอรมัน หรือส่วนอื่นๆ
ของโลก และประการที่สอง บทนี้จะได้กล่าวถึงประเด็นสำคัญที่น่าสนใจที่สุดสำหรับนักวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและที่ได้ศึกษามาตามแนวทางของปีเตอร์
เทย์เลอร์ บุคคลต่างๆ เหล่านี้มีส่วนอย่างมากในการเป็นพลังขับเคลื่อนทางปัญญาที่อยู่เบื้องหลังการฟื้นฟูระบบโลกของภูมิศาสตร์การเมือง
ทฤษฎีระบบโลกและการฟื้นตัวขึ้นมาใหม่ของภูมิศาสตร์การเมือง
ความสั่นสะเทือนร่วมสมัยของภูมิศาสตร์การเมือง
เป็นปรากฎการณ์ที่ไม่มีผู้ใดติดใจสงสัย การมีอยู่ของสาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีอยู่อย่างกว้างขวาง
ทำให้ International Studies Association Compendium กลายเป็นเครื่องยืนยันถึงการมองเห็นปรากฎการณ์นี้ได้เป็นอย่างดี
เช่นเดียวกับการสังเคราะห์งานวิจัยร่วมสมัยจำนวนมากมาย (เช่น ดู Agnew et
al. 2007;
Cox et al. 2008b) และจุดแข็งของวารสารการวิจัยภูมิศาสตร์การเมืองและภูมิรัฐศาสตร์
อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่นานมานี้เองที่มีภาพที่ดูเยือกเย็นกว่า ด้วยความคร่ำครวญของภูมิศาสตร์การเมืองที่มักถูกยกมาอ้างว่าเป็นเหมือน
“กระแสน้ำนิ่ง” (Berry 1969) นี่เป็นการสะท้อนที่เฉียบขาดแต่แม่นยำของความเกี่ยวข้องทางปัญญาของสาขาวิชานี้หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา
ภูมิศาสตร์การเมืองในทศวรรษ 1950 ถูกล้อมกรอบโดยทฤษฎีบทบาทของรัฐ (functional theory of
state) ซึ่งไม่มีที่ว่างสำหรับการเมืองฝ่ายตรงข้ามที่มีข้อโต้แย้งและมีบทบาทในการสร้างพื้นที่
(Hartshorne
1950)
การฟื้นตัวของภูมิศาสตร์การเมืองเกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1980 และมีการเขียนเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านและความมีชีวิตชีวาที่ตามมามากมาย
(Johnston
2001)
ประเด็นที่ต้องการเน้นในที่นี้ คือ ทฤษฎีระบบโลกมีบทบาทสำคัญในการฟื้นคืนชีพของภูมิศาสตร์การเมือง
ในช่วงสองสามปีแรกของความสนใจในภูมิศาสตร์การเมือง
ทฤษฎีระบบโลกเป็นกรอบการจัดระเบียบที่เป็นศูนย์กลาง ไม่ว่าจะโดยเปิดเผยหรือโดยนัย
การฟื้นตัวของภูมิศาสตร์การเมืองเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการและสังคมที่เชื่อมโยงกัน
นักภูมิศาสตร์มนุษย์รู้สึกท้อแท้กับความหยาบคายและการขาดกระบวนการและโครงสร้างทางสังคมในการศึกษาเชิงปริมาณที่เป็นผู้นำเข้ามาในสาขานี้ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ
1960 ที่มีการปฏิวัติเชิงปริมาณของสาขาวิชา (Johnston
& Sidaway 2004) นักภูมิศาสตร์และนักวิชาการคนอื่นๆ
กำลังหันหลังกลับอย่างรุนแรง โดยใช้แนวทางมาร์กซิสต์ (Harvey
1973) นอกจากนี้
ความวุ่นวายทางสังคมของการจลาจลภายในเมืองและการต่อต้านสงครามเวียดนาม ยังทำให้นักภูมิศาสตร์มนุษย์จำเป็นต้องระดมกรอบทฤษฎีที่อาจบ่งบอกถึงความขัดแย้งในโลกแห่งความเป็นจริง
(Flint
1999)
ถึงเวลาแล้วที่จะหลีกหนีจากข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์การเมืองหลังสงครามที่ไร้เหตุผล บทบาทหน้าที่
และความเป็นศูนย์กลางของรัฐ
นักวิชาการเช่นเควิน คอกซ์ (Kevin
Cox 1973) และเดวิด ฮาร์วีย์ (David
Harvey 973) ให้ความสนใจอย่างมากต่อการเพิ่มมุมมองทางภูมิศาสตร์ให้กับผลงานของ
Karl
Marx และการตีความร่วมสมัยของตำราของเขา
ในอีกทางหนึ่ง ปีเตอร์ เทย์เลอร์ ได้กำหนดเส้นทางอื่นๆ สำหรับภูมิศาสตร์การเมือง
ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นการเรียนรู้จากงานเขียนของอิมมานูเอล วอลเลอร์สไตน์ และจากสำนักแอนนาเลส ความน่าสนใจของทฤษฎีระบบโลกของเทย์เลอร์ไม่เพียงแต่เป็นวาระที่ต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิงเท่านั้น
แต่ยังมีบทบาทเป็นกรอบการทำงานที่ก่อให้เกิดรูปแบบใหม่ของภูมิศาสตร์การเมือง (Taylor 1982) ประการแรก
ทฤษฎีระบบโลกได้กระตุ้นการอภิปรายในระดับอื่นนอกเหนือจากรัฐ ผ่านแนวคิดของระบบสังคมทางประวัติศาสตร์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบเศรษฐกิจโลกแบบทุนนิยม ประการที่สอง แนวคิดเกี่ยวกับพื้นที่แกนกลาง
ชายขอบ และกึ่งชายขอบ ได้รับการส่งเสริมให้นำมารวมเข้ากับข้อกังวลทางภูมิศาสตร์ดั้งเดิมของความแตกต่างของพื้นที่
(Terlouw
1992; Dezzani 2001)
ทฤษฎีระบบโลกช่วยให้นักภูมิศาสตร์สามารถจัดการกับขนาดโลกได้อีกครั้ง
ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากท่ามกลางแนวทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เคยปนเปื้อนมาตั้งแต่ช่วงก่อนสงคราม
(Dodds
and Atkinson 2000)
นอกจากนี้ยังให้ความรู้สึกถึงกระบวนการทางภูมิศาสตร์การเมือง
พลวัตของเศรษฐกิจโลกทุนนิยมที่เกิดขึ้นผ่านการประยุกต์ใช้แนวคิดคลื่นคอนดราเทียฟ (kondratieff
waves)
ถูกระบุว่าเป็นตัวขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ทางการเมือง (Taylor
1985; Flint and Taylor 2007) คลื่นคอนดราเทียฟจะเกิดขึ้นมาแบบซ้ำๆ
เป็นวงจรการเปลี่ยนแปลงรอบๆละ ประมาณ 50 ปี ประกอบด้วย ช่วงของการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลก
และตามมาด้วยระยะเวลาที่ชะงักงันและช่วงเวลาที่มีการปรับโครงสร้างใหม่ตามมา ทั้งนี้ช่วงเวลาของการเติบโตจะมีความเกี่ยวข้องกับการนำนวัตกรรมทางเศรษฐกิจใหม่ๆ
มาใช้ ขณะที่ช่วงเวลาของภาวะชะงักงันจะแสดงให้เห็นว่ามีการนำเอาการเมืองมาใช้อย่างเข้มข้น
เพื่อให้มีการกระจายใหม่อีกครั้งและเกิดการแข่งขันระหว่างรัฐและระหว่างธุรกิจ
ผลลัพธ์ที่ได้ คือ ตรรกะทางการเมืองและเศรษฐกิจสำหรับภูมิศาสตร์การเมืองที่เป็นจุดเกิดกิจกรรมและเหตุการณ์ทางการเมืองภายในบริบทกาลเทศะของพลวัตของคลื่นคอนดราเทียฟ
และตำแหน่งของกิจกรรมทางการเมืองภายในลำดับศักย์ของความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่แกนกลางและพื้นที่ชายขอบ
องค์ประกอบที่สำคัญของมุมมองนี้ คือ รัฐเป็นรูปแบบหนึ่งของผู้มีบทบาททางการเมือง หรือสถาบัน
มากกว่าที่จะเป็นสาเหตุของระเบียบวินัย ดังที่เคยเป็นมาในทฤษฎีบทบาทหน้าที่ที่เคยมีมาตั้งแต่ทศวรรษ
1950
เทย์เลอร์ส่งเสริมให้ใช้มุมมองภูมิศาสตร์การเมืองบนทฤษฎีระบบโลก
ที่จะได้อภิปรายกันต่อไป รวมทั้งตำราเล่มสำคัญ “ภูมิศาสตร์การเมือง – political
geography” (Taylor
1985; Flint & Taylor 2007)
นอกจากนี้ ยังมีงานที่เคยริเริ่มเอาไว้เกี่ยวกับภูมิศาสตร์การเมืองในกรอบทฤษฎีระบบโลก
ตัวอย่างเช่น “ภูมิศาสตร์ของความรุนแรงและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร - geography
of violence and premature death” (Johnston
et al. 1987 และปรับปรุงโดย van der Wusten 2005) และ “ภูมิศาสตร์การเลือกตั้ง – geography
of elections” ที่วิเคราะห์ผ่านมุมมองของระบบโลก
(Taylor
1986; 1991a) นอกจากนี้
การจัดตั้งวารสารวิชาการระดับแนวหน้าของสาขาวิชาภูมิศาสตร์การเมืองที่ฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ในปี
1982 มีวาระการวิจัยที่เขียนขึ้นโดยกองบรรณาธิการด้วยถ้อยความเป็นภาษาตามมุมมองของระบบโลก
โดยไม่ต้องสงสัย ทฤษฎีระบบโลกมีความสำคัญ
แม้ว่าจะไม่ใช่เพียงตัวเร่งปฏิกิริยาในการฟื้นฟูวิชาภูมิศาสตร์การเมือง
โดยมีปีเตอร์ เทย์เลอร์ เป็นผู้มีส่วนร่วมสำคัญที่สุด
การฟื้นตัวขึ้นใหม่ของภูมิศาสตร์การเมืองและทฤษฎีระบบโลก
การฟื้นคืนชีพของภูมิศาสตร์การเมืองพัฒนาขึ้นผ่านการมีส่วนร่วมกับมุมมองทางปรัชญาและทฤษฎีที่หลากหลาย
ทั้งนี้วิชาภูมิศาสตร์การเมืองร่วมสมัยเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีสตรีนิยมและเพศทางเลือก
รวมถึงการมีมุมมองที่หลากหลาย เช่น ทฤษฎีเครือข่ายผู้มีบทบาท (actor*network theory)
ที่อยู่ภายใต้ร่มกว้างของลัทธิหลังสมัยใหม่และหลังโครงสร้างนิยม (Agnew
et al. 2007) สำหรับทฤษฎีระบบโลกนั้นไม่เพียงแต่จะถูกเคลื่อนย้ายออกมาจากแกนหลักของกรอบทฤษฎีของสาขาวิชานี้เท่านั้น
แต่ยังสนับสนุนให้มีการวิพากษ์หลักการของระบบโลกในบริบทของภูมิศาสตร์การเมืองด้วย ซึ่งมีวิธีการวิพากษ์ต่อเรื่อง
3 วิธี คือ การกำหนดสิ่งต่างๆตามโครงสร้าง การระบุผู้มีบทบาททางภูมิรัฐศาสตร์ และการมุ่งเน้นไปที่ตัวแทนภูมิรัฐศาสตร์
(Kuus
2009)
เมทริกซ์กาลเทศะที่ร่างขึ้นมาโดยเทย์เลอร์ (Taylor 1985) กลายเป็นอาการลังเลตามมุมมองทางทฤษฎี ที่ระบุว่า มีลักษณะเป็นไปตามโครงสร้างของเหตุกำหนด
(structural determinism) แม้จะมีความพยายามอย่างมากของพีท (Peet 1998) ที่จะทำการอธิบายความซับซ้อนและความบังเอิญของโครงสร้าง และเซเยอร์
(Sayer 1992)
ที่พยายามจะนิยามสัจนิยมเชิงปรัชญา
(philosophical realism) ให้เป็นกรอบที่เหมาะสมสำหรับการศึกษาในวิชาภูมิศาสตร์ แต่ว่าการไม่เห็นชอบต่อโครงสร้างของเหตุกำหนด
ได้กลับกลายเป็นการชุมนุมกันเป็นคลื่นลูกที่สองของนักภูมิศาสตร์การเมือง
ทฤษฎีระบบโลกเป็นเป้าหมายหนึ่งผู้ชุมนุม เนื่องจากทฤษฎีนี้มีความโดดเด่นและชัดเจนตามกรอบของคลื่นคอนดราเทียฟที่มีระยะเวลาของการพัฒนาและวัฏจักรการเกิดซ้ำเป็นช่วงๆ
ละ 25 ปี สำหรับการจัดหมวดหมู่เหตุการณ์ทางการเมืองแต่ละเหตุการณ์ เช่น สงคราม (Johnston et al. 1987) และการเลือกตั้ง (Taylor 1986) จะเกิดขึ้นบนตำแหน่งที่ตั้งเฉพาะภายในกรอบลำดับศักย์ของพื้นที่แกนกลาง-ชายขอบ
ทำให้เห็นได้ชัดว่ามีพื้นที่ไม่มากนักที่อยู่ในความสนใจเกี่ยวกับการแข่งขันทางการเมืองและเหตุการณ์ทางการเมืองที่ไม่แน่นอน
คำวิจารณ์ที่เกี่ยวข้องเกิดขึ้นจากการโต้แย้งของสกอคโปล
(Skocpol 1977) ว่า ทฤษฎีระบบโลกโดยการขยายขอบเขตทางภูมิศาสตร์การเมืองที่เกี่ยวข้อง ได้มีส่วนกีดกันองค์กรของรัฐให้ออกไปอยู่ในพื้นที่ชายขอบ
แม้จะมีการประชดว่าเป็นการรับรู้ถึงโครงสร้างทางการเมืองอื่นที่ไม่ใช่สถานะที่ดึงดูดใจภูมิศาสตร์การเมืองของทฤษฎีระบบโลก
การวิพากษ์วิจารณ์ของสกอคโปลที่ได้พัฒนาจนกลายเป็นจุดยืนที่ทฤษฎีระบบโลกดึงความสนใจออกจากผู้มีบทบาทและหน่วยงาน
นักภูมิศาสตร์การเมืองได้พัฒนาวิธีการมนุษยนิยม (humanistism) ปรากฏการณ์นิยม (phenomenolism) และสตรีนิยม (feministism) ขึ้นมาเพื่อเน้นย้ำกลุ่มผู้มีบทบาททางการเมือง
(Johnston and Sidaway 2004)
จุดสนใจใหม่เกี่ยวกับอัตลักษณ์ที่หลากหลายและภาระผูกพันของผู้มีบทบาททางการเมือง ภายใต้ระบบโลกมีสถาบันหลักที่ใช้เป็นหน่วยวิเคราะห์
4 สถาบัน ได้แก่ ครัวเรือน รัฐ ชนชั้น และเชื้อชาติ/ชาติพันธุ์ สถาบันเหล่านี้นี่เองที่ทำให้สิ่งที่สามารถตีความได้ว่าเป็นบทบาทหน้าที่ของสถาบันเหล่านี้
(Wallerstein 1984) และมีความพยายามที่จะกอบกู้ภูมิศาสตร์ให้ออกจากร่องรอยทางเดินที่ยึดมั่นถือมั่นต่อบทบาทหน้าที่ในช่วงหลังสงคราม
ผ่านการประยุกต์ใช้ระบบโลก ส่งผลให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับบทบาทนิยมที่มีส่วนสำคัญในการกำหนดโครงสร้าง
แม้ว่าจะมีทฤษฎีที่ดีเพิ่มขึ้นอีกเป็นโหลก็ตาม
พื้นฐานประการที่สามสำหรับการทำให้ทฤษฎีระบบโลกกลายเป็นชายขอบ
คือ "การกลับขึ้นมาเป็นตัวแทน" ของภูมิศาสตร์มนุษย์ เริ่มจากงานของฟูโกต์และแนวคิดเกี่ยวกับวาทกรรม การเป็นตัวแทนของภูมิรัฐศาสตร์
แทนที่จะวิเคราะห์เหตุการณ์ด้วยตัวมันเอง เข้ามาครอบงำขอบเขตของภูมิศาสตร์การเมืองที่สนใจในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
(Ó
Tuathail 1996) วิธีการดังกล่าวปฏิเสธ
"คำบรรยายอภิมาน" เช่นที่จัดทำโดยทฤษฎีระบบโลก
แต่เน้นที่การแยกแยะโครงสร้างของข้อความที่มีอยู่แทน
เมื่อรวมกันแล้ว แนวทางการวิจารณ์ทั้งสามก็ทำให้อิทธิพลของทฤษฎีระบบโลกที่มีต่อภูมิศาสตร์การเมืองเสื่อมถอยลง
มุ่งเน้นที่สิทธิ์เสรีและการเป็นตัวแทน
และการเน้นในวงกว้างเกี่ยวกับคอนสตรัคติวิสต์ทางสังคมและเหตุการณ์ฉุกเฉินถูกคัดค้านอย่างมาก
ตามความเห็นเป็นเอกฉันท์ กับสัจพจน์ของทฤษฎีระบบโลก (Harvey
1985; Agnew 2005) อันที่จริง
สิ่งที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นกรอบการจัดระเบียบที่อุดมสมบูรณ์ นั่นคือ เมทริกซ์กาลเทศะ
(space–time matrix) ถูกระบุว่าเป็นช่องแคบ พลวัตชั่วขณะของคลื่นคอนดราเทียฟและรีสอร์ทที่พร้อมสำหรับคำจำกัดความเชิงพื้นที่กว้างๆ
ของพื้นที่แกนกลางและชายขอบ
ทำให้ข้อกล่าวหาของการกำหนดระดับนิยมเป็นเรื่องง่ายและสมเหตุสมผลในระดับสูง
อย่างไรก็ตาม หวังว่ารายละเอียดของบทนี้จะได้แสดงให้เห็นถึงสิ่งสำคัญๆ ว่าการประยุกต์ใช้ทฤษฎีระบบโลกทางภูมิศาสตร์ทางการเมืองส่วนใหญ่นั้นเป็นกลุ่มโครงสร้างนิยมทางสังคมโดยธรรมชาติ
ซึ่งจะมีความอ่อนไหวต่อความซับซ้อนของผู้มีบทบาททางภูมิรัฐศาสตร์
และตระหนักถึงภาวะฉุกเฉิน
ทฤษฎีระบบโลกและระดับทางการเมือง
นับตั้งแต่เริ่มแรกที่เข้าไปมีส่วนร่วมกับทฤษฎีระบบโลก ปีเตอร์
เทย์เลอร์ ทำให้เห็นว่าระดับของภูมิศาสตร์ (geographic scale) ที่เป็นจุดศูนย์กลางของภูมิศาสตร์การเมือง (Taylor 1981b) โดยงานเขียนที่สำคัญของเขาได้กำหนดสถานะในกรอบการเมืองของโครงสร้างขนาดทางสังคม
ให้เป็นกระบวนการหลักของสาขาวิชานี้ ที่ฟื้นคืนชีพกลับมาอีกครั้ง โดยการฟื้นคืนชีพนี้ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กรอบโครงสร้างระดับของเทย์เลอร์
ซึ่งรวมถึงสิ่งที่ได้กลายเป็นการตีความอย่างไม่มีคำถามเกี่ยวกับธรรมชาติของระดับที่เทย์เลอร์สร้างขึ้นมาใหม่
หรือระดับที่เคยมีอยู่ก่อนแล้ว (Marston 2000) ดังรายละเอียดของบทนี้ที่จะแสดงให้เห็นว่า
การวิพากษ์วิจารณ์เหล่านี้ได้ละเว้นประเด็นเกี่ยวกับกรอบและกระบวนการทางการเมืองที่เทย์เลอร์เน้นย้ำเอาไว้
ระดับของภูมิศาสตร์ของเทย์เลอร์ถูกสร้างขึ้นในเชิงสังคม
แต่ตามธรรมเนียมของทฤษฎีระบบโลกแล้ว ช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญมากๆ และอยู่เหนือความฉับไวที่ยังคงครอบงำวิชาภูมิศาสตร์การเมืองร่วมสมัย
ระดับทางภูมิศาสตร์การเมืองของเทย์เลอร์ (Taylor 1981b) ที่แบ่งเอาไว้คร่าวๆ แต่มีความหมาย ประกอบด้วย ภูมิศาสตร์การเมืองระดับท้องถิ่น
(local
scale เรียกว่าเป็นการเมืองระดับประสบการณ์)
ภูมิศาสตร์การเมืองระดับรัฐชาติ (nation-state scale เป็นการเมืองระดับอุดมการณ์) และภูมิศาสตร์การเมืองระดับโลก
(global
scale เป็นการเมืองระดับสถานการณ์ที่เป็นความจริง)
ภูมิศาสตร์การเมืองระดับท้องถิ่นถูกมองว่าเป็นสภาพแวดล้อมในชีวิตประจำวันหรือสถานการณ์ทางภูมิศาสตร์หรือสถานที่ที่เหตุการณ์เกิดขึ้นและเกิดเป็นประสบการณ์ชีวิต
คำจำกัดความของภูมิศาสตร์การเมืองระดับนี้สะท้อนให้เห็นความสำคัญของการเมืองของสถานที่
(politic
of place) (Agnew
1987) มีการพิจารณาว่าสถานที่จะทำหน้าที่กรองข้อมูลและมีโอกาสที่จะทำให้มีการดำเนินการทางการเมืองขึ้นที่นั่น
ขณะที่ภูมิศาสตร์การเมืองระดับโลกถูกระบุว่าเป็นประเด็นต่างๆ ทางการเมืองที่เป็นความจริง
สะท้อนโครงสร้างของทฤษฎีระบบโลก ส่วนขอบเขตของระบบสังคมนั้นแสดงได้ด้วยขอบเขตทางภูมิศาสตร์เศรษฐกิจโลกทุนนิยมที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปลายทศวรรษ
1800 ดังนั้น
ขอบเขตทางภูมิศาสตร์ของกระบวนการทางการเมืองและเศรษฐกิจจึงถูกติดตามตรวจสอบเรื่อยไปจนถึงระดับโลก
อีกทั้งยังมีแรงจูงใจทางการเมืองที่เรียกว่าความเป็นจริงระดับโลก กิจกรรมต่างๆ
ในกรอบแนวความคิดแบบมาร์กซิสต์ ที่เป็นการต่อต้านการเมืองเชิงระบบ จะมุ่งเป้าหมายไปยังระดับกระบวนการดำเนินการทางเศรษฐกิจ
ทั้งนี้หากทฤษฎีระบบโลกอ้างว่าขอบเขตของเศรษฐกิจเป็นสากล การเคลื่อนไหวทางการเมืองก็ควรจะมุ่งเป้าไปที่ภูมิศาสตร์การเมืองระดับโลกด้วยเช่นเดียวกัน
การไม่สอดสัมพันธ์กันของระดับกระบวนการทางเศรษฐกิจของโลกกับการมุ่งเน้นที่รัฐจะดำเนินการทางการเมืองนั้น
ตั้งอยู่เป็นหลักการเบื้องต้นของเทย์เลอร์ที่บ่งชี้ว่ารัฐชาติเป็นหน่วยการวิเคราะห์ภูมิศาสตร์การเมืองระดับอุดมการณ์
การเมืองตามมุมมองของเทย์เลอร์ (Taylor 1987; 1991b) จึงติดอยู่กับข้อจำกัดความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงในระดับรัฐชาติที่มีความโดดเด่นมากทางด้านอุดมการณ์
เนื่องจากเป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นสถาบันที่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการควบคุมว่าจะบรรลุเป้าหมายทางการเมืองหรือไม่
อย่างไรก็ตาม เทย์เลอร์ตั้งคำถามกับข้อโต้แย้งที่เด่นชัดนี้
และมองว่าการระบุระดับรัฐเป็นเป้าหมายทางการเมืองที่สำคัญว่า เป็นการหลอกลวงทางอุดมการณ์
ขบวนการต่อต้านระบบถูกเบี่ยงเบนไปเพื่อค้นหาการควบคุมในระดับอื่น นอกเหนือจากที่กระบวนการทางเศรษฐกิจดำเนินการในท้ายที่สุด
ตัวอย่างเช่น นโยบายสังคมนิยมของเกาหลีเหนือ ถูกมองว่าเป็นสิ่งที่สร้างความรำคาญมากกว่าเป็นการท้าทายต่อเศรษฐกิจโลกแบบทุนนิยม
นอกจากนี้ การเมืองต่อต้านระบบของลัทธิคอมมิวนิสต์สากลที่นำไปสู่การปฏิวัติรัสเซีย
และการก่อตั้งสหภาพโซเวียตก็ถูกจำกัดอย่างรวดเร็วภายใต้กรอบการเป็น
"สังคมนิยมในรัฐเดียว" (Taylor 1992)
ภายใต้คำจำกัดความเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นความรู้สึกว่าระดับของเศรษฐกิจโลกทุนนิยมนั้นถูกสร้างขึ้นมาโดยสังคม
แม้ว่าเทย์เลอร์จะไม่ได้ใช้ภาษาแบบนี้อย่างชัดแจ้งมาตั้งแต่แรก
เนื่องจากมันเพิ่งเข้ามาในสมัยภายหลังเท่านั้น คำว่า “ระดับโลก”
มีความหมายเหมือนกันกับขอบเขตของเศรษฐกิจโลกทุนนิยม เป็นผลจากกิจกรรมต่างๆ มากมายของบุคคล
บริษัท ครัวเรือน รัฐ ฯลฯ (แม้ว่านักทฤษฎีระบบโลกจะยอมเปิดกว้างต่อข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการกำหนดโครงสร้างโดยไม่พิจารณาโครงสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้มีบทบาทสำคัญ)
ในความเป็นจริง อาจมีการโต้แย้งว่าผู้มีบทบาทหลักในระดับโลก เช่น
บริษัทข้ามชาติและสถาบันระดับโลก (เช่น องค์การสหประชาชาติ) ถูกละเลย
สิ่งสำคัญที่สุดคือมีการสร้างภูมิศาสตร์การเมืองซึ่งมีหน่วยทางการเมือง (รัฐ)
หลายแห่งปรากฎอยู่ภายในขอบเขตของเศรษฐกิจเดียว
ความไม่สอดคล้องทางภูมิศาสตร์ระหว่างการควบคุมทางการเมืองกับขอบเขตของกระบวนการทางเศรษฐกิจนั้นมีลักษณะเฉพาะที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจโลกทุนนิยม
(Flint & Taylor 2007) ซึ่งตามระบบสังคมในอดีตที่ผ่านมา
(ระบบขนาดเล็กและจักรวรรดิโลก) ขอบเขตของกระบวนการทางการเมืองและเศรษฐกิจนั้นเป็นสิ่งที่เหมือนกัน
การระบุระดับของภูมิศาสตร์การเมืองเป็นส่วนสำคัญในการทำให้ภูมิศาสตร์การเมืองมีการขยายตัวออกไป
กรอบการทำงานสามระดับที่ว่านี้ เป็นการเสนอวิธีการเกี่ยวกับบริบทหรือเป็นการกำหนดพฤติกรรมทางการเมืองภายในกระบวนการแบบกว้างๆ
อย่างไรก็ตาม
การเน้นโครงสร้างของกรอบนี้นำไปสู่การวิพากษ์เชิงทฤษฎีตามมา (Marston
2000) การแบ่งระดับทั้งสามระดับของเทย์เลอร์
ถือเป็นเครื่องมือที่กำหนดโครงสร้างได้มากเกินไปและไม่เพียงพอต่อการวิเคราะห์ความซับซ้อนขององค์กรทางการเมือง
แทนที่จะมองว่าพฤติกรรมทางการเมืองเป็นผลจากกระบวนการสะสมทุนทั่วโลก นักทฤษฎีที่สนใจระดับที่ว่านี้รับต่อมากลับมองว่าระดับทางการเมืองที่ถูกสร้างจากล่างขึ้นบนเป็นกลยุทธ์โดยบังเอิญของผู้มีบทบาททางการเมืองที่ตอบสนองต่อสถานการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมมากกว่าที่จะเป็นเพียงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
นั่นจึงทำให้การทำงานเชิงเศรษฐศาสตร์และเชิงโครงสร้างของทฤษฎีระบบโลกกลายเป็นสิ่งที่ล้าสมัย
การไม่เห็นด้วยต่อระดับทั้งสามระดับของเทย์เลอร์ เป็นที่เข้าใจและมีการนำเอาไปอธิบายเป็นภาพรวมได้ดี
แต่ล้มเหลวในการวิเคราะห์ระดับมหภาคของการสร้างทางสังคมซึ่งเป็นหัวใจของกรอบการทำงาน แทนที่จะมองว่าการแบ่งระดับที่เป็นวิธีการจำแนกพฤติกรรมทางการเมืองภายในสถานที่ในแง่ของการขึ้นๆ
ลงๆ ของเศรษฐกิจโลกทุนนิยมเท่านั้น กรอบนี้กำหนดองค์ประกอบของระบบสังคมที่แยกระดับของการดำเนินการทางการเมือง
(รัฐ) ออกจากระดับของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (เศรษฐกิจโลก) องค์ประกอบเชิงโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ของความเข้าใจนี้บั่นทอนความหมายหลักที่การแยกระดับนี้มีต่อความเข้าใจองค์กรทางการเมือง
ความเชื่อมโยงระหว่างโครงสร้างระดับโลกกับพฤติกรรมส่วนบุคคลและของรัฐ
แสดงให้เห็นในทฤษฎีความเป็นเจ้าโลกตามทฤษฎีระบบโลก การศึกษาเฉพาะเรื่องอำนาจอธิปไตยแสดงให้เห็นว่ากรอบระบบโลกได้เปลี่ยนแนวทางใหม่ในหัวข้อภูมิรัฐศาสตร์ที่มีมาช้านาน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ทฤษฎีระบบโลกถูกนำมาใช้เพื่อกำหนดตำแหน่งของนักทฤษฎีภูมิรัฐศาสตร์คลาสสิก ตลอดจนนโยบายของรัฐและหลักปฏิบัติทางเศรษฐกิจและสังคมในชีวิตประจำวันในกระบวนการที่กว้างขึ้น
ความเป็นเจ้าโลก
ภูมิศาสตร์การเมืองร่วมสมัยมีความสัมพันธ์ที่ค่อนข้างซับซ้อนกับประเด็นของภูมิรัฐศาสตร์
ซึ่งนักภูมิศาสตร์ได้นำเอาทฤษฎีระบบโลกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งเพื่อใช้ทฤษฎีภูมิรัฐศาสตร์สร้างความเข้าใจเนื้อหาภายในบริบททางภูมิประวัติศาสตร์
ด้วยแนวทางนี้ทำให้ทฤษฎีของเซอร์ ฮาลฟอร์ด แมคกินเดอร์ และนายพลคาร์ล ฮูโชเฟอร์
สามารถแสดงมุมมองและนำเสนอวาระสำคัญของรัฐใดรัฐหนึ่งภายใต้สถานการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ได้ชัดเจนขึ้น
โดยขั้นตอนการวิเคราะห์ทางทฤษฎีนี้ถูกสร้างขึ้นตามโครงสร้างของคลื่นคอนดราเทียฟ (Kondratieff waves) ที่เป็นชีพจรการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจทุนนิยมโลกระยะยาว
เพื่อให้สามารถจัดระบบและกำหนดแนวทางเศรษฐกิจทั่วไปได้ (เช่น ลัทธิการค้าเสรีกับลัทธิปกป้อง)
ดังนั้น ความเป็นเจ้าครองโลกหรือกระบวนการที่รัฐมีอำนาจเพิ่มมากขึ้นและล่มสลายลงในระบบเศรษฐกิจทุนนิยมโลก
จึงเป็นแนวคิดที่ครอบคลุมและมีความเชื่อมโยงคำถามสำคัญๆ ที่ได้รับความสนใจมากเหล่านี้
ภูมิศาสตร์ทางการเมืองของการเปลี่ยนแปลงแบบคลื่นคอนดราเทียฟและเมทริกซ์กาลเทศะที่มีความเกี่ยวข้องกันอย่างมากพอที่จะอธิบายเกี่ยวกับพลังอำนาจของเจ้าครองโลก
และมีประโยชน์อย่างยิ่งในการสร้างความเข้าใจความเป็นเจ้าครองโลกในฐานะที่เป็นกระบวนการๆ
หนึ่ง นวัตกรรมต่างๆ ทางเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนคลื่นคอนดราเทียฟลูกใหม่ให้พัดเข้ามาได้รับการจัดกลุ่มกันตามลักษณะทางภูมิศาสตร์
หรือพูดอีกอย่างก็คือ ประเทศต่างๆ ถูกจับมาอยู่ภายในเขตอาณัติของรัฐหนึ่ง
เมื่อเวลาผ่านไป รัฐนั้นสามารถใช้เงื่อนไขทางการเมืองระหว่างประเทศผูกขาดหลายสิ่งหลายอย่างบนความสัมพันธ์ของนวัตกรรมดังกล่าว
และได้สร้างรากฐานทางเศรษฐกิจที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ตัวเองขยับพุ่งขึ้นสู่การมีอำนาจเหนือรัฐอื่น
เรื่องนี้วอลเลอร์สไตน์ (Wallerstein 1984) ระบุว่า การครอบงำเป็นภาวะที่จะเกิดขึ้นตามมาทั้งในด้านการผลิต
การค้า และการเงิน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของความเป็นเจ้าครองโลกเหนือรัฐอื่น
ความสำคัญทางภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นก็คือการชี้ให้เห็นว่าฐานเดิมของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็นประเด็นทางด้านภูมิศาสตร์เศรษฐกิจของนวัตกรรม
และต่อมาเป็นก็ค่อยๆ กลายเป็นประเด็นของภูมิศาสตร์การเมือง ด้วยความพยายามที่จะรักษาฐานที่ตั้งของนวัตกรรมเอาไว้ให้อยู่ภายในเขตแดนของรัฐหนึ่ง
เพื่อเอาชนะรัฐคู่แข่งและรัฐที่พยายามลอกเลียนแบบ
การรับรู้เกี่ยวกับภูมิศาสตร์ของนวัตกรรมทางเศรษฐกิจภายในคลื่นคอนดราเทียฟ
ถูกนำมาใช้สร้างสิ่งที่ปีเตอร์ เทย์เลอร์ เรียกว่า “แบบจำลองคู่คอนดราเทียฟแสดงความเป็นเจ้าครองโลก”
(paired-Kondratieff model of hegemony) ที่เป็นพลวัตทางการเมืองและเศรษฐกิจของเจ้าผู้ครองโลก
โดยเป็นประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องกับภูมิศาสตร์เศรษฐกิจโลกแบบรัฐเดียวและหลายรัฐ
ที่ถูกจับเข้ามาอยู่ภายในอาณาเขตที่กำหนด ซึ่งจะมีปฏิสัมพันธ์กับกระบวนการผูกขาดนวัตกรรมทางเศรษฐกิจและการแข่งขันเพื่อสร้างรูปแบบของนโยบายการค้า
พูดง่ายๆ ก็คือ รัฐที่กำลังเติบโตด้วยอุตสาหกรรมใหม่ๆ นี้ จะเป็นผู้ปกป้องและรักษาฐานเศรษฐกิจนี้เอาไว้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องเผชิญหน้ากับระบบเศรษฐกิจอื่นที่เข้มแข็งกว่า
อย่างไรก็ตาม หากอุตสาหกรรมใหม่ประสบความสำเร็จในการวางโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ
จนสามารถการกลายสภาพเป็นมหาอำนาจใหม่ของโลกได้ รัฐที่เป็นเจ้าครองโลกอยู่จะให้การสนับสนุนระบอบการค้าเสรีอย่างเต็มที่
เพื่อใช้ประโยชน์จากการครอบงำการผลิตออกไปทั่วทั้งโลก และเก็บเกี่ยวผลตอบแทนจากการลงทุนลงแรงเหล่านั้น
หากประสบความสำเร็จ การครอบงำทางการค้าของรัฐเจ้าผู้ครองโลกจะนำไปสู่การครอบงำทางการเงินในขั้นต่อไป
อย่างไรก็ตาม ธรรมชาติของระบอบการค้าเสรีจะกลายเป็นดาบสองคมที่เอื้อให้เกิดการแข่งขันจากรัฐอื่นๆ
ที่สามารถเริ่มต้นธุรกิจระดับชาติด้วยการคัดลอกและเลียนแบบนวัตกรรม
และปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่น รถยนต์ที่มีอยู่แต่เดิมเป็นแบรนด์ของสหรัฐฯ
และต่อมาก็กลายเป็นคลื่นลูกหลังโถมทับเป็นรถยนต์แบรนด์ญี่ปุ่น ผลที่ตามมาก็คือการลดลงของระดับความเหนือกว่าทางเศรษฐกิจ
ส่งผลให้เกิดการหวนคืนสู่นโยบายปกป้องและกีดกัน โดยที่รัฐเจ้าครองโลกพยายามรักษาความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจเอาไว้เมื่อต้องเผชิญกับการแข่งขัน
แบบจำลองคู่คอนดราเทียฟเป็นการประยุกต์ใช้ทฤษฎีระบบโลก (world-system theory) ที่เปิดกว้างรับความท้าทายของปัจจัยกำหนดโครงสร้างอันใหม่ๆ โดยไม่ได้จัดให้หน่วยงานรัฐ
องค์กรธุรกิจ และขบวนการทางสังคม ที่ทำหน้าที่สร้างระบอบการค้าเสรีหรือปกป้องการค้าเสรี
เข้ามาอยู่ในแบบจำลองนี้
แบบจำลองนี้ช่วยกำหนดบริบทกิจกรรมส่วนบุคคลและกิจกรรมกลุ่ม ก่อให้เกิดการวิพากษ์เชิงนโยบายการค้าระหว่างประเทศที่จะมีผลต่อการพุ่งทะยานขึ้นและดำดิ่งลงของอำนาจการครองโลกของประเทศใดประเทศหนึ่ง
ภายใต้แบบจำลองนี้ นักทฤษฎีภูมิรัฐศาสตร์ถูกจัดให้เข้าไปอยู่ภายในพลวัตการแข่งขันระหว่างมหาอำนาจโลก
ตัวอย่างเช่น ทฤษฎีภูมิรัฐศาสตร์ของเซอร์ ฮัลฟอร์ด แมคกินเดอร์ ที่เขียนขึ้นโดยสมาชิกชนชั้นปกครองที่มีบทบาทกำหนดการเพิ่มและลดพลังความเป็นเจ้าครองโลก
พวกเขาให้ความสำคัญกับกลุ่มจักรวรรดิปกป้อง (protectionist
imperial)
ซึ่งสะท้อนถึงความคาดหวังของแบบจำลองคอนดราเทียฟคู่ ในทำนองเดียวกัน
ภูมิรัฐศาสตร์ของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ไอซาห์ โบว์แมน บุรุษผู้ยืนอยู่ข้างกายประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาถึงสามคน
สนับสนุนอยู่ สะท้อนให้เห็นถึงความคาดหวังต่อการสร้างระบอบการค้าเสรีของรัฐที่เป็นเจ้าครองโลกที่จะมีเพิ่มมากขึ้น
มีงานเขียนที่น่าสนใจมากเรื่องหนึ่ง คือ Britain and the Cold War ของปีเตอร์ เทย์เลอร์ (Taylor 1990) เป็นผลงานจากการศึกษาเชิงอภิปรายทางการเมืองของสหราชอาณาจักรในช่วงสงครามโลกครั้งที่
2 สิ้นสุดลง เป็นความพยายามที่จะกำหนดตำแหน่งหรือสถานะของการตัดสินใจทางภูมิรัฐศาสตร์ที่โลกเปลี่ยนแปลงไปเป็นพลวัต
เป็นความรู้และความเข้าใจที่สืบเนื่องมาจากการวิเคราะห์ระบบโลกในกรอบของความเป็นเจ้าครองโลก
เทย์เลอร์เริ่มต้นเขียนหนังสือเล่มนี้ด้วยการนำเสนอมุมมองเชิงโครงสร้าง เขาทำการรวบรวมนโยบายต่างประเทศของแต่ละประเทศเข้ามาสู่กระบวนการวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่
แล้วเรียกมันว่า “รหัสภูมิรัฐศาสตร์” จนทำให้เห็นเป็นโครงสร้างของโลกที่ค่อนข้างชัดเจน
เรียกว่า “ระเบียบโลกทางภูมิรัฐศาสตร์” โดยสงครามเย็นถูกชี้ว่าเป็นระเบียบโลกทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ช่วยระบุว่ารัฐใดบ้างที่เป็นพันธมิตรที่ควรดึงดูดเข้ามาในร่มเงา
และรัฐใดบ้างที่เป็นศัตรูที่ควรกันออกไปให้อยู่นอกเขตแดน นี่จึงเป็นการชี้ให้เห็นถึงขอบเขตอิทธิพลของดินแดนและวิธีจัดการความขัดแย้งที่เป็นที่เข้าใจและปฏิบัติต่อกันมายาวนานพอสมควร
แม้ว่าระเบียบโลกทางภูมิรัฐศาสตร์จะมีเสถียรภาพและมั่นคงเป็นเวลาสองสามทศวรรษ
แต่ระเบียบโลกแบบนี้ก็เริ่มคลี่คลายกลายเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “การเปลี่ยนผ่านทางภูมิรัฐศาสตร์”
ขึ้น ตัวอย่างเช่น การที่สหภาพโซเวียตและรัฐบริวารเปลี่ยนผ่านอำนาจจากการเป็นศัตรูที่ดื้อรั้นของชาติตะวันตก
กลับกลายมาเป็นพันธมิตรและสมาชิกขององค์การพิทักษ์แอตแลนติกเหนือหรือนาโต้
และสหภาพยุโรป สิ่งนี้ถือเป็นเรื่องที่น่าทึ่งเอามากๆ
ในช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนผ่านทางภูมิรัฐศาสตร์
รูปแบบและก้าวย่างของระเบียบโลกทางภูมิรัฐศาสตร์จะมีลักษณะเกี่ยวพันกับกระบวนการเพิ่มขึ้นและลดลงของอำนาจการครอบครองของรัฐเจ้าโลก
ระเบียบโลกทางภูมิรัฐศาสตร์ในช่วงสงครามเย็นเป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นถึงพลังอำนาจในการครอบครองโลกของสหรัฐอเมริกาที่เกิดขึ้นอย่างไม่สมบูรณ์นัก
เนื่องจากบทบาทนี้ถูกคัดง้างอย่างต่อเนื่องจากสหภาพโซเวียต เพื่อรักษาความเชื่อมโยงกันของการตีความตามวัฏจักรนี้
การสิ้นสุดลงของ “สงครามเย็น” ถูกนำมาตีความว่าเป็นการไร้ความสามารถในการรักษาสถานการณ์ปกครองแบบเจ้าครองโลกของสหรัฐฯ
สงครามเย็นจึงถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของการจัดองค์กรทางภูมิรัฐศาสตร์เพื่อสนับสนุนอำนาจในการครองโลกของสหรัฐฯ
และการยุติของสงครามเย็นก็ถูกตีความให้เห็นการเสื่อมอำนาจของสหรัฐฯ ด้วยเช่นกัน ส่วนการนำเสนอเกี่ยวกับอำนาจครองโลกของสหราชอาณาจักรและสงครามเย็นเป็นแค่เพียงการอภิปรายเรื่องการเมืองภายในประเทศ
ที่มีการโต้แย้งกันอย่างรุนแรงภายในพรรคแรงงาน ซึ่งอันนี้มีส่วนอย่างมากในการกำหนดท่าทีของประเทศที่จะแสดงบทบาทใดบทบาทหนึ่งในระเบียบโลกทางภูมิรัฐศาสตร์ให้ได้มีอำนาจเหนือกว่าสหรัฐ
แทนที่จะมองในแบบปัจจัยกำหนด เทย์เลอร์กลับวางทางเลือกต่างๆ ที่อังกฤษจะต้องเผชิญ
เพื่อกำหนดรหัสภูมิรัฐศาสตร์ การตัดสินใจเป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯ ร่วมกันต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์เกิดขึ้นหลังจากการถกเถียงกันอย่างเข้มข้นและรุนแรงภายในกลุ่มชนชั้นสูง
แม้ว่าทางเลือกของผู้มีบทบาททางการเมืองจะถูกจำกัดให้อยู่ภายใต้โครงสร้างที่เป็นความเสื่อมอำนาจของอังกฤษเองก็ตาม
ซึ่งขณะที่สหรัฐอเมริกาก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าครองโลกโดยมีการท้าทายจากสหภาพโซเวียตอย่างต่อเนื่อง
แต่ว่าเนื้อหาของรหัสภูมิรัฐศาสตร์ของสหราชอาณาจักร ก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเลือก
ข้อเสนอที่ปรากฎอยู่ในหนังสือเล่มนี้ ก็คือ ทางเลือกที่จะสามารถทำความเข้าใจได้ดีที่สุดในบริบทที่ถูกพลวัตเชิงโครงสร้างกำหนดมา
การศึกษาความเป็นเจ้าโลกของเทย์เลอร์ยังคงดำเนินต่อไป ด้วยการตีพิมพ์หนังสือที่เกี่ยวข้องอีกสองเล่ม
ได้แก่ The
Way the Modern World Works (Taylor 1996) และ Modernities (Taylor 1998) การศึกษาเหล่านี้เป็นการกล่าวถึงบทบาทของพลังอำนาจเจ้าครองโลกที่ไปกำหนดแนวทางปฏิบัติในชีวิตประจำวันภายใต้ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมโลก
(capitalist world economy) พบว่า รัฐที่มีอำนาจครอบครองโลกมากที่สุดสามรัฐ แบ่งออกตามช่วงเวลาที่มีอิทธิพลและอำนาจสูงสุด
ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ (ช่วงกลางทศวรรษ 1600) สหราชอาณาจักร (ช่วงกลางทศวรรษ 1800)
และสหรัฐอเมริกา (ช่วงกลางทศวรรษ 1900) เทย์เลอร์ให้เหตุผลว่า แต่ละรัฐเหล่านี้ได้กำหนดความหมายของความเป็นสมัยใหม่ผ่านการสร้างสรรนวัตกรรมเพื่อใช้ปฏิบัติทางเศรษฐกิจ
เช่น ระบบโรงงานของอังกฤษ แบบแผนทางสังคม (เช่น ชานเมืองของสหรัฐฯ
ที่เป็นแบบอย่างของสังคมที่เติบโตอย่างเป็นระบบระเบียบ) และการแสดงออกทางวัฒนธรรม (เช่น
ศิลปะแรมแบรนดท์ที่เน้นการใช้สีแบบเรียบง่าย) ทั้งนี้ ในช่วงเวลาแห่งการมีสถานะเป็นเจ้าครองโลกของสหรัฐฯ
ระบบปฏิบัติการแบบฟอร์ดหรือลัทธิฟอร์ด ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ที่สุดที่ได้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่คงทนหลายอย่าง
รวมถึงการผลิตรถยนต์และสร้างภูมิทัศน์ทางสังคมสมัยใหม่ของย่านชานเมืองด้วย ซึ่งทั้งหลายเหล่านี้ถูกนำเสนอไว้ให้เป็นแบบอย่างการมี
"ชีวิตที่ดี" และถูกเผยแพร่ออกไปทั่วโลกผ่านสื่อของฮอลิวูดและสื่อโทรทัศน์ เพื่อให้มีความเป็นสมัยใหม่จึงจำเป็นต้องมีการลอกเลียนแบบวิถีการดำเนินชีวิตของลัทธิที่กำลังมีอำนาจเหนือกว่ารัฐใดในโลก
เทย์เลอร์ (Taylor 1998) เรียกสิ่งนี้ว่า "ความเป็นสมัยใหม่ที่สำคัญ" (prime modernity) โดยสิ่งนี้จะเข้ามาช่วยแพร่กระจายบรรทัดฐานและแนวปฏิบัติตามแบบอย่างอเมริกันออกไปทั่วทุกมุมโลก
แม้ว่าจะไม่ใช่ในลักษณะที่ไม่มีใครออกมาโต้แย้งเลยก็ตาม และเป็นการสะท้อนมุมมองของสมาชิกกลุ่มบรูเดลที่มีการเปิดตัวการวิเคราะห์ระบบโลก
(Baudel 1973; 1984) งานเขียนของเทย์เลอร์ที่เกี่ยวกับความเป็นสมัยใหม่จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงรูปแบบปรกติของการดำเนินชีวิตประจำวันและวิธีการสร้างและรักษาโครงสร้างแบบนั้นให้ขยายออกไปกว้างขึ้น
ในกรณีนี้แนวปฏิบัติชีวิตชานเมืองที่กล่าว ถือได้ว่าเป็นทั้งผลผลิตและส่วนประกอบสำคัญของความเป็นเจ้าครองโลกในระบบเศรษฐกิจทุนนิยมโลกของสหรัฐฯ
นอกจากนี้ การวิเคราะห์ความเป็นสมัยใหม่ของเทย์เลอร์ยังได้เน้นถึงการจัดสถานที่สำหรับประกอบกิจกรรมประจำวันเหล่านี้ด้วย
ตัวอย่างเช่น กรุงอัมสเตอร์ดัมถูกจัดไว้ให้เป็น "ห้องทดลอง" แบบปฏิบัติสมัยใหม่สำหรับผู้คนจากทั่วทุกมุมโลก
ต่อเรื่องนี้ แม้กระทั่งพระเจ้าปีเตอร์มหาราช กษัตริย์พระองค์สุดท้ายของอาณาจักรรัสเซีย
ก็ยังทรงโปรดการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ที่เป็นตัวอย่างความสมัยใหม่ทั่วยุโรป
ปีเตอร์ เทย์เลอร์และนักภูมิศาสตร์คนอื่นๆ ไม่เพียงแต่ใช้แนวคิดเรื่องการเป็นเจ้าครองโลก
เพื่อมองย้อนกลับไปที่ภูมิศาสตร์การเมืองในอดีตเท่านั้น แต่ว่าทั้งเทย์เลอร์
ฟลินต์ และวอลเลอร์สไตน์ ล้วนระบุว่า สหรัฐอเมริกาพยายามยกตัวเองขึ้นเพื่อเป็น
"เจ้าครองโลกชาติสุดท้าย" ให้ได้ โดยยืนยันด้วยการชี้ให้เห็นว่ากระบวนการของโลกาภิวัตน์ที่ถูกสร้างขึ้นมาในห้วงเวลาที่สหรัฐฯ
เป็นเจ้าครองโลก พวกเขาได้บ่อนทำลายเอกราชและอำนาจอธิปไตยของรัฐอื่นที่อาจมีพลังขับเคลื่อนกระบวนการทางเศรษฐกิจโลกในอนาคตลงอย่างสิ้นเชิง
เรียกว่าไม่มีรัฐใดสามารถยืนหยัดรักษาอำนาจทางเศรษฐกิจที่เป็นรากฐานอธิปไตยของตนเองเอาไว้ได้เลย
พูดง่ายๆ ก็คือว่า อำนาจของสหรัฐฯ มีผลให้เกิดการทำลายการเมืองและเศรษฐกิจเดิมของรัฐอื่น
จนรัฐนั้นๆ ไม่สามารถกำหนดเขตอำนาจของตนเองได้อีกต่อไป อย่างไรก็ตาม การตีความแบบนี้ได้รับการต่อต้านจากกลุ่มที่มีแนวคิดแบบวิวัฒน์ธนกิจ
(financialization) ซึ่งกลุ่มนี้ยืนยันว่าช่วงเวลาที่มีการไหวเวียนของกระแสการเงิน
(ที่เราเรียกว่า "โลกาภิวัตน์") ได้ดีนั้น เป็นเรื่องปกติที่จะถือได้ว่าเป็นช่วงสุดท้ายของอำนาจของเจ้าครองโลกที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้
ทั้งนี้ตามข้อมูลของอาร์ริกี (Arrighi
1994) แสดงให้เห็นว่า
ภาวการณ์เสื่อมสลายที่พวกเรากำลังประสบอยู่ในขณะนี้นั้น เป็นความเสื่อมถอยอำนาจของเจ้าครองโลกร่วมสมัยอย่างสหรัฐอเมริกา
และมีความเป็นไปได้มากที่จะถูกลบเลือนอำนาจของความเจ้าครองโลกในอนาคตออกไป
มีอีกแง่มุมหนึ่งของการอภิปรายนี้ที่ควรค่าแก่การพิจารณาเพิ่มเติม เป็นเรื่องของอุดมการณ์แห่งความเป็นเจ้าครองโลกของสหรัฐฯ
คือ "ความฝันแบบอเมริกัน" (American dream) เป็นวาทกรรมว่าด้วยการที่ “ทุกคนสามารถมีชีวิตที่ดีร่วมกันได้”
หากปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และบรรทัดฐานที่ถูกต้อง
(ตามที่รัฐเจ้าครองโลกกำหนด) ตรงนี้ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิงจากอุดมการณ์ของการเป็นเจ้าครองโลกก่อนหน้าของสหราชอาณาจักร ที่สร้างขึ้นจากการแบ่งงานตามชนชั้นที่เข้มงวดและความเป็นไปได้ที่แตกต่างกันสำหรับการบริโภค
โดยที่วัฒนธรรมอังกฤษปราศจากเรื่องราวของ "มนุษย์สามารถสร้างตนเองขึ้นมาได้"
(self-made man) ซึ่งเรื่องเล่าแบบนี้เป็นอาหารจานหลักที่เสริฟเช้าเสริฟเย็นในสหรัฐอเมริกา
อย่างไรก็ตาม ความจำเป็นเชิงโครงสร้างของความสัมพันธ์ตามลำดับชั้นระหว่างพื้นที่แกนกลาง-รอบนอกของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมโลก
และมีความเป็นไปไม่ได้ทางนิเวศวิทยาของโลกที่จะยังคงรักษาระดับการบริโภคเอาไว้ให้อยู่ในระดับเดียวกันกับพื้นที่ชานเมืองของสหรัฐ
ตรงนี้ก็ชี้ให้เห็นว่าอาจเป็นไม่ไปได้ที่อำนาจเจ้าครองโลกรายใหม่จะเข้ามาแทนที่ความเป็นสมัยใหม่ที่สหรัฐอเมริกาสร้างขึ้นมาและฝังเป็นระเบิดเอาไว้
อีกทางหนึ่งหากมีความเป็นสมัยใหม่อันใหม่ที่กำหนดโดยมหาเจ้าครองโลกรายใหม่ ก็อาจมีภารกิจที่ยากลำบากอย่างมากในการประกาศว่าใครกันที่ควรได้รับ
(และไม่ควรได้รับ) ผลประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจทุนนิยมโลก ดังนั้น
การศึกษาภูมิศาสตร์ภายใต้ระบอบการปกครองที่มีเจ้าครองโลกนั้น
จะเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยกำหนดขอบเขตทางสังคมและเขตแดนของสิ่งต่างๆ ที่จะผนวกเข้ามา
และ/หรือ กันเอาออกไป
ผู้มีบทบาททางการเมือง
ภูมิศาสตร์การเมืองร่วมสมัยได้เกิดขึ้นอย่างมากจากการเปลี่ยนแปลงกลุ่มนักคิดหลังโครงสร้างนิยม
(poststructuralism) ในวิชาสังคมศาสตร์ ที่มีส่วนอย่างมากในการกระตุ้นการย้ายนักภูมิศาสตร์มนุษย์ออกจากที่เคยมุ่งเน้นไปที่รัฐให้เป็นทั้งหน่วยวิเคราะห์และผู้มีบทบาทหลัก
นักภูมิศาสตร์การเมืองต้องเผชิญกับมรดกของการวิเคราะห์ที่กำหนดให้รัฐเป็นศูนย์กลาง
กำหนดให้รัฐเป็นผู้ดำเนินการได้อย่างอิสระและเป็นผู้มีบทบาทแบบองค์รวม (Kuus & Agnew 2008) ทั้งนี้ตั้งแต่เริ่มแรก ทฤษฎีระบบโลกถูกขับเคลื่อนจากการพิจารณาว่ารัฐไม่ใช่หน่วยการวิเคราะห์ที่ให้ความหมายอย่างที่ต้องการ
(Wallerstein
1979) วิชาสังคมศาสตร์ส่วนใหญ่จัดให้รัฐอยู่ภายในสังคมอย่างปราศจากข้อสงสัยใดๆ
(Wallerstein
1991) ทฤษฎีระบบโลกเองก็ได้กำหนดแนวคิดของหน่วยพื้นฐานของการวิเคราะห์หรือหน่วยของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ให้เหมือนกับระบบสังคมในอดีต ได้แก่ ระบบเล็กๆ อาณาจักรโลก
และเศรษฐกิจโลกแบบทุนนิยม ทั้งนี้รัฐสมัยใหม่เป็นหนึ่งในสี่สถาบันหลักในระบบเศรษฐกิจโลกแบบทุนนิยม
รัฐกลายเป็นสถาบันที่สร้างขึ้นโดยสังคมภายในโครงสร้างทางสังคมแบบกว้างๆ
เป็นองค์ประกอบของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมากกว่าคำพ้องความหมายสำหรับสังคม
สถาบันหลัก 4 สถาบันในระบบเศรษฐกิจโลกทุนนิยม ประกอบด้วย รัฐ ครัวเรือน
ชนชั้น และ “ประชาชน” (สถาบันหลังสุดคือประชาชนนั้นประกอบด้วยเชื้อชาติ ชาติ
และชาติพันธุ์) สถาบันแต่ละสถาบันสะท้อนถึงการรวมตัวกันของปริมณฑลทางการเมืองที่แตกต่างกันในระบบเศรษฐกิจโลกแบบทุนนิยม
แม้ว่าจะมีความเกี่ยวข้องกันอย่างแน่นแฟ้นก็ตาม
ภูมิศาสตร์การเมืองของเศรษฐกิจโลกแบบทุนนิยมต้องการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองที่หลากหลายของผู้มีบทบาทภายในระบบ
กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า มีโอกาสที่จะได้ทำการสำรวจการเมืองที่ไม่เน้นที่รัฐเป็นศูนย์กลางและการเมืองที่มีผู้มีบทบาทหลายฝ่ายภายในเศรษฐกิจโลกแบบทุนนิยม
ในทางกลับกัน การวิพากษ์วิธีการระบบโลกเป็นการนิยามความของสถาบันเหล่านี้และการเมืองที่เกี่ยวข้องในเชิงบทบาทหน้าที่และเชิงการกำหนดเหตุและผล
คำวิพากษ์ที่สำคัญนี้จะกล่าวถึงหลังจากที่ได้อภิปรายถึงประโยชน์ของกรอบการเมืองสถาบันแล้ว
สถาบันหลักทั้งสี่สถาบันของเศรษฐกิจโลกแบบทุนนิยมทำให้เกิดกรอบแนวความคิดของภูมิศาสตร์การเมืองขึ้นมา
14 รูปแบบ (Taylor 1991c) แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ประกอบด้วย รูปแบบแรกที่มีการเมืองภายในสถาบัน
4 รูปแบบ ได้แก่
•
การเมืองภายในรัฐหรือการแข่งขันที่เหนือการควบคุมของรัฐบาล
•
การเมืองภายในประชาชน
แสดงออกว่าเป็นการเมืองของการกำหนดเป้าหมายและเทคนิค (เช่น
เอกราชในระดับภูมิภาคกับเอกราชของชาติ)
•
การเมืองภายในชนชั้นก็เป็นเรื่องของยุทธศาสตร์เช่นกัน
(เช่น การปฏิวัติกับการปฏิรูป)
•
การเมืองภายในครัวเรือนแสดงออกทางการเมืองของกลุ่มที่มีเพศสภาพและคนแต่ละรุ่น
และเน้นโดยการวิเคราะห์สตรีนิยม
กลุ่มที่สอง การเมืองระหว่างสถาบัน 4 รูปแบบ ได้แก่
•
การเมืองระหว่างรัฐหรือนโยบายต่างประเทศ
•
การเมืองระหว่างประชาชนหรือลัทธิชนชาตินิยมและลัทธิชาตินิยม
•
การเมืองระหว่างชนชั้นหรือจุดสนใจของการเมืองแบบมาร์กซิสต์
•
การเมืองระหว่างครัวเรือน
แสดงออกในการเมืองในท้องถิ่นเกี่ยวกับการเข้าถึงทรัพยากรและบริการ
กลุ่มที่สาม การเมืองระหว่างสถาบัน 6 รูปแบบ ได้แก่
•
การเมืองระหว่างรัฐกับประชาชน
หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นการสร้างและบำรุงรักษารัฐชาติ
•
การเมืองระระหว่างชนชั้นกับรัฐ
เช่น วิธีการที่พรรคการเมืองมีวิวัฒนาการในการจัดการข้อเรียกร้องทางสังคมต่างๆ
ต่อการควบคุมเครื่องมือของรัฐ
•
การเมืองระหว่างรัฐกับครัวเรือน
ปรากฏเป็นการเมืองด้านสิทธิและสวัสดิการ
•
การเมืองระหว่างชนชั้นกับประชาชน
ซึ่งมีความหมายเฉพาะภายใต้โลกาภิวัตน์ร่วมสมัย
เนื่องจากคนงานที่มีสัญชาติต่างกันถูกแย่งชิงกันเองและมักอยู่ในพื้นที่อธิปไตยเดียวกัน
•
การเมืองระหว่างประชาชนกับครัวเรือน
สะท้อนถึงข้อพิพาทเกี่ยวกับประเด็นทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะประเด็นที่เสนอมุมมองเชิงบรรทัดฐานเกี่ยวกับโครงสร้างครอบครัว
•
การเมืองระหว่างชนชั้นกับครัวเรือน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการต่อสู้ที่เกิดจากการทำให้แรงงานเป็นผู้หญิงในสิ่งที่ได้รับการอนุรักษ์โดยผู้ชายและความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงในที่ทำงานและบทบาททางเพศในครอบครัว
การเมืองทั้ง 14 รูปแบบนี้ มีการสรุปไว้โดยย่อดังกล่าวข้างบน
โดยเป็นการแสดงให้เห็นจุดสำคัญเกี่ยวกับการกำหนดกรอบคำถามผ่านแนวปฏิบัติดั้งเดิมของสาขาวิชาสังคมศาสตร์
การมีอยู่ของวิชาต่างๆ ที่อยู่ในนั้นทำหน้าที่แบ่งแยกการเมืองเหล่านี้ให้กลายเป็นประเด็นสำคัญที่แยกออกจากกัน
ตัวอย่างเช่น วิชารัฐศาสตร์เป็นการศึกษาการเมืองภายในรัฐ ขณะที่วิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นการศึกษาการเมืองระหว่างรัฐแยกต่างหาก
วิชาสังคมวิทยาดูเหมือนจะเป็นวิชาที่ให้ความสนใจต่อความรู้เกี่ยวกับการเมืองระหว่างชนชั้นของประชาชน
แต่ก็จะถูกแบ่งแยกความสนใจระหว่างการศึกษาเกี่ยวกับชนชั้นกับการศึกษาเพศสภาพ
(ครัวเรือน) หรือเชื้อชาติ (ประชาชน) ซึ่งไม่เพียงแต่กรอบการเมืองทั้ง 14 รูปแบบเท่านั้น
ที่จะเผยให้เห็นถึงความยากลำบากของการแยกการเมืองในลักษณะนี้
แต่ยังเผยให้เห็นถึงจำนวนอันจำกัดของการเมืองที่มักจะถูกนำมาวิเคราะห์ ตัวอย่างเช่น
มีการวิจัยเกี่ยวกับการเมืองระหว่างรัฐมากกว่าการเมืองระหว่างประชาชนกับชนชั้น
การมีส่วนร่วมของกรอบการเมือง 14 รูปแบบ เป็นการวางตำแหน่งของการเมืองอยู่ตรงส่วนที่วิชาสังคมศาสตร์ส่วนใหญ่ละเลย
ด้วยการวางรากฐานที่เท่าเทียมกันกับประเด็นที่โดดเด่น คำถามวิจัยเกี่ยวกับการเมืองระหว่างบุคคลกับการเมือง
ที่มีมากกว่าการเมืองระหว่างชนชั้น ทำให้มองเห็นว่าประเด็นวิจัยมีความซับซ้อนมากกว่าที่จะวางอยู่ในกรอบการศึกษเพียงกรอบเดียว
อีกนัยหนึ่ง บุคคลหรือคนทำงานที่โดดเด่นอาจถูกมองว่าเป็นมากกว่าสมาชิกของชนชั้นกรรมาชีพ
โดยมีฐานะเป็นมารดาของคนรุ่นหนึ่งในสภาพแวดล้อมของครอบครัวะ
และด้วยเอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์ เชื้อชาติ และชาติ
การวิจัยที่เปิดกว้างสำหรับการเมืองข้ามมิติที่แตกต่างกัน มีแนวโน้มที่จะระบุตัวตนและการเมืองที่สำคัญที่สุดสำหรับตัวผู้มีบทบาทเอง
มากกว่าที่จะกำหนดโดยชุดของกรอบงานวิชาการที่แยกจากกัน
ประโยชน์ของกรอบการเมือง 14 รูปแบบนั้น มีความเกี่ยวข้องกับการศึกษารัฐต่างๆ
อย่างเห็นได้ชัด การใช้ระดับทางภูมิศาสตร์ที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้
ร่วมกับการเมืองทั้ง14 รูปแบบ จำเป็นต้องมีการเคลื่อนตัวออกจากลัทธิชาตินิยมตามระเบียบวิธีและการมอบหมายรัฐควบคู่กันไปในฐานะผู้มีบทบาทเพียงผู้เดียว
และการแสดงออกของรัฐในฐานะที่ตัวการหรือผลกระทบขององค์กรการเมืองหลายองค์กร
การเมืองทั้ง14 รูปแบบ ต้องการการพิจารณาจากภูมิศาสตร์การเมืองแบบหลายระดับที่เป็นไปตามเป้าหมายและอัตลักษณ์ของผู้มีบทบาท
โดยจะถูกกำหนดกรอบตามการดิ้นรนหลายรูปแบบภายในสถาบันทั้งสี่สถาบัน การกล่าวถึงคำว่า
"ภายในหรือในฐานะ" ถือเป็นการรับทราบประโยชน์ของการกำหนดแนวคิดของสถาบันต่างๆ
ในการวิเคราะห์บางสิ่งบางอย่างในฐานะผู้มีบทบาท ขณะที่มองว่าสถาบันอื่นๆ
ถูกแยกย่อยและโต้แย้ง ตัวอย่างเช่น การศึกษาการเมืองของ NIMBY เกี่ยวกับการกำจัดกากนิวเคลียร์ในระดับสากล อาจมุ่งเน้นไปที่การสร้างความเคลื่อนไหวทางการเมืองระดับครัวเรือนภายพื้นที่ละแวกใกล้เคียง
โดยดำเนินการในลักษณะแยกย่อยรัฐท้องถิ่น แต่ไม่ใช่ครัวเรือน อีกทางหนึ่ง สิ่งสำคัญที่ถูกองค์กรในละแวกนั้นเลือก
อาจเข้าใจได้ดีที่สุดด้วยการแยกส่วนการเมืองในครัวเรือนของเพศและรุ่น
สิ่งสำคัญที่สุด คือ ระดับภูมิศาสตร์ที่ได้มาจากการเมืองเชิงสถาบันทั้ง 14 รูปแบบ จะอำนวยให้เกิดความยืดหยุ่นกับประเด็นสำคัญของการวิจัยได้
ซึ่งช่วยให้มีสมาธิกับการเมืองเฉพาะภายในสถาบันใดสถาบันหนึ่งตามความเหมาะสมที่สุดกับคำถามวิจัย
นอกจากนี้ ยังมีความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหาเดียวกันผ่านการเมืองเชิงสถาบันที่หลากหลายหรืออีกนัยหนึ่งคือการใช้เลนส์แตกต่างกัน
ความหมายสำคัญของการเมืองเชิงสถาบันทั้ง 14 รูปแบบ คือ การตีความบทบาทของรัฐในการเมืองต่อต้านระบบโดยสัญชาตญาณ
หากต้องการยืมวลีของเทย์เลอร์ (Taylor 1991b) “รัฐเป็นควิสลิง” หรือ “รัฐเป็นผู้ทรยศ” (ด้วยคำว่า
Quisling
มีความหมายเหมือนกันกับ “คนทรยศ”
ในบางวัฒนธรรมเนื่องจากบทบาทของวิดกุน ควิสลิง (Vidkun Quisling 1887-1945) ในฐานะนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศนอร์เวย์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่
2 และได้ให้ความร่วมมืออย่างดีกับกองทัพนาซีในการครอบครองประเทศนอร์เวย์
และสังหารประชาชนเป็นจำนวนมาก)
การเมืองแบบชนชั้นและการเมืองที่ต่อต้านจักรวรรดินิยมดำเนินมายาวนานภายใต้สมมติฐานที่ว่า
เป้าหมายของพวกเขาจะบรรลุได้ดีที่สุดก็ด้วยการยึดการควบคุมเครื่องมือของรัฐ
ชนชั้นกรรมกรได้จัดตั้งพรรคการเมืองโดยมีเป้าหมายเพื่อชนะการเลือกตั้งและควบคุมรัฐบาล
หรือพยายามบรรลุเป้าหมายเดียวกันผ่านการปฏิวัติ ที่น่าแปลกก็คือ กลยุทธ์ทั้งสองกลยุทธ์มีแนวโน้มที่จะส่งผลให้เกิดความล้มเหลว
เนื่องจากการควบคุมเครื่องมือของรัฐไม่ได้เปลี่ยนโครงสร้างทางการเมืองของเศรษฐกิจโลกแบบทุนนิยม
อาจกล่าวได้เช่นเดียวกันสำหรับการเมืองต่อต้านอาณานิคม
ซึ่งพยายามหาทางปลดปล่อยจากการครอบงำผ่านการกำหนดตนเองของชาติ (national
self-determination) ประเทศด้อยพัฒนาทั้งหลายแม้ว่าจะประกอบด้วยรัฐที่เป็นอิสระในนาม
แต่ยังคงถูกจำกัดด้วยโครงสร้างแกนกลาง-ชายขอบของเศรษฐกิจโลก
การมองว่ารัฐเป็น Quisling นั้นจำเป็นต้องมีการอ้างอิงกลับไปที่ระดับที่สามของเทย์เลอร์และโครงสร้างของเศรษฐกิจโลกทุนนิยมในฐานะหน่วยเศรษฐกิจเดียวที่ประกอบด้วยหน่วยทางการเมืองหลายแห่งที่ได้ชื่อว่าเป็นรัฐ
ขอบเขตของระบบสังคมคือเศรษฐกิจโลกแบบทุนนิยม และในระดับนั้นที่กระบวนการต่างๆ ดำเนินการในที่สุด
ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองควรกำหนดเป้าหมายในระดับเดียวกันนี้
การควบคุมเครื่องมือของรัฐโดยการปฏิรูปหรือการปฏิวัติ
ทำให้การเคลื่อนไหวทางการเมืองพยายามใช้พรมแดนของรัฐเพื่อทำให้จุดยืนของรัฐในเศรษฐกิจโลกดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม โครงสร้างที่สำคัญของระบบสังคมยังคงไม่เปลี่ยนแปลง รัฐถูกมองว่าเป็นควิสลิงเพราะเป็นการทรยศต่อเป้าหมายของการเคลื่อนไหวทางการเมือง
มันให้ภาพลวงตาของการเปลี่ยนแปลงที่ก้าวหน้าผ่านการยึดการควบคุมของรัฐบาลขณะที่โครงสร้างทั่วทั้งระบบที่ก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันและความแตกต่างยังคงอยู่
ตัวอย่างทางประวัติศาสตร์ คือ การปฏิวัติบอลเชวิคที่รับรู้ได้จากวาระสำคัญระหว่างประเทศเพื่อเปลี่ยนระบบสังคมทางประวัติศาสตร์ไปเป็นลัทธิสังคมนิยมภายในรัฐเดียวตามแบบสตาลิน
ซึ่งตามภาษาที่ปีเตอร์ เทย์เลอร์ ใช้การปฏิวัติสังคมนิยมระหว่างประเทศนั้น เริ่มต้นขึ้นที่ระดับโครงสร้างทางสังคม
แต่เป้าหมายของมันถูกหักหลังโดยการกำหนดเป้าหมายที่ตามมาของการควบคุมเครื่องมือของรัฐแทนที่จะเปลี่ยนระบบสังคมในอดีต
ต้นทศวรรษ 1990 การกระจายอำนาจของรัฐได้กลายเป็นเรื่องธรรมดามากขึ้นในวิชาสังคมศาสตร์
อาจมีข้อยกเว้นการศึกษาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเชิงปริมาณ ตัวอย่างเช่น คำจำกัดความเกี่ยวกับจักรวรรดิของฮาร์ดท์และเนกรี
(Hardt
& Negri 2000)
บรรยายถึงสังคมโลกที่มีสถาบันข้ามชาติหลายแห่งที่ที่ตัดขวางกันข้ามรัฐ และเห็นได้ชัดว่ามีการเมืองที่ก้าวหน้า
มุมมองระดับโลกของฮาร์ดท์และเนกรีนี้ สะท้อนการอภิปรายเชิงทฤษฎีร่วมสมัยเกี่ยวกับรัฐ
ซึ่งรัฐเองถูกมองว่าเป็นกลุ่มสถาบันที่แยกจากกันมากกว่าเป็นสถาบันเดียวที่สอดคล้องกันหรือเป็นสถาบันหลัก
(Mitchell
1991; Jessop 2001)
ในแง่ของการพัฒนาทางทฤษฎีเหล่านี้ การระบุว่ารัฐเป็นสถาบันในทฤษฎีระบบโลกนั้น จึงดูจะเป็นอันตรายเพราะผิดยุคผิดสมัย
ในทางกลับกัน การระบุให้รัฐอยู่ในระดับอุดมการณ์ ก็ดูจะเป็นการนำเสนอที่ทันเวลาและชาญฉลาด
จุดแข็งเบื้องต้นของมุมมองระบบโลกต่อรัฐ คือ การระบุว่ารัฐเป็นหนึ่งในหลายๆ
ด้านของการเมือง และจัดให้อยู่ในโครงสร้างที่กว้างขึ้นของเศรษฐกิจโลกแบบทุนนิยม
อย่างไรก็ตาม ในสภาพแวดล้อมของลัทธิหลังสมัยใหม่ร่วมสมัยของวิชาสังคมศาสตร์
แนวทางระบบโลกที่มีต่อรัฐนั้นมีลักษณะเป็นไปตามบทบาทหน้าที่อย่างเข้มงวด รัฐได้รับมอบหมายบทบาทในการอำนวยความสะดวกในการสะสมทุน
ผ่านความสามารถในการทำลายขบวนการต่อต้านระบบและเสนอให้นายทุนกึ่งผูกขาด
และบทบาทที่จำกัดนี้แตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ – เป็นรัฐเฉพาะในแง่ของหมวดหมู่ของพื้นที่ทั้ง
3 ส่วน คือ พื้นที่แกนกลาง ชายขอบ และกึ่งชายขอบ วิชาสังคมศาสตร์ร่วมสมัยที่มุ่งเน้นไปที่ความแตกต่างและเหตุการณ์ฉุกเฉิน
จึงอาจมองไม่เห็นคุณค่าของการอธิบายในมุมมองเชิงหน้าที่และเชิงโครงสร้างของรัฐ
อาจไม่น่าแปลกใจที่งานทางภูมิศาสตร์ส่วนใหญ่ที่ใช้ทฤษฎีระบบโลกโดยไม่ได้เน้นที่รัฐ
ข้อยกเว้นประการหนึ่งอยู่ในวิชาภูมิศาสตร์การเลือกตั้ง ที่ใช้ทฤษฎีระบบโลกเพื่อกำหนดหรือบริบทการเมืองภายในรัฐภายในโครงสร้างแบบกว้างของเศรษฐกิจโลกทุนนิยม
มีผลงานชิ้นเอกของเทย์เลอร์ (Taylor 1984; 1986) ที่ได้กล่าวถึงวิวัฒนาการของระบบพรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นในยุโรปภายในกระบวนการของระบบสังคมแบบกว้าง
คำว่า "การเมืองแห่งความล้มเหลว" ถูกใช้เพื่ออธิบายการขาดการเมืองในพื้นที่ชายขอบหรือที่อยู่รอบนอกของเศรษฐกิจโลก
(Osei-Kwame & Taylor 1984) การไหลของกำไรและทรัพยากรจากรัฐชายขอบสู่รัฐแกนกลางในระบบเศรษฐกิจโลกแบบทุนนิยม
ทำให้รัฐบาลในอดีตมีความสามารถเพียงเล็กน้อยในการสร้างคำมั่นสัญญาในการหาเสียงและทำให้การปกครองของพวกเขาถูกต้องตามกฎหมาย
ดังนั้น การเมืองของรัฐชายขอบจึงมักจะไม่เป็นประชาธิปไตย และต้องการให้เป็นรัฐบาลเผด็จการเพื่อรักษาอำนาจในการควบคุม
หรือถูกทำลายจากการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งในรัฐบาลโดยการรัฐประหาร สำหรับประเทศชายขอบที่มีการเลือกตั้ง
ลักษณะของผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่แน่นอน เนื่องจากต้องให้คำมั่นสัญญาใหม่กับผู้มีสิทธิเลือกตั้งใหม่ในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง
ตัวอย่างเช่น การมีอายุยืนยาวของการควบคุมพรรคคองเกรสในอินเดีย ตั้งแต่ปี
1952-1977 แสดงให้เห็นรูปแบบที่ลื่นไหล เมื่อพรรคถูกละทิ้งโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งครั้งก่อนและสร้างการสนับสนุนใหม่
(Flint &
Taylor 2007:229–33) ยังมีการศึกษาอื่นๆ อีก เช่น ฟลินต์ (Flint 2001a)
ชี้ให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของการเลือกตั้งของพรรคนาซีผ่านความสามารถในการสร้างวาระแห่งชาติที่ดึงดูดผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนหนึ่งที่ประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจซึ่งสืบย้อนไปถึงพลวัตของเศรษฐกิจโลกแบบทุนนิยม
อย่างไรก็ตาม วิธีการเชิงบทบาทหน้าที่โดยรวมของรัฐนั้น
ได้จำกัดการยอมรับทฤษฎีระบบโลกของนักภูมิศาสตร์การเมือง
โดยทั่วไปแล้ว ภูมิศาสตร์การเมืองส่วนใหญ่ได้ก้าวถอยหลังจากโครงสร้างข้อมูลหรือนิยามข้อมูลที่เป็นสากล
ที่จะทำให้ทฤษฎีระบบโลกเป็นทางเลือกที่เหมาะสม ในทางกลับกัน กลับมีจุดเน้นอยู่ที่ระดับจุลภาคที่เป็นประเด็นเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ในชีวิตประจำวันและอิทธิพลที่น่าเบื่อหน่ายของรัฐ (Painter
2006) การเมืองในวิชาภูมิศาสตร์ได้รับการบ่งชี้ว่าเกิดขึ้นโดยบังเอิญมากขึ้น
และได้รับการกล่าวถึงอย่างดีที่สุดในระดับที่แสดงให้เห็นปฏิสัมพันธ์ของแต่ละบุคคลกับโครงสร้างทางการเมือง
ซึ่งภายใต้บสภาพแวดล้อมทางปัญญาเช่นนี้ อาจไม่น่าแปลกใจที่วิชาภูมิศาสตร์ทางการเมืองจะได้ใช้ขอบเขตกว้างๆ
ของทฤษฎีระบบโลก เพื่อสำรวจกรอบการทำงานทางเลือกหรือ meta-geographies
มุมมองใหม่เกี่ยวกับแผนที่การเมืองโลก
คำศัพท์ meta-geography หมายถึง กรอบและความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับโครงสร้างหรือรูปแบบทางภูมิศาสตร์ที่มีต่อสิ่งต่างๆ
ว่าควรจะถูกจัดระเบียบอย่างไรในเชิงพื้นที่ ในด้านภูมิศาสตร์การเมือง การผสมผสานระหว่างความเป็นจริงและการรับรู้ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ระบบรัฐเวสท์ฟาเลิน
(westphalian system of
states – ระบบนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของรัฐชาติสมัยใหม่
ที่รัฐมีอำนาจในเขตแดนของตน รัฐอื่นจะเข้ามารบกวนหรือแทรกแซงไม่ได้) ซึ่งถูกมองว่าเป็นวิธีที่ชัดเจนและถูกต้องในการจัดระเบียบการเมืองผ่านการยอมรับอุดมการณ์ชาตินิยมในวงกว้าง
(Taylor 1994;
1995) ในทางกลับกัน meta-geography นี้ได้กำหนดกรอบสังคมศาสตร์กระแสหลักด้วยการส่งเสริมลัทธิชาตินิยมเชิงวิธีการ
ซึ่งได้กำหนดกรอบการวิเคราะห์ที่ตอกย้ำการรับรู้ของรัฐว่าเป็นคอนเทนเนอร์ที่มีอำนาจอธิปไตยของสังคม
มุมมองที่โดดเด่นเกี่ยวกับวิธีการจัดระเบียบโลกนี้ได้ถูกกัดกร่อนไปเมื่อเร็วๆ นี้ ผ่านแนวความคิดคู่แฝดที่ว่าด้วยโลกาภิวัตน์และการก้าวข้ามชาติ
(globalization
and transnationalism)
อาจไม่ใช่จุดประสงค์ของบทนี้ที่จะทำการสำรวจงานเขียนที่มีอยู่อย่างหลากหลายภายใต้แนวคิดทั้งสองนี้อย่างเต็มที่
แต่ก็พบว่าซาสเซน (Sassen 2006) ได้นำเอาแนวคิดที่เกี่ยวข้องของเมืองระดับโลกไปใช้เป็นพื้นฐานสำหรับวิเคราะห์โครงการขนาดใหญ่ที่มีการจัดการตามกรอบทฤษฎีระบบโลก
ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์โลกาภิวัตน์และเมืองระดับโลก (GaWC: globalization and world cities) มหาวิทยาลัยลูโบโร สหราชอาณาจัก (www.lboro.ac.uk/gawc) เป็นผู้นำในการสร้างฐานข้อมูลและดำเนินการวิเคราะห์ที่ใช้
meta-geography ของการเชื่อมต่อระหว่างเมือง มากกว่าการพิจารณประเด็นต่างๆ
ภายในอาณาเขตของรัฐ โครงการนี้เกิดขึ้นมาเพื่อทำหน้ที่รวบรวมข้อมูลความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างเมืองขนาดใหญ่ต่างๆ
ซึ่งนี่เป็นขั้นตอนสำคัญในการสร้างกรอบ meta-geographic ใหม่ เนื่องจากใช้ข้อมูลสถิติที่แอบอิงตามเนื้อหาในหน่วยทางภูมิศาสตร์
(สำมะโนหรือรัฐ) มากกว่าความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงาน แม้ว่าองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ
จะมีความสัมพันธ์กันตามแนวบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศกันในแนวดิ่งก็ตาม เช่น โครงการ
correlates
of war ที่เป็นข้อยกเว้นที่สำคัญ โครงการนี้เริ่มต้นด้วยการนับจำนวนสำนักงานของผู้ให้บริการที่ดำเนินงานทั่วโลก
(บริการทางการเงิน บริษัทโฆษณา ทนายความเฉพาะทาง ฯลฯ) โครงการได้จำแนกเมืองทั่วโลกออกเป็นกลุ่มตามลำดับศักย์
ต่อจากนั้น ก็ทำการคำนวณค่าเชื่อมโยงระหว่างเมืองต่างๆ เพื่อให้ meta-geography จัดระบบเศรษฐกิจโลกทุนนิยมเป็นหนึ่งในจุดร่วม
(ตัวเมืองต่างๆ เอง ที่เชื่อมโยงระหว่างกันและกัน ถือเป็นจุดร่วม หรือ node) และชุดของความเชื่อมโยง (การเชื่อมต่อภายในและระหว่างองค์กร)
ระยะเริ่มต้นของโครงการ GaWC จำเป็นต้องมีการขับเคลื่อนด้วยข้อมูล
(ดูรายการทั้งหมดและลำดับเหตุการณ์ของสิ่งพิมพ์ได้ที่ www.lboro.ac.uk/gawc/publicat.html) อย่างไรก็ตาม จากหลักฐานนี้มีการตีความใหม่เกี่ยวกับภูมิศาสตร์การเมืองที่ผสมผสานองค์กรของธุรกิจ
รัฐบาล และองค์กรพัฒนาเอกชน เข้ากับโครงสร้างของเศรษฐกิจโลกแบบทุนนิยม
(Taylor 2005) ด้วยการวิเคราะห์โครงข่ายเมืองทั้งสามชุด (สำนักงานการทูต
องค์กรพัฒนาเอกชน และหน่วยงานของสหประชาชาติ) รูปแบบของปฏิสัมพันธ์ระหว่างเมืองระดับโลก
เผยให้เห็นกระบวนการรักษาระบบรัฐเวสท์ฟาเลินไว้พร้อมๆ กันกับอำนวยให้ลำดับศักย์ของพื้นที่แกนกลาง–ชายขอบ
สามารถสะสมทุน ขณะเดียวกันก็ทำให้การเมืองข้ามชาติมีศักยภาพในการต่อต้านระบบ
จุดตัดของโครงข่ายทั้งสามนี้ ส่งผลให้เกิดการกำหนดระเบียบปฏิบัติร่วมกันจำนวนหนึ่ง
แต่ยังคงเป็นปฏิปักษ์ในฐานะที่พวกเขายังต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อหาทางไปสู่ภูมิศาสตร์ทางเลือก
(จะเป็นไปเพื่อรักษาอธิปไตยของรัฐ และการนำเอาลัทธิข้ามชาติมาใช้) ข้อจำกัดและความเป็นไปได้ของปฏิสัมพันธ์ดังกล่าว วางอยู่ภายใต้โครงสร้างของเศรษฐกิจโลกแบบทุนนิยม
แต่ไม่ได้ขจัดศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงของเครือข่ายเมืองทั้งสามแต่อย่างใด กิจกรรมของผู้มีบทบาทชุดต่างๆ เหล่านี้ ถูกกำหนดกรอบโดยเป้าหมายทางภูมิศาสตร์การเมืองที่แตกต่างกัน
แต่การมุ่งเน้นวิเคราะห์ที่การทำงานของ GaWC ก็สนับสนุนให้นักวิชาการวางกรอบการวิเคราะห์ของตนภายใน
meta-geography ของโครงข่ายมากกว่าที่จะเป็นการวิเคราะห์ในอาณาเขตของรัฐ
การวิเคราะห์สถานที่ของระบบโลก
อนาคตของทฤษฎีระบบโลกในฐานะที่ถูกใช้เป็นกรอบการศึกษาทางภูมิศาสตร์สำหรับวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้นตั้งอยู่บนความขัดแย้งอย่างที่กล่าวมาทั้งหมด
หากการพัฒนาทางทฤษฎีของวิชาสังคมศาสตร์ในปัจจุบันยังคงดำเนินต่อไป อนาคตก็จะดูมืดมน
แต่เหตุการณ์และแนวโน้มที่น่าสนใจในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น ดูเหมือนจะสอดคล้องกับความคาดหวังที่มาจากทฤษฎีระบบโลก
ตัวอย่างเช่น การอภิปรายร่วมสมัยเกี่ยวกับนโยบายที่เน้นการกีดกันและคำถามเกี่ยวกับการท้าทายตำแหน่งเจ้าครองโลกของสหรัฐฯ
หลักคำสอนบนกรอบความคิดหลังโครงสร้างเกี่ยวกับความบังเอิญและความลื่นไหลนั้น ขัดแย้งกับความจำเป็นเชิงโครงสร้างที่เป็นรากฐานของทฤษฎีระบบโลก
นอกจากนี้ การสร้างสมมติฐานอย่างเป็นทางการของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเชิงปริมาณไม่เข้ากันกับกรอบที่กำหนดขึ้นในอดีต
(Popper
1957)
ผลพวงของความคิดแบบมาร์กซิสต์ ทำให้ทฤษฎีระบบโลกดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีของรัฐ
(Jessop 2001) หรือประชาธิปไตย (Laclau
& Mouffe 2001)
ที่ล้อมรอบด้วยการดำเนินการของระบบทุนนิยมแต่หลีกเลี่ยงกรอบแนวคิดแบบโครงสร้างนิยมหรือการกำหนดเหตุปัจจัย
แม้จะมีความท้าทายเหล่านี้ แต่รอยประทับของทฤษฎีระบบโลกที่อยู่บนภูมิศาสตร์ของมนุษย์ก็มีความลึกซึ้ง
ผลงานของนักภูมิศาสตร์การเมือง เช่น จอห์น แอกนิว และสจวร์ต คอร์บริดจ์ (John
Agnew & Stuart
Corbridge 1995) สอดคล้องกับจุดเน้นของทฤษฎีระบบโลกอย่างที่ทำให้ได้เห็นแนวคิดของสหรัฐฯ
ที่ดำรงตนในฐานะที่เป็นเจ้าโลกหรือรัฐหลักในระบบการแข่งขันของรัฐต่างๆ (Agnew 2005) นอกจากนี้ การวิพากษ์ทฤษฎีระบบโลกของเดวิด
ฮาร์วีย์ ในฐานะนักคิดเชิงบทบาทหน้าที่นั้น ถูกต้องแม่นยำในระดับหนึ่ง
แต่งานของเขาก็ยังคงมีส่วนเกี่ยวกับนโยบายร่วมสมัยของสหรัฐฯ ที่อย่างน้อยก็ในระดับจิตวิญญาณของทฤษฎีระบบโลก
อีกทั้งเนื้อหาก็แสดงให้เห็นโครงสร้างและแนวปฏิบัติที่คล้ายคลึงกัน (Harvey
2003) ทั้งนี้ วิธีการทางภูมิศาสตร์การเมืองกับทฤษฎีระบบโลกได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจโดยปริยาย
แม้ว่าการมีอยู่อย่างชัดแจ้งจะลดน้อยลงไปก็ตาม
อย่างไรก็ตาม บางทีเหตุการณ์ “โลกแห่งความเป็นจริง”
อาจช่วยฟื้นฟูแนวทางทฤษฎีระบบโลกในวิชาภูมิศาสตร์การเมืองขึ้นมาได้
บริบททางสังคมร่วมสมัยของสงครามทั่วทุกมุมโลกที่นำโดยสหรัฐฯ
ความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก และการชะลอตัวทางเศรษฐกิจและการแข่งขันเป็นแก่นของทฤษฎีระบบโลกที่สนับสนุนการอุทธรณ์ครั้งแรกในช่วงทศวรรษ 1970 และ 1980 เมทริกซ์กาลเทศะซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของการนำทฤษฎีระบบโลกเข้าสู่สารัตถะในวิชาภูมิศาสตร์การเมืองทำให้เกิดการตีความที่นำไปสู่การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจร่วมสมัย
ความท้าทายร่วมสมัยด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการทหารในสหรัฐฯ อาจตีความได้ผ่านแบบจำลองการปกครองแบบคู่-คอนดราเทียฟที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริบททางการเมืองและเศรษฐกิจซึ่งนิตยสารอิโคโนมิสต์ (Economist
2009) สามารถประณาม “การกลับมาของลัทธิชาตินิยมทางเศรษฐกิจ”
และผู้วิจารณ์ข่าวกล่าวถึงการเปรียบเทียบในปัจจุบันกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่
(Gross
2008) ส่งเสริมความจำเป็นในการสร้างแบบจำลองทางประวัติศาสตร์เช่นโลก
- ทฤษฎีระบบโดยเน้นที่วัฏจักร?
รายละเอียดที่กล่าวมาในบทนี้ ชี้ให้เห็นว่าคำตอบที่ได้
คือ บางทีในฐานะที่เป็นเครื่องอธิบายเชิงประวัติศาสตร์ เป็นคำถามที่สามารถนำมาพิจารณาถึงพลวัตของคลื่นคอนดราเทียฟและวัฏจักรการเป็นเจ้าครองโลก
และโครงสร้างของลำดับศักย์ของพื้นที่แกนกลาง-ชายขอบนั้น มีประโยชน์มาก เป้าหมายของการวิเคราะห์ไม่ควรมุ่งเน้นไปที่การหลีกเลี่ยงไม่ได้ของเหตุการณ์ตามกรอบประวัติศาสตร์นิยม
ตัวอย่างเช่น ระยะการยุบตัวบนกราฟในช่วงถัดไปที่เป็น B หรือเรียกว่าเกิดภาวะทรุดตัวลง จะคงอยู่นานเท่าใด
หรือวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 2009 บ่งชี้ว่ากลไกของคลื่นคอนดราเทียฟ
และจังหวะเวลาที่เกี่ยวข้อง ได้พังทลายลงโดยสิ้นเชิง ในทางกลับกัน
ประโยชน์ที่ได้รับ คือ การสันนิษฐานถึงแนวโน้มต่อความซบเซาทางเศรษฐกิจและการปรับโครงสร้างใหม่หลังจากช่วงระยะเวลาของการเติบโต
และถามคำถามต่างๆ เกี่ยวกับการเมืองร่วมสมัยที่อยู่บนฐานของฉากทัศน์ที่ว่า
“อะไรจะเกิดขึ้น ถ้าหากว่า ...” ตัวอย่างเช่น ถ้าคลื่นคอนดราเทียฟลูกต่อไปจะยกตัวสูงขึ้นได้นั้น
ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของเทคโนโลยีใหม่ คำถามคือ ภูมิภาคใดและเทคโนโลยีใด
หรือนโยบายการวิจัยและพัฒนาของอินเดีย จีน สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา
ชี้ให้เห็นความได้เปรียบทางการแข่งขันที่มากขึ้นสำหรับประเทศใดประเทศหนึ่งในบรรดาประเทศผู้มีบทบาทเหล่านี้หรือไม่
เมื่อเทียบกับนโยบายอื่นๆ ในแง่ของวัฏจักรเจ้าครองโลก
แนวโน้มที่สันนิษฐานว่าจะเพิ่มความท้าทายทางการเมืองจะทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับความหมายแบบกว้างๆ
ของสงครามต่อต้านการก่อการร้ายทั่วโลก
และชี้ให้เห็นถึงความอ่อนแอหรือความแข็งแกร่งของสหรัฐฯ และความเป็นผู้นำที่จะดำรงอยู่ต่อเนื่องต่อไปหรือไม่
(Flint
2005)
อย่างไรก็ตาม
ต้องยอมรับว่าทฤษฎีระบบโลกเป็นกรอบการวิเคราะห์ที่ไม่ดีนักสำหรับการศึกษากระบวนการทางสังคม
ความสามารถในการสร้างบททดสอบสมมติฐานจากทฤษฎีระบบโลกนั้นมีอยู่อย่างจำกัด (Popper
2500) แม้ว่าความพยายามของเชส-ดันน์
(Chase-Dunn 1989) จะมีคุณค่ามากก็ตาม แต่กลับไม่ได้สร้างงานวิจัยขึ้นมาเป็นชิ้นเป็นอันแต่อย่างใด
การเน้นย้ำทฤษฎีในงานวิจัยที่เป็นกระบวนการมหภาคแลลประวัติศาสตร์และแบบที่ยึดโยงกับบทบาทหน้าที่
เป็นสิ่งกีดขวางการออกแบบการวิจัยที่ต้องการพิจารณาความผันแปรที่อาจเกิดขึ้นตามพฤติกรรมของผู้มีบทบาททางสังคม
ซึ่งความจริงแล้ว ข้อวิพากษ์ของปอปเปอร์ก็คือว่าลัทธิประวัติศาสตร์ของทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่ง
อย่างเช่นระบบโลกอาจขัดขวางการตรวจสอบทางเลือกทางสังคม หรือ เป็นการครอบคลุมทั้งหมด
จนสามารถแสดงรูปแบบพฤติกรรมใดๆ สามารถอธิบายได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
จุดแข็งของทฤษฎีระบบโลกอยู่ที่ความสามารถในการแสดงภาพฉากทัศน์แบบกว้างๆ
เหตุการณ์หนึ่งซึ่งระบุเหตุการณ์และผู้ดำเนินการที่แยกออกมาอย่างชัดเจนภายในกระบวนการที่กว้างขึ้น
เป้าหมายของสำนักวิชาบรูเดล ในการทำความเข้าใจการกระทำและตัวเลือกของผู้มีบทบาทในทันทีและในชีวิตประจำวันเป็นจุดเริ่มต้นของทฤษฎีระบบโลก
(Baudel
1973; 1984)
นอกจากนี้ยังสนับสนุนเป้าหมายของเทย์เลอร์ในด้านภูมิศาสตร์การเมืองของประสบการณ์และโอกาสที่แตกต่างกันสำหรับบุคคลภายในการตั้งค่าทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน
อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการพัฒนาทฤษฎีระบบโลก มาโครถูกเน้นมากกว่าไมโครหรือเมโซ บางทีนี่อาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
เนื่องจากโดยหลักแล้ว เป็นกรอบทางประวัติศาสตร์และโครงสร้าง ในทางกลับกัน
บางทีเรากำลังแสดงบทบาทที่เราต้องการศึกษาความเสียหายโดยปฏิเสธข้อจำกัดเชิงโครงสร้าง
แน่นอน นักวิจารณ์จะพูดตรงกันข้าม นั่นคือ แบบจำลองโครงสร้างกำหนดและกำหนดผู้มีบทบาทอย่างไม่เป็นธรรม
โดยปล่อยให้แบบจำลองกำหนดความหมายของการกระทำมากกว่ายอมรับการสะท้อนกลับของพวกเขา
ทว่าในโลกที่ความเหลื่อมล้ำในความมั่งคั่งยังคงอยู่แม้จะมีทฤษฎีและแผนงานมากมายเกี่ยวกับ
"การพัฒนา" ซึ่งเป็นโลกที่ประเทศด้อยพัฒนาทั้งหลายยังคงถูกครอบงำโดยสถาบันของประเทศที่ร่ำรวยและทรงอำนาจ
เป็นโลกที่ประเทศใดประเทศหนึ่งมีอำนาจ เป็นอำนาจทางทหารและเป็นผู้กำหนดระเบียบวาระระดับโลก
และโลกที่ท้าทายประเทศนั้นในด้านความคลั่งไคล้ทางการเมือง การก่อการร้าย
การก่อความไม่สงบ การต่อต้านการก่อการร้าย และการต่อต้านการก่อความไม่สงบ
ก่อให้เกิดความโกลาหล และความทุกข์ยากเช่นนี้
จะทำให้บทบาทของแกนกลางลดลงและโครงสร้างรอบนอกและอำนาจเจ้าครองโลกในการกำหนดโอกาสและข้อจำกัดที่ปัจเจก
ครัวเรือน รัฐ และประชาชนต้องเผชิญ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น