หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

การเลื่อนไหลของความเสี่ยงระหว่างภูมิภาค

 การเลื่อนไหลของความเสี่ยงระหว่างภูมิภาค

Inter-regional Flows of Risks and Responses to Risk

 

โลกของเราในปัจจุบันมีลักษณะของความเชื่อมโยงระหว่างกันเป็นกระแสโลกาภิวัตน์ในระดับที่สูงมากๆ ซึ่งกระแสดังกล่าวช่วยสร้างเส้นทางสำหรับการส่งผ่านความเสี่ยงอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ข้ามภาคส่วนและข้ามพรมแดนในระดับที่มีความเชื่อมั่นสูง ในขณะที่รายงานการประเมินครั้งที่ห้าของ IPCC ได้ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของความเสี่ยงข้ามภูมิภาคว่าเป็น 'ปรากฏการณ์ข้ามภูมิภาค - cross-regional phenomena' อย่างไรก็ดี จนถึงขณะนี้ มีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้น ที่ผนวกเอาแง่มุมความเชื่อมโยงข้ามกันไปมาระหว่างภูมิภาคเข้ากับการประเมินความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็ยังคงเป็นประเด็นหลักเพียงแค่ระดับชาติหรือระดับท้องถิ่นเท่านั้น

 

ความเสี่ยงระหว่างภูมิภาคจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ—เรียกอีกอย่างว่า ความเสี่ยงข้ามพรมแดน ข้ามเขตแดน ข้ามชาติ หรือความเสี่ยงโดยอ้อม (cross-border, transboundary, transnational or indirect risks) เหล่านี้เป็นความเสี่ยงที่ถูกส่งผ่านข้ามพรมแดนออกไป เช่น การใช้น้ำข้ามพรมแดน และ/หรือผ่านการเชื่อมต่อกันจากระยะไกล เช่น ห่วงโซ่อุปทาน และตลาดอาหารโลก ความเสี่ยงอาจเป็นผลมาจากผลกระทบ ซึ่งรวมถึงผลกระทบแบบทบต้นหรือพร้อมกัน ซึ่งลดหลั่นกันไปในหลายระดับ ในลักษณะที่ลดหรือเพิ่มความเสี่ยงภายในระบบระหว่างประเทศ การส่งผ่านความเสี่ยงอาจเกิดขึ้นผ่านเครือข่ายการค้าและการเงิน การไหลเวียนของผู้คน การไหลทางชีวฟิสิกส์ (เช่น น้ำ) และการเชื่อมต่อของระบบนิเวศ อย่างไรก็ตาม ไม่เพียงแต่ความเสี่ยงที่ส่งผ่านข้ามพรมแดนและระบบเท่านั้น การตอบสนองในการปรับตัวยังอาจลดความเสี่ยงที่ต้นทางของความเสี่ยง ตามช่องทางการส่งสัญญาณหรือที่ผู้รับความเสี่ยง รายละเอียดงต่อไปนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับช่องทางการส่งผ่านความเสี่ยง ระหว่างภูมิภาค 4 ช่องทาง ได้แก่ช่องทางการค้า การเงิน อาหาร และระบบนิเวศ

 

การค้าพาณิชย์

 

สินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่มีการซื้อขายอย่างกว้างขวางในตลาดโลก เรียกว่าซื้อขายกันผ่านระบบห่วงโซ่อุปทาน ทำให้โลกาภิวัตน์มากขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่น สินค้าอุตสาหกรรมเฉพาะทาง เช่น เซมิคอนดักเตอร์ จะกระจุกตัวกันอยู่ตามสภาพที่เหมาะสมทางภูมิศาสตร์ในบางประเทศ เมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤตทางภูมิอากาศ เช่น น้ำท่วมหรือความร้อนขึ้นสูง จะส่งผลกระทบต่อที่ตั้งของกิจกรรมการผลิตเหล่านี้ ภาวะทางเศรษฐกิจจะไม่หยุดชะงักเฉพาะแค่เพียงในท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการข้ามพรมแดนและข้ามไปถึงดินแดนของประเทศที่อยู่ห่างไกลด้วย ดังตัวอย่างจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2011 ในประเทศไทย ซึ่งนำไปสู่การขาดแคลนปัจจัยการผลิตที่เป็นกุญแจสำคัญหลายอย่างสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ที่ไม่เพียงแต่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงในประเทศญี่ปุ่น ประเทศในยุโรป และสหรัฐอเมริกาด้วย นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานเพิ่มเติมว่าประเทศอุตสาหกรรมหลายแห่งไม่ว่าจะเป็นสหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ได้รับผลกระทบทางการค้าอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นอย่างมาก ระบบการค้าที่ได้รับการปรับปรุงแล้วจะสามารถส่งผ่านความเสี่ยงข้ามพรมแดนออกไปและด้วยเหตุนี้จึงเท่ากับเป็นการขยายความเสียหายให้เพิ่มมากขึ้น แต่ก็สามารถเพิ่มความยืดหยุ่นได้เช่นกัน

 


ภาพที่ 1 น้ำท่วมใหญ่ประเทศไทยปี 2011 สร้างความเสี่ยงจากสภาพอากาศระหว่างภูมิภาคผ่านช่องทางการส่งผ่านการค้า ครอบคลุมทุกส่วนของโลก  (Abe and Ye, 2013; Haraguchi and Lall, 2015; Carter et al., 2021)

 

การเงินการคลัง

 

นอกจากนี้ ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังสามารถแพร่กระจายออกไปผ่านตลาดการเงินได้ทั่วทั้งโลก สำหรับกรณีของการเกิดน้ำท่วมชายฝั่งและน้ำลิ้นตลิ่งแม่น้ำ ที่มีการปรับตัวต่ำ 2080 (RCP 8.5-SSP5) ระบบการเงินคาดว่าจะเกิดการสูญเสียทางตรงเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า (ค่าเฉลี่ยทั่วโลก) แต่จะสูงมากกกว่าอีกถึง 10 เท่าสำหรับประเทศต่างๆ ที่เป็นประเทศศูนย์กลางทางการเงิน รวมถึงผลกระทบทางอ้อมที่อาจเกิดขึ้นจากผลกระทบทางอ้อมต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ กระแสการส่งเงิน และความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ

 

ห่วงโซ่การผลิตอาหาร

 

อุปทานสินค้าเกษตรทั่วโลกกระจุกตัวอยู่ที่อู่ข้าวอู่น้ำหลักไม่กี่แห่ง ตัวอย่างเช่น อเมริกากลางและใต้ ที่เป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีศักยภาพสูงสุดในการเพิ่มเสบียงอาหารไปยังภูมิภาคที่มีประชากรหนาแน่นในเอเชีย ตะวันออกกลาง และยุโรป การส่งออกสินค้าเกษตร อย่างกาแฟ กล้วย น้ำตาล ถั่วเหลือง ข้าวโพด อ้อย และเนื้อวัว มีความความสำคัญเป็นอย่างมากในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากการค้าระหว่างประเทศและตลาดโลกาภิวัตน์ ได้หล่อหลอมระบบอาหารเกษตรทั่วโลก

 

การส่งออกพืชอาหารหลัก เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพด และถั่วเหลือง จากพื้นที่ขาดแคลนน้ำหลายแห่งของโลก เช่น ตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือ บางส่วนของเอเชียใต้ ที่ราบจีนตอนเหนือ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย ไปยังพื้นที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ของโลกนี้ ที่ดูเหมือนว่าจะมีปริมาณน้ำสูงกว่า (ปริมาตรสุทธิของน้ำที่ฝังอยู่ในการค้า) ปรากฏการณ์เช่นนี้ ถือได้ว่าทั้งประเทศผู้นำเข้าและส่งออก “มีความเสี่ยงข้ามพรมแดน” ผ่านผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อแหล่งน้ำที่อยู่ห่างไกล การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคาดว่าจะเป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงและเพิ่มช่องโหว่ใหม่สำหรับการส่งผ่านความเสี่ยง โดยความเข้มข้นของ CO2 ในชั้นบรรยากาศที่เพิ่มขึ้น คาดว่าจะไปทำให้ประสิทธิภาพการใช้น้ำของการปลูกข้าวโพดและธัญพืชเขตอบอุ่นลดลงในพื้นที่บางส่วนของสหรัฐอเมริกา ยุโรปตะวันออกและเมดิเตอร์เรเนียน แอฟริกาใต้ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างมีนัยสำคัญสำหรับการค้าธัญพืชอาหารในอนาคต ภายในปี 2050 (สถานการณ์จำลอง SRES B2) ประเทศผู้นำเข้าน้ำเสมือนในทวีปแอฟริกาและดินแดนตะวันออกกลาง อาจเผชิญกับความเครียดจากน้ำที่มีการนำเข้านี้ เนื่องจากต้องพึ่งพาการนำเข้าธัญพืชอาหารจากประเทศที่มีการใช้น้ำอย่างไม่ยั่งยืน จนถึงปี 2100 การค้าเสมือนจริงที่ใช้น้ำจากระบบชลประทานคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกเกือบสามเท่า (สำหรับสถานการณ์ SSP2-RCP6.5) และทิศทางของการไหลของน้ำเสมือนจริงคาดว่าจะกลับด้าน โดยภูมิภาคที่ส่งออกอยู่ในปัจจุบัน เช่น เอเชียใต้ จะต้องกลายเป็นผู้นำเข้าน้ำเสมือนจริงเหล่านั้นคืนกลับมา การไหลเวียนของการค้าเพิ่มเติม 10–120% จากภูมิภาคที่อุดมสมบูรณ์ไปยังภูมิภาคที่ขาดแคลนน้ำ เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อรักษาข้อกำหนดการไหลของสิ่งแวดล้อมในระดับโลกภายในสิ้นศตวรรษนี้ การส่งออกสินค้าเกษตรนำไปสู่การตัดไม้ทำลายป่า การแสวงหาผลประโยชน์มากเกินไปจากทรัพยากรธรรมชาติและมลพิษ ส่งผลกระทบต่อฐานทุนทางธรรมชาติและบริการของระบบนิเวศ

 

ระบบนิเวศและชนิดพันธุ์

 

การกระจายเชิงพื้นที่ของชนิดพันธุ์บนบกและในมหาสมุทร กำลังเปลี่ยนไป เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้คาดว่าจะตัวเร่งให้ขึ้นไปอยู่ในระดับที่สูงต่อๆ ขึ้นอีก เมื่อเกิดภาวะโลกร้อนเพิ่มขึ้น 'การเคลื่อนย้ายของชนิดพันธุ์ที่สามารถเคลื่อนไหวได้' เหล่านี้ จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อระบบนิเวศและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ และนำความท้าทายต่อการกำกับดูแลเข้ามา ตัวอย่างเช่น จำนวนปลาข้ามพรมแดนที่คาดว่าจะมีเพิ่มขึ้น เนื่องจากชนิดพันธุ์การประมงหลักถูกแทนที่ด้วยภาวะโลกร้อนในมหาสมุทร ความขัดแย้งเกี่ยวกับการจับปลาแมคเคอเรลหมุนเวียนได้เกิดขึ้นแล้วระหว่างประเทศในยุโรป เนื่องจากหน่วยงานกำกับดูแลเพียงไม่กี่แห่ง มีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการย้ายแหล่งจับ สิ่งนี้เป็นการเปิดโอกาสให้แสวงประโยชน์จากชนิดพันธุ์อย่างไม่ยั่งยืนเกิดขึ้นในน่านน้ำใหม่ หากไม่มีการจัดสรรการจับที่อัปเดตเป็นประจำ เพื่อสะท้อนถึงการกระจายแหล่งจับที่เปลี่ยนแปลง

 

สุขภาพของมนุษย์จะได้รับผลกระทบจากโรคที่มีพาหะนำโรค เช่น การกระจายทางภูมิศาสตร์ของมาลาเรียและไข้เลือดออกจะเปลี่ยนไป นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานว่าชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่สามารถปรับตัวเข้ากับเขตอบอุ่นได้ดีหลายชนิด เช่น ไซยาโนแบคทีเรียในน้ำจืดที่เป็นผู้รุกราน ได้แพร่กระจายไปยังละติจูดที่สูงขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

 

การปรับตัวตอบสนองความเสี่ยงความเสี่ยงระหว่างภูมิภาค

 

การตอบสนองการปรับตัวเพื่อลดความเสี่ยงระหว่างภูมิภาคสามารถดำเนินการได้ในระดับต่างๆ ณ จุดที่เกิดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระยะเริ่มต้น เช่น ความช่วยเหลือในการฟื้นฟูหลังเหตุการณ์รุนแรง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยืดหยุ่น เทคโนโลยีภูมิอากาศอัจฉริยะเพื่อการเกษตร ที่หรือตามเส้นทางที่ผลกระทบถูกส่งไป (เช่น การกระจายความหลากหลายทางการค้า การเปลี่ยนเส้นทางการขนส่ง ยังประเทศผู้รับ เช่น การเพิ่มพื้นที่จัดเก็บเพื่อรองรับการหยุดชะงักของอุปทาน) หรือโดยบุคคลที่สาม เช่น การเงินเพื่อการปรับตัว การถ่ายโอนเทคโนโลยี ความรู้ออกจากความต้องการ ประสิทธิผล และข้อจำกัดในการปรับตัวภายใต้อนาคตทางเศรษฐกิจและสังคมและการใช้ที่ดินที่แตกต่างกัน

 

เนื่องจากมีกการพึ่งพาระหว่างกันระดับภูมิภาคและระดับโลก ความสามารถฟื้นกลับคืนของสภาพภูมิอากาศจึงเป็นสิ่งที่ดีมากๆ ต่อสาธารณะในระดับโลก ดังนั้น ประโยชน์ของการปรับตัวจึงถูกแบ่งปันนอกเหนือจากจุดที่เริ่มใช้การปรับตัว ในทางกลับกัน การปรับตัวอาจประสบความสำเร็จในระดับท้องถิ่นขณะที่มีการกระจายความเสี่ยงไปท้องที่อื่นๆ หรือแม้แต่ผลักดันออกไปหรือไปเพิ่มความเสี่ยงในที่อื่นๆ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องมีความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อให้แน่ใจว่าผลกระทบระหว่างภูมิภาคได้รับการพิจารณาในการปรับตัว และความพยายามปรับตัวนั้นได้รับการประสานงานเพื่อหลีกเลี่ยงการปรับตัวที่ผิดพลาดอย่างไรก็ตาม ธรรมาภิบาลการปรับตัวในระดับภูมิภาคและระดับโลกเพิ่งเริ่มต้นขึ้นเท่านั้น

 

กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามข้อตกลงกรุงปารีสข้อ 7.2 ได้กำหนดกรอบการปรับตัวเป็น 'ความท้าทายระดับโลก' และข้อ 7.1 กำหนดเป้าหมายระดับโลกเกี่ยวกับการปรับตัว ซึ่งให้พื้นที่สำหรับการเจรจาระหว่างฝ่ายต่างๆ เกี่ยวกับความท้าทายระดับโลกของการปรับตัว และความจำเป็นในการลงทุนทางการเมืองและการเงินในการปรับตัว รวมถึงเพื่อจัดการกับผลกระทบระหว่างภูมิภาค

 

แผนงานการปรับตัวแห่งชาติ (NAPs: national adaptation plans) สามารถพัฒนาเพื่อพิจารณาผลกระทบระหว่างภูมิภาครวมถึงผลกระทบภายในประเทศ การประสานงานระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศของ NAPs ควบคู่ไปกับการสร้างขีดความสามารถและการจัดการช่องว่างความรู้ที่มีอยู่ในระดับประเทศ สามารถช่วยให้แน่ใจว่าทรัพยากรมุ่งเน้นไปที่การลดความเสี่ยงระหว่างภูมิภาคและสร้างความยืดหยุ่นเชิงระบบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก

 

เนื่องจากบทบาทที่สำคัญของภาคเอกชนในการจัดการความเสี่ยงด้านสภาพอากาศระหว่างภูมิภาค จึงจำเป็นต้องมีความพยายามในการปรับกลยุทธ์ภาครัฐและเอกชนในการจัดการความเสี่ยงด้านสภาพอากาศระหว่างภูมิภาคเพื่อหลีกเลี่ยงการปรับตัวที่ไม่เหมาะสม และรับประกันว่าจะมีการปรับตัวอย่างยุติธรรมและเท่าเทียมกันในระดับต่างๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น