หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

คำขวัญวันเด็ก

 

คำขวัญวันเด็ก

 

เมื่อวานนี้วันเด็ก รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่ความดีคือ คำขวัญวันเด็ก ปี ๒๕๖๖ ของ ฯพณฯ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี น่าจะเป็นความปรารถนาที่จะให้ทุกๆ คน ทุกๆ ส่วน และทุกๆ ฝ่าย ร่วมกันรับรู้ว่าเป้าหมายของประเทศ คือ ความดีเป็นความดีแบบองค์รวม ไม่ใช่ความดีแบบแยกส่วน พร้อมนั้น คำขวัญสั้นๆ กระชับๆ แค่สามคำนี้ สองคำหน้ายังได้บอกถึงวิธีการที่จะไปให้ถึงซึ่งความดีนั้น ทำได้ไม่ยาก ช่วยกันสร้างตั้งแต่เด็ก คือ หนึ่ง รู้ function ของตัวเอง ทำตาม function ของตัวเอง และสอง ทั้ง interpersonale และ intrapersonale ตั้งควบคุมให้ดี ต้องรู้ว่ากาละไหนเป็นอย่างไร ต้องรู้ว่าเทศะไหนทำอะไรได้บ้าง นั่นเรียกว่า มีวินัย

 

วันนี้ มีเวลาก็เลยทบทวนคำขวัญวันเด็กแห่งชาติ ๖๔ ปีที่ผ่านมา พบว่า คำขวัญวันเด็ก เท่าที่มีข้อมูลตั้งแต่ปี ๒๕๐๒ จนถึงปีนี้ นายกรัฐมนตรี ๑๘ ท่าน เลือกสรรใช้คำที่สะท้อนความปรารถนาดีต่อเด็กไทยรวมๆ แล้ว ๓๖ คำ หากเอากรอบการเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือ lifelong learning ทั้ง ๓ ด้านมาเป็นเกณฑ์ พบว่า ในบรรดาคำขวัญวันเด็กทั้งหมด ๖๕ คำขวัญ (ปี ๒๕๐๗ งดจัดงานวันเด็กแห่งชาติ) มีคำที่ปรากฎในคำขวัญที่แสดงคุณลักษณะ ร้อยละ ๖๖ ที่พบมากๆ ได้แก่ รู้หน้าที่ ซื่อสัตย์ มีวินัย ความดี คุณธรรม สัมมาคาระ รักชาติ นิยมไทย เป็นต้น คำแสดงความรู้ ร้อยละ ๑๔ ได้แก่ ตั้งใจเรียน รู้เล่น รู้เรียน ประชาธิปไตย เป็นต้น และคำแสดงทักษะ ร้อยละ ๒๐ ได้แก่ เทคโนโลยี รวมพลัง สามัคคี เป็นต้น

 

จะเห็นได้ว่า คำขวัญวันเด็กแห่งชาติเน้นการเพาะบ่มให้คุณลักษณะ (character) อันเป็นที่ปรารถนา สอดคล้องกับกรอบการเรียนรู้ตลอดชีวิตระบุเอาไว้ว่าจะต้องสร้างให้ติดเป็นนิสสัย ๖ อย่าง คือ มีสติ ไฝ่รู้ กล้าหาญ ยืดหยุ่น มีจริยธรรม และมีภาวะผู้นำ แต่ว่าในคำขวัญวันเด็กของเรามีการขยายลักษณะนิสสัยออกไปมากกว่านี้อีกหลายอย่าง

 

มีสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่างซ่อนอยู่ในคำขวัญวันเด็กของนายกรัฐมนตรีแต่ละท่าน อย่างเช่นจอมพลสฤษฎ์ ธนะรัฐ นายกรัฐมนตรีคนที่ ๑๑ ดำรงตำแหน่ง ๔ ปี ๓๐๒ วัน ใช้คำว่า รักความก้าวหน้า’ ‘รักความสะอาด’ ‘มีระเบียบวินัย’ ‘ประหยัดและ ขยันหมั่นเพียรต่อท้ายข้อความยืนยันอำนาจเบ็ดเสร็จของตัวเองที่ว่า ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ …’ ในคำขวัญวันเด็กปี ๒๕๐๒-๐๖ ตามลำดับ แสดงถึง ความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะสร้างชาติด้วยคุณลักษณะสำคัญ ๕ อย่างดังที่กล่าวเอาไว้เสียงดังชัดเจน

 

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนที่ ๒๓ อยู่ในตำแหน่ง ๕ ปี ๒๒๒ วัน มีคำว่า ต้องขยันอ่านปรากฎอยู่ในคำขวัญวันเด็กปี ๒๕๔๘ ซึ่งสมัยนั้นมีส่วนสร้างบรรยากาศส่งเสริมการอ่านหนังสือเพื่อให้มีความรู้ของคนทั้งประเทศได้เป็นอย่างดี โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำที่รักการอ่าน หาหนังสือดีๆ อ่าน แล้วนำมาบอกกล่าวในรายการนายกฯ พบประชาชนทุกสัปดาห์

 

นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีคนที่ ๒๐ ดำรงตำแหน่งสองวาระรวม ๖ ปี ๒๐ วัน มีคำว่า ยึดมั่นประชาธิปไตยปรากฎอยู่ในคำขวัญวันเด็กปี ๒๕๓๗ ด้วยพื้นเพที่มีความเป็นคนสู้ชีวิต ความเป็นนักการเมืองที่ผ่านเผด็จการมาหลายยุค และความเชื่อมั่นในระบบสังคมแบบทุกๆ ฝ่ายมีส่วนร่วม ทำให้นายกรัฐมนตรีปรารถนาจะสร้างสังคมประชาธิปไตยตั้งแต่รุ่นเยาวชนกันเลยทีเดียว

 

พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีคนที่ ๑๖ ดำรงตำแหน่งรวมทั้งสิ้น ๘ ปี ๑๕๔ วัน มีคำว่า นิยมไทยปรากฎอยู่ในคำขวัญวันเด็กปี ๒๕๒๘ ๒๕๒๙ และ ๒๕๓๐ นั่นเป็นเพราะทั่วโลกต้องเผชิญหน้ากับวิกฤติพลังงานครั้งใหญ่ ประเทศไทยนอกจะต้องยุติการสู้รบกันเองของผู้มีอุดมการแตกต่างกันแล้ว ยังจะต้องสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจบนขาตัวเอง นายกรัฐมนตรีจึงสรรสร้างคำๆ นี้ขึ้นมาใช้สร้างชาติ

 

มาถึงขวัญใจคนไทยทั้งประเทศ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ทั้งในฐานะครู ศิลปิน นักเขียน นักการเมือง ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ ๑๓ เป็นเวลาเพียงแค่ ๑ ปี ๓๗ วัน คำขวัญวันเด็กปี ๒๕๑๖ ของท่าน เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี มีวินัย เสียแต่บัดนี้ผมชอบมาก เพราะนอกจากจะบอกเป้าหมายและวิธีการชัดเจนแล้ว ยังระบุเวลาด้วยว่า บัดเดี๋ยวนี้

 

สำหรับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน นับเป็นลำดับได้ลำดับที่ ๒๙ ดำรงตำแหน่งต่อเนื่องมาแล้วค่อนข้างยาวนาน ๘ ปี ๑๔๒ วัน ในคำขวัญปี ๒๕๖๔ มีคำว่า รวมไทยสร้างชาติปรากฎอยู่ เดาว่าน่าจะเป็นแรงบรรดาลใจให้นักการเมืองที่นิยมในตัวท่านนำเอาไปตั้งชื่อพรรคการเมืองในปีต่อมา

 

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า คำที่ใช้ในคำขวัญวันเด็กแห่งชาติของนายกรัฐมนตรีทุกท่าน เน้นการสร้างและพัฒนา คุณลักษณะของทรัพยากรบุคคล เรื่องนี้นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เขียนหนังสืออธิบายไว้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ถึง effective functioning หรือ EF ที่จะต้องสร้างให้เด็กๆ มีและฝังไว้ตั้งแต่อายุ ๒ ขวบ ไม่เกิน ๕ ขวบ โดยแบ่ง EF ออกเป็น 2 ชนิด ชนิดที่มีไว้เพื่อการดำเนินชีวิตไปข้างหน้าสู่เป้าหมาย และชนิดที่มีไว้เพื่อเอาตัวรอดจากขวากหนามภยันตรายรอบด้าน

 

โดยคุณหมอกล่าวถึง EF ว่า มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสมองส่วนหน้า ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบด้านการยับยั้งปฏิกิริยา ความจำใช้งาน และการเปลี่ยนและการกำกับเป้าหมาย ซึ่งจำเป็นจะต้องพัฒนา สร้างเสริม และบำรุงรักษาให้ EF ได้ทำหน้าที่ของมัน เพื่อให้เด็กๆ เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสามารถในการ ควบคุมตัวเอง’ (self control) ‘จำไว้ใช้งาน’ (working memory) และมีความ ยืดหยุ่นในการวิเคราะห์สิ่งต่างๆ อย่างเหมาะสม (cognitive flexibility) รายละเอียดมีเยอะแต่ไม่ยาว ใครสนใจไปหาอ่านเอาในหนังสือชื่อเรื่องเดียวกันนี้

 

สุดท้ายนี้ ขอย้อนกลับรำลึกถึงนายกรัฐมนตรีคนที่ ๑๐ ของประเทศไทย จอมพลถนอม กิตติขจร ดำรงตำแหน่งยาวนาน ๙ ปี ๒๐๕ วัน มีคำวันเด็กปี ๒๕๑๖ ที่ผมท่องได้มาจนทุกวันนี้ว่า เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญเรียกว่าถูกเพาะบ่มด้วยคำขวัญอันนี้จนจำขึ้นใจ เป็นแรงบันดาลให้คนรุ่นนี่มุ่งมั่นทำความดี และตั้งใจเรียนรู้ทุกๆ อย่าง เพื่อสร้างเจริญให้แก่ตัวเองและชาติไทยของเรา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น